++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Reflexivity ทฤษฏีที่ทำให้เรารู้จัก George Soros พ่อมดการเงิน by Mr.Messenger
ขอเซฟเอากระทู้น่าแนะนำใน pantip ของ พี่ Mr.Messenger
มาแปะไว้ใน Blog นะครับ Credit Link :
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 46062.html
สำหรับชื่อ George Soros (จอร์จ โซรอส) แล้ว
นักลงทุนเกือบร้อยทั้งร้อย รู้จักเขา
ก็เพราะสิ่งที่เขาทำไว้กับประเทศไทยของเราตอนโจมตีค่าเงินบาทเมื่อปี 2540
แต่นั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้เขาเป็นที่จนจำในโลกการลงทุน
ฉายาที่ได้มาว่า "the man who broke the Bank of England" ต่างหาก
ที่ทำให้นักลงทุนทั้งโลกจดจำชื่อของเขาได้
ผลงานการลงทุนของ Soros ถือว่าไม่ธรรมดาจริงๆ
ในปี 1973 เขาตั้งกองทุนชื่อว่า Quantum Fund ร่วมกับ
Jim Rogers เจ้าพ่อตลาด Commodity
และสามารถทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 40%!! เป็นเวลาร่วม 10 ปี ด้วยกัน
แถมช่วงวิกฤต Subprime ตอนปี 2008
รายงานจากผลตอบแทนจากการลงทุนของเขานั้น
ก็ยังสามารถที่จะเอาชนะตลาด น่าทึ่งใช่มั้ยครับ
ภายใต้ผลงานการลงทุนอันเป็นที่จดจำของเขา บ้างก็ว่าเป็นผู้ร้าย
บางก็ว่าเขาเป็นผู้ฉวยโอกาส
บ้างก็ยกย่องเขาราวกับเป็นศาสดาของ Hedge Fund
คำถามคือ ชายคนนี้ มีหลักคิดในการลงทุนแบบไหนน้อ ?
กลยุทธ์การลงทุนของ Soros เน้นไปที่การทำกำไรระยะสั้น
หาผลตอบแทนในทุกรูปแบบจากตลาด (Absolute Return)
ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์
แต่คำว่าสั้นของนักลงทุนระดับโลกเขาก็กินเวลาเป็นเดือนๆ
หรือบางถึงปีในบางช่วงนะครับ ไม่ใช่ซื้อเช้าขายบ่ายเหมือนแมงเม่าอย่างพวกเรา
Soros ไม่เชื่อในทฤษฏี Efficient Market Hypothesis (EFM) ที่บอกไว้ว่า
ราคาหุ้นได้สะท้อนข่าวและข้อมูลในอดีต รวมถึงการคาดการณ์ในอนาคตไปหมดแล้ว
จึงไม่มีทางที่นักลงทุนจะเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
จริงๆแล้ว กูรู และนักลงทุนระดับโลกส่วนใหญ่ก็เชื่ออย่างที่ Soros เชื่อนะครับ
ไม่งั้นคงไม่รวยล้นฟ้ากันหลายคนหรอก
แต่สิ่งหนึ่งที่แยก George Soros ออกจากเหล่าเซียน กลายเป็นเซียนเหนือเซียนก็คือ
แนวคิดจากทฤษฏี Reflexivity ซึ่งเขาได้รับรากฐานความคิดมาอีกทีจาก
Sir Karl Raimund Popper นักปรัชญา และศาสตร์จารย์แห่ง
London School of Economics ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์
เกี่ยวกับวงการวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดในทศวรรษที่ 20 ทีเดียว
... เอ นี่ผมจะบอกทำไมเนี่ย ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาที่คุยเลย เหอๆ
Reflexivity อธิบายไว้ว่า จุด Equilibrium หรือ จุดดุลยภาพ
มีไว้แค่เป็นจุดอ้างอิง แต่จริงๆแล้วทุกสิ่งในสังคมเราไม่เคยอยู่ในจุดนั้น
ตลาดหุ้นก็เช่นกัน สาเหตุก็เกิดจากมีแรงบางอย่างส่งผลให้เกิด
“Negative Feedback” ซึ่งทำให้ราคานั้นวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก
ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom & burst ไปเรื่อยๆเป็นวงจรอยู่อย่างนั้น
เราลองมาดูกันหน่อยว่า Negative Feedback นั้นเป็นยังไง ส่งผลยังไงต่อตลาด
ลองดูตัวอย่างจากปัญหาหนี้ยุโรป (Euro Debt Crisis) ในตอนนี้ก็ได้ครับ
เมื่อมีข่าวร้ายเกิดขึ้นในตอนแรก ข่าวร้ายต่อๆมาก็จะทยอยออกมาเรื่อยๆ
และส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตลาดนั้นด้วย
ตอนแรก เริ่มจากกรีซหนี้บวก Debt-to-GDP โตเกิน 100%
>> รัฐบาลประกาศใช้แผนรัดเข็มขัด
>> แต่ประชาชนประท้วงไม่ยอมให้หักสวัสดิการและเงินเดือน
>> ขอความช่วยเหลือการกลุ่ม EU
>> ต้องรัดเข็มขัดเพิ่มอีก
>> ประท้วงอีก
>> S&P และ Moody’s ทนไม่ไหว
ก็ประกาศ Downgrade ตราสารหนี้ของกรีซกลายเป็น Junk Bond
>> Cost of Funding สูงขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว
>> รัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นอีก
ถ้าเปรียบกรีซเป็นมนุษย์ ผมว่าตอนนี้ น่าจะเป็นมนุษย์ที่มีเอวเล็กที่สุดในโลกแล้วนะ
รัดจังเลยเข็มขัดเนี่ย 555+
เอาจริงๆแล้ว การ Downgrade ของ Credit Rating Agency (CRA) นั้น
ใช้ข้อมูลในอดีตมาประเมินส่วนใหญ่ และคาดการณ์ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ซึ่งอนาคต เป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจาก Negative Feedback ก็คือ
พอนักลงทุนเห็นกรีซกลายเป็นขยะ อารมณ์ก็ยิ่งแย่ ยิ่งขายหนักขึ้นไปอีก
มันช่างสวนทางกับสิ่งที่กรีซต้องการ ณ ขณะนี้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือ
อยากให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง (Capital Requirement) เพื่อฟื้นฟูจะประเทศในระยะยาว
แต่ตอนนี้ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะสายเกินไปแล้ว
อ๋อ... อย่ามอง Reflexivity ในแง่ร้ายเพียงอย่างเดียวนะครับ
Positive Feedback ก็มีให้เห็น
ยกตัวอย่างเช่น
ราคาบ้านในอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น
>> ประเมิณหลักทรัพย์ ได้วงเงินเพิ่ม ก็ไปกู้มาเพิ่ม
>> ได้เงินกู้มา ก็เอาไปซื้อบ้านเพิ่มอีก
>> ราคาบ้านก็ปรับตัวสูงขึ้นอีก .... แต่สุดท้าย ตลาดก็ตระหนักถึงความจริงที่ว่า
มีแต่ผู้ซื้อมาเก็งกำไร แต่ไม่มีคนอยู่จริงๆ เมื่อนั้น
วิกฤต Subprime ก็มาเยือนเราเมื่อปี 2008
แต่ก่อนหน้านั้นร่วมๆ 10 ปี ก็ด้วยเจ้าราคาบ้านนี้ล่ะครับส่วนหนึ่ง
ที่ทำให้ GDP อเมริกาโตมาได้ขนาดนี้
โดยสรุป เมื่อดูจากตัวอย่างแล้วจะเห็นว่า
ไม่ใช่แค่ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้นส่งผลต่อราคาหุ้น
แต่ตัวราคาหุ้นเอง ยังส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นมันเองอีกด้วย
ไม่ว่าจะทิศทางไหน ขึ้นหรือลงก็ตาม
ที่ผมสรุปไปว่า ราคาหุ้นต่อปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้น นักลงทุนหลายคนอาจงงๆ
เพราะเรียนมา ไม่เห็นเคยมีใครบอกอย่างนั้น
นั้นผมขอยกตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งครับ เอาใกล้ๆตัวเรานี่ล่ะ
เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ เดือนร้อนกับถ้วนหน้า
สภาพัฒน์เอย ศูนย์วิจัยกสิกรเอย หรือ World Bank เอย ต่างออกมาบอกว่า
GDP ปีนี้ลดลง และจ่อปรับประมาณการณ์ GDP ปีหน้า
คาดว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนในหลาย Sector จะลดลง
แล้วเกิดอยู่ดีๆ ดันมี Invisible Hands สอยหุ้นไทยทะลุ 1,000 จุดขึ้นมา
เพราะเก็งไปเลยว่า กระทบไม่เยอะ ระยะยาวยัง OK อยู่
ทั้งๆที่เอาเข้าจริง ตอนนี้ก็ไม่มีสัญญาณอะไรบอกเรามาเลยว่า
รัฐบาลมีมาตรการอะไรออกมากระตุ้น หรือ
บริษัทจะกำลังดำเนินการผลิตได้ทันจริงๆไหม
แต่ถ้าตลาดหุ้นยังหน้าด้านวิ่งขึ้นต่อไป
ความมั่งคั่งของนักลงทุนในตลาดโดยรวมก็ยังเพิ่มขึ้น
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็จะกลับมา
ใครลงทุนแล้วกำไรในรอบนี้ มีสภาพคล่องมากขึ้น
หันมาเจอไอ้หุ้นที่ถูกมองว่าแย่ๆเพราะเจอน้ำท่วม
ก็ช้อนซื้อไว้ ไปๆมาๆ ราคาหุ้นไม่ลง แถมวิ่งตามชาวบ้านเขาขึ้นไปได้อีก
เห็นไหมครับ Reflexivity ของ George Soros
สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดในตลาดหุ้นได้ในอีกมุมหนึ่ง
ที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง
ด้วยทฤษฏีนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่า
ราคาหุ้นจะวิ่งออกจากจุดดุลยภาพไปอย่างมาก
ทำให้เขากล้าที่จะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลกับการเก็งกำไร
เพื่อรอคอยจุดกลับตัวของตลาด
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็งว่าตลาดจะ Burst
มากกว่าจะเก็งว่า Boom เลยถูกมองว่าเป็น “Satan”
ซึ่งตรงกันข้ามกับ Warren Buffet
ที่ทำกำไรจากการลงทุนเข้าซื้อและถือในระยะยาวเท่านั้น
แถมตลาดตกลงมาซักระยะ ยังพยายามหาโอกาสเข้าไปช้อนซื้อ
ทำให้ภาพของ Buffet เป็นเหมือน “Santa” ในสายตาของนักลงทุนทั่วโลก
สิ่งที่ Soros และ Buffet เหมือนกันก็คือ
- เขาทั้งคู่เริ่มจากคำว่า รวย เป็น โคตรรวย
ด้วยการทุ่มและเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง
ส่วนการกระจายความเสี่ยง (Diversification) ในพอร์ตการลงทุน
เกิดขึ้นหลังจากที่พอร์ตการลงทุนของทั้งสองใหญ่จนไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไรแล้ว
- ทั้งคู่ไม่เคยตั้งเป้าหมายการลงทุนว่าจะได้กำไรเท่าไหร่
...แปลง่ายๆว่า เงิน ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดในการลงทุนของทั้งสอง
(แล้วมีทำไมเยอะแยะขนาดนั้นฟร่ะ)
- ทั้งคู่ ไม่อ่าน Research ที่มีอยู่เกลื่อนตลาด
แต่ใช้วิธีศึกษาด้วยตัวเอง และทีมงานของตัวเอง
เห็นอย่างนี้แล้ว ก็ทำให้คิดขึ้นมาว่า
บางครั้ง Satan กับ Santa มันต่างกันนิดเดียวเท่านั้น
ผมเชื่อว่า ในหลายวิกฤต Buffet ก็เอาเห็นช่องในการทำกำไรเหมือนกัน
(รวยขนาดนั้น เก่งขนาดนั้น จะไม่รู้อะไรเลยหรอ ?)
เพียงแต่เขาเลือกที่จะไม่ทำ เพราะมันขัดกับหลักการลงทุนและจริยธรรมของเขา
ในขณะที Soros มองว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ผิด
ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ขอวิจารณ์ Soros นะครับ
แต่ขอนำข้อดี และสิ่งที่เป็นประโยชน์เอาไปต่อยอดตัวเองดีกว่า
สุดท้าย ปัจจุบัน George Soros ซึ่งอายุ 81 ปี
เพิ่งยุติอาชีพการเป็นผู้จัดการกองทุน Hedge Fund
ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
และคืนเงินให้กับนักลงทุนเป็นที่เรียกร้อย
สาเหตุก็เพราะสำนักงาน กลต. ของสหรัฐฯ
กำหนดให้ Hedge Fund ที่มี AUM เกิน $150ล้าน
ต้องขึ้นทะเบียนกับ SEC ภายในปี 2012 ที่จะถึงนี้
เพื่อกำกับดูแล และอยู่ในสายตาของทางการมากขึ้น
(ตอนนี้ Soros Fund มี AUM สิริรวม $20,000ล้าน)
การเลิกบริหารกองทุนของ Soros สาเหตุมาจาก
ถ้าต้องขึ้นทะเบียนและรายงานการซื้อขายให้กับ SEC
ก็จะกลายเป็นว่า ต้องเปิดเผยข้อมูลการลงทุนแก่สาธารณะ กลยุทธ์อาจถูกเปิดเผย
และการทุ่มโจมตีอะไรอีกซักอย่าง
ก็จะเป็นข่าวก่อน และเป็นตกเป็นเป้าของสาธารณะชน ...
หลายคนกระโดดดีใจ ร้องเย้ๆๆๆ แต่ขอโทษ Hedge Fund มีอยู่ทั่วโลก
มีแค่ Soros ออกจากตลาดคนเดียว คนอื่นยังอยู่ โฮะๆ
เอาเถอะครับ หลังจากนี้ เราคงไม่เห็นผลงานของ Soros อีกแล้ว
แต่แน่นอนว่า เขาจะเป็นที่จดจำในฐานะนักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกคนหนึ่ง
ถึงแม้วิธีการได้มา มันจะโหดร้ายสำหรับหลายๆคน บั๊บบาย โซรอสสสสส
โชคดีในการลงทุนครับ
Mr.Messenger
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่มา:
http://value-visions.blogspot.com/2011/ ... enger.html