หนี้สินไม่หมุนเวียน
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 9:32 pm
หนี้สินไม่หมุนเวียน (หนี้สินระยะยาว)
หมายถึง หนี้สินที่กิจการก่อขึ้นโดยมีกำหนดระยะเวลาในการจ่ายชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติของกิจการ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1.เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หมายถึง เกิดจากการที่กิจการดำเนินงานต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ อาทิ เช่น การให้บริการ การจำหน่ายสินค้า หรือการอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น
• รายได้รอตัดบัญชีหรือรายได้รอรับรู้ คือ เงินที่กิจการได้รับมาล่วงหน้าสำหรับรายได้ที่ยังไม่เกิดขึ้น (บริษัทยังไม่ได้ให้บริการ) เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นหนี้สินในงบดุล แทนที่จะถือเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน แต่ในงวดถัดไปทันทีที่บริษัทให้บริการกับลูกค้า บริษัทจะตัดบัญชีหนี้สินรายการนี้เป็นรายได้ เช่น ค่าเบี้ยประกันรับล่วงหน้า ค่าโฆษณารับล่วงหน้า เป็นต้น
• หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี คือ จํานวนภาษีเงินได้ที่กิจการต้องจ่ายในอนาคตซึ่งเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี
2.เกิดจากการจัดหาเงิน หมายถึง การจัดหาเงินทุนในลักษณะที่บริษัทเข้าทำสัญญากู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
• หุ้นกู้ คือ ตราสารแสดงภาระหนี้สินที่บริษัทจดทะเบียนขอกู้เงินจากนักลงทุน เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ไถ่ถอนได้ เป็นต้น โดยบริษัทจะออกใบหุ้นกู้เพื่อเป็นสัญญา ใบหุ้นกู้จะระบุ มูลค่าหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ งวดการจ่ายดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย และวันไถ่ถอนหุ้นกู้
• หนึ้สินสัญญาเช่าระยะยาว คือ หนี้สินที่เกิดจากการทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์แบบผ่อนชำระ ซึ่งกิจการจะมีสิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น แต่กรรมสิทธิยังคงเป็นของเจ้าของสินทรัพย์
• เจ้าหนี้จำนอง คือ การกู้ยืมโดยนำอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน ไปใช้เป็นหลักประกัน ซึ่งเจ้าหนี้สามารถควบคุมสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันได้
3.เกิดจากการกะประมาณ (เรียกว่า ประมาณการหนี้สิน) หมายถึง หนี้สินที่บริษัทอาจไม่ทราบจำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระให้กับหนี้สินหรือไม่ทราบเวลาที่ต้องจ่ายชำระอย่างแน่ชัด แต่บริษัทสามารถประมาณจำนวนที่ต้องจ่ายได้ ตัวอย่างเช่น
• ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันสินค้า คือ หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการที่บริษัทรับประกันคุณภาพสินค้าที่ขาย เช่น บริษัทรับประกันจะซ่อมสินค้าให้โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากสินค้าที่ขายเกิดเสียหายชำรุดจากการใช้งานภายใน 1 ปี หลังจากที่ขาย บริษัทต้องประมาณจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่ายซ่อมและบันทึกเป็นประมาณการหนี้สินจากการรับประกันการซ่อม
• หนี้สินโครงการผลประโยชน์พนักงาน คือ หนี้สินที่เกิดจากการที่บริษัทสัญญาจะให้บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ เช่น เงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งต้องจ่ายให้พนักงานที่เกษียณอายุ ทำให้นายจ้างมีหนี้สินที่ต้องบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน แม้บริษัทจะไม่ทราบว่าหนี้สินที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใดและจะต้องจ่ายเมื่อไร แต่บริษัทสามารถประมาณจำนวนหนี้สินรายการนี้ได้และบันทึกเป็นหนี้สินไว้ในงบดุล ในเรื่องจำนวนเงิน และพนักงานที่จะได้รับผลประโยชน์
หนี้สินไม่หมุนเวียน เป็นแหล่งเงินทุนนอกเหนือจากการลงทุนเพิ่มของผู้ถือหุ้นและผลกำไรของกิจการ หนี้สินไม่หมุนเวียนจะมีผลดีมากกว่าการเพิ่มทุน เพราะจะไม่ทำให้สัดส่วนของการถือหุ้นเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้อำนาจในการบริหารของผู้ถือหุ้นยังคงเหมือนเดิม และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเป็นผลตอบแทนให้เจ้าหนี้นั้นสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีชื่อเรียกว่า "หนี้สิน" แต่รายการนี้ยังไม่ถือเป็นหนี้สินที่จะต้องนำมาแสดงในงบดุลเนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขเป็นหนี้สินตามคำนิยามทางบัญชี เช่น บริษัทอาจมีคดีความฟ้องร้องซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผลของคดีจะออกมาในรูปใด เช่น บริษัทถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการค้ำประกันเงินกู้ หรือภาษีที่อาจถูกประเมินเพี่ม เป็นต้น
เนื่องจากหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นนี้ยังไม่ถือเป็นหนี้สิน บริษัทจึงไม่ต้องรับรู้รายการนี้เป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
หากมีข้อสงสัย ถามได้เลยค่ะ หรือถ้าชอบบทความ อย่าลืมกด + นะคะ
หมายถึง หนี้สินที่กิจการก่อขึ้นโดยมีกำหนดระยะเวลาในการจ่ายชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติของกิจการ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1.เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ หมายถึง เกิดจากการที่กิจการดำเนินงานต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ อาทิ เช่น การให้บริการ การจำหน่ายสินค้า หรือการอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น
• รายได้รอตัดบัญชีหรือรายได้รอรับรู้ คือ เงินที่กิจการได้รับมาล่วงหน้าสำหรับรายได้ที่ยังไม่เกิดขึ้น (บริษัทยังไม่ได้ให้บริการ) เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นหนี้สินในงบดุล แทนที่จะถือเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน แต่ในงวดถัดไปทันทีที่บริษัทให้บริการกับลูกค้า บริษัทจะตัดบัญชีหนี้สินรายการนี้เป็นรายได้ เช่น ค่าเบี้ยประกันรับล่วงหน้า ค่าโฆษณารับล่วงหน้า เป็นต้น
• หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี คือ จํานวนภาษีเงินได้ที่กิจการต้องจ่ายในอนาคตซึ่งเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี
2.เกิดจากการจัดหาเงิน หมายถึง การจัดหาเงินทุนในลักษณะที่บริษัทเข้าทำสัญญากู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
• หุ้นกู้ คือ ตราสารแสดงภาระหนี้สินที่บริษัทจดทะเบียนขอกู้เงินจากนักลงทุน เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ไถ่ถอนได้ เป็นต้น โดยบริษัทจะออกใบหุ้นกู้เพื่อเป็นสัญญา ใบหุ้นกู้จะระบุ มูลค่าหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ งวดการจ่ายดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย และวันไถ่ถอนหุ้นกู้
• หนึ้สินสัญญาเช่าระยะยาว คือ หนี้สินที่เกิดจากการทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์แบบผ่อนชำระ ซึ่งกิจการจะมีสิทธิในการครอบครองและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น แต่กรรมสิทธิยังคงเป็นของเจ้าของสินทรัพย์
• เจ้าหนี้จำนอง คือ การกู้ยืมโดยนำอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน ไปใช้เป็นหลักประกัน ซึ่งเจ้าหนี้สามารถควบคุมสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันได้
3.เกิดจากการกะประมาณ (เรียกว่า ประมาณการหนี้สิน) หมายถึง หนี้สินที่บริษัทอาจไม่ทราบจำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายชำระให้กับหนี้สินหรือไม่ทราบเวลาที่ต้องจ่ายชำระอย่างแน่ชัด แต่บริษัทสามารถประมาณจำนวนที่ต้องจ่ายได้ ตัวอย่างเช่น
• ประมาณการหนี้สินจากการรับประกันสินค้า คือ หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการที่บริษัทรับประกันคุณภาพสินค้าที่ขาย เช่น บริษัทรับประกันจะซ่อมสินค้าให้โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากสินค้าที่ขายเกิดเสียหายชำรุดจากการใช้งานภายใน 1 ปี หลังจากที่ขาย บริษัทต้องประมาณจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่ายซ่อมและบันทึกเป็นประมาณการหนี้สินจากการรับประกันการซ่อม
• หนี้สินโครงการผลประโยชน์พนักงาน คือ หนี้สินที่เกิดจากการที่บริษัทสัญญาจะให้บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ เช่น เงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งต้องจ่ายให้พนักงานที่เกษียณอายุ ทำให้นายจ้างมีหนี้สินที่ต้องบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน แม้บริษัทจะไม่ทราบว่าหนี้สินที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใดและจะต้องจ่ายเมื่อไร แต่บริษัทสามารถประมาณจำนวนหนี้สินรายการนี้ได้และบันทึกเป็นหนี้สินไว้ในงบดุล ในเรื่องจำนวนเงิน และพนักงานที่จะได้รับผลประโยชน์
หนี้สินไม่หมุนเวียน เป็นแหล่งเงินทุนนอกเหนือจากการลงทุนเพิ่มของผู้ถือหุ้นและผลกำไรของกิจการ หนี้สินไม่หมุนเวียนจะมีผลดีมากกว่าการเพิ่มทุน เพราะจะไม่ทำให้สัดส่วนของการถือหุ้นเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้อำนาจในการบริหารของผู้ถือหุ้นยังคงเหมือนเดิม และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเป็นผลตอบแทนให้เจ้าหนี้นั้นสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีชื่อเรียกว่า "หนี้สิน" แต่รายการนี้ยังไม่ถือเป็นหนี้สินที่จะต้องนำมาแสดงในงบดุลเนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขเป็นหนี้สินตามคำนิยามทางบัญชี เช่น บริษัทอาจมีคดีความฟ้องร้องซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผลของคดีจะออกมาในรูปใด เช่น บริษัทถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการค้ำประกันเงินกู้ หรือภาษีที่อาจถูกประเมินเพี่ม เป็นต้น
เนื่องจากหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นนี้ยังไม่ถือเป็นหนี้สิน บริษัทจึงไม่ต้องรับรู้รายการนี้เป็นหนี้สินในงบดุล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
หากมีข้อสงสัย ถามได้เลยค่ะ หรือถ้าชอบบทความ อย่าลืมกด + นะคะ