เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒนา'
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 21, 2012 11:27 pm
เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒนา'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 21, 2012 07:24
19588 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ทายาทตระกูลดัง 'พีรนาถ โชควัฒนา' หลานชายคนโตนายห้าง 'เทียม โชควัฒนา' ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ทิ้งธุรกิจครอบครัวเลือกเดินชีวิตบนเส้นทางตลาดหุ้น เจ้าตัวขอไม่เปิดเผยใบหน้า แต่เล่า 'วิถีแห่งเซียน' อย่างหมดเปลือก
ถ้าเอ่ยชื่อ พีรนาถ โชควัฒนา ในวงการ "วีไอ" น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเขา ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" ที่เชี่ยวชาญการลงทุนในตลาดหุ้นในระดับแถวหน้า แต่ในอาณาจักรแสนล้านเครือสหพัฒน์ ไม่ปรากฏชื่อเขาในฐานะนักธุรกิจใหญ่ "หลานชายคนโต" จากทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล
ชายกลางคนวัย 49 ปีรายนี้ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา ปัจจุบันพีรนาถแต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ประวัติการศึกษาของพีรนาถ เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านวิศวะเคมี ที่ California Institute of Technology สหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบกลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน พีรนาถตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่เรียนปริญญาโทใบที่สองอยู่นั้น เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปศึกษางานในบริษัท บริหารสากล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ โชติ โสภณพนิช
ขณะเดียวกัน ก็ยังแบ่งเวลาไปช่วยงานคุณพ่อ (บุญเอก) ใน บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด และบริษัท บุญรวี จำกัด จากนั้น 2-3 ปี ก็เข้าไปทำงานในตำแหน่งเล็กๆ ใน บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ ในเครือสหพัฒน์ ซึ่งปัจจุบันคือ บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล (ICC) ทำงานได้ 8 ปี ก็ขอลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัวที่เจ้าตัวไม่อยากเปิดเผย
พีรนาถ นับเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi รุ่นแรก เขาเลือกจบบทบาท "ลูกจ้างเครือสหพัฒน์" หลังมีความคิดที่ว่า “ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้นอย่างเต็มตัว
ทุกวันนี้ หลานชายคนโตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ไม่ได้บริหารธุรกิจในเครือสหพัฒน์ แต่จากการสำรวจของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า พีรนาถยังคงทำหน้าที่ดูแลพอร์ตลงทุนให้กับตระกูลโชควัฒนา ในนาม บริษัท หลานปู่ จำกัด, คณะบุคคลหลานปู่ โดยนายพีรนาถ โชควัฒนา และยังจัดตั้ง บริษัท พีรธร จำกัด เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น นอกเหนือไปจากการลงทุนโดยใช้ชื่อส่วนตัว
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าพีรนาถ ถือหุ้นขนาดกลางและเล็กหลายบริษัท เช่น หุ้น บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ของ นพดล ธรรมวัฒนะ หุ้น เจ มาร์ท (JMART) ของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ซึ่งหุ้น JMART ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา สองปรมาจารย์หุ้นวีไอก็ถือหุ้นอยู่ด้วย รวมทั้งถือหุ้น ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) ของ วิโรจน์ พรประกฤต และหุ้น มาสเตอร์ แอด (MACO) เป็นต้น
ขณะที่ บริษัท หลานปู่ จำกัด ถือหุ้นบริษัทในเครือสหพัฒน์จำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ (S & J) บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) บมจ.สหพัฒนพิบูล (SPC) บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) และ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี (FE) เป็นต้น
ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดพูดคุยกับพีรนาถ ที่เต็นท์รถยนต์มือสองย่านถนนพระราม 9 ภายใต้ชื่อ V-CAR ซึ่งเขาร่วมหุ้นกับกลุ่มเพื่อน ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีนักลงทุน "วีไอรายใหญ่" นั่งอยู่ด้วย 2 คน หนึ่งในนั้น คือ เจ้าของนามแฝง “กะละมัง” ในเว็บไซต์ Thaivi.Com จากการตรวจสอบพบว่า "เฮียกะละมัง" ชายวัย 50 กว่ารายนี้ถือหุ้นอยู่หลายบริษัท แต่เจ้าตัวขอไม่ให้เปิดเผย "ชื่อ" และ "นามสกุล" ต่อสาธารณะ
เฮียกะละมัง เป็นบุคคลที่ “มี่” ทิวา ชินธาดาพงศ์ เซียนหุ้นรายใหญ่ ยกให้เป็น (อาจารย์) ผู้มีพระคุณ เป็นคนช่วยแนะนำการลงทุนในช่วงหัดเล่นหุ้นใหม่ๆ ดูจากนิสัยเป็นคนชอบสอน และพูดเก่งมากๆ
"ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ชายวัยกลางคนรูปร่างขาว ไม่อ้วน ไม่ผอม พยายามพูดถ่อมตัว!!! พีรนาถหลานชายคนโตตระกูลโชควัฒนา บอกกับนักข่าวต่อว่า "ผมไม่ชอบให้สัมภาษณ์...อยากลงทุนอย่างเงียบๆ ฉะนั้นผมไม่ขอเปิดเผยหน้าตา เพื่อความสบายใจ" นี่คือ ข้อแลกเปลี่ยนที่ยอมเปิดเผยในครั้งนี้
พีรนาถ เริ่มเล่าจุดเริ่มต้นของการลงทุนในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ทันทีที่เรียนจบปริญญาตรี (วิศวะจุฬาฯ) ก็คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตอนนั้นยอมรับว่าเล่นหุ้นไม่เป็น ออกแนว “เสี่ยงดวง” ด้วยซ้ำ! เล่นหุ้นสมัยก่อนไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ เพราะสมัยนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายยังใช้วิธีเคาะกระดานหุ้นอยู่เลย ที่สำคัญ ไม่มีหุ้นให้เลือกเล่นมากมายเหมือนปัจจุบัน
"เมื่อตัดสินใจดีแล้ว ผมก็เดินเข้าไปที่ บล.พัฒนสิน (ปัจจุบัน คือ บล.โนมูระ พัฒนสิน) เพื่อขอเปิดพอร์ตลงทุน ช่วงนั้นโบรกเกอร์กำลังหาลูกค้า ทำให้ไม่ต้องหอบเงินสดไปเปิดพอร์ต เขาจะตัดผ่านบัญชี ผมก็เอาเงิน “แต๊ะเอีย” (ตรุษจีน) รวมกับเงินเดือนที่เก็บสะสมไว้มาลงทุน นานมาแล้วผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นเงินเท่าไร จำได้ว่าช่วงนั้นเล่นหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ไม่กี่ตัว เพราะดังสุดแล้วในตลาด อีกอย่างคือไม่ค่อยมีหุ้นให้เล่นมากเท่าไร"
เขาเล่าต่อว่า เชื่อหรือไม่! ลงทุนช่วงแรกๆ เล่นเก็งกำไรแต่ "ได้กำไร" ช่วงนั้นดัชนีขึ้นจาก 200 จุด ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,700 จุด ในช่วง 1,700 จุด ตอนนั้นมองว่าหุ้นจะ "ไปต่อ" จึงตัดสินใจซื้ออีก สุดท้ายดัชนีลงมาที่ระดับ 900 จุด ทำให้ขาดทุนจำนวนมาก
การเดินทางในตลาดหุ้นของทายาทคนโตตระกูลโชควัฒนาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาเคยถูกเหตุการณ์ Black Monday (ปี 2530) เล่นงาน ทำให้ตอนนั้นขาดทุนเรียกได้ว่า “หมดตัว” ต้องทำงานเก็บเงินมาลงทุนใหม่ พอลงใหม่ก็ขาดทุนอีก เป็นแบบนี้อยู่หลายรอบ ทำงานมาแทบไม่เหลือเงินเลย..เครียดมาก!!! แต่ที่เจ็บตัว "หนักสุด" คือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ช่วงนั้นโบรกเกอร์เชียร์ให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น
"ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายก็ “เจ๊ง” มีหนี้เยอะมาก แต่โชคดีเหลือวงเงิน O/D บวกกับเงินเดือน ผมก็เอามาทยอยใช้หนี้ หลังจากเจอวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน ผมก็กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรียกได้ว่าอยู่แบบเงียบๆ เพื่อนๆ ที่เคยซื้อขายหุ้นด้วยกันช่วงนั้น (เจ๊ง) หายกันไป จนถึงทุกวันนี้ยังไม่กลับมาเลยสักคน ช่วงนั้นทำให้ผมมานั่งคิดทบทวนว่าเราคงต้องเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ จะเล่นเก็งกำไรแบบเดิมคงไม่ได้แล้ว เพราะลงทุนกี่ครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ"
คนทุกคนย่อมมี "จุดหักเห" พีรนาถก็เช่นกัน วันหนึ่งเขาเปิดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ ในนั้นจะเอาตารางงบการเงินของหุ้นดีๆ แต่ละตัวมาลง ในตารางจะบอกค่า P/E และค่า P/BV เล่นหุ้นมาตั้งนานก็ไม่เคยสนใจดู ติดเล่นเก็งกำไรจนไม่เคยดูด้วยซ้ำว่าลึกๆ แล้วหุ้นที่ซื้อขายอยู่เขาทำธุรกิจอะไรบ้าง ตัวเลขทางการเงินเป็นอย่างไร ลงทุนเป็นล้านๆ แต่รู้ข้อมูลบริษัทเพียงผิวเผิน
หลังจากเริ่มลงลึกในรายละเอียด สิ่งที่เขาพบ ก็คือ หลายๆ บริษัทในตลาดหุ้น "ไม่มีหนี้สิน (ระยะยาว) เลย" จากนั้นก็นั่งสแกนตารางหุ้นทุกวันจันทร์ ระหว่างนั้นก็ไปค้นหนังสือสารสนเทศ (ข้อมูลหุ้น) ของตลาดหลักทรัพย์มาอ่านด้วย พีรนาถพูดถึงเสี้ยวชีวิตช่วงนั้นว่า "ชีวิตดูไร้ค่ามาก" ดูตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์อยู่สักระยะก็ตัดสินใจลงทุนในแนวทางใหม่ ให้น้ำหนักที่งบการเงิน และเนื้อธุรกิจอย่างละเอียดก่อนลงทุน
"ช่วงนั้นผมลงทุนหุ้นหลายตัวมาก จำได้แม่นๆ หุ้น อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (APRINT) ตอนนั้นราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊ค แถมไม่มีหนี้สินอีกต่างหาก ซึ่งหุ้นลักษณะนี้ในช่วงนั้นมีเยอะแยะเต็มไปหมด เช่น หุ้นมาบุญครอง (MBK) และหุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) ราคาหุ้นหลายๆ ตัวสวนทางดัชนีขึ้นมาค่อนข้างมาก ผมได้กำไรกลับมาเยอะจนมีเงินไปใช้หนี้ ผมลงทุนกลยุทธ์นี้ไม่นานก็คืนหนี้ได้หมด"
พีรนาถ ย้อนมองความล้มเหลวในอดีตก่อนปี 2540 เพื่อยกเป็นอุทาหรณ์ว่า สมัยก่อนไม่เคยศึกษาโมเดลธุรกิจ ไม่เคยดูงบการเงิน เล่นหุ้นเก็งกำไรอย่างเดียว ชอบที่สุดคือลงทุนตามกระแสข่าว จนนำตัวเองมา "สู่วิกฤติ" ซึ่งประสบการณ์เจ็บๆ ในอดีตสอนบทเรียนให้ต้องรู้จักดูพื้นฐาน ศึกษางบการเงิน
"การลงทุนแบบวีไอ ทำให้ผมประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า "มีกำไรดีมาก" ลงทุนตัวไหนได้กำไรหมดทุกตัว ถ้าจำไม่ผิดได้กำไรประมาณ 10 เท่า สมมติว่าลงทุน 100,000 บาท ก็ได้กำไรกลับมา 1 ล้านบาท"
เซียนหุ้นตระกูลโชควัฒนารายนี้ ปฏิเสธที่จะพูดถึงมูลค่าพอร์ตลงทุนของตนเอง ปฏิเสธที่จะพูดถึงผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละปี กล่าวเพียงว่า ต้องลงทุนในแต่ละวันให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร...ไม่อยากบอก! เพราะผมก็ไม่อยากรู้ของคนอื่น (แต่มักรู้ตลอดเพราะมีคนมาบอก) ผมคิดว่าการถามถึงมูลค่าการลงทุนของคนอื่นมันไม่ค่อยสุภาพเท่าไร มันก็เหมือนถามว่า คุณเงินเดือนเท่าไรนั่นแหละ"
ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า “พอร์ตเท่าไร (น้อง) อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ” ทำเอาพีรนาถถึงกับหัวเราะออกมา ซึ่งเจ้าตัวกล่าวขึ้นว่า "เอาเป็นว่าพอร์ตของผมเติบโตขึ้นทุกปี มีเงินใช้ไม่ขาดมือ"
เจ้าตัวยังบอกด้วยว่า ตัวเองไม่เคยตั้งเป้าหมายว่าต้องมีมูลค่าพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าไร การตั้งเป้าหมายกับตัวเองจะทำให้การลงทุนเครียดมากเกินไป พร้อมทั้งยืนยันว่าทุกวันนี้มีอาชีพเป็น "นักลงทุนอย่างเดียว" ไม่มีกิจการส่วนตัว มีแต่ลงทุนบริษัทเล็กๆ กับกลุ่มเพื่อนๆ เขาขอให้มาช่วยมากกว่า ยอมรับว่ากิจการหลายๆ แห่งที่ร่วมลงทุนก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร การที่เพื่อนมาชวนมันเป็นสังคมก็เลยลงทุน แต่ก็ให้ความรู้เยอะแยะ อย่างทำธุรกิจขายรถยนต์มือสอง เชื่อหรือไม่! ขายดีมาก ทำให้เห็นเลยว่าเวลาการใช้งานต่อคันเดี๋ยวนี้น้อยลง
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อที่ดินเก็บไว้บ้างเล็กน้อย จริงๆ เล่นหุ้นแล้วไม่ควรไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีไม่เยอะแค่อยากมีบ้านริมทะเลก็เลยซื้อที่ดินเก็บไว้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วไม่มีเงินไปปลูก เพราะเอาเงินมาซื้อหุ้นหมด ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ดินเปล่าๆ
"ตอนนี้ผมไม่มีตำแหน่งอะไรในเครือสหพัฒน์...ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน" พีรนาถกล่าว ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนแซวว่า อาศัยนามสกุล "โชควัฒนา" ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! พีรนาถสวนกลับเพื่อนทันทีว่า นั่นสิ! เปลี่ยนนามสกุลได้มั้ยละ! (หัวเราะ)
สัปดาห์หน้าคอยพบกับเคล็ดลับการลงทุนของ พีรนาถ โชควัฒนา รับรอง! เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์สื่อฉบับใดมาก่อน เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะที่กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่แรกและที่เดียวเท่านั้น
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร..ไม่อยากบอก! ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า...พอร์ตเท่าไร(น้อง)อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้(พีรนาถ)ใช้ไม่หมดก็พอ"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 21, 2012 07:24
19588 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ทายาทตระกูลดัง 'พีรนาถ โชควัฒนา' หลานชายคนโตนายห้าง 'เทียม โชควัฒนา' ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ทิ้งธุรกิจครอบครัวเลือกเดินชีวิตบนเส้นทางตลาดหุ้น เจ้าตัวขอไม่เปิดเผยใบหน้า แต่เล่า 'วิถีแห่งเซียน' อย่างหมดเปลือก
ถ้าเอ่ยชื่อ พีรนาถ โชควัฒนา ในวงการ "วีไอ" น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเขา ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" ที่เชี่ยวชาญการลงทุนในตลาดหุ้นในระดับแถวหน้า แต่ในอาณาจักรแสนล้านเครือสหพัฒน์ ไม่ปรากฏชื่อเขาในฐานะนักธุรกิจใหญ่ "หลานชายคนโต" จากทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล
ชายกลางคนวัย 49 ปีรายนี้ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา ปัจจุบันพีรนาถแต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ประวัติการศึกษาของพีรนาถ เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านวิศวะเคมี ที่ California Institute of Technology สหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบกลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน พีรนาถตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่เรียนปริญญาโทใบที่สองอยู่นั้น เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปศึกษางานในบริษัท บริหารสากล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ โชติ โสภณพนิช
ขณะเดียวกัน ก็ยังแบ่งเวลาไปช่วยงานคุณพ่อ (บุญเอก) ใน บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด และบริษัท บุญรวี จำกัด จากนั้น 2-3 ปี ก็เข้าไปทำงานในตำแหน่งเล็กๆ ใน บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ ในเครือสหพัฒน์ ซึ่งปัจจุบันคือ บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล (ICC) ทำงานได้ 8 ปี ก็ขอลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัวที่เจ้าตัวไม่อยากเปิดเผย
พีรนาถ นับเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi รุ่นแรก เขาเลือกจบบทบาท "ลูกจ้างเครือสหพัฒน์" หลังมีความคิดที่ว่า “ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้นอย่างเต็มตัว
ทุกวันนี้ หลานชายคนโตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ไม่ได้บริหารธุรกิจในเครือสหพัฒน์ แต่จากการสำรวจของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า พีรนาถยังคงทำหน้าที่ดูแลพอร์ตลงทุนให้กับตระกูลโชควัฒนา ในนาม บริษัท หลานปู่ จำกัด, คณะบุคคลหลานปู่ โดยนายพีรนาถ โชควัฒนา และยังจัดตั้ง บริษัท พีรธร จำกัด เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น นอกเหนือไปจากการลงทุนโดยใช้ชื่อส่วนตัว
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าพีรนาถ ถือหุ้นขนาดกลางและเล็กหลายบริษัท เช่น หุ้น บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ของ นพดล ธรรมวัฒนะ หุ้น เจ มาร์ท (JMART) ของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ซึ่งหุ้น JMART ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา สองปรมาจารย์หุ้นวีไอก็ถือหุ้นอยู่ด้วย รวมทั้งถือหุ้น ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) ของ วิโรจน์ พรประกฤต และหุ้น มาสเตอร์ แอด (MACO) เป็นต้น
ขณะที่ บริษัท หลานปู่ จำกัด ถือหุ้นบริษัทในเครือสหพัฒน์จำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ (S & J) บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) บมจ.สหพัฒนพิบูล (SPC) บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) และ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี (FE) เป็นต้น
ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดพูดคุยกับพีรนาถ ที่เต็นท์รถยนต์มือสองย่านถนนพระราม 9 ภายใต้ชื่อ V-CAR ซึ่งเขาร่วมหุ้นกับกลุ่มเพื่อน ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีนักลงทุน "วีไอรายใหญ่" นั่งอยู่ด้วย 2 คน หนึ่งในนั้น คือ เจ้าของนามแฝง “กะละมัง” ในเว็บไซต์ Thaivi.Com จากการตรวจสอบพบว่า "เฮียกะละมัง" ชายวัย 50 กว่ารายนี้ถือหุ้นอยู่หลายบริษัท แต่เจ้าตัวขอไม่ให้เปิดเผย "ชื่อ" และ "นามสกุล" ต่อสาธารณะ
เฮียกะละมัง เป็นบุคคลที่ “มี่” ทิวา ชินธาดาพงศ์ เซียนหุ้นรายใหญ่ ยกให้เป็น (อาจารย์) ผู้มีพระคุณ เป็นคนช่วยแนะนำการลงทุนในช่วงหัดเล่นหุ้นใหม่ๆ ดูจากนิสัยเป็นคนชอบสอน และพูดเก่งมากๆ
"ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ชายวัยกลางคนรูปร่างขาว ไม่อ้วน ไม่ผอม พยายามพูดถ่อมตัว!!! พีรนาถหลานชายคนโตตระกูลโชควัฒนา บอกกับนักข่าวต่อว่า "ผมไม่ชอบให้สัมภาษณ์...อยากลงทุนอย่างเงียบๆ ฉะนั้นผมไม่ขอเปิดเผยหน้าตา เพื่อความสบายใจ" นี่คือ ข้อแลกเปลี่ยนที่ยอมเปิดเผยในครั้งนี้
พีรนาถ เริ่มเล่าจุดเริ่มต้นของการลงทุนในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ทันทีที่เรียนจบปริญญาตรี (วิศวะจุฬาฯ) ก็คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตอนนั้นยอมรับว่าเล่นหุ้นไม่เป็น ออกแนว “เสี่ยงดวง” ด้วยซ้ำ! เล่นหุ้นสมัยก่อนไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ เพราะสมัยนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายยังใช้วิธีเคาะกระดานหุ้นอยู่เลย ที่สำคัญ ไม่มีหุ้นให้เลือกเล่นมากมายเหมือนปัจจุบัน
"เมื่อตัดสินใจดีแล้ว ผมก็เดินเข้าไปที่ บล.พัฒนสิน (ปัจจุบัน คือ บล.โนมูระ พัฒนสิน) เพื่อขอเปิดพอร์ตลงทุน ช่วงนั้นโบรกเกอร์กำลังหาลูกค้า ทำให้ไม่ต้องหอบเงินสดไปเปิดพอร์ต เขาจะตัดผ่านบัญชี ผมก็เอาเงิน “แต๊ะเอีย” (ตรุษจีน) รวมกับเงินเดือนที่เก็บสะสมไว้มาลงทุน นานมาแล้วผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นเงินเท่าไร จำได้ว่าช่วงนั้นเล่นหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ไม่กี่ตัว เพราะดังสุดแล้วในตลาด อีกอย่างคือไม่ค่อยมีหุ้นให้เล่นมากเท่าไร"
เขาเล่าต่อว่า เชื่อหรือไม่! ลงทุนช่วงแรกๆ เล่นเก็งกำไรแต่ "ได้กำไร" ช่วงนั้นดัชนีขึ้นจาก 200 จุด ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,700 จุด ในช่วง 1,700 จุด ตอนนั้นมองว่าหุ้นจะ "ไปต่อ" จึงตัดสินใจซื้ออีก สุดท้ายดัชนีลงมาที่ระดับ 900 จุด ทำให้ขาดทุนจำนวนมาก
การเดินทางในตลาดหุ้นของทายาทคนโตตระกูลโชควัฒนาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาเคยถูกเหตุการณ์ Black Monday (ปี 2530) เล่นงาน ทำให้ตอนนั้นขาดทุนเรียกได้ว่า “หมดตัว” ต้องทำงานเก็บเงินมาลงทุนใหม่ พอลงใหม่ก็ขาดทุนอีก เป็นแบบนี้อยู่หลายรอบ ทำงานมาแทบไม่เหลือเงินเลย..เครียดมาก!!! แต่ที่เจ็บตัว "หนักสุด" คือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ช่วงนั้นโบรกเกอร์เชียร์ให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น
"ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายก็ “เจ๊ง” มีหนี้เยอะมาก แต่โชคดีเหลือวงเงิน O/D บวกกับเงินเดือน ผมก็เอามาทยอยใช้หนี้ หลังจากเจอวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน ผมก็กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรียกได้ว่าอยู่แบบเงียบๆ เพื่อนๆ ที่เคยซื้อขายหุ้นด้วยกันช่วงนั้น (เจ๊ง) หายกันไป จนถึงทุกวันนี้ยังไม่กลับมาเลยสักคน ช่วงนั้นทำให้ผมมานั่งคิดทบทวนว่าเราคงต้องเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ จะเล่นเก็งกำไรแบบเดิมคงไม่ได้แล้ว เพราะลงทุนกี่ครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ"
คนทุกคนย่อมมี "จุดหักเห" พีรนาถก็เช่นกัน วันหนึ่งเขาเปิดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ ในนั้นจะเอาตารางงบการเงินของหุ้นดีๆ แต่ละตัวมาลง ในตารางจะบอกค่า P/E และค่า P/BV เล่นหุ้นมาตั้งนานก็ไม่เคยสนใจดู ติดเล่นเก็งกำไรจนไม่เคยดูด้วยซ้ำว่าลึกๆ แล้วหุ้นที่ซื้อขายอยู่เขาทำธุรกิจอะไรบ้าง ตัวเลขทางการเงินเป็นอย่างไร ลงทุนเป็นล้านๆ แต่รู้ข้อมูลบริษัทเพียงผิวเผิน
หลังจากเริ่มลงลึกในรายละเอียด สิ่งที่เขาพบ ก็คือ หลายๆ บริษัทในตลาดหุ้น "ไม่มีหนี้สิน (ระยะยาว) เลย" จากนั้นก็นั่งสแกนตารางหุ้นทุกวันจันทร์ ระหว่างนั้นก็ไปค้นหนังสือสารสนเทศ (ข้อมูลหุ้น) ของตลาดหลักทรัพย์มาอ่านด้วย พีรนาถพูดถึงเสี้ยวชีวิตช่วงนั้นว่า "ชีวิตดูไร้ค่ามาก" ดูตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์อยู่สักระยะก็ตัดสินใจลงทุนในแนวทางใหม่ ให้น้ำหนักที่งบการเงิน และเนื้อธุรกิจอย่างละเอียดก่อนลงทุน
"ช่วงนั้นผมลงทุนหุ้นหลายตัวมาก จำได้แม่นๆ หุ้น อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (APRINT) ตอนนั้นราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊ค แถมไม่มีหนี้สินอีกต่างหาก ซึ่งหุ้นลักษณะนี้ในช่วงนั้นมีเยอะแยะเต็มไปหมด เช่น หุ้นมาบุญครอง (MBK) และหุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) ราคาหุ้นหลายๆ ตัวสวนทางดัชนีขึ้นมาค่อนข้างมาก ผมได้กำไรกลับมาเยอะจนมีเงินไปใช้หนี้ ผมลงทุนกลยุทธ์นี้ไม่นานก็คืนหนี้ได้หมด"
พีรนาถ ย้อนมองความล้มเหลวในอดีตก่อนปี 2540 เพื่อยกเป็นอุทาหรณ์ว่า สมัยก่อนไม่เคยศึกษาโมเดลธุรกิจ ไม่เคยดูงบการเงิน เล่นหุ้นเก็งกำไรอย่างเดียว ชอบที่สุดคือลงทุนตามกระแสข่าว จนนำตัวเองมา "สู่วิกฤติ" ซึ่งประสบการณ์เจ็บๆ ในอดีตสอนบทเรียนให้ต้องรู้จักดูพื้นฐาน ศึกษางบการเงิน
"การลงทุนแบบวีไอ ทำให้ผมประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า "มีกำไรดีมาก" ลงทุนตัวไหนได้กำไรหมดทุกตัว ถ้าจำไม่ผิดได้กำไรประมาณ 10 เท่า สมมติว่าลงทุน 100,000 บาท ก็ได้กำไรกลับมา 1 ล้านบาท"
เซียนหุ้นตระกูลโชควัฒนารายนี้ ปฏิเสธที่จะพูดถึงมูลค่าพอร์ตลงทุนของตนเอง ปฏิเสธที่จะพูดถึงผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละปี กล่าวเพียงว่า ต้องลงทุนในแต่ละวันให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร...ไม่อยากบอก! เพราะผมก็ไม่อยากรู้ของคนอื่น (แต่มักรู้ตลอดเพราะมีคนมาบอก) ผมคิดว่าการถามถึงมูลค่าการลงทุนของคนอื่นมันไม่ค่อยสุภาพเท่าไร มันก็เหมือนถามว่า คุณเงินเดือนเท่าไรนั่นแหละ"
ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า “พอร์ตเท่าไร (น้อง) อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ” ทำเอาพีรนาถถึงกับหัวเราะออกมา ซึ่งเจ้าตัวกล่าวขึ้นว่า "เอาเป็นว่าพอร์ตของผมเติบโตขึ้นทุกปี มีเงินใช้ไม่ขาดมือ"
เจ้าตัวยังบอกด้วยว่า ตัวเองไม่เคยตั้งเป้าหมายว่าต้องมีมูลค่าพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าไร การตั้งเป้าหมายกับตัวเองจะทำให้การลงทุนเครียดมากเกินไป พร้อมทั้งยืนยันว่าทุกวันนี้มีอาชีพเป็น "นักลงทุนอย่างเดียว" ไม่มีกิจการส่วนตัว มีแต่ลงทุนบริษัทเล็กๆ กับกลุ่มเพื่อนๆ เขาขอให้มาช่วยมากกว่า ยอมรับว่ากิจการหลายๆ แห่งที่ร่วมลงทุนก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร การที่เพื่อนมาชวนมันเป็นสังคมก็เลยลงทุน แต่ก็ให้ความรู้เยอะแยะ อย่างทำธุรกิจขายรถยนต์มือสอง เชื่อหรือไม่! ขายดีมาก ทำให้เห็นเลยว่าเวลาการใช้งานต่อคันเดี๋ยวนี้น้อยลง
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อที่ดินเก็บไว้บ้างเล็กน้อย จริงๆ เล่นหุ้นแล้วไม่ควรไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีไม่เยอะแค่อยากมีบ้านริมทะเลก็เลยซื้อที่ดินเก็บไว้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วไม่มีเงินไปปลูก เพราะเอาเงินมาซื้อหุ้นหมด ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ดินเปล่าๆ
"ตอนนี้ผมไม่มีตำแหน่งอะไรในเครือสหพัฒน์...ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน" พีรนาถกล่าว ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนแซวว่า อาศัยนามสกุล "โชควัฒนา" ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! พีรนาถสวนกลับเพื่อนทันทีว่า นั่นสิ! เปลี่ยนนามสกุลได้มั้ยละ! (หัวเราะ)
สัปดาห์หน้าคอยพบกับเคล็ดลับการลงทุนของ พีรนาถ โชควัฒนา รับรอง! เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์สื่อฉบับใดมาก่อน เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะที่กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่แรกและที่เดียวเท่านั้น
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร..ไม่อยากบอก! ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า...พอร์ตเท่าไร(น้อง)อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้(พีรนาถ)ใช้ไม่หมดก็พอ"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ