หน้า 1 จากทั้งหมด 1

พัฒนาการของ Supply Chain Management และการลงทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 02, 2012 11:30 pm
โดย pat4310
เป็นบทความของ อ. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ก็อปปี้จากสถานะ facebook ของ อ.เขาครับ มาดูกันว่าลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทที่นักลงทุนตาดำๆอย่างพวกเราถือหุ้นกันอยู่เขาคิดอย่างไรและจะทำอะไรกับบริษัทเรา แล้วบริษัทที่เราลงทุนจะปรับตัวเข้ากับกระแสแบบนี้ได้หรือไม่ และมันก็จะเชื่อมโยงไปหุ้นดังๆแต่ละยุค ตั้งแต่สมัยที่ใครก็ทำ OEMs แข่งกันที่ราคา ซักพักก็ดับไป มียุคนึงที่คำว่า Reengineering มาแรง(จำได้ว่าธ.กสิกร โปรโมตตัวเองมากเรื่องนี้) ยุคที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เริ่มมา

Supply Chain Management เป็นการบริหารธุรกิจแบบใหม่ ที่วิธีคิดและขอบเขตของการบริหารจัดการเริ่มฟักตัวและพัฒนา Concepts ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990s จุดเริ่มต้น SCM เกิดขึ้นกับบริษัทในซีกโลกตะวันตกที่มีปัญหาด้านซัพพลาย-ต้นทุนสินค้าตัวเองสูงสู้สินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมใหม่จากเอเชียไม่ได้ กลยุทธ์ในขณะนั้นของบริษัทญี่ปุ่นและสี่เสือเอเชีย (เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์) จะอาศัยต้นทุนสินค้าที่ถูกกว่า โดยย้ายฐานผลิตมาในอาเซียน ช่วงเวลานั้นบริษัทและสินค้าของคนไทยได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถส่งสินค้าไปยังประ เทศอื่นๆมากขึ้นอย่างมาก แต่ก็เป็นสินค้า "Low Technology, Low Quality, Low Value Added, และ Labor Intensive ซะส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำพวกสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ อาหารแปรรูปและสินค้ารับจ้างผลิตพวก OEMs...

สำหรับช่วงปี1990s ที่เรื่อง SCM เพิ่งจะเริ่มตั้งไข่ บริษัทในซีกโลกตะวันตกกำลังสนใจกับเรื่อง Business Process Reengineering ของ Michael Hammer คำว่า"คิดใหม่ทำใหม่""คิดนอกกรอบ""Think out of box"หรือ"Breakthrough"เป็นแนวบริหารจัดการใหม่ในขณะนั้น บริษัทใหญ่ๆให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีบริหารจัดการ ที่จำเป็นจะต้อง Reengineering หรือ Change ขบวนการทำงาน หรือ Business Processes

ช่วง 1990s หลายๆบริษัทในฉีกโลกตะวันตกเริ่มสนใจวิธีการบริหารจัดการของบริษัทญี่ปุ่นที่ประสพความสำเร็จอย่างมากในขณะนั้น โดยเฉพาะบริษัท Toyota ในช่วง 1990s บริษัทตะวันตกเริ่มศึกษา Toyata System หรือ Just-in-time ของบริษัทญี่ปุ่นและตื่นตัวในเรื่อง Kaizen หรือ Total Quality Management

ขณะที่เวลานั้นในช่วงเดียวกัน บริษัทในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง..แม้ว่าต้นทุนถูกลงเนื่องจากย้ายฐานมาอาเซียน แต่ต้นทุนโลจิสติกส์แพงขึ้นมาก ช่วง 1990s บริษัทญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกงและสิงคโปร์ เริ่มพัฒนาฟังก์ชันโลจิสติกส์ตามบริษัทตะวันตก พร้อมทั้งยกระดับสินค้าตนเองให้สูงขึ้น

การเริ่มต้นสนใจด้านซัพพลาย(Supply Side)ที่ขาดประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขัน เป็นจุดเริ่มต้นของ Supply Chain Management ในช่วงทศวรรษ1990s ด้านซัพพลายใน SCM ณ.ขณะนั้นได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ และการจ้างบริษัทภายนอกผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้แทนทำเอง ทั้งในและนอกประเทศ คำว่า Procurement, Sourcing, หรือ Supply Management เกิดขึ้นในช่วงนั้น ส่วน Supply Chain Management เพิ่งจะเกิดขึ้นในวงวิชาการในมหาลัยใน USA

Conceptsในเรื่อง SCM ในช่วงฟักตัวหรือเริ่มต้นขณะนั้น จึงเน้นไปที่การตอบสนองดีมานด์ด้วยซัพพลายที่มีประสิทธิภาพ "Efficient Response" Efficient Response Concepts จึงเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อพูดถึง SCM โดยหัวใจในการบริหารจะเน้น การลดต้นทุน,เวลา,สต็อกในการตอบสนองลูกค้า Efficient Response Concepts จึงเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อพูดถึง SCM โดยหัวใจในการบริหารจะเน้น การลดต้นทุน,เวลา,สต็อกในการตอบสนองลูกค้า

การลดต้นทุน,เวลา,และสต็อกในด้านซัพพลายที่สัมพันธ์กับฟังก์ชันการจัดหา ฟังก์ชันการผลิตและฟังก์ชันโลจิสติกส์ จึงจำเป็นจะต้องบริหารจัดการร่วมกัน ขณะนั้น 1990s,การทำ Efficient Response ก็ส่งผลให้เกิด Best Practicesใหม่ๆเกิดขึ้น..บริษัทต่างๆอาศัยความสามารถและศักยภาพของซัพพลายเออร์แข่งขันตัวอย่าง Best Practices ขณะนั้นที่คำว่า SCM ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก ได้แก่ Just-in-Time, VMI, Crossdock, Quick Response, Lean, DC เป็นต้น

ตย.บริษัทรถยนต์อาศัยซัพพลายเออร์ช่วยทำ JIT, ห้างสรรพสินค้า JC Penny อาศัยซัพพลายเออร์ช่วยทำ VMI, Walmart ทำ DC/Crossdock ร่วมกับซัพพลายเออร์

ตย. Dell computer อาศัยซัพพลายเออร์ผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด โดยตัวเองตั้ง DC และใช้ระบบ Assembly-to-Order ชนะ HP,IBM ซึ่งทำก่อน SCM เป็นที่ยอมรับ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จุดกำเนิดเกิดขึ้นของ SCM เป็นเรื่องของ การแข่งขันที่มุ่งไปในองคาพยพด้านซัพพลาย ที่บูรณาการฟังก์ชันด้านซัพพลายเข้าด้วยกัน ฟังก์ชันซัพพลายหลักๆก็ได้แก่ Procurement, Manufacturing,และ Logistics นั้นเอง นอกจากนี้ SCM ก็ยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินการ่วมกับซัพพลายเออร์ ปลายทศวรรษที่ 1990s จึงเห็นพ้องกับชื่อ Supply Chain Management เพราะประเด็นหลักเป็นเรื่อง การบริหารฟังก์ชันธุรกิจที่สัมพันธ์กันในด้านซัพพลาย

Re: พัฒนาการของ Supply Chain Management และการลงทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2012 11:59 am
โดย pat4310
สมัยนี้กิจการอยู่คนเดียวไม่ได้ต้องมีเครือข่าย ดังนั้นการวิเคราะห์หุ้นก็ต้องขยายวงขึ้นดูแค่งบของบริษัทอย่างเดียวไม่พอแล้ว คำถามง่ายๆคือบริษัทที่คุณลงทุนอยู่ตรงไหนของเชน ลองอ่านบทความข้างล่างดูครับ

จีนแทบไม่ได้อะไรเลยจากการผลิต iPhone/iPad

ที่มา http://www.meconomics.net/content/177/จ ... iphoneipad

สินค้าที่ "Design in California" อย่าง iPhone และ iPad นั้นสร้างการขาดดุลย์การค้าให้กับสหรัฐฯ ตั้งแต่ 229 ถึง 279 ดอลลาร์ต่อเครื่อง แต่ขณะที่การส่งสินค้าขั้นสุดท้ายนั้นมาจากจีน รายงานการศึกษาพบว่าสัดส่วนมูลค่าที่อยู่ในจีนนั้นมีต่ำมาก โดยรายงานการศึกษาพบว่าไม่มีชิ้นส่วนใดมาจากจีนโดยตรงเลย

ราคาของ iPhone และ iPad ที่ผู้บริโภคจ่ายไปไม่ว่าจะทางตรงด้วยการซื้อเครื่องที่ไม่ติดล๊อค หรือทางอ้อมด้วยการจ่ายผ่านผู้ให้บริการนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่กับแอปเปิลเองทั้งหมด 58% ในกรณี iPhone และ 30% ในกรณี iPad ส่วนกำไรที่เหลือจะแบ่งกันไปตามความสำคัญของชิ้นส่วนเช่นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นจะได้สัดส่วนมากเพราะผลิตจอภาพ, แรม, และซีพียู ให้กับแอปเปิล ขณะที่แรงงานสุดท้ายนั้นคิดเป็นมูลค่าเพียง 1.8% ใน iPhone และ 2% ใน iPad เท่านั้น หรือประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อชิ้น

รายงานการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการย้ายฐานการ "ผลิต" กลับมายังสหรัฐฯ นั้นไม่ได้ช่วยอะไรเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากนัก และเตือนว่าการออกนโยบายย้ายฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐฯ นั้นควรทำพร้อมๆ กับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้พอสำหรับการผลิตสินค้าระดับสูง และปรับตัวอย่างเป็นขั้นๆ ขณะที่ในระยะสั้นสหรัฐฯ ควรใช้ทรัพยากรมนุษย์ไปกับงานที่มูลค่าสูงกว่า

ที่มา - University of California, Irvine (PDF) http://pcic.merage.uci.edu/papers/2011/ ... iPhone.pdf

มูลค่า iPhone แยกตามงานต่างๆ

รูปภาพ
มูลค่า iPad แยกตามงานต่างๆ
รูปภาพ

Re: พัฒนาการของ Supply Chain Management และการลงทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2012 12:32 pm
โดย OutOfMyMind
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
สำหรับผม ข้อมูลนี้ โดยเฉพาะเรื่องของ IPhone/Ipad มันช่วยตอกย้ำ
ให้เราเน้นไปที่ "value หรือ มูลค่าของงาน"

กลับมาที่การเป็นนักลงทุนและเลือกหาบริษัทดีดีไว้เป็นเจ้าของ

หากจะดู supply chain ก็ต้องดู value chain ไปพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวที่กลุมเกลียวกัน หากบริษัทเราอยู่บนตำแหน่งที่กุม value ที่เป็นสะระสำคัญ ของตลอด supply chain ได้นั่นก็มีโอกาสที่เราเป็นผู้ชนะ

นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องดู demand chain ด้วย หากเราบริหารมันได้ หรือมีอำนาจควบคุม หรือ ผลักดันไปในทิศทางที่เราต้องการ โอกาสที่จะเป็นผุ้ชนะอย่างยั่งยืน ยิ่งทบเป็นทวีคูณ

Re: พัฒนาการของ Supply Chain Management และการลงทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2012 12:37 pm
โดย thaloengsak
ฝรั่งนี่ชอบเอาเปรียบ :(