ฝรั่งไม่หวั่นน้ำท่วม วอร์เรน บัฟเฟตต์ สั่งลุย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 15, 2012 8:43 am
นายจิรวุฒิ บุญศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้เหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมาจะสร้างความเสียหายอย่างมาก ต่อบริษัทรับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศจนมีข่าวบริษัทรับประกันภัยต่อหนีตลาดเมืองไทย ตนมองว่าไม่จริง แม้บริษัทซีซีอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อรายใหญ่ของโลกจากฝรั่งเศสจะถอนตัวไปเพราะความเสียหายจากน้ำท่วมก็จริง แต่บริษัทรับประกันต่อรายอื่นที่เสียหายจากน้ำท่วมแทนที่จะถอยกลับมามองทำอย่างไรถึงจะมีธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มได้มากกว่า
เช่น บริษัทเบิร์กเชียร์ แฮทชเวย์ (Berkshrie Hathaway) บริษัทรับประกันภัยต่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหา เศรษฐีของโลกที่ตั้งอยู่ในรัฐคอนเน็กติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อช่วงคือรับประกัน ภัยต่อมาจากบริษัทรับประกันภัยต่ออีกที วันนี้ขยับมาอยู่ข้างหน้ามารับประกันภัยต่อตรงจากบริษัทประกันภัยในไทยเพราะเขาเสียหายจากน้ำท่วมในประเทศไทยด้วยจึงต้องเอาพอร์ตมาดูเอง
“พอเริ่มบอกโซนนี้เสี่ยง สิ่งที่บอกต่อกันไปคือราคาเบี้ยประกันต้องขึ้น เดิมภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมเป็นประกันภัยที่แถมให้กับบ้านเรา เขตไหนที่บอกเสี่ยงสูงกำไร เขตที่แถมขาดทุน น้ำท่วมเปลี่ยน หน้าประเทศไทยภัยธรรมชาติไม่ใช่ของแถมอีกแล้ว รีอินชัวเรอส์หลายรายเข้ามาจับตลาดบ้านเรา”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในโลกยังมีประเทศที่มีความเสี่ยงสูงกว่าประเทศไทย มาก อย่างสหรัฐอเมริกามีพายุทอร์นาโด พายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงกว่าน้ำท่วมในประเทศไทยมากยังสามารถซื้อความคุ้มครองมหันตภัยประเภทนี้ได้ เท่าที่คุยกับบริษัทเอออนที่เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย (โบรกเกอร์) ระดับโลกบอกประเทศที่มีมหันตภัยเกิดมากบริษัทรับประกันภัยต่อสามารถทำกำไรได้ ตามทฤษฎีประกันภัยหากราคาเบี้ยประกันภัยเหมาะสมสามารถขายได้
“รีอินชัวเรอส์เขาคาดหวังกับบ้านเราเขาต้องดูมาตรการของรัฐ เช่น Risk improvement โอกาสเกิดความเสียหายน้อยลง บริษัทประกันก็แฮปปี้ น้ำท่วมครั้งนี้รีอินชัวเรอส์เขาก็มองเป็นภัยธรรมชาติบางคนบอกเกิดขึ้นในรอบ 50 ปี ผมว่าต้องมองย้อนไปในปี 2485 หรือ 60-70 ปีก่อนถึงจะใกล้เคียงความจริง”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในเชิงประกัน ภัยต้องวิเคราะห์ในเชิงสถิติ บริษัทประกัน ภัยและรีอินชัวเรอส์ต้องไม่ตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่ครั้งนี้บริษัทรับประกันต่อโดนเยอะทำให้มีเรื่องราคาเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าค่าเสียหายทั้งหมด เท่าไหร่ไม่มีใครเดาถูกเพราะในอดีตไม่มีตัวอย่าง น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสูง 2 เมตรไม่เคยมีต้องผ่านไป 3-6 เดือนตัว เลขค่าเสียหายถึงจะใกล้เคียงความจริง วันนี้ยังไม่ถึงขั้นที่บริษัทรับประกันภัยต่อไม่สามารถออฟเฟอร์ประเทศไทยได้ เขาต้องชั่งน้ำหนัก
ก่อนหน้านี้นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ย้ำว่ายังมีบริษัทประกันภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ หลายรายทั้งเก่าและใหม่สนใจธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยอย่างตอนที่ไป พบลอยด์ส ออฟ ลอนดอน ที่อังกฤษซึ่ง เป็นตลาดประกันภัยต่อใหญ่สุดในโลกเมื่อปลายปีที่ผ่านมายังมองประเทศไทย มีศักยภาพ โดยประเทศไทยยังจะมีการ ลงทุนอีกมากทั้งจากภาคเอกชนอย่างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และภาครัฐที่ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจประกันภัยเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเชิญผู้รับประกันภัยต่อที่ยังไม่เคยเข้ามาในประเทศไทยเข้ามา
สอดคล้องกับนายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคมประกันวินาศภัย (บอร์ด) ที่ว่าตลาดลอยด์สยังสนใจประเทศไทยอยู่แต่อยู่บนเงื่อนไขแนวทางการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเป็นรูปธรรมมากน้อยแค่ไหนและความเสียหายทั้งหมดจากน้ำท่วมเท่าไหร่ ค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเท่าไหร่และรีอินชัวเรอส์เสียหายเท่าไหร่
เช่น บริษัทเบิร์กเชียร์ แฮทชเวย์ (Berkshrie Hathaway) บริษัทรับประกันภัยต่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหา เศรษฐีของโลกที่ตั้งอยู่ในรัฐคอนเน็กติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อช่วงคือรับประกัน ภัยต่อมาจากบริษัทรับประกันภัยต่ออีกที วันนี้ขยับมาอยู่ข้างหน้ามารับประกันภัยต่อตรงจากบริษัทประกันภัยในไทยเพราะเขาเสียหายจากน้ำท่วมในประเทศไทยด้วยจึงต้องเอาพอร์ตมาดูเอง
“พอเริ่มบอกโซนนี้เสี่ยง สิ่งที่บอกต่อกันไปคือราคาเบี้ยประกันต้องขึ้น เดิมภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมเป็นประกันภัยที่แถมให้กับบ้านเรา เขตไหนที่บอกเสี่ยงสูงกำไร เขตที่แถมขาดทุน น้ำท่วมเปลี่ยน หน้าประเทศไทยภัยธรรมชาติไม่ใช่ของแถมอีกแล้ว รีอินชัวเรอส์หลายรายเข้ามาจับตลาดบ้านเรา”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในโลกยังมีประเทศที่มีความเสี่ยงสูงกว่าประเทศไทย มาก อย่างสหรัฐอเมริกามีพายุทอร์นาโด พายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงกว่าน้ำท่วมในประเทศไทยมากยังสามารถซื้อความคุ้มครองมหันตภัยประเภทนี้ได้ เท่าที่คุยกับบริษัทเอออนที่เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย (โบรกเกอร์) ระดับโลกบอกประเทศที่มีมหันตภัยเกิดมากบริษัทรับประกันภัยต่อสามารถทำกำไรได้ ตามทฤษฎีประกันภัยหากราคาเบี้ยประกันภัยเหมาะสมสามารถขายได้
“รีอินชัวเรอส์เขาคาดหวังกับบ้านเราเขาต้องดูมาตรการของรัฐ เช่น Risk improvement โอกาสเกิดความเสียหายน้อยลง บริษัทประกันก็แฮปปี้ น้ำท่วมครั้งนี้รีอินชัวเรอส์เขาก็มองเป็นภัยธรรมชาติบางคนบอกเกิดขึ้นในรอบ 50 ปี ผมว่าต้องมองย้อนไปในปี 2485 หรือ 60-70 ปีก่อนถึงจะใกล้เคียงความจริง”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในเชิงประกัน ภัยต้องวิเคราะห์ในเชิงสถิติ บริษัทประกัน ภัยและรีอินชัวเรอส์ต้องไม่ตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่ครั้งนี้บริษัทรับประกันต่อโดนเยอะทำให้มีเรื่องราคาเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าค่าเสียหายทั้งหมด เท่าไหร่ไม่มีใครเดาถูกเพราะในอดีตไม่มีตัวอย่าง น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสูง 2 เมตรไม่เคยมีต้องผ่านไป 3-6 เดือนตัว เลขค่าเสียหายถึงจะใกล้เคียงความจริง วันนี้ยังไม่ถึงขั้นที่บริษัทรับประกันภัยต่อไม่สามารถออฟเฟอร์ประเทศไทยได้ เขาต้องชั่งน้ำหนัก
ก่อนหน้านี้นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ย้ำว่ายังมีบริษัทประกันภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ หลายรายทั้งเก่าและใหม่สนใจธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยอย่างตอนที่ไป พบลอยด์ส ออฟ ลอนดอน ที่อังกฤษซึ่ง เป็นตลาดประกันภัยต่อใหญ่สุดในโลกเมื่อปลายปีที่ผ่านมายังมองประเทศไทย มีศักยภาพ โดยประเทศไทยยังจะมีการ ลงทุนอีกมากทั้งจากภาคเอกชนอย่างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และภาครัฐที่ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจประกันภัยเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเชิญผู้รับประกันภัยต่อที่ยังไม่เคยเข้ามาในประเทศไทยเข้ามา
สอดคล้องกับนายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคมประกันวินาศภัย (บอร์ด) ที่ว่าตลาดลอยด์สยังสนใจประเทศไทยอยู่แต่อยู่บนเงื่อนไขแนวทางการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเป็นรูปธรรมมากน้อยแค่ไหนและความเสียหายทั้งหมดจากน้ำท่วมเท่าไหร่ ค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเท่าไหร่และรีอินชัวเรอส์เสียหายเท่าไหร่