บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่งเอเ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 13, 2012 2:12 am
บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่งเอเชีย
10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 06:51 น. |
เปิดอ่าน 2,991 |
comment ความคิดเห็น 9
โดย......ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์
กลายเป็นข่าวที่คนไทยต้องจับตาไม่กะพริบ เมื่อบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และทาทา มอเตอร์ส ต่างพร้อมใจกันตบเท้าเดินหน้าบุกตลาดที่ขึ้นชื่อว่าร้อนแรงและกำลังเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอย่าง “อินโดนีเซีย”
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าเย้ายวนใจมากที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน จากศักยภาพการเติบโตที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งก็ว่าได้
ปัจจัยแรก คือ ขนาดของตลาดอินโดนีเซียซึ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยจำนวนผู้บริโภคภายในที่สูงถึง 240 ล้านคน นั่นหมายถึงแรงซื้อที่ใหญ่กว่าไทยมากกว่า 3 เท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีจำนวนประชากรที่สูง ทว่าชาวอินโดนีเซียส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของรถยนต์ โดยหนังสือพิมพ์วอลสตรีตเจอร์นัลของสหรัฐเปิดเผยว่า หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียเพียง 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่ครอบครองรถยนต์
แต่ทว่าในอีกมุมมองหนึ่ง สัดส่วนดังกล่าวสามารถตีความหมายได้ว่า สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ต่างชาตินั้น ผู้ที่ยังไม่มีรถ ก็คือกำลังซื้อใหม่ที่ไม่ควรจะมองข้าม
อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า ตลาดรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย นั้นเริ่มอิ่มตัวมากขึ้นแล้ว ตลาดสหรัฐกำลังเจอกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง ยาวนาน และต่อเนื่อง ส่วนตลาดจีนและอินเดียที่เคยเป็นที่หมายปองของบรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติ ก็กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ตรงกันข้ามกับอินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดใหม่ที่มี “ความสด” โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยอดจำหน่ายรถยนต์อาจพุ่งสูงถึง 3 ล้านคันต่อปีภายในหนึ่งทศวรรษ จากเดิมที่ 1 ล้านคันต่อปี
ปัจจัยต่อมา คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซีย โดยล่าสุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 มีอัตราการเติบโตถึง 6.5% อันเป็นผลพวงจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด และการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 15 ปี โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า และในปีนี้ เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงโตในระดับสูงที่ 6-6.5%
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดาค่ายรถยนต์ชื่อดังจะเริ่มส่งสัญญาณที่จะผลักดันอินโดนีเซียให้กลายเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์” แห่งใหม่ของอาเซียน ขึ้นมาเทียบชั้น หรืออาจจะแทนที่ประเทศไทยที่กำลังงมกับปัญหา “น้ำท่วม” อย่างแทบโงหัวไม่ขึ้น
“ด้วยอัตราการครอบครองรถยนต์ที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรง จึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ดอาเซียน ย้ำ
ไล่เรียงมาตั้งแต่ โตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากแดนปลาดิบที่คนไทยมักคุ้นกันดี ได้ประกาศทุ่มเงินลงทุนถึง 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐในอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจากปัจจุบันที่ผลิตได้ปีละ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 แสนคัน ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
โตโยต้ายังเล็งที่จะใช้อินโดนีเซียเป็นฐานส่งออกรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วย โดยได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการส่งออก 30% โดยมุ่งเน้นตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และทวีปแอฟริกาเป็นสำคัญ
หรือจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอย่าง จีเอ็ม ที่เพิ่งรอดตัวมาจากการปรับโครงสร้างบริษัทหลังการยื่นล้มละลายเมื่อปี 2009 และสามารถกลับมาผงาดเป็นค่ายรถอันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้งนั้น ก็เปิดเผยแผนที่จะเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งภายหลังยุติปฏิบัติการไปเมื่อปี 2548
จีเอ็มเตรียมทุ่มเงินราว 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงโรงงานรถยนต์ โดยทางบริษัทตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4 หมื่นคัน เลยทีเดียว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งแม้จะไม่มีโรงงานรถยนต์ในอินโดนีเซีย ก็เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าจะไม่ยอมพลาดโอกาสในการกอบโกยผลประโยชน์ในอินโดนีเซีย โดยทางบริษัทเผยว่า อาจจะเนรมิตโรงงานพร้อมขยายเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ของฟอร์ดอีก 20%
ขณะที่ ซูซูกิ ประกาศว่าเตรียมลงทุนกว่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยานยนต์ในอินโดนีเซียถึงสองเท่า และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลเรื่องการงดเว้นภาษีเพื่อปูทางให้บริษัทสามารถเดินหน้าผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ได้
ทั้งนี้ ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังผงาดในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งใหม่ของโลก นักวิเคราะห์ได้ออกโรงเตือนว่า อดีตดาวรุ่งอย่างไทยอาจต้องกลายสภาพเป็นดาวตกก็เป็นได้
เพราะต้องไม่ลืมว่า เป็นระยะเวลานานแล้วที่บรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติต่างยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ขนาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ความเพียบพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานฝีมือดีที่ราคาถูก จึงทำให้ไทยกลายเป็นที่หมายปองของธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนในไทยก็ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องไม่จบสิ้นง่ายๆ อีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในภาคการเมือง และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาน้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง ทำเอาค่ายรถยนต์ต่างชาติต้องประสบกับวิกฤตในการผลิตรถยนต์อย่างรุนแรงที่สุดเมื่อปีที่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทยเองยังทำให้นักลงทุนส่ายหน้า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนกำลังเติบโตและกลายมาเป็นคู่แข่งขันมากขึ้นนั้น กำลังทำให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และอาจจะถูกแซงหน้าแบบก้าวกระโดดในที่สุด
จากข้อมูลล่าสุดจะเห็นได้ว่า แม้ว่าค่ายรถยนต์ต่างๆ จะไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยเสียทีเดียว แต่การลงทุนใหม่ๆ ก็แทบจะไม่เห็น โดยที่ค่ายรถยนต์ต่างชาติเริ่มที่จะสตาร์ตเครื่องในโครงการใหม่ๆ ในอินโดนีเซียแทนบ้างแล้ว
อย่างเช่น โตโยต้าเตรียมดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ “อิติออส”
ส่วนทาทา มอเตอร์ส ซึ่งซื้อกิจการยานยนต์สุดหรูอย่างจากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ ไว้ในมือก็ได้เผยแผนสร้างโรงงานใหม่ในอินโดนีเซียพร้อมเปิดตัวรถยนต์ประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสูญเสียโอกาสของไทยทั้งสิ้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียยังสามารถล้มยักษ์ใหญ่อย่างไทย ขึ้นแท่นกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียนได้ด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ที่สูงถึง 8.94 แสนคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายของไทยนั้นอยู่ที่ 8.03 แสนคัน โดยอัมมาร์ มาสเตอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท เจดี พาวเวอร์ มองว่า ภายในปี 2556 ไทยจะเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์ขนาดเล็กให้กับอินโดนีเซีย
“มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะต้องเผชิญกับการสูญเสียความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางยานยนต์อาเซียน เพราะขณะนี้เพื่อนบ้านกำลังไล่ตามทันแล้ว” มาสเตอร์ กล่าว
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ กิทา วิร์จาวัน รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย ซึ่งได้แสดงความมั่นใจว่า อินโดนีเซียจะสามารถแซงไทยได้อย่างแน่นอน
“ผมมั่นใจว่าเราจะไล่ตามทันไทยได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามผลักดันมาตรการต่างๆ อาทิ มาตรการด้านภาษี และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการต่างชาติมากยิ่งขึ้น” วิร์จาวัน ระบุ
ส่วน “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” อย่างไทยก็ต้องก้มหน้าก้มตารับสภาพกับความเสี่ยงที่ก่อขึ้นมาเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาการจัดการน้ำที่สุดย่ำแย่ ตลอดจนปัญหาจากนโยบายขึ้นค่าแรงไล่นักลงทุนกันต่อไป !
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 5%E0%B8%A2
10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 06:51 น. |
เปิดอ่าน 2,991 |
comment ความคิดเห็น 9
โดย......ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์
กลายเป็นข่าวที่คนไทยต้องจับตาไม่กะพริบ เมื่อบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และทาทา มอเตอร์ส ต่างพร้อมใจกันตบเท้าเดินหน้าบุกตลาดที่ขึ้นชื่อว่าร้อนแรงและกำลังเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอย่าง “อินโดนีเซีย”
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าเย้ายวนใจมากที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน จากศักยภาพการเติบโตที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งก็ว่าได้
ปัจจัยแรก คือ ขนาดของตลาดอินโดนีเซียซึ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยจำนวนผู้บริโภคภายในที่สูงถึง 240 ล้านคน นั่นหมายถึงแรงซื้อที่ใหญ่กว่าไทยมากกว่า 3 เท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีจำนวนประชากรที่สูง ทว่าชาวอินโดนีเซียส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของรถยนต์ โดยหนังสือพิมพ์วอลสตรีตเจอร์นัลของสหรัฐเปิดเผยว่า หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียเพียง 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่ครอบครองรถยนต์
แต่ทว่าในอีกมุมมองหนึ่ง สัดส่วนดังกล่าวสามารถตีความหมายได้ว่า สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ต่างชาตินั้น ผู้ที่ยังไม่มีรถ ก็คือกำลังซื้อใหม่ที่ไม่ควรจะมองข้าม
อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า ตลาดรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย นั้นเริ่มอิ่มตัวมากขึ้นแล้ว ตลาดสหรัฐกำลังเจอกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง ยาวนาน และต่อเนื่อง ส่วนตลาดจีนและอินเดียที่เคยเป็นที่หมายปองของบรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติ ก็กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ตรงกันข้ามกับอินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดใหม่ที่มี “ความสด” โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยอดจำหน่ายรถยนต์อาจพุ่งสูงถึง 3 ล้านคันต่อปีภายในหนึ่งทศวรรษ จากเดิมที่ 1 ล้านคันต่อปี
ปัจจัยต่อมา คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซีย โดยล่าสุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 มีอัตราการเติบโตถึง 6.5% อันเป็นผลพวงจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด และการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 15 ปี โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า และในปีนี้ เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงโตในระดับสูงที่ 6-6.5%
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดาค่ายรถยนต์ชื่อดังจะเริ่มส่งสัญญาณที่จะผลักดันอินโดนีเซียให้กลายเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์” แห่งใหม่ของอาเซียน ขึ้นมาเทียบชั้น หรืออาจจะแทนที่ประเทศไทยที่กำลังงมกับปัญหา “น้ำท่วม” อย่างแทบโงหัวไม่ขึ้น
“ด้วยอัตราการครอบครองรถยนต์ที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรง จึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ดอาเซียน ย้ำ
ไล่เรียงมาตั้งแต่ โตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากแดนปลาดิบที่คนไทยมักคุ้นกันดี ได้ประกาศทุ่มเงินลงทุนถึง 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐในอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจากปัจจุบันที่ผลิตได้ปีละ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 แสนคัน ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
โตโยต้ายังเล็งที่จะใช้อินโดนีเซียเป็นฐานส่งออกรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วย โดยได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการส่งออก 30% โดยมุ่งเน้นตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และทวีปแอฟริกาเป็นสำคัญ
หรือจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอย่าง จีเอ็ม ที่เพิ่งรอดตัวมาจากการปรับโครงสร้างบริษัทหลังการยื่นล้มละลายเมื่อปี 2009 และสามารถกลับมาผงาดเป็นค่ายรถอันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้งนั้น ก็เปิดเผยแผนที่จะเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งภายหลังยุติปฏิบัติการไปเมื่อปี 2548
จีเอ็มเตรียมทุ่มเงินราว 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงโรงงานรถยนต์ โดยทางบริษัทตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4 หมื่นคัน เลยทีเดียว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งแม้จะไม่มีโรงงานรถยนต์ในอินโดนีเซีย ก็เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าจะไม่ยอมพลาดโอกาสในการกอบโกยผลประโยชน์ในอินโดนีเซีย โดยทางบริษัทเผยว่า อาจจะเนรมิตโรงงานพร้อมขยายเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ของฟอร์ดอีก 20%
ขณะที่ ซูซูกิ ประกาศว่าเตรียมลงทุนกว่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยานยนต์ในอินโดนีเซียถึงสองเท่า และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลเรื่องการงดเว้นภาษีเพื่อปูทางให้บริษัทสามารถเดินหน้าผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ได้
ทั้งนี้ ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังผงาดในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งใหม่ของโลก นักวิเคราะห์ได้ออกโรงเตือนว่า อดีตดาวรุ่งอย่างไทยอาจต้องกลายสภาพเป็นดาวตกก็เป็นได้
เพราะต้องไม่ลืมว่า เป็นระยะเวลานานแล้วที่บรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติต่างยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ขนาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ความเพียบพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานฝีมือดีที่ราคาถูก จึงทำให้ไทยกลายเป็นที่หมายปองของธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนในไทยก็ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องไม่จบสิ้นง่ายๆ อีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในภาคการเมือง และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาน้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง ทำเอาค่ายรถยนต์ต่างชาติต้องประสบกับวิกฤตในการผลิตรถยนต์อย่างรุนแรงที่สุดเมื่อปีที่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทยเองยังทำให้นักลงทุนส่ายหน้า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนกำลังเติบโตและกลายมาเป็นคู่แข่งขันมากขึ้นนั้น กำลังทำให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และอาจจะถูกแซงหน้าแบบก้าวกระโดดในที่สุด
จากข้อมูลล่าสุดจะเห็นได้ว่า แม้ว่าค่ายรถยนต์ต่างๆ จะไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยเสียทีเดียว แต่การลงทุนใหม่ๆ ก็แทบจะไม่เห็น โดยที่ค่ายรถยนต์ต่างชาติเริ่มที่จะสตาร์ตเครื่องในโครงการใหม่ๆ ในอินโดนีเซียแทนบ้างแล้ว
อย่างเช่น โตโยต้าเตรียมดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ “อิติออส”
ส่วนทาทา มอเตอร์ส ซึ่งซื้อกิจการยานยนต์สุดหรูอย่างจากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ ไว้ในมือก็ได้เผยแผนสร้างโรงงานใหม่ในอินโดนีเซียพร้อมเปิดตัวรถยนต์ประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสูญเสียโอกาสของไทยทั้งสิ้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียยังสามารถล้มยักษ์ใหญ่อย่างไทย ขึ้นแท่นกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียนได้ด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ที่สูงถึง 8.94 แสนคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายของไทยนั้นอยู่ที่ 8.03 แสนคัน โดยอัมมาร์ มาสเตอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท เจดี พาวเวอร์ มองว่า ภายในปี 2556 ไทยจะเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์ขนาดเล็กให้กับอินโดนีเซีย
“มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะต้องเผชิญกับการสูญเสียความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางยานยนต์อาเซียน เพราะขณะนี้เพื่อนบ้านกำลังไล่ตามทันแล้ว” มาสเตอร์ กล่าว
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ กิทา วิร์จาวัน รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย ซึ่งได้แสดงความมั่นใจว่า อินโดนีเซียจะสามารถแซงไทยได้อย่างแน่นอน
“ผมมั่นใจว่าเราจะไล่ตามทันไทยได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามผลักดันมาตรการต่างๆ อาทิ มาตรการด้านภาษี และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการต่างชาติมากยิ่งขึ้น” วิร์จาวัน ระบุ
ส่วน “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” อย่างไทยก็ต้องก้มหน้าก้มตารับสภาพกับความเสี่ยงที่ก่อขึ้นมาเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาการจัดการน้ำที่สุดย่ำแย่ ตลอดจนปัญหาจากนโยบายขึ้นค่าแรงไล่นักลงทุนกันต่อไป !
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 5%E0%B8%A2