หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 8:40 am
โดย imerlot
เคยเก็บรวมไว้..กลัวหลังมันจะเริ่มหายไป เอามาแปะใหม่แล้ว กัน..


Fisher's way
ิั
เมื่อไหร่จะถึงเวลาขายหุ้น

นัก ลงทุนมือใหม่ อาจเกิดปัญหาที่ว่า เมื่อไหร่จะถึงเวลาขายหุ้น แล้วจะขายอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด หากขายไม่ถูกจังหวะเวลาจะมีผลให้ผลตอบแทนต่ำไปด้วย เรื่องนี้คงต้องพึ่งตำราของปราชญ์ด้านการลงทุน ให้ช่วยชี้แนะ และหน่อยในปราชญ์ที่เราจะขอหยิบยกเทคนิคของเขาขึ้นมาแนะนำก็คือ PHILIP A. FISHER ผู้เขียน COMMON STOCK AND UNCOMMON PROFITS

FISHER บอกไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการขายหุ้นเพียงประการเดียว ที่มีแรงจูงใจในการขายหุ้นก็คือ ขายอย่างไรให้ทำกำไรสูงที่สุดจากเม็ดเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนไป โดยเหตุผลของการขายหุ้นนั้น มี 3 ข้อ ได้แก่

1. เมื่อ ตรวจพบอย่างชัดเจนว่าเกิดการซื้อที่ผิดพลาด และมีหลักฐานชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นแย่กว่าที่คิดไว้ในตอนแรก ไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ตามต้องตัดใจขาย กล้าที่จะ cut loss ทันที อย่ารอโดยหวังว่าราคาที่มันลงไปจะกลับคืนมาเท่าทุนที่ซื้อ นักลงทุนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนจะไม่ยอมรับความผิดพลาดของการตัดสินใจของตนเอง และรอไปเรื่อยๆ ไม่กล้าที่จะขาย จนในที่สุดความเสียหายอย่างหนักก็เกิดขึ้น จงขายแล้วเก็บความผิดพลาดไว้เป็นบทเรียน

2. ขายเมื่อบริษัทเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้ 15 ข้อ คือ
1. บริษัทไม่มีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพของตลาดเพียงพอที่จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายเป็นเวลาอย่างน้อย หลายๆปี
2. ฝ่าย จัดการหมดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่จะยังคงสามารถเพิ่มยอดขายรวมในอนาคต เมื่อโอกาสการเติบโตของสินค้าที่น่าสนใจในปัจจุบันใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว
3. ประสิทธิภาพของงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทด้อยลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทและบริษัทของคู่แข่ง หรือบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
4. บริษัทมีศักยภาพของหน่วยงานขายที่ย่ำแย่ลงกว่าค่าเฉลี่ย และไม่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง
5. บริษัทมีกำไรต่อยอดขายไม่คุ้มค่าและด้อยลงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทคู่แข่ง
6. บริษัทไม่ทำอะไร หรือไม่มีแผนการจะทำอะไรเพื่อรักษาหรือทำให้กำไรต่อยอดขายสูงขึ้น
7. บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่โดดเด่น หรือสหภาพแรงงานสัมพันธ์แย่ลง ก่อให้เกิดการหยุดงาน หรือประท้วง
8. บริษัทที่ความสัมพันธ์ของผู้บริหารในองค์กรดูเสื่อมทรามลง หรือมีความขัดแย้งในบริษัท
9. บริษัทมีฝ่ายบริหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
10. ระบบการวิเคราะห์ต้นทุนและการควบคุมทางบัญชีของบริษัทไม่ดีและส่อไปในทางแย่ลง
11. บริษัทสูญเสียความโดดเด่นในคุณลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม เช่น
* กิจกรรม ที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการค้าปลีกคือ ระดับของทักษะที่บริษัทมีในการจัดการเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ และการจัดการและควบคุมการหมุนเวียนของสต็อกสินค้า
* การวิเคราะห์กิจการและการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นคุณสมบัติเด่นของกลุ่มธนาคาร เป็นต้น
12. บริษัทมีภาพระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับกำไรของบริษัทที่ไม่ชัดเจน
13. การเจริญเติบโตของบริษัทต้องการเงินจากผู้ถือหุ้นหรือไม่ หากต้องเพิ่มทุนจะไปมีผล dilution effect มากน้อยอย่างไร
14. เมื่อพบว่าผู้บริหารเปิดเผยเมื่อกิจการดีแต่หมกเม็ดเมื่อกิจการมีปัญหา
15. บริษัทมีฝ่ายจัดการที่ไม่โปร่งใส
3. ขายเมื่อพบการลงทุนในบริษัทอื่นน่าสนใจกว่า มีอนาคตกว่า และมั่นใจว่าให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ประโยคสำคัญ FISHER กล่าวว่า*****ถ้าคุณทำหน้าที่ของคุณอย่างดีตอนที่คุณซื้อหุ้น เวลาที่จะขายก็คือ เกือบจะไม่มีวันขาย*****
source:
http://th.jobsdb.com/TH/TH/V6HTML/Home/ ... itor39.htm

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 8:41 am
โดย imerlot
ขายหุ้นเมื่อไหร่
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD

นัก ลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” (Value Investing) คือการ ซื้อหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้วถือไว้ไม่ขายเป็นระยะเวลานานๆ ความเข้าใจดังกล่าวถือว่ามีส่วนจริงบ้างแต่ไ่ม่ทั้งหมด บางครั้งนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจำเป็นต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปเช่นเดียว กัน

มีคำถามเข้ามาบ่อยๆ ว่านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าควรขายหุ้นเมื่อไหร่ ผู้เขียนขอนำบทความที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้มานำเสนออีกครั้งดังนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่า การซื้อหุ้นมาแล้วถือไว้นานๆโดยไม่ขาย คือ การลงทุนแบบ Value Investing หรือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งนับว่าเป็นความเข้าใจผิดอันดับแรกๆ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เรามักได้ยินได้ฟังถึงความสำเร็จของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า มาจากการถือหุ้นบริษัทหนึ่งๆเป็นเวลานานหลายๆปี จนมูลค่าของหุ้นมีราคาสูงกว่าที่ลงทุนซื้อมาเป็นอย่างมาก

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหลังจากที่ลง ทุนในหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้ว นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะไม่ดำเนินการขายหุ้นออกไปเลย เหตุผลหลักๆที่ทำให้นักลงทุนแบบเ้น้นคุณค่าขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปมีดังต่อ ไปนี้

หนึ่ง เมื่อพบว่าตัดสินใจลงทุนผิด ไม่ว่าจะใช้เวลานาน เพียงใดก็ตาม อาจจะเป็นหนึ่งวัน หนึ่งเดือน หรือ หนึ่งปี ถ้านักลงทุนพบว่า บริษัทที่ได้ซื้อลงทุนไว้นั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ต้องทำการขายออกจากพอร์ตทันที ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนอยู่เท่าไหร่ก็ตาม

ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมักขายหุ้นที่มี ราคาสูงกว่าที่ซื้อมาออกไปเพื่อทำกำไร และมักเก็บหุ้นที่่กำลังขาดทุนเอาไว้เพื่อรอราคาหุ้นดีดกลับมาที่ราคาต้นทุน กลยุทธการลงทุนแบบ “กำไรขายออก ขาดทุนเก็บไว้” เช่นนี้ จะไช้ได้ผลดีในภาวะตลาดขาขึ้น เพราะราคาหุ้นมักลดลงเพียงชั่วคราวแล้วกลับมีราคาสูงขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้โอกาสขาดทุนมีน้อย แต่ถ้าเป็นภาวะตลาดขาลง กลยุทธการลงทุนแบบนี้อาจทำให้เกิดภาวะการขาดทุนที่บางครั้งอาจประเมินไม่ได้ เพราะเมื่อถึงคราวหุ้นขาลง ไม่มีใครบอกได้ว่า ราคาหุ้นจะลงไปได้มากน้อยเพียงใด

สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ถ้าพบว่าบริษัทที่ซื้อมาเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด แล้วรีบขายออกไปทันที ถึงแม้จะขาดทุนอยู่ก็ตาม จะช่วยลดภาระการขาดทุนที่อาจมากขึ้นจากการถือหุ้นนั้นเป็นเวลานานๆได้

สอง เมื่อพื้นฐานบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร พื้น ฐานของบริษัทใน ตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะในสภาพความเป็นจริง ธุรกิจไม่อยู่นิ่ง การแข่งขันในธุรกิจมีการดำเนินไปอยู่ตลอดตราบที่ธุรกิจยังคงอยู่ ดังนั้น นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จึงควรที่จะหมั่นตรวจสอบสภาพพื้นฐานของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่เป็นระยะๆ

การเข้าใจถึงสภาพพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทที่ลงทุนเป็นอย่างดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในระยะสั้น ถึงแม้ข่าวสารที่ได้รับจะทำให้ตลาดหุ้นตอบรับกับข่าวนั้นอย่างปัจจุบันทัน ด่วนทันที ข่าวร้ายอาจทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้านักลงทุนสามารถวิเคาระห์ได้ว่า ผลกระทบของข่าวร้ายนั้นไม่มีผลกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ลงทุนแต่อย่างใด ก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายหุ้นแต่อย่างใด

แต่ถ้านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าพบว่า พื้นฐานกิจการของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ก็ไม่ควรลังเลที่จะขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไปทันที

สาม เมื่อมีโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า สำหรับการลงทุน แบบ เน้นคุณค่า โอกาสในการลงทุนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อโอกาสในการลงทุนมาถึง นักลงทุนอาจจำเป็นต้องขายหุ้นบริษัทหนึ่งเพื่อไปซื้อหุ้นอีกบริษัทหนึ่งที่ ดีกว่าแทน การตัดสินใจเช่นนี้ นักลงทุนต้องมั่นใจในหุ้นบริษัทใหม่ว่ามีพื้นฐานที่ดีกว่า รวมทั้งมีราคาที่เหมาะสมกับการลงทุนมากกว่า

มิฉะนั้นอาจต้องมาเสียดายหุ้นที่ขายไปแล้ว เพราะในภายหลังพบว่าหุ้นเดิมเป็นหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่ซื้อมาใหม่

บางครั้งโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนไปซื้อหุ้นบริษัทใหม่เพียงอย่างเดียว บางท่านอาจพบว่า การขายหุ้นเพื่อนำไปทำธุุรกิจอย่างอื่น หรือ ลงทุนในพันธบัตรในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ อาจเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่าก็เป็นได้

ทั้งสามข้อ คือ เหตุผลสำคัญในการขายหุ้นของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จะเห็นว่าการลงทุน แบบเน้นคุณค่า ไม่ใช่การถือหุ้นยาวๆโดยไม่ได้ทำอะไรเลยอย่างที่นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าใจกัน
http://www.thaivi.com/2010/02/276/

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 8:45 am
โดย imerlot
ผมให้ 5 ดาว อันนี้

ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (1) : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (1) : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
Posted by admin in Investment on มี.ค. 1st, 2011 | no responses
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (No Ratings Yet)
Loading ... Loading ...

เรื่องการขายหุ้นนั้นเป็นศิลปะที่สำคัญอย่าง หนึ่งของการลงทุนครับ ผมคิดว่าไม่มีสูตรตายตัว และการตัดสินใจขายนั้น ผมคิดว่ายากกว่าการตัดสินใจซื้อหลายเท่าครับ
.
การขายหุ้นที่เราลงทุนแต่ละตัว ไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะขายได้ราคาสูงสุดหรือใกล้เคียงกับราคาสูงสุดที่ หุ้นตัวนั้นจะไปถึงครับ เพราะไม่มี VI ที่สามารถทำได้ทุกครั้งแน่นอน ( ถ้าเป็นเจ้ามืออาจจะพอเป็นไปได้บ้าง )
.
การคิดว่าหุ้นที่เราขายทุกตัวจะ ต้องลง หลังจากที่เราขายหรือเราจะต้องขายที่ peak นั้น จะทำให้เราเกิดความทุกข์ในการลงทุน ซึ่งเป็นความเครียดและส่งผลลบต่อร่างกายและจิตใจอย่างที่ไม่สามารถประเมิน ความเสียหายได้ครับ
.
และไม่ต้องเสียดายประมาณว่า รู้งี้ถือต่อดีกว่า หรือ รู้งี้ซื้อเยอะกว่านี้ดีกว่า หรือ รู้งี้ . เพราะรู้อะไรไม่สู้รู้งี้หรอกนะครับ ( ยืมคำพูดพี่ Muffin มาครับ )
.
โดยทั่วไป ผมจะดูหุ้นในพอร์ตเป็นระยะๆ แล้วถามตัวเองว่า ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน เราคิดว่าหุ้นตัวนี้ยังน่าสนใจในระยะยาวหรือไม่ หมายความว่า ถ้าไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่เลยแล้วต้องซื้อราคานี้ ในระยะยาวจะสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจหรือไม่
.
ถ้าคำตอบคือใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นน่าถือต่อ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรมามากน้อยเท่าใด แต่ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นควรพิจารณาขาย เช่นกันครับ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยก็ตาม
.
ดังนั้น เรื่องที่ ว่าหุ้นตัวนั้นซื้อมาต้นทุนเท่าไหร่ ได้กำไรมาเท่าไหร่หรือกำลังขาดทุนอยู่เท่าไหร่ ผมจะพยายามไม่นำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาซื้อขายหุ้น แม้ว่ามันอาจจะขัดกับความรู้สึกของเราทุกคนก็ตาม มันก็เป็นเรื่องยาก แต่ผมคิดว่าถ้าทำได้จะทำให้เรามีการตัดสินใจในการขายหุ้นที่ดีขึ้นได้ครับ
.
เนื่องจากการขาย หุ้นเป็นเรื่องที่ยากจะตัดสินใจ และการขายหุ้น ณ ราคาสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 2% นั้น ก็เท่ากับว่าเรามีความเสี่ยงกับการหาหุ้นใหม่ๆในการลงทุน หรือที่ผมเคยเขียนในบทความประกอบงานสัมมนา Thaivi คือ reinvestment risk ยิ่งพอร์ตใหญ่ขึ้นความเสี่ยงดังกล่าวก็ยิ่งมาก
.
ดังนั้น ในระยะหลังๆผมจะพยายามหาหุ้นที่สามารถถือยาวๆได้ในระดับ 5-10 ปี และไม่จำเป็นจะต้องขายเล่นรอบเหมือนหุ้นบางกลุ่มที่ขึ้นลงตามตลาด เช่น ธนาคาร หลักทรัพย์ หุ้นวัฎจักรหรือหุ้นเก็งกำไรอื่นๆ
.
ในหนังสือด้านการลงทุนบางเล่มได้บอกว่า แม้ว่าเราจะเห็นว่าผลตอบแทนดัชนีดาวโจนส์จะสูงมากในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา คือ ให้ผลตอบแทนหลายสิบเท่า แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากเราพลาดการถือหุ้นเต็มพอร์ตเพียงไม่กี่ปี ผลตอบแทนจะลดลงไปเกินครึ่ง เพราะบางปีดัชนีอาจจะปรับเพิ่มถึง 50-100% และแม้จะมีปรับฐานลงมาบ้างแต่ก็ไม่ลงกลับมาจุดเดิมอีกเลย ยกตัวอย่างหุ้นไทยก็ในช่วงปี 2546 ดังนั้น เรายากที่จะคาดเดาได้ถูกทุกครั้งว่าตลาดหุ้นในแต่ละปีจะเป็นอย่างไร
.
ดังนั้น การถือหุ้นเกือบเต็มพอร์ต ( ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ 2-3% ) แบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เสี่ยงเกินไปนักกับการลงทุนแบบ VI หากเราสามารถเลือกธุรกิจและหุ้น ที่เหมาะสม และมีการกระจายความเสี่ยงในจำนวนหุ้นและประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสม คือ ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เรามีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และจำนวนหุ้นไม่มากเกินไปที่จะติดตามข้อมูลไม่ไหว และไม่น้อยเกินไปจนทำให้การลงทุนมีความเสี่ยงกับปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้
.
หุ้นที่เราควรจะถือลงทุนสำหรับการลงทุนแบบ VI ควรจะเป็นหุ้นที่เราถือแล้วไม่ต้องเฝ้าตลาด แต่ถ้าจะดูราคาหุ้นแต่ละวันก็เป็นสิ่งที่ทำได้
.
มีคำถามว่า VI ตัวจริงต้องไม่ดูราคาหุ้นหรือไม่ ผมคิดว่าดูได้ไม่เสียหายอะไรถ้าไม่กระทบกระเทือนงานของเรา ราคาหุ้นอาจจะดูได้ระหว่างวันเป็นช่วงๆหากเรามีเวลา แต่ไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่ดูราคาหุ้นจะต้องมีการสั่งซื้อขาย บางครั้งการดูราคาหุ้นบ่อยๆ ในแง่ VI อาจจะเป็นการฝึกความอดทนต่อความผันผวนของตลาดและราคาหุ้นที่เราถือก็ยังได้ ครับ หรือการดูราคาหุ้นก็เป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนในหุ้นบางตัวที่ราคาลดลงมา อย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยบางอย่างแต่พื้นฐานไม่เปลี่ยน
.
แต่แน่นอนครับ การไม่ดูราคาหุ้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็เป็นสิ่งที่ VI ก็ต้องทำได้เช่นกันครับ เพราะ VI บางท่านอาจจะมีภาระกิจในงานประจำที่ยุ่งมาก เช่น ไปอยู่แท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือเป็นนักบินอวกาศ
.
ดังนั้น แม้ว่าการลงทุนทุกรูปแบบก็สามารถสร้างกำไรได้เหมือนกันหากมีความเชี่ยวชาญ และมีวินัยการลงทุนที่ดีสำหรับการลงทุนแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ VI แบบดูเทคนิค ดู fund flow เพราะไม่มีแมวดำแมวขาวในโลกการลงทุน การลงทุนแบบ Buffet หรือ Soros ก็ทำเงินได้เหมือนกัน แต่ข้อดีของการเป็นนักลงทุนแบบ VI อย่างหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบอื่นๆ คือ สามารถที่จะไม่ต้องปรับพอร์ตได้เป็นระยะเวลานานพอสมควรหากเราไม่มีเวลา
.
มีนักลงทุนอายุในวัยใกล้เกษียณคนหนึ่งที่ผันตัวจากการ ลงทุนแบบนั่งห้องค้าซื้อหุ้นตามคนอื่นๆ และไม่มีความรู้ทางกราฟเท่าที่ควร มาลงทุนโดยซื้อหุ้นตามผม เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ผมได้ถามว่าตอนนี้ยังถือหุ้นอะไรอยู่บ้าง นักลงทุนท่านนั้นเลยบอกว่า ขายหุ้นไปหมด เพราะว่าต้องเดินทางไปเมืองนอกหลายสัปดาห์กลัวว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นระหว่าง ที่เค้าไม่อยู่เมืองไทยแล้วจะปรับพอร์ตไม่ทัน คือยังติดความคิดแบบตอนที่เล่นในห้องค้าอยู่ว่าต้องซื้อๆ ขายๆ บ่อยๆ
.
แต่เมื่อนักลงทุนท่านนั้นกลับมา ก็พบว่าหุ้นบางตัวที่ขายไปแล้วนั้นก็มีราคาสูงกว่าที่ราคาที่ขายไปแล้ว ซึ่งแน่นอนครับ นักลงทุนกว่า 90% ทำใจไม่ค่อยได้ที่จะซื้อหุ้นที่ขายไปแล้วในราคาแพงกว่าที่เดิม
.
ดังนั้น คำถามยอดฮิตของเพื่อนนักลงทุนที่ชอบขายหุ้นก่อนเวลาอันสมควรคือ แล้วหุ้น A B C ที่ขายไปแล้วมันจะลงมาอีกรึเปล่า? ซึ่งเป็นการหาคำตอบที่ผมลำบากใจจริงๆครับ หรือคำถามที่ว่า มีหุ้นตัวอื่นอีกมั้ย? มีหุ้นใหม่ๆอีกมั้ย? แน่นอนครับ การหาหุ้นที่น่าสนใจใหม่ๆนั้น คงไม่เหมือนแม่ไก่ที่ออกไข่ได้เกือบทุกวันครับ
.
ดังนั้น การลงทุนแบบ VI นั้นควรจะเลือกหุ้นที่สามารถถือได้ในเกือบทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้วส่งผลมายังบ้านเราโดยที่ เป็นระยะเวลาอันสั้น ที่ผ่านมาก็เช่น 911 ระเบิดที่ลอนดอน สงครามสหรัฐกับอิรัก หรือ sub prime
.
หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ไม่ทำให้พื้นฐาน หุ้นและเศรษฐกิจเปลี่ยนอย่างถาวร เช่น ซึนามิ ไข้หวัดนก เป็นต้น อย่างตอนที่มีระเบิดที่กรุงลอนดอนในปี 2547 นั้นวันที่มีระเบิดนั้นผมเดินทางถึงลอนดอนพอดี และนั่งดูราคาหุ้นตอนปิดตลาดลดลงเกือบทุกวัน แต่ท้ายสุดราคาหุ้นก็กลับมาได้เองเมื่อสถานการณ์เริ่มปกติ
.
ในปีนั้นก็มีนักลงทุนบางคนตกใจขายหุ้นที่ราคาเกือบจะต่ำสุดเพราะความตกใจ เพื่อนนักลงทุนมือใหม่ขี้ตกใจคนหนึ่งไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อผมไม่ได้ขณะผม อยู่ที่ลอนดอนก็ตัดสินใจขายขาดทุนหุ้นตัวหนึง ที่ถ้าถือถึงปัจจุบันก็ได้ 2 เท่ากว่าๆ เหตุผลหนึ่งที่ขายไปคงเพราะอาจจะคิดว่าผมจะเสียชีวิตไปแล้วจากเหตุการณ์ ระเบิดไปเสียแล้วก็เป็นได้ครับ แต่ตอนนี้เพื่อนนักลงทุนท่านนี้ก็เป็นโรคตกใจน้อยลงแล้วและหมั่นเข้า course อบรม และอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติมเป็นระยะแล้วครับ
.
ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (1)
.
คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
source:
http://www.sarut-homesite.net/2011/03/% ... %E0%B9%89/

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 8:51 am
โดย imerlot
อันนี้ ให้ 6 ดาว ..ใช้ประจำและ workมากๆๆ ขอบคุณ ..เจ้าของความรู้..คุณลูกอีสาน
ิำให้เป็น best quote of THaiVI
ผมปรับพอร์ตบ่อยๆครับ เหตุผลมักเป็นอย่างนี้

1.เจอหุ้นตัวที่ดีกว่า แต่ไม่มีเงินก็ต้องขายตัวที่ด้อยที่สุดไป
2.ตัวที่ถือพื้นฐานเปลี่ยน อันนี้แน่นอนก็ต้องขายออก
3.หุ้นขึ้นจนราคาสมเหตุสมผล ผมก็อาจจะขายไปเพิ่มตัวที่ยังต่ำกว่ามูลค่า
4.หุ้นลงผมก็ปรับพอร์ต ขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่มีอัพไซด์มาก

ผม ก็ปรับไปเรื่อยครับ ตามข้อมูลที่ได้รับมา ไม่มีเกณฑ์ตายตัวว่าบ่อยแค่ไหน หรือกี่เปอร์เซนต์ของพอร์ต ตั้งแต่ซื้อหุ้นมายังถือไม่เกิน 3 ปีเลยครับ เฉลี่ยเกือบๆปีประมาณนั้น แต่เห็นด้วยครับว่าตลาดผันผวน เราสามารถใช้การปรับพอร์ตหาประโยชน์จากความผันผวนนั้นได้ ผมยกตัวอย่างง่ายๆเช่น เราลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และหุ้น ถ้าตลาดซบเซาหนักๆเราก็ควรย้ายเงินจากกองทุนมาลงหุ้นให้มากขึ้น หรือเปลี่ยนไปถือหุ้นตัวทีมีอัพไซด์สูงกว่า หากตลาดเป็นขาขึ้นหาหุ้นลงทุนได้ยาก อาจจะต้องเปลี่ยนไปถือตัวที่ defensive มีปันผลเยอะหน่อยๆ ประมาณนี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=33509

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 9:02 am
โดย imerlot
....no name...
และให้ switch จังหวะตลาดลงแรง เพราะหุ้น strong จะถูกชั่วคราว ส่วนหุ้นถูกเรื้อรัง ราคาก็จะวนอยู่bottom อยู่แล้ว แต่พอตลาดฟื้น หุ้นแข็งแรงผลประกอบการดีจะไปต่อ แต่ หุ้นอ่อนแอผลประกอบการลุ่มๆดอน ก็จะอยู่อย่างนั้น.

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 01, 2012 3:49 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณครับมีประโยชน์มาก ผมขอเพิ่มไปอีกข้ออันนี้ผมให้ 6 ดาวครับคือ "สิ่งที่เกิดขึ้นเเล้วดีที่สุด"

เพราะฉะนั้นถ้าขายหมูไปเเล้ว อย่ามัวเเต่เสียดาย ต้องยอมรับเเละเรียนรู้ว่าเราพลาดอะไร จะต้องไม่พลาดซ้ำอีก...ถ้าหุ้นตัวเดิมที่ขายไปเเล้วเเต่ตลาดดันตอบสนองอีกเเบบ ก็ต้องมาประเมินเสมือนเจอหุ้นตัวนั้นใหม่ ถ้าเราประเมินมูลค่าผิดไปเเล้วมันยังต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ใหม่ผมก็ซื้อคืนครับ(เเต่ยอมรับว่าทำใจได้ยากมากตอนซื้อ 555)

เเล้วข้อเขียน"ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ"ภาค 2 ของพี่Invisible Hand หาอ่านได้จากไหนครับ

ขอบคุณมากๆครับ

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 7:13 am
โดย imerlot
ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (2) : คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
Posted by admin in Investment on มี.ค. 5th, 2011 | no responses
1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (2 votes, average: 5.00 out of 5)
Loading ... Loading ...

คำถามหนึ่งที่อาจจะสงสัยและผมเองก็ยังสงสัยตัว เองว่า แล้วถ้าถือหุ้น 100% แล้วเวลาหุ้นลงมามากๆ จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อหุ้น นั่นน่ะสิครับ
.
ปกติแล้วผมจะใช้วิธีการขายหุ้นบางตัวและมาซื้อบางตัว ซึ่งตัวที่ขายอาจจะเป็นตัวที่ลงน้อยกว่า หรือมีความน่าสนใจในระยะยาวๆน้อยกว่า เพราะหากเรากระจายกลุ่มอุตสาหกรรมที่มากพอ จะพบว่าบางกลุ่มอุตสาหกรรมอาจจะมีความผันผวนเทียบกับตลาดมากหรือน้อยกว่า อีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆที่หุ้น 2 ตัวในต่างกลุ่มอาจจะมีความสนใจใกล้เคียงกัน
.
ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 19 ธ.ค. ผมก็ขายหุ้นบางตัวที่ลงประมาณ 2 – 5% ไปซื้อหุ้นที่ผมคิดว่ามีพื้นฐานในระยะยาวที่ดีเหมือนกันในราคาที่ลง 25-30% ถ้าเป็นภาษาการลงทุนก็คือ เวลาลงมากๆ เราก็เพิ่ม beta ของ port ของเรานั่นเอง ( คือการขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่ลงมากๆ )
.
แต่เทคนิคนี้ถ้า จะทำ เราควรจะต้องรู้พื้นฐานของหุ้นตัวที่เรากำลังจะขายและกำลังจะซื้อดีมากพอ เพราะในทุกๆสถานการณ์ ตัวที่ลงน้อยก็ไม่ใช่ว่าควรขาย และตัวที่ลงมากๆ ก็ไม่ใช่ว่าน่าซื้อทุกตัวครับ
.
อย่างกรณีวันที่ 19 ธ.ค. หุ้นพื้นฐานดีตัวหนึ่งที่ลงไปติด floor อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งคือ AP ครับ ราคาลงไปถึง 3.40 บาท
.
หรือในช่วง 911 หุ้นพื้นฐานอีกตัวหนึ่งที่ราคาลงมามากคือ Tisco คือจาก 15 บาท เหลือ 10 บาท ถ้าเราซื้อ Tisco-c1 แล้วเผื่อเงินไว้แปลงส่วนหนึ่ง จะพบว่า Tisco-c1 ขึ้นจาก 1 บาท เป็น 12 บาทในระยะเวลา 6 เดือนครับ เช่นกันครับ ไม่ใช่ warrant ทุกตัวจะน่าซื้อเมื่อตลาด panic มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นเองครับที่น่าซื้อ
.
ถือหุ้นที่หลังจากเราลงทุนแล้ว เราเชื่อได้ว่า
.
1. ผู้บริหารมีความสามารถสูง
.
2. มีจริยธรรมที่เพียงพอ
.
3. อยู่ในธุรกิจที่มีศักยภาพในระยะยาว
.
ผมคิดว่าหุ้นที่ผ่านทั้ง 3 ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องขายเลยก็ได้ แม้ว่าราคาจะมีความผันผวนขึ้นๆลงๆอยู่บ้าง หรือแม้ว่าบางปีกำไรอาจจะไม่โตหรือติดลบชั่วครั้งคราวจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ ได้ ซึ่งทำให้ 1-2 ปีนั้นๆ ราคาหุ้นลดลงมาบ้าง หรือราคาหุ้นไม่ไปไหนแต่ตลาดหุ้นขึ้นเรื่อยๆ
.
บางคนอาจจะถามว่า แล้วถ้ามีข้อ 1 และ 2 แต่ข้อ 3 ไม่ผ่านจะได้หรือไม่ มันก็ขึ้นอยู่กับกรณีครับ ว่าบริษัทที่ว่านั้นสามารถเติบโตด้วยการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้ หรือไม่ ผมขอยกตัวอย่าง 3 กรณีครับ
.
1. กรณีของ Phillip Moris ที่ทำบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร่ นักลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้ลงทุนในหุ้นตัวนี้ด้วย 3 เหตุผลคือ เหตุผลแรกคือ เป็นบริษัทที่ผิดศีลธรรมอันดีเพราะทำลายสุขภาพลูกค้า ( ถ้า Phillip Morris อยู่เมืองไทยไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแน่นอนครับ ) และเหตุผลที่ 2 คือ กระแสรักษาสุขภาพอาจจะทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง ( ซึ่งภายหลังพบว่าอาจจะไม่จริง ) และเหตุผลที่ 3 คือ Phillip Morris ถูกฟ้องร้องตลอดเวลา
.
แต่ผลก็คือ การคำนวณผลตอบแทนแบบ dividend reinvest คือนำเงินปันผลที่ได้จากหุ้นตัวนั้นมาลงทุนหุ้นตัวเดิม Phillip Moris สามารถสร้างผลตอบแทนได้ติด top 5 ของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลคือคู่แข่งตายไปเยอะ และการห้ามโฆษณาในหลายๆสื่อ เป็นการทำให้คู่แข่งรายใหม่เกิดยากเป็น barrier to entry ในตัว และลดค่าใช้จ่ายการตลาดได้จำนวนมาก การลงทุนเพิ่มก็น้อยทำให้จ่ายปันผลได้สูง
.
2. กรณีของ บ. พฤกษา หรือ PS เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดบ้านในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมาแทบไม่เติบโตเลย แต่ PS สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก ซึ่งเป็นผลจากการได้เปรียบด้านต้นทุนกับคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้น การเติบโตของ PS คือความสามารถในการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้
.
3. กรณีของ Aprint ซึ่งทำนิตยสารแพรว บ้านและสวน ชีวจิต Real parenting ฯลฯ แม้ ว่าน่าจะผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ภาวะตลาดโฆษณาในช่วง 1-2 ปีหลัง ซบเซามาก รายจ่ายโฆษณาเท่าเดิมในขณะที่นิตยสารหัวใหม่ออกเพิ่มทุกปี Aprint เองก็มีนิตยสารใหม่เช่นกันคือ Real Parenting ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมากทีเดียว แต่ก็ไม่สามารถกินส่วนแบ่งจากคู่แข่งได้เพราะคู่แข่งมีมากเกินไปและ Aprint ไม่สามารถเจาะไปทุก segment ได้
.
สำหรับหุ้นที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักร ( ที่ซื้อแล้วต้องหาจังหวะขายแน่นอน ) หุ้นตัวใดตัวหนึ่งผ่านข้อ 1 – 3 ผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นพอจะถือไปได้เรื่อยๆ แม้ราคาหุ้นจะขึ้นมามากแล้ว เพราะหุ้นที่ผู้บริหารดีและเก่ง จะมีเรื่องดีๆตามมาเองอยู่เรื่อยๆสม่ำเสมอ เช่น การลงทุนใหม่ๆที่ดูชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็น การขยายกำลังการผลิตในธุรกิจเดิม หรือขยายไปยังธุรกิจที่ใกล้เคียงกับของเดิม การจัดการการเงินที่เหมาะสม ฯลฯ หุ้นประเภทนี้น่าซื้อทุกครั้งเมื่อตลาดปรับตัวลงจากเหตุการณ์ที่ชั่วครั้ง ชั่วคราว และทำให้หุ้นตัวนั้นๆปรับลดลงมามากพอ
.
แต่หุ้นที่แม้ว่าจะมีอัตราส่วนทางการเงินที่สวยงาม เช่น p/bv ต่ำมาก หรือมีเงินสดมาก แต่ไม่ผ่านข้อ 1-2 แล้ว ผมคิดว่าเมื่อเราถือไปเรื่อยๆ จะมีแต่ข่าวไม่ค่อยดีเข้ามามากกว่าข่าวดีๆ การขยับเขยื้อนของผู้บริหารแต่ละครั้งจะดูเหมือนเป็นการทำลายมูลค่าของหุ้นไปเรื่อยๆ เช่น การดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสม การลงทุนใหม่ๆที่ไม่เข้าท่า ผลตอบแทนต่ำหรือเสี่ยงจะขาดทุนสูง ( ซึ่งคนส่วนใหญ่พอรู้แต่ทำไมผู้บริหารไม่รู้? ) การปล่อยกู้บริษัทในเครือ การบริหารการเงินหรือการจ่ายปันผลที่สร้างความผิดหวังกับนักลงทุน การได้ยินคนในวงการธุรกิจนั้นๆ เล่าในสิ่งที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้บริหารหรือการจัดการภายใน ฯลฯ หุ้นประเภทนี้ถ้าเรามีอยู่ควรจะขายทุกครั้งที่หุ้นปรับสูงขึ้นตามรอบของตลาด ครับ หรือมีใครหลงผิดมาไล่ราคาหุ้นตัวนั้น ( แบบที่เราอาจจะเคยทำเช่นกัน )
.
บางคนอาจจะถามว่า แล้วการที่เราเพิ่งมาศึกษาบริษัทต่างๆ มีวิธีคร่าวๆที่จะดูว่า บริษัทไหนมีการจัดการด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงินที่ดีบ้าง ตัวกรองที่ไม่ยากนักคือการดู ROE และ ROA ครับ
.
เพราะ ROA บ่งบอกการใช้ประสิทธิภาพของสินทรัพย์ แต่ละธุรกิจจะมี ROA ไม่เท่ากัน เช่น บางธุรกิจเป็น Asset base อาจจะมี Roa ไม่สูงนัก เช่น โรงแรม ค้าปลีกบางบริษัท บางธุรกิจไม่ต้องใช้ asset จึงมี Roa สูง เช่น หลักทรัพย์ ดังนั้นเราควรเปรียบเทียบ ROA ของหุ้นที่เราสนใจกับหุ้นในธุรกิจเดียวกัน
.
แต่ก็มีบางธุรกิจที่เป็น asset base และ ROA ไม่สูง และตัวที่ ROA สูงที่สุดก็ยังไม่น่าสนใจ เพราะธุรกิจนั้นๆต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และการเติบโตจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่เพิ่มสินทรัพย์ และสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถทำ securitize หรือการขายออกไปได้ เช่น การออก property fund ทำให้ธุรกิจนี้เมื่อเติบโตถึงจุดหนึ่งต้องเพิ่มทุน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธนาคาร สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หุ้นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ธุรกิจให้เช่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถ securitize ออกได้ เป็นต้น
.
ROE บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการใช้เงินของผู้ถือหุ้น ROE นี้ไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆเลยครับ ถ้าหุ้นที่มี ROE ต่ำเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายๆปี แสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจต่ำ หรือ มีการจัดโครงสร้างเงินลงทุนไม่เหมาะสม เช่น มีกำไรค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยอดขาย หรือ สินทรัพย์ ( ROA ต่ำหรือ net margin ต่ำ ) มีส่วนของผู้ถือหุ้นมากเกินไปซึ่งเกิดจากการปันผลน้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้มีเงินสดแช่ในบริษัทจำนวนมาก หรือพอจะขยายแต่ละทีก็เพิ่มทุนมากเกินไป ทั้งๆที่บางส่วนอาจจะกู้มาได้หากธุรกิจไม่เสี่ยงเกินไป มีหุ้นทำขนมปังตัวหนึ่งธุรกิจดีใช้ได้ทีเดียว และมีความเสี่ยงต่ำมาก แต่เลือกขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ทั้งๆที่น่าจะกู้ได้มากกว่านี้ ท้ายสุด EPS เลยถูก dilute และ ROE ก็ลดลง ทำให้หุ้นตัวนี้กลายเป็นหุ้นเกรด B ไป ทั้งๆที่อาจจะเป็นหุ้นเกรด A และถือยาวๆได้ตัวหนึ่งเลยทีเดียวครับ หุ้นประเภทเดียวกับหุ้นขนมปังนี้ยังมีอีกหลายตัวทีเดียวครับ
.
แต่ก็มีบางบริษัทที่ ROE สูงเพราะใช้โครงสร้างเงินทุนไม่เหมาะสมก็มีครับ คือ ปกติแล้ว ROE จะสัมพันธ์กับ D/E ratio คือถ้า D/E สูงขึ้น ROE จะสูงตาม ดังนั้น บางบริษัที่มี ROE สูงใช้ได้อาจจะมี D/E สูงเกินไป เมื่อเทียบกับความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆได้ครับ ซึ่งเป็นกับดักอย่างหนึ่งเหมือนกัน
.
อาจจะมีคำถามต่ออีกว่า แล้วธุรกิจแบบไหนใช้ d/e สูงได้ แล้วแบบไหนไม่ควรสูง
.
HIGH operating risk SHOULD have LOW financial risk
.
LOW operating risk CAN have HIGHER financial risk

.
คำแปลก็คือ หุ้น ที่มีความเสี่ยงธุรกิจสูงควรมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e ต่ำ และหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำก็สามารถมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e สูงขึ้นได้
.
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง ก็คือหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ประเภทที่ยอดขายในแต่ละต้นปีต้องเริ่มใหม่ที่ 0 หรือมีความไม่แน่นอนของกำไร หรือ margin ซึ่งหุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น ราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ การเมือง สงคราม หรือการทุ่มตลาดของคู่แข่ง ภาวะ demand supply ในตลาดโลกฯลฯ หุ้นประเภทนี้ควรมี d/e ต่ำ
.
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ คือ หุ้นที่มีความแน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ซึ่งอาจจะอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของ ประชาชนที่ไม่สามารถชะลอการซื้อได้นานนัก เช่น อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค การรักษาโรค หรือมีรายได้ที่แน่นอนจากสัญญาต่างๆของลูกค้าเช่น การให้เช่า เป็นต้น หุ้นประเภทนี้สามารถมี d/e สูงได้ในระดับหนึ่ง เช่นอาจจะสูงถึง 2 เท่าได้
.
ส่วนหุ้นที่มีการ mismatch ระหว่าง D/e และ ความเสี่ยงทางธุรกิจที่หลายคนนึกไม่ถึงคือ ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้บุคคล เพราะ สินทรัพย์หลักของธุรกิจนี้คือ ลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียหายมากหากเศรษฐกิจตกต่ำ สถาบันการเงินจะมีทุน 1 ส่วน และ ระดมเงินฝากประมาณ 5 – 9 ส่วน เพื่อปล่อยกู้ประมาณ 6 – 10 ส่วน ซึ่งเงินฝากธนาคารนั้นถือว่าธนาคารเป็นลูกหนี้ของผู้ฝากเงินซึ่งผู้ฝากเงิน จะถอนเมื่อไหร่ก็ได้
.
ดังนั้น ผู้ฝากเงินถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่น่ากลัวเพราะในบางครั้งไม่มีกำหนดที่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หรือมีข่าวการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน คือ ช่วงที่ธนาคารต้องการเงินสดหรือสภาพคล่องที่สุด กลับกลายเป็นช่วงที่ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ต้องการถอนเงินออกมากที่สุดเช่นกัน อย่างที่เกิดในบ้านเราในปี 2540 – 2541 นั่นเอง
.
การที่ธุรกิจธนาคารมีทุน 1 ส่วนแต่ปล่อยกู้ 6 ถึง 10 ส่วน ก็เท่ากับว่าธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้มี d/e ratio สูงถึง 5 – 9 เท่า ในขณะที่ความเสี่ยงทางธุรกิจก็ค่อนข้างสูง ในขณะที่ roe ก็อยู่ 10 – 20% ซึ่งไม่ได้สูงกว่าธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า หรือ d/e ต่ำกว่ามากนัก ดังนั้น เราจึงเห็นเลยว่า ทำไมหุ้นธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งถึงต้องถูกลดทุนเหลือ 0 หรือเพิ่มทุนมหาศาลในช่วงวิกฤติ หรือบางธนาคารตอนนี้แม้ไม่ล้ม แต่ต้องเพิ่มทุนซ้ำซากเปลี่ยนผู้ถือหุ้นไปมาอยู่ เพราะการมีทุน 1 บาท แต่ปล่อยกู้ 5 – 9 บาท ถ้าเงินที่ปล่อยกู้หายไป 2 บาท ก็เท่ากับว่าเงินทุนติดลบแล้ว 1 บาททันที
.
หรือที่ใกล้ตัวที่สุดคือ เหตุการณ์ subprime ได้ทำให้กำไรของสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปลดลงไปมากจากการที่ต้องตั้ง สำรองหนี้เสีย ดังนั้นเราจะเห็นว่า การลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินในระยะยาวๆ มักจะไม่ค่อยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงและระยะเวลาการรอคอยนัก
.
ขอจบเรื่อง “ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ” ภาคแรกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
.
ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (2)

คเชนทร์ เบญจกุล (Invisible Hand)
source:
http://www.sarut-homesite.net/2011/03/% ... 0%B9%89-2/

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 7:25 am
โดย imerlot
การเลือกหุ้นแบบ top-down จะเริ่มดูตั้งแต่สภาวะเศรษฐกิจโลก โดยจะดูทั้งเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ กลุ่มยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา สาเหตุที่เราต้องวิเคราะห์ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาด้วยก็เพราะผล กระทบของเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้อาจมีมากกว่าที่คิด เช่น จีน และ อินเดีย แม้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แต่เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาอาจเป็นคู่ค้าหรือคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของไทยก็ ได้

หลังจากดูภาวะเศรษฐกิจโลกแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่จะออกมาเพื่อรองรับผลกระทบของเศรษฐกิจโลก หรือนโยบายการพัฒนาประเทศของภาครัฐ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจแล้ว จึงดูแนวโน้มของตลาดว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร โดยอาจวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานหรือใช้วิธีทางสถิติก็ได้ จากนั้นจึงดูว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มใดที่น่าลงทุน เมื่อได้กลุ่มหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของวิธี top-down ก็คือการวิเคราะห์บริษัทที่จะลงทุน
http://www.thanachartfund.com/webboard/ ... p?QID=1065
..แปลว่าขาย sector ที่มีแนวโน้ม แย่ switch ไป sector ที่ยังดีกว่า หรือทนต่อ
เช่น สมมติว่าถ้าโอกาส เกิด GFC2 (Global Financial Crisis) ..ในปี2012 มากกว่า 40%++ ถ้าเราจะถือหุ้น 100%
ต้อง ไป overweight sector ไหน และ underweight sector ไหน..

แต่กลับกันถ้าเรามองว่า หลัง น้ำท่วม จะบูม เช่น นั้น sector ไหนเป็นต้น

อันนี้ ยังเสี่ยง เพราะโอกาศ มองผิดมีสูง...จำต้องรอทำการบ้าน ต่อ.

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 7:32 am
โดย imerlot
อีกหนึ่ง 5 ดาว
วิธี ซักทุนออก ไปบ้าง...
คลายเครียด Ratio
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD

ท่าน ผู้อ่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Web board ของ โต๊ะสินธร แห่ง Pantip.com กับ thaivalueinvestor.com คงจะไม่เคยได้เห็นได้ยินอัตราส่วนนี้มาก่อน แล้วมันมีด้วยหรือเจ้าอัตราส่วนแปลกๆ นี้
ผมเองเมื่อแรกเลยก็งงครับว่า มันคืออัตราส่วนที่เกี่ยวกับอะไรกัน ชื่อก็แปลกแถมแบ่งออกเป็น คลายเครียดเรโช มหภาค กับคลายเครียดเรโช จุลภาค อีกต่างหาก แต่พอดูรายละเอียดของท่านเจ้าสำนักTemple Boxing นามว่า คลายเครียดเจ้าเก่า แล้วก็ต้องร้อง…อ๋อครับ
ชื่อก็บอกว่าคลายเครียด ก็สื่อความหมายว่า เป็นอัตราส่วนที่หาจุดเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อระบายความ เครียดในการถือครองหุ้นใดๆ ก็ตามที่ราคาหุ้นสูงขึ้นมากแล้ว แต่ยังมิได้ขายออกมาเลย เนื่องด้วยว่าจะขายก็กลัวขายหมู จะถือต่อก็กลัวจะถูกหมีตบหน้าหันเสียก่อน ท่านก็เลยกำหนดสูตรเป็นอัตราส่วนในการคลายความเครียดจากอาการดังกล่าวลงไป ครับ

มาดูสูตร คลายเครียดเรโช(มหภาค) : ราคาตลาด / ราคาทุน > 1

จากสูตรจะเห็นว่า เมื่อราคาหุ้นหลังจากที่ซื้อมาแล้วได้ปรับตัวขึ้นไปสูงเท่ากับหรือมากกว่า ราคาทุนที่ซื้อหุ้นมาแล้ว ให้ชักเอาส่วนที่เป็นทุนออกมาก่อนเพื่อความอุ่นใจ และเป็นการลดความเครียดจากการถือหุ้นนั้นๆ เอาไว้ต่อ ยิ่งตอนที่ขายเมื่ออัตราส่วนคลายเครียดสูงมากกว่า 1 มากๆความเครียดจะยิ่งลดลงเป็นลำดับ


เช่น เมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท เราจะได้คลายเครียดเรโชเท่ากับ 2.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุน 10 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 15 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป เพื่อลดอาการเครียดจากการขายหมูลงไป และที่แน่ๆเงินทุนของเราปลอดภัย 100%แล้วครับ

ส่วนคลายเครียดเรโช (จุลภาค) : (ราคาตลาด / ราคาทุน) – 1 > 1

สูตรคลายเครียดเรโชแบบจุลภาคนี้ค่อนข้างจะลดความเครียดลงไปได้อีกหนึ่งเท่า ตัวครับ เช่นเมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท เราจะได้คลายเครียดเรโช(จุลภาค) เท่ากับ 1.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุนและกำไร 15 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 10 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป

ทั้งให้แน่ๆไปเลยว่าอย่างน้อยได้ทั้งทุนและกำไรกลับใส่กระเป๋ามาแล้วแน่ๆ และพร้อมจะล้วงกระเป๋าผู้อื่นต่อไปโดยไม่ได้ลงทุนอะไรอีกแล้ว
คราวนี้มาดูว่าควรจะใช้คลายเครียดเรโชกับหุ้นประเภทไหน และโอกาสใด ท่านว่าโอกาสที่ควรใช้คลายเครียดเรโชมากที่สุดคือช่วงที่ตลาดคึกคักสุดขีด สังเกตได้จากช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นแบบไม่ติดเบรก นักลงทุนรายใหม่ๆ เกิดขึ้นมากๆ นักวิเคราะห์วิจารณ์จากแหล่งต่างๆ พร้อมใจกันพูดถึงตัวเลขในอนาคตในทางที่ดี และราคาหุ้นได้ถูกลากไปที่ราคาในอนาคต เพื่อรอผลประกอบการที่คาดว่าจะออกมาดี (ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะดี) ในอนาคต
ก็หุ้นประเภท PE 20 – 30 เท่า PBV 5 – 10 เท่า แต่นักวิเคราะห์ก็ยังก้มหน้าก้มตาเชียร์กันว่าดีอยู่นั่น นั่นแหละครับเข้าข่ายเลย และถ้าถือเอาไว้ก็กลุ้มใจ งุ่นง่านสิ้นดีเลยทีเดียว ท่านเจ้าสำนักTemple Boxing เสนอความเห็นว่าไม่มีใครรู้อนาคตจริงๆ สักคน

ดังนั้น ควรทำคลายเครียดเรโช เพื่อเอาเงินกำไรที่ได้มาไปเสี่ยงแทนจะดีกว่า
หุ้นอีกประเภทหนึ่งที่ต้องทำคลายเครียดเรโชแน่ๆ เลย ก็หุ้นประเภทมีการสร้างราคา มีข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าววงใน เพราะหุ้นพวกนี้มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของข่าวสูงมาก ถึงมากที่สุด เพราะการปล่อยข่าวนี้เพื่อต้องการผู้ร่วมวงไพบูลย์ในการล้วงเงินจากกระเป๋า ของตัวเราและเพื่อนๆนักลงทุนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครหวังดีกับใครก็ไม่รู้ถึงได้เอาข่าวจริงมาบอกกัน แต่ก็เห็นมีคนเชื่อกันมากและมากขึ้นทุกทีตามขนาด Market Cap.ของตลาดหุ้นบ้านเรา
คราวนี้มาดูว่าใครที่ต้องทำและไม่ทำคลายเครียดเรโช ท่านเจ้าสำนักฯกล่าวไว้ว่า เซียนหุ้นตัวจริง เสียงจริงที่รู้จริงและสามารถบริหารส่วนเกินทุนที่ได้จากหุ้นๆนั้นผ่านการ กำหนดราคาที่จะขายหุ้นเอาไว้แล้ว นี่ไม่รวมพวกเจ้ามือที่รู้ทะลุปรุโปร่งในเกมล้วงกระเป๋าครั้งนั้นๆ ไม่ต้องทำคลายเครียดเรโช
ส่วนพวกมนุษย์หุ้นที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเขาแต่บังเอิญบุญพาวาสนา ส่งให้เจ้ามือพิศวาสหุ้นที่ถืออยู่ แล้วพากันมาลากหุ้นจนราคาสูงเกินเท่าตัว และเพื่อสร้างความปลอดโปร่งและความสุขเล็กๆน้อยๆในการร่วมล้วงกระเป๋าคนอื่น ที่ยังโลภอยู่ต่อไปแบบปลอดภัยที่สุด
คลายเครียดเรโชทั้งสองแบบแท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่วิธีการในการบริหารความโลภ กับความรู้ให้สมดุลดังที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 47 แต่ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการลงทุนอย่างแท้จริง การใช้คลายเครียดเรโชนี้เป็นการจัดการกับความเสี่ยงในช่วงหุ้นขาขึ้นแบบสุดๆ เท่านั้น ใช้ไม่ได้กับหุ้นขาลงจนถึงปกติ เพราะเราจะไม่มีโอกาสได้ทำคลายเครียดเรโชแน่นอน
ท่านเจ้าสำนักย้ำหนักแน่นว่า หุ้นขาขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ตลาดหุ้นขาขึ้นนะครับ เพราะไม่ว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในสภาพไหนก็จะมีหุ้นขึ้นและลงสวนตลาดอยู่เสมอ
จะเห็นว่าการลงทุนแบบที่มีการทำคลายเครียดเรโชนี้จะทำให้เราอยู่ในตลาดหุ้น ได้ตลอด เพราะเราเอาทุนเราออกมาหมดแล้ว ที่เหลือเป็นเงินกำไรและหากหุ้นตกลงเราก็ไม่เจ็บตัวและอาจมีเงินปันผลเป็น น้ำจิ้มไปเรื่อยๆ
อย่างที่ท่านเจ้าสำนัก Temple Boxing กล่าวเอาไว้ครับ ว่าเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น และก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับโอกาสอีกด้วย
ด้วยข้อมูลงานวิจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนแล้ว คนทุกคนมักถูกครอบงำด้วยความโลภ ความกลัว และมีการหักกลบตัวเลขในสมองหรือMental Accounting กันทุกคน การทำคลายเครียดเรโชคือการนำเอา Mental Accounting มาบริหารความโลภและความกลัวแบบให้คิดเสียว่าเงินของเราที่ได้มาจากของคนอื่น นั้นเราเอาไปเสี่ยงดีกว่าเงินของเราเอง
แต่อย่าลืมว่า นั่นคือเงินของเรานะครับ หากเราเอาออกมาหมดเราก็ได้เงินนั้นทั้งจำนวน แต่จากความเป็นจริงแล้วน้อยคนนักจะทำได้ ท่านเจ้าสำนักฯก็เลยเสนอทางเลือกว่าให้ลดความเสี่ยงลงพร้อมๆกับความโลภนั่น เอง อย่าลืมว่าท่านยกเว้นให้สำหรับเซียนหุ้นตัวจริงนะครับว่าไม่ต้องทำคลาย เครียดเรโช เพราะมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน สถานการณ์ และควบคุมความโลภได้เป็นอย่างดี
ผมเองก็อดนึกไม่ได้ว่าพวกเจ้ามือเขาก็คงใช้หลักการเดียวกันนี่แหละในการ บริหารต้นทุนของเขาเมื่อมีการสร้างราคา คือซื้อขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีผู้ร่วมวงแล้วก็ค่อยๆ รินขายออกมาในระหว่างมีการซื้อของผู้อื่น จากนั้นก็ชักส่วนทุนของตัวเองออก และเอาเงินกำไรที่ได้จากกระเป๋าคนอื่นมาไล่ซื้อต่อเพื่อให้ราคาสูงไปอีก จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติการล้วงกระเป๋าผู้อื่นโดยเงินของผู้อื่นอย่างไม่ปราณี
อย่างนี้อาจเรียกว่า เจ้ามือเรโชก็ได้นะครับ
ที่ผ่านมาผมเองก็แอบใช้คลายเครียดเรโชไปแล้วเหมือนกันครับ เพราะหุ้นในพอร์ตของผมก็มีทั้งหุ้นพื้นฐานมั่นคง ทนทุกสภาพ และหุ้นก้นบุหรี่ที่พร้อมจะดีดบางส่วนทิ้งเมื่อราคาเกินความเป็นจริงไปแล้ว และใช้คลายเครียดเรโชนี่แหละในการบริหารส่วนที่เหลือ–จบ–
–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 21 – 27 มกราคม 2548–
This entry was posted in Value Way. Bookmark the permalink.
http://www.thaivi.com/2010/02/199/

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 8:28 am
โดย torpongpak
ขอบคุณมากๆครับ :D

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 07, 2012 10:24 pm
โดย chukieat30
ถึงเป้า ก้ต้องขายครับ เมื่อราคาเหมาะสมกับมูลค่าของมัน ตีหุ้นเป็น ยาพารา ปกติเค้าขายกัน

แผงละ 10 บาท ถ้า มีคนขายเลิกร้าน ขาย 5 บาท คุณเอาไหม ก้ต้องดู ว่า มันหมดอายุไหม

ถ้าไม่หมดอายุ อดทนรอไปหน่อย เด๋วเราก้จะขายได้ ราคา ปกติ ของมัน


ต่ำเป้า -พื้นฐานเปลี่ยนถาวร และไม่สามารถแข่งขันได้อีก ก้ต้องขายครับ เผ่นให้ไวและเร็ว

-พื้นฐานไม่เปลี่ยน เป็นจุดซื้อครับ ขณะที่คนอื่นกลัวมากๆ ว่าจะเจ๊ง โดยไม่ได้ดูงบ

การเงิน หรือดูพื้นฐานกิจการหรือแบรนด์ เลย ไม่ซื้อก้ต้องซื้อครับ

กิจการบางอย่างเช่น เทคโนโลยี อย่าง บีบี พอหมดดังก้เจอไอโฟนกลบกระแส

หรืออย่าง โชวห่วย ที่ถูก โมเดินเทรด ไล่บี้

แบบนี้ ไม่ช้าก้เร็ว ยังไง คนที่ถูกไล่บี้ก้ จะล้มหายตายจากไปจากธุรกิจครับ


ในโลกแห่งธุรกิจ ความโหดร้ายคือ ถ้าคนไม่ใช้ เลิกใช้ ก้ต้องเตรียมพับกระเป๋าครับ

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 8:05 pm
โดย imerlot
1. Sell the losers and let the winners ride!
Time and time again, investors take profits by selling their appreciated investments, but they hold onto stocks that have declined in the hope of a rebound. If an investor doesn't know when it's time to let go of hopeless stocks, he or she can, in the worst-case scenario, see the stock sink to the point where it is almost worthless. Of course, the idea of holding onto high-quality investments while selling the poor ones is great in theory, but hard to put into practice. The following information might help:

* Riding a Winner - Peter Lynch was famous for talking about "tenbaggers" (หุ้น10เด้ง), or investments that increased tenfold in value. The theory is that much of his overall success was due to a small number of stocks in his portfolio that returned big. If you have a personal policy to sell after a stock has increased by a certain multiple - say three, for instance - you may never fully ride out a winner. No one in the history of investing with a "sell-after-I-have-tripled-my-money" mentality has ever had a tenbagger. Don't underestimate a stock that is performing well by sticking to some rigid personal rule - if you don't have a good understanding of the potential of your investments, your personal rules may end up being arbitrary and too limiting. (For more insight, see Pick Stocks Like Peter Lynch.)

* Selling a Loser - There is no guarantee that a stock will bounce back after a protracted decline. While it's important not to underestimate good stocks, it's equally important to be realistic about investments that are performing badly. Recognizing your losers is hard because it's also an acknowledgment of your mistake. But it's important to be honest when you realize that a stock is not performing as well as you expected it to. Don't be afraid to swallow your pride and move on before your losses become even greater.

In both cases, the point is to judge companies on their merits according to your research. In each situation, you still have to decide whether a price justifies future potential. Just remember not to let your fears limit your returns or inflate your losses. (For related reading, check out To Sell Or Not To Sell.)

Read more: http://www.investopedia.com/articles/00 ... z1is330jvS
To Sell Or Not To Sell
http://www.investopedia.com/articles/st ... z1is1C7V00

Pick Stocks Like Peter Lynch.
http://www.investopedia.com/articles/st ... z1is1C7V00

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 8:16 pm
โดย imerlot
Learn to Think in Probabilities
Bridge is a card game in which the most successful players are able to judge mathematical probabilities to beat their opponents. Perhaps not surprisingly, Buffett loves and actively plays the game, and he takes the strategies beyond the game into the investing world.

Buffett suggests that investors focus on the economics of the companies they own (in other words the underlying businesses), and then try to weigh the probability that certain events will or will not transpire, much like a Bridge player checking the probabilities of his opponents' hands. He adds that by focusing on the economic aspect of the equation and not the stock price, an investor will be more accurate in his or her ability to judge probability.

Thinking in probabilities has its advantages. For example, an investor that ponders the probability that a company will report a certain rate of earnings growth over a period of five or 10 years is much more apt to ride out short-term fluctuations in the share price. By extension, this means that his investment returns are likely to be superior and that he will also realize fewer transaction and/or capital gains costs.

Read more: http://www.investopedia.com/articles/st ... z1is6xhYPa

..

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 22, 2012 12:43 pm
โดย doikham
ขอบคุณมากค่ะ

Re: เก็บตก..ขายหุ้นเมื่อไหร่?

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 24, 2012 12:19 am
โดย Montri M.
จากบทความของคุณ วิบูลย์ พึงประเสริฐ

ทำไมไม่กล้าซื้อหุ้น : วิบูลย์ พึงประเสริฐ

ถ้าพูดถึงการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะพบว่าปัจจุบันจำนวนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย มีประมาณ 3 แสนบัญชี ถ้าเปรียบเทียบกับประชากรทั้งประเทศ 60 ล้านคนแล้ว มีไม่ถึง 1% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้นเอง ที่ทำการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยตรงด้วยตนเอง

ขณะที่บัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มีมากกว่า 10 ล้านบัญชี ทำไมคนส่วนใหญ่จึงยังคงฝากเงินไว้กับธนาคารมากกว่าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งๆที่ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะทำให้มูลค่าเงินฝากที่แท้จริงมีค่าลดลงไปตามเวลา

เหตุผลหนึ่งก็คือ มุมมองของผู้คนส่วนใหญ่จะมองว่าการลงทุนในหุ้นเป็นเหมือน “การพนัน” อย่างหนึ่ง ซึ่งมีได้มีเสีย และต้องเป็นคนคล่องแคล่วว่องไว สามารถเข้าออกซื้อขายหุ้นได้ทันตลอดเวลา รวมถึงต้องคอยเฝ้าดูหน้าจอดูราคาหุ้นตลอดวัน ซึ่งคนทำงานประจำ หรือ ผู้ที่มีกิจการต้องดูแลไม่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ทันท่วงที

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คนส่วนใหญ่กลัวที่จะ “ขาดทุน” ถึงแม้ว่า การขาดทุนนั้นจะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวก็ตาม การลงทุนแล้วขาดทุนแม้เพียงน้อยนิด ก็สามารถทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกสูญเสียมากมายใหญ่หลวงกว่าความรู้สึกยินดีที่ได้กำไรมากๆซะอีก เพราะการขาดทุนทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้แพ้

ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงรู้สึก “ปลอดภัย” ที่จะฝากเงินกับธนาคาร เพราะการฝากธนาคารไม่เคยทำให้ตัวเลขเงินต้นลดลง จึงรู้สึกว่าไม่มีวันขาดทุน ทั้งๆที่มูลค่าเงินที่แท้จริงลดลงตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เป็นเหมือนการเล่นการพนันเสมอไป ลองนึกถึงเวลาที่เราจะทำการซื้อ “บ้าน” สักหลังหนึ่งเพื่ออยู่อาศัย เราจะต้องทำอะไรบ้าง

เราคงไม่เดินเข้าไปที่สำนักงานขายหมู่บ้านแห่งแรกที่เราขับรถผ่าน แล้ววางเงินจองซื้อบ้านที่หมู่บ้านนั้นทันทีแน่นอน อย่างน้อยที่สุดเราคงต้องทำการเปรียบเทียบหมู่บ้านหลายๆแห่งในแต่ละทำเลที่เราสนใจ จากนั้นก็จะหาข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านนั้น ดูถึงคุณภาพของบ้าน ความน่าเชื่อถือของเจ้าของโครงการ ดูถนนหนทาง ความสะดวก มีโรงเรียนที่ดีสำหรับลูกๆไหม มีสวนให้วิ่งออกกำลังกายหรือเปล่า และอื่นๆ ฯลฯ

เราคงต้องเลือก “บ้าน” ที่ดีที่สุด ทั้งคุณภาพบ้าน ทำเล และสาธารณูปโภคในงบประมาณที่ี่เราจำกัดกำหนดไว้ เราคงต้องพิจารณาอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจวางเงินจองทำสัญญาซื้อบ้านหลังนั้น เพราะบ้านคือการลงทุนระยะยาว และถ้ามีการกู้เงินมาซื้อก็จะเป็นภาระผูกผันไปอีกหลายสิบปี ทำให้เราต้องคิดหนักก่อนตัดสินใจ

กลับมาที่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ บางครั้งเราพบว่า เราลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งๆ เป็นจำนวนเงินเป็นแสนเป็นล้านบาทโดยใช้เวลาในการตัดสินใจที่จะซื้อหุ้นบริษัทนั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที โดยที่ไม่ได้ศึกษาหุ้นตัวนั้นดีเพียงพอ ส่วนใหญ่จะซื้อตามที่มีคนบอกว่าหุ้นตัวนั้นดี ยิ่งราคากำลังขึ้นยิ่งน่าสนใจ

ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมคนส่วนใหญ่ถึง “ขาดทุน” จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เหตุผลหนึ่งก็คือ เราไม่ได้ศึกษาบริษัทที่เราลงทุนดีเพียงพอ เราซื้อเพราะ “ราคา” กำลังสูงขึ้นๆ และเมื่อ “ราคา” หุ้นตกต่ำลง เราก็มาหาสาเหตุว่า ทำไมราคาหุ้นถึงลดลง เราทำอะไรผิดพลาดไปหรือ มีอะไรกำลังเกิดขึ้นกับตลาด หรือ มีอะไรเกิดขึ้นบริษัทที่เราลงทุนไป

ซึ่งคำถามเหล่านั้น น่าจะมาจากนักลงทุนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหุ้น มากกว่าหลังจากซื้อไปแล้ว

ถ้าเราลองคิดใหม่ทำใหม่ โดยคิดว่า ถ้าเราจะลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สักบริษัทหนึ่ง ให้เหมือนกับเรากำลังจะซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยสักหลังหนึ่ง เราจะมีวิธีการในการลงทุนเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร เราจะทำอย่างที่เรากำลังลงทุนอย่างในปัจจุบันนี้หรือไม่

อย่างน้อย ถ้าเราคิดว่าเรากำลังซื้อหุ้นเหมือนซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง เราคงไม่ตัดสินใจซื้อหุ้นบริษัทนั้นในเวลาเพียงไม่กี่นาที เราคงไม่ซื้อเพียงเพราะมีคนบอกว่าบริษัทนี้ดี โดยที่ไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด และเมื่อซื้อบ้านมาแล้ว เราคงไม่ประกาศขายบ้านที่เราอยู่ทันที เมื่อบ้านข้างๆเราประกาศขายบ้านลดราคา

จะเห็นว่า ถ้าเราคิดว่า เราลงทุนในหุ้นสักบริษัทหนึ่งเหมือนซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยสักหลังหนึ่ง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ได้เป็นเหมือนการพนันอีกต่อไป นับเป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investing ทางหนึ่ง

ลองเปลี่ยนมุมมองดูสักนิด แล้วท่านจะพบว่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เสี่ยงมากเสมอไป

ทำไมไม่กล้าซื้อหุ้น

Value Way

วิบูลย์ พึงประเสริฐ