Link ขาด web ThaiVI ไม่ยอมอ่านวงเล็บ
งั้นเอา short link ไปละกัน แต่ละตอนสั้นๆ copy มาเลย
1.
http://bit.ly/emJ8k0
เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบหมายถึงอะไร?
“เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ Substance than Form” มีความหมายว่า รูปแบบตามกฎหมายไม่สำคัญกับการบันทึกบัญชีเท่ากับเนื้อหาทางเศรษฐกิจ นักบัญชีพร้อมจะมองข้ามรูปแบบตามกฎหมายไปหาข้อเท็จจริงทางธุรกิจทุกเมื่อ
ตัวอย่างเช่น ในการออกงบการเงิน “หน่วยงานที่เสนอรายงาน” อาจประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งแห่ง หากโดยเนื้อหาแล้ว บริษัทเหล่านั้นคือบริษัทเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นคนละนิติบุคคลกัน (ตามรูปแบบของกฎหมาย) ทั้งนี้ เนื่องจากกฎบัญชีกำหนดว่า “บริษัทใหญ่” ต้องนำงบการเงินของ “บริษัทย่อย” มารวมเพื่อจัดทำ “งบการเงินรวม” เมื่อบริษัทใหญ่สามารถ “ควบคุม” นโยบายการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อยได้
2.
http://bit.ly/hi7Il6
ทำไมนักบัญชีจึงต้องจู้จี้กับ “งวดบัญชี” หรือ “งวดการรายงานทางการเงิน” หรือ “ความถี่ของการรายงาน”?
เพราะงวดบัญชีคือเส้นแบ่งเวลาที่จะทำให้นักบัญชีสามารถสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อออกงบการเงิน ลองมโนภาพถึงเส้นเวลาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เรารู้ว่าบริษัทเริ่มต้นเมื่อไร แต่ไม่รู้ว่าบริษัทจะจบลงเมื่อไร ถ้านักบัญชีไม่กำหนด “งวดบัญชี” ไว้ นักบัญชีก็จะต้องรอให้บริษัทหมดอายุขัยก่อนที่จะสามารถรายงานผลให้นักลงทุนทราบ บริษัทบางบริษัทมีอายุเป็นร้อยปี (แล้วนักลงทุนอายุไม่ถึงร้อยอย่างเราจะรอไหวหรือ?) นักบัญชีจึงจำเป็นต้องสร้างกลไกให้สามารถสรุปผลทางบัญชีเพื่อรายงานให้เจ้าของบริษัททราบเป็นระยะๆ โดยนำเวลามาแบ่งออกเป็นช่วงๆ ช่วงละเท่าๆ กัน
3.
http://bit.ly/hrm1XT
“กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” ประกอบด้วยรายการอะไร?
“กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” หมายถึง กำไรขาดทุนทุกประเภทที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด ดังนั้น “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” จึงแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม นั่นคือ
กลุ่มที่หนึ่ง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการดำเนินงานในระหว่างงวดของบริษัท กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จประเภทนี้คำนวณได้จากการนำรายได้ (จากการดำเนินงานในระหว่างงวด) มาหักค่าใช้จ่าย (ในการดำเนินงานระหว่างงวด) เพื่อหา “กำไรขาดทุนสุทธิ” ซึ่งถือเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ “หลัก”
กลุ่มที่สอง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการปรับมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินตามวิธีการบัญชี ณ วันสิ้นงวด แต่กฎบัญชีไม่อนุญาตให้บริษัทนำกำไรขาดทุนเหล่านี้ไปแสดงรวมกับรายการในกลุ่มที่หนึ่ง เช่น กำไรที่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกำไรจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรขาดทุนเหล่านี้รวมเรียกว่า “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น”
4.
http://bit.ly/kQaVph
“งบการเงินสำหรับบุคคลภายนอก” แตกต่างจาก “งบการเงินเพื่อผู้บริหาร” อย่างไร?
งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอก (Financial Statements) เน้นการให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำงบการเงินนั้นไปใช้ในการตัดสินใจซื้อหุ้นหรือให้บริษัทกู้ยืมเงิน ดังนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงต้องอยู่ภายใต้ “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งรวมถึง “แม่บทการบัญชี” และ “มาตรฐานการบัญชี”) ที่ออกโดยผู้เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี นอกจากนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่มีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของนักลงทุน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เช่น กระทรวงพาณิชย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
ผลที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องออกงบการเงินให้แก่บุคคลภายนอกตามรูปแบบที่กำหนดโดยกฎบัญชีหรือข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้การรวมรายการ (การนำบัญชีย่อยๆ หลายบัญชีมารวมกัน) และชื่อบัญชีที่ปรากฏในงบแตกต่างไปจากรายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้บริหาร นอกจากนั้น ข้อมูลที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น รายละเอียดปลีกย่อยและจำนวนเศษสตางค์ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกทราบ
ส่วนงบการเงินเพื่อผู้บริหาร (Management Accounts) เป็นงบการเงินที่ใช้เป็นการภายในเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารและควบคุม ดังนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้บริหารจึงอาจมีรายละเอียดหรือมีการจำแนกหมวดหมู่ที่แตกต่างไปจากงบการเงินที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป นอกจากนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารไม่จำเป็นต้องแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะผู้บริหารทราบความเป็นไปภายในบริษัทอยู่แล้ว
เนื่องจากบริษัทใช้งบการเงินเพื่อผู้บริหารเป็นฐานในการออกงบการเงินให้กับบุคคลภายนอก ดังนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารกับงบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จะแตกต่างกันก็แต่รูปแบบที่นำเสนอ
5.
http://bit.ly/lZG0pt
ทำอย่างไรจึงจะมั่นใจว่างบการเงินที่บริษัทนำเสนอแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่เชื่อถือได้?
งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (คือผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่วิชาชีพกำหนด) ความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแสดงอยู่หน้างบการเงิน (เป็นแผ่นแรกก่อนที่จะถึงงบการเงิน) เรียกว่า “รายงานของผู้สอบบัญชี”
“การตรวจสอบ” งบการเงินจะเป็นไปตาม “มาตรฐานการสอบบัญชี” ซึ่งการตรวจสอบนั้นก็เพื่อให้แน่ใจว่างบการเงินที่บริษัทออก แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานอย่าง “ถูกต้องตามควร” และเป็นไปตาม “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งแต่เดิมรู้จักกันในชื่อ “มาตรฐานการบัญชี” แต่ในปัจจุบันมาตรฐานการรายงานทางการเงินมีความหมายที่กว้างกว่า และครอบคลุมกฎบัญชีหลายชนิด เป็นต้นว่า แม่บทการบัญชี “มาตรฐานการบัญชี” “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” การตีความมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน)
ตามปกติ รายงานของผู้สอบบัญชีจะมีสามวรรค ถ้ารายงานผู้สอบบัญชีมีมากกว่าหรือน้อยกว่าสามวรรค ผู้ใช้งบการเงินต้องพิจารณางบการเงินนั้นเป็นพิเศษ เพราะแสดงว่าผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบการเงินนั้น ได้พบอะไรบางอย่างที่ทำให้ต้องออกรายงานต่างไปจากปกติ