http://www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B ... 25B9-.htmlใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?
เมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค. 2554) ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ และเกิดคลื่นสึนามิทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
จ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองมิยากิ เปิดเผยว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มีแนวโน้มว่าจะพุ่งสูงกว่า 10,000 ราย นอกจากนั้น แรงสั่นสะเทือนทำให้ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิชิ ไม่สามารถระบายความร้อนให้กับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่ใช้แท่งซีเซียมเป็นตัวทำ ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ เพื่อสร้างพลังงานความร้อนสำหรับใช้ขับเคลื่อนเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เกิดการระเบิดที่โรงงานหมายเลข 1 มองเห็นเป็นควันขาวฟุ้งออกมาจากโรงไฟฟ้าจากระยะไกล และในวันอาทิตย์มีข่าวว่าเตาหมายเลข 3 มีโอกาสจะระเบิดด้วยแม้ทีมกอบกู้ระดมฉีดน้ำทะเลเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ สำนักข่าวเอ็นเอชเค รายงานผ่านเว็บไซต์ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจัดอันดับความเสี่ยงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา อยู่ที่ระดับ 4 จากระดับอันตรายสูงสุด 0-7 ตามเกณฑ์สากล
๐ อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น คือ
1. กลุ่มผู้ส่งออกโครงสร้างเหล็กก่อสร้างไปญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าว คือ MCS เนื่องจากบริษัทเป็นผู้ส่งออกโครงสร้างเหล็กก่อสร้างขนาดใหญ่ไปญี่ปุ่นคิด เป็น 95% ของรายได้รวม และเมื่อมีการบูรณะซ่อมแซมและก่อสร้างทดแทนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่เสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ก็มีโอกาสที่ MCS จะได้รับงานเพิ่มขึ้น ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดในญี่ปุ่น 2% เราคาดว่าส่วนแบ่งการตลาดของ MCS จะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับใบรับรอง S-Class Fabricator จากทางการญี่ปุ่น (ปัจจุบันบริษัทได้ใบรับรอง H-Class Fabricator) เพราะผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กที่ได้ใบรับรอง S-Class มีเพียง 10 รายในญี่ปุ่นเท่านั้น ขณะที่แบบ H-Class มีคู่แข่งขันมากกว่า 200 ราย ซึ่งทางการญี่ปุ่นจะสรุปผลเรื่องใบรับรอง S-Class ของ MCS ในสิ้น มี.ค. 2554 นี้ เราแนะนำซื้อ MCS โดยให้ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 12.50 บาท
2. กลุ่มโรงกลั่น หลังการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น JX Nippon Oil & Energy ซึ่งเป็นโรงกลั่นที่ใหญ่สุดที่ญี่ปุ่นได้หยุดการดำเนินงาน 3 โรงงาน คือ Sendai (135 kbd) Kashima (250 kbd) และ Negishi (316 kbd) นอกจากนี้ Cosmo Oil ก็ได้ประกาศหยุดการดำเนินงานโรงกลั่นที่ Chiba (200 kbd) ด้วย และทั้ง 4 โรงงานมีการผลิตอะโรเมติกส์ที่มีกำลังการผลิตรวม 6.1 ล้านตันต่อปี ซึ่งการหยุดดำเนินงานของโรงกลั่นญี่ปุ่น ทำให้อุปทานน้ำมันสำเร็จรูปลดลง ค่าการกลั่นจึงปรับขึ้นแรงและมีแนวโน้มทรงตัวสูง หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากค่าการกลั่น และ Spread อะโรเมติกส์ที่สูงขึ้น คือ ESSO, PTTAR, TOP ซึ่งขณะนี้เราให้ TOP เป็นหุ้น Top Pick ในกลุ่มโรงกลั่นของไทย ทั้งนี้ TOP จะได้ประโยชน์จากค่าการกลั่นที่แข็งแกร่ง (เป็น 7.0 US$/bbl เทียบกับ 4Q53 ที่ 3.6 US$/bbl) Spread PX เพิ่มขึ้นเป็น 600 US$/ตัน จาก 450 US$/ตัน ใน 4Q53 รวมทั้งมีกำไรจากสต็อก นอกจากนี้ ยังมีกำไรที่เพิ่มจากการลอยตัวของราคาก๊าซ LPG อย่างน้อยเป็นประมาณ 1 US$/bbl แนะนำซื้อ TOP ให้ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 84 บาท ขณะเดียวกัน PTTAR ก็จะได้รับประโยชน์จากธุรกิจอะโรเมติกส์เช่นกัน เพราะเป็นบริษัทที่มีกำลังการผลิต PX ใหญ่ที่สุด แต่ราคาหุ้น PTTAR มี Overhang จากราคารับซื้อคืนของ PTT ที่ไม่เกิน 39 บาท (ระยะเวลารับซื้อคืน 9-24 พ.ค. 2554)
3. กลุ่มถ่านหิน ทั้งนี้ หากโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องปิดชั่วคราวในบางเตา จะทำให้ต้องเร่งผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินมากขึ้น ซึ่งทำให้ราคาขายถ่านหินมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาขายในปี 2555 ซึ่งจะอิงกับราคา Spot ปี 2554 ขณะที่ในปี 2554 จะได้รับผลดีแต่ไม่เต็มที่ เพราะผู้ผลิตถ่านหินมีการทำสัญญาขายล่วงหน้าไปแล้วส่วนหนึ่ง สำหรับหุ้นที่ได้รับประโยชน์ คือ BANPU, LANNA ซึ่ง เราแนะนำถือ BANPU โดยให้ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 758 บาท
4. กลุ่มอาหารส่งออกไปญี่ปุ่น คาดว่าญี่ปุ่นจะมีการนำเข้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์สงบ แม้ว่าในระยะสั้นมากจะได้รับผลกระทบจากปัญหาสินค้าตกค้าง ส่งมอบสินค้าไม่ได้ เป็นต้น อยู่บ้างก็ตาม ซึ่งบริษัทหลักที่ส่งออกอาหารไปญี่ปุ่น คือ CPF, GFPT และ TUF โดยบริษัทเหล่านี้มีรายได้จากการส่งออกไปญี่ปุ่นคิดเป็น 4-5%, 15% และ 12% ของรายได้รวมตามลำดับ อย่างไรก็ดี ราคาส่งออกในปีนี้ อาจปรับขึ้นได้ไม่มากนัก เพราะคาดว่าจะมีการต่อรองมากขึ้น เรายังคงคำแนะนำซื้อทั้ง CPF (ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 28.75 บาท) GFPT (ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 10.14 บาท) และ TUF (ราคาเป้าหมาย 1 ปีเท่ากับ 68 บาท)
๐ อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเสียประโยชน์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น คือ
1. กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออกไปญี่ปุ่น คาดว่าการนำเข้าของญี่ปุ่นในสินค้าเหล่านี้จะชะลอตัวลง แต่ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเพราะมีชิ้นส่วนบางประเภทที่ขาดแคลน สำหรับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปญี่ปุ่น คือ KCE โดยส่งออก PCB ไปญี่ปุ่นประมาณ 3-5% ของรายได้รวม ส่วน SMT ส่งออกไปญี่ปุ่นแต่น้อยมาก ผลกระทบจึงจำกัด
2. กลุ่มสายการบินและโรงแรม โดยคาดว่าการเดินทางท่องเที่ยวของชาวญี่ปุ่นจะลดลงหลังจากมีเหตุการณ์นี้ เพราะประชาชนต้องใช้เงินในการบูรณะซ่อมแซมบ้านเรือนก่อน ดังนั้น กลุ่มที่จะถูกกระทบ คือ สายการบิน (THAI) และโรงแรม อย่างไรก็ตาม คาดว่าในส่วนของธุรกิจโรงแรมจะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเพิ่มขึ้นในช่วงหลังๆ นี้ เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนและรัสเซีย ซึ่งมีกำลังซื้อสูงเพราะเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่ง ด้าน THAI ซึ่งมีรายได้ในเส้นทางญี่ปุ่นประมาณ 9% ของรายได้รวม คาดว่าจะถูกกระทบบ้างแต่คาดว่าจะน้อยกว่า 5%
3. กลุ่มยานยนต์ เนื่องจากไทยมีการนำเข้าเหล็กคุณภาพสูงและชิ้นส่วนเพื่อผลิตรถยนต์ เมื่อโรงเหล็กเสียหายและต้องหยุดผลิตทำให้อุปทานเหล็กและชิ้นส่วนรถยนต์ลดลง รวมทั้งราคามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งค่ายรถยนต์จะมีการสต็อกชิ้นส่วนไว้เพียง 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
๐ กลุ่ม Mixed Impact คือ นิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากระยะสั้นอาจถูกกระทบจากการที่ลูกค้าญี่ปุ่นเลื่อนการซื้อที่ดิน เพื่อขยายธุรกิจ และในระยะยาวมีแนวโน้มจะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเข้ามาในไทยมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ
ใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?ใครได้แล
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
ใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?ใครได้แล
โพสต์ที่ 1
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?ใครไ
โพสต์ที่ 2
http://www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B ... 253D126826นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 21 มี.ค. นี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะหารือเกี่ยวกับผลกระทบต่อการลง ทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นว่าจะมีบางรายชะลอแผนหรือไม่หลังจากที่ญี่ปุ่นได้รับ ความเสียหายจากเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวอย่างหนัก เบื้องต้นยอมรับว่าจะมีผลต่อการลงทุนในไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมในระยะสั้น ๆ เพียง 3-12 เดือนแน่นอน เพราะนักธุรกิจและประชาชนญี่ปุ่นต้องร่วมมือในการนำเงินไปฟื้นฟูระบบ สาธารณูปโภคภายในประเทศก่อน
ทั้งนี้แม้ยอดส่งเสริมการลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) จากญี่ปุ่นในช่วงนี้ชะงักไปบ้าง แต่ในระยะยาวเชื่อว่าทุนจากญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตมาไทยหรือในกลุ่มอาเซียน มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายในภาคอุตสาหกรรม อย่างมหาศาล
“แม้ญี่ปุ่นจะเป็นต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากสุดแต่เหตุการณ์นี้เชื่อ มั่นว่าไม่กระทบต่อเป้ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ที่ตั้งไว้ 4 แสนล้านบาทแน่นอน เพราะกลุ่มประเทศอื่น ๆ ต่างเข้ามาตั้งฐานการผลิตหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่ในส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักลงทุนเร่งรัด การตัดสินใจขยายการลงทุนเข้ามามากขึ้น โดยญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในไทยและเวียดนามมากสุด”
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบันยานยนต์ ไปประสานกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ว่า มีอะไรให้ไทยช่วยหรือไม่ เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้กระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพราะบางรายการทีี่ไทยต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และบางอย่างไทยก็เป็นฐานการผลิต
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ส่งผล กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกแน่นอนเพราะญี่ปุ่นเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของโลกที่ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลก
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า ได้ประเมินเหตุการณ์แผ่นดินไหวญี่ปุ่นคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่ เกิน 0.1% เพราะอยู่ในขอบเขตจำกัด ซึ่งทำให้ไทยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ที่ตั้งไว้ว่าจะ เติบโตประมาณ 3-4% แต่ประเด็นที่จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ ปัญหากัมมันตภาพรังสีรั่วไหลอาจถึงขั้นอันตรายและเกิดผลกระทบรุนแรงเพิ่ม ขึ้น สำหรับผลทางด้านการค้าต่อไทยนั้น การส่งออกและนำเข้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอาจประสบปัญหาหยุดชะงักชั่วคราว จากการปิดทำการของท่าเรือและสนามบิน
ส่วนผู้ส่งออกไทย เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลูกค้าที่ตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่ประสบภัยอาจมีคำสั่งซื้อลดลง ขณะเดียวกัน โรงงานในไทยที่ต้องอาศัยชิ้นส่วนนำเข้าจากญี่ปุ่น อาจมีความล่าช้าของการขนส่งสินค้าและกระทบต่อสายการผลิตในไทยได้ แต่สินค้าที่อาจได้รับประโยชน์ กลุ่มวัสดุ เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เพื่อใช้ในงานก่อสร้างและบูรณะฟื้นฟูความเสียหาย รวมทั้งสินค้าเครื่องจักรกล เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์คลี่คลายอาจมีความต้องการสินค้ายานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขี้นไม่น่าจะส่งผลกระทบทางลบต่อแผนการลงทุนของบริษัท ญี่ปุ่นในไทย โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรง แต่อาจมีผลต่อการฟื้นตัวตลาดท่องเที่ยว
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เหตุการณ์ในญี่ปุ่นจะทำให้บริษัทญี่ปุ่นชะลอแผนลงทุนในไทยชั่วคราว เพื่อรอฟื้นฟูประเทศ ส่วนธุรกิจส่งออกและเอสเอ็มอีที่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นได้รับผลกระทบบ้าง แต่ไม่มากนัก รวมถึงธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว.
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?ใครไ
โพสต์ที่ 3
http://www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B ... %253D%253Dญี่ปุ่นชะงัก7วัน-ส่งออกไทยสูญ4พันล. ห่วงราคาอาหารโลกทะยาน-ระดมซับน้ำตาปลาดิบ
นาย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นอาจส่งผลให้การ ลงทุนระยะสั้น 3-12 เดือนชะงักงัน เพราะญี่ปุ่นคงต้องระดมเงินไปฟื้นฟูประเทศ และธุรกิจที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นถือเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย ถ้าเกิดเหตุอะไรในญี่ปุ่นย่อมกระทบการลงทุนไทยแน่นอน กระทรวงจึงจะประสานองค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ว่าจะให้ช่วยอะไรได้บ้าง
สำหรับระยะยาว 1-2 ปีข้างหน้า การลงทุนของญี่ปุ่นจะเริ่มย้ายฐานเข้ามาไทยมากขึ้น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายขยายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศเพื่อลดความเสี่ยง ธุรกิจ มั่นใจว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่กระทบเป้าการลงทุน 4 แสนล้านบาทที่ตั้งไว้ ซึ่งวันที่ 21 มี.ค. นัดจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ถึงผลกระทบด้านการลงทุนอีกครั้ง
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดร้องเรียนถึงปัญหาการส่งออกสินค้าหรือต้อง การความช่วยเหลือด้านการส่งออกไปยังญี่ปุ่น เนื่องจากผู้ประกอบการหลายรายมองว่ายังไม่ส่งผลกระทบมาก อาจกระทบสินค้าที่อยู่ระหว่างการส่งไปที่เมืองเซนได ซึ่งในวันที่ 15 มี.ค. กรมจะหารือกับภาคเอกชน เช่น สภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือฯ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง และสมาคมเครื่องนุ่งห่ม ในการจัดส่งของใช้จำเป็นต่อการยังชีพเข้าไปช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นโดยเร็วที่ สุด
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการ บีโอไอ กล่าวว่า บีโอไออยู่ระหว่างติดต่อกับบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทย ที่มีโรงงานของบริษัทแม่ได้รับความเสียหายว่าจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในไทย มากน้อยเพียงใด และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังหารือกับเจโทรและหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (เจซีซี) ว่า เหตุที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะไม่กระทบต่อการลงทุนในไทยเพราะแผนการลงทุนจะวาง ไว้ในระยะยาว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า การค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นคงหยุดชะงักประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะการขนส่งสินค้าทั้งทางเรือ และอากาศมีปัญหา อาจสูญเสียมูลค่าการค้าระหว่างกัน 3,000-4,000 ล้านบาท และอาจทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ญี่ปุ่นเติบโตลดลง แต่จะไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เพราะเป็นภัยที่เกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
"ในระยะสั้นราคาอาหาร ในญี่ปุ่นอาจสูงขึ้น เพราะพื้นที่เกษตร อาทิ ข้าว ได้รับความเสียหาย ทำให้ผลผลิตภายในไม่เพียงพอต่อการบริโภค หากญี่ปุ่นต้องเร่งนำเข้าข้าวและอาหารจากต่างประเทศ อาจกระทบต่อราคาอาหารโดยรวมในตลาดโลก" นายพรศิลป์ กล่าว
ขณะที่นาย นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานบริษัทโตโยต้าในญี่ปุ่นหยุดการผลิต 3 วัน คือวันที่ 14-16 มี.ค. เพื่อสำรวจความเสียหายของผู้ผลิตชิ้นส่วนในญี่ปุ่นที่มีประมาณ 150 บริษัท โดยโรงงานประกอบรถยนต์ของโตโยต้าไม่ได้รับผลกระทบ แต่ต้องปิดโรงงานเพื่อความปลอด ภัยของพนักงาน เพราะการเดินทาง ไฟฟ้าและประปายังใช้ได้ไม่สะดวก
ส่วนโรงงานในไทยนั้นยังเปิดดำเนิน การปกติ แต่ให้หยุดการทำงานล่วงเวลา (โอที) 5 วันระหว่างวันที่ 14-18 มี.ค. เนื่องจากชิ้นส่วนบางตัวไทยต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยถือว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรงมากที่สุดรองจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนการส่งความช่วยเหลือของโตโยต้าไทยไปญี่ปุ่นนั้นคงต้องรอให้ทางโตโยต้า ญี่ปุ่นร้องขอเข้ามาก่อน เพื่อให้ความช่วยเหลือตรงกับความต้องการ
นาย วัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า บริษัทรถยนต์ในไทยกำลังอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ และแต่ละแห่งกำลังหารือถึงแผนการผลิตว่าจะเป็นอย่างไร ถือว่าไม่น่าวิตก เพราะบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีแผนรองรับสถานการณ์ลักษณะนี้อยู่แล้ว
นาย สันติ วิลาสศักดานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นผลดีทำให้อุตสาห กรรมอาหาร วัสดุก่อสร้างและสุขภัณฑ์ส่งออกไทยไปขายในญี่ปุ่นมากขึ้น
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในระยะสั้นการลงทุนอาจชะลอไปบ้าง แต่ในระยะยาวนักลงทุนญี่ปุ่นตัดสินใจไปลงทุนที่อื่นได้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง จึงเชื่อว่าญี่ปุ่นจะฟื้นตัวได้เร็ว
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใครได้และเสียประโยชน์ จากแผ่นดินไหว & สึนามิญี่ปุ่น?ใครไ
โพสต์ที่ 4
http://www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B ... %253D%253Dสึนามิยุ่นซัดจีดีพีหด-จับตาธุรกิจขนเงินกลับ สศค.เขย่าตัวเลขเศรษฐกิจใหม่
นาย กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะทำให้เศรษฐกิจระยะสั้นของญี่ปุ่นมีแนว โน้มชะลอตัว แต่ในส่วนของไทยจะมีผลกระทบในระยะสั้นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องพึ่งพา การนำเข้าชิ้นส่วน ส่วนในระยะยาวญี่ปุ่นคงจะเร่งสร้างฐานการผลิตออกไปประเทศต่างๆ มากขึ้น ขณะที่ผลในระยะสั้นต่อราคาสินค้า คาดว่าจะส่งผลต่อราคายางลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องชะลอตัว รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ที่คาดว่านักท่องเที่ยวญี่ปุ่นคงยกเลิกเดินทางมาเที่ยวไทย เนื่องจากต้องช่วยเหลือภายในประเทศก่อน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค. จะนำผลความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิของญี่ปุ่นมาพิจารณาปรับประมาณการการ ขยายตัวเศรษฐกิจของไทยรอบใหม่ในเดือน มี.ค.นี้ โดยคาดว่าจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยปรับลดลง 0.2% จากที่ประมาณการเดิมว่าจะขยายตัวได้ 4.5% ในช่วงคาดการณ์ 4-5% เนื่องจากธนาคารกลางของญี่ปุ่น คาดการณ์ว่าจีดีพีญี่ปุ่นจะปรับตัวลดลง 0.2% ในปีི จากกรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งตามสมมติฐานของ สศค. หากญี่ปุ่นมีการปรับลดจีดีพีลงทุก 0.1% จะส่งผลต่อการปรับตัวจีดีพีของไทย 0.1% เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของญี่ปุ่นจะไม่ส่งผลกระทบต่อไทยมาก เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกเพียง 10.5% การนำเข้าโดยเฉพาะสินค้าทุนมีสัดส่วน 20% ด้านการลงทุนในไทยก็ไม่ได้มีผลกระทบในระยะยาว ที่ต้องจับตาคือในช่วงปลายเดือน มี.ค. ที่บริษัทลูกของญี่ปุ่นในต่างประเทศ อาจนำส่งกำไรกลับญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น รวมถึงแนวทางการนำเงินดอลลาร์มาใช้ของธนาคารกลางญี่ปุ่นด้วย ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวจะไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยปัจจุบันมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางเข้าไทยเฉลี่ย 9.8 แสนคนต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วน 6.2% ของนักท่องเที่ยวโดยรวม ซึ่งถือว่าไม่มาก
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.กำลังเตรียมสรุปผลกระทบจากสถานการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น ว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร แต่เชื่อว่าจะกระทบเพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก แต่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะต้องรอญี่ปุ่นสรุปความเสียหายทั้งหมดเองก่อน
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ถ้าประเมินผลกระทบทางตรงต่อสถาบันการเงินเบื้องต้น เชื่อว่ามีไม่มากนัก เพราะสินเชื่อที่ปล่อยระหว่างสถาบันการเงินไทยกับญี่ปุ่นมีค่อนข้างน้อย แต่ยังต้องติดตามต่อไปว่าจะส่งผลกระทบในภาพรวมทางเศรษฐกิจหรือไม่
นาย จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงและเห็นใจญี่ปุ่นอย่างมาก เพราะผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมวงกว้าง ซึ่งต้องใช้เวลาและเงินทุนอย่างมากในการฟื้นฟูประเทศจากนี้ไป
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด