สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 2:03 pm
บังเอิญ ปีที่แล้วทำไป 1 ครั้ง ตอนหุ้นตก ปีนี้อีกครั้ง NAV ขึ้นมาเกือบ 50% เสียดายที่ LTF ทำไม่ได้แล้ว น่าจะมีคนที่ทำเกิน 100% ไปแล้ว ถ้าทำทุกปี
เว็บบอร์ดเพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
https://thaiviv3.mdsoft.co.th/./
Tsurumi เขียน:5.งบดุลและงบกำไรขาดทุน ในรายงานประจำปี ต้องอ่านให้ได้ เพราะเงินของเรา อย่าได้ซื้อเพราะเขาเดินแจกในงาน Money Expo ว่ากองหนูชนะ Set และ Top 1 ในกองทุนทั้งหมด ผมมีประสบการณ์นี้เพราะซื้อเพราะไบ Fact sheet ที่วิ่งแจกในงาน Money Expo ก็เหมือนเราลงทุนในหุ้น ตัวเลขที่ผ่านมาไม่ยืนยันผลภายหน้า อ่านใน งบดุลก็เจอว่า ปีต่อมากลุ่มอุตฯนั้นเป็นขาลง จากอันดับหนึ่งหล่นลงไปใกลเลย ดูงบกำไรขาดทุนบรรทัดแรกกับบรรทัดสุดท้ายให้แม่น มันก็แปลกชื่อก็บอกว่า งบกำไรขาดทุน แต่ชีวิตเราจะไม่เห็นคำว่ากำไรหรือขาดทุนในบรรทัดสุดท้าย จะเห็นเพียงคำว่า กำไรสะสมปลายปี สรุป ดูสี่บรรทัดสุดท้าย ท่องเป็นคาถาไว้เลย ถ้าในสี่บรรทัดนี้มีตัวเลขอยู่ในวงเล็บเมือไรก็เตรียมหาข้อมูลแกะออกมาให้ได้ว่า ขาดทุนเพราะอะไร ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินอาจช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทุกกรณีเช่น ขาดทุนจากการซื้ออนุพันธ์การเงิน ไม่รู้ว่าซื้ออะไรไว้ ถาม Call Center ก็ไม่รู้อีก อยากรู้เขียนอีเมล์มา เรื่องไปกันใหญ่ เจ้าตัวอนุพันธ์นี้เสี่ยงสูงจริงๆ ทำให้ยอดดำเนินการทั้งปีรายได้จากปีที่แล้วสูงกว่าปีก่อนมาก แต่สุดท้ายก็ขาดทุน เพราะน้องอนุพันธ์คนเดียว ต่อไปดู “กำไรสะสมปลายปี” แน่นอนกองทุนจะมีเงินสะสมเยอะเพราะนั่นคือ กำไร ในความหมายของการดำเนินการ สะสมมากขึ้นทุกปีเหมือน บมจ. แต่เจอน้องอนุพันธ์เล่นงานเข้า ก็ต้องงัดเอากำไรสะสมมาแจกปันผลต่อไป ทำไปมา ก็งูกินหางคือ กำไรสะสมลดลงต่อไป ทำให้อะไรๆก็ลดลง ค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย NAV ก็เหมือนปีก่อนนี้ ถ้าเห็นค่า NAV เป็นแม่เหล็กไม่ขยับแล้วก็แกะ/ขุดข้อมูลให้ได้ว่า ทำไม - เตรียมย้ายบ้านถ้าจำเป็น กองของผมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมา 2.5 ปีแล้ว
ความเสี่ยงจากอนุพันธ์การเงิน (Derivatives)
Just an Idea : ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ฉบับที่แล้วผมได้นำเสนอข้อดี และกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่ตราสารอนุพันธ์ว่าเป็นใครบ้าง วันนี้เรามาดูข้อเสียของอนุพันธ์ตราสารกันบ้าง
ข้อเสียของอนุพันธ์การเงินนั้น มีควบคู่ไปกับข้อดีกล่าวคือ ในขณะที่อนุพันธ์การเงินนำมาซึ่งเงินทุนไหลเข้า (Capital Flows) แต่ก็นำเอาความเสี่ยงเข้ามาด้วย ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้
1. ทำให้ขาดหรือลดความโปร่งใสในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง งบการเงินของธนาคารกลาง และงบการเงินของประเทศ เนื่องจากการพิจารณา การประเมินและการเข้าใจฐานะที่แท้จริงทำได้ลำบาก ตัวอย่างเช่น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำอนุพันธ์การเงินประเภท Currency forward และ SWAP ในช่วงปี 2539-2540 ทำให้เราเข้าใจผิดถึงฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศที่แท้จริง
อีกตัวอย่างหนึ่งของการลดความโปร่งใสของงบการเงินในระดับประเทศนั้น สามารถเกิดขึ้นกับดุลการชำระเงิน (balance of payment accounts) เพราะระยะเวลาการชำระเงิน (maturity) และสกุลเงินต่างประเทศ (currency denomination) ของสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ สามารถเปลี่ยนไปด้วยอนุพันธ์การเงินที่อิงกับอัตราแลกเปลี่ยน
รวมทั้งภาระดอกเบี้ยที่จะได้รับหรือที่จะต้องจ่ายออกไปนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยอนุพันธ์การเงินที่อิงกับอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ระยะยาวสามารถกลายเป็นเงินกู้ระยะสั้นได้ถ้าใช้ put options "หลายๆ ครั้งอนุพันธ์การเงินสามารถทำให้หนี้ระยะสั้นดูเหมือนการลงทุน (portfolio investments)" ซึ่งดูเหมือนดี แต่จริงๆ ไม่ใช่เพราะกลายเป็นมีภาระหนี้ระยะสั้นจำนวนมาก ตัวอย่างอื่นๆ เช่น อนุพันธ์การเงินสามารถช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้อันดับเครดิต (Rating) ดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้ Junk bond ดูเหมือน -A- rated bond นอกจากนั้น อนุพันธ์การเงินยังสามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการรับรู้รายได้จากปัจจุบันเป็นอนาคต หรืออนาคตเป็นปัจจุบัน และเปลี่ยน Capital gain เป็น Interest Payment หรือในทางกลับกัน
2. อนุพันธ์การเงินยังสามารถช่วยให้บริษัทหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกำกับดูแลด้านความมั่นคงได้ โดยการปรับเปลี่ยนสถานะความเสี่ยงที่จะปรากฏในงบดุล โดยการซ่อนเร้นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และลดเงินกองทุนที่จำเป็นต้องมีไว้ โดยที่พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง สามารถปรับเปลี่ยนให้ดูมีความเสี่ยงน้อยลงได้
3. อนุพันธ์การเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม (Leverage) ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนสิทธิความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด การลงทุนเพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด
การใช้อนุพันธ์การเงินมากๆ อาจส่งผลให้ฐานะเงินกองทุนที่จะรองรับความเสียหายมีไม่เพียงพอ
โดยทั่วไปการเก็งกำไรในลักษณะนี้จะทำให้ระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น การใช้อนุพันธ์การเงินอาจเป็นแรงกดดันกับค่าเงิน (ระดับอัตราแลกเปลี่ยน) และนำสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินได้
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อนุพันธ์การเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินและหลักทรัพย์ตกต่ำรวดเร็ว ทำให้วิกฤติการเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือการแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน (Contagion)
ทั้งนี้ เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในเวลาเดียวกัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณธุรกรรมทางตราสารอนุพันธ์ ทำให้ทางการและองค์กรกำกับดูแลเริ่มมีความกังวล เนื่องจากพันธสัญญาและความรับผิดชอบระหว่างคู่กรณี มีมูลค่ามากมายมหาศาล ซึ่งง่ายที่จะเกิดการผิดสัญญา ผิดนัดชำระหรือส่งมอบกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผันผวนอย่างรวดเร็วของระดับราคา อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ผลเสียจะยิ่งมากขึ้น ถ้าเกี่ยวพันกับประชาชนผู้ลงทุนรายย่อยซึ่งนอกจากจะสูญเสียเงินแล้วยังสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกรรมประเภทนี้ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อตลาดการเงิน
นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนายและผลลัพธ์สามารถเป็นไปได้หลายร้อยรูปแบบ ถึงแม้จะมีการคิดค้นสูตรและวิธีทางคณิตศาสตร์ เช่น Black and Scholes หรือ Binomial Method หรือสูตรผสมอื่นๆ มาช่วยในการคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงแล้ว ก็ยังไม่สามารถจัดการกับตราสารอนุพันธ์ที่นับวันจะมีความหลากหลายและสลับซับซ้อนมาก
นอกจากนั้นแล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยงยิ่งนัก
นี่คืออันตรายของอนุพันธ์ตราสาร
ยังไม่จบแค่นี้นะครับ ไว้คราวหน้าผมจะแจกแจงให้เห็นอันตรายของอนุพันธ์ตราสารให้ผู้อ่านได้เห็นทราบเพิ่มเติมครับ
ความเสี่ยงจากอนุพันธ์การเงิน(3) (Derivatives)
Just an Idea : ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เรามาดูเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอนุพันธ์ตราสารกันต่อนะครับ
เรื่องความเสี่ยงและความคุ้มค่าของอนุพันธ์ตราสารนั้นมันมีความเสี่ยงมากสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากเข้าไปลงทุน แน่นอนว่าอนุพันธ์ทางการเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด
ขณะที่การลงทุนนั้น เพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด อาจเป็นข้อดี แต่ข้อเสียนั้นก็มีมากมายเหลือเกิน
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ อนุพันธ์ทางการเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงิน และราคาหลักทรัพย์ตกต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย
การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนาย
นอกจากนั้นแล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยง
โดยที่ตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตราสารสิทธิ์และตราสารล่วงหน้า ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่ขายตราสารสิทธิ์ ผู้ซื้อตราสารล่วงหน้า และผู้ขายตราสารล่วงหน้า ส่วนผู้ที่ซื้อตราสารสิทธิ์นั้นมีความเสี่ยงจำกัดเพียงแค่ ค่า Premium หรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายเพื่อซื้อตราสารสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้นการคำนวณความเสี่ยง จึงมีความยากลำบากในกรณีของการขายตราสารสิทธิ์ การซื้อและการขายตราสารล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพร้อมๆ กัน
ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายๆ แห่งกำลังให้ความสำคัญกับธุรกิจการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีการนำเอาเทคนิคทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยใช้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ ค่าตัวแพงๆ ที่เรียกว่า Quants หรือ ย่อมาจาก Quantitative Analysts มาพัฒนาสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้วัดความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมทั้งพัฒนา SOFTWARE หรือ Model ทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจซื้อขายตราสารอนุพันธ์
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ Model เหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จนเชื่อได้ว่าสามารถวัดความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกต้อง
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าหากว่า Model นั้น เป็น Model ที่ผิดซึ่งให้ผลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จะเสียหายมาก
แต่กลุ่มที่ยังได้กำไรจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ก็ได้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์ใน Wall Street ที่ได้พัฒนาตนเองเป็นศูนย์รวมและเครือข่ายธุรกิจการเงินที่ไร้ตะเข็บ สามารถทำ Deal ทางตราสารอนุพันธ์มูลค่าเป็นพันๆ ล้านเหรียญได้ในเสี้ยววินาที โดยที่ผู้ประกอบการนักลงทุนและนักเก็งกำไรสามารถซื้อตราสารอนุพันธ์ได้โดยตรงจากผู้ค้า
สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังคิดค้นผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มรายได้และแข่งขันกันให้บริการการเงินที่ลูกค้าพอใจ คาดว่าสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย คงจะพยายามเข้ามาขายของโดยเน้นทำรายได้จาก การสร้างตราสารอนุพันธ์และการค้าตราสารอนุพันธ์ ซึ่งคงจะเข้ามาพยายามขายกับสถาบันการเงินของไทย องค์กรที่จะกำกับดูแลในเรื่องนี้คงจะมีงานที่ท้าทายให้ทำอีกแล้ว
ผมอยากให้สถาบันการเงินไทยระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก สิ่งที่ต้องคิดย้ำอยู่เสมอ ก็คือ ผู้บริหารเข้าใจความเสี่ยงดีแค่ไหน และเงินกองทุนเพียงพอรองรับกับความเสียหายได้หรือไม่