http://www.vcharkarn.com/varticle/382
สารบัญ
หน้า : 1 เมื่อใช้บิ๊กแม๊คสะท้อนภาพอัตราแลกเปลี่ยน
หน้า : 2 ลองมาดูดัชนีบิ๊กแม็ค
หน้าที่ 1 - เมื่อใช้บิ๊กแม๊คสะท้อนภาพอัตราแลกเปลี่ยน
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ผู้อ่านหลายท่านอาจจะเป็นผู้ที่นิยมชมชอบการรับประทานแฮมเบอร์เกอร์ของร้าน McDonald ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก และคงได้มีโอกาสได้ชิมบิ๊กแม็กซึ่งเป็นแฮมเบอร์เกอร์สองชั้น อันเป็นอาหารอันลือชื่อของ McDonald กันมาแล้ว จนปัจจุบันบิ๊กแม๊คได้กลายเป็นอาหารที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วทุกมุมโลก และมีผู้บริโภคต่อวันนับล้านชิ้นทั่วโลก แต่อาจจะไม่ทราบว่าบิ๊กแม็คกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งมีผลกับเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีความสำคัญกับเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างไร อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือค่าที่จะบอกว่าค่าเงินของประเทศมีค่าอย่างไรเมื่อเทียบกับค่าเงินของอีกประเทศหนึ่ง เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทยกับเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ 38.5 บาท ต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ และจะเป็นเครื่องชี้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เป็นอย่างไร ประเทศที่มีค่าเงินที่แข็งแสดงว่ามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี และส่งออกสินค้าได้มาก (เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หรือประเทศที่เราเปรียบเทียบค่าเงินด้วย) ในกรณีนี้ค่าเงินบาทของเราก็มีแนวโน้มที่จะแข็งเกิน 38.5 บาท อาจจะกลายเป็น 38 บาท ในทางกลับกันประเทศที่มีค่าเงินอ่อน แปลว่ามีเศรษฐกิจที่อ่อนแอ มีการขยายตัวต่ำ และส่งออกไม่ได้ตามเป้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
คำถามที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลายคำถามหนึ่งคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า อัตราแลกเปลี่ยนใดเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ในเชิงทฤษฎีนั้น อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม คืออัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้อำนาจซื้อมีความทัดเทียมกัน (Purchasing Power Parity หรือ PPP) หมายความว่าในระยะยาวนั้น ราคาสินค้าในประเทศหนึ่ง จะต้องมีราคาเท่ากับสินค้าในอีกประเทศหนึ่ง เพราะประเทศที่มีราคาสินค้าต่ำ ก็จะขายสินค้าให้กับประเทศที่สินค้ามีราคาสูง จนกระทั่งราคาปรับมาเท่ากันในที่สุด อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปตามทฤษฎีดังกล่าวนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้ประสบปัญหาว่าจะเอากลุ่มสินค้าใด ที่เกือบทุกประเทศมี และมีความคล้ายคลึงกัน เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบที่จะทำให้ค่าที่ออกมาใกล้เคียงที่สุด
นิตยสาร The Economist ซึ่งเป็นนิตยสารด้านเศรษฐกิจ และการเงินระดับโลก ได้เกิดแนวความคิดที่แปลกในการหาสินค้าที่มีลักษณะดังกล่าว และได้เลือกเอาบิ๊กแม็คมาใช้ในการเปรียบเทียบ เพราะบิ๊กแม็คเป็นสินค้าที่มีการซื้อ – ขาย ถึง 120 ประเทศทั่วโลก และได้การจัดทำดัชนีบิ๊กแม็คมาครบ 25 ปีแล้ว เป็นที่น่าแปลกใจว่าดัชนีบิ๊กแม็คนี้นี้มีความแม่นยำในการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนแพ้วิธีการอื่นๆ
หน้าที่ 2 - ลองมาดูดัชนีบิ๊กแม็ค
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ตารางข้างล่างเป็นตารางของดัชนีบิ๊กแม็คปีล่าสุด (2006)
จากตารางข้างต้นวิธีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมก็ทำได้ง่ายๆ โดยเอาราคาบิ๊กแม็คที่สหรัฐอเมริกามาเป็นฐานในการเปรียบเทียบ ในที่นี้ราคาคือ 3.10 ดอลล่าห์สหรัฐ (ราคาในปัจจุบัน) จากนั้นก็เอาราคาบิ๊กแม็คของประเทศที่ต้องการเปรียบเทียบมาคำนวณ สมมติว่าคือประเทศไทย ราคาบิ๊กแม็คของไทยคือ 60 บาท หากเรายึดตามทฤษฎีอำนาจซื้อที่ทัดเทียมกัน คือบิ๊กแม็คของไทยและสหรัฐต้องมีราคาเท่ากัน เราจะพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมจะต้องเอาราคาบิ๊กแม็ค 60 บาท หารด้วย 3.10 ก็จะเท่ากับ 19.4 บาท ต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันค่าเงินบาทอยู่ที่ 38.4 บาท ต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีค่าอ่อนเกินไปถึง 50% หรือค่าเงินหยวนจีนที่มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง 58% ค่าเงินเยนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง 28% ฮ่องกงต่ำกว่าความเป็นจริง 50% และไต้หวันมีค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง 25% ซึ่งจะสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการค้าระหว่างประเทศ ที่ประเทศที่เน้นการส่งออกจะเน้นแนวนโยบายที่ให้ค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าห์สหรัฐ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการส่งออก เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ว่าสหรัฐอเมริกาคือผู้ที่มีแนวโน้มจะมีป่วยอาการหนักในทางเศรษฐกิจของโลก เพราะขาดดุลการค้ามหาศาล และต้องอาศัยการเรียกร้องให้แต่ละประเทศช่วยกันค่อยๆ ลดไขมันอันเนื่องมาจากการบริโภคที่เกินพอดี และไม่นิยมมีเงินออมของคนอเมริกัน ด้วยการให้ค่าเงินของประเทศคู่ค้าแข็งขึ้น เพื่อลดความได้เปรียบด้านดุลการค้าที่มีต่อสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศที่เป็นคู่ค้าก็กลัวการเสียเปรียบด้านการแข่งขัน จึงไม่ค่อยอยากจะเพิ่มค่าเงินของตนสักเท่าไหร่ ซึ่งคงจะทำให้สหรัฐอเมริกายังจะอยู่ในความเสี่ยงที่มีอาการป่วยยาวต่อไป และหากเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอะไรไปคงจะมีผลกระทบกันทุกหย่อมหญ้า
ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกจาก Imperial College of Science, Technology and Medicine มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็น CEO บริษัท Hroyy Inc จำกัด และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
คร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจเทคโนโลยี เป็นนักวิชาการอิสระ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวด้านนี้ได้อย่างน่าฟัง จากประสบการณ์จริง ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตร MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วิทยาลัยนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ เป็นอีกหนึ่งท่าน ที่ขอเป็นอีกแรง ช่วยผลักดัน การเผยแพร่เรื่องราวดีๆ สู่ประเทศไทย ผ่านวิชาการ.คอม
หนังสือที่เขาขาย
http://us.macmillan.com/thebigmacindex/LiLianOng
The Big Mac Index
Applications of Purchasing Power Parity
Li Lian Ong
Palgrave Macmillan, May 2003
ISBN: 978-1-4039-0310-5, ISBN10: 1-4039-0310-7,
5 1/2 x 8 1/4 inches, 143 pages,
Hardcover $120.00
his book demonstrates the applications of Purchasing Power Parity (PPP) in exchange rate determination as well as more practical applications of salary comparison and the cost-of living across borders. It usesThe Economist's annual Big Mac Index in place of the traditional basket of services used in PPP research. The author demonstrates that this is a good solution to the index-number problem since it is readily available and more appealing as an international monetary standard. The book also shows how The Big Mac Index could have been used to predict the Asian Currency Crisis and the Mexican Peso stand-off where more traditional economic measures failed.
Praise
The survey chapters, articles, and references will be valuable to anyone interested in purchasing power parity."--E. Kacapyr, Choice
About the Author(s)
Li Lian Ong
Li Lian Ong is Senior Analyst, Macquarie Bank.
Table of Contents
Purchasing Power Parity: A Survey of the Issues * The Growing Evidence on Purchasing Power Parity * The Economics of the Big Mac Standard * Burgernomics and the ASEAN Currency Crisis * Big Macs and Wages To Go: Comparing the Purchasing Power of Earnings Around the World * Professors and Hamburgers