หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 2:40 pm
โดย multipleceilings
ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ อนุมัติการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 23% ในปี 2555 แล้ว
การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ใช้ในการหาเสียงในการเลือกตั้ง เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตามนโยบายที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ จะมีการลดอัตราภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และ เหลือ 20% ในปี 2556
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 3:46 pm
โดย Li Kim Hong
ว้าว เท่ากับกำไร ปี 55เพิ่มขึ้น 10% ทุกบริษัท
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 4:54 pm
โดย Unstablemind
ง่ะไม่รู้ที่ผมถามจะสุภาพหรือเปล่าแต่ถ้าเป็นยังงั้นจริงๆเราก็ต้องดูงบการเงินให้ดีๆขึ้นไช่ปะครับเพราะการลดภาษีมันก็จะเป็นภาพที่เห็นกันในทะเลทรายตอนมึนๆไช่ปะครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 9:40 pm
โดย wanchai_jjj
Li Kim Hong เขียน:ว้าว เท่ากับกำไร ปี 55เพิ่มขึ้น 10% ทุกบริษัท
ไม่เสมอไปครับ ต้องคิดเรื่องค่าแรงที่เพิ่มขึ้นด้วย บริษัทที่กำไรน้อยและใช้แรงงานมาก จะลำบากมาก
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 10:20 pm
โดย potato
แล้วบริษัทที่ได้สิทธทางภาษีอยู่แล้วจะได้ประโยขน์มั้ยครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 10:30 pm
โดย My House
เฉพาะพวกที่เสียภาษี30%ครับที่จะได้ประโยชน์สูงสุด
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 12, 2011 12:13 am
โดย pakapong_u
มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- อังคารที่ 11 ตุลาคม 2554 15:25:49 น.
กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--กรมสรรพากร
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่11ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และให้ลดลงคงจัดเก็บอัตราร้อยละ 20ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
2. ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท ทั้งนี้ ได้เพิ่มเงื่อนไขในการได้รับสิทธิประโยชน์โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมข้างต้นต้องมีรายได้จากการประกอบกิจการขายสินค้าและการให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000บาทให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ15ของกำไรสุทธิสำหรับส่วนที่เกิน 150,000บาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นไปให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ23ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาทสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมข้างต้นมีทุนชำระแล้วเกินกว่าที่กำหนดหรือมีรายได้เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี และในปีต่อๆไปจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเดียวกับนิติบุคคลโดยทั่วไป
3. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เคยนำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะได้รับการลดอัตราเหลือร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และได้รับการลดอัตราเหลือร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
4. ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอโดยให้จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ๒๕๕๔ยกเว้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอที่ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี 2554 โดยจะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 เช่นเดิม
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า “มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการในประเทศนอกจากนั้น มาตรการนี้ยังจะช่วยดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นอันจะมีผลต่อการขยายฐานภาษีในระยะยาว และเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558ในส่วนผลกระทบของมาตรการภาษีข้างต้น คาดว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ประมาณ 52,500 ล้านบาท แต่มาตรการข้างต้นจะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาวซึ่งจะชดเชยกับรายได้ที่สูญเสียไป นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกระทรวงการคลังร่วมกันทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดรับกับสภาวการณ์และการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นการดูแลฐานภาษีเงินได้ของประเทศให้สอดคล้องกับการดำเนินการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในครั้งนี้
ดร. สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศข้างต้นนอกจากจะมีส่วนช่วยผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้แล้ว ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจ SMEs เติบโตอย่างมั่นคงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระด้านภาษีให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในขณะนี้ให้มีสภาพคล่องเพื่อใช้ในการฟื้นฟูกิจการมากยิ่งขึ้นโดยจะมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 เป็นต้นไป”
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 12, 2011 7:37 am
โดย wj
Li Kim Hong เขียน:ว้าว เท่ากับกำไร ปี 55เพิ่มขึ้น 10% ทุกบริษัท
เป็นไปไม่ได้ สุดท้ายมันต้องต่ำกว่า 10%
คิดมิติเดียวก็ได้ 10% แต่ถ้ารอบด้านแล้วไม่ใช่ครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 12, 2011 9:24 am
โดย amornd
แล้วกลุ่ม BOI จะเป็นอย่างไรครับ ?
แล้วลดภาษีนิติบุคคลแบบนี้ แสดงว่า กำไรอาจเยอะขึ้น > ปันผลอาจเยอะขึ้น > แต่เครดิตภาษีได้น้อยลง ?
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 12, 2011 7:44 pm
โดย sorawut
3. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เคยนำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะได้รับการลดอัตราเหลือร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และได้รับการลดอัตราเหลือร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
หมายความว่าเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่เสียภาษี 25% เท่านั้นที่จะได้รับการลดหรือเปล่าครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 12, 2011 11:09 pm
โดย sai
ถือเป็นข่าวดีมากเลยนะครับ เพราะถือว่าเปลี่ยนแปลงในส่วนของกระแสเงินสดระยะยาวของหุ้นหลายหลายตัวไปเลย (ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของหุ้นหลายตัวที่เสียภาษี 30 เปอร์เซ็นต์เยอะเลยครับ เพราะทำให้กระแสเงินสดอิสระที่เรานำไปใช้คำนวณ DCF เพิ่มขึ้นทันที ) และ ทำให้นิติบุคคลในไทยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งขันได้อีกมากเลยครับ พอดีเมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อนได้ฟังคุณทักษิณ คุยในประเด็นนี้เช่นเดียวกันครับ ขอเอามาแชร์เล็กน้อยนะครับ คุณทักษิณ เล่าว่า การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว เป็นแผนการปรับโครงสร้างทางภาษี ก่อนที่ เออีซีจะมาถึงครับ (1 มกราคม 2558 ) เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใน เออีซี ครับ ตามชาร์ตด้านล่างเลยครับ
photo1.jpg
ดังนัั้นเมื่อมีการเปิดเสรีสมาคมอาเซี่ยนขึ้นแล้ว และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า และ เงินทุนโดยเสรี โดยไม่มีอากรขาเข้าของแต่ละประเทศ จะทำให้นิติบุคคลไทย มีต้นทุนทางภาษีที่สูงกว่า และ ทางด้านการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศ ก็จะไม่ทำให้เป็นข้อเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านด้วยครับ (ถือเป็นการแข่งขันทางภาษี รูปแบบหนึ่งครับ )
ประเด็นถัดมาที่ผมเชื่อว่ารัฐบาลจะทำคือ การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของฐานภาษี (มิเช่นนั้น จะเกิดกรณี เจ้าของบริษัท ให้เงินเดือนตัวเองสูงขึ้น และทำให้กำไรที่เป็นส่วนของบริษัทลดลง จะได้เสียภาษีโดยรวมลดลงครับ จะเห็นว่า ฐานภาษีบุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของเราอยู่ที่ 37 % ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นสูงสุดของเราจะอยู่ที่ 30 % แต่เมื่อนำกำไรมาจ่ายปันผลจะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ. ที่จ่ายอีก 10 % ของกำไร ทำให้เรทภาษีจะเป็น 37 % เท่ากันเป๊ะ ก็มาจากเหตุนี้ล่ะครับ ) และ ลดแรงจูงใจในกรณีที่แรงงานฝีมือ เกิดการย้ายไปทำงานในประเทศอื่นอื่น (จริงจริง คือคนที่มีความรู้ความสามารถมากมากนั่นล่ะครับ เช่น แพทย์ พยาบาล นักบัญชี เป็นต้น จากข้อมูลที่ผมมี แพทย์ และ นักบัญชี ที่สิงค์โปรมีรายได้สูงกว่าประเทศเราถึง 3 เท่า แถมอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นั่นก็เสียอัตราสูงสุดเพียง 20 % เท่านั้นเองครับ ) ซึ่งหากมีการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจริง ก็จะเพิ่มอำนาจซื้อส่วนหนึ่งกับ ชนชั้นกลางของเราอีกมากพอควรครับ อ่อ ลืมไป ชาร์ตอีกอันหนึ่งครับ ที่แสดงถึงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเราที่อยู่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ครับ
aec.jpg
หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า หากรัฐบาลลดภาษีทั้งสองส่วนนี้จริงจริง อาจทำให้รายได้ของรัฐ ลดไปจำนวนมาก จะชดเชยจากตรงไหนได้บ้าง ส่วนมากนักวิชาการจะเดาว่า ก็ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสิ เพราะตอนนี้ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มของเราต่ำมากมาก มีประเทศที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าเราเพียง 4 ประเทศในโลกนี้เอง ตามชาร์ตด้านล่างครับ
aec1.jpg
แต่โดยส่วนตัวผม จากที่ติดตามแนวนโยบายของคุณทักษิณ มานานพอสม ควรนะครับ ผมมักจะเห็นคุณทักษิณ มักยึดแนวทางของ ลีกวนยู หรือสิงค์โปรเป็นแบบอย่างมาโดยตลอด ประเทศสิงค์โปร นั้นแนวนโยบายภาษีเค้านั้นจะ เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคลธรรมดาในระดับค่อนข้างต่ำ แถม เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราค่อนข้างต่ำ คือ 7 % เท่าเรานั่นเอง แต่เน้นการกระตุ้นการบริโภคภายใน หมุนให้หลายรอบเข้า (รอบละ 7 % ถ้าหมุนได้รอบครึ่ง ก็ได้จำนวนเงินภาษีเท่ากับการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10 % ประมาณนั้นครับ ) อย่างไรก็ดี ตามมติครม.วันที่ 3 ส.ค. 2553 มีการขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7 % ไปสองปีจนสิ้นสุด 30 ก.ย. 2555 ดังนั้น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนระยะเวลาข้างต้นคงไม่เกิดขึ้นแน่นอนครับ
สุดท้ายเท่าที่ตามข่าว ที่ผมติดตามระยะหลัง มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ที่ทางภาครัฐจะเลือกการปรับลดสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ BOI นั่นเองครับ เนื่องจาก การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ถือเป็นรายจ่ายภาษีอากร ของรัฐครับ จะเห็นจาก ตัวเลขที่ยกเว้น BOI ในปีงบประมาณ 2553 สูงถึง 201928 ล้านบาทเลยทีเดียว ( ถ้าลองเทียบไวไวจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีเดียวกันเท่ากับ 189381 ล้านบาท จะเห็นว่า ถ้าเราไม่มีรายจ่ายตรงนี้ รัฐบาลจะสามารถยกเลิกการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปเลย โดยไม่ทำให้รายได้ทางภาษีลดลงเลยครับ แต่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ แต่พูดให้เห็นภาพน่ะครับ แหะแหะ ) จะมองเห็นว่า สิทธิเหล่านี้ เป็นภาระทางการคลังค่อนข้างมาก และ ประเด็นสำคัญคือ BOI ค่อนข้างจะผิดจากหลักคิดตั้งต้นตอนจัดตั้งไปมากพอควรครับ แนวคิดตั้งต้นในปี 2523 นั้นประเทศเรามีการเริ่มเปิดประเทศจาก เกษตรกรรม มา สู่อุตสาหกรรมได้ระยะหนึ่งครับ (เราเริ่มมีแนวคิดจะผสมผสานประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ผสมกับ เกษตรกรรม เมือ 50 ปีก่อนครับ ) แต่ ติดปัญหาตรงเรายังขาดแคลนซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนยังไม่มีตลาดสำหรับสินค้าต่างต่าง รัฐบาลจึงเล็งเห็นว่า ควรมีการส่งเสริมการลงทุนบางประเภท โดยเฉพาะที่มีการลงทุนในเทคโนโลยีทันสมัย และต้องมีการจ้างงานด้วยแรงงานไทย เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของคนไทย โดยกำหนดประเภทกิจการไว้ 85 ประเภท จะเห็นว่า โครงการดังกล่าวมีหลักคิดที่ดี และ เป็นประโยชน์ต่อประเทศเราค่อนข้างมาก ติดตรง เราขาดการประเมิณ ว่าจากโครงการดังกล่าว เราได้โนวฮาว หรือ เทคโนโลยี อย่างที่เราต้องการหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น เป็น 243 ประเภทกิจการ กลายเป็น โปรโมชั่นเรียกคนมาลงทุนทางตรงประมาณนั้นครับ ตรงนี้ต้องติดตามว่า จะมีการปรับลดสิทธิประโยชน์หรือไม่ ลดอย่างไร บ้างครับ แต่ตรงนี้กระทบต่อมูลค่กิจการบางกิจการแน่นอนครับ
http://www.ryt9.com/s/iq03/1246991
ปล. คงต้องตามดูต่อครับ แต่นโยบายนี้ จะมีบริษัทจำนวนมากที่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ครับ ใครเจอกิจการที่ได้ประโยชน์ จากนโยบายดังกล่าว และ มีแนวโน้มเติบโตที่ดี พีเอ็มมาบอกกันบ้างนะครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 15, 2011 11:01 am
โดย sai
ขอสอบถามผู้รู้ทางภาษีเล็กน้อยสิครับ ในกรณีที่ บริษัทที่มีการประกอบการอยู่ต่างประเทศเป็นหลัก หรือ บริษัทที่มีบริษัทย่อยประกอบการอยู่ที่ต่างประเทศ เงินได้ที่ได้มาจากต่างประเทศก็จะไม่ได้เข้าเกณฑ์การลดหย่อนภาษีดังกล่าว ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 15, 2011 5:20 pm
โดย Green
สุดท้ายเท่าที่ตามข่าว ที่ผมติดตามระยะหลัง มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ที่ทางภาครัฐจะเลือกการปรับลดสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ BOI นั่นเองครับ เนื่องจาก การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ถือเป็นรายจ่ายภาษีอากร ของรัฐครับ จะเห็นจาก ตัวเลขที่ยกเว้น BOI ในปีงบประมาณ 2553 สูงถึง 201928 ล้านบาทเลยทีเดียว ( ถ้าลองเทียบไวไวจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีเดียวกันเท่ากับ 189381 ล้านบาท จะเห็นว่า ถ้าเราไม่มีรายจ่ายตรงนี้ รัฐบาลจะสามารถยกเลิกการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปเลย โดยไม่ทำให้รายได้ทางภาษีลดลงเลยครับ แต่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ แต่พูดให้เห็นภาพน่ะครับ แหะแหะ )
ถ้าเป็นจริง จะไม่มี BOI แล้ว ผมว่า น่าจะกระทบกับบริษัทที่เคย ได้ประโยชน์จากทาง BOI ที่มีอยู่เยอะพอสมควร
บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ที่มีการขายในหลายๆ ประเทศ อันนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะยังสามารถได้รับผลประโยชน์ทางภาษีจากการเป็น Regional Hubs ที่ไม่เสียภาษีในระยะเวลานึงได้อยู่ ถ้าไทยไม่สนับสนุนแล้ว ก็ยังมีสิงค์โปร์ ที่เค้ายังให้ทำอยู่ เพียงแค่โยกกำไร ไปปูดที่ ที่ให้ภาษีต่ำๆ และทำให้กำไรน้อยๆ ในส่วนที่เสียภาษีแพงๆ
แต่บริษัทที่ตั้งใน ไทย ขาย ในไทยเป็นหลักเองด้วยกันนั้น ค่อยข้างจะยาก หากไร้ BOI แล้ว ก็กำไรก็คงหายไปส่วนหนึ่งเลยทีเดียว
Re: ครม.อนุมัติลดภาษีนิติบุุคคลเหลือ 23% ในปี 2555
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 15, 2011 11:44 pm
โดย sai
Green เขียน:สุดท้ายเท่าที่ตามข่าว ที่ผมติดตามระยะหลัง มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ที่ทางภาครัฐจะเลือกการปรับลดสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ BOI นั่นเองครับ เนื่องจาก การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ถือเป็นรายจ่ายภาษีอากร ของรัฐครับ จะเห็นจาก ตัวเลขที่ยกเว้น BOI ในปีงบประมาณ 2553 สูงถึง 201928 ล้านบาทเลยทีเดียว ( ถ้าลองเทียบไวไวจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีเดียวกันเท่ากับ 189381 ล้านบาท จะเห็นว่า ถ้าเราไม่มีรายจ่ายตรงนี้ รัฐบาลจะสามารถยกเลิกการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปเลย โดยไม่ทำให้รายได้ทางภาษีลดลงเลยครับ แต่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ แต่พูดให้เห็นภาพน่ะครับ แหะแหะ )
ถ้าเป็นจริง จะไม่มี BOI แล้ว ผมว่า น่าจะกระทบกับบริษัทที่เคย ได้ประโยชน์จากทาง BOI ที่มีอยู่เยอะพอสมควร
บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ที่มีการขายในหลายๆ ประเทศ อันนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะยังสามารถได้รับผลประโยชน์ทางภาษีจากการเป็น Regional Hubs ที่ไม่เสียภาษีในระยะเวลานึงได้อยู่ ถ้าไทยไม่สนับสนุนแล้ว ก็ยังมีสิงค์โปร์ ที่เค้ายังให้ทำอยู่ เพียงแค่โยกกำไร ไปปูดที่ ที่ให้ภาษีต่ำๆ และทำให้กำไรน้อยๆ ในส่วนที่เสียภาษีแพงๆ
แต่บริษัทที่ตั้งใน ไทย ขาย ในไทยเป็นหลักเองด้วยกันนั้น ค่อยข้างจะยาก หากไร้ BOI แล้ว ก็กำไรก็คงหายไปส่วนหนึ่งเลยทีเดียว
ผมเองก็ไม่ได้คิดว่า จะไม่มี boi แล้วครับ แต่ติดตามจากการให้สัมภาษณ์ล่าสุดของ รมต.คลัง เข้าใจว่า น่าจะมีการทบทวนในส่วนของสิทธิประโยชน์ โดยไม่ได้มีการยกเลิกสำหรับผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้สิทธิไปแล้วครับ สำหรับการยื่นขอใหม่นั้น จะมี การลดระยะเวลาการให้สิทธิทางภาษีจากเดิมอัตรา 0 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 8 ปีครับ และ จะมีการลดประเภทกิจการที่ส่งเสริมจากปัจจุบันราว 150 ประเภทครับ ไม่ทราบคุณ green พอมีข้อมูลส่งเสริมการลงทุนของประเทศต่างต่างในภูมิภาคอาเซี่ยนบ้างไหมครับ หรือหากทราบในกรณีของสิงค์โปร ช่วยแชร์หน่อยจักขอบพระคุณมากครับ ผมมีทำเก็บข้อมูลไว้นิดหน่อยครับ ข้อมูลพวกนี้หาได้ค่อนข้างยากจังเลยครับ ผมได้มาของสองประเทศที่อาจจะเป็นคู่แข่งของเราอยู่ เนื่องจากค่าแรงที่ผ่านมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกันครับ