รายงาน 4
Company Visit DCC
- ผู้สนใจข้อมูลของบริษัทสามารถอ่านข้อมูลเบื้องต้นได้จาก 56-1
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... mp_id=0278
สามารถอ่านข้อมูลสรุป company visit ของหมอ bird ได้ที่ link นี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=45&t=46567
- เริ่มการ company visit ทาง DCC ให้ชม วิดิทัศน์ แนะนำบริษัท คร่าวๆ
- หลังจากนั้น คุณมารุต แสงศาสตรา ได้เข้ามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทด้วยตนเอง
- ยอดขายของ DCC >>20% เป็นพื้นที่ภาคอีสาน ( 29% ) , 17% เป็นพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเท่ากับพื้นที่ภาคใต้
ส่วนพื้นที่ กทม. มียอดขายเท่ากับ 3% ของยอดขายทั้งหมด
- ในปี 2553 ที่ผ่านมา พื้นที่ภาคอีสานประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก ซึ่งมีผลต่อยอดขายในเดือน สิงหาคม และเดือน กันยายน 2553
- DCC พยายามควบคุมต้นทุนในการผลิตกระเบื้องให้มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดของประเทศ
- กิจกรรมที่ทำเพื่อส่งเสริมการขายมีต้นทุนในการทำกิจกรรมไม่มาก แต่ประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก เช่นการมี promotion ในการซื้อกระเบื้อง ฯลฯ (หาอ่านได้ใน 56-1 และรายงานประจำปีครับ)
- เตาเผากระเบื้องของบริษัท ปัจจุบันมี 3 เตา ผลิตกระเบื้องได้ประมาณ 250,000 – 300,000 ตารางเมตร ต่อเดือน
- เตาเผาแห่งที่ 4 จะสามารถเปิดใช้การได้ในกลางปี 2554
- เดิม การผลิตกระเบื้อง 1 แผ่น ใช้เวลาประมาณ 3 วัน ปัจจุบัน DCC ใช้ระยะเวลาในการผลิตกระเบื้องประมาณ 45 นาที ต่อกระเบื้อง 1 แผ่น
- ปัจจุบัน DCC เป็นผู้ผลิตกระเบื้อง อันดับ 9 ของโลก
- มีอัตราการผลิตกระเบื้องแล้วเกิดความเสียหายต่ำ ประมาณ 1% ( 1.13% และ เป้าต่ำกว่า 1%)
(ผมไม่แน่ใจว่า ใช้คำว่า loss yield หรือไม่(ใช่ครับ)นะครับ พยายามเปิดหาจากแหล่งต่างๆ แต่ไม่รู้ศัทพ์ตรงนี้จริงๆครับ)
- ปัจจุบันใช้ระบบ computer ทั้งหมดเหมือนกับ Makro ,Lotus และ modern trade แห่งอื่น
- มีระบบ Waste Heat Recovery System โดยการนำ gas ที่ผ่านการผลิตกระเบื้องนำกลับมาอัดเข้าไปในเตาผลิตกระเบื้องใหม่เพื่อเป็นการลดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
- DCC มี trademark ทั้งหมด 6 brand โดยแต่ละ brand จะไม่ให้มีลายกระเบื้องเหมือนกันเลย เพื่อจะไม่ได้เป็นการแข่งขันกันเอง
- ปัจจุบัน อสังหาฯในต่างจังหวัด มักจะเน้นที่บ้านเดี่ยว
- ในปี 2553 ยอดขายโตประมาณ 11% โดยใน Q3-4 ไม่โตตามเป้า เนื่องจากลูกค้าประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งกระทบต่อรายได้ของลูกค้า
- กำไรในปี 2553 โต 18%
- ปีที่แล้วบริษัท ผลิต กาวยาแนว 10 % ของปริมาณกาวยาแนวที่ขายทั้งหมด
(อีก 90% เป็นสินค้าที่ซื้อมา ขายไป)
- ในปี 2554 จะผลิต กาวยาแนวขายเอง 40% และเป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไป 60%
- ปัจจุบัน กระเบื้องที่ บริษัทผลิต มี average sale price อยู่ที่ 128.62 บาท และปัจจุบัน กระเบื้องที่ขาย มักเป็น 16 * 16 เพราะมีความนิยม และมี margin มากกว่า 12 * 12 โดยทาง DCC จะเน้นไปที่สินค้าที่มี margin สูง เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายพลังงานที่สูงขึ้น
- ปัจจุบัน DCC ใช้ NG (Natural Gas) ไม่ใช่ LPG ซึ่ง NG รัฐบาลไม่ได้ support ใดๆตั้งแต่ไหนแต่ไร
ดังนั้น แม้นราคา LPG จะสูงขึ้น หรือมีการลอยตัวของราคา LPG ก็ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับบริษัท
- เวลาที่จะสังเกตราคา gas ให้สังเกตที่ราคาน้ำมัน เพราะราคา gas จะช้ากว่า ราคาน้ำมันประมาณ 3 เดือน เช่น ราคาน้ำมันลดลงในเดือน มค. (สมมติ) ราคา gas ก็มักจะลดลง ในเดือน เม.ย.
- Transporttation Cost เท่าๆกับปี 2008 เพราะบริษัทมีการพัฒนาเรื่อง logistic มาตลอด เช่นการเปลี่ยนจาก รถบรรทุก 6 ล้อ มาเป็น รถ 18 ล้อ
- ยอดขายในเดือน มค.53 โต 30% yoy คุณมารุตมองว่า เป็นยอดขายที่โตมากกว่าปกติ ส่วนยอดขายในปี 2554 น่าจะโตตามปกติครับ
- ปกติ การมองที่ volume การขาย จะมองยอดขายได้กระจ่างชัดก่วา
- ยอดขายในภาคใต้ volume การขายเพิ่ม แม้บริษัทจะไม่เพิ่มสาขาในภาคใต้เลย
- กลางปี 2554 จะใช้ดิน และสารต่างๆที่ทำให้อุณหภูมิในการผลิตกระเบื้องลดลง ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานที่ใช้ (คาดว่าประหยัดได้ 6% ข้อมูลจาก Oppdayวันนี้)
- การที่บริษัทมี Economy of Scale ทำให้บริษัทลดต้นทุนการผลิตกระเบื้องได้ประมาณ 1 บาท ต่อ ตารางเมตร
- อัตราส่วน ในปี 2010 ที่น่าสนใจ
ROE 43.08
ROA 31.59
EPS 2.88 บาท/หุ้น
D/E 0.36
P/BV 9.89
Pay-out ratio = 100% และไม่เคยกู้เงินมาเพื่อทำการปันผล
Target
10% growth in revenue
สินค้ามี margin 44% (กรณีน้ำมันแพง)
ถ้าน้ำมันไม่แพง margin 47%
Loss Yield < 1%
เปิดสาขา 10-15 สาขา
คุณมารุตคาดว่า ราคาน้ำมัน และ gas ธรรมชาติน่าจะไม่สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน
ปัจจุบันมี Capacity Utility Rate มากกว่า 95%
- ปัจจุบัน กำลังพัฒนา ระบบ logistic ให้ Cheapest Cost and Shortest Pass
- ลายกระเบื้องที่ขายดีที่สุดในปัจจุบัน ขายได้ประมาณ 80,000 ตร.เมตร / เดือน ขายดีจนผลิตไม่ทัน แต่เวลาที่บริษัทไป CSR ในต่างจังหวัดก็ใช้ลายนี้ในการไปปูพื้นให้เด็กๆในต่างจังหวัด
- ปี 2555 มี plan ที่จะทำ CSR ในการปูผนังให้เด็กๆด้วย
- DCC เน้น domestic sale โดย 80% เป็น country site กระเบื้องยี่ห้ออื่นๆ มักส่งออกประมาณ 20% แต่การล่งออกก็จะไปเจอกับปัญหาต่างๆได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าน้ำมันในอินโดนีเซียมีราคาถูกกว่า ค่าแรงในจีนถูกกว่า แต่ก็พบว่า ค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีราคาสูงขึ้นแล้วในต่างปะเทศ
(ค่าแรงงานจีนไม่ถูกแล้ว)
- ยอดขายของกระเบื้อง DCC เป็น Renovatron / Replacement 70% (ลูกค้าซื้อกระเบื้องใหม่เพื่อปูแทนกระเบื้องเดิมประมาณ 5-10 ปี ครั้ง) , ตลาดบ้านใหม่ 30%
โดยสังเกตจาก บิลที่เข้ามาในบริษัท บิลที่มียอดไม่เกิน 50 ตร.ม. มักเป็น Renovation / Replacement
- เวลาดูคุณภาพ กระเบื้อง ดูจาก
1. ดูความ โก่ง / แอ่น ของกระเบื้อง
2. ดูว่า ได้ฉากไหม
3. ดูว่า มีน้ำซึมไหม
4. ดูลวดลายว่ามีการผุหรือไม่
- การดูลวดลายว่า มีการผุของลวดลายหรือไม่จะใช้สายตาคนในการดู โดยเปลี่ยนทุก 10 นาที
- กระเบื้องที่ผลิตจากประเทศอิตาลี แม้ว่าจะมีการ screen ลายลงแผ่นกระเบื้องมากกว่า (screen ประมาณ 10 ครั้ง/แผ่น) แต่ก็มี loss yield สูงกว่า คือประมาณ 3% และมีราคาแพงกว่า (ราคาเป็นพันบาท)
- การเปิดสาขาใหม่ หากมีการเปิดสาขาใกล้ๆสาขาเดิม แรกๆอาจดึงยอดขายสาขาเดิมบ้าง เช่นสาขาเดิม ขายได้ 4 ล้าน หลังเปิดสาขาใหม่ จะขายได้ 3 ล้าน ทั้ง 2 สาขา หลังจากนั้นยอดขายก็จะกลับมาเท่าๆเดิม คือประมาณ 4 ล้าน
- Plan ในการเปิดสาขาใหม่ คือ มีสาขา 360 ( น่าจะเป็น 350 นะครับ) สาขา ภายใน ระยะเวลา 8 ปี
- Usage การใช้กระเบื้องมีมากขึ้นกว้าสมัยก่อน สมัยก่อนเราปู ห้องน้ำ อย่างเดียว ปัจจุบันเราปูพื้นบ้านทุกๆห้อง ปูผนัง ปูลานจอดรถ
- วัสดุที่ทดแทนกระเบื้องแทบจะไม่มี พื้นปาเกต์ เสื่อน้ำมันก็ไม่ใช่คู่แข่ง ส่วนหินแกรนิโต้ พอใช้ไปสักพัก สีจะเริ่หมอง(คุณมารุตยกตัวอย่างร้านค้าที่ห้าง paragon)
- Asian FTA >> ไม่กลัว เพราะขณะนี้ก็มี FTA ไทย กับ จีน แต่กระเบื้องของจีนก็ไม่เข้ามา และแม้นเข้ามาก็แข่งกับของไทยไม่ได้
- กระเบื้องไทยมีคุณภาพติดอันดับโลก
- การเปิด outlet ใหม่ๆ มักเป็นการเช่า โดยเป็นสัญญาเช่าระยะยาว ประมาณ 15ปี
หากเป็นการซื้อที่ ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นทำเลทองจริงๆ
- มีคำถามเกี่ยวกับ homepro คุณมารุตบอกว่า homepro จะขายกระเบื้องประมาณ 5% และ homepro ก็ไม่ได้ stock ของไว้ ซึ่งทาง homepro ก็จะเป็น agency รายหนึ่งของ DCC
- กระเบื้องในกลุ่มของ SCC มี 4 บริษัท margin น้อยกว่า และทาง SCC ไม่กล้าตัด agency ออกแล้วนำสินค้ามาขายเอง
- การเปิดสาขาใหม่ ยิ่งเปิดยิ่งดี เพราะบริษัทจะได้ขายสินค้าได้ทั่วถึงมากขึ้น ส่วนเรื่องการบริหาร stock สินค้า ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ DCC จะเปิดร้านรอบๆเมือง และชอบทำเลที่ติดถนนใหญ่
- ช่วงปลายปี 53 มีฝนตกหนัก คนในภาคใต้กรีดยางไม่ได้ รายได้จึงลดลง ปัจจุบันฝนหยุดตกแล้ว ชาวสวนยางสามารถกลับมากรีดยางได้ใหม่
- อัตราการใช้กระเบื้อง
ประเทศญี่ปุ่น 12 ตร.เมตร / คน / ปี
ประเทศในแถบยุโรป 5 -6 ตร.เมตร / คน / ปี
ไทย น้อยกว่า 2 ตร.เมตร / คน / ปี ถ้าเทียบแล้ว โอกาส growth ยังมีอีกมาก
- มีคนสอบถามว่า ถ้าต้อง import กระเบื้องไปขายที่ต่างประเทศ ราคาเท่าไหร่ถึง ok >> ราคา 109 บาท/แผ่น ก็ ok ครับ
กระบวนการคิดลายใหม่
- คนในบริษัทคิดลาย โดยการวาดรูปและส่งมาให้ designer หลักดู
- หลังจากนั้น designer หลัก จะส่งให้ผู้บริหารพิจารณา
- ถ้าผู้บริหาร ok ก็จะเริ่มผลิตกระเบื้องลายนั้นๆดู และ follow ยอดขาย ว่าประสบความสำเร้จมากน้อยเพียงใด
- - ถ้าลายใด ขายไม่ดี บริษัทจะนำไปทำ promotion แต่ปี 53 -54ยังไม่มีลายใดมาทำ promotion เพราะขายเกือบหมด จะเหลือแค่ประมาณ 1,000 กว่ากล่อง/ ลาย ซึ่งทำ promotion ยาก
- Same Stor Sale Growth ประมาณ 11% / ปี
- ประเทศบางประเทศ เช่น Indonesia ยังทำกระเบื้องสู้ประเทศไทยไม่ได้ เค้ารีบผลิตกระเบื้อง แล้วพบกับปัญหากระเบื้องไม่ได้ประสิทธิภาพ
ปกติคนที่คิด technology การเผากระเบื้องคือ ประเทศ italy หลังจากนั้นประเทศจีน จะเป็นผู้ผลิต
ประเทศไทย , อินโดนีเซีย เป็นผู้ใช้เทคโนโลยี
ความเสี่ยง
1. Natural Diaster ถ้าเกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะกระทบต่อรายได้ของลูกค้า DCC
2. Natural Gas ราคา gas ที่แพงขึ้น จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตกระเบื้อง(DCC ใช้ Natural gas ไม่ใช่ LPG)
3. Chinese Import ตอนนี้ไม่ค่อยห่วงแล้วเพราะกระเบื้องของ DCC ก็มีหน้าตาเหมือนแกรนิตโต้
ส่วนกระเบื้องเกรดเดียวกับที่บริษัททำอยู่ก็ยากที่จะเข้ามาตีตลาด เพราะ กระเบื้องเป็นของหนัก
ขนส่งจะ สูงมาก เวลาเอาเข้ามาก็เลยทำราคาสู้ไม่ได้
- ปัจจุบันDCC จ่ายค่า Gas เป็น Spot Price เพราะทาง PTT ไม่ขาย gas เป็น contract
- 2-4 มี.ค.54 มี road show ที่ประเทศสิงคโปร์
- ผู้บริหารแจ้งว่าช่วงนี้มีคนมาขอดูงานบ่อยมาก ผู้บริหารอยากทำงานมากกว่ามาพูดอย่างเดียว
ชื่อผู้จัดทำสรุปรายงาน noooon010