หน้า 1 จากทั้งหมด 1

[กฏหมาย] เครดิตภาษี สำหรับชาวไทยที่อยู่ในไทยน้อยกว่า 180 วัน

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 4:36 pm
โดย vim
เกี่ยวกับ "มาตรา 47 ทวิ และมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร" ครับ

จากเดิมผมเข้าใจว่า "ผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี หรือผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย" นั้นมีสิทธิที่จะได้รับเครดิตภาษีในสิ้นปี สรุปคือ
1. ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
2. ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
3. ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
กรณี 1, 2 และ 3 นั้น มีสิทธิ์ที่จะรับเครดิตภาษีจากปันผลหุ้นคืน

แต่มีทนายทักท้วงมาว่า จากตัวอย่างคดีและการพิจารณาตัดสินของศาลฎีกา (สักแห่ง) บอกไว้ว่า ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอเครดิตภาษีคืนนั้นจะต้องเป็น "ผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี และผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย" กล่าวคือ เฉพาะกรณี 1 และ 2 ในขั้นต้นเท่านั้นที่จะได้เครดิตภาษี

นั่นก็คือ ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันของปีภาษีนั้น จะไม่มีสิทธิ์ได้รับภาษีคืน

จากที่ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ตแล้ว ผมพบคำตอบที่ขัดแย้งกัน บ้างก็ว่าได้เครดิตภาษี บ้างก็ว่าไม่ได้ ไม่ทราบว่ามีผู้ใดพอทราบคำตอบที่ชัดเจนของกรณีนี้ ถ้าได้ความเห็นจากนักกฏหมายหรือแหล่งอ้างอิงก็จะดีมากเลยครับ

ขอบคุณครับ

Re: [กฏหมาย] เครดิตภาษี สำหรับชาวไทยที่อยู่ในไทยน้อยกว่า 180

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 5:19 pm
โดย vim
ลืมกล่าวถึงมาตรา 41 (เดี๋ยวจะพากันงงกันหมดครับ)

หลักที่มาของภาษีเงินได้นั้นตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรของไทย มีอยู่สองหลักคือ
1. หลักแหล่งเงินได้ (Source) คือเงินได้เกิดที่ไทย ก็ต้องจ่ายภาษีที่ไทย
2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident) คืออยู่ประเทศไหน ก็ต้องจ่ายภาษีประเทศนั้น ตามหลักคือหากอยู่ประเทศไหนเกิน 180 วันก็จะถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศนั้น

ทีนี้มันจะเกิดความซ้ำซ้อนกัน หากอยู่ต่างประเทศแต่รายได้เกิดที่เมืองไทย เราอาจจะต้องจ่ายภาษีทั้งสองประเทศ ซึ่งแล้วแต่กฏหมายของแต่ละประเทศว่าจะลดหย่อนหรือขอคืนได้ไหม

ในไทยมีระบบเครดิตภาษี ทำให้ผู้อยู่ต่างประเทศสามารถขอภาษีคืนได้ (ตามที่ผมเข้าใจ) แต่ล่าสุดพึ่งมีทนายมาเล่าให้ฟังว่ามัคล้ายกับกรณีตัวอย่างที่ผู้พิภากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยยกตัวอย่างไว้ และตีความว่า ต้องอยู่ในไทยเกิน 180 วัน ถึงสามารถขอภาษีคืนได้ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม


ปล. ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย แต่น่าจะเป็นความรู้รอบตัวที่ดี คือนอกจากนี้ในบางประเทศยังมีหลักภาษีเงินได้หลักการที่ 3. หลักเก็บภาษีตามสัญชาติ (Nationality) คือหากคุณมีสัญชาตินี้คุณก็ต้องจ่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก ทำให้บุคคลบุคคลหนึ่งอาจต้องเสียภาษีถึงสามประเทศด้วยกัน