มารู้จัก graphene กัน
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 03, 2011 10:09 am
กราฟีน (Graphene) คืออะไร?
กราฟีน เป็นวัสดุที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเรียงตัวกันในสองมิติ ที่มีโครงสร้างเป็นรูปตาข่ายรวงผึ้ง (รูปที่ 1) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของวัสดุคาร์บอนที่มีรูปแบบโครงสร้าง (Allotropic forms) ชนิดอื่น เช่น ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotubes), ฟูลเลอรีน (Fullerenes) หรือบัคกี้บอล (Buckyballs) และกราไฟต์ (Graphite) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไส้ดินสอนั่นเอง (รูปที่2) กราฟีนถูกค้นพบโดยกลุ่มนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester University) ในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2004 นำโดย Andre Geim และ Kostya Novoselov เริ่มต้นจากกราไฟต์ที่ประกอบด้วยชั้นของกราฟีนซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาล์ว (Van der Waals) และใช้เทคนิคที่เรียกว่า Micromechanical cleavage ดึงแผ่นกราฟีนให้มีความหนาเพียง 1 อะตอม แผ่นกราฟีนที่ได้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างมาก มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะหรือสารกึ่งตัวนำชนิดอื่นมากแม้ที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากอนุภาคพาหะในแผ่นกราฟีนมีสปิน 1/2 เคลื่อนที่แบบบอลลิสติก (Ballistic transport) หรือเคลื่อนที่โดยไม่มีการชนกันของอนุภาค และมีอัตราเร็วใกล้แสงประมาณ 1 ใน 300 เท่าของอัตราเร็วแสง และสามารถควบคุมความหนาแน่นของอนุภาคพาหะได้โดยการให้ความต่างศักย์ผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวกราฟีน กราฟีนยังสามารถนำความร้อนได้ดีเนื่องจากโครงสร้างที่เกิดจากการเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้มีความคาดหวังว่า กราฟีนจะเป็นวัสดุชนิดใหม่ที่จะนำมาทดแทนซิลิกอนในการสร้างอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทดิสเพล ฟิลเอฟเฟ็คทรานซิสเตอร์ (Field Effect Transistor; FET) ที่มีความเร็วสูง และควอนตัมดอทคอมพิวเตอร์ (Quantum-dot computer) เป็นต้น
ความเห็นส่วนตัว กราฟีนน่าจะเป็นอนาคตทางหนึ่งที่จะนำมาทำเป็นเซลล์แสงอาทิตย์แทนซิลิคอนนะครับ และเป็นส่วนประกอบของแผ่นวงจรคอมพิวเตอร์ทั้งหลายแทนทองแดงได้เลย
ดูประโยชน์ของมันซีครับ
ขอโทษถ้าคลิปดูไม่ได้ ก็เอาลิ้งค์ไปเลยแระกัน
http://www.youtube.com/watch?v=-YbS-Yyv ... re=related
กราฟีน เป็นวัสดุที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเรียงตัวกันในสองมิติ ที่มีโครงสร้างเป็นรูปตาข่ายรวงผึ้ง (รูปที่ 1) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของวัสดุคาร์บอนที่มีรูปแบบโครงสร้าง (Allotropic forms) ชนิดอื่น เช่น ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotubes), ฟูลเลอรีน (Fullerenes) หรือบัคกี้บอล (Buckyballs) และกราไฟต์ (Graphite) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไส้ดินสอนั่นเอง (รูปที่2) กราฟีนถูกค้นพบโดยกลุ่มนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester University) ในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2004 นำโดย Andre Geim และ Kostya Novoselov เริ่มต้นจากกราไฟต์ที่ประกอบด้วยชั้นของกราฟีนซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาล์ว (Van der Waals) และใช้เทคนิคที่เรียกว่า Micromechanical cleavage ดึงแผ่นกราฟีนให้มีความหนาเพียง 1 อะตอม แผ่นกราฟีนที่ได้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างมาก มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะหรือสารกึ่งตัวนำชนิดอื่นมากแม้ที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากอนุภาคพาหะในแผ่นกราฟีนมีสปิน 1/2 เคลื่อนที่แบบบอลลิสติก (Ballistic transport) หรือเคลื่อนที่โดยไม่มีการชนกันของอนุภาค และมีอัตราเร็วใกล้แสงประมาณ 1 ใน 300 เท่าของอัตราเร็วแสง และสามารถควบคุมความหนาแน่นของอนุภาคพาหะได้โดยการให้ความต่างศักย์ผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวกราฟีน กราฟีนยังสามารถนำความร้อนได้ดีเนื่องจากโครงสร้างที่เกิดจากการเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้มีความคาดหวังว่า กราฟีนจะเป็นวัสดุชนิดใหม่ที่จะนำมาทดแทนซิลิกอนในการสร้างอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทดิสเพล ฟิลเอฟเฟ็คทรานซิสเตอร์ (Field Effect Transistor; FET) ที่มีความเร็วสูง และควอนตัมดอทคอมพิวเตอร์ (Quantum-dot computer) เป็นต้น
ความเห็นส่วนตัว กราฟีนน่าจะเป็นอนาคตทางหนึ่งที่จะนำมาทำเป็นเซลล์แสงอาทิตย์แทนซิลิคอนนะครับ และเป็นส่วนประกอบของแผ่นวงจรคอมพิวเตอร์ทั้งหลายแทนทองแดงได้เลย
ดูประโยชน์ของมันซีครับ
ขอโทษถ้าคลิปดูไม่ได้ ก็เอาลิ้งค์ไปเลยแระกัน
http://www.youtube.com/watch?v=-YbS-Yyv ... re=related