งบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 10:54 pm
งบการเงินรวม คือ งบการเงินที่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเสมือนว่าเป็นบริษัทเดียวกัน โดยในที่นี้ บริษัทใหญ่ หมายถึง กิจการซึ่งมีบริษัทย่อยอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ส่วนบริษัทย่อย หมายถึง บริษัทในประเทศหรือต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทใหญ่ บริษัทใหญ่จะควบคุมบริษัทย่อยเมื่อ
1. มีอำนาจในการออกเสียงไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
2. มีอำนาจตามกฎหมายในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อย
3. มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคลส่วนใหญ่ในคณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารของบริษัทย่อย หรือ
4. มีอำนาจในการออกเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารของบริษัทย่อย
ตามปกติ บริษัทที่ถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งเกินกว่า 50% มักให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า บริษัทนั้นมีอำนาจควบคุมบริษัทที่ไปซื้อหุ้น เว้นแต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างอื่น
เมื่อบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทใหญ่จะต้องจัดทำงบการเงินรวมเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน เมื่อบริษัทใหญ่จัดทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่ต้องนำสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของทั้งสองบริษัทมารวมไว้ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ หลังจากที่ได้ตัดรายการระหว่างกันออก รายการระหว่างกันคือ รายการบัญชีที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อย เช่น รายการซื้อ-ขายระหว่างกัน การกู้ยืมเงินระหว่างกัน เป็นต้น
ในการทำงบการเงินรวมนี้จะทำให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (เดิมเรียก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เกิดขึ้น ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมคือ สัดส่วนการลงทุนที่บริษัทใหญ่ไม่ได้มีในบริษัทย่อย (หรือหุ้นของบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ถือไว้นั่นเอง) เพราะการทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่จะรวมสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของบริษัทย่อยเข้ามาด้วยทั้ง 100% ดังนั้น ในกรณีที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทย่อยทั้ง 100% บริษัทใหญ่ต้องแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวมส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทใหญ่ (หากแต่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนั้น) มีจำนวนเป็นเท่าไร
งบการเงินเฉพาะกิจการ คือ งบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ไม่ได้นำงบการเงินของบริษัทย่อยมารวมแสดง ในงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัทใหญ่จะบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน
1. มีอำนาจในการออกเสียงไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าครึ่งหนึ่ง
2. มีอำนาจตามกฎหมายในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อย
3. มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคลส่วนใหญ่ในคณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารของบริษัทย่อย หรือ
4. มีอำนาจในการออกเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือคณะผู้บริหารของบริษัทย่อย
ตามปกติ บริษัทที่ถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งเกินกว่า 50% มักให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า บริษัทนั้นมีอำนาจควบคุมบริษัทที่ไปซื้อหุ้น เว้นแต่ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างอื่น
เมื่อบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทใหญ่จะต้องจัดทำงบการเงินรวมเพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน เมื่อบริษัทใหญ่จัดทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่ต้องนำสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของทั้งสองบริษัทมารวมไว้ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ หลังจากที่ได้ตัดรายการระหว่างกันออก รายการระหว่างกันคือ รายการบัญชีที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อย เช่น รายการซื้อ-ขายระหว่างกัน การกู้ยืมเงินระหว่างกัน เป็นต้น
ในการทำงบการเงินรวมนี้จะทำให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (เดิมเรียก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เกิดขึ้น ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมคือ สัดส่วนการลงทุนที่บริษัทใหญ่ไม่ได้มีในบริษัทย่อย (หรือหุ้นของบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ถือไว้นั่นเอง) เพราะการทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่จะรวมสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของบริษัทย่อยเข้ามาด้วยทั้ง 100% ดังนั้น ในกรณีที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทย่อยทั้ง 100% บริษัทใหญ่ต้องแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวมส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทใหญ่ (หากแต่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนั้น) มีจำนวนเป็นเท่าไร
งบการเงินเฉพาะกิจการ คือ งบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ไม่ได้นำงบการเงินของบริษัทย่อยมารวมแสดง ในงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัทใหญ่จะบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน