ROA เรื่องง่ายๆ ที่วิเคราะห์จริงไม่ง่ายอย่างที่คิค
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 25, 2012 12:38 pm
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ROA (Return on Assets)
ROA = Net Income (กำไรสุทธิ)
Average Total Assets (สินทรัพย์รวม)
หรือ
ROA = EBIT or NOPAT (กำไรจากการดำเนินงาน) Average Total Assets
หรือ
ROA = EBIT หรือ EBITDA
Average Total Assets
อัตราส่วนนี้วัดได้หลายรูปแบบ (หลายสูตร) ที่นิยมใช้กันคือนำกำไรสุทธิมาเป็นตัวตั้งและหารด้วยสินทรัพย์รวมเฉลี่ย ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนแล้ว สูตรคำนวณแรกแม้จะนิยมใช้กันมากแต่ไม่แนะนำให้ใช้หากพิจารณาจกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและแนวคิดทางการบริหารในปัจจุบัน ตลอดจนในด้านมุมมองการลงทุน เพราะในเรื่องการอ่านค่าอัตราส่วนนั้น ตัวเลขที่คำนวณได้จะมีความหมายอย่างไรขึ้นกับการนำไปเปรียบเทียบ และการเปรียบเทียบนั้นในปัจจุบันควรนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นหรือกับมาตรฐานที่เป็นค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า บริษัทที่มีโครงสร้างทุนต่างกัน (อัตราส่วนหนี้ต่อทุน) จะมีผลต่อกำไรที่เกิดขึ้น บริษัทที่ต้องการวัดผลงานผู้บริหารที่ได้รับมอบภารกิจให้ไปดูแลธุรกิจในเครือที่มีจำนวนมากและหลากหลาย ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน การประเมินความสามารถเช่นการกำหนดค่าดัชนีวัดผลงาน (KPI) เพื่อพิจาณาความดีความชอบหรือผลงาน อาจจะไม่ยุติธรรมนักถ้าจะวัด ROA ด้วยสูตรแรก เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ลองมาศึกษาตัวอย่างง่ายๆดังนี้
บริษัท A และ B ทำธุรกิจเดียวกัน มีขนาดการลงทุนเท่ากันที่ 100 MB ขายสินค้าในตลาดเดียวกัน ขนาดส่วนแบ่งตลาดเท่ากัน มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่ายเท่ากันที่ 17MB แต่ใช้เงินทุนด้วยโครงสร้างต่างกันดังต่อไปนี้
บริษัท A
สินทรัพย์ 100 ทุน-หุ้น 100
บริษัท B
สินทรัพย์ 100 หนี้สิน-เงินกู้ 50
ทุน-หุ้น 50
ถ้าให้ผลตอบแทนในส่วนของหุ้นทุนในอุตสาหกรรมนี้เท่ากับ 20% บริษัท B มีต้นทุนเงินกู้ 10% ทั้งสองบริษัทต่างมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเท่ากับ 17MB อัตราภาษี 20%
งบกำไรขาดทุนประจำปีจะเป็นดังนี้
บริษัท A บริษัท B
EBIT 17.0 17.0
Interest Expense 0.0 (5.0)
EBT 17.0 12.0
Tax (3.4) (2.4)
NI 13.6 9.6
ROA (แบบเดิม) 13.6% 9.6%
จากข้อมูลข้างต้น เราสามารถได้หรือไม่ว่า ผู้บริหารบริษัท A มีความสามารถในการบริหารผลตอบแทนการลงทุนดีกว่าผู้บริหารบริษัท B ถ้าท่านเป็นเจ้าของเงินทุนและต้องการคนมาบริหารเงินทุน และทำธุรกิจเดียวกันกับ A และ B ท่านจะจ้างใคร ถ้ามองในมุมของผลตอบแทนที่เจ้าของจะได้รับ A จะให้ผลอบแทนเงินลงทุน (ROE) เท่ากับ 13.6% ส่วนB ทำได้เท่ากับ 19.2% แน่นอนว่าถ้าจ้าง B มาบริหารงานผู้ถือหุ้นจะมีความพอใจในผลตอบแทนมากกว่า ในด้านความสามารถในการบริหารผลตอบแทนสินทรัพย์แล้วในความเป็นจริง A และ B ไม่แตกต่างกันเลยแต่ต่างกันในเรื่องการบริหารด้าน financing หรือ capital structure สมมติว่าบริษัท B บริหารงานได้ EBIT เท่ากับ 20 MB จากสินทรัพย์ที่ลงทุนเท่าเดิม โครงสร้างทุนเหมือนเดิม กำไรสุทธิจะเท่ากับ 12MB หรือได้ ROA (แบบเดิม) 12% หากมองในมุมเดิม เปรียบกันแล้ว A ก็ยังบริหารดีกว่าทั้งที่ในความเป็นจริง ROE ที่บริษัท B ทำได้กลับสูงขึ้นเป็น 24% แม้โครงสร้างทุนใน B จะสูงกว่า เสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า แต่จะเห็นว่าถ้า B มี EBIT สูงขึ้น แต่ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ในมุมมองเดิม A ก็จะยังดีกว่า B ทั้งที่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แต่ถ้าวัด ROA โดยใช้ EBIT แทน NI จะพบว่าคำตอบที่ได้จะเปลี่ยนไปทันที ดังนั้นในมุมมองปัจจุบันซึ่งใช้การวัดผลเชิงเปรียบเทียบ (ระบบการแข่งขัน) ROA จึงน่าจะวัดด้วย EBIT แทน เพราะไม่ว่าจะเปรียบเทียบในธุรกิจตนเอง ธุรกิจคู่แข่ง ผลที่ได้จะไม่นำการบริหารด้าน Financing มาคิดรวม ในธุรกิจที่มีการลงทุนหลากหลายเช่น กลุ่มบริษัทปูนซิเมนต์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายบริษัทที่มีบริษัทย่อยมากมายหรือบริษัทโฮลดิ้งต่างๆ การวัดผลงานของทีมผู้บริหารในกลุ่มที่มีลักษณะโครงสร้างธุรกิจต่างกันหรือจัดโครงสร้างทุนต่างกัน การวัด ROA ด้วย EBIT จะให้ผลการวัดประเมินผลชัดเจน หรืออาจใช้กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี (NOPAT)
NOPAT = Net Operating Profit after Tax หรือกำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี กำไรนี้จะไม่รวมค่าใช้จ่ายทางดอกเบี้ย (ถือเสมือนว่าไม่มีการกู้ยืมเงิน) และด้วยหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรซึ่งทำให้กำไรทางบัญชีไม่เท่ากับกำไรทางภาษี ถ้าค่าใช้จ่ายทางภาษีบันทึกด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริงตามเกณฑ์ทางภาษี เราสามารถคำนวณจำนวนดังกล่าวโดยใช้ค่าใช้จ่ายทางภาษีที่เกิดจริง (อาจมีการปรับปรุงรายการที่ไม่เข้าเกณฑ์ในการคำนวณทางภาษี) จะคำนวณได้ด้วยสูตรดังนี้
NOPAT = NI + I – I*(1- tax rate)
ในกรณีที่บริษัทลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ด้วยมูลค่าที่สูง และอาจมีนโยบายทางบัญชีในการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีหรือด้วนอายุการใช้งานที่ประมาณแตกต่างกัน ซึ่งด้วยการใช้นโยบายทางบัญชีที่ต่างกันจนทำให้มีผลต่อกำไรสุทธิแตกต่างกันอย่างมีสาระสำคัญ บางครั้งอาจจะใช้ค่า EBITDA แทนเพราะจะนำค่าเสื่อมราคามาบวกกลับทั้งจำนวนซึ่งทำให้ไม่ว่าจะมีการใช้นโยบายแตกต่างกันอย่างไรก็จะไม่มีผลต่อค่า EBITDA การจะเลือกใช้สูตรใดขึ้นอยู่กับความสะดวก หัวใจสำคัญคือถ้าต้องนำค่าที่คำนวณมาเปรียบเทียบ ต้องเลือกสิ่งที่เปรียบเทียบด้วยหลักเกณฑ์ที่เทียบกันได้ เช่น กำไรต้องไม่แตกต่างกันเนื่องจากโครงสร้างทุนที่ต่างกัน ค่าเสื่อมราคาที่ใช้วิธีและนโยบายเหมือนกัน บางครั้งนักวิเคราะห์จึงใช้ ROA ที่คำนวณด้วย EBITDA เพื่อตัดปัญหาผลกระทบจากความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวมา
คำถามอื่นที่น่าสนในเกี่ยวกับการคำนวณ ROA
• สินทรัพย์รวมควรรวมงานระหว่างการก่อสร้างหรือไม่ ?
- กรณีที่บริษัทมีสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในการคำนวณ ROA สินทรัพย์รวมที่นำมาหารไม่ควรรวมงานระหว่างก่อสร้างเนื่องจากสินทรัพย์ส่วนนั้นยังไม่สร้างรายได้ขึ้น
• สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าต้องนำมารวมในการคำนวณหรือไม่ ?
- กรณีสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าซื้อที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน ควรนำมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังกล่าวบวกรวมในสินทรัพย์รวมด้วยเพราะรายได้เกิดจากการใช้ประโยชน์สินทรัพย์นั้น ส่วนรายจ่ายหรือค่าเช่ามีการบันทึก ค่าเสื่อมราคาไม่ต้องคำนวณ เพราะสะท้อนอยู่ในค่าเช่าจ่ายแล้ว ส่วนกรณีที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าทางการเงิน งบการเงินจะบันทึกมูลค่าอยู่ในงบดุลแล้วและมีการคิดค่าเสื่อมราคา การนำมาบวกรวมจึงใช้เฉพากรณีมีสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน
• หากมีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ควรต้องปรับยอดสินทรัพย์ก่อนหรือไม่ ?
- ต้องมีการปรับยอดสินทรัพย์ที่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยนำมูลค่าที่บันทึกด้อยค่าของสินทรัพย์มาบวกกลับทั้งสินทรัพย์และกำไรจากการดำเนินงาน
ROA = Net Income (กำไรสุทธิ)
Average Total Assets (สินทรัพย์รวม)
หรือ
ROA = EBIT or NOPAT (กำไรจากการดำเนินงาน) Average Total Assets
หรือ
ROA = EBIT หรือ EBITDA
Average Total Assets
อัตราส่วนนี้วัดได้หลายรูปแบบ (หลายสูตร) ที่นิยมใช้กันคือนำกำไรสุทธิมาเป็นตัวตั้งและหารด้วยสินทรัพย์รวมเฉลี่ย ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนแล้ว สูตรคำนวณแรกแม้จะนิยมใช้กันมากแต่ไม่แนะนำให้ใช้หากพิจารณาจกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและแนวคิดทางการบริหารในปัจจุบัน ตลอดจนในด้านมุมมองการลงทุน เพราะในเรื่องการอ่านค่าอัตราส่วนนั้น ตัวเลขที่คำนวณได้จะมีความหมายอย่างไรขึ้นกับการนำไปเปรียบเทียบ และการเปรียบเทียบนั้นในปัจจุบันควรนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นหรือกับมาตรฐานที่เป็นค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า บริษัทที่มีโครงสร้างทุนต่างกัน (อัตราส่วนหนี้ต่อทุน) จะมีผลต่อกำไรที่เกิดขึ้น บริษัทที่ต้องการวัดผลงานผู้บริหารที่ได้รับมอบภารกิจให้ไปดูแลธุรกิจในเครือที่มีจำนวนมากและหลากหลาย ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน การประเมินความสามารถเช่นการกำหนดค่าดัชนีวัดผลงาน (KPI) เพื่อพิจาณาความดีความชอบหรือผลงาน อาจจะไม่ยุติธรรมนักถ้าจะวัด ROA ด้วยสูตรแรก เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ลองมาศึกษาตัวอย่างง่ายๆดังนี้
บริษัท A และ B ทำธุรกิจเดียวกัน มีขนาดการลงทุนเท่ากันที่ 100 MB ขายสินค้าในตลาดเดียวกัน ขนาดส่วนแบ่งตลาดเท่ากัน มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่ายเท่ากันที่ 17MB แต่ใช้เงินทุนด้วยโครงสร้างต่างกันดังต่อไปนี้
บริษัท A
สินทรัพย์ 100 ทุน-หุ้น 100
บริษัท B
สินทรัพย์ 100 หนี้สิน-เงินกู้ 50
ทุน-หุ้น 50
ถ้าให้ผลตอบแทนในส่วนของหุ้นทุนในอุตสาหกรรมนี้เท่ากับ 20% บริษัท B มีต้นทุนเงินกู้ 10% ทั้งสองบริษัทต่างมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเท่ากับ 17MB อัตราภาษี 20%
งบกำไรขาดทุนประจำปีจะเป็นดังนี้
บริษัท A บริษัท B
EBIT 17.0 17.0
Interest Expense 0.0 (5.0)
EBT 17.0 12.0
Tax (3.4) (2.4)
NI 13.6 9.6
ROA (แบบเดิม) 13.6% 9.6%
จากข้อมูลข้างต้น เราสามารถได้หรือไม่ว่า ผู้บริหารบริษัท A มีความสามารถในการบริหารผลตอบแทนการลงทุนดีกว่าผู้บริหารบริษัท B ถ้าท่านเป็นเจ้าของเงินทุนและต้องการคนมาบริหารเงินทุน และทำธุรกิจเดียวกันกับ A และ B ท่านจะจ้างใคร ถ้ามองในมุมของผลตอบแทนที่เจ้าของจะได้รับ A จะให้ผลอบแทนเงินลงทุน (ROE) เท่ากับ 13.6% ส่วนB ทำได้เท่ากับ 19.2% แน่นอนว่าถ้าจ้าง B มาบริหารงานผู้ถือหุ้นจะมีความพอใจในผลตอบแทนมากกว่า ในด้านความสามารถในการบริหารผลตอบแทนสินทรัพย์แล้วในความเป็นจริง A และ B ไม่แตกต่างกันเลยแต่ต่างกันในเรื่องการบริหารด้าน financing หรือ capital structure สมมติว่าบริษัท B บริหารงานได้ EBIT เท่ากับ 20 MB จากสินทรัพย์ที่ลงทุนเท่าเดิม โครงสร้างทุนเหมือนเดิม กำไรสุทธิจะเท่ากับ 12MB หรือได้ ROA (แบบเดิม) 12% หากมองในมุมเดิม เปรียบกันแล้ว A ก็ยังบริหารดีกว่าทั้งที่ในความเป็นจริง ROE ที่บริษัท B ทำได้กลับสูงขึ้นเป็น 24% แม้โครงสร้างทุนใน B จะสูงกว่า เสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า แต่จะเห็นว่าถ้า B มี EBIT สูงขึ้น แต่ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ในมุมมองเดิม A ก็จะยังดีกว่า B ทั้งที่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แต่ถ้าวัด ROA โดยใช้ EBIT แทน NI จะพบว่าคำตอบที่ได้จะเปลี่ยนไปทันที ดังนั้นในมุมมองปัจจุบันซึ่งใช้การวัดผลเชิงเปรียบเทียบ (ระบบการแข่งขัน) ROA จึงน่าจะวัดด้วย EBIT แทน เพราะไม่ว่าจะเปรียบเทียบในธุรกิจตนเอง ธุรกิจคู่แข่ง ผลที่ได้จะไม่นำการบริหารด้าน Financing มาคิดรวม ในธุรกิจที่มีการลงทุนหลากหลายเช่น กลุ่มบริษัทปูนซิเมนต์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายบริษัทที่มีบริษัทย่อยมากมายหรือบริษัทโฮลดิ้งต่างๆ การวัดผลงานของทีมผู้บริหารในกลุ่มที่มีลักษณะโครงสร้างธุรกิจต่างกันหรือจัดโครงสร้างทุนต่างกัน การวัด ROA ด้วย EBIT จะให้ผลการวัดประเมินผลชัดเจน หรืออาจใช้กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี (NOPAT)
NOPAT = Net Operating Profit after Tax หรือกำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี กำไรนี้จะไม่รวมค่าใช้จ่ายทางดอกเบี้ย (ถือเสมือนว่าไม่มีการกู้ยืมเงิน) และด้วยหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรซึ่งทำให้กำไรทางบัญชีไม่เท่ากับกำไรทางภาษี ถ้าค่าใช้จ่ายทางภาษีบันทึกด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริงตามเกณฑ์ทางภาษี เราสามารถคำนวณจำนวนดังกล่าวโดยใช้ค่าใช้จ่ายทางภาษีที่เกิดจริง (อาจมีการปรับปรุงรายการที่ไม่เข้าเกณฑ์ในการคำนวณทางภาษี) จะคำนวณได้ด้วยสูตรดังนี้
NOPAT = NI + I – I*(1- tax rate)
ในกรณีที่บริษัทลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ด้วยมูลค่าที่สูง และอาจมีนโยบายทางบัญชีในการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีหรือด้วนอายุการใช้งานที่ประมาณแตกต่างกัน ซึ่งด้วยการใช้นโยบายทางบัญชีที่ต่างกันจนทำให้มีผลต่อกำไรสุทธิแตกต่างกันอย่างมีสาระสำคัญ บางครั้งอาจจะใช้ค่า EBITDA แทนเพราะจะนำค่าเสื่อมราคามาบวกกลับทั้งจำนวนซึ่งทำให้ไม่ว่าจะมีการใช้นโยบายแตกต่างกันอย่างไรก็จะไม่มีผลต่อค่า EBITDA การจะเลือกใช้สูตรใดขึ้นอยู่กับความสะดวก หัวใจสำคัญคือถ้าต้องนำค่าที่คำนวณมาเปรียบเทียบ ต้องเลือกสิ่งที่เปรียบเทียบด้วยหลักเกณฑ์ที่เทียบกันได้ เช่น กำไรต้องไม่แตกต่างกันเนื่องจากโครงสร้างทุนที่ต่างกัน ค่าเสื่อมราคาที่ใช้วิธีและนโยบายเหมือนกัน บางครั้งนักวิเคราะห์จึงใช้ ROA ที่คำนวณด้วย EBITDA เพื่อตัดปัญหาผลกระทบจากความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นดังที่กล่าวมา
คำถามอื่นที่น่าสนในเกี่ยวกับการคำนวณ ROA
• สินทรัพย์รวมควรรวมงานระหว่างการก่อสร้างหรือไม่ ?
- กรณีที่บริษัทมีสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในการคำนวณ ROA สินทรัพย์รวมที่นำมาหารไม่ควรรวมงานระหว่างก่อสร้างเนื่องจากสินทรัพย์ส่วนนั้นยังไม่สร้างรายได้ขึ้น
• สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าต้องนำมารวมในการคำนวณหรือไม่ ?
- กรณีสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าซื้อที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน ควรนำมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังกล่าวบวกรวมในสินทรัพย์รวมด้วยเพราะรายได้เกิดจากการใช้ประโยชน์สินทรัพย์นั้น ส่วนรายจ่ายหรือค่าเช่ามีการบันทึก ค่าเสื่อมราคาไม่ต้องคำนวณ เพราะสะท้อนอยู่ในค่าเช่าจ่ายแล้ว ส่วนกรณีที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าทางการเงิน งบการเงินจะบันทึกมูลค่าอยู่ในงบดุลแล้วและมีการคิดค่าเสื่อมราคา การนำมาบวกรวมจึงใช้เฉพากรณีมีสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าที่บันทึกในลักษณะสัญญาเช่าดำเนินงาน
• หากมีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ควรต้องปรับยอดสินทรัพย์ก่อนหรือไม่ ?
- ต้องมีการปรับยอดสินทรัพย์ที่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยนำมูลค่าที่บันทึกด้อยค่าของสินทรัพย์มาบวกกลับทั้งสินทรัพย์และกำไรจากการดำเนินงาน