มร.บู 'สุทัศน์ ขันเจริญสุข' ประธาน'ไทยวีไอ' สมาชิก 34,000 คน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2011 7:56 am
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
http://bit.ly/nMXnDV
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 18 กรกฎาคม 2554 01:00
มร.บู 'สุทัศน์ ขันเจริญสุข' ประธาน'ไทยวีไอ' สมาชิก 34,000 คน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สุทัศน์ ขันเจริญสุข แวลูอินเวสเตอร์
ภาพประกอบข่าว
เปิดตัว 'สุทัศน์ ขันเจริญสุข' ประธานรุ่นที่ 4 www.thaivi.com ผันตัวเองจากอาชีพพ่อค้าอุปกรณ์ในโรงงาน สู่ วีไอ พอร์ตหุ้นหลัก 'ร้อยล้าน'
เอ่ยชื่อ สุทัศน์ ขันเจริญสุข แวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) หลายคนอาจยังไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "Mr.BOO" หรือ "พี่บู" แล้ว พี่น้องชาว "ไทยวีไอ" ต่างก็ต้องร้องอ๋อ! ปัจจุบันสุทัศน์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานบอร์ด "รุ่นที่ 4" www.thaivi.com เว็บไซต์ที่มีจำนวนสมาชิกทั่วประเทศมากถึง 34,000 คน
นอกจากนี้ สุทัศน์ยังเป็นกรรมการ บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) ในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ RPC "ทางอ้อม" จำนวน 158.29 ล้านหุ้น สัดส่วน 29.87% ผ่าน บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด ซึ่งเขาและภรรยาถือหุ้นใหญ่
แม้ตัวเขาจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีพอร์ตใหญ่ระดับ "ร้อยล้านบาท" และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่สุทัศน์ก็เป็นประเภท Low Profile, High Profit แทบไม่มีใครเคยเห็นชื่อเขา ติดโผอยู่ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทต่างๆ โดยเขาจะลงทุนในชื่อของภรรยา ปริญญา ขันเจริญสุข และลงทุนผ่านบริษัทนอกตลาด
อย่างไรก็ตาม สไตล์การลงทุนของสุทัศน์ ก็เลือกเดินตามแนวทางแวลูอินเวอร์เตอร์ขนานแท้ หุ้นหลายๆ ตัวจากทั้งหมด 35 ตัวในพอร์ต ครอบครองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี บางตัวถือนานเป็น 10 ปี ซึ่งเขาบอกว่าหุ้นเหล่านี้ให้ผลตอบแทน "คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม"
โดยเฉพาะหุ้น เอ.เจ.พลาสท์ (AJ) ถือในชื่อภรรยาจำนวน 4,544,944 หุ้น สัดส่วน 1.15% หุ้น บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) ถือจำนวน 22,680,000 หุ้น คิดเป็น 2.93% หุ้น เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) ถือ 1,037,768 หุ้น สัดส่วน 0.99% หุ้น ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) หรือ CHUO ถืออยู่ 146,100 หุ้น สัดส่วน 1.30% และหุ้น ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) ถือผ่านภรรยา และทายาทอีกกว่า 15.80 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.99%
พอร์ตลงทุนที่เห็นแท้จริงยังเป็นเพียงแค่บางส่วน ความมั่งคั่งของสุทัศน์ แฝงอยู่ใน บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด (PICO) บริษัทแห่งนี้ขายเครื่องมือในกระบวนการผลิตในโรงงาน มีทุนจดทะเบียนเพียง 24.5 ล้านบาท แต่มีรายได้จากการขายสินค้าเฉลี่ยปีละ 400-500 ล้านบาท ปัจจุบัน เพทโทร-อินสตูรเมนท์ ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ RPC จำนวน 158.29 ล้านหุ้น สัดส่วน 29.87% มูลค่ากว่า 570 ล้านบาท โดยสุทัศน์และภรรยาถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้ประมาณ 80%
นอกจากนี้ บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ ยังมีการกระจายความเสี่ยงโดยนำผลกำไรของบริษัทในแต่ละปีที่เป็น "เงินเย็น" ไปต่อยอดลงทุนในหุ้นบริษัทต่างๆ เน้นกิจการที่สร้างผลตอบแทนให้อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันพอร์ตลงทุนของ PICO มีมูลค่าประมาณ 400-500 ล้านบาท ลงทุนในหุ้น ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หุ้น สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (SMT) หุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) รวมถึงหุ้น ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เมื่อได้รับเงินปันผลในแต่ละปี สุทัศน์ก็จะนำเงินกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมๆ เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้นทุกปี ตามหลักการลงทุนแบบ "ต้นทบดอก"
"ผลตอบแทนมหาศาล ที่จริงไม่จำเป็นต้องมาจากบริษัทจดทะเบียนเสมอไป บริษัทนอกตลาดหุ้นก็สามารถสร้างเงินให้คุณได้เช่นกัน หากรู้จักจัดสรรที่เหมาะสม" เขากล่าว
ย้อนประวัติประธานกลุ่มไทยวีไอ รุ่นที่ 4 ปัจจุบันเขามีอายุ 54 ปี ครอบครัวเติบโตมาจากอาชีพพ่อค้าขายเสื้อผ้าอุตสาหกรรมเล็กๆ ที่พ่อและแม่ยึดเป็นอาชีพหลัก เพื่อส่งลูกๆ เรียนหนังสือ ปัจจุบันพ่อเสียชีวิตไปแล้วเหลือเพียงแม่ชราวัย 81 ปี ที่ยังอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลาน
สุทัศน์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สายศิลปภาษา จากนั้นปี 2519 ก็จบปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปี 2528 ก็คว้าปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีลูก 2 คน ลูกสาวคนโตอายุ 24 ปี (พีระขวัญ ขันเจริญสุข) เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนลูกชายคนสุดท้องอายุ 22 ปี (วงศ์ทิวัฒิ ขันเจริญสุข) เรียนจบปริญญาตรี คณะการตลาด ตอนนี้กำลังไปศึกษาต่อด้านดีไซน์ ที่ประเทศอังกฤษ
สุทัศน์ ย้อนรอยถึงจุดเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดหุ้นให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า หลังเรียนจบ MBA ก็รู้สึก “ร้อนวิชา” จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อไปร่วมทุนกับพี่สาวและพี่เขย เปิดบริษัทเกี่ยวกับการนำเข้าเพชรจากต่างประเทศ ตอนนั้นปี 2530 ลงทุนไปประมาณ 250,000 บาท
พอทำงานไปได้สักพัก ก็เริ่มรู้สึกว่าแนวทางการทำงานไปด้วยกันไม่ได้ ตัวเองเป็นประเภทนักบริหารจ๋า แต่พี่สาวเป็นประเภทศิลปินจัด เพราะเขาจบมหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนั้นในปี 2532 จึงตัดสินใจถอนหุ้นออกมาทั้งหมดได้เงินคืนมาประมาณ 1.5 ล้านบาท
"ผมตัดสินใจนำเงินก้อนนั้นไปซื้อหุ้น เพทโท-อินสตรูเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวภรรยา ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือในการตรวจวัดในโรงงาน ตอนนั้นลงทุนไปราวๆ 30% สิ่งที่ได้คืนมาในแต่ละปี คือ "เงินปันผล" ถือว่าคุ้มค่ามาก และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมเห็นว่า เราควรแบ่งเงินไปซื้อหุ้นดีๆ สักตัวในตลาดหุ้น เพื่อรับส่วนต่างจากการลงทุนทั้งในแง่ของเงินปันผล และราคาหุ้น"
หลังจากคิดว่าตัวเองเข้าใจธุรกิจมาพอประมาณ เพราะเคยทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าเพชรมาแล้ว แถมยังเรียนจบปริญญาโทเอ็มบีเอ ก็เลยอยากใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ จึงตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น
"ผมก้าวขาเข้าตลาดหุ้นครั้งแรกตอนอายุ 30 ปี เงินก้อนแรกน่าจะแค่หลักหมื่นบาท จำไม่ได้ว่าซื้อตัวไหนไปบ้าง แต่น่าจะมีในพอร์ต 5-10 ตัว จำได้เพียงว่าตอนนั้น SET Index อยู่ราวๆ 300 จุด ช่วงนั้นเน้น “เดย์เทรด” ล้วนๆ เพราะเล่นไม่เป็น แต่ไม่เคยกลัว แม้จะเคยขาดทุนเป็นล้านๆ"
ลงทุนปีแรกๆ มิสเตอร์บู ยอมรับว่าขาดทุนหนักมาก เพราะตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง และตัวเองไม่ยอมทำบัญชีรายเดือน รายปี มารู้ตัวอีกทีพอร์ตก็ติดลบแล้ว อีกอย่างด้วยอายุขนาดนั้น เมื่อนำตัวเองเข้าไปอยู่ในห้องค้า อารมณ์ ความคึกคะนอง บวกกับความรู้ไม่ถ่องแท้ ทำให้ขาดทุนมากกว่ากำไร
แม้จะช้ำใจอย่างหนัก แต่ตอนนั้นก็ไม่คิดขายหุ้น แช่มันไว้เฉยๆ เล่นแบบนั้นในช่วงปี 2530-2540 แต่มูลค่าการลงทุนไม่มากเท่าไร ช่วงนั้นจำได้ว่าบริษัทที่สร้างผลตอบแทนให้มากที่สุด ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น แต่เป็นบริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ กิจการแห่งนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ (เร็ว) จนน่าตกใจ ตอนนั้นคิดในใจว่า “บริษัทที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เสมอไป”
“ผมเคยเจ็บปวดแสนสาหัสจากหุ้นตัวหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อ (พูดแล้วเจ็บใจ) โบรกเกอร์เชียร์ให้ซื้อบอกว่า เอาหัวเป็นประกัน..หุ้นไปแน่ ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายกินแห้วตามระเบียบ บทเรียนครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าในตลาดหุ้นเชื่อใครไม่ได้สักคน”
สำหรับการลงทุนที่ทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเงินก้อนเล็กๆ กลายเป็นหลักร้อยล้านบาท ล้วนมาจากเพทโทร-อินสตรูเมนท์ เขากล่าวว่า จุดเริ่มต้นความร่ำรวยเกิดขึ้นที่นี่ ปีๆ หนึ่งได้ผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 10-15% อย่างต่อเนื่อง บริษัทแห่งนี้ไม่ได้ขายเพียงเครื่องมือในการตรวจวัดในโรงงานเท่านั้น แต่ยังมีพอร์ตลงทุนที่ทรงพลัง และพอร์ตลงทุนก็เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี
หุ้นที่สร้างผลตอบแทนให้ เพทโท-อินสตรูเมนท์ อันดับหนึ่ง คือ หุ้นระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เพราะซื้อตั้งแต่บริษัทก่อตั้งใหม่ๆ ที่เหลือก็เป็นหุ้น ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หุ้น สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (SMT) และหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้ผลตอบแทนที่ “คุ้มค่ามากๆ”
สำหรับบุคคลต้นแบบในการลงทุน สุทัศน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีบุคคลต้นแบบในการลงทุน เพราะคนเรามีลักษณะนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนก็นำบทเรียนจากการทำธุรกิจมาลงทุน บ้างก็นำประสบการณ์ในอดีตมาเป็นครูสอนใจ แต่ส่วนตัวจะใช้หลักความเชื่อ และข้อมูลที่มีทั้งหมดมาประกอบการลงทุนต่างๆ มากกว่า
เรื่องราวของ สุทัศน์ ขันเจริญสุข ประธานกลุ่มไทยวีไอ ยังไม่จบ! สัปดาห์หน้าจะมาสอนวิธีจับปลา ทฤษฎีการลงทุนที่ไม่ซ้ำใคร บอกได้คำเดียวว่า “ไม่ธรรมดา”
http://bit.ly/nMXnDV
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 18 กรกฎาคม 2554 01:00
มร.บู 'สุทัศน์ ขันเจริญสุข' ประธาน'ไทยวีไอ' สมาชิก 34,000 คน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สุทัศน์ ขันเจริญสุข แวลูอินเวสเตอร์
ภาพประกอบข่าว
เปิดตัว 'สุทัศน์ ขันเจริญสุข' ประธานรุ่นที่ 4 www.thaivi.com ผันตัวเองจากอาชีพพ่อค้าอุปกรณ์ในโรงงาน สู่ วีไอ พอร์ตหุ้นหลัก 'ร้อยล้าน'
เอ่ยชื่อ สุทัศน์ ขันเจริญสุข แวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) หลายคนอาจยังไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "Mr.BOO" หรือ "พี่บู" แล้ว พี่น้องชาว "ไทยวีไอ" ต่างก็ต้องร้องอ๋อ! ปัจจุบันสุทัศน์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานบอร์ด "รุ่นที่ 4" www.thaivi.com เว็บไซต์ที่มีจำนวนสมาชิกทั่วประเทศมากถึง 34,000 คน
นอกจากนี้ สุทัศน์ยังเป็นกรรมการ บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) ในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ RPC "ทางอ้อม" จำนวน 158.29 ล้านหุ้น สัดส่วน 29.87% ผ่าน บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด ซึ่งเขาและภรรยาถือหุ้นใหญ่
แม้ตัวเขาจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีพอร์ตใหญ่ระดับ "ร้อยล้านบาท" และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่สุทัศน์ก็เป็นประเภท Low Profile, High Profit แทบไม่มีใครเคยเห็นชื่อเขา ติดโผอยู่ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทต่างๆ โดยเขาจะลงทุนในชื่อของภรรยา ปริญญา ขันเจริญสุข และลงทุนผ่านบริษัทนอกตลาด
อย่างไรก็ตาม สไตล์การลงทุนของสุทัศน์ ก็เลือกเดินตามแนวทางแวลูอินเวอร์เตอร์ขนานแท้ หุ้นหลายๆ ตัวจากทั้งหมด 35 ตัวในพอร์ต ครอบครองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี บางตัวถือนานเป็น 10 ปี ซึ่งเขาบอกว่าหุ้นเหล่านี้ให้ผลตอบแทน "คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม"
โดยเฉพาะหุ้น เอ.เจ.พลาสท์ (AJ) ถือในชื่อภรรยาจำนวน 4,544,944 หุ้น สัดส่วน 1.15% หุ้น บิซิเนส ออนไลน์ (BOL) ถือจำนวน 22,680,000 หุ้น คิดเป็น 2.93% หุ้น เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) ถือ 1,037,768 หุ้น สัดส่วน 0.99% หุ้น ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) หรือ CHUO ถืออยู่ 146,100 หุ้น สัดส่วน 1.30% และหุ้น ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) ถือผ่านภรรยา และทายาทอีกกว่า 15.80 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.99%
พอร์ตลงทุนที่เห็นแท้จริงยังเป็นเพียงแค่บางส่วน ความมั่งคั่งของสุทัศน์ แฝงอยู่ใน บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ จำกัด (PICO) บริษัทแห่งนี้ขายเครื่องมือในกระบวนการผลิตในโรงงาน มีทุนจดทะเบียนเพียง 24.5 ล้านบาท แต่มีรายได้จากการขายสินค้าเฉลี่ยปีละ 400-500 ล้านบาท ปัจจุบัน เพทโทร-อินสตูรเมนท์ ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ RPC จำนวน 158.29 ล้านหุ้น สัดส่วน 29.87% มูลค่ากว่า 570 ล้านบาท โดยสุทัศน์และภรรยาถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้ประมาณ 80%
นอกจากนี้ บริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ ยังมีการกระจายความเสี่ยงโดยนำผลกำไรของบริษัทในแต่ละปีที่เป็น "เงินเย็น" ไปต่อยอดลงทุนในหุ้นบริษัทต่างๆ เน้นกิจการที่สร้างผลตอบแทนให้อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันพอร์ตลงทุนของ PICO มีมูลค่าประมาณ 400-500 ล้านบาท ลงทุนในหุ้น ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หุ้น สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (SMT) หุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) รวมถึงหุ้น ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เมื่อได้รับเงินปันผลในแต่ละปี สุทัศน์ก็จะนำเงินกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมๆ เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้นทุกปี ตามหลักการลงทุนแบบ "ต้นทบดอก"
"ผลตอบแทนมหาศาล ที่จริงไม่จำเป็นต้องมาจากบริษัทจดทะเบียนเสมอไป บริษัทนอกตลาดหุ้นก็สามารถสร้างเงินให้คุณได้เช่นกัน หากรู้จักจัดสรรที่เหมาะสม" เขากล่าว
ย้อนประวัติประธานกลุ่มไทยวีไอ รุ่นที่ 4 ปัจจุบันเขามีอายุ 54 ปี ครอบครัวเติบโตมาจากอาชีพพ่อค้าขายเสื้อผ้าอุตสาหกรรมเล็กๆ ที่พ่อและแม่ยึดเป็นอาชีพหลัก เพื่อส่งลูกๆ เรียนหนังสือ ปัจจุบันพ่อเสียชีวิตไปแล้วเหลือเพียงแม่ชราวัย 81 ปี ที่ยังอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลาน
สุทัศน์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สายศิลปภาษา จากนั้นปี 2519 ก็จบปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปี 2528 ก็คว้าปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีลูก 2 คน ลูกสาวคนโตอายุ 24 ปี (พีระขวัญ ขันเจริญสุข) เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนลูกชายคนสุดท้องอายุ 22 ปี (วงศ์ทิวัฒิ ขันเจริญสุข) เรียนจบปริญญาตรี คณะการตลาด ตอนนี้กำลังไปศึกษาต่อด้านดีไซน์ ที่ประเทศอังกฤษ
สุทัศน์ ย้อนรอยถึงจุดเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดหุ้นให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า หลังเรียนจบ MBA ก็รู้สึก “ร้อนวิชา” จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อไปร่วมทุนกับพี่สาวและพี่เขย เปิดบริษัทเกี่ยวกับการนำเข้าเพชรจากต่างประเทศ ตอนนั้นปี 2530 ลงทุนไปประมาณ 250,000 บาท
พอทำงานไปได้สักพัก ก็เริ่มรู้สึกว่าแนวทางการทำงานไปด้วยกันไม่ได้ ตัวเองเป็นประเภทนักบริหารจ๋า แต่พี่สาวเป็นประเภทศิลปินจัด เพราะเขาจบมหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนั้นในปี 2532 จึงตัดสินใจถอนหุ้นออกมาทั้งหมดได้เงินคืนมาประมาณ 1.5 ล้านบาท
"ผมตัดสินใจนำเงินก้อนนั้นไปซื้อหุ้น เพทโท-อินสตรูเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวภรรยา ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือในการตรวจวัดในโรงงาน ตอนนั้นลงทุนไปราวๆ 30% สิ่งที่ได้คืนมาในแต่ละปี คือ "เงินปันผล" ถือว่าคุ้มค่ามาก และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมเห็นว่า เราควรแบ่งเงินไปซื้อหุ้นดีๆ สักตัวในตลาดหุ้น เพื่อรับส่วนต่างจากการลงทุนทั้งในแง่ของเงินปันผล และราคาหุ้น"
หลังจากคิดว่าตัวเองเข้าใจธุรกิจมาพอประมาณ เพราะเคยทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าเพชรมาแล้ว แถมยังเรียนจบปริญญาโทเอ็มบีเอ ก็เลยอยากใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ จึงตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น
"ผมก้าวขาเข้าตลาดหุ้นครั้งแรกตอนอายุ 30 ปี เงินก้อนแรกน่าจะแค่หลักหมื่นบาท จำไม่ได้ว่าซื้อตัวไหนไปบ้าง แต่น่าจะมีในพอร์ต 5-10 ตัว จำได้เพียงว่าตอนนั้น SET Index อยู่ราวๆ 300 จุด ช่วงนั้นเน้น “เดย์เทรด” ล้วนๆ เพราะเล่นไม่เป็น แต่ไม่เคยกลัว แม้จะเคยขาดทุนเป็นล้านๆ"
ลงทุนปีแรกๆ มิสเตอร์บู ยอมรับว่าขาดทุนหนักมาก เพราะตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง และตัวเองไม่ยอมทำบัญชีรายเดือน รายปี มารู้ตัวอีกทีพอร์ตก็ติดลบแล้ว อีกอย่างด้วยอายุขนาดนั้น เมื่อนำตัวเองเข้าไปอยู่ในห้องค้า อารมณ์ ความคึกคะนอง บวกกับความรู้ไม่ถ่องแท้ ทำให้ขาดทุนมากกว่ากำไร
แม้จะช้ำใจอย่างหนัก แต่ตอนนั้นก็ไม่คิดขายหุ้น แช่มันไว้เฉยๆ เล่นแบบนั้นในช่วงปี 2530-2540 แต่มูลค่าการลงทุนไม่มากเท่าไร ช่วงนั้นจำได้ว่าบริษัทที่สร้างผลตอบแทนให้มากที่สุด ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น แต่เป็นบริษัท เพทโทร-อินสตรูเมนท์ กิจการแห่งนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ (เร็ว) จนน่าตกใจ ตอนนั้นคิดในใจว่า “บริษัทที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เสมอไป”
“ผมเคยเจ็บปวดแสนสาหัสจากหุ้นตัวหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อ (พูดแล้วเจ็บใจ) โบรกเกอร์เชียร์ให้ซื้อบอกว่า เอาหัวเป็นประกัน..หุ้นไปแน่ ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายกินแห้วตามระเบียบ บทเรียนครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าในตลาดหุ้นเชื่อใครไม่ได้สักคน”
สำหรับการลงทุนที่ทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมหาศาลจากเงินก้อนเล็กๆ กลายเป็นหลักร้อยล้านบาท ล้วนมาจากเพทโทร-อินสตรูเมนท์ เขากล่าวว่า จุดเริ่มต้นความร่ำรวยเกิดขึ้นที่นี่ ปีๆ หนึ่งได้ผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 10-15% อย่างต่อเนื่อง บริษัทแห่งนี้ไม่ได้ขายเพียงเครื่องมือในการตรวจวัดในโรงงานเท่านั้น แต่ยังมีพอร์ตลงทุนที่ทรงพลัง และพอร์ตลงทุนก็เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี
หุ้นที่สร้างผลตอบแทนให้ เพทโท-อินสตรูเมนท์ อันดับหนึ่ง คือ หุ้นระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เพราะซื้อตั้งแต่บริษัทก่อตั้งใหม่ๆ ที่เหลือก็เป็นหุ้น ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หุ้น สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (SMT) และหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้ผลตอบแทนที่ “คุ้มค่ามากๆ”
สำหรับบุคคลต้นแบบในการลงทุน สุทัศน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีบุคคลต้นแบบในการลงทุน เพราะคนเรามีลักษณะนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนก็นำบทเรียนจากการทำธุรกิจมาลงทุน บ้างก็นำประสบการณ์ในอดีตมาเป็นครูสอนใจ แต่ส่วนตัวจะใช้หลักความเชื่อ และข้อมูลที่มีทั้งหมดมาประกอบการลงทุนต่างๆ มากกว่า
เรื่องราวของ สุทัศน์ ขันเจริญสุข ประธานกลุ่มไทยวีไอ ยังไม่จบ! สัปดาห์หน้าจะมาสอนวิธีจับปลา ทฤษฎีการลงทุนที่ไม่ซ้ำใคร บอกได้คำเดียวว่า “ไม่ธรรมดา”