พอดีมีเรื่องที่เพิ่งคิดได้แล้วอยากแชร์นะครับ
อ่านจากหนังสือของคุณสุมาอี้(คุณนรินทร์)เกี่ยวกับเรื่อง อัตราการเติบโตของกำไรของบริษัท
โดย สูตร G (growth) = (RR x ROE ) / 100 (หน่วยเป็น %)
ตอนแรกที่อ่านก็คิดว่าบริษัทจะมีการเติบโตจริง เท่ากับค่านี้เลยในแต่ละปี
แต่พออ่านซํ้าไปซํ้ามาเรื่อยๆ+ ลองคำนวณค่า G ตามสูตรแล้วมันได้ไม่เท่ากับ EPS Growth
จึงสรุปเอาเองว่าค่า G ที่คุณสุมาอี้ตั้งใจจะบอกน่าจะหมายถึง
อัตราการเติบโตของกำไร
ที่สูงที่สุดที่เป็นไปได้(Growth) สูตร G = (RR x ROE ) / 100 (หน่วยเป็น %)
เมื่อ
g = อัตราการเติบโตของกำไร (ที่สูงที่สุดที่บริษัท"ควร หรือ สามารถ"จะทำได้ โดยไม่พึ่งพาเงินทุนจากภายนอก เช่น เพิ่มทุน หรือ กู้หนี้เพิ่ม)
RR = สัดส่วนกำไรสะสมต่อกำไรทั้งหมด (RR คือส่วนที่ไม่ได้จ่ายปันผล, ถ้าบริษัทไม่จ่ายปันผลเลย คือ RR=100%)
ROE = return on equity (หน่วยเป็น%)
ตัวอย่าง เช่น กรณีบริษัทไม่จ่ายปันผลเลย เก็บกำไรเพื่อเอาไว้สร้างการเติบโตอย่างเดียว (อดเปรี้ยวไว้กินหวาน) นั่นคือ RR=100% แทนค่าตามสูตรแล้ว จะได้ growth = ROE
นั่นคือต่อให้ไม่จ่ายปันผลออกมาเลย แล้วเก็บกำไรเอาไว้ลงทุนต่อ ทุกบริษัทจะโตได้มากที่สุดเท่ากับROE ของบริษัทนั่นเองโดยไม่ใช้เงินทุนจากภายนอก
ดังนั้นบริษัทที่ต้องการเติบโตให้มากกว่า ROE ของตัวเอง จึงต้องกู้หนี้เพิ่ม หรือ เพิ่มทุน
ผมว่าประเด็นนี้คงจะมีประโยชน์สำหรับมือใหม่ให้หัดคำนวณและนำค่าG ไปใช้มากขึ้นซักเล็กน้อย อย่างน้อยก็เพื่อดูว่าเรามองการเติบโตของบริษัทมากเกินจริงจากทฤษฎีไปมากๆหรือเปล่า และอีกข้อ ถ้าคำนวณ EPS Growth มาเทียบกับ ค่า G ตามสูตรนี้ มันก็น่าจะช่วยบอกว่าบริษัทเติบโตจริงๆได้ใกล้เคียงกับค่า Limitationของมันเอง หรือไอ้ค่า posible maximum growth อันนี้แค่ไหน (แต่อย่าลืมว่าสูตรนี้ต้องอยู่ใต้เงื่อนไขว่า ไม่กู้หนี้เพิ่ม หรือ เพิ่มทุน ฉะนั้นในทางปฎิบัติอาจจะได้ใช้น้อยหน่อย เพราะ ไม่ค่อยเห็นบริษัทไหนไม่กู้หนี้เพิ่มซักเท่าไหร่)
ไม่ทราบท่านอื่นคิดอย่างไรกันบ้างครับ ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่า