คำแนะนำเล็กๆ เวลาอ่านบทวิเคราะห์
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2011 4:02 pm
สวัสดีครับเพื่อนๆ มีใครชอบอ่านบทวิเคราะห์ไหมครับ
ส่วนตัวจำได้ในสมัยเริ่มลงทุนใหม่ๆ กลยุทธ์ที่ใช้หลักๆคือ ซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์ (แต่ขายหุ้นตามใจ เพราะบทวิเคราะห์ไม่ค่อยบอกให้ขาย) สมัยก่อนเข้าทำงาน 8.30 น เช้ามาต้องเข้าไปดูว่าในโบรกดังแห่งนึงว่ามีบทวิเคราะห์อะไรออกมาบ้าง กด refresh ที่คอมเรื่อยๆ ก่อนตลาดเปิด 10โมง เพราะสังเกตว่าช่วงนั้น ถ้าออกบทวิเคราห์มาตอนเช้า หุ้นก็มักจะเปิดตลาดเป็นบวกเลยครับ แต่น่าเสียดาย กลยุทธ์นี้สำหรับส่วนตัว เละไม่เป็นท่าเลย เลิกอ่านบทวิเคราะห์ไปพักนึง มาตอนหลังเริ่มเรียนรู้มากขึ้น มานั่งคิดๆดู บทวิเคราะห์นี้ ก็มีประโยชน์มากสำหรับการลงทุนครับ เลยอยากเอามาแชร์ และเผื่อเพื่อนๆท่านใดมีเทคนิคอะไรดีๆ ก็จะได้ร่วมแชร์ด้วย
คำแนะนำเล็กๆ เวลาอ่านบทวิเคราะห์
A little advice on how to read analyst reports
บทวิเคราะห์น่าจะจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. Company report คือ บทวิเคราะห์รายบริษัทครับ ในนี้ก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทพร้อมทั้งคำแนะนำและราคาเป้าหมาย
2. Industry report คือ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม ก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นๆ
ในที่นี้ขอพูดถึง company report เป็นหลักนะครับ
ในเนื้อหา company report ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย
1. ชื่อบริษัทหลักทรัพย์หรือ โบรกเกอร์ ที่ออกบทวิเคราะห์
2. ชื่อหุ้นที่แนะนำ
3. สถานะของ research
......3.1 initiation of coverage คือการออกบทวิเคราะห์ครั้งแรก
......3.2.update คือออกวิเคราะห์เพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน
......3.3. earning result คือ รายงานผลประกอบการณ์
4. คำแนะนำ น่าจะแบ่งได้เป็น 5 อย่างหลักๆดังนี้
.....4.1 strong buy คือคำแนะนำว่าน่าซื้ออย่างยิ่ง
.....4.2. buy คือคำแนะนำให้ซื้อ
.....4.3. hold คือคำแนะนำให้ถือ
.....4.4. underperform คือคำแนะนำว่า ไม่ดี ให้ขาย
.....4.5. sell คือคำแนะนำให้ขายอย่างยิ่ง ที่แปลกคือไม่ยักจะเห็นคำแนะนำที่ว่า strong sell บ้าง
5. ราคาเป้าหมาย หรือ TP(target price) เวลาเป้าหมาย
6.ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ของนักวิเคราะห์
7. เนื้อหา
8. คำชี้แจง (Disclaimer)
หรือก็คอคำอธิบายว่า บทวิเคราะห์ที่ออกคุ้มครอง ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง หากนำไปใช้แล้วเกิดผลเสียยังไง เวลาอ่านบทวิเคราะห์ หลายๆท่านมักจะมองดูคำแนะนำกับราคาเป้าหมายเป้นสำคัญ บางครั้งก็ไม่ได้ดูรายละเอียดว่าหมายความว่าอย่างไรเช่น คำแนะนำในหุ้นตัวเดียวกัน ว่า "ซื้อ" เหมือนกันแต่ต่างโบรกเกอร์กัน ก็อาจมีความหมายต่างกัน เช่น คำแนะนำ ซื้อ ของ ค่ายหนึ่งอาจหมายความว่า คาดว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปไม่ต่ำกว่า10% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่อีกค่ายอาจหมายความว่า ราคาหุ้นสูงกว่า SET ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผมลองยกตัวอย่างให้ดูครับ
เช่น คำแนะนำซื้อของ bls หมายความว่าคาดว่าน่าจะได้ผลตอบแทน 15% ภายใน 12 เดือนข้างหน้า คำแนะนำซื้อของ jp morgan หมายความว่า ใน 6-12 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด คำแนะนำซื้อของ phillip หมายความว่าราคาหุ้นอาจปรับขึ้นมากกว่า 15% จากปัจจุบัน ส่วน ราคาเป้าหมายนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะบอกวิธีคำนวณ ราคาเป้าหมายด้วย สำหรับนักลงทุน มีทางเลือก คือ เลือกที่จะเชื่อราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์เขียนมาให้ โดยเชื่อว่า นักวิเคาะห์เก่งกว่า รู้ดีกว่า หรือ เลือกที่จะตรวจสอบวิธีคิดของนักวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้และทำการประเมินราคาเป้าหมายด้วยตัวเราเอง ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ก็จะใช้วิธีการประเมินราคาหุ้นทั้ง relative valuation เช่นอัตราส่วน (multiples) ทั้ง P/E , P/BV และ absolute valuation พวก DCF
สรุปแล้วเวลาอ่านบทวิเคราะห์
1. ควรจะดูราคาเป้าหมายเป็นอันดับสุดท้าย ดูรายละเอียดเนื้อหา เพราะเนื้อหานำไปสู่การเชื่อมโยงไปหา คำแนะนำและข้อมูลที่ใช้คำนวณหา target price และส่วนใหญ่จะมี ข้อมูลทางการเงินทั้งย้อนหลังและการประมาณการในอนาคต บางครั้งถ้าเป็นการทำ company visit ก็จะมีบทสัมภาษณ์ถามตอบผู้บริหาร
2. คิดว่า บทวิเคราะห์ทุกอันมี bias
ศาสตราจารย์ Damodaran กูรูทาง Valuation เคยบอกว่า All valuations are biased หรือการประเมินราคาหุ้นทุกอย่างมีความลำเอียง นักวิเคราะห์ก็เช่นเดียวกัน แต่ความลำเอียงของนักวิเคราะห์อาจจะมีมากกว่า ปัจจัยที่ทำให้นักวิเคราะห์ลำเอียงก็อาจเป็นจาก
2.1. บล.หลักทรัพย์ที่ออกบทวิเคราะห์ อาจเป็น underwriter ตอนที่ออกหุ้น IPO ก็ได้ ดังนั้นจากความสัมพันธ์ที่ดี จึงอาจทำให้ analyst ไม่เป็นอิสระเพียงพอ ทำให้เวลาออกคำแนะนำ ไม่ค่อยกล้าออกคำแนะนำให้ขาย
2.2. บล.หลักทรัพย์ที่ออกบทวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ถึงแม้ไม่ได้คอมมิชชั่นจากบริษัทฯที่ออกหุ้น แต่การออกบทวิเคราห์เชียร์ซื้อหรือขาย ก็จะทำให้ได้รับคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหุ้นได้
2.3. การออกบทวิเคราะห์ที่เชียร์ให้ขายหุ้น บ่อยๆ อาจทำให้ บริษัทฯที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้นไม่ชอบ และไม่เลือกเป็น underwriter
2.4. นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เป็นลูกค้าโบรกเกอร์ ชอบบทวิเคราะห์ที่เชียร์ซื้อมากกว่าเชียร์ขาย โดยเฉพาะรายย่อย ที่ไม่สามารถ short หุ้นได้
เพราะฉนั้น ในเรื่อง valuation เราควรทำเองดีที่สุด
3. ควรอ่านหลายๆโบรกร่วมกัน จะทำให้ได้ข้อมูลดีที่สุด
4. ถ้าเป็นไปได้ ควรอ่านฉบับภาษาอังกฤษ
โบรกบางแห่ง ออก report พร้อมกันทั้ง 2 version แต่version ภาษาอังกฤษจะมีข้อมูลของ report มากกว่าภาษาไทย ซึ่งบางครั้งข้อมูลสำคัญ จะมีในเฉพาะ version อังกฤษ
เรื่องความลำเอียงของคำแนะนำ ผมเกิดความอยากรู้ ว่าสัดส่วนระหว่างคำแนะนำ ซื้อ ขาย ของแต่ละโบรกเกอร์เป็นอย่างไร จึงรวบรวมข้อมูลคำแนะนำทั้งหมดของโบรกเกอร์ ตั้งแต่ปี 2005 ถึงปี 2010 ทั้งหมด 6 ปี ได้ข้อมูลดังนี้
บทวิเคราะห์หุ้นไทย ทั้งหมด 7968 ชิ้น จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์ โดยมีสัดส่วนดังนี้
1.คำแนะนำซื้อ( strong buy + buy) เท่ากับ 3765 ชิ้น คิดเป็น 47.25%
2. คำแนะนำถือ (hold) เท่ากับ 2338 ชิ้น คิดเป็น 29.34%
3. คำแนะนำขาย (underperform + sell) เท่ากับ 1861 คิดเป็น 23.36%
แล้วยิ่งดูเฉพาะโบรกไทยดังที่สุดแห่งนึงที่ออกบทวิเคราะห์ จะน่าตกใจ เพราะคำแนะนำซื้อสูงถึง 75% ทีเดียวครับ ส่วนอีก 25% จะแบ่งเป็น Hold 15% อีก 10% เป็นขาย หมายความว่าถ้าปีนึงออกบทวิเคราะห์มา 100 ชิ้น จะมีคำแนะนำให้ขายแค่ 10 ที่เหลือจะเป็นซื้อ โบรกที่เชียร์ซื้อเยอะสุด ก็เป็นโบรกที่ผมซื้อหุ้นตามตลอดในสมัยเริ่มลงทุนใหม่ๆ เลยไม่น่าแปลกใจที่เละไม่เป็นท่า จะได้อ่านบทวิเคราะห์ได้จากไหนบ้าง
1. ตามเว็บของโบรกเกอร์ต่างๆ บางโบรกก็จะดูได้เฉพาะสมาชิก บางโบรกก็เปิดกว้างดูได้ทั้งหมด
2. ตามเว็บผุ้ให้บริการในประเทศ เช่น settrade , efinance
3. ตามเว็บผู้ให้บริการต่างประเทศ เช่น isi emerging ( ดีมาก ผมนั่งดูเกือบทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นบทวิเคราะห์ของโบรกไทย โบรกน้อยก็มีบ้างแต่ไม่เยอะ แต่จัดกลุ่มดี) ,Thomson investext ส่วนใหญ่จะมีบทวิคราะห์ของพวกโบรกต่างประเทศ เช่น JP morgan,Macquarie,Morgan stanley
สุดท้ายเวลาอ่านบทวิเคราะห์โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษใหม่ๆ จะพบว่ามีพวกตัวย่อแปลกๆทางการเงินเยอะ เช่นได้แก่
FY = fiscal year
PT = price target
TP = target price
CAGR = compound average growth rate
ROAE = Return On Average Equity
BVPS = Book Value Per Share
COE = cost of capital
ใครอยากหาความหมายของตัวย่อเหล่านี้ดูได้ที่นี่ครับ
http://researchdisclosures.csfb.com/ccd ... mrinit.doc
References
http://www.sec.gov/investor/pubs/analysts.htm
http://www.stockresearchportalblog.com/ ... t-reports/
ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ
ส่วนตัวจำได้ในสมัยเริ่มลงทุนใหม่ๆ กลยุทธ์ที่ใช้หลักๆคือ ซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์ (แต่ขายหุ้นตามใจ เพราะบทวิเคราะห์ไม่ค่อยบอกให้ขาย) สมัยก่อนเข้าทำงาน 8.30 น เช้ามาต้องเข้าไปดูว่าในโบรกดังแห่งนึงว่ามีบทวิเคราะห์อะไรออกมาบ้าง กด refresh ที่คอมเรื่อยๆ ก่อนตลาดเปิด 10โมง เพราะสังเกตว่าช่วงนั้น ถ้าออกบทวิเคราห์มาตอนเช้า หุ้นก็มักจะเปิดตลาดเป็นบวกเลยครับ แต่น่าเสียดาย กลยุทธ์นี้สำหรับส่วนตัว เละไม่เป็นท่าเลย เลิกอ่านบทวิเคราะห์ไปพักนึง มาตอนหลังเริ่มเรียนรู้มากขึ้น มานั่งคิดๆดู บทวิเคราะห์นี้ ก็มีประโยชน์มากสำหรับการลงทุนครับ เลยอยากเอามาแชร์ และเผื่อเพื่อนๆท่านใดมีเทคนิคอะไรดีๆ ก็จะได้ร่วมแชร์ด้วย
คำแนะนำเล็กๆ เวลาอ่านบทวิเคราะห์
A little advice on how to read analyst reports
บทวิเคราะห์น่าจะจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. Company report คือ บทวิเคราะห์รายบริษัทครับ ในนี้ก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทพร้อมทั้งคำแนะนำและราคาเป้าหมาย
2. Industry report คือ บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม ก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นๆ
ในที่นี้ขอพูดถึง company report เป็นหลักนะครับ
ในเนื้อหา company report ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย
1. ชื่อบริษัทหลักทรัพย์หรือ โบรกเกอร์ ที่ออกบทวิเคราะห์
2. ชื่อหุ้นที่แนะนำ
3. สถานะของ research
......3.1 initiation of coverage คือการออกบทวิเคราะห์ครั้งแรก
......3.2.update คือออกวิเคราะห์เพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นปัจจุบัน
......3.3. earning result คือ รายงานผลประกอบการณ์
4. คำแนะนำ น่าจะแบ่งได้เป็น 5 อย่างหลักๆดังนี้
.....4.1 strong buy คือคำแนะนำว่าน่าซื้ออย่างยิ่ง
.....4.2. buy คือคำแนะนำให้ซื้อ
.....4.3. hold คือคำแนะนำให้ถือ
.....4.4. underperform คือคำแนะนำว่า ไม่ดี ให้ขาย
.....4.5. sell คือคำแนะนำให้ขายอย่างยิ่ง ที่แปลกคือไม่ยักจะเห็นคำแนะนำที่ว่า strong sell บ้าง
5. ราคาเป้าหมาย หรือ TP(target price) เวลาเป้าหมาย
6.ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ของนักวิเคราะห์
7. เนื้อหา
8. คำชี้แจง (Disclaimer)
หรือก็คอคำอธิบายว่า บทวิเคราะห์ที่ออกคุ้มครอง ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง หากนำไปใช้แล้วเกิดผลเสียยังไง เวลาอ่านบทวิเคราะห์ หลายๆท่านมักจะมองดูคำแนะนำกับราคาเป้าหมายเป้นสำคัญ บางครั้งก็ไม่ได้ดูรายละเอียดว่าหมายความว่าอย่างไรเช่น คำแนะนำในหุ้นตัวเดียวกัน ว่า "ซื้อ" เหมือนกันแต่ต่างโบรกเกอร์กัน ก็อาจมีความหมายต่างกัน เช่น คำแนะนำ ซื้อ ของ ค่ายหนึ่งอาจหมายความว่า คาดว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปไม่ต่ำกว่า10% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่อีกค่ายอาจหมายความว่า ราคาหุ้นสูงกว่า SET ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผมลองยกตัวอย่างให้ดูครับ
เช่น คำแนะนำซื้อของ bls หมายความว่าคาดว่าน่าจะได้ผลตอบแทน 15% ภายใน 12 เดือนข้างหน้า คำแนะนำซื้อของ jp morgan หมายความว่า ใน 6-12 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด คำแนะนำซื้อของ phillip หมายความว่าราคาหุ้นอาจปรับขึ้นมากกว่า 15% จากปัจจุบัน ส่วน ราคาเป้าหมายนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะบอกวิธีคำนวณ ราคาเป้าหมายด้วย สำหรับนักลงทุน มีทางเลือก คือ เลือกที่จะเชื่อราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์เขียนมาให้ โดยเชื่อว่า นักวิเคาะห์เก่งกว่า รู้ดีกว่า หรือ เลือกที่จะตรวจสอบวิธีคิดของนักวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้และทำการประเมินราคาเป้าหมายด้วยตัวเราเอง ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ก็จะใช้วิธีการประเมินราคาหุ้นทั้ง relative valuation เช่นอัตราส่วน (multiples) ทั้ง P/E , P/BV และ absolute valuation พวก DCF
สรุปแล้วเวลาอ่านบทวิเคราะห์
1. ควรจะดูราคาเป้าหมายเป็นอันดับสุดท้าย ดูรายละเอียดเนื้อหา เพราะเนื้อหานำไปสู่การเชื่อมโยงไปหา คำแนะนำและข้อมูลที่ใช้คำนวณหา target price และส่วนใหญ่จะมี ข้อมูลทางการเงินทั้งย้อนหลังและการประมาณการในอนาคต บางครั้งถ้าเป็นการทำ company visit ก็จะมีบทสัมภาษณ์ถามตอบผู้บริหาร
2. คิดว่า บทวิเคราะห์ทุกอันมี bias
ศาสตราจารย์ Damodaran กูรูทาง Valuation เคยบอกว่า All valuations are biased หรือการประเมินราคาหุ้นทุกอย่างมีความลำเอียง นักวิเคราะห์ก็เช่นเดียวกัน แต่ความลำเอียงของนักวิเคราะห์อาจจะมีมากกว่า ปัจจัยที่ทำให้นักวิเคราะห์ลำเอียงก็อาจเป็นจาก
2.1. บล.หลักทรัพย์ที่ออกบทวิเคราะห์ อาจเป็น underwriter ตอนที่ออกหุ้น IPO ก็ได้ ดังนั้นจากความสัมพันธ์ที่ดี จึงอาจทำให้ analyst ไม่เป็นอิสระเพียงพอ ทำให้เวลาออกคำแนะนำ ไม่ค่อยกล้าออกคำแนะนำให้ขาย
2.2. บล.หลักทรัพย์ที่ออกบทวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ถึงแม้ไม่ได้คอมมิชชั่นจากบริษัทฯที่ออกหุ้น แต่การออกบทวิเคราห์เชียร์ซื้อหรือขาย ก็จะทำให้ได้รับคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหุ้นได้
2.3. การออกบทวิเคราะห์ที่เชียร์ให้ขายหุ้น บ่อยๆ อาจทำให้ บริษัทฯที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้นไม่ชอบ และไม่เลือกเป็น underwriter
2.4. นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เป็นลูกค้าโบรกเกอร์ ชอบบทวิเคราะห์ที่เชียร์ซื้อมากกว่าเชียร์ขาย โดยเฉพาะรายย่อย ที่ไม่สามารถ short หุ้นได้
เพราะฉนั้น ในเรื่อง valuation เราควรทำเองดีที่สุด
3. ควรอ่านหลายๆโบรกร่วมกัน จะทำให้ได้ข้อมูลดีที่สุด
4. ถ้าเป็นไปได้ ควรอ่านฉบับภาษาอังกฤษ
โบรกบางแห่ง ออก report พร้อมกันทั้ง 2 version แต่version ภาษาอังกฤษจะมีข้อมูลของ report มากกว่าภาษาไทย ซึ่งบางครั้งข้อมูลสำคัญ จะมีในเฉพาะ version อังกฤษ
เรื่องความลำเอียงของคำแนะนำ ผมเกิดความอยากรู้ ว่าสัดส่วนระหว่างคำแนะนำ ซื้อ ขาย ของแต่ละโบรกเกอร์เป็นอย่างไร จึงรวบรวมข้อมูลคำแนะนำทั้งหมดของโบรกเกอร์ ตั้งแต่ปี 2005 ถึงปี 2010 ทั้งหมด 6 ปี ได้ข้อมูลดังนี้
บทวิเคราะห์หุ้นไทย ทั้งหมด 7968 ชิ้น จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์ โดยมีสัดส่วนดังนี้
1.คำแนะนำซื้อ( strong buy + buy) เท่ากับ 3765 ชิ้น คิดเป็น 47.25%
2. คำแนะนำถือ (hold) เท่ากับ 2338 ชิ้น คิดเป็น 29.34%
3. คำแนะนำขาย (underperform + sell) เท่ากับ 1861 คิดเป็น 23.36%
แล้วยิ่งดูเฉพาะโบรกไทยดังที่สุดแห่งนึงที่ออกบทวิเคราะห์ จะน่าตกใจ เพราะคำแนะนำซื้อสูงถึง 75% ทีเดียวครับ ส่วนอีก 25% จะแบ่งเป็น Hold 15% อีก 10% เป็นขาย หมายความว่าถ้าปีนึงออกบทวิเคราะห์มา 100 ชิ้น จะมีคำแนะนำให้ขายแค่ 10 ที่เหลือจะเป็นซื้อ โบรกที่เชียร์ซื้อเยอะสุด ก็เป็นโบรกที่ผมซื้อหุ้นตามตลอดในสมัยเริ่มลงทุนใหม่ๆ เลยไม่น่าแปลกใจที่เละไม่เป็นท่า จะได้อ่านบทวิเคราะห์ได้จากไหนบ้าง
1. ตามเว็บของโบรกเกอร์ต่างๆ บางโบรกก็จะดูได้เฉพาะสมาชิก บางโบรกก็เปิดกว้างดูได้ทั้งหมด
2. ตามเว็บผุ้ให้บริการในประเทศ เช่น settrade , efinance
3. ตามเว็บผู้ให้บริการต่างประเทศ เช่น isi emerging ( ดีมาก ผมนั่งดูเกือบทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นบทวิเคราะห์ของโบรกไทย โบรกน้อยก็มีบ้างแต่ไม่เยอะ แต่จัดกลุ่มดี) ,Thomson investext ส่วนใหญ่จะมีบทวิคราะห์ของพวกโบรกต่างประเทศ เช่น JP morgan,Macquarie,Morgan stanley
สุดท้ายเวลาอ่านบทวิเคราะห์โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษใหม่ๆ จะพบว่ามีพวกตัวย่อแปลกๆทางการเงินเยอะ เช่นได้แก่
FY = fiscal year
PT = price target
TP = target price
CAGR = compound average growth rate
ROAE = Return On Average Equity
BVPS = Book Value Per Share
COE = cost of capital
ใครอยากหาความหมายของตัวย่อเหล่านี้ดูได้ที่นี่ครับ
http://researchdisclosures.csfb.com/ccd ... mrinit.doc
References
http://www.sec.gov/investor/pubs/analysts.htm
http://www.stockresearchportalblog.com/ ... t-reports/
ผิดพลาดประการใด ขออภัยครับ