"เส้นทางสีขาว" ของบัฟเฟตต์ จาก "นักลงทุน" สู่ "นักบุญของโลก"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 29, 2011 3:31 pm
เรื่องราวชีวิตของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พวกเราชาว VI คงรู้กันดีอยู่แล้วนะครับ ผมเองก็ได้แปลหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์มาแล้วหลายเล่ม ในที่นี้จึงขอเอาบทคัดย่อประวัติชีวิตของปู่บัฟฟ์ที่ตัวเองเขียนไว้มาให้ได้อ่านกัน เอาแบบกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ อ่านง่ายๆ
จะได้เข้าใจว่า กว่า "สุดยอดนักลงทุน" จะมาเป็น "นักบุญของโลก" ได้ เขาต้องสร้างตัวเองขึ้นมาจาก "เส้นทางสีขาว" เท่านั้น ... ครับ
วอร์เรน บัฟเฟตต์
(1951-ปัจจุบัน)
“เทพเจ้าแห่งโอมาฮา”
เขียนโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา เขาได้รับการจัดอันดับเป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลกโดยนิตยสารฟอร์บส์เมื่อปี 2008 และเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2010
ในบรรดามหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก บัฟเฟตต์เป็นคนเดียวที่เป็น “นักลงทุนมืออาชีพ” คือลงทุนอย่างเดียว ไม่ได้ทำธุรกิจอื่นใด ความสำเร็จของบัฟเฟตต์ ทำให้โลกได้รู้จักกับแนวทาง “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” และทำให้ตัวเขากลายเป็นไอดอลของนักลงทุนแบบเน้นปัจจัยพื้นฐานทั่วโลก
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เกิดที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา เป็นลูกชายของโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ นักธุรกิจและ ส.ส.พรรครีพับลิกันหลายสมัย เขามีสายเลือดของผู้ประกอบการและความเป็นนักลงทุนมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย
สมัยเด็ก บัฟเฟตต์รู้จักหาเงินด้วยสมองอันปราดเปรื่อง เขาซื้อโค้กมาหนึ่งแพ็ค 6 ขวด ราคา 25 เซนต์ แล้วเอาไปเร่ขายปลีกในราคาขวดละ 5 เซนต์ ได้กำไรแพ็คละ 5 เซนต์ และเคยเก็บลูกกอล์ฟที่หลงอยู่ในสนามไดรฟ์เอาไปขาย หาค่าขนมได้เป็นกอบเป็นกำ
พอเข้าสู่วัยรุ่น พ่อของเขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. วอร์เรนจึงย้ายตามพ่อไปอยู่ที่วอชิงตัน แต่ก็ยังมุ่งมั่นหาเงินต่อไป เขาหาลำไพ่ด้วยการเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ โดยบุกเบิกเส้นทางส่งหนังสือพิมพ์ใหม่ๆ หลายสาย และเริ่มสร้างสัมพันธ์กับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตั้งแต่ตอนนั้น เขาเคยซื้อเครื่องพินบอลมือสองราคา 25 เหรียญไปตั้งในร้านตัดผม และทำเงินได้ถึง 50 เหรียญต่อสัปดาห์ ซึ่งทำให้ผู้เป็นบิดาทึ่งในพรสวรรค์ในการหาเงินของลูกชาย
พอจบมัธยมฯ บัฟเฟตต์ได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดแต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ ทว่านั่นกลับเป็นโชคดี เพราะทำให้เขาตัดสินใจไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เพื่อที่จะได้เรียนกับ เบนจามิน เกรแฮม ปรมาจารย์การลงทุน ผู้เขียนหนังสือ The Intelligent Investor ซึ่งเขาเคยอ่านและประทับใจมาก
พอเรียนจบ บัฟเฟตต์ถึงกับเสนอตัวที่จะทำงานให้กับเกรแฮมฟรีๆ โดยไม่รับเงินเดือน แต่เกรแฮมปฏิเสธข้อเสนอนี้ บัฟเฟตต์จึงไปทำงานกับบริษัทของพ่อของเขา
แต่แล้ว อีกสามปีต่อมา เกรแฮมก็ชวนเขาไปทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บัฟเฟตต์จึงได้ทำงานกับอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพรักสมใจ เขาร่วมงานกับเจ้าของฉายา “คณบดีแห่งวอลล์สตรีท” อยู่สองปีเต็ม โดยเรียนรู้แนวทางของเกรแฮมจนหมดไส้หมดพุง ครั้นเกรแฮมเกษียณตัวเอง บัฟเฟตต์จึงกลับไปที่โอมาฮา และเริ่มต้นธุรกิจการลงทุนของเขา ด้วยความรู้ที่ได้ซึมซับจากอาจารย์มาอย่างเต็มเปี่ยม
บัฟเฟตต์รวบรวมเงินทุนจากญาติๆ ได้ 1 ล้านดอลล่าร์ แล้วก่อตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน “บัฟเฟตต์ แอสโซซิเอทส์” (Buffett Associates Ltd.,) ซึ่งต่อมากลายเป็น “บัฟเฟตต์ พาร์ทเนอร์ชิพ” (Buffett Partnership Ltd.,) โดยทำผลตอบแทนได้อย่างน่าอัศจรรย์ และทวีมูลค่าสินทรัพย์จนมีค่ามากกว่า 100 ล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ตัวบัฟเฟตต์เองก็ได้กลายเป็นมหาเศรษฐี
ความสำเร็จของบัฟเฟตต์ เกิดจากการลงทุนในสุดยอดบริษัทอย่าง เกโค, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส วอชิงตัน โพสต์ ฯลฯ ในเวลาที่ใครๆ พากันมองข้าม รวมทั้งบริษัทนอกตลาดอย่าง ซีส์ แคนดี้, บัฟฟาโล่ นิวส์ ฯลฯ แต่แล้วในปี 1969 เขาตัดสินใจที่จะยุบเลิกห้างหุ้นส่วน เพราะภาวะตลาดกระทิงในขณะนั้นทำให้ไม่สามารถหาหุ้นที่น่าลงทุนได้อีกแล้ว
ครั้นถึงปี 1973 ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง หรือ “The Great Depression” บัฟเฟตต์ซึ่งคอยอยู่นานได้เข้าไปเก็บหุ้นของหลายบริษัท รวมทั้งบริษัทสิ่งทอ เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ซื้อหุ้นไว้พอสมควร แต่แล้วกลับพบว่าเบิร์คไชร์ประสบปัญหาในการแข่งขัน เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอในอเมริกาอยู่ในภาวะขาลง ไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งต่างชาติซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าได้
ปัญหาจากกรณีเบิร์คไชร์ ทำให้บัฟเฟตต์เริ่มคิดใหม่ทำใหม่ จากเดิมที่เคยยึดมั่นลงทุนด้วยหลักของเบนจามิน เกรแฮม อย่างเคร่งครัด เขาเริ่มรู้สึกว่านั่นอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสียแล้ว !!
พอถึงปี 1978 บัฟเฟตต์ได้ชักชวน “ชาร์ลี มังเจอร์” นักกฎหมายและนักลงทุนสมองเพชรซึ่งสนิทสนมกันมารับตำแหน่งรองประธานฯ ของเบิร์คไชร์ ซึ่งในเวลานั้นได้ถูกบัฟเฟตต์ทำให้กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ เป็นกลไกในการเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ
ชาร์ลี มังเจอร์ ได้ทำให้บัฟเฟตต์ก้าวออกจากเงาของเกรแฮมได้อย่างสมบูรณ์ และกล้าที่จะลงทุนโดยเน้นที่ “คุณภาพของกิจการ” มากขึ้น แทนที่จะมุ่งแต่ “ตัวเลขเชิงปริมาณ” อย่างเดียว
เบิร์คไชร์ภายใต้การกุมบังเหียนของบัฟเฟตต์และมังเจอร์ได้เข้าลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมมากมาย อาทิ โคคาโคล่า, ดิสนีย์, ยิลเล็ตต์, วอลล์มาร์ท, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ฯลฯ และทำให้ชื่อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้รับการยอมรับในฐานะนักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
หลักในการลงทุนของบัฟเฟตต์ เป็นการผสมผสานหลักของ เบนจามิน เกรแฮม เข้ากับหลักของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ โดยเน้นว่า “ต้องวิเคราะห์ธุรกิจ อย่าวิเคราะห์ตัวหุ้น” อย่าทำตามฝูงชน จงคิดอย่างเป็นตัวเอง ต้องเน้นบริษัทที่มีอนาคตดีเยี่ยม มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” มี “เฟรนไชส์” มีแบรนด์อันทรงพลัง มี “คูเมือง” หรืออุปสรรคสำหรับคู่แข่งหน้าใหม่ที่จะก้าวเข้ามาทำธุรกิจ มีผู้บริหารที่มีความสามารถและซื่อสัตย์
ที่สำคัญคือ คุณต้องเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ อย่างถ่องแท้ โดยต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ใน “ขอบข่ายแห่งความชำนาญ” (Circle of Competence) ของคุณ ธุรกิจใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะดีขนาดไหน ไม่ว่าใครจะสรรเสริญอย่างไร หากบัฟเฟตต์ไม่รู้กระจ่างอย่างแจ่มแจ้ง เขาจะไม่ยอมซื้อหุ้นของมันเป็นอันขาด หลักข้อนี้ทำให้เขาเอาชนะวิกฤตได้ทุกครั้ง อาทิ เมื่อครั้งฟองสบู่ด็อตคอมแตกออกในปี 1999
นอกจากนี้ ราคาหุ้นต้องเป็น “ราคายุติธรรม” (Fair Price) คือต้องถูกหรือไม่แพงเกินไป โดยต้องมี “ส่วนต่างแห่งความปลอดภัย” (Margin of Safety) อยู่ในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” (Intrinsic Value) ของกิจการ และอย่าลืมเอากระแสเงินสดในอนาคตมา “คิดลด” (Discounted Cash Flow) ด้วย
เชื่อไหมว่า หากใครลงทุนกับบัฟเฟตต์ ด้วยเงิน 1,000 ดอลล่าร์ ตั้งแต่แรกเริ่มในปี 1956 จนถึงวันนี้ เงินจำนวนนั้นจะทวีมูลค่ากลายเป็นมากกว่า 25 ล้านดอลล่าร์ จนบัฟเฟตต์ได้รับฉายา “เทพเจ้าแห่งโอมาฮา”
ในการโดยการประชุมประจำปีของเบิร์คไชร์ แฮธาเวย์ ที่จัดขึ้น ณ เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสก้า ได้กลายเป็นเทศกาลที่มีนักลงทุนหลายหมื่นคนทั่วโลกหลั่งไหลไปร่วมงาน เพื่อหวังจะได้พบปะพูดคุย และฟังถ้อยคำคมๆ จากตัวเขาและชาร์ลี มังเจอร์
ปัจจุบัน ในวัย 80 ปี บัฟเฟตต์ได้บริจาคเงินให้กับการกุศลเป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้กับ มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ เขาให้คำมั่นสัญญาว่า จนถึงวันที่ตัวเขาตาย ทรัพย์สิน 99 เปอร์เซ็นต์ จะถูกผ่องถ่ายให้กับการกุศล หรือที่เขาเรียกว่า ”My Philanthropic Pledge”
นอกจากนี้ ตัวเขาและบิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ ยังออกเดินสายเพื่อร่วมรณรงค์ให้มหาเศรษฐีทั่วโลก สัญญาว่าจะบริจาคทรัพย์สินของตัวเองอย่างน้อยครึ่งหนึ่งให้กับการกุศล รวมทั้งออกมากระตุ้นให้คองเกรสเก็บภาษีคนรวยในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก
ความเสียสละอันยิ่งใหญ่และจิตอันเป็นกุศลของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คงไม่เกินเลยไปหากจะบอกว่า เขาได้ยกระดับตัวเอง จากมหาเศรษฐีนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ กลายเป็น “ตำนาน” บทหนึ่งของโลกใบนี้ไปแล้ว
จะได้เข้าใจว่า กว่า "สุดยอดนักลงทุน" จะมาเป็น "นักบุญของโลก" ได้ เขาต้องสร้างตัวเองขึ้นมาจาก "เส้นทางสีขาว" เท่านั้น ... ครับ
วอร์เรน บัฟเฟตต์
(1951-ปัจจุบัน)
“เทพเจ้าแห่งโอมาฮา”
เขียนโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา เขาได้รับการจัดอันดับเป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลกโดยนิตยสารฟอร์บส์เมื่อปี 2008 และเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2010
ในบรรดามหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก บัฟเฟตต์เป็นคนเดียวที่เป็น “นักลงทุนมืออาชีพ” คือลงทุนอย่างเดียว ไม่ได้ทำธุรกิจอื่นใด ความสำเร็จของบัฟเฟตต์ ทำให้โลกได้รู้จักกับแนวทาง “การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” และทำให้ตัวเขากลายเป็นไอดอลของนักลงทุนแบบเน้นปัจจัยพื้นฐานทั่วโลก
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เกิดที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา เป็นลูกชายของโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ นักธุรกิจและ ส.ส.พรรครีพับลิกันหลายสมัย เขามีสายเลือดของผู้ประกอบการและความเป็นนักลงทุนมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย
สมัยเด็ก บัฟเฟตต์รู้จักหาเงินด้วยสมองอันปราดเปรื่อง เขาซื้อโค้กมาหนึ่งแพ็ค 6 ขวด ราคา 25 เซนต์ แล้วเอาไปเร่ขายปลีกในราคาขวดละ 5 เซนต์ ได้กำไรแพ็คละ 5 เซนต์ และเคยเก็บลูกกอล์ฟที่หลงอยู่ในสนามไดรฟ์เอาไปขาย หาค่าขนมได้เป็นกอบเป็นกำ
พอเข้าสู่วัยรุ่น พ่อของเขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. วอร์เรนจึงย้ายตามพ่อไปอยู่ที่วอชิงตัน แต่ก็ยังมุ่งมั่นหาเงินต่อไป เขาหาลำไพ่ด้วยการเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ โดยบุกเบิกเส้นทางส่งหนังสือพิมพ์ใหม่ๆ หลายสาย และเริ่มสร้างสัมพันธ์กับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตั้งแต่ตอนนั้น เขาเคยซื้อเครื่องพินบอลมือสองราคา 25 เหรียญไปตั้งในร้านตัดผม และทำเงินได้ถึง 50 เหรียญต่อสัปดาห์ ซึ่งทำให้ผู้เป็นบิดาทึ่งในพรสวรรค์ในการหาเงินของลูกชาย
พอจบมัธยมฯ บัฟเฟตต์ได้สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดแต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ ทว่านั่นกลับเป็นโชคดี เพราะทำให้เขาตัดสินใจไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เพื่อที่จะได้เรียนกับ เบนจามิน เกรแฮม ปรมาจารย์การลงทุน ผู้เขียนหนังสือ The Intelligent Investor ซึ่งเขาเคยอ่านและประทับใจมาก
พอเรียนจบ บัฟเฟตต์ถึงกับเสนอตัวที่จะทำงานให้กับเกรแฮมฟรีๆ โดยไม่รับเงินเดือน แต่เกรแฮมปฏิเสธข้อเสนอนี้ บัฟเฟตต์จึงไปทำงานกับบริษัทของพ่อของเขา
แต่แล้ว อีกสามปีต่อมา เกรแฮมก็ชวนเขาไปทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บัฟเฟตต์จึงได้ทำงานกับอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพรักสมใจ เขาร่วมงานกับเจ้าของฉายา “คณบดีแห่งวอลล์สตรีท” อยู่สองปีเต็ม โดยเรียนรู้แนวทางของเกรแฮมจนหมดไส้หมดพุง ครั้นเกรแฮมเกษียณตัวเอง บัฟเฟตต์จึงกลับไปที่โอมาฮา และเริ่มต้นธุรกิจการลงทุนของเขา ด้วยความรู้ที่ได้ซึมซับจากอาจารย์มาอย่างเต็มเปี่ยม
บัฟเฟตต์รวบรวมเงินทุนจากญาติๆ ได้ 1 ล้านดอลล่าร์ แล้วก่อตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน “บัฟเฟตต์ แอสโซซิเอทส์” (Buffett Associates Ltd.,) ซึ่งต่อมากลายเป็น “บัฟเฟตต์ พาร์ทเนอร์ชิพ” (Buffett Partnership Ltd.,) โดยทำผลตอบแทนได้อย่างน่าอัศจรรย์ และทวีมูลค่าสินทรัพย์จนมีค่ามากกว่า 100 ล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ตัวบัฟเฟตต์เองก็ได้กลายเป็นมหาเศรษฐี
ความสำเร็จของบัฟเฟตต์ เกิดจากการลงทุนในสุดยอดบริษัทอย่าง เกโค, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส วอชิงตัน โพสต์ ฯลฯ ในเวลาที่ใครๆ พากันมองข้าม รวมทั้งบริษัทนอกตลาดอย่าง ซีส์ แคนดี้, บัฟฟาโล่ นิวส์ ฯลฯ แต่แล้วในปี 1969 เขาตัดสินใจที่จะยุบเลิกห้างหุ้นส่วน เพราะภาวะตลาดกระทิงในขณะนั้นทำให้ไม่สามารถหาหุ้นที่น่าลงทุนได้อีกแล้ว
ครั้นถึงปี 1973 ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง หรือ “The Great Depression” บัฟเฟตต์ซึ่งคอยอยู่นานได้เข้าไปเก็บหุ้นของหลายบริษัท รวมทั้งบริษัทสิ่งทอ เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ซื้อหุ้นไว้พอสมควร แต่แล้วกลับพบว่าเบิร์คไชร์ประสบปัญหาในการแข่งขัน เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอในอเมริกาอยู่ในภาวะขาลง ไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งต่างชาติซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าได้
ปัญหาจากกรณีเบิร์คไชร์ ทำให้บัฟเฟตต์เริ่มคิดใหม่ทำใหม่ จากเดิมที่เคยยึดมั่นลงทุนด้วยหลักของเบนจามิน เกรแฮม อย่างเคร่งครัด เขาเริ่มรู้สึกว่านั่นอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสียแล้ว !!
พอถึงปี 1978 บัฟเฟตต์ได้ชักชวน “ชาร์ลี มังเจอร์” นักกฎหมายและนักลงทุนสมองเพชรซึ่งสนิทสนมกันมารับตำแหน่งรองประธานฯ ของเบิร์คไชร์ ซึ่งในเวลานั้นได้ถูกบัฟเฟตต์ทำให้กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ เป็นกลไกในการเข้าไปลงทุนในบริษัทต่างๆ
ชาร์ลี มังเจอร์ ได้ทำให้บัฟเฟตต์ก้าวออกจากเงาของเกรแฮมได้อย่างสมบูรณ์ และกล้าที่จะลงทุนโดยเน้นที่ “คุณภาพของกิจการ” มากขึ้น แทนที่จะมุ่งแต่ “ตัวเลขเชิงปริมาณ” อย่างเดียว
เบิร์คไชร์ภายใต้การกุมบังเหียนของบัฟเฟตต์และมังเจอร์ได้เข้าลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมมากมาย อาทิ โคคาโคล่า, ดิสนีย์, ยิลเล็ตต์, วอลล์มาร์ท, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ฯลฯ และทำให้ชื่อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้รับการยอมรับในฐานะนักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
หลักในการลงทุนของบัฟเฟตต์ เป็นการผสมผสานหลักของ เบนจามิน เกรแฮม เข้ากับหลักของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ โดยเน้นว่า “ต้องวิเคราะห์ธุรกิจ อย่าวิเคราะห์ตัวหุ้น” อย่าทำตามฝูงชน จงคิดอย่างเป็นตัวเอง ต้องเน้นบริษัทที่มีอนาคตดีเยี่ยม มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” มี “เฟรนไชส์” มีแบรนด์อันทรงพลัง มี “คูเมือง” หรืออุปสรรคสำหรับคู่แข่งหน้าใหม่ที่จะก้าวเข้ามาทำธุรกิจ มีผู้บริหารที่มีความสามารถและซื่อสัตย์
ที่สำคัญคือ คุณต้องเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ อย่างถ่องแท้ โดยต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ใน “ขอบข่ายแห่งความชำนาญ” (Circle of Competence) ของคุณ ธุรกิจใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะดีขนาดไหน ไม่ว่าใครจะสรรเสริญอย่างไร หากบัฟเฟตต์ไม่รู้กระจ่างอย่างแจ่มแจ้ง เขาจะไม่ยอมซื้อหุ้นของมันเป็นอันขาด หลักข้อนี้ทำให้เขาเอาชนะวิกฤตได้ทุกครั้ง อาทิ เมื่อครั้งฟองสบู่ด็อตคอมแตกออกในปี 1999
นอกจากนี้ ราคาหุ้นต้องเป็น “ราคายุติธรรม” (Fair Price) คือต้องถูกหรือไม่แพงเกินไป โดยต้องมี “ส่วนต่างแห่งความปลอดภัย” (Margin of Safety) อยู่ในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” (Intrinsic Value) ของกิจการ และอย่าลืมเอากระแสเงินสดในอนาคตมา “คิดลด” (Discounted Cash Flow) ด้วย
เชื่อไหมว่า หากใครลงทุนกับบัฟเฟตต์ ด้วยเงิน 1,000 ดอลล่าร์ ตั้งแต่แรกเริ่มในปี 1956 จนถึงวันนี้ เงินจำนวนนั้นจะทวีมูลค่ากลายเป็นมากกว่า 25 ล้านดอลล่าร์ จนบัฟเฟตต์ได้รับฉายา “เทพเจ้าแห่งโอมาฮา”
ในการโดยการประชุมประจำปีของเบิร์คไชร์ แฮธาเวย์ ที่จัดขึ้น ณ เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสก้า ได้กลายเป็นเทศกาลที่มีนักลงทุนหลายหมื่นคนทั่วโลกหลั่งไหลไปร่วมงาน เพื่อหวังจะได้พบปะพูดคุย และฟังถ้อยคำคมๆ จากตัวเขาและชาร์ลี มังเจอร์
ปัจจุบัน ในวัย 80 ปี บัฟเฟตต์ได้บริจาคเงินให้กับการกุศลเป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้กับ มูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ เขาให้คำมั่นสัญญาว่า จนถึงวันที่ตัวเขาตาย ทรัพย์สิน 99 เปอร์เซ็นต์ จะถูกผ่องถ่ายให้กับการกุศล หรือที่เขาเรียกว่า ”My Philanthropic Pledge”
นอกจากนี้ ตัวเขาและบิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ ยังออกเดินสายเพื่อร่วมรณรงค์ให้มหาเศรษฐีทั่วโลก สัญญาว่าจะบริจาคทรัพย์สินของตัวเองอย่างน้อยครึ่งหนึ่งให้กับการกุศล รวมทั้งออกมากระตุ้นให้คองเกรสเก็บภาษีคนรวยในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก
ความเสียสละอันยิ่งใหญ่และจิตอันเป็นกุศลของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คงไม่เกินเลยไปหากจะบอกว่า เขาได้ยกระดับตัวเอง จากมหาเศรษฐีนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ กลายเป็น “ตำนาน” บทหนึ่งของโลกใบนี้ไปแล้ว