Current liability หนี้สินหมุนเวียน
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 1:57 pm
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)
หมายถึง หนี้สินที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หรือบริการภายในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ หรือหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ (Operating Cycle) หนี้สินหมุนเวียนมักเกิดจากรายการต่อไปนี้
- กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ Trade Payable
- กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า Unearned Income
- กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน Accrued Expense
- กิจการมีหนี้สินแล้ว แต่ยังไม่ทราบจำนวนหรือเวลาแน่นอนที่ต้องชำระ Contingent Liabilities
กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ ตามปกติธุรกิจ กิจการมักซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาเพื่อขาย กิจการต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือหรือค่าใช้จ่ายพร้อมกับบันทึกเจ้าหนี้การค้า (Trade accounts payable) ดังนั้น เจ้าหนี้การค้าก็คือจำนวนเงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการตามปกติธุรกิจ ซึ่งมักมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน เป็นต้น
เมื่อเจ้าหนี้การค้าถึงกำหนด แต่บริษัทยังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายชำระได้ บริษัทอาจออกตั๋วเงินจ่าย (Note payable) ซึ่งเป็นสัญญาว่ากิจการจะชำระเงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้นมาทดแทนเจ้าหนี้การค้าเพื่อยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปหลังจากหมดระยะเวลาการให้เครดิต กิจการต้องบันทึกเปลี่ยนบัญชีเจ้าหนี้การค้าไปเป็นตั๋วเงินจ่าย ทั้งนี้ บัญชีตั๋วเงินจ่ายต้องรวมตั๋วเงินจ่ายการค้าที่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง และกิจการที่เกี่ยวข้องกันด้วย ตั๋วเงินจ่ายนี้ยังคงมีระยะเวลาที่กิจการต้องจ่ายสินเชื่อคืนภายในหนึ่งปีและมักมีข้อผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่เจ้าหนี้กำหนดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตั๋วเงินนั้น
กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า (Unearned Income) คือ เงินสดที่กิจการได้รับในงวดบัญชีปัจจุบันสำหรับสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฉะนั้นกิจการจึงมีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการในอนาคต ตัวอย่างเช่น กิจการได้รับค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่าเป็นเวลา 3 ปี กิจการต้องบันทึกค่าเช่ารับล่วงหน้าเป็นหนี้สินสำหรับค่าเช่าทั้งหมดที่รับมา และทะยอยตัดหนี้สินเป็นรายได้เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่ผู้เช่าได้ใช้บริการจากการเช่านั้น เช่น ผู้เช่าได้ใช้บริการห้องเช่าไปแล้วหนึ่งเดือน กิจการจะรับรู้รายได้ 1 เดือนและล้างค่าเช่ารับล่วงหน้าออก 1 เดือน
กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน (หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย Accrued Expenses) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นจากการที่กิจการได้ใช้สินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรู้ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวด กิจการต้องปรับปรุงบัญชีเพื่อให้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายได้เกิดขึ้นแล้วสำหรับงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น กิจการได้ทำการโฆษณาตลอดงวดที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้รับบิลค่าโฆษณา กิจการต้องบันทึกค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด และเมื่อกิจการยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการต้องบันทึกหนี้สินที่เรียกว่าค่าโฆษณาค้างจ่ายไปพร้อมกัน
ประมาณการหนี้สินหรือหนี้สินกะประมาณ (Contingent Liabilities) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อกิจการจำเป็นต้องชำระเงินออกไปในอนาคตเพื่อชำระภาระผูกพันบางอย่าง แต่กิจการยังไม่รู้แน่ว่าหนี้สินนี้มีจำนวนเท่าใดและต้องจ่ายชำระเมื่อไร กิจการต้องบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนที่ประมาณขึ้น เช่น ประมาณการหนี้สินค่ารับประกันสินค้า และประมาณการหนี้สินค่าสมนาคุณลูกค้า ในการประมาณการจำนวนหนี้สินนี้ กิจการต้องใช้ข้อมูลและประสบการณ์ในการประมาณอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้หนี้สินแสดงในงบดุลใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด
ตัวอย่างรายการบัญชีที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
1. เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable)
2. ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable)
3. เงินเบิกเกินบัญชี (Bank Overdrafts)
4. เงินปันผลค้างจ่าย (Accrued Dividends)
5. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
6. เงินประกันสังคม
7. ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Portion of Long-term Debt)
8. หนี้สินการรับประกันคุณภาพสินค้า (Product Warranties)
9. หนี้สินเช็คของขวัญหรือบัตรกำนัล (Advance from Sales Certificates)
หากมีข้อสงสัย ถามได้เลยน่ะค่ะ
หมายถึง หนี้สินที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หรือบริการภายในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ หรือหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ (Operating Cycle) หนี้สินหมุนเวียนมักเกิดจากรายการต่อไปนี้
- กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ Trade Payable
- กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า Unearned Income
- กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน Accrued Expense
- กิจการมีหนี้สินแล้ว แต่ยังไม่ทราบจำนวนหรือเวลาแน่นอนที่ต้องชำระ Contingent Liabilities
กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ ตามปกติธุรกิจ กิจการมักซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาเพื่อขาย กิจการต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือหรือค่าใช้จ่ายพร้อมกับบันทึกเจ้าหนี้การค้า (Trade accounts payable) ดังนั้น เจ้าหนี้การค้าก็คือจำนวนเงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการตามปกติธุรกิจ ซึ่งมักมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน เป็นต้น
เมื่อเจ้าหนี้การค้าถึงกำหนด แต่บริษัทยังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายชำระได้ บริษัทอาจออกตั๋วเงินจ่าย (Note payable) ซึ่งเป็นสัญญาว่ากิจการจะชำระเงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้นมาทดแทนเจ้าหนี้การค้าเพื่อยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปหลังจากหมดระยะเวลาการให้เครดิต กิจการต้องบันทึกเปลี่ยนบัญชีเจ้าหนี้การค้าไปเป็นตั๋วเงินจ่าย ทั้งนี้ บัญชีตั๋วเงินจ่ายต้องรวมตั๋วเงินจ่ายการค้าที่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง และกิจการที่เกี่ยวข้องกันด้วย ตั๋วเงินจ่ายนี้ยังคงมีระยะเวลาที่กิจการต้องจ่ายสินเชื่อคืนภายในหนึ่งปีและมักมีข้อผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่เจ้าหนี้กำหนดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตั๋วเงินนั้น
กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า (Unearned Income) คือ เงินสดที่กิจการได้รับในงวดบัญชีปัจจุบันสำหรับสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฉะนั้นกิจการจึงมีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการในอนาคต ตัวอย่างเช่น กิจการได้รับค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่าเป็นเวลา 3 ปี กิจการต้องบันทึกค่าเช่ารับล่วงหน้าเป็นหนี้สินสำหรับค่าเช่าทั้งหมดที่รับมา และทะยอยตัดหนี้สินเป็นรายได้เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่ผู้เช่าได้ใช้บริการจากการเช่านั้น เช่น ผู้เช่าได้ใช้บริการห้องเช่าไปแล้วหนึ่งเดือน กิจการจะรับรู้รายได้ 1 เดือนและล้างค่าเช่ารับล่วงหน้าออก 1 เดือน
กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน (หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย Accrued Expenses) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นจากการที่กิจการได้ใช้สินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรู้ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวด กิจการต้องปรับปรุงบัญชีเพื่อให้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายได้เกิดขึ้นแล้วสำหรับงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น กิจการได้ทำการโฆษณาตลอดงวดที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้รับบิลค่าโฆษณา กิจการต้องบันทึกค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด และเมื่อกิจการยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการต้องบันทึกหนี้สินที่เรียกว่าค่าโฆษณาค้างจ่ายไปพร้อมกัน
ประมาณการหนี้สินหรือหนี้สินกะประมาณ (Contingent Liabilities) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อกิจการจำเป็นต้องชำระเงินออกไปในอนาคตเพื่อชำระภาระผูกพันบางอย่าง แต่กิจการยังไม่รู้แน่ว่าหนี้สินนี้มีจำนวนเท่าใดและต้องจ่ายชำระเมื่อไร กิจการต้องบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนที่ประมาณขึ้น เช่น ประมาณการหนี้สินค่ารับประกันสินค้า และประมาณการหนี้สินค่าสมนาคุณลูกค้า ในการประมาณการจำนวนหนี้สินนี้ กิจการต้องใช้ข้อมูลและประสบการณ์ในการประมาณอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้หนี้สินแสดงในงบดุลใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด
ตัวอย่างรายการบัญชีที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
1. เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable)
2. ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable)
3. เงินเบิกเกินบัญชี (Bank Overdrafts)
4. เงินปันผลค้างจ่าย (Accrued Dividends)
5. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
6. เงินประกันสังคม
7. ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Portion of Long-term Debt)
8. หนี้สินการรับประกันคุณภาพสินค้า (Product Warranties)
9. หนี้สินเช็คของขวัญหรือบัตรกำนัล (Advance from Sales Certificates)
หากมีข้อสงสัย ถามได้เลยน่ะค่ะ