ต้นทุนขาย
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 8:57 pm
ต้นทุนขายคือ ต้นทุนของสินค้าที่บริษัทขายไปในระหว่างงวด ต้นทุนขายถือเป็นค่าใช้จ่ายรายการแรกในงบกำไรขาดทุน ถ้าเรานำต้นทุนขายมาหักจาก "รายได้จากการขาย" เราจะได้กำไรขั้นต้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ต้นทุนขายนั้นคำนวณมาได้อย่างไร ความจริงแล้ว วิธีคิดของต้นทุนขายในทางบัญชีคือ
ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าที่ซื้อหรือผลิตในระหว่างงวด – สินค้าคงเหลือปลายงวด
เมื่อพูดถึงต้นทุนขายเรามักคิดถึงต้นทุนขาย 2 ประเภทคือ
1.ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย
สำหรับธุรกิจที่ซื้อมาขายไปหรือธุรกิจที่ขายสินค้าโดยไม่มีการแปรสภาพ ต้นทุนขายจะประกอบด้วยราคาสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย ค่าขนส่งที่เราเป็นคนจ่าย ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าประกันสินค้ารนะหว่างขนส่ง หักด้วยสินค้าส่งคืนและส่วนลดการค้า
2.ต้นทุนสินค้าที่ผลิตได้
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าต้องได้รับการแปรสภาพจากวัตถุดิบไปเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะพร้อมนำไปขาย ดังนั้น ต้นทุนขายในที่นี้จึงประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายการผลิตก็เช่น ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่ เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน เช่น ค่าเสื่อมราคาโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ในโรงงาน
ต้นทุนขายมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร?
การคำนวณสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะมีผลต่องบกำไรขาดทุนแตกต่างกันไป วิธีหลักๆ ที่ใช้กันเป็นประจำมีดังต่อไปนี้
1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO: First In First Out) คือการคำนวณต้นทุนขายโดยสมมุติว่าสินค้าที่ซื้อหรือผลิตก่อนจะถูกขายออกไปก่อน
ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีเข้าก่อนออกก่อน บริษัท XYZ มีสินค้า A จำนวน 100 บาท สินค้า B จำนวน 200 บาท สินค้า C จำนวน 300 บาท อย่างละ 1 ชิ้น เมื่อบริษัทได้รับสินค้า A, B และ C เข้ามาตามลำดับ จำนวนของสินค้าคงเหลือในคลังเก็บสินค้าจะเท่ากับ 600 บาท (100+200+300) ต่อมาหากมีการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าบริษัทขายสินค้า A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้น เมื่อมีการบันทึกบัญชี ให้ถือว่ามีต้นทุนขายเกิดขึ้นย 100 บาท และจำนวนสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 500บาท (200+300) หากต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไปอีก 1 ชิ้น บริษัทจะถือว่าได้ขายสินค้า B ออกไป ทำให้ต้นทุนขายมีจำนวน 200 บาท และสินค้าคงเหลือ (สินค้า C) มีจำนวนเท่ากับ 300 บาท
วิธีการคำนวณต้นทุนขายแบบ FIFO นี้ มักทำให้การคิดราคาต้นทุนของสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากหากในโลกปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อมักเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การที่เราคิดต้นทุนจากสินค้าที่เราซื้อมาอันดับแรกๆ ย่อมทำให้ต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง และเนื่องจากกำไรขั้นต้นคำนวณจากรายได้ลบต้นทุนขาย การมีต้นทุนขายต่ำจะทำให้กำไรสูงกว่าที่ควรจะเป็น
2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Moving Average) คือ การคำนวณต้นทุนขายโดยการเฉลี่ยราคาสินค้ากับปริมาณที่ซื้อในแต่ละชุด
ตัวอย่างการคำนวณวิธีถัวเฉลี่ย บริษัท XYZ มีสินค้าคงเหลือ 100 ชิ้น จำนวนเงินรวม 1,000 บาท สินค้าชุดนี้ถือว่ามีมูลค่าชิ้นละ 10 บาท ต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไป 20 ชิ้น บริษัทจะมีต้นทุนขาย 200 บาท (20*10) สินค้าคงเหลือในคลังจะเหลือ 80 ชิ้น (100-20) จำนวน 800 บาท (80*10) หรือชิ้นละ 10 บาท เมื่อบริษัทซื้อสินค้าชุดที่ 2 เข้ามาเพิ่ม 50 ชิ้น จำนวนเงินรวม 750 บาท ตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สินค้าต่อชิ้นจะมีมูลค่า 11.90 บาท โดยคำนวณจาก (800+750)/(80+50) เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาใหม่ 100 ชิ้น ต้นทุนขายที่เกิดขึ้นใหม่จะเท่ากับ 1,190 บาท (100*11.90) ทำให้สินค้าคงเหลือในคลัง 30 ชิ้น (130-100) จะมีมูลค่ารวม 357 บาท (30*11.90) เมื่อใดที่บริษัททำการซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ บริษัทต้องคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าใหม่ทุกครั้ง
3. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification) วิธีนี้คำนวณต้นทุนขายตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นมีต้นทุนไม่เท่ากัน วิธีนี้เหมาะกับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ หรือสินค้าราคาสูง เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีต้นทุนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ในยุคคอมพิวเตอร์ก้าวไกล การคำนวณต้นทุนขายนั้นเข้าใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีชิ้นใหญ่หรือเล็ก เนื่องจากระบบการสแกน Bar code ที่นำมาใช้จะทำให้บริษัททราบต้นทุนขายใกล้เคียงความจริงมากขึ้น
ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีราคาเจาะจง หาก บริษัท XYZ ซื้อสินค้า A ซึ่งมีมูลค่า 1,000,000 บาท บริษัทต้องบันทึกบัญชีว่ามีสินค้าคงเหลือ 1,000,000 บาท ต่อมาเมื่อบริษัทซื้อสินค้า B ซึ่งมีมูลค่า 1,500,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 2,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000) และเมื่อซื้อสินค้า C ซึ่งมีมูลค่า 3,000,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 5,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000+3,000,000) หากลูกค้าซื้อสินค้า A บริษัทต้องบันทึกต้นทุนขายจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้า A นั่นเอง
โดยสรุป การเลือกวิธีคำนวณต้นทุนขายหรือสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีที่เหมาะสมกับกิจการที่แตกต่างกันออกไป การคำนวณต้นทุนขายด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกันจะทำให้กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิแตกต่างกัน รวมทั้งทำให้สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบดุลมีจำนวนแตกต่างกันไปด้วย
ถ้ามีข้อสงสัยอะไรถามได้เลยนะค่ะ
หลายคนอาจสงสัยว่า ต้นทุนขายนั้นคำนวณมาได้อย่างไร ความจริงแล้ว วิธีคิดของต้นทุนขายในทางบัญชีคือ
ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าที่ซื้อหรือผลิตในระหว่างงวด – สินค้าคงเหลือปลายงวด
เมื่อพูดถึงต้นทุนขายเรามักคิดถึงต้นทุนขาย 2 ประเภทคือ
1.ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย
สำหรับธุรกิจที่ซื้อมาขายไปหรือธุรกิจที่ขายสินค้าโดยไม่มีการแปรสภาพ ต้นทุนขายจะประกอบด้วยราคาสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย ค่าขนส่งที่เราเป็นคนจ่าย ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าประกันสินค้ารนะหว่างขนส่ง หักด้วยสินค้าส่งคืนและส่วนลดการค้า
2.ต้นทุนสินค้าที่ผลิตได้
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าต้องได้รับการแปรสภาพจากวัตถุดิบไปเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะพร้อมนำไปขาย ดังนั้น ต้นทุนขายในที่นี้จึงประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายการผลิตก็เช่น ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่ เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน เช่น ค่าเสื่อมราคาโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ในโรงงาน
ต้นทุนขายมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร?
การคำนวณสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะมีผลต่องบกำไรขาดทุนแตกต่างกันไป วิธีหลักๆ ที่ใช้กันเป็นประจำมีดังต่อไปนี้
1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO: First In First Out) คือการคำนวณต้นทุนขายโดยสมมุติว่าสินค้าที่ซื้อหรือผลิตก่อนจะถูกขายออกไปก่อน
ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีเข้าก่อนออกก่อน บริษัท XYZ มีสินค้า A จำนวน 100 บาท สินค้า B จำนวน 200 บาท สินค้า C จำนวน 300 บาท อย่างละ 1 ชิ้น เมื่อบริษัทได้รับสินค้า A, B และ C เข้ามาตามลำดับ จำนวนของสินค้าคงเหลือในคลังเก็บสินค้าจะเท่ากับ 600 บาท (100+200+300) ต่อมาหากมีการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าบริษัทขายสินค้า A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้น เมื่อมีการบันทึกบัญชี ให้ถือว่ามีต้นทุนขายเกิดขึ้นย 100 บาท และจำนวนสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 500บาท (200+300) หากต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไปอีก 1 ชิ้น บริษัทจะถือว่าได้ขายสินค้า B ออกไป ทำให้ต้นทุนขายมีจำนวน 200 บาท และสินค้าคงเหลือ (สินค้า C) มีจำนวนเท่ากับ 300 บาท
วิธีการคำนวณต้นทุนขายแบบ FIFO นี้ มักทำให้การคิดราคาต้นทุนของสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากหากในโลกปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อมักเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การที่เราคิดต้นทุนจากสินค้าที่เราซื้อมาอันดับแรกๆ ย่อมทำให้ต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง และเนื่องจากกำไรขั้นต้นคำนวณจากรายได้ลบต้นทุนขาย การมีต้นทุนขายต่ำจะทำให้กำไรสูงกว่าที่ควรจะเป็น
2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Moving Average) คือ การคำนวณต้นทุนขายโดยการเฉลี่ยราคาสินค้ากับปริมาณที่ซื้อในแต่ละชุด
ตัวอย่างการคำนวณวิธีถัวเฉลี่ย บริษัท XYZ มีสินค้าคงเหลือ 100 ชิ้น จำนวนเงินรวม 1,000 บาท สินค้าชุดนี้ถือว่ามีมูลค่าชิ้นละ 10 บาท ต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไป 20 ชิ้น บริษัทจะมีต้นทุนขาย 200 บาท (20*10) สินค้าคงเหลือในคลังจะเหลือ 80 ชิ้น (100-20) จำนวน 800 บาท (80*10) หรือชิ้นละ 10 บาท เมื่อบริษัทซื้อสินค้าชุดที่ 2 เข้ามาเพิ่ม 50 ชิ้น จำนวนเงินรวม 750 บาท ตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สินค้าต่อชิ้นจะมีมูลค่า 11.90 บาท โดยคำนวณจาก (800+750)/(80+50) เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาใหม่ 100 ชิ้น ต้นทุนขายที่เกิดขึ้นใหม่จะเท่ากับ 1,190 บาท (100*11.90) ทำให้สินค้าคงเหลือในคลัง 30 ชิ้น (130-100) จะมีมูลค่ารวม 357 บาท (30*11.90) เมื่อใดที่บริษัททำการซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ บริษัทต้องคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าใหม่ทุกครั้ง
3. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification) วิธีนี้คำนวณต้นทุนขายตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นมีต้นทุนไม่เท่ากัน วิธีนี้เหมาะกับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ หรือสินค้าราคาสูง เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีต้นทุนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ในยุคคอมพิวเตอร์ก้าวไกล การคำนวณต้นทุนขายนั้นเข้าใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีชิ้นใหญ่หรือเล็ก เนื่องจากระบบการสแกน Bar code ที่นำมาใช้จะทำให้บริษัททราบต้นทุนขายใกล้เคียงความจริงมากขึ้น
ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีราคาเจาะจง หาก บริษัท XYZ ซื้อสินค้า A ซึ่งมีมูลค่า 1,000,000 บาท บริษัทต้องบันทึกบัญชีว่ามีสินค้าคงเหลือ 1,000,000 บาท ต่อมาเมื่อบริษัทซื้อสินค้า B ซึ่งมีมูลค่า 1,500,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 2,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000) และเมื่อซื้อสินค้า C ซึ่งมีมูลค่า 3,000,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 5,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000+3,000,000) หากลูกค้าซื้อสินค้า A บริษัทต้องบันทึกต้นทุนขายจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้า A นั่นเอง
โดยสรุป การเลือกวิธีคำนวณต้นทุนขายหรือสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีที่เหมาะสมกับกิจการที่แตกต่างกันออกไป การคำนวณต้นทุนขายด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกันจะทำให้กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิแตกต่างกัน รวมทั้งทำให้สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบดุลมีจำนวนแตกต่างกันไปด้วย
ถ้ามีข้อสงสัยอะไรถามได้เลยนะค่ะ