หน้า 1 จากทั้งหมด 1
สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 25, 2010 1:32 am
โดย soujiro
warren buffett ตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 % ดร.นิเวศน์บอกว่าระยะยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 - 15 % แต่ถ้าพอร์ทยังเล็กเสี่ยงได้มากก็เพิ่มเป็น 20 - 25 %
อย่างนี้หมายความว่า ถ้าพอร์ทเรายังเล็กแต่เราเจอหุ้นที่คิดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ 10% เราก็ควรลงทุนเลยใช่เปล่าครับ หรือว่าเราควรจะรอไปก่อนให้ผลตอบแทนมากกว่านี้เยอะๆ หน่อยเช่นสัก 20 % ขึ้นไปแล้วค่อยลงทุนจะดีกว่า
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 25, 2010 8:16 am
โดย o-bo-ja-ma
สำหรับตัวผมเอง ผมไม่ได้ตั้งว่า 10 หรือ 20% ผมตั้งไว้ว่า ขอให้ชนะตลาดได้ก้อพอใจแล้วครับ
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 26, 2010 1:00 am
โดย เด็กเลี้ยงไม้
สมมุติว่าคุณยากได้ผลตอบแทนที่ 10%
ควรจะเพื่อให้มากกว่านั้นอีกหน่อยครับ สัก 20%
ถ้าบ.ไม่เป็นไปตามที่เราคิด หรือพลาดนิดๆหน่อยๆ
เราก็ยังได้ 10% ถ้าเราตั้งพอดีๆ บ.เกิดพลาด จจะขากทุนได้ง่ายๆครับ
หรือบางท่านก็valuation แบบ conservativeเอาไว้มากๆที่เรียกกันว่า ทาทา เอ๊ย mos ครับ
ส่วนเรื่องตั้งผมตอบแทนก็เอาตามความรู้แล้วกันครับ
ด้วยปัญญาแบบผมปีหน้าสัก 15%ก็แจ่มแล้วครับT_T
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 26, 2010 1:02 am
โดย เด็กเลี้ยงไม้
o-bo-ja-ma เขียน:สำหรับตัวผมเอง ผมไม่ได้ตั้งว่า 10 หรือ 20% ผมตั้งไว้ว่า ขอให้ชนะตลาดได้ก้อพอใจแล้วครับ
เวลาตลาดลง -20% เราก็เอาชนะด้วย -40% อ๊ะป่าวครับ
แซวเล่นนะฮ๊าฟฟ :lol:
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 26, 2010 1:15 pm
โดย กล้วยไม้ขาว
soujiro เขียน:warren buffett ตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 % ดร.นิเวศน์บอกว่าระยะยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 - 15 % แต่ถ้าพอร์ทยังเล็กเสี่ยงได้มากก็เพิ่มเป็น 20 - 25 %
อย่างนี้หมายความว่า ถ้าพอร์ทเรายังเล็กแต่เราเจอหุ้นที่คิดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ 10% เราก็ควรลงทุนเลยใช่เปล่าครับ หรือว่าเราควรจะรอไปก่อนให้ผลตอบแทนมากกว่านี้เยอะๆ หน่อยเช่นสัก 20 % ขึ้นไปแล้วค่อยลงทุนจะดีกว่า
พอร์ทเล็กๆ เวลาซื้อขายจะไม่กระทบราคาตลาด เลยมีโอกาสเลือกหุ้นเติบโตสูงได้มากกว่าครับ
ส่วนการเลือก เราควรเลือกหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนดีที่สุด
ในขอบเขตความรู้ของเราครับ
เช่นรู้จักหุ้นสามตัว A MOS 30%, B MOS 10%, C MOS 25%
ถ้าเราเลือกที่จะถือทั้งสามตัวก็อาจจะให้น้ำหนักที่ A มากกว่า B และ C
เช่นถือ A 45% B 35% C 20% ของพอร์ทเป็นต้นครับ
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 26, 2010 5:06 pm
โดย o-bo-ja-ma
เด็กเลี้ยงไม้ เขียน:o-bo-ja-ma เขียน:สำหรับตัวผมเอง ผมไม่ได้ตั้งว่า 10 หรือ 20% ผมตั้งไว้ว่า ขอให้ชนะตลาดได้ก้อพอใจแล้วครับ
เวลาตลาดลง -20% เราก็เอาชนะด้วย -40% อ๊ะป่าวครับ
แซวเล่นนะฮ๊าฟฟ :lol:
5555 ถูกแล้วคร๊าบ
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 26, 2010 5:33 pm
โดย jek ae
ผมตั้งเป้าหมายผลตอบแทนของการลงทุนตามความคาดหวังการเติบโตของธุรกิจ
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 27, 2010 5:41 pm
โดย imerlot
warren buffett ตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 % ดร.นิเวศน์บอกว่าระยะยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี 10 - 15 % แต่ถ้าพอร์ทยังเล็กเสี่ยงได้มากก็เพิ่มเป็น 20 - 25 %
ที่มา
http://allfinancialmatters.com/2010/03/ ... years-ago/
จากข้อมูล Link ดังกล่าว
ผลตอบแทน
1967-2007 ของ Berkshire =24.73%
1967-2009 ของ Berkshire =22.39%
เพราะว่า ปี 2008 เกิด subprime -31.78%
สูงสุดของ 1967-2009 นั้น 129.27% ต่ำสุดอยู่ที่ -48.72% เฉลี่ย=22.39%
ราคาหุ้นปี 1967 อยู่ที่ $20.50
ราคาหุ้นปี 2010 อยู่ที่ $122,537
It is important to note that Berkshire is currently trading at 122,537 per share, which is up 23.53% so far in 2010. That brings the average annual rate of
return back up to 22.89% over the last 42.19 years.
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 27, 2010 5:52 pm
โดย imerlot
2. พอร์ตของหุ้น Value ที่มีหุ้นประมาณ 70 ตัว ในแต่ละปีในช่วงเก้าปีนั้น กำไรทุกปียกเว้นปี 2551 ที่ขาดทุนประมาณ 2% ปีที่กำไรสูงสุดคือปี 2549 ที่กำไร 73.56% โดยที่กำไรเฉลี่ยแบบทบต้นเท่ากับประมาณ 34% ต่อปี
http://sarut-homesite.net/%E0%B8%A1%E0% ... %E0%B9%80/
เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าการลงทุนแบบ VI ในเมืองไทยนั้นเป็นการลงทุนที่ “เหนือกว่า” อย่างเป็นวิชาการ ไม่ใช่จากการกล่าวอ้าง ผมได้ทำการศึกษาเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนแบบ VI ในตลาดหุ้นไทยสองครั้ง และได้ตีพิมพ์ผลงานลงในหนังสือวารสารทางวิชาการของคณะบริหารธุรกิจของนิด้า ฉบับล่าสุด คือเดือนพฤศจิกายน 2552 และต่อไปนี้คือสาระสำคัญของการศึกษาทั้งสองครั้ง ที่ใช้วิธีการศึกษาแบบเดียวกัน และผมถือโอกาสสรุปรวมการศึกษาทั้งสองครั้งไว้ในที่นี้
วิธีการคัดเลือกว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้น Value หรือเป็นหุ้นคุณค่าก็คือ การหาหุ้นที่มีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า ค่า PB ไม่เกิน 1 เท่า และค่าผลตอบแทนปันผลหรือ Dividend Yield ไม่ต่ำกว่า 3% โดยที่หุ้นตัวไหนเข้าเกณฑ์ดังกล่าวในตอนสิ้นปีที่แล้ว เราก็ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพื่อลงทุนในปีต่อมา เราจะถือหุ้นดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี พอถึงสิ้นปีเราก็มาดูอีกทีหนึ่งว่าหุ้นยังเข้าเกณฑ์หรือไม่ ถ้ายังเข้าเกณฑ์เราก็ยังถือต่อไปเพราะมันยังเป็นหุ้น Value อยู่ ถ้าไม่เข้าเกณฑ์แล้วเราก็ขายทิ้งแล้วเอาเงินไปลงในหุ้นอื่นที่เข้าเกณฑ์แทน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆทุกปี แล้วมาดูว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไรเทียบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์
การศึกษานี้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นปี 2543 จนถึงสิ้นปี 2551 คิดเป็นเวลา 9 ปี ผลของการศึกษาสรุปได้เป็นดังนี้
1. จำนวนหุ้น Value ที่เข้าเกณฑ์และถูกเลือกลงทุนในปี 2543 มี 47 บริษัท และถือว่ามีจำนวนน้อยที่สุดในช่วง 9 ปีที่ศึกษา สาเหตุคงเป็นเพราะในปีนั้นบริษัทจำนวนมากคงยังขาดทุนกันอยู่ ทำให้หาหุ้นที่มีค่า PE ต่ำได้ยาก หลังจากนั้นแล้ว จำนวนหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น Value ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ 70 บริษัท
2. พอร์ตของหุ้น Value ที่มีหุ้นประมาณ 70 ตัว ในแต่ละปีในช่วงเก้าปีนั้น กำไรทุกปียกเว้นปี 2551 ที่ขาดทุนประมาณ 2% ปีที่กำไรสูงสุดคือปี 2549 ที่กำไร 73.56% โดยที่กำไรเฉลี่ยแบบทบต้นเท่ากับประมาณ 34% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์คิดจากดัชนีตลาดนั้น ในช่วง 9 ปี มีขาดทุน 4 ปี และขาดทุนหนักที่สุดในปี 2551 ที่ประมาณ 43% ปีที่ดีที่สุดคือปี 2546 ซึ่งดัชนีตลาดขึ้นไปถึง 118% และเป็นปีเดียวที่ผลตอบแทนของตลาดดีกว่าผลตอบแทนของหุ้น VI โดยเฉลี่ยแล้ว ผลตอบแทนทบต้นของตลาดในช่วง 9 ปีนั้น ให้ผลตอบแทนประมาณ 4.8% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าพอร์ต VI ถึงปีละประมาณ 29%
3. ถ้าสมมุติว่าเราลงทุนเริ่มต้นในปี 2543 จำนวน 1 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2551 พอร์ต VI จะโตขึ้นเป็นประมาณ 13.6 ล้านบาท ขณะที่ถ้าลงทุนตามดัชนีตลาดหุ้น พอร์ตจะเพิ่มขึ้นเป็นเพียง 1.5 ล้านบาทในเวลา 9 ปี
ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ การลงทุนในหุ้น VI ในตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 9 ปีที่ผ่านมานั้นให้ผลตอบแทนที่ “มหัศจรรย์” จริงๆ
และนี่เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมาก ดูแค่ตัวเลขว่าเป็นหุ้นถูกเข้าข่ายหุ้นแบบ VI ในแนวของ เบน เกรแฮม ก็เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม นั่นคืออดีตที่ผ่านมาแล้ว และมันอาจจะเป็นโอกาสทองที่ไม่เกิดขึ้นอีก ในวันที่ VI เพิ่งเริ่มต้นในตลาดหุ้นไทยใหม่ๆ คนอาจจะยังรู้จักการลงทุนแบบนี้น้อย แต่ในวันนี้ คนที่เป็น VI มีมากขึ้น และนี่อาจจะทำให้การลงทุนแนว เบน เกรแฮม ยากขึ้น และผลตอบแทนอาจจะไม่โดดเด่นเท่ากับอดีตที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การลงทุนแบบ VI น่าจะยังเป็นวิธีการที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบอื่น เพราะสถิติของผลตอบแทนแบบ VI จากการศึกษาในตลาดอเมริกาที่พัฒนามากแล้วก็ยังแสดงให้เห็นว่า VI เป็นการลงทุนที่เหนือกว่า แม้ว่าความเหนือกว่าจะไม่มากอย่างที่เห็นจากการศึกษาในครั้งนี้
มหัศจรรย์ของหุ้น VI
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
6 มีนาคม 2553
Re: สงสัยว่าเราควรตั้งเป้าผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 27, 2010 6:08 pm
โดย imerlot
วิธีคำนวณผลตอบแทน
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551
เรื่องของการลงทุนนั้น สิ่งที่เราต้องพูดถึงกันเป็นประจำก็คือ "ผลตอบแทนการลงทุน" เพราะนี่คือหัวใจสำคัญ ที่จะบอกว่านักลงทุนแต่ละคนประสบความสำเร็จแค่ไหน การวัดผลตอบแทนการลงทุน ถ้าวัดกันด้วยเม็ดเงินที่ลงทุนเพียงครั้งเดียว และในเวลาสั้นๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก
ตัวอย่างเช่น ถ้าตอนต้นปีเรามีเงินลงทุน 1 ล้านบาท พอถึงปลายปีเงินกลายเป็น 1.1 ล้านบาท โดยที่เราไม่ได้ใส่เงินเพิ่มหรือเอาเงินออกมาจากการลงทุนเลย แบบนี้แปลว่าผลตอบแทนเท่ากับ 10% ต่อปี ซึ่งหาได้โดยการเอาจำนวนเงินปลายปีลบด้วยเงินต้นปีหารด้วยเงินตอนต้นปีคูณด้วยร้อย นี่ก็คือ การคำนวณหาผลตอบแทนพื้นฐานของ "ผลตอบแทนต่อปี" ที่เราใช้พูดถึงหรืออ้างอิงกันตลอด
นักลงทุนผู้มุ่งมั่นนั้นย่อมไม่ลงทุนเพียงปีเดียวและไม่วัดผลเพียงปีเดียว การลงทุนหลายปีนั้น ทำให้เราต้องวัดผลหลายปีแล้วนำมาหาค่า "ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี" เพื่อที่จะนำไปเปรียบเทียบกับค่าผลตอบแทนอ้างอิงต่างๆ ได้ แต่ "ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี" นี้มีวิธีคิดหลายวิธีซึ่งอาจจะให้ผลที่แตกต่างกันมากจนทำให้เราเข้าใจผิด นึกว่าเราทำผลงานได้ดี ทั้งที่ผลงานเราไม่ได้เรื่องก็เป็นได้ ลองมาดูกันว่ามีวิธีคิดผลตอบแทนเฉลี่ยแบบไหนบ้างและเราควรเลือกใช้วิธีไหน
วิธีที่ง่ายที่สุดแต่เป็นวิธีที่ไม่ดีเลย ก็คือ วิธีหาผลตอบแทนเฉลี่ยแบบเลขคณิต นี่คือการเอาผลตอบแทนแต่ละปีมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนปี ยกตัวอย่างเช่น เริ่มต้นปีแรกเรามีเงินลงทุน 1 ล้านบาท พอถึงสิ้นปีแรกพอร์ตเราเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านบาท (ตัวเลขนี้รวมปันผลและมูลค่าหุ้นที่เราถืออยู่) เราคำนวณได้ว่าผลตอบแทนปีที่ 1 เท่ากับ 100% ตอนเริ่มปีที่ 2 เราไม่ได้เอาเงินออกเลยแต่ลงทุนต่อไปจนถึงสิ้นปีที่ 2 ปรากฏว่าเราขาดทุน มูลค่าพอร์ตกลับมาอยู่ที่ 1 ล้านบาท เราคำนวณหาค่าผลตอบแทนได้เท่ากับ 1 ลบด้วย 2 หารด้วย 2 คูณด้วย 100 ได้เท่ากับ ติดลบ 50%
ดังนั้น ถ้าเราหาค่าเฉลี่ยก็จะพบว่าผลตอบแทนต่อปีเท่ากับ 100-50 หารด้วย 2 เท่ากับ 25% ต่อปี ซึ่งดูแล้วก็เป็นตัวเลขที่ดีเยี่ยม แต่ถ้าดูของจริง ก็คือ หลังจากลงทุนมา 2 ปี เงินของเราก็ยังเท่าเดิมคือ 1 ล้านบาท ซึ่งแปลว่าเราไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย ผลตอบแทนควรจะเป็น "ศูนย์เปอร์เซ็นต์ต่อปี" และนี่นำมาสู่วิธีการคิดผลตอบแทนที่ถูกต้องกว่าที่เราเรียกว่า "ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น"
ปัญหาของผลตอบแทนเฉลี่ยแบบเลขคณิต ก็คือ ผลตอบแทนของแต่ละปีที่ขึ้นๆ ลงๆ และเรื่องของเม็ดเงินลงทุนในแต่ละปีที่ไม่เท่ากัน เพราะเราเอาเงินที่กำไรในปีก่อนมา "ทบต้น" ลงไปอีก เช่นในปีแรกเราลงทุนเพียง 1 ล้านบาทและเราทำกำไรอีก 1 ล้านบาทหรือกำไร 100% กลายเป็น 2 ล้านบาท แต่ในปีที่ 2 แม้ว่าเราจะขาดทุนเพียง 50% แต่เราลงทุนถึง 2 ล้านบาท
ดังนั้น แม้จะขาดทุนเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยกว่ากำไรที่ได้ในปีแรกถึงเท่าตัว แต่เม็ดเงินที่ใช้ก็มากกว่าถึงหนึ่งเท่าตัวเช่นกัน ผลก็คือ กำไรที่ได้มาในปีแรกหายหมด วิธีแก้ก็คือ เราต้องคำนวณโดยการสมมติเสมือนหนึ่งว่าเราได้ผลตอบแทนเท่ากันทุกปี และเงินที่ได้เพิ่มขึ้นมาในแต่ละปีไม่มีการนำออกไปใช้แต่ลงทุน "ทบต้น" ลงไปทุกปี ถ้าคิดแบบนี้แล้วผลตอบแทนจะเป็นอย่างไร?
ในกรณีของตัวอย่างก็คือ เรารู้ว่าลงทุนมา 2 ปี ผลตอบแทนเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้นก็ต้องเป็น ศูนย์เปอร์เซ็นต์แน่นอน แต่ในกรณีอื่นๆ การหาผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นนั้น เราต้อง "ลองผิดลองถูก" ตัวอย่างเช่น เราลงทุนมา 3 ปี จาก 1 ล้านบาท กลายมาเป็น 1.6 ล้านบาท เท่ากับว่า 3 ปีได้เพิ่มขึ้น 60% ถ้าคิดแบบไม่ทบต้นเราก็จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 20% แต่ถ้าคิดแบบทบต้นเราจะต้องได้น้อยกว่านี้ (เสมอ)
สมมติว่าให้ได้ 16% ต่อปี ดังนั้นจบปีแรกพอร์ตของเราจะกลายเป็น 1.16 ล้านบาท ปีที่สองจาก 1.16 ล้านบาทผลตอบแทน 16% ก็จะกลายเป็น 1.35 ล้านบาท ปีที่สาม จาก 1.35 ล้านบาท โต 16% ก็จะกลายเป็น 1.56 ล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่า 1.6 ล้านบาท ที่เรามีอยู่ นั่นแปลว่าผลตอบแทนทบต้นของเราจะต้องมากกว่า 16% ต่อปี ดังนั้น เราลองสมมติใหม่เป็น 17% ต่อปี วิธีคิดก็แบบเดิม นั่นคือ เอา 1 คูณด้วย 1.17 สามครั้งซึ่งได้เท่ากับ 1.6 ล้านพอดี
ดังนั้นคำตอบก็คือ เราได้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยต่อปี 17% ผมอธิบายมายืดยาวเพื่อให้รู้ความหมาย แต่วิธีคำนวณหาผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นต่อปีนั้น จริงๆ แล้วสามารถคำนวณได้ง่ายๆ จากเครื่องคิดเลขทางการเงินราคาไม่แพง
ปัญหาต่อมาสำหรับนักลงทุนก็คือ เรามักจะมีการ "เพิ่มเงินลงทุน" เนื่องจากเรามีเงินเหลือจากรายได้อื่น เช่นจากเงินเดือนหรือโบนัส หรือในบางครั้งเราอาจจะเอาเงินออกหรือ "ถอนเงินลงทุน" บางส่วนเพื่อไปใช้อย่างอื่น เราจะทำอย่างไร? วิธีของผมก็คือ เอาง่ายๆ ให้คิดว่าเงินทุกบาทที่เข้าหรือออกให้คิดเสมือนว่า เกิดขึ้นในช่วงต้นปีของปีที่มีเงินเข้าหรือออกนั้น และก็คิดผลตอบแทนไปตามปกติ นั่นก็คือ ผลตอบแทนต่อปีเท่ากับมูลค่าพอร์ตปลายปีลบต้นปีหารด้วยพอร์ตตอนต้นปีคูณด้วยร้อย
วิธีนี้อาจทำให้ตัวเลขผลตอบแทนคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ในระยะยาวแล้ว ก็มักจะไม่เปลี่ยนแปลงภาพรวมของผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้ามีกรณีการเพิ่มเงินหรือถอนเงิน เวลาจะคำนวณหาค่าผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น ควรจะต้องปรับมูลค่าของพอร์ตให้เริ่มจากฐาน 100 ในปีแรกแทนที่จะเป็นตัวเลขเม็ดเงินเป็นบาท ซึ่งจะทำให้การคำนวณง่ายขึ้น
วิธีคำนวณแบบที่ผมใช้นี้ เป็นวิธีหนึ่งและอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่เป็นวิธีที่น่าจะ "ประมาณว่าถูก" และเพียงพอในทางปฏิบัติ การใช้วิธีที่ซับซ้อนเกินไปอาจจะทำให้เราสับสนและพลาดจาก "ภาพใหญ่" ที่ว่า ผลการลงทุนของเรานั้นเป็นอย่างไรในช่วงเวลาที่ยาวนาน
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q ... il29p3.htm