การลงทุน vs. การทำธุรกิจ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 12:43 pm
ผมเป็นคนหนึ่งที่เกิดมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจค้าขาย พ่อแม่ของผมท่านเป็นคนที่น่านับถือ ท่านเริ่มสร้างตัวขึ้นมาจากศูนย์ และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งด้วยการประกอบธุรกิจค้าขาย และเริ่มผันแปรเป็นอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่พ่อกับแม่ผมจะมีความรู้สึกดีๆ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ซึ่งความรู้สึกนั้นก็ได้ถูกส่งผ่านมาที่ผม ผมถูกปลูกฝังมาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่เล็กจนโต ผมมีความฝันอยู่ตลอดเวลาว่าจะประกอบธุรกิจเป็นของตนเอง ครั้งหนึ่ง สิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือการทำงานเป็นพนักงานประจำ อย่างไรก็ตาม เมื่อผมค่อยๆโตขึ้นมา ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย ล่าสุดหลังจากที่ผมเรียนจบ BBA สาขาการเงิน และได้เริ่มต้นชีวิตการลงทุนในหุ้นสามัญ มุมมองความคิดของผมก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
ผมเริ่มมองอะไรกว้างขึ้น ในตอนนี้ ผมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียของตัวมันเอง ผมเคยกลัวการทำงานเป็นพนักงานประจำ Office เพราะในตอนนั้นผมคิดว่า การเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้น ไม่มีทางที่จะมีอิสระทางการเงินได้ ซ้ำยังต้องทนทำงานเหนื่อยเพื่อผลประโยชน์ของคนอื่น ภายใต้คำสั่งของใครบางคนอย่างเคร่งครัด และไม่มีทางรวยเท่ากับการทำธุรกิจเอง ความคิดในตอนนั้นของผมเป็นเพียงความคิดของ "เด็ก" คนหนึ่ง ที่เหมารวมไปเองว่า "มนุษย์เงินเดือน" ทุกคนต้องเป็นแบบนั้น
แท้จริงแล้ว มนุษย์เงินเดือนเองก็มีหลายระดับ ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องทำงานย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าไปไหน สิ่งสำคัญที่แท้จริงคือ การเลือก Career Path ที่จะเดินก้าวไป ความสามารถในการทำงานและการเข้าหาผู้ใหญ่ การไต่เต้าขึ้นไปจนถึงระดับผู้บริหารได้นั้นจริงอยู่ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และมีคนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่หากมองกันจริงๆแล้ว การทำธุรกิจให้สำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นก็ยากเย็นไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะในยุคแห่งการแข่งขันเช่นนี้
ผมเชื่อว่าสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดถึงโอกาสในความสำเร็จนั้นไม่ใช่ตัวเลขรายได้ที่เราได้รับ แต่เป็นจำนวนเงินที่เราสามารถเก็บออม และวิธีการออม ของเรามากกว่า ไม่มีประโยชน์เลยหากเราหาเงินได้เดือนละแสนแต่ใช้จ่ายจนเหลือเก็บไปฝากธนาคารได้เพียงเดือนละห้าพันบาท และรับดอกเบี้ย 2% ต่อปี หากเปรียบเทียบกับการหาเงิน 5หมื่นบาท แต่เก็บออมได้ เดือนละหนึ่งหมื่นบาทในหุ้นสามัญและได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนสามารถมี Financial Freedom ในระดับหนึ่งได้ภายในอายุ 60ปี โดยไม่ต้องทำธุรกิจ หากศึกษาการออมเงินในหุ้นสามัญ และมีวินัยในการลงทุน
ความฝันอันสวยหรูของผมที่เคยวาดไว้คือการเป็นเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ผมชอบ เป็นธุรกิจที่มีการเจริญเติบโต และมั่นคง จนวันๆหนึ่งผมแทบไม่ต้องทำอะไร นั่งเป็นเถ้าแก่ ใช้เงินโดยไม่ต้องคิดอะไรให้มาก แต่ยิ่งผมโตขึ้นมากเท่าไหร่ ผมก็เริ่มเห็นอุปสรรคต่างๆมากมาย รวมถึงการแข่งขันที่บ้าคลั่ง ข้อเสียของการประกอบธุรกิจ SME เริ่มผุดขึ้นมาในหัวของผมมากขึ้นทุกวัน ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าทุกธุรกิจในโลกนี้ล้วนมีความเสี่ยง ไม่ต่างไปจากการลงทุนในหุ้นสามัญ
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ไม่ใช่จะบอกว่าการทำธุรกิจนั้นไม่ดี เพราะหากการทำธุรกิจนั้นไม่ดี พ่อกับแม่ และตัวผมก็คงไม่มีวันนี้ แต่ผมต้องการจะชี้ให้เห็นอีกมุมมองที่ต่างไปเท่านั้น
การลงทุนในหุ้นที่ผมพูดถึงในที่นี้ ไม่นับรวมถึงการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรนะครับ
1. อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนว่าการลงทุนในหุ้นนั้นก็เหมือนกับการที่เราซื้อต่อความเป็นเจ้าของในกิจการหรือธุรกิจนั้น เพียงแต่เราไม่ต้องลงมือบริหารเอง เพราะเราและผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ได้ลงมติที่จะจ้างผู้บริหารรวมถึงพนักงานต่างๆมา Run Business ซึ่งแทนที่เราจะเสียเวลามาบริหารเอง เรานำเวลาเหล่านั้นไปหาเงินทางอื่น และเก็บออมมาซื้อหุ้น รวมถึงศึกษาการลงทุนเพิ่ม
2. หน้าที่ของเราเปลี่ยนจาก "การบริหารธุรกิจ" เป็น "การวิเคราะห์ธุรกิจ"
3. หุ้นเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงมาก โดยหากเรามองเห็นถึงปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง หรือมีอะไรที่จะทำให้ธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่นั้นเปลี่ยนแปลงไป เราก็สามารถขายหุ้นออกไปได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องขายขาดทุน แตกต่างจากการขายทรัพย์สินในเวลาที่เราเลิกทำกิจการ (Liquidate) หรือธุรกิจส่วนตัว ที่ต้องขายออกไปในราคาที่ต่ำมากเนื่องจากขาดสภาพคล่อง จุดนี้นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในแง่ของความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค หากเราเป็นนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนในหุ้น Kodak เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หากเราเป็นคนที่รู้ทันข่าวสาร รู้ถึงการเกิดใหม่ของสินค้าที่เรียกว่า "กล้อง Digital" ซึ่งเป็น Threat ที่สำคัญของกิจการฟิล์มกล้อง เราก็สามารถขายหุ้นทั้งหมดออกไปได้ ในทางกลับกัน หากเราในตอนนั้น ลงมือประกอบกิจการผลิตฟิล์มกล้อง ซื้อทั้งเครื่องจักรสำหรับผลิตฟิล์ม และเช่าโรงงาน รวมถึงการจ้างพนักงานจำนวนมาก ถามว่า เราจะทำอย่างไร? ขายเครื่องจักรทั้งหมดในราคา 40% ของต้นทุน? Layout พนักงาน 80% หรือทนทำต่อไปจนเจ๊งเหมือน Kodak ความเสี่ยงในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวมีโอกาสพบเจอทั้งสิ้น ทั้งๆที่ปกติก็ยากอยู่แล้วที่ต้องแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่
4. การศึกษาธุรกิจอย่างละเอียดนั้นเป็นสิ่งที่ยากเย็นและใช้เวลามาก และมันเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเราต้องการเปลี่ยนประเภทธุรกิจ เช่นจากตอนแรก เราทำธุรกิจขายกระเป๋า จนวันหนึ่งเราเริ่มรู้สึกว่าธุรกิจอิ่มตัว อยากจะไปทำธุรกิจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายขนม เราก็ต้องเริ่มศึกษาใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับธุรกิจขนมจากศูนย์ เพราะกลุ่มลูกค้าเปลี่ยน คู่แข่งเปลี่ยน คู่ค้าเปลี่ยน รวมไปถึงการสร้าง Connection ใหม่ๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจขนม เพราะการเริ่มธุรกิจใหม่โดยไม่ศึกษาให้รอบคอบก่อนนั้น ก็เหมือนกับการเอาเงินที่เราหามาได้จากธุรกิจตัวเก่าอย่างยากเย็นไปละลายน้ำ
5. การประกอบธุรกิจด้วยตนเอง กำไรที่ได้มานั้นส่วนหนึ่งต้องนำไปหมุนเวียน เช่นเดียวกับ Current Assets ในหุ้น อีกส่วนหนึ่งก็ต้องนำไปลงทุนซ้ำ (Reinvest) เช่นเดียวกับหุ้น จนเหลือเงินเพียงส่วนเดียวที่สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับ เงินปันผลจากหุ้น หากเรามองภาพใหญ่ออกดังนี้ เราจะเห็นได้ว่า การที่เราทำธุรกิจสำเร็จใหญ่โตและมีการขยายกิจการนั้นก็แทบจะไม่แตกต่างกับการซื้อหุ้นที่ดี มีการเติบโตของกำไร และขยายกิจการแต่อย่างใด
6. การประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจจนมีกิจการที่มั่นคง อยู่ตัวมีลูกน้องที่ไว้วางใจ มีคนบริหารแทนเต็มตัว จนเราสามารถเกษียนตัวเองได้ จนเรียกได้ว่าเป็น Passive Income นั้นก็แทบจะไม่แตกต่างกับการถือหุ้นที่แข็งแกร่ง มีผู้บริหารที่มีความสามารถ และจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
7. การลงทุน กับการประกอบธุรกิจเป็นสิ่งที่คู่กัน หากไม่มีนักลงทุน บริษัทใหญ่ๆ ก็ไม่สามารถระดมเงินมาลงทุนได้ เช่นเดียวกัน หากมีแต่นักลงทุนไม่มีใครทำธุรกิจ นักลงทุนก็ไม่รู้จะไปซื้อหุ้นของใคร ทั้งสองอาชีพนั้นมีความสำคัญเท่าๆกัน และมีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง
8. นักธุรกิจที่เก่ง ไม่ใช่นักลงทุนที่เก่งเสมอไป เช่นเดียวกัน ไม่ใช่นักลงทุนทุกคนที่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจที่ดี เราทุกคนต่างมีความสามารถ และความถนัดที่แตกต่างกันออกไป หากเพียงแต่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราถนัด ผมเชื่อว่า ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ครับ
ติดตามอ่านบทความของผมได้ใน Blog นะครับ http://jo-of-glue.bloggang.com
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านจนจบครับ ^^
ผมเริ่มมองอะไรกว้างขึ้น ในตอนนี้ ผมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียของตัวมันเอง ผมเคยกลัวการทำงานเป็นพนักงานประจำ Office เพราะในตอนนั้นผมคิดว่า การเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้น ไม่มีทางที่จะมีอิสระทางการเงินได้ ซ้ำยังต้องทนทำงานเหนื่อยเพื่อผลประโยชน์ของคนอื่น ภายใต้คำสั่งของใครบางคนอย่างเคร่งครัด และไม่มีทางรวยเท่ากับการทำธุรกิจเอง ความคิดในตอนนั้นของผมเป็นเพียงความคิดของ "เด็ก" คนหนึ่ง ที่เหมารวมไปเองว่า "มนุษย์เงินเดือน" ทุกคนต้องเป็นแบบนั้น
แท้จริงแล้ว มนุษย์เงินเดือนเองก็มีหลายระดับ ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องทำงานย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าไปไหน สิ่งสำคัญที่แท้จริงคือ การเลือก Career Path ที่จะเดินก้าวไป ความสามารถในการทำงานและการเข้าหาผู้ใหญ่ การไต่เต้าขึ้นไปจนถึงระดับผู้บริหารได้นั้นจริงอยู่ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และมีคนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่หากมองกันจริงๆแล้ว การทำธุรกิจให้สำเร็จอย่างยั่งยืนนั้นก็ยากเย็นไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะในยุคแห่งการแข่งขันเช่นนี้
ผมเชื่อว่าสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดถึงโอกาสในความสำเร็จนั้นไม่ใช่ตัวเลขรายได้ที่เราได้รับ แต่เป็นจำนวนเงินที่เราสามารถเก็บออม และวิธีการออม ของเรามากกว่า ไม่มีประโยชน์เลยหากเราหาเงินได้เดือนละแสนแต่ใช้จ่ายจนเหลือเก็บไปฝากธนาคารได้เพียงเดือนละห้าพันบาท และรับดอกเบี้ย 2% ต่อปี หากเปรียบเทียบกับการหาเงิน 5หมื่นบาท แต่เก็บออมได้ เดือนละหนึ่งหมื่นบาทในหุ้นสามัญและได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนสามารถมี Financial Freedom ในระดับหนึ่งได้ภายในอายุ 60ปี โดยไม่ต้องทำธุรกิจ หากศึกษาการออมเงินในหุ้นสามัญ และมีวินัยในการลงทุน
ความฝันอันสวยหรูของผมที่เคยวาดไว้คือการเป็นเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ผมชอบ เป็นธุรกิจที่มีการเจริญเติบโต และมั่นคง จนวันๆหนึ่งผมแทบไม่ต้องทำอะไร นั่งเป็นเถ้าแก่ ใช้เงินโดยไม่ต้องคิดอะไรให้มาก แต่ยิ่งผมโตขึ้นมากเท่าไหร่ ผมก็เริ่มเห็นอุปสรรคต่างๆมากมาย รวมถึงการแข่งขันที่บ้าคลั่ง ข้อเสียของการประกอบธุรกิจ SME เริ่มผุดขึ้นมาในหัวของผมมากขึ้นทุกวัน ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าทุกธุรกิจในโลกนี้ล้วนมีความเสี่ยง ไม่ต่างไปจากการลงทุนในหุ้นสามัญ
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ไม่ใช่จะบอกว่าการทำธุรกิจนั้นไม่ดี เพราะหากการทำธุรกิจนั้นไม่ดี พ่อกับแม่ และตัวผมก็คงไม่มีวันนี้ แต่ผมต้องการจะชี้ให้เห็นอีกมุมมองที่ต่างไปเท่านั้น
การลงทุนในหุ้นที่ผมพูดถึงในที่นี้ ไม่นับรวมถึงการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรนะครับ
1. อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนว่าการลงทุนในหุ้นนั้นก็เหมือนกับการที่เราซื้อต่อความเป็นเจ้าของในกิจการหรือธุรกิจนั้น เพียงแต่เราไม่ต้องลงมือบริหารเอง เพราะเราและผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ได้ลงมติที่จะจ้างผู้บริหารรวมถึงพนักงานต่างๆมา Run Business ซึ่งแทนที่เราจะเสียเวลามาบริหารเอง เรานำเวลาเหล่านั้นไปหาเงินทางอื่น และเก็บออมมาซื้อหุ้น รวมถึงศึกษาการลงทุนเพิ่ม
2. หน้าที่ของเราเปลี่ยนจาก "การบริหารธุรกิจ" เป็น "การวิเคราะห์ธุรกิจ"
3. หุ้นเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงมาก โดยหากเรามองเห็นถึงปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง หรือมีอะไรที่จะทำให้ธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่นั้นเปลี่ยนแปลงไป เราก็สามารถขายหุ้นออกไปได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องขายขาดทุน แตกต่างจากการขายทรัพย์สินในเวลาที่เราเลิกทำกิจการ (Liquidate) หรือธุรกิจส่วนตัว ที่ต้องขายออกไปในราคาที่ต่ำมากเนื่องจากขาดสภาพคล่อง จุดนี้นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในแง่ของความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค หากเราเป็นนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนในหุ้น Kodak เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หากเราเป็นคนที่รู้ทันข่าวสาร รู้ถึงการเกิดใหม่ของสินค้าที่เรียกว่า "กล้อง Digital" ซึ่งเป็น Threat ที่สำคัญของกิจการฟิล์มกล้อง เราก็สามารถขายหุ้นทั้งหมดออกไปได้ ในทางกลับกัน หากเราในตอนนั้น ลงมือประกอบกิจการผลิตฟิล์มกล้อง ซื้อทั้งเครื่องจักรสำหรับผลิตฟิล์ม และเช่าโรงงาน รวมถึงการจ้างพนักงานจำนวนมาก ถามว่า เราจะทำอย่างไร? ขายเครื่องจักรทั้งหมดในราคา 40% ของต้นทุน? Layout พนักงาน 80% หรือทนทำต่อไปจนเจ๊งเหมือน Kodak ความเสี่ยงในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวมีโอกาสพบเจอทั้งสิ้น ทั้งๆที่ปกติก็ยากอยู่แล้วที่ต้องแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่
4. การศึกษาธุรกิจอย่างละเอียดนั้นเป็นสิ่งที่ยากเย็นและใช้เวลามาก และมันเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเราต้องการเปลี่ยนประเภทธุรกิจ เช่นจากตอนแรก เราทำธุรกิจขายกระเป๋า จนวันหนึ่งเราเริ่มรู้สึกว่าธุรกิจอิ่มตัว อยากจะไปทำธุรกิจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายขนม เราก็ต้องเริ่มศึกษาใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับธุรกิจขนมจากศูนย์ เพราะกลุ่มลูกค้าเปลี่ยน คู่แข่งเปลี่ยน คู่ค้าเปลี่ยน รวมไปถึงการสร้าง Connection ใหม่ๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจขนม เพราะการเริ่มธุรกิจใหม่โดยไม่ศึกษาให้รอบคอบก่อนนั้น ก็เหมือนกับการเอาเงินที่เราหามาได้จากธุรกิจตัวเก่าอย่างยากเย็นไปละลายน้ำ
5. การประกอบธุรกิจด้วยตนเอง กำไรที่ได้มานั้นส่วนหนึ่งต้องนำไปหมุนเวียน เช่นเดียวกับ Current Assets ในหุ้น อีกส่วนหนึ่งก็ต้องนำไปลงทุนซ้ำ (Reinvest) เช่นเดียวกับหุ้น จนเหลือเงินเพียงส่วนเดียวที่สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับ เงินปันผลจากหุ้น หากเรามองภาพใหญ่ออกดังนี้ เราจะเห็นได้ว่า การที่เราทำธุรกิจสำเร็จใหญ่โตและมีการขยายกิจการนั้นก็แทบจะไม่แตกต่างกับการซื้อหุ้นที่ดี มีการเติบโตของกำไร และขยายกิจการแต่อย่างใด
6. การประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจจนมีกิจการที่มั่นคง อยู่ตัวมีลูกน้องที่ไว้วางใจ มีคนบริหารแทนเต็มตัว จนเราสามารถเกษียนตัวเองได้ จนเรียกได้ว่าเป็น Passive Income นั้นก็แทบจะไม่แตกต่างกับการถือหุ้นที่แข็งแกร่ง มีผู้บริหารที่มีความสามารถ และจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
7. การลงทุน กับการประกอบธุรกิจเป็นสิ่งที่คู่กัน หากไม่มีนักลงทุน บริษัทใหญ่ๆ ก็ไม่สามารถระดมเงินมาลงทุนได้ เช่นเดียวกัน หากมีแต่นักลงทุนไม่มีใครทำธุรกิจ นักลงทุนก็ไม่รู้จะไปซื้อหุ้นของใคร ทั้งสองอาชีพนั้นมีความสำคัญเท่าๆกัน และมีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง
8. นักธุรกิจที่เก่ง ไม่ใช่นักลงทุนที่เก่งเสมอไป เช่นเดียวกัน ไม่ใช่นักลงทุนทุกคนที่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจที่ดี เราทุกคนต่างมีความสามารถ และความถนัดที่แตกต่างกันออกไป หากเพียงแต่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราถนัด ผมเชื่อว่า ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ครับ
ติดตามอ่านบทความของผมได้ใน Blog นะครับ http://jo-of-glue.bloggang.com
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านจนจบครับ ^^