หน้า 1 จากทั้งหมด 3

แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 08, 2011 4:32 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2554 14:51:33 น.
นายวีรพงษ์ รามางกูร ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)ยอมรับว่า สถานการณ์อุทกภัยในปีนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดและรุนแรงกว่าสถานการณ์อุทกภัยปี 2485 สร้างผลกระทบให้ประชาชนมากมาย ดังนั้น สิ่งเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องทำคือกอบกู้สถานการณ์และเยียวยาฟื้นฟูประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลให้พื้นที่ 1 ใน 3 ที่เป็นเขตเศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหายด้วย โดยเฉพาะพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม เช่น โตโยต้า ฮอนด้า จนต้องชะลอการผลิตรถยนต์ทั่วโลก

สำหรับ กยอ.มีหน้าที่คือเยียวยา และสร้างอนาคตใหม่ที่ดี สร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการว่าหากปีหน้าหากเกิดฝนตกมากอีกก็จะไม่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยเหมือนกับปีนี้อีก หากสร้างความมั่นใจได้ จะทำให้บริษัทประกันภัยทั่วโลกยินดีรับทำประกันภัยให้แก่บริษัทหรือโรงงานที่ถูกน้ำท่วมก็ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

นอกจากนี้จะเดินทางไปพูดคุยกับนักลงทุนญี่ปุ่น เพื่อชี้แจงถึงเป้าหมายใน 1 ปี ถึงแนวทางการกอบกู้ ฟื้นฟู พร้อมยืนยันว่าหากปีหน้ามีฝนตกจะไม่เกิดเรื่องอย่างนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน

นายวีรพงษ์ กล่าวต่อว่า จะมีการประสานงานกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ดำเนินการด้านวิศวกรรมน้ำ ด้านการชลประทาน โดยระบุว่าใน 1 ปีหลังจากนี้จะต้องไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก และ อีก 5-6 ปีนับจากนี้จะต้องมีโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จะต้องเป็นการลงทุนที่ได้ประโยชน์สูงสุด มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันจะต้องรักษาวินัยการเงินการคลังด้วย

"เป็นภารกิจที่ยากมาก แต่ที่รับเพราะถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน" นายวีรพงษ์ กล่าว

นายวีรพงษ์ กล่าวถึงการดำเนินการในระยะกอบกู้ว่า จากนี้ไปจะต้องมีการกอบกู้และเยียวยาผู้ประกอบการ ให้ความั่นใจแก่นักลงทุนว่าปีหน้าจะไม่เกิดสถานการณ์แบบนี้อีก และระยะยาวจะมีการวางระบบของประเทศใหม่ ว่าควรจะตามธรรมชาติหรือขวางธรรมชาติ แต่ส่วนตัวเห็นว่าควรจะให้เป็นไปตามธรรมชาติ

ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง ต้องช่วยกอบกู้สถานการณ์ ซึ่งในปีแรกต้องช่วยกันทุกด้าน ทุกฝ่าย

--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 08, 2011 4:36 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ครม.ตั้งดร.โกร่งคุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศ
ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2554 14:59:52 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้(8 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.) โดยเสนอ ครม.อนุมัติในวันนี้ โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีข้อที่ 3 กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2554 ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการทั้งสิ้น 15 คน ดังนี้คือ

1.นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานกรรมการ
2.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี
3.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองประธานกรรมการ
ทั้งนี้ กรรมการประกอบด้วย
4.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง
5.นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์
6.นายกิจจา ผลภาษี
7.นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
8.นายวิษณุ เครืองาม
9.นายศุภวุฒิ สายเชื้อ
10.เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
11.ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
12.ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
13.ประธานสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย
14.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
15.เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 08, 2011 4:41 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2554 15:51:39 น.
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยเบื้องต้น ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 เขต ในกรอบครัวเรือน จำนวน 621,355 ครัวเรือน จำนวนเงิน 3,106,775,000 บาท ตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ ใน 2 กรณี ดังนี้ 1) น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ 2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

โดยทั้ง 2 กรณี ต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตในสังกัดกรุงเทพมหานครออกให้เท่านั้น ส่วนกรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว

ทั้งนี้ ให้กรุงเทพมหานครเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบข้อมูล รับรองความถูกต้อง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของครัวเรือนผู้ประสบภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งแรก ภายใน 2 สัปดาห์ และให้ช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และให้สามารถถัวจ่ายจำนวนครัวเรือนในทุกเขตได้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง ปริมาณน้ำจำนวนมาก ทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งพื้นที่ที่เคยเกิดอุทกภัยและไม่เคยเกิดอุทกภัย ได้รับผลกระทบและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก จำนวน 30 เขต ได้แก่ 1) เขตบางซื่อ 2) เขตดุสิต 3) เขตพระนคร 4) เขตสัมพันธวงศ์ 5) เขตสาธร 6) เขตบางคอแหลม 7) เขตยานนาวา 8) เขตคลองเตย 9) เขตบางพลัด 10) เขตบางกอกน้อย 11) เขตธนบุรี 12) เขตคลองสาน 13) เขตราษฎร์บูรณะ 14) เขตคลองสามวา 15) เขตมีนบุรี 16) เขตหนองจอก 17) เขตลาดกระบัง 18) เขตดอนเมือง 19) เขตคันนายาว 20) เขตจตุจักร 21) เขตตลิ่งชัน 22) เขตบางเขน 23) เขตบางแค 24) เขตภาษีเจริญ 25) เขตลาดพร้าว 26) เขตวังทองหลาง 27) เขตสายไหม 28) เขตหนองแขม 29) เขตหลักสี่ 30) เขตทวีวัฒนา

--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 10:18 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 10:07:57 น.
กรมศุลกากรออกมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับ การยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง และขยายพื้นที่มากขึ้นได้นำความเดือนร้อนมาสู่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง จึงได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับ การยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย โดยผ่อนผันหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการผ่านพิธีการแก่ของดังกล่าว ดังนี้

1. การบริจาคผ่านส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าส่วนราชการนั้น มีหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนโดยตรงหรือไม่

2. การบริจาคผ่านองค์การสาธารณกุศล ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าองค์การสาธารณกุศลนั้น มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อช่วยเหลือ หรือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนหรือไม่

3. หากมีความจำเป็นเร่งด่วน ให้สามารถรับของไปก่อนปฏิบัติพิธีการ และให้ผ่อนผันการตรวจสอบหนังสือรับรอง/หนังสือค้ำประกันจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ผู้รับมอบอำนาจมาติดต่อรับของ ทำสัญญาประกันตนเอง พร้อมกับสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน/เจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นหลักฐานเพื่อการติดตามตรวจสอบต่อไปในภายหลัง

4. อนุญาตให้แก้ไขบัญชีสินค้าสำหรับเรือ/อากาศยานจากผู้รับตราส่งเดิมที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรเป็นส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล (Amend be Consignee) ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาความผิดและไม่คำนึงว่าจะมีหลักฐานการบริจาคช่วยเหลือก่อนหรือหลังวันนำเข้า

ส่วนมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร 1 สำนักพิกัดอัตราศุลกากร กรมศุลกากร

โทร. (02) 667-6416 , (02) 667-6421
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 132/2554 8 พฤศจิกายน 54--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 10:38 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 10:32:19 น.
ในวันนี้(9พ.ย.) กระทรวงพาณิชย์ โดย กรมการค้าภายใน จัดรถโมบายูนิต ออกจำหน่ายสินค้าจำเป็นให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย ปากซอย ลาดพร้าว 45 ตรงข้าม โรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ สี่แยกบางพลัด ชุมชนพัฒนาบึงขวาง เขตมีนบุรี ถ.บางบอน 5 - สน.หนองแขม ถ.เลียบคลองภาษีเจริญ ประตู 2 สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนาแยกโรงพยาบาลนพรัตน์ และ แยกศรีสมาน เขตดอนเมือง โดยโครงการดังกล่าวจะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายลง

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 3:44 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
กนง.เล็งถกทิศทางนโยบายการเงินหลังฟื้นฟูประเทศ 30 พ.ย.นี้ จากปัจจัยผลกระทบ นักท่องเที่ยวหาย 1 ล้าน สูญรายได้กว่า 2 หมื่นล้าน แนะรัฐบาลออกบอนด์ระยะยาวกู้วิกฤตประเทศ

แหล่งข่าวระดับสูงจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า รัฐบาลควรจะออกพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด แยกต่างหากจากการใช้ผ่านงบประมาณขาดดุล เพื่อระบุเฉพาะเจาะจงสำหรับการแก้ปัญหา นำมาฟื้นฟูประเทศและวางระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ใช้รูปแบบออกเป็นพันธบัตร(บอนด์) ระยะยาวจำหน่ายให้นักลงทุน เพราะยังมีความต้องการพันธบัตรรัฐบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่จำนวนมาก ไม่อยากให้นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ ขณะเดียวกันรัฐบาลควรจะใช้โอกาสนี้ลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังเอื้อต่อการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด ส่วนการระดมทุนโดยตรงของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อาจจะทำในรูปแบบการออกตราสารหนี้ ปล่อยกู้ให้บริษัทลูกในนิคมอัตราดอกเบี้ยอาจสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงิน

"รัฐบาลควรจะมองภาพระยะยาวแก้ปัญหาน้ำท่วม อย่าให้ภาพระยะสั้นมาทำลายสมาธิในการแก้ปัญหาระยะยาว ดังนั้นควรมีแผนจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนไทยและต่างชาติ" แหล่งข่าวกล่าว

นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านการเติบโตมีมากขึ้น ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกบทบาทของนโยบายการเงินหลังการฟื้นฟูเยียวยาอุทกภัย จะเป็นประเด็นนำมาพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ หลังจาก กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องประมาณ 8-9 ครั้ง และได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.50% ในครั้งล่าสุด เนื่องจากความเสี่ยงเศรษฐกิจมีมากขึ้น ขณะที่ทิศทางดอกเบี้ยในระยะต่อไป ถ้าไม่คง ก็ลดดอกเบี้ย คงไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กนง.

นางสุชาดากล่าวว่า เหตุอุทกภัยจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายไปเกือบ 1 ล้านคน หรือส่งผลให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวหายไปกว่า 2 หมื่นล้าน คาดว่าผลกระทบต่อจีดีพีจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศจะกระทบต่อจีดีพีมากกว่า 1.1% และภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2554 เทียบไตรมาสต่อไตรมาสคงติดลบ ขณะที่ความเสียหายทางเศรษฐกิจยังไม่สิ้นสุด อาจจะมีผลต่อการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตามคาดว่ามาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลน่าจะจูงใจให้นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งฐานการผลิตในไทย

"ทิศทางตลาดการเงินจะผันผวนจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น ขณะที่ประเทศไทยก็เผชิญกับเหตุอุทกภัย คาดว่าผลกระทบจะมากกว่าที่ กนง.ประเมินไว้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่น้ำจะท่วมเขตกรุงเทพฯชั้นใน และพื้นที่นิคมฝั่งตะวันออกมากขึ้น"
ที่มา.. http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0501

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 4:10 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
บีโอไอ เว้นภาษีเครื่องจักร-ยืดจ้างงานต่างด้าวออกไปอีก 6 เดือนวันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 11:26:09 น.

Share
"กิตติรัตน์" ประธานถกบอร์ด BOI นัดแรก เคาะมาตรการเยียวยา ผู้ประกอบการน้ำท่วม แค่เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษี ไม่ขยายเวลาให้สิทธิประโยชน์ ระบุต้องพิจารณาให้เหมาะสมมากกว่านี้ เหตุหวั่นเอกชนได้สิทธิประโยชน์มากเกินจำเป็น

ในการประชุมคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ครั้งล่าสุดเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2554 "นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธาน ได้มีมติออกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เรื่องแรก ขยายวงเงินยกเว้นภาษีเพิ่มหากผู้ประกอบการลงทุนจัดหาเครื่องใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเก่าที่เสียหาย โดยมีเงื่อนไขจะต้องเป็นเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตมากกว่าเดิม ส่วนกรณีการขยายเวลาให้สิทธิประโยชน์จะต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง

เรื่องที่ 2 ขยายเวลาผ่อนผันการยกเลิกใช้แรงงานต่างด้าวที่จะครบกำหนดสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ออกไปอีก 6 เดือน เพื่อผ่อนคลายความกังวลของ ผู้ประกอบการในการดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขบีโอไอ

ส่วน นายวรรณรัตน์ ชาญวีระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอเพิ่มเติมมาตรการฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยอีก 3 เรื่อง ได้แก่ 1.อนุญาตให้วัตถุดิบที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ามาใช้ผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งได้รับความเสียหายและไม่มีเศษซากเหลืออยู่ ให้นับเป็นส่วนสูญเสีย จึงไม่ต้องชำระภาษีอากร 2.อนุญาตให้นำวัตถุดิบที่นำเข้าไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตทุกขั้นตอนเป็นการชั่วคราว เพื่อรักษาลูกค้าเดิมไว้ให้ได้ และ 3.ขยายเวลายกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทดแทนเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยออกไป 6 เดือน

เป็นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อจากก่อนหน้านี้บอร์ดอนุมัติแล้ว ประกอบด้วย 1.อนุญาตผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมสามารถย้ายเครื่องจักรหรือวัตถุดิบไปไว้นอกโรงงานได้ในกรณีฉุกเฉิน 2.วัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อใช้ผลิตสินค้าส่งออก หากเสียหาย บีโอไอจะตัดบัญชีเป็นส่วนสูญเสียแบ่งเบาภาระภาษีเอกชน ส่วนวัตถุดิบที่ยังใช้งานได้ก็อนุญาตให้นำไปใช้ในโครงการอื่นที่ยังดำเนินการผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรนำเข้าเหมือนเดิม

3.ผู้ประกอบการที่ต้องการว่าจ้าง ผู้ผลิตรายอื่นผลิตสินค้าให้ในบางขั้นตอนชั่วคราว เพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า บีโอไอผ่อนผันให้ดำเนินการได้เช่นกัน

และ 4.เร่งรัดการอนุมัติวีซ่าและ ใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ชำนาญการต่างชาติ เดินทางเข้ามาช่วยฟื้นฟูโครงการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสะดวกขึ้น

นอกเหนือมาตรการสนับสนุนการลงทุนแล้ว นายวรรณรัตน์ยังมอบหมายให้บีโอไอทำแผนงานและ งบประมาณจัดกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ภายหลังน้ำลด สถานการณ์คลี่คลายลง สร้างภาพลักษณ์ของประเทศกลับมาเหมือนเดิม จัดกิจกรรมไปตามประเทศต่าง ๆ ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.), กรมส่งเสริมการส่งออก (กสอ.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นต้น

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 5:23 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 17:17:16 น.
ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กระทรวงพลังงาน นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารออมสิน ต้องจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในพื้นที่ กทม.ซึ่งมียอดที่ต้องจ่าย จำนวน 620,000 ราย โดยธนาคารออมสิน จะเร่งจ่ายภายใน 5 วัน ซึ่งหากรวมกับภูมิภาค น่าจะจ่ายทั้งหมดประมาณ 3.8 ล้านครัวเรือน เป็นเงินจำนวน 18,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ธนาคารออมสิน มีสภาพคล่องในการรองรับการช่วยเหลือน้ำท่วมครั้งนี้ โดยมีการเตรียมเงินรอบแรกไว้ จำนวน 30,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะบริหารจัดการเอง เช่น การปล่อยกู้ และการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนอีก 35,000 ล้านบาท จะเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยส่วนแรก 20,000 ล้านบาท ให้นำไปฝากกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เพื่อให้ไปปล่อยกู้ต่อ อีกส่วนหนึ่งคือ 15,000 ล้านบาท ให้นำไปช่วยฟื้นฟูพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อาจจะเป็นวิธีการป้องกันน้ำในเขตอุตสาหกรรม ซึ่งทางธนาคารฯ จะเร่งนัดหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง ว่าจะปล่อยเงินในรูปแบบใด

นอกจากนี้ เมื่อถามว่า ประชาชนที่ไปพักพิงตามศูนย์อพยพต่างๆ จะสามารถรับเงินได้อย่างไร นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มีการสำรวจและแจ้งรายชื่อมาแล้ว โดยอาจนัดหมายผ่านผู้นำท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มารับได้ที่จุดที่เราจ่ายเงิน โดยยืนยันว่า ธนาคารออมสิน มีความคล่องตัวในการทำงาน ด้วยการนำรถเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ลูกค้ามีความต้องการรับความช่วยเหลือ 5,000 บาท สำหรับธนาคารออมสิน มีสาขาที่ประสบปัญหาน้ำท่วม 57 สาขา แต่ปิดดำเนินการเพียง 36 สาขา ซึ่งธาคารพร้อมนำรถเคลื่อนที่ 32 คัน ไปตามศูนย์อพยพต่างๆ ที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้เงินหรือต้องการติดต่อ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 5:27 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 17:17:43 น.
เรื่อง ขอความเห็นชอบในการเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย

(อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพิกถอนพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำออกจากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สลักพระบางส่วน จำนวนเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ เพื่อการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) รายงานว่า

1. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) มีบริเวณพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการและแนวเขตน้ำท่วมทั้งหมดโดยสังเขปตามแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ตั้งอยู่ในตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่โครงการทับซ้อนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ กรมชลประทานได้ยื่นเรื่องขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระถึงหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548

2. กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) แล้วเสร็จและจัดส่งรายงานให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2551

3. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) มีแผนการดำเนินการในกรอบวงเงิน 550,000,000 บาท และระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 5 ปี ซึ่งในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อยต้องมีการเข้ายึดถือหรือครอบครองที่ดิน หรือปลูก หรือก่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือตัด โค่น แผ้วถาง หรือเผาหรือทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมทัน เหือดแห้ง หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ดังนั้น ในการจะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงต้องดำเนินการกันพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสียก่อน โดยการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 (ข้อ 3.3) ซึ่งการเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่มีมติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องระบุไว้โดยชัดเจน แต่โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตราขึ้นใช้บังคับมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไปจนสูญพันธุ์และต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (ข้อ 3.8) คือ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของส่วนราชการนั้นเป็นผู้นำเรื่องเสนอพร้อมความเห็นชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

4. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ได้มีการประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน) ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระบางส่วนเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ เพื่อให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยพระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) และส่งคืนพื้นที่บริเวณน้ำท่วมคืนให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อผนวกกลับมาเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกครั้ง โดยการดำเนินการจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่ขอเพิกถอนเท่านั้น

5. กษ. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยพระพร้อย (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) จังหวัดกาญจนบุรี เป็นไปตามแผนงานที่ได้รับบรรจุไว้ในแผนงบประมาณ และสอดคล้องกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ทำประโยชน์ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระบางส่วน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กษ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบดังกล่าว

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554--จบ--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 09, 2011 5:29 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2554 17:20:59 น.
กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ผู้ประกอบการทั้งในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เสนอให้กระทรวงการคลังชะลอการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2555 จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ออกไปก่อน เพื่อให้ภาครัฐมีรายได้ภาษีในการนำไปฟื้นฟูประเทศภายหลังน้ำลด อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีหน้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว เพราะการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวเป็นการวางยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาว และรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

“ในการนี้ กระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางและรูปแบบให้ภาคเอกชนสามารถจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับเงินที่ภาคเอกชนได้รับจากการประหยัดเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำมาใช้ในการเร่งฟื้นฟูสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ศึกษา และจัดสร้างระบบการป้องกันอุทกภัยให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับภาคธุรกิจที่ประสบอุทกภัยโดยภาครัฐพร้อมที่จะมี ส่วนร่วมในการวางกรอบการดำเนินงานของกองทุน เพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ที่ภาคเอกชนได้ตั้งใจไว้” ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนท้าย

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 10, 2011 2:59 am
โดย tanatat
ผมว่าฟังที่ คุณอภิสิทธิ์ฯพูดในสภาเกี่ยวกับงบประมาณ ไว้น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ เหมือนกับที่กรมชลฯเคยเตือนเรื่องน้ำกับรัฐบาลฯแล้วนายกฯไม่สนใจ คล้ายๆกันครับ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 10, 2011 6:50 am
โดย supersmile
ลืมตัวแทนจาก ธปท. ไปหรือเปล่า?

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 10, 2011 1:21 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2554 13:01:31 น.
นายสุรชัย ขันอาสา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการโอทอปที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยว่า เบื้องต้นได้ดำเนินการสำรวจเรียบร้อยแล้ว โดยมี 63 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย และได้เสนอของบประมาณกว่า 800 ล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือกรณีอุปกรณ์ประกอบอาชีพสูญหายหรือชำรุด ซ่อมแซมสถานที่รวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ และเป็นตลาดเฉพาะ ให้นำสินค้ามาจำหน่ายโดยเร็ว หากรัฐบาลอนุมัติงบประมาณจะเริ่มดำเนินการในจังหวัดภาคเหนือก่อน เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัยให้มีกำลังใจ ซึ่งคนไทยจะช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 10, 2011 5:59 pm
โดย Guiman
ขอบคุณสำำหรับข่าวครับ :8) :8)

ประเทศไทยเจ๊งอีกเยอะเลยนะ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 11, 2011 11:55 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 11:12:34 น.
นายโอฬาร พิทักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากจากนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พบปะเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้เพื่อรับฟังปัญหา ตลอดจนข้อเรียกร้องกรณีได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม

โดยขณะนี้พบว่ามีสวนกล้วยไม้ในหลายจังหวัดของภาคกลางได้รับความเสียหายแล้ว ได้แก่ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสมุทรสาคร โดยเฉพาะที่จังหวัดนครปฐมมีสวนกล้วยไม้ของเกษตรกรได้รับความเสียหายแล้วกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด มูลค่าความเสียหายประมาณ 100 ล้านบาท

นายโอฬาร กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกกล้วยไม้ ทางตัวแทนผู้ปลูกกล้วยไม้ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ อาทิ การขอเงินชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วม, ขอเงินกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และขอผ่อนผันการชำระหนี้ เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจากข้อเรียกร้องดังกล่าว ตนเองจะนำเรื่องเสนอ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากมติ ครม.ได้กำหนดอัตราการเงินชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2554 เป็นกรณีพิเศษ โดยด้านพืช จะได้รับการช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งในเรื่องนี้ได้มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรไปดำเนินการตรวจสอบและคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของกล้วยไม้เพื่อนำมาประกอบการพิจารณากำหนดอัตราการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งในเบื้องต้นตัวแทนผู้ปลูกกล้วยไม้ได้ยอมรับในหลักการอัตราเงินชดเชยร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น

ทั้งนี้ จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั้งสิ้น 7,340 ไร่ เกษตรกรจำนวน 523 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่ อ.เมือง สามพราน นครชัยศรี บางเลน พุทธมณฑล ดอนตูน และกำแพงแสน โดยพันธุ์กล้วยไม้ที่นิยมปลูกมาก ได้แก่ สกุลหวาย ม๊อคคาร่า ออนซีเดียม แวนด้า และแคทลียา ในปี 2554 การส่งออกกล้วยไม้ของในพื้นที่ จ.นครปฐม ระหว่างเดือน ต.ค.-ก.ย.54 มีมูลค่าประมาณ 569 ล้านบาท

--อินโฟเควสท์ โดย อตฦ/รัชดา/ธนวัฏ โทร.02-2535000 ต่อ 325 อีเมล์: [email protected]--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 11, 2011 3:00 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
คปภ.จับมือสภาอุตฯเร่งเคลียร์สินไหมผู้ประกอบการภาคการผลิต แจงเหตุอัตราเบี้ยประกันอาจสูงขึ้น เนื่องจากรีอินชัวเรอร์รอประเมินความเสียหาย

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่าที่ประชุมได้ร่วมกันประเมินสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยพบว่าสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลในขณะนี้มี 2 ประการหลักๆ คือ การประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจมีความล่าช้าเนื่องผู้ได้รับความเสียหายมีจำนวนมาก และแนวโน้มเบี้ยประกันภัยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงบริษัทประกันภัยบางแห่งไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า แนวทางหนึ่งในการเร่งกระบวนการชำระค่าสินไหมทดแทนคือการเพิ่มบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมเป็นผู้ประเมินความเสียหายอาทิ เช่น คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิในสมาคมวิชาชีพ อาทิเช่น สมาคมวิศวกรรมสถาน สมาคมสถาปนิก ฯลฯ โดยสำนักงาน คปภ.จะปรับหลักเกณฑ์ให้ผู้ทรงวุฒิเหล่านี้สามารถเป็นผู้ประเมินความเสียหายในทรัพย์สินจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากผู้ประเมินที่ขึ้นทะเบียนอยู่กับสำนักงาน คปภ. อยู่ก่อนแล้ว

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.จะร่วมหารือกับสมาคมประกันวินาศภัย ผู้ประเมินความเสียหาย และผู้ทรงคุณวุฒิข้างต้น เพื่อกระจายงานสำรวจความเสียหายและลดการกระจุกตัวของการเข้าไปสำรวจภัยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยให้บริษัทประกันภัยมีบุคคลากรที่เพียงพอในการประเมินความเสียหายเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้เร็วขึ้น

สำหรับกรณีที่เบี้ยประกันภัยปรับตัวสูงในช่วงนี้เป็นผลจากภาพรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยังไม่สิ้นสุด เราต้องเร่งรัดการให้ความชัดเจนในมาตรการบริหารความเสี่ยงอุทกภัยของภาครัฐและเอกชนตลอดจนผู้เอาประกันภัยต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับประกันภัยในประเทศและผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ

สำหรับการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แนวทางหนึ่งคือการจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย (sub limit) สำหรับอุทกภัย กล่าวคือ ในอดีตอุทกภัยในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงมีความเสี่ยงที่ต่ำมากและมีการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวการณ์แข่งขันกันของบริษัทประกันวินาศภัย ผู้ขายอยากขาย แต่ก็มีผู้ซื้อไม่มากนัก

ในขณะเดียวกันจำนวนทรัพย์สินที่เอาประกันภัยก็เป็นการประกันภัยทรัพย์สินแบบเต็มจำนวน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนทรัพย์สินที่เสียหายจากเหตุอุทกภัย โดยทั่วไปแล้ว เป็นพียงส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมด อาทิเช่น เมื่อน้ำลดแล้ว ตัวโรงงาน อาคาร บ้านเรือนยังอยู่ ความเสียหายเป็นเพียงสัดส่วนจำนวนหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมด เมื่อเกิดภัยขึ้นในวงกว้างและรุนแรง ลักษณะการทำประกันภัยอุทกภัยเช่นในอดีตทำให้การต่ออายุประกันภัยไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้
ปัญหาในการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับอุทกภัยทำให้ภัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุทกภัยไม่ได้รับความคุ้มครองไปด้วย การกำหนด Sub limit

สำหรับอุทกภัย เป็นการจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย เฉพาะเหตุอุทกภัยในจำนวณหรือสัดส่วนที่เหมาะสมตามแต่จะตกลงกัน เพื่อให้การต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยดำเนินต่อไปได้

ทั้งนี้ มาตรการบริหารความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยเองก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดสัดส่วนทรัพย์สินเอาประกันที่เหมาะสม

ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสนับสนุนการเพิ่มบุคลากรผู้ประเมินความเสียหายให้เพียงพอ เพื่อที่จะสามารถเร่งรัดการชำระค่าสินไหมทดแทนได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเสีย

อีกทั้งการจัดให้มี sub limit สำหรับอุทกภัย ก็เป็นมาตรการสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ส.อ.ท. ขอให้ สำนักงาน
คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัย จัดส่งคู่มือประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ชัดเจนด้วย

เลขาธิการ คปภ.กล่าวย้ำว่าสำนักงาน คปภ.พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และตระหนักดีว่าหากภาคอุตสาหกรรมได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวดเร็วเท่าใด ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสำนักงาน คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัยจึงได้มีแผนเชิงรุกร่วมกันในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
รวมถึงพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของผู้ได้รับความเสียหาย นิคมอุตสาหกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ
ด้วยการจัดตั้งศูนย์“ประกันภัยร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” เพื่อรับแจ้งเหตุ และให้คำแนะนำการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งได้เปิดสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ที่มา...http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... รผลิต.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 12, 2011 8:13 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 03:01:01 น.
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการ เยียวยาบริการปฐมภูมิถึงบ้านและครัวเรือน ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนัก นำร่อง 7 จังหวัด คือ อยุธยา ลพบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี นครสวรรค์ และนครปฐม โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จากจังหวัดในภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทีมเคลื่อนที่ลงดำเนินการฟื้นฟูในตำบลที่ได้รับผลกระทบหนัก เน้นในกลุ่มประชาชนและผู้ป่วยที่อยู่นอกศูนย์พักพิง ที่ติดอยู่ตามบ้าน ผู้พักพิงริมถนน ผู้พักพิงในวัด ทั้งดูแลสุขภาพกายและจิตใจ พร้อมทั้งดำเนินการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และป้องกันควบคุมโรค ช่วยให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และฟื้นฟู รพ.สต.ให้กลับมาให้บริการได้ตามปกติ โดยปฏิบัติการต่อเนื่องถึงสิ้นปี หรือจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 12, 2011 8:14 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 01:47:47 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูสนามบินดอนเมือง ขึ้นมา 1 ชุด เพื่อสำรวจและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่ง ร.ท.ภาสกร สุระพิพิธ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ประธานคณะกรรมการฟื้นฟู ระบุว่า หลังจากน้ำลดจะเริ่มเข้าพื้นที่ และตรวจสอบความเสียหายทันที ขณะที่ก่อนหน้านี้ ทางกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสนามบินดอนเมือง อยู่ระหว่างหารือวางแผนเพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่บริเวณสนามบินดอนเมือง และกองทัพอากาศ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนถึงกำหนดระยะเวลา เนื่องจากปริมาณน้ำยังท่วมสูง

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่สนามบินดอนเมือง ล่าสุด ระดับน้ำสูงประมาณ 1.40 เมตร ซึ่งพื้นที่ที่ ทอท.ให้ความนสำคัญในการเร่งสำรวจ คือ ที่บริเวณอาคารผู้โดยสาร ลานจอดเครื่องบิน และรันเวย์สนามบิน แต่สิ่งที่คาดว่าจะซ่อมแซมยากที่สุด คือ ไฟส่องสว่างตลอดรันเวย์ ที่มีความยาวกว่า 3,000 เมตร นอกจากนี้ ยังได้เตรียมร่างหลักเกณฑ์เบื้องต้น เพื่อให้กำหนดราคาสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยไว้

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 12, 2011 8:16 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 06:47:13 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (11 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 259.89 จุด หรือ 2.19% ปิดที่ 12,153.68 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 24.16 จุด หรือ 1.95% ปิดที่ 1,263.85 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 53.60 จุด หรือ 2.04% ปิดที่ 2,678.75 จุด

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วุฒิสภาอิตาลีอนุมัติร่างกฏหมายว่าด้วยมาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี แลกกับการลาออกของเขา และคาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบจากสภาล่างในวันเสาร์นี้

ข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอิตาลีลดลงมาสู่ระดับ 6.45% หลังจากที่พุ่งแตะ 7.25% เมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540

อีกปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กคือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต้นพฤศจิกายนของธอมสัน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่พุ่งแตะ 64.2 จุด จากระดับ 60.9 จุดในเดือนตุลาคม ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 61.5 จุด ส่งสัญญาณว่าผู้บริโภคสหรัฐมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากกว่าเดิม

ขณะเดียวกันนักลงทุนกำลังจับตาดูการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารรอบที่ 4 โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะทำการทดสอบ stress test ของธนาคารรายใหญ่ในสหรัฐในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อประเมินว่าธนาคารต่างๆสามารถต้านทานต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หรือไม่

เจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด กล่าวว่า การทดสอบมีความจำเป็น เนื่องจากเศรษฐกิจและตลาดการเงินสหรัฐเผชิญความเสี่ยงขาลง อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.02-2535000 ต่อ 338 อีเมล์: [email protected]--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 12, 2011 8:32 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ชงครม.ของบ 2.1 หมื่นล้านฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคมวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:13:52 น.

Share7

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 54 ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทยเป็นประธาน ได้ประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนวทางฟื้นฟูเยียวยาปัญหาน้ำท่วม ด้านเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์เป็นประธาน และด้านสังคมที่มีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน



นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นำเสนอแนวทางการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจใน 2 เรื่องหลัก คือ 1.การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท ทั้งในส่วนเขตต่างจังหวัดและ กทม. รวมจำนวน 3.4 ล้านครัวเรือน วงเงิน 17,100 ล้านบาท สามารถจ่ายได้ทันทีภายใน 2 สัปดาห์ และยังมีโครงการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม 112 ล้านบาท ทั้งในเรื่องการช่วยสูบน้ำ ตรวจสอบสภาพแวดล้อม รวมถึงเปิดศูนย์พักพิงสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะทำงานได้ทันที

2.แนวทางการฟื้นฟูด้านสังคม รวมวงเงิน 4,411.8 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินโครงการเป็นค่ารักษาพยาบาล การฝึกอบรมอาชีพ การดูแลแรงงาน การบูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน โดยเฉพาะการซ่อมแซมโรงเรียนให้กลับมาเปิดเทอมได้ทัน การอพยพประชาชน การสร้างความปลอดภัยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยทั้งหมดจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. สัปดาห์หน้า (15 พ.ย.) อย่างไรก็ตามในส่วนการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่มีการนำเสนอเรื่องเข้ามาในที่ประชุมได้พิจารณา





นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการช่วยเหลือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ วงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท ที่รัฐบาลอนุมัติให้แล้วน่าจะเพียงพอสำหรับการทำโครงการป้องกันอุทกภัยด้วยตนเอง เพื่อไม่ให้กลับมามีปัญหาอีกในระยะสั้น ซึ่งวงเงินดังกล่าว นิคมอุตสาหกรรมที่ยังไม่ประสบปัญหาก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของการดำเนินโครงการให้สินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำที่จะให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาค้ำประกันการกู้เงินให้นั้น หากมีการผ่อนปรนเงื่อนไข เช่นการผ่อนปรณให้พิจารณาเป็นรายๆ ไม่ต้องรวมกลุ่ ม หรือ กรณี มีหนี้เสียและต้องเรียกเงินค้ำประกัน แต่มีเงื่อนไขว่าการเรียกเงินค้ำประกัน จะทำได้ต่อเมื่อคำพิพากษาศาลถึงที่สุดแล้ว ทำให้สถาบันการเงินไม่อยากปล่อยกู้ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องหารือกันให้จบในสัปดาห์หน้า เพราะเมื่อน้ำลดแล้ว โรงงานเขาต้องการเงินมาฟื้นฟูซ่อมแซม และสถานการณ์วันนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ ไม่ใช่ความผิดของผู้ประกอบการต้องผ่อนปรนให้



ส่วนนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและบางชัน ขณะนี้รัฐบาลก็ยังดูแลยังเต็มที่ หากผ่านช่วง 2-3 วันนี้ไปได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม ก็เข้าไปเปิดศูนย์บัญชาการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้ว





ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงการอนุมัติช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ว่า ยังสามารถอนุมัติต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งสามารถแจกได้เลยโดยไม่ต้องรอน้ำลด แต่หลักเกณฑ์การจ่ายก็จะต้องเป็นคนที่ถูกน้ำท่วมฉับพลันปัจจุบันทันด่วน หรือน้ำท่วมขัง 7 วันขึ้นไปก็ได้ ส่วนคนที่เช่าบ้าน ก็จะมีหลักเกณฑ์การช่วยเหลืออย่างอื่นอีก ขณะที่การจ่ายเงินช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านหลังละ 30,000 บาทนั้นยังทำไม่ได้ เพราะน้ำยังท่วมขังอยู่ ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าจะมีการออกแผ่นพับชี้แจงรายละเอียดข้อมูลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกกลุ่มว่าจะได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง และต้องดำเนินการอย่างไร



ส่วนการจ่ายเงินทั้งหมดธนาคารออมสินจะรับหน้าที่นัดประชาชนมาเป็นกลุ่มเพื่อจ่ายเงินให้ โดยไม่ต้องเดินเข้าไปตามบ้าน ส่วนเอกสารสำคัญที่จะใช้ในการรับเงินนั้น ต้องใช้เลขประจำบัตรประชาชน 13 หลักในการขอขึ้นทะเบียน ส่วนคนที่อยู่คอนโดก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์แน่นอน แต่ในอนาคตก็อาจมีการหาหลักเกณฑ์การช่วยเหลือใหม่ เพราะลักษณะของพื้นที่ใน กทม.และต่างจังหวัด ยังมีความแตกต่างเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะใครเดือดร้อนรัฐบาลก็ต้องช่วยอยู่แล้ว

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 12, 2011 8:54 am
โดย บูรพาไม่แพ้
หวังสองท่านแปรวิกฤติ เป็นพลังปรองดองคนไทย
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บอกเราว่า ที่รับปากเข้ามาทำงานในคณะกรรมการสองชุดนั้น ก็เพราะนี่เป็นปัญหาของประเทศ

ไม่ใช่เรื่องการเมืองแบ่งฝ่าย

ดังนั้น คนไทยควรจะต้องร่วมกันคิดร่วมกันอ่านเพื่อพาประเทศชาติให้พ้นจากวิกฤตินี้ให้ได้
หากทั้งสองท่านจะใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสที่จะสร้างความปรองดองของชาติได้จริง, ก็น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

ผมดีใจที่ได้ฟังข่าวเมื่อสักครู่ว่า ดร. “โกร่ง” ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) จะตั้งอนุกรรมการหลายชุดและจะเชิญคนจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันคิดร่วมกันอ่าน เพื่อจะได้หาทางฟื้นฟูประเทศและ “สร้างอนาคตประเทศ” กันอย่างจริงจัง

ในประเทศอื่นก็มีตัวอย่างมาแล้วว่า เมื่อบ้านเมืองเผชิญกับความเสียหายหนักหน่วงระดับนี้, คนฝ่ายต่างๆ ที่ทะเลาะเบาะแว้งหรือยื้อแย่งอำนาจทางการเมืองกัน ก็จะลดละเลิกความบาดหมางนั้นและหันมาจับมือกันเพื่อสร้างชาติสร้างบ้านเมืองกันรอบใหม่

หลายแห่งเขาก็สามารถสร้างความสมานฉันท์จนแก้ปัญหาระยะยาวได้อีกครั้งหนึ่ง

ดร.สุเมธ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) บอก “มติชน” ในการให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า

“คนไทยเวลานี้ ขอบอกตรงๆ ว่าโคตรคิดมาก คิดพิสดาร คิดแยกสี ผมไม่มีอะไรเลย ความคิดง่ายมาก ในภาวะอย่างนี้ รู้หรือเปล่าว่าเรากำลังเผชิญอะไรอยู่ รู้ไหมว่าน้ำท่วมบ้านเวลานี้ มันรุนแรงแค่ไหน ถ้ารู้แล้วจะสยองขวัญ ปัญหามันใหญ่โตกว้างขวางเกินภาวะปกติ ถ้าเรื่องแค่นี้ไม่เข้าใจก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว...เวลานี้บ้านเมืองกำลังเดือดร้อน ถ้าใครมาขอให้ช่วยอะไร ยังมาคิดโน่นคิดนี่อีก ก็ไม่รู้จะว่าไง ฉะนั้น จะเป็นใครมาขอให้ผมทำอะไร ผมทำให้ได้ทั้งนั้น ในฐานะที่รับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คนกำลังเดือดร้อน จะมาเลือกอะไรไม่ได้ นอกจากยึดชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ฉะนั้น ถ้าขอให้ช่วยชาติบ้านเมืองแล้ว...ได้ แต่ถ้าขอให้ไปทำอะไรเพื่ออย่างอื่นนั้น...ให้ไม่ได้ จะปฏิเสธได้อย่างไร บ้านเมืองกำลังจะพินาศอยู่แล้ว...เวลานี้สังคมกำลังวิปริตมากในเรื่องความคิด ค่อนข้างจะใช้ความคิดที่ไม่ค่อยจะเป็นปกติ ไม่ใช้สติปัญญา ไม่ได้คิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก ยังคิดแบ่งแยก แบ่งสี เรื่องของประเทศชาติใครขอได้ทั้งนั้น...”

ดร.วีรพงษ์ ก็ให้สัมภาษณ์เช่นกันว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์โทรไปหาเอง บอกว่า “อาจารย์ ต้องมาช่วยปูนะ หนักหนาสาหัสมาก ผมไม่เคยรู้จักนายกฯ มาก่อน เพิ่งเจอครั้งแรกคราวนี้ ได้รับการติดต่อก่อนมีคำสั่งเพียงสองวัน แต่รับปากทันที...ไม่รับก็ไม่รู้จะตอบตัวเองอย่างไร ส่วนจะทำได้แค่ไหนก็พยายามถึงที่สุด เพราะถ้าไม่ทำอะไร คนที่จะตายไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่เป็นประเทศไทย รัฐบาลตายไม่มีปัญหา เพราะมีรัฐบาลใหม่ได้ แต่ประเทศไทยต้องอยู่ต่อไป...”

หากทั้งสองท่านจะใช้บทบาท, บารมี และความตั้งใจดีในคราวนี้เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดองและสร้างความรู้สึกร่วมกันว่านี่คือปัญหาของชาติ, และจะต้องไม่มีการเมืองหรือการแข่งขันสร้างภาพของพรรคการเมืองใด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านหรือฝ่ายอื่นใด, ก็จะเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศชาติ

เพราะทั้งสองท่านไม่ได้ต้องการตำแหน่งแห่งหนทางการเมือง (อาจารย์โกร่งบอกว่านี่เป็น “งานสุดท้ายของชีวิต” และ ดร.สุเมธ บอกว่าท่านมีความรับผิดชอบอยู่ที่มูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งเป็นงานหลักของท่าน) ดังนั้นจึงน่าจะปลอดจากคำติฉินนินทาเรื่องแสวงหาบทบาททางการเมืองได้

การจะแก้ปัญหาภัยพิบัติอันใหญ่หลวงครั้งนี้ได้ และฟื้นฟูประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ต้องอาศัย “ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว” ของคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องมองทะลุความขัดแย้ง...โดยที่รัฐบาลต้องไม่มองว่าคนแสดงความคิดเห็นแย้งเป็นศัตรู และฝ่ายค้านต้องไม่ต่อต้านทุกเรื่องที่มาจากรัฐบาล

ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องการเห็นความปรองดองสมานฉันท์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในความเห็นของกันและกัน และไม่ใช่อำนาจทางการเมืองแบ่งแยกคนไทยให้แตกกันเป็นกลุ่มเป็นเหล่าอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้

เป็นจังหวะและโอกาสอันสำคัญยิ่งที่ท่านทั้งสองจะสร้างปรากฏการณ์แห่งความปรองดอง เพื่อก่อให้เกิดพลังของชาติในอันที่จะฝ่าข้ามอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ให้ได้
ที่มาhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/poli ... คนไทย.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 13, 2011 7:59 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554 01:47:51 น.
นายยงยุทธ ตะริโย รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กล่าวยืนยันว่า ทันทีที่ได้รับการยืนยันรายชื่อผู้ประสบอุทกภัย พร้อมการโอนเงินจากรัฐบาลมาตามจำนวนผู้ประสบภัยจริงโดยไม่ซ้ำซ้อน ธนาคารก็จะสามารถจ่ายเงินให้ผู้ประสบภัยได้ครบภายใน 45 วัน ซึ่งตั้งแต่วันนี้(12 พ.ย.54) ประชาชนที่ประสบภัยต้องไปแจ้งเรื่องขอรับเงินชดเชยครัวเรือนละ 5,000 บาท ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ตัวเองอาศัยอยู่ โดยให้นำหลักฐานทั้งบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และรูปถ่ายบ้านที่ถูกน้ำท่วม

จากนั้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตจะลงพื้นที่ตรวจสอบก่อนเสนอให้ผู้อำนวยการเขตเซ็นรับรองรายชื่อทั้งหมดส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพื่อยืนยันจำนวนและจ่ายงบประมาณตามจำนวนกลับมาทางธนาคาร เมื่อได้รับเงินจากรัฐบาล ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ธนาคารจะเริ่มจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยได้ทันที โดยผู้ประสบภัยที่จะมารับเงินชดเชยสามารถติดต่อขอรับได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 200 แห่ง ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยใช้หลักฐานเพียงบัตรประจำตัวประชาชนใบเดียวเท่านั้น

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 13, 2011 8:05 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554 03:30:48 น.
รายงานข่าวจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แจ้งว่า มีสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) 5 เขต มีโรงงานได้รับผลกระทบ 1,855 แห่ง ลูกจ้างต้องหยุดงาน 23,166 คน ขณะที่ทั่วประเทศมีลูกจ้างได้รับผลกระทบ 752,439 คน ในสถานประกอบการ 19,251 แห่ง อย่างไรก็ตามมีสถานประกอบการ 320 แห่ง 38 จังหวัด แจ้งความประสงค์รับผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว 42,090 อัตรา ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กทม. และชลบุรี

ขณะที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ โดยขณะที่สถานประกอบการหยุดหรือชะลอการผลิต ได้จัดอบรมเพิ่มทักษะหรือหลักสูตรที่จำเป็นให้แรงงานในศูนย์พักพิงผู้อพยพ รัฐสนับสนุนค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยง 120 บาทต่อวัน ตลอดจนจัดส่งแรงงานที่หยุดงานไปเป็นกำลังการผลิตในโรงงานที่ขาดแรงงาน และดำเนินโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง โดยสนับสนุนเงินให้กับลูกจ้างรายละ 3,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีเงื่อนไขให้นายจ้างทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ว่าจะไม่เลิกจ้าง และนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างเดิม

ทั้งนี้ หากประเมินจากแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้ประมาณ 500,000 คน ถ้าทุกโรงงานขอให้รัฐช่วยสนับสนุนค่าแรงงานครึ่งหนึ่ง เฉลี่ยค่าจ้างรายละ 10,000 บาท รัฐจ่าย 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รัฐจะต้องเตรียมงบประมาณเพื่อการนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 13, 2011 5:27 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
รมว.อุตสาหกรรม เผย เร่งกู้ 7 นิคมฯ แฟคตอรี่แลนด์ เดินสายผลิตแล้ว 12 รง. พร้อมเร่งแจงนักลงทุน



น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการกู้นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมในขณะนี้ ว่า กำลังเร่งนำเนินการกู้นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมอย่างเต็มที่ ซึ่งล่าสุดในขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก
โดยเฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 99 โรงงาน ได้เปิดทำงานเป็นปกติแล้วจำนวน 12 โรงงาน และภาพรวมของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ น้ำเกือบแห้งทั้งหมดแล้ว เหลิออีกเพียง 20 % เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่ าในเร็ววันนี้จะเดินทางไปพบนักลงทุนเพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้น

Link : http://www.innnews.co.th/วรรณรัตน์-เผย- ... 54_02.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 13, 2011 10:18 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
กิตติรัตน์” เตรียมชี้แจงอาเซียน-คู่เจรจา ถึงแผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม หวังเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน ย้ำชัด ไทยฟื้นตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้แน่นอน

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน (อาเซียน ซัมมิต) ครั้งที่ 19 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 15-19 พ.ย.54 ที่เมืองบาหลี โดยฝ่ายไทยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 6 ซึ่งจะใช้โอกาสนี้ ให้ข้อเท็จจริงถึงเหตุการณ์น้ำท่วม และแนวทางการฟื้นฟูของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา

“ไทยจะใช้โอกาสที่เข้าร่วมประชุมด้านเศรษฐกิจ ชี้แจงและทำความเข้าใจให้สมาชิกอาเซียนได้รับรู้ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขของรัฐบาลไทย เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากอาเซียน และประเทศคู่เจรจาอื่นๆ ซึ่งมีทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และรัสเซีย ว่า ไทยจะฟื้นตัวจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้แน่นอน
ที่มา...http://www.thairath.co.th/content/eco/216341

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 13, 2011 11:25 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
อุสาหกรรมปทุมธานีเผยแผนการกู้และฟื้นฟูสองนิคม

13 พย. 2554 22:01 น.


นายประทวน สุทธิอำนวยเดช อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ได้เตรียมแผนการกู้และฟื้นฟู สองนิคมอุสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย นิคมอุสาหกรรมนวนคร และ สวนอุตสาหกรรมบางกระดี่ ซึ่งทั้งสองนิคมอุตสาหกรรมนี้ ถูกน้ำท้วมทั้งหมดจากอุทกภัยน้ำท้วม โดยนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีโรงงานจำนวนทั้งสิ้น 227 โรงงานและ สวนอุตสาหกรรมนิคมบางกระดี่ มีโรงงานจำนวน 44 โรงงาน ซึ่งตามแผนการกู้และฟื้นฟูนั้นจะต้องมีการสำรวจระดับน้ำว่าอยู่ในเกนฑ์ที่ระดับที่วางแผนเอาไว้คือน้ำภายนองแนวคันดินต้องต่ำกว่าภายในแนวคันดินประมาณ 50 ซ.ม.จึงจะสามารถสูบน้ำออกได้ โดยในขณะนี้จาการสำรวจระดับน้ำพบว่าน้ำภายในแนวคันดินยังสูงอยู่ที่ 1.80 เมตรในขณะที่ภายนอกแนวคันดินระดับน้ำยังสูงกว่าภายในประมาณ 3-5 ซ.ม.และน้ำยังไหล่เคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา

ตามแผนการกู้และฟื้นฟูนั้นได้มีกำหนดการสูบน้ำออกจากนิคมอุสาหกรรมนวนคร ในวันที่ 18 พ.ย. 54 ที่จะถึงนี้จะมีการเตรียมเครื่องสูน้ำจำนวนมากเพื่อรอระดับน้ำในการสูบออก คาดว่าในระยะเวลา 5-6 วันหลังจากนี้ระดับน้ำจะลดลงตามการคาดการไว้ประกอบกับเร่งกู้แนวคันดินที่เสียโดยรอบนิคมอุสาหกรรมนวนคร บนเนื้อที่กว่า 6500 ไร่ซึ่งแล้วไปได้ประมาณ 80% แล้ว โดยหลังจาการกู้แนวคันดินเสร็จแล้วต่อไปจะต้องนำน้ำจากนิคมอุสาหกรรมนวนคร มาทำการตรวจสอบว่ามีสารเคมีปะปนมากับน้ำหรือไม่หากมีต้องทำการแก้ไขเสียก่อน จึงจะดำเนินการสูบน้ำออกจาก นิคมอุสาหกรรมนวนคร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนต่างๆทั้งนี้ในการกู้และฟื้นฟูของนิคมอุสาหกรรมนวนคร นั้นทางบริษัท อิตาเลียนไทย เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจาก บริษัท อิตาเลียนไทย เป็นผู้ดำเนินการทำแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมเข้าพื้นที่นิคมอตสาหกรรมนวนคร มาตั้งแต่ต้นและเพื่อความต่อเนื่องจึงให้เป็นผู้ดำเนินการต่อ

สำหรับการกู้และฟื้นฟูสวนอุตสาหกรรมบางกระดี่ คงจะต้องรอให้ระดับน้ำลดต่ำลงมามากกว่านี้จึงจะได้ดำเนินการกู้ได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงจะต้องรอดูการประชุมในวันจันทร์ที่ 14 พ.ย. 54 ที่จะถึงนี้ก่อนว่าผลการประชุมจะเป็นอย่างไรหรืออาจจะเลื่อนการกู้และฟื้นฟูออกตามกำหนดเดิมซึ่งก็คงจะอยู่ที่คณะกรรมการของที่ประชุม
ที่มา...http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=539010

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 14, 2011 7:43 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 01:48:11 น.
"กิตติรัตน์" สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ต่างชาติบนเวที "เอเปก" ยันไม่ให้น้ำท่วมซ้ำอีก พร้อมเปิดเผยลงทุนขุดคลองใหญ่เท่ากับแม่น้ำแก้น้ำท่วม วางระบบรถไฟคู่ขนาน และจัดเขตที่ดินใหม่ เล็งใช้เงินกู้ หรือ ทุนสำรองของ "แบงก์ชาติ" มาลงทุน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ซึ่งได้เดินทางเข้าร่วม ประชุมสุดยอด ผู้นำเอเปก ครั้งที่ 19 ที่มลรัฐฮาวาย เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุม ในเวที APEC CEO Forum ร่วมกับ business leaders ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่สำคัญๆ ทั้งจากสหรัฐและ ในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมประชุม เช่น บริษัท google, Microsoft ฯลฯ

โดยนักธุรกิจล้วนแสดงความห่วงใยกับปัญหาน้ำท่วมในไทย พร้อมสอบถามว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นขณะนี้จะเกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่ ขณะที่ตนได้ชี้แจงไปว่ารัฐบาลจะดูแลไม่ให้ปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นในลักษณะเดิมอีก

ทั้งนี้รัฐบาลมีการวางแผนระยะยาวในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้ตัดสินใจ ที่จะให้ทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งญี่ปุ่น หรือไจกา (JICA) เข้ามาให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำทางเทคนิค ส่วนรูปแบบ ในเบื้องต้นจะมีการลงทุนขุดคลองใหญ่เท่ากับแม่น้ำ และอาจจะมีการสร้างถนนทางรถไฟ คู่ขนานขึ้นมา พร้อมจัดเขตที่ดินใหม่ ให้สวยงาม จากดินที่ถูกขุดขึ้นมา โดยสามารถทำให้เกิดความคุ้มค่าด้านการลงทุน เช่น คลองสามารถใช้เป็นเส้นทางขนส่งทางเรือ และมีถนนที่ เป็น โทลล์เวย์ หรือการสร้างเมืองใหม่ ซึ่งการวางแผนจะคำนึงถึงปัญหาน้ำท่วม และปัญหา ภัยแล้ง เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติในโลกขณะนี้ มีความถี่มากขึ้น

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น จะต้องให้ ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์ที่นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน มีการพิจารณาร่วมกับ ทางกระทรวงการคลัง ว่าจะใช้รูปแบบการลงทุน อย่างไร โดยมองฐานะทางการเงินไทยเอง ก็มีความพร้อมเพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศ (ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท.) ที่มา จากรายได้การส่งออกที่สะสมมา และเห็นได้ จากการออกพันธบัตรรัฐบาลที่มีการระดมเงินจาก ในประเทศ และหากจะต้องมีการกู้เงิน อาจจะ กู้จากธนาคารโลก (world bank), ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB), JICA ก็ได้ ซึ่งจะมีข้อดี เนื่องจากองค์กรเหล่านี้เคยมีประสบการณ์ในการปล่อยกู้ให้กับประเทศที่เคย เจอปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

พร้อมกันนี้ ตนได้ บอกกับเวทีนักธุรกิจเอเปกว่า การลงทุนบางโครงการรัฐอาจจะเป็นเจ้าภาพ แต่ในบางโครงการสามารถที่จะให้เอกชนเข้ามา ร่วมประมูลได้ ซึ่งแม้ว่านักธุรกิจต่างชาติยังติดภาพว่า ในการประมูลที่ผ่านๆ มายังมีปัญหาการคอร์รัปชั่น เกิดขึ้นในไทย แต่ทางรัฐบาลอยากจะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยต้องการให้การประมูลมีความสุจริต ไม่คอร์รัปชั่น ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามา ร่วมลงทุนกับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยได้

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 14, 2011 9:39 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2554 09:31:37 น.
กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--สำนักงาน คปภ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในการกระชับกระบวนการชำระค่าสินไหมทดแทน พร้อมแจงเหตุอัตราเบี้ยประกันภัยน้ำท่วมอาจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศรอความชัดเจนเพื่อประมวลภาพรวมความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่คาดเป็นผลกระทบระยะสั้น

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยภายหลังการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่าที่ประชุมได้ร่วมกันประเมินสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยพบว่าสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลในขณะนี้มี 2 ประการหลักๆ คือ การประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจมีความล่าช้าเนื่องผู้ได้รับความเสียหายมีจำนวนมาก และแนวโน้มเบี้ยประกันภัยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงบริษัทประกันภัยบางแห่งไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่าแนวทางหนึ่งในการเร่งกระบวนการชำระค่าสินไหมทดแทนคือการเพิ่มบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมเป็นผู้ประเมินความเสียหายอาทิ เช่น คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิในสมาคมวิชาชีพ อาทิเช่น สมาคมวิศวกรรมสถาน สมาคมสถาปนิก ฯลฯ โดยสำนักงาน คปภ.จะปรับหลักเกณฑ์ให้ผู้ทรงวุฒิเหล่านี้สามารถเป็นผู้ประเมินความเสียหายในทรัพย์สินจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากผู้ประเมินที่ขึ้นทะเบียนอยู่กับสำนักงาน คปภ. อยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้สำนักงาน คปภ.จะร่วมหารือกับสมาคมประกันวินาศภัย ผู้ประเมินความเสียหาย และผู้ทรงคุณวุฒิข้างต้น เพื่อกระจายงานสำรวจความเสียหายและลดการกระจุกตัวของการเข้าไปสำรวจภัยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยให้บริษัทประกันภัยมีบุคคลากรที่เพียงพอในการประเมินความเสียหายเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้เร็วขึ้น

สำหรับกรณีที่เบี้ยประกันภัยปรับตัวสูงในช่วงนี้เป็นผลจากภาพรวมความเสียหายที่เกิดขึ้นและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยังไม่สิ้นสุด เราต้องเร่งรัดการให้ความชัดเจนในมาตรการบริหารความเสี่ยงอุทกภัยของภาครัฐและเอกชนตลอดจนผู้เอาประกันภัยต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับประกันภัยในประเทศและผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ

สำหรับการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แนวทางหนึ่งคือการจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย (sub limit) สำหรับอุทกภัย กล่าวคือ ในอดีตอุทกภัยในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงมีความเสี่ยงที่ต่ำมากและมีการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวการณ์แข่งขันกันของบริษัทประกันวินาศภัย ผู้ขายอยากขาย แต่ก็มีผู้ซื้อไม่มากนัก ในขณะเดียวกันจำนวนทรัพย์สินที่เอาประกันภัยก็เป็นการประกันภัยทรัพย์สินแบบเต็มจำนวน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนทรัพย์สินที่เสียหายจากเหตุอุทกภัย โดยทั่วไปแล้ว เป็นพียงส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมด อาทิเช่น เมื่อน้ำลดแล้ว ตัวโรงงาน อาคาร บ้านเรือนยังอยู่ ความเสียหายเป็นเพียงสัดส่วนจำนวนหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมด

เมื่อเกิดภัยขึ้นในวงกว้างและรุนแรง ลักษณะการทำประกันภัยอุทกภัยเช่นในอดีตทำให้การต่ออายุประกันภัยไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ปัญหาในการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับอุทกภัยทำให้ภัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุทกภัยไม่ได้รับความคุ้มครองไปด้วย การกำหนด Sub limit สำหรับอุทกภัย เป็นการจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย เฉพาะเหตุอุทกภัยในจำนวณหรือสัดส่วนที่เหมาะสมตามแต่จะตกลงกัน เพื่อให้การต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยดำเนินต่อไปได้ ทั้งนี้มาตรการบริหารความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยเองก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดสัดส่วนทรัพย์สินเอาประกันที่เหมาะสม

ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสนับสนุนการเพิ่มบุคลากรผู้ประเมินความเสียหายให้เพียงพอ เพื่อที่จะสามารถเร่งรัดการชำระค่าสินไหมทดแทนได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเสีย อีกทั้งการจัดให้มี sub limit สำหรับอุทกภัย ก็เป็นมาตรการสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ส.อ.ท. ขอให้ สำนักงาน คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัย จัดส่งคู่มือประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ชัดเจนด้วย

เลขาธิการ คปภ.กล่าวย้ำว่าสำนักงาน คปภ.พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และตระหนักดีว่าหากภาคอุตสาหกรรมได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวดเร็วเท่าใด ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสำนักงาน คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัยจึงได้มีแผนเชิงรุกร่วมกันในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมถึงพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของ

ผู้ได้รับความเสียหาย นิคมอุตสาหกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ด้วยการจัดตั้งศูนย์“ประกันภัยร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” เพื่อรับแจ้งเหตุ และให้คำแนะนำการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งได้เปิดสายด่วนประกันภัย 1186 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ”

ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงาน คปภ.
โทร. 02-6580760

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 14, 2011 4:25 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเผย เครื่องสูบน้ำ 140 ตัว ถึงไทย 19 พ.ย. ให้ ก.อุตฯ-ก.ทรัพย์ฯ ดำเนินการต่อ คาดเริ่มสูบน้ำนิคมฯ อยุธยา ได้หลัง 20 พ.ย.




นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เครื่องสูบน้ำที่สั่งซื้อมาจากประเทศจีนจำนวน 140 เครื่อง ซึ่งมาระดมสูบน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมขังจะส่งมาถึงประเทศไทย ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ ก่อนจะส่งต่อให้กับทางกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำรับไปดำเนินการต่อ โดยคาดว่าจะเริ่มสูบน้ำออกจากนิคมต่างๆ ได้หลังวันที่ 20 พ.ย.นี้ ส่วนจะเป็นนิคมใดเริ่มก่อนนั้นจะต้องมีการประเมินอีกครั้ง ซึ่งเครื่องสูบน้ำดังกล่าวจะใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ส่วนแผนการรับมือสถานการณ์น้ำในปีหน้า มองว่ามีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องสร้างถนนที่ใช้เป็นช่องทางส่งน้ำ หรือ ฟลัดเวย์ เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยเร็ว ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องลงทุนในการสร้างแนวคันกั้นน้ำ


Link : http://www.innnews.co.th/พิชัยเผยเครื่อ ... 31_02.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 14, 2011 4:36 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
อ.จุฬาฯ เสนอ 11 มาตรการแก้นำท่วมระยะยาว หนุนทำซุปเปอร์ฟลัดเวย์ เวนคืนที่ริมคลองทำแก้มลิง-พัฒนากฎหมายภัยพิบัติ ป้องชาวบ้านทำลายคันกั้นน้ำ

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยนายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จุฬา แถลงข่าวเสนอ “11มาตรการแก้ไขน้ำท่วมแบบหลายมิติ: ซุปเปอร์เอ็กซ์เพรสฟลัดเวย์ หนทางฟื้นความเชื่อมั่นประเทศไทย” โดยระบุว่า ที่ผ่านมาการจัดการน้ำของประเทศไทยยังใช้ระบบแก้ปัญหาแบบเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น เช่น การขุดลอกคลอง การผันน้ำเข้าทุ่ง สร้างเขื่อน สร้างฝายชะลอน้ำ และโครงสร้างระบบกักเก็บน้ำ ฯลฯ เพราะสามารถแก้ปัญหาระยะสั้น และเห็นผลเร็วได้ แต่ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมใหญ่ได้ และถือว่ามีส่วนต่อการเพิ่มความรุนแรงของปัญหาอีก จึงได้เสนอแนวทางแก้ไขน้ำท่วมแบบหลายมิติ ประกอบด้วย

1.สร้างระบบทางด่วนพิเศษระบายน้ำท่วม (super-express floodway) ที่จะต้องทำเป็นมาตรการแรก เนื่องจากในปี 2533 กทม.มีทางระบายน้ำในฝั่งตะวันออกที่ยังสมบูรณ์ แต่หลังจาก 10 ปีที่ผ่านมา มีการขยายของเมืองจนกั้นทางระบายน้ำของกทม.ทั้งชุมชนเมือง นิคมอุตสาหกรรม และสนามบินสุวรรณภูมิที่ขวางทางน้ำ ดังนั้นวิธีการสร้างทางด่วนพิเศษระบายน้ำท่วมคือจะต้องใช้คลองเดิมที่เชื่อมไปยังเขื่อนพระราม 6 ที่ จ.ชัยนาท โดยเวนคืนพื้นที่ริมคลองข้างละ 1 กิโลเมตร อาทิ คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองระพีพัฒน์ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต แล้วสร้างถนนสูง 6 เมตรทั้งสองข้างเป็นถนนมอเตอร์เวย์ระยะทางยาวกว่า 200 กิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้จะไม่อนุญาตให้อยู่อาศัย แต่สามารถทำการเกษตรได้ เมื่อน้ำท่วมพื้นที่ตรงนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งแก้มลิง และเป็นพื้นที่ระบายน้ำ โดยจากการคำนวณสามารถระบายน้ำได้เท่ากับเจ้าพระยา 2 สายรวมกัน ทั้งนี้วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพที่สุดเพราะไม่ต้องขุดแม่น้ำใหม่ ส่วนพื้นที่เวนคืนอาจกระทบชาวบ้านก็ต้องมีการทำประชาพิจารณ์เพราะกระทบต่อคนหมู่มาก หากรัฐบาลเห็นความสำคัญเรื่องนี้ก็ควรเร่งทำ

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า 2.ต้องวางแผนแม่บทควบคุมการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างในลุ่มน้ำต่างๆ ควบคุมการถมดินทั้งระบบ ควบคุมการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ล่อแหลมน้ำท่วม ปรับปรุงระบบระบายน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพ เช่น ขยายประตูน้ำให้สอดคล้องกับขนาดคลองต่างๆ วางระบบการดูแลคูคลองและขุดลอกสม่ำเสมอ 3.ปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ ที่จะต้องศึกษาระบบน้ำในปีต่างๆ ศึกษากลุ่มเมฆฝนว่าปีหนึ่งๆจะมีฝนตกลวงมาเท่าไหร่ ที่ผ่านมาประเทศไทยก็มีคนทำ แต่ทำไม่ครบ ตรงนี้ต้องแม่นว่าตกที่ไหน ตกเท่าไหร่ ตกเมื่อไหร่ บอกได้ทั้งหมด หลายประเทศทำได้

4.วางแผนพัฒนากทม. และเมืองบริวารในอนาคต ที่จะต้องปิดกั้นการขยายตัวของกทม. เพราะน้ำต้องมีที่ระบายแต่หากเป็นพื้นที่เมืองทั้งหมดก็จะต้องขยายระบบป้องกันอีก เหมือนกับต้องขีดกทม.ไม่ให้โตมากกว่านี้ แต่ต้องขยายเมืองอื่นๆ อาทิ จ.ราชบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี ขยายเมืองออกไป แล้วใช้ระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูงเข้ามายังกทม.ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 5.ใช้มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วมและการประกันภัย เพื่อกองทุนชดเชยน้ำท่วม ทั้งภาษีน้ำท่วมโดยตรงจากพื้นที่ที่มีระบบปิดล้อมป้องกันน้ำท่วม
ควบคุมขุดน้ำบาดาล กำหนดระยะเพาะปลูก ออกกม.ป้องกันชาวบ้านรื้อคันตามใจชอบ

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า 6.มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองโดยใช้แผนที่เสี่ยงน้ำท่วม 7.การขุดน้ำบาดาลที่จำเป็นต้องควบคุม ควบคุมการทรุดของแผ่นดิน ช่วยให้ระบบระบายน้ำดีขึ้น 8.มาตรการแผนแม่บทกำหนดระยะเวลาการเพราะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการแปรปรวนและผกผันของภูมิอากาศในอนาคต เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร

9.มาตรการอนุรักษ์และปกป้องพื้นที่แก้มลิงให้สอดคล้องกับวิถีชุมชนในพื้นที่ล่อแหล่มเสี่ยงน้ำท่วม10.ควรเร่งพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการพิบัติภัยทั้งระบบและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการพิบัติภัยของภาครัฐ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ฝืนคำสั่ง เช่น การรื้อคันกั้นน้ำอย่างที่เป็นอยู่

11.ควรจัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องพิบัติภัยและส่งเสริมงานวิจัยทั้งระบบอย่างจริงจังเพื่อลดพิบัติภัยด้วยความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยหากจัดการตาม 11 ข้อแล้วมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางได้ แต่หากยังไม่ดำเนินมาตรการดังกล่าวก็เป็นเรื่องนี้เป็นห่วงเพราะภัยพิบัติลักษณะนี้อาจะเกิดขึ้นได้บ่อย ทั้งนี้ตนนำเสนอในฐานะของนักวิชาการ และอยากให้รัฐบาลนำไปใช้ แต่คงไม่ร่วมเป็นคณะกรรมการใดๆทั้งสิ้น
ที่มา...http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ยะยาว.html