ผมแปลกใจธรรมดากำไรไตรมาสสองมักจะไม่ดีเท่าไร
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 20, 2004 4:23 pm
แหล่งข่าว จากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าในการประชุมครม.วันนี้ (13 ม.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ได้เสนอให้ ครม.พิจารณาโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน ตั้งแต่ปี 2547-2553 โดยขอใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,910.68 ล้านบาท ของเกษตรกรตามเป้าหมายในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 529,985 ราย คิดเป็นพื้นที่สวนยาง 6,947,931 ไร่
โดยแบ่งเป็นเกษตรกร 43,225 ราย ที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม.มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ 1,002,100 ไร่ และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ 486,760 ราย ที่ต้นยางพารามีอายุกว่า 15 ปี พื้นที่ 5,945,831 ไร่ โดยเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางข้างต้น สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเงินได้ นอกจากนั้น ยังเพิ่มปริมาณไม้ยางแปรรูปจากปัจจุบันปีละ 6.91 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.67 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2553
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่า การแปลงไม้ยางของเกษตรกร ที่อยู่ในเขตป่าสงวนและของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์เป็นทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ยางและอุตสาหกรรมไม้ยาง โดยมีวิธีการดำเนินงานกับเกษตรกรใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 โครงการสวนยางเอื้ออาทร เป็นโครงการที่เกษตรกรซึ่งปลูกยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม. มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยองค์การสวนยาง (อสย.) เป็นผู้ขอเข้าทำประโยชน์ และนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา ไม่เกินรายละ 30 ไร่ ระยะเวลาร่วมโครงการ 25 ปี
ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติที่ ก.เกษตรและสหกรณ์กำหนด และอสย. จะเป็นผู้นำไม้ยางพาราและน้ำยางออกจากป่า โดยจะมีการจัดระบบสงเคราะห์สวนยางทั้งหมดให้แก่เกษตรกร และรับซื้อไม้ยางจากเกษตรกรราคาตลาด ในราคาไม่ต่ำกว่าไร่ละ 30,000 บาท เมื่อสวนยางมีไม้ยางที่ได้คุณภาพ ตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
กลุ่มที่ 2 จะเป็นเจ้าของสวนสงเคราะห์ ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะสมัครเข้าร่วมโครงการกับ อสย. โดยกระทรวงเกษตรฯได้รายงานอีกว่า ได้มีการกำหนดมาตรฐานการออกเอกสารสิทธิ การประมูลมูลค่าไม้ยาง การเข้าถึงแหล่งทุน ของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน โดยกรมวิชาการเกษตรจะร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดมาตรฐานกลางคุณภาพไม้ยาง และราคาไม้ยาง
สำหรับการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกร ได้กำหนดให้ สกย. สำรวจและรังวัดสวนยางและให้กรมวิชาการเกษตรจดทะเบียนออกเอกสารสิทธิในนาม "การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ให้แก่ เกษตรกรกลุ่มที่ 1 โดยมีเอกสารสิทธิ 2 ประเภทคือ กยท. 1 เป็นเอกสารสิทธิรับรองสิทธิสวนยาง และ กยท. 2 เป็นเอกสารรับรองมูลค่าไม้ยาง ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 จะได้รับ กยท. 2 ซึ่งเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มสามารถนำเอกสารสิทธิดังกล่าวไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้
ส่วนการประเมินมูลค่าไม้ยาง จะเปิดให้เอกชนที่มีใบอนุญาตเข้ามาประเมิน โดยหลังจากเกษตรกรมีเอกสารสิทธิ และได้รับการประเมินมูลค่าไม้ยางแล้ว อสย. จะจัดระบบและนำไม้ยางทั้งหมดของโครงการเข้าขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยจะทำหน้าที่เป็นเคลียริ่ง เฮ้าส์ ให้กับสถาบันการเงินที่จัดทุนให้แก่เกษตรกร
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2553 โดยในปี 2547 ต้องออกเอกสารสิทธิให้แล้วเสร็จ และเริ่มจัดระบบการสงเคราะห์ปีละ 140,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2547-2553 และระยะเวลาปกติ สำหรับสวนยางสงเคราะห์ตั้งแต่ 2547 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า การดำเนินโครงการดังกล่าว จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,910.68 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อออกเอกสารสิทธิสำรวจรังวัด และออกเอกสารรับรอง ไร่ละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 347.40 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี เงินค่าประมูลค่าไม้ยาง 1,563.28 ล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้เกษตรกรจะเป็นผู้จ่าย โดยเกษตรกรที่อยู่ในโครงการสวนยางเอื้ออาทร จะมีการหักเงินจาก Cess 1 ล้านไร่ จำนวน 225.47 ล้านบาท และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์จ่ายเอง 5.9 ล้านไร่ จำนวน 1,337.81 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการใน 17 จังหวัดจำนวน 529,985 ราย พื้นที่ปลูกยาง 6,947,931 ไร่ สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ คิดเป็นเงินทุน 207,000 ล้านบาท อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยาง จากปัจจุบัน 28,716 ล้านบาท เป็น 76,380 ล้านบาท ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้น 47,664 ล้านบาท รวมผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะเข้าถึงแหล่งทุน และเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางทั้งระบบคิดเป็นเงิน 254,664 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นเกษตรกร 43,225 ราย ที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม.มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ 1,002,100 ไร่ และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ 486,760 ราย ที่ต้นยางพารามีอายุกว่า 15 ปี พื้นที่ 5,945,831 ไร่ โดยเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางข้างต้น สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเงินได้ นอกจากนั้น ยังเพิ่มปริมาณไม้ยางแปรรูปจากปัจจุบันปีละ 6.91 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.67 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2553
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่า การแปลงไม้ยางของเกษตรกร ที่อยู่ในเขตป่าสงวนและของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์เป็นทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ยางและอุตสาหกรรมไม้ยาง โดยมีวิธีการดำเนินงานกับเกษตรกรใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 โครงการสวนยางเอื้ออาทร เป็นโครงการที่เกษตรกรซึ่งปลูกยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม. มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยองค์การสวนยาง (อสย.) เป็นผู้ขอเข้าทำประโยชน์ และนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา ไม่เกินรายละ 30 ไร่ ระยะเวลาร่วมโครงการ 25 ปี
ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติที่ ก.เกษตรและสหกรณ์กำหนด และอสย. จะเป็นผู้นำไม้ยางพาราและน้ำยางออกจากป่า โดยจะมีการจัดระบบสงเคราะห์สวนยางทั้งหมดให้แก่เกษตรกร และรับซื้อไม้ยางจากเกษตรกรราคาตลาด ในราคาไม่ต่ำกว่าไร่ละ 30,000 บาท เมื่อสวนยางมีไม้ยางที่ได้คุณภาพ ตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
กลุ่มที่ 2 จะเป็นเจ้าของสวนสงเคราะห์ ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะสมัครเข้าร่วมโครงการกับ อสย. โดยกระทรวงเกษตรฯได้รายงานอีกว่า ได้มีการกำหนดมาตรฐานการออกเอกสารสิทธิ การประมูลมูลค่าไม้ยาง การเข้าถึงแหล่งทุน ของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน โดยกรมวิชาการเกษตรจะร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดมาตรฐานกลางคุณภาพไม้ยาง และราคาไม้ยาง
สำหรับการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกร ได้กำหนดให้ สกย. สำรวจและรังวัดสวนยางและให้กรมวิชาการเกษตรจดทะเบียนออกเอกสารสิทธิในนาม "การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ให้แก่ เกษตรกรกลุ่มที่ 1 โดยมีเอกสารสิทธิ 2 ประเภทคือ กยท. 1 เป็นเอกสารสิทธิรับรองสิทธิสวนยาง และ กยท. 2 เป็นเอกสารรับรองมูลค่าไม้ยาง ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 จะได้รับ กยท. 2 ซึ่งเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มสามารถนำเอกสารสิทธิดังกล่าวไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้
ส่วนการประเมินมูลค่าไม้ยาง จะเปิดให้เอกชนที่มีใบอนุญาตเข้ามาประเมิน โดยหลังจากเกษตรกรมีเอกสารสิทธิ และได้รับการประเมินมูลค่าไม้ยางแล้ว อสย. จะจัดระบบและนำไม้ยางทั้งหมดของโครงการเข้าขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยจะทำหน้าที่เป็นเคลียริ่ง เฮ้าส์ ให้กับสถาบันการเงินที่จัดทุนให้แก่เกษตรกร
สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2553 โดยในปี 2547 ต้องออกเอกสารสิทธิให้แล้วเสร็จ และเริ่มจัดระบบการสงเคราะห์ปีละ 140,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2547-2553 และระยะเวลาปกติ สำหรับสวนยางสงเคราะห์ตั้งแต่ 2547 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า การดำเนินโครงการดังกล่าว จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,910.68 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อออกเอกสารสิทธิสำรวจรังวัด และออกเอกสารรับรอง ไร่ละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 347.40 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี เงินค่าประมูลค่าไม้ยาง 1,563.28 ล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้เกษตรกรจะเป็นผู้จ่าย โดยเกษตรกรที่อยู่ในโครงการสวนยางเอื้ออาทร จะมีการหักเงินจาก Cess 1 ล้านไร่ จำนวน 225.47 ล้านบาท และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์จ่ายเอง 5.9 ล้านไร่ จำนวน 1,337.81 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการใน 17 จังหวัดจำนวน 529,985 ราย พื้นที่ปลูกยาง 6,947,931 ไร่ สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ คิดเป็นเงินทุน 207,000 ล้านบาท อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยาง จากปัจจุบัน 28,716 ล้านบาท เป็น 76,380 ล้านบาท ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้น 47,664 ล้านบาท รวมผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะเข้าถึงแหล่งทุน และเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางทั้งระบบคิดเป็นเงิน 254,664 ล้านบาท