Case Study : AIBA ปล้นทอง แล้วนักลงทุนได้เรียนรู้อะไร?
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 15, 2012 11:03 pm
ชั่วโมงนี้ไม่มีใครรู้จัก “AIBA” หรือชื่อเต็มก็คือ International Boxing Association
เมื่อพูดถึง AIBA สิ่งที่เรานึกตามมาก็คือ การโดนปล้นเหรียญทอง ที่คนไทยทั้งประเทศเจ็บจี๊ดดดดดด
จริงๆแล้วหากดูจากการตัดสินของกรรมการในโอลิมปิคครั้งนี้ ไม่ใช่แค่คู่ของไทยเราเท่านั้นที่ค้านสายตาคนดูนะครับ
คู่แรกที่ค้านสายตาคนดูก็คือ การชกรุ่นแบนตัมเวทคู่ของนักมวยอาเซอร์ไบจันและญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่นักชกจากอาเซอร์ไบจันเอาชนะไปได้ถึงแม้ว่าจะล้มถึง 6 ครั้งในยกสุดท้าย (พิมพ์ไม่ผิดครับ ล้มไป 6 ครั้ง) ทำให้ทางญี่ปุ่นประท้วงคำตัดสิน จนในที่สุดก็ต้องมีการพลิกคำตัดสินให้ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ และกรรมการชาวเติร์กเมนิสถานถูกส่งกลับประเทศทันที
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน นักมวยจากอาเซอร์ไบจันอีกคนก็เอาชนะคู่แข่งชาวเบลารุสไปได้อย่างหวุดหวิด ท่ามกลางเสียงโห่จากผู้ชมในสนาม โดยในยกสุดท้าย เขาทำฟาวล์อย่างชัดเจนแต่กลับไม่ถูกตัดคะแนน และในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าฝ่ายเบลารุสจะประท้วง ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินแต่อย่างใด
และล่าสุด การแข่งขันชิงเหรียญทองระหว่างนักชกไทยและแชมป์เก่าจากจีน สื่อมวลชนในอังกฤษเอง ไม่ว่าจะเป็นบีบีซีหรือรอยเตอร์ ต่างตั้งคำถามกับผลการตัดสินในครั้งนี้ ที่ไทยน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างน้อยในสองยก
แต่แล้ว AIBA ก็ออกมาแถลงกับสื่อว่า คำตัดสินนั้นถือว่าสิ้นสุด และโปร่งใส (ในสายตาของ AIBA เอง)
เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้?
นั้นคือคำถามสำหรับคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงอย่างเราๆต้องถามกับตัวเอง
1. ประเด็นแรกเลยก็คือ สะท้อนให้เห็นว่า โลกนี้ ความยุติธรรม ไม่ได้เกิดทันตาเห็น หากคุณจะถามหาความยุติธรรม มันต้องใช้เวลา
เปรียบกับโลกแห่งการลงทุน หากนักลงทุนรายหนึ่ง วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมาแล้วอย่างดี และคิดว่าตนเองละเอียดพอ เมื่อราคาหุ้นลงมาถึงจุดที่ตั้งใจไว้ว่าจะเข้ารับ กลับกลายเป็นว่า ราคากลับหล่นไปต่อ ถ้าไม่เคยศึกษาหรือมีประสบการณ์ในตลาดมาก่อน เจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็เป็นไปได้ที่จะด่าตลาดหุ้นว่า โดนบิดเบือน เจ้าเล่นแรง โชคไม่เข้าข้าง หรือ อ้างไปว่าโดนปัจจัยอื่นๆที่อยู่เหนือการควบคุมของตัวเอง โดยหารู้ไม่ว่า มันเป็นธรรมดาของการลงทุน และมันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ความยุติธรรม อาจไม่ให้ผลของมันในทันที แต่ผลกรรมของการกระทำ มันจะตามติดตัวคุณไปตลอด
2. ประเด็นที่สอง เราเรียกร้องความยุติธรรมจนลืมดูแลจิตใจตัวเอง
ถ้าลองค้นหาใน google คำว่า AIBA ณ ตอนนี้ สิ่งที่คุณเจอจะเป็น Clip ต่างๆ รวมถึงลิงค์ไปสู่เว็ปบอร์ดซึ่งรุมวิจารณ์การตัดสินและความเป็นกลางของ AIBA ในโอลิมปิคครั้งนี้ และเกินกว่า 70% เป็นคนไทย เรื่อง AIBA ปล้นเหรียญของจาก แก้ว พงษ์ประยูร ก็เรื่องหนึ่ง เรื่องความเกลียดที่เกิดขึ้นในใจเรา มันก็อีกเรื่องหนึ่ง ความไม่ยุติธรรม มักทำให้จิตใจของเราขาดความเป็นกลาง ซึ่งในแง่มุมของนักลงทุน ถือเป็นสิ่งต้องห้ามเลยทีเดียว
ตลาดหุ้นตกแรงๆ มักมาพร้อมข่าวร้าย และเมื่อมีข่าวร้าย ก็ย่อมเกิดความกลัว ผลจากความกลัว ทำให้เรามักจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกลยุทธ์ที่ควรทำ (ทั้งๆที่รู้ว่าต้องทำยังไง) นั้นก็คือ แทนที่จะซื้อเมื่อหุ้นตกแรงๆจนต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน กลับกลายเป็นขายทิ้งเพราะคิดว่าถือไม่ไหวแล้ว ทั้งๆที่ขาดทุนมา 20-30% ยังอุตส่าห์ถือมาได้
สำหรับใครที่ไม่คุ้นกับการบริหารสภาพจิตใจตัวเองในการลงทุน ขอให้ลองใช้วิธีนี้ดูครับ “ซื้อ เมื่ออยากขายมากๆ” และ “ขาย เมื่ออยากซื้อมากๆ” ผลจากการทำเช่นนี้ ผมไม่คิดว่าจะถูกต้อง 100% นะ อาจจะออกมา 50:50 ด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า อารมณ์ของเรา ไม่ได้มีอิทธิพล หรือเป็นปัจจัยอะไรเลยด้วยซ้ำกับการลงทุน
สุดท้าย การที่เราเกลียด AIBA และวิจารณ์การทำงานของเขา รวมกันมากๆ อาจกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งสุดท้าย อาจลงเอยด้วยการโกงรูปแบบอื่นก็เป็นได้) แต่สิ่งที่เราลืมคิดไปก็คือ การดูจิตใจ การดูแลหัวใจตัวเองไม่ให้ถูกความเกลียดครอบงำ ไม่ว่าจะเรื่องนี้ หรือเรื่องไหนก็ตาม ลองนึกดูสิครับ ความเกลียด ทำให้ใครได้ดีบ้าง? ที่เห็นๆ สงครามไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ก็เริ่มจากจุดเล็กๆที่เรียกว่า ความเกลียดทั้งนั้น
จากบล็อกมิสเตอร์เมสเซนเจอร์ครับ
เมื่อพูดถึง AIBA สิ่งที่เรานึกตามมาก็คือ การโดนปล้นเหรียญทอง ที่คนไทยทั้งประเทศเจ็บจี๊ดดดดดด
จริงๆแล้วหากดูจากการตัดสินของกรรมการในโอลิมปิคครั้งนี้ ไม่ใช่แค่คู่ของไทยเราเท่านั้นที่ค้านสายตาคนดูนะครับ
คู่แรกที่ค้านสายตาคนดูก็คือ การชกรุ่นแบนตัมเวทคู่ของนักมวยอาเซอร์ไบจันและญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่นักชกจากอาเซอร์ไบจันเอาชนะไปได้ถึงแม้ว่าจะล้มถึง 6 ครั้งในยกสุดท้าย (พิมพ์ไม่ผิดครับ ล้มไป 6 ครั้ง) ทำให้ทางญี่ปุ่นประท้วงคำตัดสิน จนในที่สุดก็ต้องมีการพลิกคำตัดสินให้ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ และกรรมการชาวเติร์กเมนิสถานถูกส่งกลับประเทศทันที
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน นักมวยจากอาเซอร์ไบจันอีกคนก็เอาชนะคู่แข่งชาวเบลารุสไปได้อย่างหวุดหวิด ท่ามกลางเสียงโห่จากผู้ชมในสนาม โดยในยกสุดท้าย เขาทำฟาวล์อย่างชัดเจนแต่กลับไม่ถูกตัดคะแนน และในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าฝ่ายเบลารุสจะประท้วง ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินแต่อย่างใด
และล่าสุด การแข่งขันชิงเหรียญทองระหว่างนักชกไทยและแชมป์เก่าจากจีน สื่อมวลชนในอังกฤษเอง ไม่ว่าจะเป็นบีบีซีหรือรอยเตอร์ ต่างตั้งคำถามกับผลการตัดสินในครั้งนี้ ที่ไทยน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างน้อยในสองยก
แต่แล้ว AIBA ก็ออกมาแถลงกับสื่อว่า คำตัดสินนั้นถือว่าสิ้นสุด และโปร่งใส (ในสายตาของ AIBA เอง)
เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้?
นั้นคือคำถามสำหรับคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงอย่างเราๆต้องถามกับตัวเอง
1. ประเด็นแรกเลยก็คือ สะท้อนให้เห็นว่า โลกนี้ ความยุติธรรม ไม่ได้เกิดทันตาเห็น หากคุณจะถามหาความยุติธรรม มันต้องใช้เวลา
เปรียบกับโลกแห่งการลงทุน หากนักลงทุนรายหนึ่ง วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมาแล้วอย่างดี และคิดว่าตนเองละเอียดพอ เมื่อราคาหุ้นลงมาถึงจุดที่ตั้งใจไว้ว่าจะเข้ารับ กลับกลายเป็นว่า ราคากลับหล่นไปต่อ ถ้าไม่เคยศึกษาหรือมีประสบการณ์ในตลาดมาก่อน เจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็เป็นไปได้ที่จะด่าตลาดหุ้นว่า โดนบิดเบือน เจ้าเล่นแรง โชคไม่เข้าข้าง หรือ อ้างไปว่าโดนปัจจัยอื่นๆที่อยู่เหนือการควบคุมของตัวเอง โดยหารู้ไม่ว่า มันเป็นธรรมดาของการลงทุน และมันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ความยุติธรรม อาจไม่ให้ผลของมันในทันที แต่ผลกรรมของการกระทำ มันจะตามติดตัวคุณไปตลอด
2. ประเด็นที่สอง เราเรียกร้องความยุติธรรมจนลืมดูแลจิตใจตัวเอง
ถ้าลองค้นหาใน google คำว่า AIBA ณ ตอนนี้ สิ่งที่คุณเจอจะเป็น Clip ต่างๆ รวมถึงลิงค์ไปสู่เว็ปบอร์ดซึ่งรุมวิจารณ์การตัดสินและความเป็นกลางของ AIBA ในโอลิมปิคครั้งนี้ และเกินกว่า 70% เป็นคนไทย เรื่อง AIBA ปล้นเหรียญของจาก แก้ว พงษ์ประยูร ก็เรื่องหนึ่ง เรื่องความเกลียดที่เกิดขึ้นในใจเรา มันก็อีกเรื่องหนึ่ง ความไม่ยุติธรรม มักทำให้จิตใจของเราขาดความเป็นกลาง ซึ่งในแง่มุมของนักลงทุน ถือเป็นสิ่งต้องห้ามเลยทีเดียว
ตลาดหุ้นตกแรงๆ มักมาพร้อมข่าวร้าย และเมื่อมีข่าวร้าย ก็ย่อมเกิดความกลัว ผลจากความกลัว ทำให้เรามักจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกลยุทธ์ที่ควรทำ (ทั้งๆที่รู้ว่าต้องทำยังไง) นั้นก็คือ แทนที่จะซื้อเมื่อหุ้นตกแรงๆจนต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน กลับกลายเป็นขายทิ้งเพราะคิดว่าถือไม่ไหวแล้ว ทั้งๆที่ขาดทุนมา 20-30% ยังอุตส่าห์ถือมาได้
สำหรับใครที่ไม่คุ้นกับการบริหารสภาพจิตใจตัวเองในการลงทุน ขอให้ลองใช้วิธีนี้ดูครับ “ซื้อ เมื่ออยากขายมากๆ” และ “ขาย เมื่ออยากซื้อมากๆ” ผลจากการทำเช่นนี้ ผมไม่คิดว่าจะถูกต้อง 100% นะ อาจจะออกมา 50:50 ด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า อารมณ์ของเรา ไม่ได้มีอิทธิพล หรือเป็นปัจจัยอะไรเลยด้วยซ้ำกับการลงทุน
สุดท้าย การที่เราเกลียด AIBA และวิจารณ์การทำงานของเขา รวมกันมากๆ อาจกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งสุดท้าย อาจลงเอยด้วยการโกงรูปแบบอื่นก็เป็นได้) แต่สิ่งที่เราลืมคิดไปก็คือ การดูจิตใจ การดูแลหัวใจตัวเองไม่ให้ถูกความเกลียดครอบงำ ไม่ว่าจะเรื่องนี้ หรือเรื่องไหนก็ตาม ลองนึกดูสิครับ ความเกลียด ทำให้ใครได้ดีบ้าง? ที่เห็นๆ สงครามไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ก็เริ่มจากจุดเล็กๆที่เรียกว่า ความเกลียดทั้งนั้น
จากบล็อกมิสเตอร์เมสเซนเจอร์ครับ