หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 7:55 pm
โดย thaloengsak
ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์
บรรยง วิทยวีรศักดิ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 517 เขียนไว้ว่า ปล้น ก. ใช้กำลังลอบมาหักโหมแย่งชิงเอาโดยไม่รู้ตัว เช่น ปล้นเมือง, ( กฎ) คุมพวกมีอาวุธครบมือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แย่งชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความบังอาจ"

ในอดีตเราได้ยินแต่เรื่องของเจ้าสัวที่ผ่องถ่ายทรัพย์สินออกจากบริษัทแบบทิ้งทวน ก่อนปล่อยให้บริษัทล้มไป แต่จะมีใครสักกี่คน ที่ตระหนักว่า ทุกวันนี้ ในตลาดหลักทรัพย์ ยังมีการยักยอกและผ่องถ่ายทรัพย์สินจากบริษัทจดทะเบียนอย่างสนุกมือ ทำตัวเหมือนขุนโจรที่ปล้นชิงทุกอย่างจากผู้ถือหุ้น โดยไม่แยแสต่อกฎหมายบ้านเมือง

ทำไม เขาต้องผ่องถ่ายทรัพย์สินออกจากบริษัทของเขาเอง ทั้งๆ ที่เขาถือหุ้นใหญ่อยู่ตั้ง 50% ของทุนจดทะเบียน และตัวบริษัทเองก็ยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

เหตุผลง่ายๆ คือ ถ้าบริษัททำกำไรได้มาก กำไรที่เกิดขึ้นจำต้องถูกแบ่งให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเขาผ่องถ่ายทรัพย์สินออกมา เงินส่วนนี้จะตกเป็นของเขา 100% ไม่ต้องแบ่งให้ใคร

ตัวอย่างเช่นแทนที่บริษัทจะทำกำไรได้ 400ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ 50% จะได้รับส่วนแบ่ง 200 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รวมกัน 200 ล้านบาท ( สมมติว่าปันผล 100% ของกำไรสุทธิ) แต่ถ้าเขายักยอกออกมาได้ 200 ล้านบาท กำไรสุทธิของบริษัทจะลดลงเหลือ 200 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะได้ส่วนแบ่งเพียง 100 ล้านบาท ที่เหลืออีก 100 ล้านบาท จะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เมื่อรวมกับเงินที่ยักยอกล้านบาท ทำให้ปีนั้นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับผลตอบแทนถึง 300 ล้านบาท

บริษัทจำพวกนี้ มักเป็นบริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็ก หุ้นส่วนใหญ่อยู่ในมือกลุ่มคนหรือตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เจ้าของมีอำนาจเต็มในการบริหาร ธุรกิจของบริษัทไม่โดดเด่น ผู้บริหารบริษัทไม่ได้ตั้งใจจะบริหารกิจการให้เติบโตรุดหน้าอย่างจริงจัง หวังแต่จะเกาะกิน ยักยอกทรัพย์สินของบริษัท ดุจดั่งกาฝากดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ใหญ่ ขณะเดียวกัน ต้องประคับประคองให้บริษัทยังดำรงอยู่ได้ เพื่อตนเองจะได้ใช้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำกอบโกยให้ได้มากที่สุด

การที่ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทลดลง จากค่าใช้จ่ายที่ถูกทำให้สูงขึ้น ดังนั้นเวลาเศรษฐกิจดี บริษัทเหล่านี้จะแสดงผลกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ไม่จ่ายเงินปันผล หรือหากจ่ายก็จ่ายเพียงเล็กน้อย เพราะไม่ยอมแบ่งความมั่งคั่งให้กับใคร

เว้นแต่เวลาภาวะตลาดกระทิง เจ้าของอาจอยากทำกำไรจากหุ้นของตนบ้าง ก็จะตบแต่งบัญชีให้ดูดีสักไตรมาสหนึ่ง ใช้ข่าวภายในไล่ราคาหุ้นแล้วปล่อยขายทำกำไร พอไตรมาสต่อมา บริษัทกลับแสดงภาวะขาดทุน

เนื่องจากก่อนหน้านั้นเป็นเพียงการโยกกำไรและค่าใช้จ่ายระหว่างไตรมาสนั่นเอง

แต่ถ้าเจ้าของบริษัทมีโปรเจคใหญ่ที่ต้องใช้เงินของบริษัทไปลงทุนเพิ่ม เขาจะใช้กำลังภายใน ทำงบการเงินให้กำไรสักสองไตรมาส เพื่อให้นักลงทุนเชื่อว่า บริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการจนมีเสถียรภาพ กลายเป็นหุ้นAROUND ตัวใหม่แล้ว เจ้าของจะเข้ามาไล่ราคา จากนั้นจะประกาศเพิ่มทุน พร้อมกับสร้างฝันให้นักลงทุนว่า ธุรกิจของบริษัทกำลังไปได้ดี มีใบคำสั่งซื้อล่วงหน้ารออยู่จำนวนมากจนผลิตไม่ทัน หากนำเงินเพิ่มทุนไปซื้อเครื่องจักร เพิ่มกำลังผลิต จะได้ผลตอบแทนคุ้มค่ามหาศาล

เมื่อเพิ่มทุนสำเร็จ แทนที่จะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนเพิ่มกำลังผลิต กลับนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ส่อเค้าว่าเอื้อประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ งบการเงินที่เคยถูกบิดเบือนสองไตรมาส เริ่มเปิดเผยภาพความเป็นจริงให้ปรากฏ กว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยจะรู้ตัว รายใหญ่ก็ขายหุ้นออกไปเยอะแล้ว ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ได้เงินของรายย่อยมาลงทุนเพิ่ม ขณะเดียวกันก็ปั่นหุ้นขายได้ราคางาม

นักลงทุนที่เล่นหุ้นมานานคงจะคุ้นเคยเรื่องทำนองนี้ เพราะบริษัทที่มีพฤติกรรมทำนองนี้ มีกระจายอยู่ในแทบทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตร กลุ่มการเงิน กลุ่มสื่อสาร กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหาร กลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มโรงแรม กลุ่มบรรจุภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสิ่งทอ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นไม่มีสภาพคล่อง แต่นานๆ จะถูกนำมาจุดพลุสร้างราคา เป็นรอบๆ ไป

คราวนี้มาดูว่า เขาปล้นเงินของบริษัทอย่างไร

ความที่เขาต้องใช้บริษัทเป็นเหยื่อ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ในการทำมาหากินอีกนาน การปล้นจึงต้องกระทำอย่างเงียบเชียบแนบเนียน หากไม่ใช่ผู้สอบบัญชีหรือกรรมการตรวจสอบจะไม่มีทางรู้เลยว่า ในงบการเงินมีการปกปิดรายการเกี่ยวโยง หรือรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ซ่อนไว้

ต่อไปนี้ คือวิธีปล้นของเขา

1.ตั้งบริษัทดัมมี่ขึ้นมาขายสินค้าและบริการให้บริษัท โดยบริษัทดัมมี่นี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน สินค้าหรือวัตถุดิบที่ขายให้กับบริษัทนั้น ราคาสูงกว่าท้องตลาด 10-30% ผู้บริหารมักอ้างว่าวัตถุดิบที่อื่นไม่ได้มาตรฐาน ราคาวัตถุดิบที่ซื้อมา ราคาอาจสูงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย แต่สบายใจได้ว่ามีมาตรฐานสูงกว่า ซึ่งในความเป็นจริงหากตรวจสอบให้ละเอียด จะพบว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบเป็นแหล่งเดียวกัน เพียงแต่มาบรรจุหีบห่อใหม่ ( REPACK) แล้วเพิ่มราคาเข้าไป แค่นี้ก็สามารถสร้างแหล่งรายได้ประจำให้ผู้บริหารบริษัทแล้ว

ความจริงรายการพวกนี้ถือเป็นรายการเกี่ยวโยง ต้องขอเสียงรับรองจากผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่เนื่องจากมันเป็นรายการย่อยๆ ที่ทยอยเกิดขึ้นกัน บริษัทจึงไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้ตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นทราบ กลายเป็นน้ำซึมบ่อทรายไหลเข้ากระเป๋าเจ้าของบริษัท ซึ่งถ้าหากเป็นแค่ตาน้ำซึม ตาเดียวยังพอรับได้ แต่หากสืบสาวลึกลงไปจะพบว่าสินค้าเกือบทุกชนิด หรือแม้แต่บริการ พวกรักษาความปลอดภัย, รับส่งสินค้า ล้วนแต่จัดซื้อจัดหาจากบริษัทดัมมี่ หรือบริษัทนายหน้ากินหัวคิวของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสิ้น

ถ้าเป็นอย่างนี้จะให้บริษัทเพิ่มความสามารถ ลดต้นทุนเพื่อไปแข่งขันกับบริษัทอื่นคงลำบาก ภาพที่เกิดขึ้น จึงเป็นการประคับประคองธุรกิจให้พออยู่ได้ ซึ่งการทุจริตลักษณะนี้ก็มีให้เห็นในแวดวงนักการเมืองเหมือนกัน เช่น กรณีโกงปุ๋ย โกงควาย หรือโกงพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ก็ไม่รู้ว่าใครเลียนแบบใคร

2.ตั้งบริษัทในเครือรับช่วงขายสินค้าให้บริษัท ถ้าบริษัทลูกที่ตั้งใหม่มีบริษัทแม่ถือหุ้น 100% ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บริษัทแม่กลับถือหุ้นในบริษัทลูกเพียง 10% อีก 90% ถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นใหญ่ เสมือนบริษัทผลิตสินค้าแล้วป้อนกำไรให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงที่ เพราะแทนที่บริษัทจะขายสินค้าเองได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย กลับแต่งตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมารับช่วงขายสินค้าให้ อ้างว่าบริษัทแม่ไม่มีความชำนาญในการกระจายสินค้า แล้วมีข้อตกลงแบ่งกำไรหรือจ่ายค่าทำตลาดให้บริษัทลูกในอัตราที่สูงมาก

3.ลงบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท ตบแต่งบัญชีโดยนำค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่ของบริษัท เช่น ค่าเดินทาง, ค่ารับรอง, ค่าเช่า มาเบิกกับบริษัท หรือให้บริษัทส่วนตัวมาใช้ทรัพยากรของบริษัทแม่ เช่น ใช้ห้องทำงาน, ใช้บุคลากร, ใช้น้ำไฟโทรศัพท์ของบริษัทแม่ เพื่อทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้ต้นทุนดำเนินงานของบริษัทแม่สูงเกินความจริง กำไรที่ตามมาจึงลดน้อยไปตามลำดับ

4.ปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือ หากบริษัทเริ่มมีกำไรสะสมมากขึ้น แทนที่จะนำกำไรก้อนนี้ไปลงทุนเพิ่ม กลับนำไปปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทลูกหนี้นี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนเดียวกับเจ้าของบริษัทแม่ รายการนี้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้เป็นรายการเกี่ยวโยง ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นรายย่อยเพื่อโหวตเสียงอนุมัติ เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้น ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ใช้วิธีโอนหุ้นให้พนักงานผู้ใกล้ชิด ปลอมตัวเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อโหวตเสียงอนุมัติให้ปล่อยกู้จนสำเร็จ

หลังจากนั้น 2 ปี ก็มีข่าวจากบริษัทแม่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า เงินที่ปล่อยกู้นั้นมีแนวโน้มเป็นหนี้สูญ เพราะบริษัทลูกขาดทุนย่อยยับ ถามว่า ก่อนปล่อยกู้ ผู้บริหารบริษัทไม่เคยทำการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนหรือ จึงปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้

5.ลงทุนเพิ่มในบริษัทลูกแล้วถูกลดทุน กรณีนี้เริ่มปรากฏให้เห็นมากในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว ด้วยความที่ผู้ถือหุ้นใหญ่มีบริษัทในเครือมากมาย และธุรกิจเหล่านั้นประสบปัญหาเงินหมุนเวียนขนาดหนักจนถูกเจ้าหนี้

รุมฟ้องให้ชำระหนี้ เขาจะวิ่งเต้นให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้เจ้าหนี้พวกสถาบันการเงิน ช่วยลดดอก ลดเงินต้นให้ เจ้าหนี้เกรงว่าจะถูกหลอกให้ยืดเวลาการบังคับคดีออกไป เพราะไม่รู้ว่าเจ้าของหุ้นยังพร้อมที่จะฮึดสู้ บริหารธุรกิจต่อไปหรือไม่ จึงขอพิสูจน์ด้วยการให้เจ้าของหุ้นหาเงินมาก้อนหนึ่งเพื่อจ่ายหนี้คืนบางส่วน แล้วเจ้าหนี้จะลดเงินต้นและดอกเบี้ยให้

เจ้าของบริษัทไม่รู้จะหาเงินมาจากไหนตั้ง 1,000 ล้านบาท มองไปมองมา ก็เห็นแต่ช่องทางระดมทุนจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ตนเองเป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่นี่แหละ จึงประกาศเพิ่มทุน ระดมเงินทุนมาได้ 2,000- 3,000 ล้านบาท แบ่งไปเพิ่มกำลังผลิตเสีย 1,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือนำมาลงทุนในบริษัทลูกที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้ อ้างว่าจะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า

แต่เนื่องจากบริษัทลูกมีขาดทุนสะสมมากมาย เงินที่ใส่เข้าไปจึงไม่พอล้างขาดทุนสะสม ยอดขาดทุนสะสมยังหลงเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ผู้บริหารบริษัทจึงประกาศลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม อาจลดทุนจาก 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท เมื่อล้างขาดทุนสะสมจนหมดแล้ว เจ้าหนี้เริ่มให้ความเชื่อถือ ลดหนี้ให้ หรืออาจเพิ่มวงเงินหมุนเวียนให้ จนบริษัทแห่งนี้พร้อมเดินหน้าแล้ว เจ้าของบริษัทตัวแสบก็จะเข้ามาเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นส่วนตัวของตนปล่อยให้ผู้ที่ลงเงินเพิ่มทุนก่อนหน้านี้รับผลขาดทุนไปเต็มๆ

ผู้ที่รับกรรมก็คือรายย่อยที่อุตส่าห์เพิ่มทุนในบริษัทจดทะเบียน เพื่อหวังดอกผลจากการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงาน สุดท้ายเงินที่ใส่เข้าไปกลับถูกนำไปถลุงจนมีมูลค่าเพียง 1 ใน 10 ของเดิม บริษัทจดทะเบียนรับผลกรรมทันที ต้องลงบัญชีบันทึกผลขาดทุนจากเงินลงทุน หุ้นร่วงรับข่าวผลขาดทุนจำนวนมโหฬาร คนที่นั่งยิ้มคือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สามารถรักษาอาณาจักรธุรกิจของตนได้ กรณีนี้กำลังถูกจับตาใกล้ชิดจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งขอให้ติดตามผลกันต่อไป

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนคือ ถ้าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากยังมีผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เห็นแก่ได้ เอาแต่กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

และดูเหมือนว่า การกอบโกยผลประโยชน์จากบริษัทที่ตนบริหารอยู่ จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาเสียแล้ว มือใครยาวสาวได้สาวเอา หากทัศนคติเช่นนี้ยังดำรงอยู่ ก็ยากที่เราจะดึงนักลงทุนหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะกองทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพิ่มในประเทศไทย

ตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คงต้องรณรงค์เรื่องบรรษัทภิบาลมากขึ้นไปอีก ส่วนกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของแต่ละบริษัท คงต้องพิสูจน์ตนเองมากกว่านี้ อย่าให้คนเขาครหาได้ว่า แท้จริงแล้ว กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบไม่ได้เป็นใครอื่นเลยนอกจากผู้ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไว้ใจ แบ่งหุ้นให้และเลือกเข้ามาร่วมงานด้วย หาได้อิสระหรือเข้ามาตรวจสอบความผิดปกติได้จริง ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมที่ได้คิดกันไว้

มาช่วยกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องกันเถิด อย่าปล่อยให้โจรเสื้อนอกลอยนวล

ผมไม่เถียงว่า ที่ไหนๆ ก็มีโจร แต่ที่อดสงสัยไม่ได้ก็คือ มีคนเห็นโจรที่ตลาดหลักทรัพย์ปล้นคนซึ่งๆ หน้า แถมยังใส่สูทเดินไปเดินมา แต่ทำไมไม่มีใครจับ

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 8:14 pm
โดย blueplanet
เห็นด้วยครับ

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 8:29 pm
โดย birthboro
น่าเศร้าใจ :wall:

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 8:58 pm
โดย thalucoz
ขอบคุณครับผม :B

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 9:32 pm
โดย chukieat30
thaloengsak เขียน:ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์
บรรยง วิทยวีรศักดิ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 517 เขียนไว้ว่า ปล้น ก. ใช้กำลังลอบมาหักโหมแย่งชิงเอาโดยไม่รู้ตัว เช่น ปล้นเมือง, ( กฎ) คุมพวกมีอาวุธครบมือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แย่งชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความบังอาจ"

ในอดีตเราได้ยินแต่เรื่องของเจ้าสัวที่ผ่องถ่ายทรัพย์สินออกจากบริษัทแบบทิ้งทวน ก่อนปล่อยให้บริษัทล้มไป แต่จะมีใครสักกี่คน ที่ตระหนักว่า ทุกวันนี้ ในตลาดหลักทรัพย์ ยังมีการยักยอกและผ่องถ่ายทรัพย์สินจากบริษัทจดทะเบียนอย่างสนุกมือ ทำตัวเหมือนขุนโจรที่ปล้นชิงทุกอย่างจากผู้ถือหุ้น โดยไม่แยแสต่อกฎหมายบ้านเมือง

ทำไม เขาต้องผ่องถ่ายทรัพย์สินออกจากบริษัทของเขาเอง ทั้งๆ ที่เขาถือหุ้นใหญ่อยู่ตั้ง 50% ของทุนจดทะเบียน และตัวบริษัทเองก็ยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

เหตุผลง่ายๆ คือ ถ้าบริษัททำกำไรได้มาก กำไรที่เกิดขึ้นจำต้องถูกแบ่งให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเขาผ่องถ่ายทรัพย์สินออกมา เงินส่วนนี้จะตกเป็นของเขา 100% ไม่ต้องแบ่งให้ใคร

ตัวอย่างเช่นแทนที่บริษัทจะทำกำไรได้ 400ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ 50% จะได้รับส่วนแบ่ง 200 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รวมกัน 200 ล้านบาท ( สมมติว่าปันผล 100% ของกำไรสุทธิ) แต่ถ้าเขายักยอกออกมาได้ 200 ล้านบาท กำไรสุทธิของบริษัทจะลดลงเหลือ 200 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะได้ส่วนแบ่งเพียง 100 ล้านบาท ที่เหลืออีก 100 ล้านบาท จะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เมื่อรวมกับเงินที่ยักยอกล้านบาท ทำให้ปีนั้นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้รับผลตอบแทนถึง 300 ล้านบาท

บริษัทจำพวกนี้ มักเป็นบริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็ก หุ้นส่วนใหญ่อยู่ในมือกลุ่มคนหรือตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เจ้าของมีอำนาจเต็มในการบริหาร ธุรกิจของบริษัทไม่โดดเด่น ผู้บริหารบริษัทไม่ได้ตั้งใจจะบริหารกิจการให้เติบโตรุดหน้าอย่างจริงจัง หวังแต่จะเกาะกิน ยักยอกทรัพย์สินของบริษัท ดุจดั่งกาฝากดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ใหญ่ ขณะเดียวกัน ต้องประคับประคองให้บริษัทยังดำรงอยู่ได้ เพื่อตนเองจะได้ใช้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำกอบโกยให้ได้มากที่สุด

การที่ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทลดลง จากค่าใช้จ่ายที่ถูกทำให้สูงขึ้น ดังนั้นเวลาเศรษฐกิจดี บริษัทเหล่านี้จะแสดงผลกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ไม่จ่ายเงินปันผล หรือหากจ่ายก็จ่ายเพียงเล็กน้อย เพราะไม่ยอมแบ่งความมั่งคั่งให้กับใคร

เว้นแต่เวลาภาวะตลาดกระทิง เจ้าของอาจอยากทำกำไรจากหุ้นของตนบ้าง ก็จะตบแต่งบัญชีให้ดูดีสักไตรมาสหนึ่ง ใช้ข่าวภายในไล่ราคาหุ้นแล้วปล่อยขายทำกำไร พอไตรมาสต่อมา บริษัทกลับแสดงภาวะขาดทุน

เนื่องจากก่อนหน้านั้นเป็นเพียงการโยกกำไรและค่าใช้จ่ายระหว่างไตรมาสนั่นเอง

แต่ถ้าเจ้าของบริษัทมีโปรเจคใหญ่ที่ต้องใช้เงินของบริษัทไปลงทุนเพิ่ม เขาจะใช้กำลังภายใน ทำงบการเงินให้กำไรสักสองไตรมาส เพื่อให้นักลงทุนเชื่อว่า บริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการจนมีเสถียรภาพ กลายเป็นหุ้นAROUND ตัวใหม่แล้ว เจ้าของจะเข้ามาไล่ราคา จากนั้นจะประกาศเพิ่มทุน พร้อมกับสร้างฝันให้นักลงทุนว่า ธุรกิจของบริษัทกำลังไปได้ดี มีใบคำสั่งซื้อล่วงหน้ารออยู่จำนวนมากจนผลิตไม่ทัน หากนำเงินเพิ่มทุนไปซื้อเครื่องจักร เพิ่มกำลังผลิต จะได้ผลตอบแทนคุ้มค่ามหาศาล

เมื่อเพิ่มทุนสำเร็จ แทนที่จะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนเพิ่มกำลังผลิต กลับนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ส่อเค้าว่าเอื้อประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ งบการเงินที่เคยถูกบิดเบือนสองไตรมาส เริ่มเปิดเผยภาพความเป็นจริงให้ปรากฏ กว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยจะรู้ตัว รายใหญ่ก็ขายหุ้นออกไปเยอะแล้ว ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ได้เงินของรายย่อยมาลงทุนเพิ่ม ขณะเดียวกันก็ปั่นหุ้นขายได้ราคางาม

นักลงทุนที่เล่นหุ้นมานานคงจะคุ้นเคยเรื่องทำนองนี้ เพราะบริษัทที่มีพฤติกรรมทำนองนี้ มีกระจายอยู่ในแทบทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตร กลุ่มการเงิน กลุ่มสื่อสาร กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหาร กลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มโรงแรม กลุ่มบรรจุภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสิ่งทอ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นไม่มีสภาพคล่อง แต่นานๆ จะถูกนำมาจุดพลุสร้างราคา เป็นรอบๆ ไป

คราวนี้มาดูว่า เขาปล้นเงินของบริษัทอย่างไร

ความที่เขาต้องใช้บริษัทเป็นเหยื่อ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ในการทำมาหากินอีกนาน การปล้นจึงต้องกระทำอย่างเงียบเชียบแนบเนียน หากไม่ใช่ผู้สอบบัญชีหรือกรรมการตรวจสอบจะไม่มีทางรู้เลยว่า ในงบการเงินมีการปกปิดรายการเกี่ยวโยง หรือรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ซ่อนไว้

ต่อไปนี้ คือวิธีปล้นของเขา

1.ตั้งบริษัทดัมมี่ขึ้นมาขายสินค้าและบริการให้บริษัท โดยบริษัทดัมมี่นี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน สินค้าหรือวัตถุดิบที่ขายให้กับบริษัทนั้น ราคาสูงกว่าท้องตลาด 10-30% ผู้บริหารมักอ้างว่าวัตถุดิบที่อื่นไม่ได้มาตรฐาน ราคาวัตถุดิบที่ซื้อมา ราคาอาจสูงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย แต่สบายใจได้ว่ามีมาตรฐานสูงกว่า ซึ่งในความเป็นจริงหากตรวจสอบให้ละเอียด จะพบว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบเป็นแหล่งเดียวกัน เพียงแต่มาบรรจุหีบห่อใหม่ ( REPACK) แล้วเพิ่มราคาเข้าไป แค่นี้ก็สามารถสร้างแหล่งรายได้ประจำให้ผู้บริหารบริษัทแล้ว

ความจริงรายการพวกนี้ถือเป็นรายการเกี่ยวโยง ต้องขอเสียงรับรองจากผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่เนื่องจากมันเป็นรายการย่อยๆ ที่ทยอยเกิดขึ้นกัน บริษัทจึงไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้ตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นทราบ กลายเป็นน้ำซึมบ่อทรายไหลเข้ากระเป๋าเจ้าของบริษัท ซึ่งถ้าหากเป็นแค่ตาน้ำซึม ตาเดียวยังพอรับได้ แต่หากสืบสาวลึกลงไปจะพบว่าสินค้าเกือบทุกชนิด หรือแม้แต่บริการ พวกรักษาความปลอดภัย, รับส่งสินค้า ล้วนแต่จัดซื้อจัดหาจากบริษัทดัมมี่ หรือบริษัทนายหน้ากินหัวคิวของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสิ้น

ถ้าเป็นอย่างนี้จะให้บริษัทเพิ่มความสามารถ ลดต้นทุนเพื่อไปแข่งขันกับบริษัทอื่นคงลำบาก ภาพที่เกิดขึ้น จึงเป็นการประคับประคองธุรกิจให้พออยู่ได้ ซึ่งการทุจริตลักษณะนี้ก็มีให้เห็นในแวดวงนักการเมืองเหมือนกัน เช่น กรณีโกงปุ๋ย โกงควาย หรือโกงพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ก็ไม่รู้ว่าใครเลียนแบบใคร

2.ตั้งบริษัทในเครือรับช่วงขายสินค้าให้บริษัท ถ้าบริษัทลูกที่ตั้งใหม่มีบริษัทแม่ถือหุ้น 100% ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บริษัทแม่กลับถือหุ้นในบริษัทลูกเพียง 10% อีก 90% ถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นใหญ่ เสมือนบริษัทผลิตสินค้าแล้วป้อนกำไรให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงที่ เพราะแทนที่บริษัทจะขายสินค้าเองได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย กลับแต่งตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมารับช่วงขายสินค้าให้ อ้างว่าบริษัทแม่ไม่มีความชำนาญในการกระจายสินค้า แล้วมีข้อตกลงแบ่งกำไรหรือจ่ายค่าทำตลาดให้บริษัทลูกในอัตราที่สูงมาก

3.ลงบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท ตบแต่งบัญชีโดยนำค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่ของบริษัท เช่น ค่าเดินทาง, ค่ารับรอง, ค่าเช่า มาเบิกกับบริษัท หรือให้บริษัทส่วนตัวมาใช้ทรัพยากรของบริษัทแม่ เช่น ใช้ห้องทำงาน, ใช้บุคลากร, ใช้น้ำไฟโทรศัพท์ของบริษัทแม่ เพื่อทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้ต้นทุนดำเนินงานของบริษัทแม่สูงเกินความจริง กำไรที่ตามมาจึงลดน้อยไปตามลำดับ

4.ปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือ หากบริษัทเริ่มมีกำไรสะสมมากขึ้น แทนที่จะนำกำไรก้อนนี้ไปลงทุนเพิ่ม กลับนำไปปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทลูกหนี้นี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนเดียวกับเจ้าของบริษัทแม่ รายการนี้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้เป็นรายการเกี่ยวโยง ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นรายย่อยเพื่อโหวตเสียงอนุมัติ เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้น ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ใช้วิธีโอนหุ้นให้พนักงานผู้ใกล้ชิด ปลอมตัวเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อโหวตเสียงอนุมัติให้ปล่อยกู้จนสำเร็จ

หลังจากนั้น 2 ปี ก็มีข่าวจากบริษัทแม่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า เงินที่ปล่อยกู้นั้นมีแนวโน้มเป็นหนี้สูญ เพราะบริษัทลูกขาดทุนย่อยยับ ถามว่า ก่อนปล่อยกู้ ผู้บริหารบริษัทไม่เคยทำการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนหรือ จึงปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้

5.ลงทุนเพิ่มในบริษัทลูกแล้วถูกลดทุน กรณีนี้เริ่มปรากฏให้เห็นมากในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว ด้วยความที่ผู้ถือหุ้นใหญ่มีบริษัทในเครือมากมาย และธุรกิจเหล่านั้นประสบปัญหาเงินหมุนเวียนขนาดหนักจนถูกเจ้าหนี้

รุมฟ้องให้ชำระหนี้ เขาจะวิ่งเต้นให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้เจ้าหนี้พวกสถาบันการเงิน ช่วยลดดอก ลดเงินต้นให้ เจ้าหนี้เกรงว่าจะถูกหลอกให้ยืดเวลาการบังคับคดีออกไป เพราะไม่รู้ว่าเจ้าของหุ้นยังพร้อมที่จะฮึดสู้ บริหารธุรกิจต่อไปหรือไม่ จึงขอพิสูจน์ด้วยการให้เจ้าของหุ้นหาเงินมาก้อนหนึ่งเพื่อจ่ายหนี้คืนบางส่วน แล้วเจ้าหนี้จะลดเงินต้นและดอกเบี้ยให้

เจ้าของบริษัทไม่รู้จะหาเงินมาจากไหนตั้ง 1,000 ล้านบาท มองไปมองมา ก็เห็นแต่ช่องทางระดมทุนจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ตนเองเป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่นี่แหละ จึงประกาศเพิ่มทุน ระดมเงินทุนมาได้ 2,000- 3,000 ล้านบาท แบ่งไปเพิ่มกำลังผลิตเสีย 1,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือนำมาลงทุนในบริษัทลูกที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้ อ้างว่าจะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า

แต่เนื่องจากบริษัทลูกมีขาดทุนสะสมมากมาย เงินที่ใส่เข้าไปจึงไม่พอล้างขาดทุนสะสม ยอดขาดทุนสะสมยังหลงเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ผู้บริหารบริษัทจึงประกาศลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม อาจลดทุนจาก 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท เมื่อล้างขาดทุนสะสมจนหมดแล้ว เจ้าหนี้เริ่มให้ความเชื่อถือ ลดหนี้ให้ หรืออาจเพิ่มวงเงินหมุนเวียนให้ จนบริษัทแห่งนี้พร้อมเดินหน้าแล้ว เจ้าของบริษัทตัวแสบก็จะเข้ามาเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นส่วนตัวของตนปล่อยให้ผู้ที่ลงเงินเพิ่มทุนก่อนหน้านี้รับผลขาดทุนไปเต็มๆ

ผู้ที่รับกรรมก็คือรายย่อยที่อุตส่าห์เพิ่มทุนในบริษัทจดทะเบียน เพื่อหวังดอกผลจากการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงาน สุดท้ายเงินที่ใส่เข้าไปกลับถูกนำไปถลุงจนมีมูลค่าเพียง 1 ใน 10 ของเดิม บริษัทจดทะเบียนรับผลกรรมทันที ต้องลงบัญชีบันทึกผลขาดทุนจากเงินลงทุน หุ้นร่วงรับข่าวผลขาดทุนจำนวนมโหฬาร คนที่นั่งยิ้มคือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สามารถรักษาอาณาจักรธุรกิจของตนได้ กรณีนี้กำลังถูกจับตาใกล้ชิดจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งขอให้ติดตามผลกันต่อไป

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนคือ ถ้าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากยังมีผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เห็นแก่ได้ เอาแต่กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

และดูเหมือนว่า การกอบโกยผลประโยชน์จากบริษัทที่ตนบริหารอยู่ จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาเสียแล้ว มือใครยาวสาวได้สาวเอา หากทัศนคติเช่นนี้ยังดำรงอยู่ ก็ยากที่เราจะดึงนักลงทุนหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะกองทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพิ่มในประเทศไทย

ตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คงต้องรณรงค์เรื่องบรรษัทภิบาลมากขึ้นไปอีก ส่วนกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของแต่ละบริษัท คงต้องพิสูจน์ตนเองมากกว่านี้ อย่าให้คนเขาครหาได้ว่า แท้จริงแล้ว กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบไม่ได้เป็นใครอื่นเลยนอกจากผู้ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไว้ใจ แบ่งหุ้นให้และเลือกเข้ามาร่วมงานด้วย หาได้อิสระหรือเข้ามาตรวจสอบความผิดปกติได้จริง ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมที่ได้คิดกันไว้

มาช่วยกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องกันเถิด อย่าปล่อยให้โจรเสื้อนอกลอยนวล

ผมไม่เถียงว่า ที่ไหนๆ ก็มีโจร แต่ที่อดสงสัยไม่ได้ก็คือ มีคนเห็นโจรที่ตลาดหลักทรัพย์ปล้นคนซึ่งๆ หน้า แถมยังใส่สูทเดินไปเดินมา แต่ทำไมไม่มีใครจับ

เขียนได้ดีเลยครับ

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 22, 2011 9:55 pm
โดย pntrang
อ่านจนจบ ทำให้ผมนึกหุ้นแบบนี้ออกมาได้เลย :oops:

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 23, 2011 11:12 am
โดย champ412
pntrang เขียน:อ่านจนจบ ทำให้ผมนึกหุ้นแบบนี้ออกมาได้เลย :oops:
ผมขอรวมว่านอกจากจะเกาะกินแล้วยังเป็นที่ฝึกงานให้กับ ลูกชายสุดที่รักด้วย พอขาดทุนก็เพิ่มทุน

ปล เคยทำงานที่นี้ด้วยครับเลยเห็นอะไรค่อนข้างมาก เวลาประมูลงาน ซื้อของเข้าโน้นนี้

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 23, 2011 6:05 pm
โดย b4solid
บทความดีเยี่ยมเลย

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 23, 2011 9:52 pm
โดย OutOfMyMind
สำหรับนักลงทุนอย่างเรา ไปหวังให้รณรงค์เรื่องธรรมาภิบาล แล้วจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องทำนองนี้นั้น อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราคงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเราเอง ด้วยการยึดมั่นที่พื้นฐานของกิจการ และกระแสเงินสด ที่เราจะได้รับจริง ๆ จากการดำเนินงานของบริษัท อย่าไปหวังกับกำไรระยะสั้น หรือความหวังเกี่ยวกับอนาคต ต่าง ๆ นานา ที่ ผบห พยายามขายฝัน โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับพื้นฐานทางธุรกิจของบริษัทเลย

อะไรที่มันดูเหมือน too good to be true มันก็มักเป็น เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แก๊งตกทอง จึงได้พัฒนามาเป็น แก๊ง คอลลเซนเตอร์ และอนาคต มันก็คงมีรูปแบบใหม่เข้ามาอีก อาจจะเป็นแก๊งตกหุ้น ก็เป็นได้ :mrgreen: :mrgreen:

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 24, 2011 1:14 am
โดย Financeseed
เจอบ่อยมากเลยครับ ชอบบทความนี้มากๆครับ :D

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 24, 2011 1:27 pm
โดย atitus.b
รบกวนพี่ๆยกตัวอย่าง หุ้น ที่เข้าข่ายลักษณะนี้หน่อยได้มั้ยครับ

ผมพึ่งเริ่มลงทุนยังไม่ค่อยเจอหุ้นประเภทนี้ซักเท่าไหร่ หรือ PM มาให้ก็ได้ครับ อยากนำไปเป็นกรณีศึกษา :D

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 24, 2011 11:54 pm
โดย getkung
OutOfMyMind เขียน:สำหรับนักลงทุนอย่างเรา ไปหวังให้รณรงค์เรื่องธรรมาภิบาล แล้วจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องทำนองนี้นั้น อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราคงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเราเอง ด้วยการยึดมั่นที่พื้นฐานของกิจการ และกระแสเงินสด ที่เราจะได้รับจริง ๆ จากการดำเนินงานของบริษัท อย่าไปหวังกับกำไรระยะสั้น หรือความหวังเกี่ยวกับอนาคต ต่าง ๆ นานา ที่ ผบห พยายามขายฝัน โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับพื้นฐานทางธุรกิจของบริษัทเลย

อะไรที่มันดูเหมือน too good to be true มันก็มักเป็น เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แก๊งตกทอง จึงได้พัฒนามาเป็น แก๊ง คอลลเซนเตอร์ และอนาคต มันก็คงมีรูปแบบใหม่เข้ามาอีก อาจจะเป็นแก๊งตกหุ้น ก็เป็นได้ :mrgreen: :mrgreen:
ทำไมโพสพี่เค้ามี +1 แล้วอ่ะ อยากกดให้มั่ง

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2011 10:26 am
โดย kkwon
ขอบคุณครับ ตาสว่างขึ้นอีกเยอะเลย

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2011 10:48 am
โดย Ii'8N
เห็นกระทู้คล้ายๆ กัน ขออนุญาต เจ้าของกระทู้ link ไปหากันนะครับ ถือว่าเชื่อมโยงความรู้

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=48549

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 25, 2011 2:34 pm
โดย chootana
ขอบคุณครับ ช่วยเตือนสติได้เยอะเลย

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 26, 2011 8:54 am
โดย คลายเครียด
ผมเรียกมันว่า


"หุ้นสี่ขีด"



:twisted: :twisted: :twisted:

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 26, 2011 9:00 am
โดย ลูกอิสาน
เคยเห็นบางคนพูดไว้ว่า"ถ้าเห็นว่าเป็นขี่...ก็ไม่จำเป็นต้องเอามือไปจิ้มเพื่อพิสูจน์หรอก"
หุ้นแบบนี้ก็เช่นกัน
ที่จำเป็นคือเราต้องมีความรู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นแบบนั้น

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 26, 2011 9:28 am
โดย blackninja
เห็นด้วยครับ

Re: ปล้นเงียบ ! เหตุเกิดที่ตลาดหลักทรัพย์

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 26, 2011 9:32 am
โดย leotis
ขอบคุณมากครับ บทความดีมากๆ ช่วยเตือนสตินักลงทุนทุกคนเลย ครับ :o :o