ประสาทสัมผัสที่ผิด/ธันวา เลาหศิริวงศ์
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2012 10:41 am
เนื่องจากปัจจุบัน พี่ธันวาเขียนบทความลงในประชาชาติธุรกิจ และเป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน ทีมงานเห็นสมควรนำมาลงเพื่อให้สมาชิกได้อ่านบทความที่มีคุณภาพ ผมจะลงบทความย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน และหลังจากนั้นก็จะลงบทความใหม่ทุกสัปดาห์ครับ
ประสาทสัมผัสที่ผิด
การตัดสินใจลงทุนของแต่ละคนมีวิธีแตกต่างกันไป นอกจากการประเมินมูลค่าของกิจการด้วยวิธีที่ตนถนัดแล้ว นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ความรู้สึกประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน โดยจะใช้วิธีสำรวจ ติดตาม หรือสัมผัสสินค้าและบริการด้วยตนเอง หากรู้สึกดีหรือเป็นบวกก็จะมั่นใจในการลงทุนและกล้าตัดสินใจลงทุนในปริมาณมาก ในทางตรงข้าม หากเป็นไปในทางลบก็อาจจะตัดสินใจไม่เข้าลงทุนหรือขายหุ้นนั้นออกมา แม้จะประเมินว่าราคาหุ้นอยู่ในข่ายเหมาะสมก็ตาม
ในแต่ละวัน เมื่อเปิดหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายสูงฉบับหนึ่ง เราจะพบโฆษณารวมจำนวนหลายหน้า ทั้ง“เช็คไพรซ์ ถูกชัวร์ ทุกวัน” จากบริษัทบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) และ “ที่ 1 เรื่องถูกสุดสุด” ของห้างเทสโก้ โลตัส แถมบางวัน ยังมีคูปอง 60 บาทเมื่อซื้อสินค้าครบ 600 บาทอีกด้วย เมื่อมองจากภายนอกแล้ว เหมือนเป็นสงครามราคาที่ดุเดือด ตาต่อตา ฟันต่อฟัน และต้องกระทบต่ออัตราการทำกำไรอย่างแน่นอน โดยที่ยังมีค่าใช้จ่ายโฆษณาที่สูงมาก ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น แม้การแข่งขันทวีความเข้มข้นขึ้นหลังจากบิ๊กซี (BIGC) ควบรวมกิจการคาร์ฟู แต่ BIGC ได้รายงานผลประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างน่าจะประทับใจทั้งยอดขาย ผลกำไร อัตรากำไรสุทธิ ในหลายไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้มีมูลค่าตลาด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 สูงถึง 160,875 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวในเวลาเพียง 2-3 ปี แม้เทสโก้ โลตัส ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่เชื่อได้เลยว่า ผลประกอบการก็ต้องดีประทับใจไม่แพ้กัน
ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ ของบริษัทเพรสซิเดนท์ เบเกอรี่ (PB) มีสัดส่วนรายได้ผ่านร้านสะดวกอิ่ม 7-11 (ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น) ของบริษัทซีพีออล์ (CPALL) ถึงประมาณ 30% เวลาต่อมาบริษัท CPRAM ในเครือ CPALL ได้ผลิตขนมปังและเบเกอรี่ ภายใต้ชื่อ เลอแปงและเบกเกอร์แลนด์ มาจำหน่ายด้วยตำแหน่งการวางสินค้าที่โดดเด่น ผู้ถือหุ้น PB น่าจะต้องกังวลถึงความเสี่ยงนี้อย่างมาก ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจขนมปังและเบเกอรี่ยังมีการเติบโตสูงมาก เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการบริโภคในสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น PB ยังมีผลประกอบการที่ดีต่อเนื่อง ครองความเป็นผู้นำตลาดที่ผลิตสินค้าตรงใจผู้บริโภคทั้งรสชาติและราคา PB มีมูลค่าตลาดถึง 21,937 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัวในเวลาเพียง 3 ปี แน่นอน สินค้าของ CPRAM ก็เติบโตได้ดีมากอย่างไม่ต้องสงสัย
เมื่อเดินห้างโฮมโปร ของบริษัทโฮม โปรดักส์ เซนเตอร์ (HMPRO) เราจะรู้สึกว่า จำนวนคนเดินเลือกซื้อสินค้าไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเดินห้างที่เราคุ้นเคย พนักงานส่วนใหญ่ยืนรอพร้อมให้บริการลูกค้า เราจะรู้สึกไม่มั่นใจว่าธุรกิจจะไปได้ดีหรือไม่ สินค้าอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องซื้อทันที ต้องได้รับผลกระทบยามเศรษฐกิจแย่ และเมื่อมีการสร้างบ้านใหม่น้อยลง ความรู้สึกนั้นอาจจะจริงอยู่บ้างแต่ไม่ถูกต้องนัก เพราะโฮมโปรเป็นห้างที่คนส่วนใหญ่ตั้งใจไปเพื่อซื้อสินค้าโดยมีรายการสินค้าที่จะซื้ออยู่แล้ว มีสินค้าหลากหลาย ครบถ้วนพร้อมบริการติดตั้ง ยอดขายต่อใบเสร็จเฉลี่ยสูงถึง 2,400 บาทจากสินค้าที่มีมูลค่าสูง รายได้ขึ้นอยู่กับลูกค้าบ้านใหม่เพียง 30% เท่านั้น จึงทำให้ HMPRO มีผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมและมีมูลค่าตลาดสูงถึง 72,391 ล้านบาท สร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นกว่า 12 เท่าตัวในเวลาเพียง 4 ปี
การลดราคาสินค้า 20% ทุกวันพุธเป็นกลยุทธ์การตลาดของบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) มองเผินๆแล้วอาจจะคล้ายๆ กับร้านอาหารธรรมดาทั่วไป ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องความภักดีต่อสินค้า การเติบโตและผลประกอบการในระยะยาว ในความเป็นจริงคือ S&P เป็นร้านค้าปลีกอาหารที่มีชื่อเสียงยาวนาน มีลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเป็นประจำสม่ำเสมอ มีสาขาทั่วถึง กลยุทธ์เพิ่มจุดขายเบเกอรี่ที่ใช้พื้นที่น้อย ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำส่งผลดีต่อผลประกอบการอย่างมาก ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดสูงถึง 13,138 ล้านบาท หรือเกือบ 6 เท่าตัวในเวลาเพียง 4 ปี
วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวันแรกของการขึ้น XD สำหรับหุ้นปันผล 1:1 และปันผลเงินสดของ CPALL ในช่วงเปิดตลาดผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่กำลังตัดสินใจซื้อหุ้น CPALL ด้วยเหตุที่ราคาตกลงมาก ผมบอกกลับไปว่าพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ราคาที่เห็นไม่ใช่ราคาที่ลดลงแต่เป็นการเพิ่มขึ้นต่างหาก ผมไม่ใจว่าท่านนั้นเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายหรือไม่ แต่หากเขาตัดสินใจซื้อหุ้นเวลานั้น มันจะเป็นการใช้ความรู้สึกที่ผิดอย่างแรงครั้งหนึ่งในชีวิตการลงทุนทีเดียว
ตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นเพียงกรณีศึกษา การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงข้อเท็จจริง เหตุและผล สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น จะช่วยให้เราไม่ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจมากเกินไป เพราะการใช้ความรู้สึกหรือประสาทสัมผัสที่ “ผิด” อาจจะนำไปสู่การสูญเสียโอกาสลงทุนในกิจการที่ยอดเยี่ยมที่จะสร้างผลตอบแทนอย่างงามได้
ความผันผวนของราคาหุ้นและดัชนีตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากความกังวลปัญหายุโรปในเวลานี้ นักลงทุนจำนวนหนึ่งอาจจะใช้ความรู้สึกว่า หุ้นกำลังจะแย่หรือจะดีในการตัดสินใจทำธุรกรรมซื้อขายหุ้น เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประสาทสัมผัสนั้นถูกต้องหรือไม่ ในฐานะ Value Investor เราต้องพิจารณาว่ากิจการที่เราสนใจหรือถือหุ้นอยู่นั้น ได้รับผลกระทบจากความกังวลของปัญหาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด หากพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทางลบและยังคงมีแนวโน้มตามที่เราได้ศึกษาก่อนเข้าลงทุนแล้ว เราควรจะอยู่เฉยๆไม่ต้องทำอะไร ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่จะเข้ามายั่วต่อมความรู้สึกหรือประสาทสัมผัส จะทำให้เรากลายเป็น Timing Investor โดยไม่รู้ตัว !!
ประสาทสัมผัสที่ผิด
การตัดสินใจลงทุนของแต่ละคนมีวิธีแตกต่างกันไป นอกจากการประเมินมูลค่าของกิจการด้วยวิธีที่ตนถนัดแล้ว นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ความรู้สึกประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน โดยจะใช้วิธีสำรวจ ติดตาม หรือสัมผัสสินค้าและบริการด้วยตนเอง หากรู้สึกดีหรือเป็นบวกก็จะมั่นใจในการลงทุนและกล้าตัดสินใจลงทุนในปริมาณมาก ในทางตรงข้าม หากเป็นไปในทางลบก็อาจจะตัดสินใจไม่เข้าลงทุนหรือขายหุ้นนั้นออกมา แม้จะประเมินว่าราคาหุ้นอยู่ในข่ายเหมาะสมก็ตาม
ในแต่ละวัน เมื่อเปิดหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายสูงฉบับหนึ่ง เราจะพบโฆษณารวมจำนวนหลายหน้า ทั้ง“เช็คไพรซ์ ถูกชัวร์ ทุกวัน” จากบริษัทบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ (BIGC) และ “ที่ 1 เรื่องถูกสุดสุด” ของห้างเทสโก้ โลตัส แถมบางวัน ยังมีคูปอง 60 บาทเมื่อซื้อสินค้าครบ 600 บาทอีกด้วย เมื่อมองจากภายนอกแล้ว เหมือนเป็นสงครามราคาที่ดุเดือด ตาต่อตา ฟันต่อฟัน และต้องกระทบต่ออัตราการทำกำไรอย่างแน่นอน โดยที่ยังมีค่าใช้จ่ายโฆษณาที่สูงมาก ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น แม้การแข่งขันทวีความเข้มข้นขึ้นหลังจากบิ๊กซี (BIGC) ควบรวมกิจการคาร์ฟู แต่ BIGC ได้รายงานผลประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างน่าจะประทับใจทั้งยอดขาย ผลกำไร อัตรากำไรสุทธิ ในหลายไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้มีมูลค่าตลาด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 สูงถึง 160,875 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวในเวลาเพียง 2-3 ปี แม้เทสโก้ โลตัส ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่เชื่อได้เลยว่า ผลประกอบการก็ต้องดีประทับใจไม่แพ้กัน
ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ ของบริษัทเพรสซิเดนท์ เบเกอรี่ (PB) มีสัดส่วนรายได้ผ่านร้านสะดวกอิ่ม 7-11 (ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น) ของบริษัทซีพีออล์ (CPALL) ถึงประมาณ 30% เวลาต่อมาบริษัท CPRAM ในเครือ CPALL ได้ผลิตขนมปังและเบเกอรี่ ภายใต้ชื่อ เลอแปงและเบกเกอร์แลนด์ มาจำหน่ายด้วยตำแหน่งการวางสินค้าที่โดดเด่น ผู้ถือหุ้น PB น่าจะต้องกังวลถึงความเสี่ยงนี้อย่างมาก ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจขนมปังและเบเกอรี่ยังมีการเติบโตสูงมาก เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการบริโภคในสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น PB ยังมีผลประกอบการที่ดีต่อเนื่อง ครองความเป็นผู้นำตลาดที่ผลิตสินค้าตรงใจผู้บริโภคทั้งรสชาติและราคา PB มีมูลค่าตลาดถึง 21,937 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัวในเวลาเพียง 3 ปี แน่นอน สินค้าของ CPRAM ก็เติบโตได้ดีมากอย่างไม่ต้องสงสัย
เมื่อเดินห้างโฮมโปร ของบริษัทโฮม โปรดักส์ เซนเตอร์ (HMPRO) เราจะรู้สึกว่า จำนวนคนเดินเลือกซื้อสินค้าไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเดินห้างที่เราคุ้นเคย พนักงานส่วนใหญ่ยืนรอพร้อมให้บริการลูกค้า เราจะรู้สึกไม่มั่นใจว่าธุรกิจจะไปได้ดีหรือไม่ สินค้าอาจจะไม่จำเป็นที่ต้องซื้อทันที ต้องได้รับผลกระทบยามเศรษฐกิจแย่ และเมื่อมีการสร้างบ้านใหม่น้อยลง ความรู้สึกนั้นอาจจะจริงอยู่บ้างแต่ไม่ถูกต้องนัก เพราะโฮมโปรเป็นห้างที่คนส่วนใหญ่ตั้งใจไปเพื่อซื้อสินค้าโดยมีรายการสินค้าที่จะซื้ออยู่แล้ว มีสินค้าหลากหลาย ครบถ้วนพร้อมบริการติดตั้ง ยอดขายต่อใบเสร็จเฉลี่ยสูงถึง 2,400 บาทจากสินค้าที่มีมูลค่าสูง รายได้ขึ้นอยู่กับลูกค้าบ้านใหม่เพียง 30% เท่านั้น จึงทำให้ HMPRO มีผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมและมีมูลค่าตลาดสูงถึง 72,391 ล้านบาท สร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นกว่า 12 เท่าตัวในเวลาเพียง 4 ปี
การลดราคาสินค้า 20% ทุกวันพุธเป็นกลยุทธ์การตลาดของบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) มองเผินๆแล้วอาจจะคล้ายๆ กับร้านอาหารธรรมดาทั่วไป ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องความภักดีต่อสินค้า การเติบโตและผลประกอบการในระยะยาว ในความเป็นจริงคือ S&P เป็นร้านค้าปลีกอาหารที่มีชื่อเสียงยาวนาน มีลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเป็นประจำสม่ำเสมอ มีสาขาทั่วถึง กลยุทธ์เพิ่มจุดขายเบเกอรี่ที่ใช้พื้นที่น้อย ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่ำส่งผลดีต่อผลประกอบการอย่างมาก ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดสูงถึง 13,138 ล้านบาท หรือเกือบ 6 เท่าตัวในเวลาเพียง 4 ปี
วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวันแรกของการขึ้น XD สำหรับหุ้นปันผล 1:1 และปันผลเงินสดของ CPALL ในช่วงเปิดตลาดผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่กำลังตัดสินใจซื้อหุ้น CPALL ด้วยเหตุที่ราคาตกลงมาก ผมบอกกลับไปว่าพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ราคาที่เห็นไม่ใช่ราคาที่ลดลงแต่เป็นการเพิ่มขึ้นต่างหาก ผมไม่ใจว่าท่านนั้นเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายหรือไม่ แต่หากเขาตัดสินใจซื้อหุ้นเวลานั้น มันจะเป็นการใช้ความรู้สึกที่ผิดอย่างแรงครั้งหนึ่งในชีวิตการลงทุนทีเดียว
ตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นเพียงกรณีศึกษา การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงข้อเท็จจริง เหตุและผล สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น จะช่วยให้เราไม่ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจมากเกินไป เพราะการใช้ความรู้สึกหรือประสาทสัมผัสที่ “ผิด” อาจจะนำไปสู่การสูญเสียโอกาสลงทุนในกิจการที่ยอดเยี่ยมที่จะสร้างผลตอบแทนอย่างงามได้
ความผันผวนของราคาหุ้นและดัชนีตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากความกังวลปัญหายุโรปในเวลานี้ นักลงทุนจำนวนหนึ่งอาจจะใช้ความรู้สึกว่า หุ้นกำลังจะแย่หรือจะดีในการตัดสินใจทำธุรกรรมซื้อขายหุ้น เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประสาทสัมผัสนั้นถูกต้องหรือไม่ ในฐานะ Value Investor เราต้องพิจารณาว่ากิจการที่เราสนใจหรือถือหุ้นอยู่นั้น ได้รับผลกระทบจากความกังวลของปัญหาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด หากพื้นฐานของกิจการไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทางลบและยังคงมีแนวโน้มตามที่เราได้ศึกษาก่อนเข้าลงทุนแล้ว เราควรจะอยู่เฉยๆไม่ต้องทำอะไร ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่จะเข้ามายั่วต่อมความรู้สึกหรือประสาทสัมผัส จะทำให้เรากลายเป็น Timing Investor โดยไม่รู้ตัว !!