หนี้สิน ประมาณการหนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 30, 2012 2:44 pm
ตามปกติ เมื่อบริษัทมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ (เป็นเงิน สิ่งของ หรือบริการ) และทราบจำนวนภาระผูกพันนั้น บริษัทจะต้องบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล
ถ้าบริษัททราบว่ามีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนและเวลาแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระ บริษัทต้องพยายามประมาณจำนวนภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระนั้น และบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล เช่น หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินค่าประกันสินค้าชำรุด ในทางบัญชี เราเรียกหนี้สินชนิดนี้ว่า "ประมาณการหนี้สิน"
แต่ถ้าหากบริษัทไม่มั่นใจว่า ภาระผูกพันที่มีอยู่จำเป็นจะต้องจ่ายชำระในอนาคตหรือไม่ จนกระทั่งเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น คดีความที่ผลการตัดสินไม่แน่นอนจนกระทั่งมีคำตัดสินของศาล หรือบริษัทไม่สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลว่าภาระผูกพันนั้นมีจำนวนที่จะต้องจ่ายเท่าไร (ซึ่งทางบัญชีไม่ค่อยเชื่อบริษัทจะประมาณไม่ได้ จึงไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างเท่าไร) บริษัทจะไม่บันทึกภาระผูกพันที่ยังไม่แน่นอนนั้นเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการนี้เรียกว่า "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น"
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลในกรณีต่างๆ มีดังนี้
1. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้มีน้อยมาก (คิดว่าตนจะชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย) กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินดังกล่าวในงบดุล และไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลใดๆ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
2. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้คดีมีเท่าๆ กับที่ชนะคดี รายการนี้ถือเป็น "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น" กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่กิจการคาดว่าโอกาสที่จะแพ้คดีมีสูงกว่าไม่แพ้คดี และคาดว่าถ้าแพ้คดีกิจการต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท รายการนี้ถือเป็น "ประมาณการหนี้สิน" และกิจการต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล และบันทึกผลขาดทุนจากประมาณหนี้สินในงบกำไรขาดทุนจำนวน 5 ล้านบาท
ถ้าบริษัททราบว่ามีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระ แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนและเวลาแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระ บริษัทต้องพยายามประมาณจำนวนภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระนั้น และบันทึกภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล เช่น หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินค่าประกันสินค้าชำรุด ในทางบัญชี เราเรียกหนี้สินชนิดนี้ว่า "ประมาณการหนี้สิน"
แต่ถ้าหากบริษัทไม่มั่นใจว่า ภาระผูกพันที่มีอยู่จำเป็นจะต้องจ่ายชำระในอนาคตหรือไม่ จนกระทั่งเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น คดีความที่ผลการตัดสินไม่แน่นอนจนกระทั่งมีคำตัดสินของศาล หรือบริษัทไม่สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลว่าภาระผูกพันนั้นมีจำนวนที่จะต้องจ่ายเท่าไร (ซึ่งทางบัญชีไม่ค่อยเชื่อบริษัทจะประมาณไม่ได้ จึงไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างเท่าไร) บริษัทจะไม่บันทึกภาระผูกพันที่ยังไม่แน่นอนนั้นเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการนี้เรียกว่า "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น"
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลในกรณีต่างๆ มีดังนี้
1. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้มีน้อยมาก (คิดว่าตนจะชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย) กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินดังกล่าวในงบดุล และไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลใดๆ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
2. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร กิจการคาดว่าโอกาสที่ตนจะแพ้คดีมีเท่าๆ กับที่ชนะคดี รายการนี้ถือเป็น "หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น" กิจการไม่ต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
3. กิจการโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลยังไม่ตัดสินว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่กิจการคาดว่าโอกาสที่จะแพ้คดีมีสูงกว่าไม่แพ้คดี และคาดว่าถ้าแพ้คดีกิจการต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท รายการนี้ถือเป็น "ประมาณการหนี้สิน" และกิจการต้องรับรู้หนี้สินในงบดุล และบันทึกผลขาดทุนจากประมาณหนี้สินในงบกำไรขาดทุนจำนวน 5 ล้านบาท