เกร็ด RMF แบบวิชามาร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 28, 2010 6:34 am
// พอดีช่วงใกล้สินปีก็เลยกำลังพิจารณาจะซื้อกองทุนเพื่อลดภาษี แล้วนั่งนึกไปนึกมาก็รู้สึกว่าไม่เคยได้ลองอ่านหลักเกณฑ์ของ RMF แบบจริงจังสักที อาศัยฟังเขาเล่า หรืออ่านเอาจากเอกสารโฆษณา พอได้ศึกษาดูก็พบว่ามันมีรายละเอียดที่น่าสนใจ และ ข้อจำกัดสำคัญเรื่องระยะเวลาที่ทำให้หลายคนมองข้ามนั้นก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดที่หนักหนาอะไร อ่านแล้วก็กลัวลืมเลยทำเป็นบันทึกไว้ช่วยจำ เลยถือโอกาสนำมาลงที่ ThaiVI ด้วยเผื่อว่าจะมีประโยชน์กับท่านที่สนใจบ้าง เนื่องจากโดยส่วนตัวก็ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี ดังนั้นถ้าท่านใดอ่านแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาด มีข้อติติง ชี้แนะ ก็เชิญได้เลย //
***คำเตือน ข้อความต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้นไม่ได้รับประกันว่าปฏิบัติตามแล้วจะปราศจากภาระทางภาษีแต่อย่างใด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษีอากรหรือเจ้าหน้าที่จากบลจ.ประกอบด้วย***
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุนเพื่อการประหยัดภาษีที่หลายคนสนใจ แต่พอเห็นเงื่อนไขที่ว่าต้องลงทุนต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี แล้วก็มักจะเบือนหน้าหนี เพราะเงื่อนไขที่เข้าใจว่าต้องลงทุน "ยาววววจนแก่" จนทำให้มองข้ามไปโดยที่ยังไม่ทันได้ศึกษาข้อมูลกฎข้อบังคับให้ลึกซึ้ง ทั้งๆที่ถ้าได้ลองศึกษาข้อมูลให้ละเอียดสักหน่อยจะพบว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประหยัดภาษีที่ไม่จำเป็นต้องลงทุน "ยาวววววจนแก่" อย่างที่คิดแต่แรกก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามกฎของ RMF ค่อนข้างจะหยุมหยิมกว่า LTF พอสมควร ต้องทำความเข้าใจให้ดีด้วย
เกร็ดข้อมูลที่สำคัญของการลงทุนใน RMF ที่ควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจะกาทิ้ง หรือ กาถูก มีดังนี้ (ณ ขณะนี้อ้างอิงตามประกาศอธิบดีฯฉบับที่ 171-ม.ค. 2551)
เงื่อนไขข้อบังคับ
■ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าปีไหนลืม หรือ ไม่มีเงิน ก็สามารถหยุดซื้อได้เหมือนกัน แต่ห้ามหยุดซื้อเกิน 1 ปีต่อเนื่องกัน
■วงเงินที่ต้องซื้อต่อปีคือ ไม่น้อยกว่า 3% ของรายได้พึงประเมิน หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
■ซื้อแล้วต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปี (นับจากวันที่ซื้อครั้งแรก ไม่ได้นับแค่ปีที่ซื้อแบบ LTF) และมีอายุเกิน 55 ปี (แต่ถ้าซื้อก่อน 30 มี.ค. 2551 จะใช้ตามประกาศอธิบดีฯ ฉบับ 90 ซึ่งเขียนไว้ด้วยคำว่า หรือ จึงเป็นช่องโหว่ให้สามารถขายคืนได้ถ้าถือมาครบ 5 ปีแม้จะอายุไม่ถึง 55 ปีก็ตาม)
โดยเฉพาะข้อสุดท้ายนั้นสำคัญมาก ถ้ายังไม่ถึงขั้นอับจนหนทางจริงๆ ถ้าอายุยังไม่ถึง 55 และ ถือยังไม่ครบ 5 ปี ซื้อมาแล้วห้ามขายโดยเด็ดขาด แม้ส่วนที่ไม่ได้นำไปหักลดหย่อนก็ห้ามขาย ถ้าไปเผลอขายเมื่อไหร่ถือว่าจบเลยทันที แม้จะขายแม้เป็นเงินเล็กน้อยแค่ไหน พันสองพันก็ตาม ถือว่าสิทธิการยกเว้นภาษีจากการลงทุนในกองทุน RMF (เฉพาะ)กองนั้นจบลงทันที พร้อมกับมีภาระการประเมินภาษีย้อนหลังตามมาทันที
ที่คนพลาดกันมากคือ บางปีซื้อเกินแล้วหักลดหย่อนไม่ได้ ปีถัดไปก็ไปขายส่วนนั้น กับอีกกรณีคือนึกว่านับอายุแค่ตามปีที่ซื้อแบบ LTF จึงไม่ได้ดูวันที่ซื้อ พอเห็นอายุเกิน 55 ปีก็ขายคืนแล้ว ทั้งที่ตอนซื้อมานั้นซื้อเดือน ธ.ค. แต่ขายคืนเดือน มี.ค. อย่างนี้ สิทธิการยกเว้นภาษีก็จะหมดลงทันที แถมยังต้องโดนประเมินภาษีย้อนหลัง
แต่สำหรับใครก็ตามที่ลงทุนใน RMF ตามเงื่อนไขข้างบนครบถ้วนทุกประการ ผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่คนที่ผิดเงื่อนไข Capital Gain ที่ได้ต้องนำมาคำนวณภาษีรายได้ประจำปีด้วย
บทลงโทษ (เบาะๆ)
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทุนตามเงื่อนไข จะมีความเสี่ยงจากการเสียทรัพย์สองส่วนคือ
■ต้องคืนส่วนลดภาษีที่เคยได้มาย้อนหลังไป 5 ปี
■ผลกำไรจากการคืนหน่วยลงทุนต้องนำมาประเมินภาษีรายได้ ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นครบ 5 ปี (จริงคำในประกาศฯที่เกี่ยวข้องคือฉบับที่ 171 จะใช้คำว่า ถือหน่วยลงทุนครบ 5 ปี แต่มีหมายเหตุบอกว่าจะนับเฉพาะในปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น)
ซึ่งจริงๆแล้วบทลงโทษสำหรับผู้ทำผิดเงื่อนไขนั้นมันก็ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่ล่ำลือกันว่าต้องคืนภาษีที่เคยได้ส่วนลดมาทั้งหมดให้กับสรรพากร เพราะจะเห็นว่าที่จริงแล้วเพียงคืนส่วนลดภาษีที่ได้มา 5 ปีย้อนหลังเท่านั้น แถมไม่ภาระภาษีจากกำไรจากเงินลงทุนด้วยในกรณีที่ซื้อหน่วยลงทุนครบ 5 ปีแล้ว
RMF ไม่ต้องถือ "ยาววววจนแก่" อย่างที่คิด
แม้ว่าจุดประสงค์ของกองทุน RMF นี้จะออกแบบเพื่อให้ประชาชนออมเพื่อใช้ยามเกษียณก็ตาม แต่จากข้อบังคับและบทลงโทษข้างต้นท่านที่อ่านอย่างละเอียดก็จะได้ไอเดียว่าจริงๆแล้วการลงทุนใน RMF เพื่อลดภาษีไม่จำเป็นต้องถือ"ยาววววจนแก่" อย่างที่คิด โดยระยะเวลาการลงทุนขั้นต่ำจะยาวกว่า LTF เพียงเล็กน้อย โดยอาจจะพูดได้ว่าระยะเวลาการลงทุนสั้นที่สุดของ RMF คือแค่ 1+5 หรือ 6 ปีเลยด้วยซ้ำ (แต่แน่นอนว่าทางที่ดีแล้วก็ควรจะลงทุนต่อเนื่องจนกว่าจะเกษียณตามวัตถุประสงค์ของกองทุน หรืออย่างน้อยก็อาจจะออมผ่านช่องทางอื่น)
ตัวอย่างการลงทุน RMF แบบ 1+5 ปี
การลงทุน RMF แบบ 1+5 ปี อาจจะเหมาะกับผู้ที่ปกติมีรายได้ไม่เยอะ แต่บังเอิญปีหนึ่งมีรายได้สูงมากผิดปกติ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ นักกีฬาที่ได้เหรียญทอง ปกติอาจมีรายได้ในฐานภาษีต่ำ จนการลงทุนใน RMF ไม่ค่อยได้ประโญชน์มากนัก แต่ปีหนึ่งได้เหรียญทองจากการแข่งขัน ทำให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษจำนวนมากจนแม้จะซื้อ LTFเต็มวงเงิน 15% ของรายได้แล้วก็ตามก็ยังต้องเสียภาษีในฐานที่สูงอยู่
การพิจารณาซื้อ RMF จนเต็มวงเงินที่กำหนด ก็เป็นอีกช่องทางที่ช่วยประหยัดภาษีได้เป็นอย่างดี ส่วนในปีถัดไปรายได้กลับมาสู่ระดับปกติ แทบจะไม่ต้องเสียภาษี ก็เพียงแต่ลงทุนใน RMF ด้วยวงเงินเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 3% ของรายได้ หรือ 5 พันบาทขึ้นไปต่อเนื่องทุกปี ไปจนครบ 1+5 หรือ 6 ปี ค่อยมาพิจารณาว่าจะลงทุน RMF ต่อไปไหม ถ้าไม่ได้มีรายได้พึงประเมินมากนัก หรือ มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็สามรถจะหยุดลงทุนได้ โดยถึงแม้ว่าต้องจ่ายส่วนลดภาษีที่ได้ไปคืน แต่ก็เนื่องจากตามกฎต้องจ่ายเฉพาะในส่วน 5 ปีสุดท้าย ซึ่งเราลงทุนไปแค่ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ ทำให้ส่วนลดภาษีที่ต้องจ่ายคืนไปน้อยมาก ส่วนส่วนลดภาษีก้อนใหญ่ในปีแรกไม่ต้องคืนแต่อย่างใด นอกจากนี้ผลกำไรจากหน่วยลงทุน ยังไม่ต้องนำมาประเมินภาษีรายได้ด้วย ซึ่งกรณีนี้อาจนำมาประยุกต์ใช้ได้กับผู้โชคดีจากการชิงโชค หรือ ถูกรางวัลที่ 1 ทั้งหลายได้เช่นกัน
จากตัวอย่างข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นแสดงให้เห็นว่าทีจริงแล้ว RMF ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุน "ยาววววจนแก่" แต่อย่างใด สำหรับกรณีทั่วไปที่อาจจะไม่ได้สุดโต่งอย่างตัวอย่างข้างต้นเช่น ผู้ที่วางแผนจะเกษียณก่อนอายุ 55 ปี ก็สามารถประยุกต์ใช้ตัวอย่างดังกล่าวได้ โดยลงทุนในกองทุน RMF แค่เท่ากับวงเงินขั้นต่ำในช่วง 5 ปีสุดท้าย ก็จะทำให้สามารถได้ประโยชน์จากการลดภาษีในช่วงปีแรกๆได้เต็มที่เช่นกัน
นอกจากนี้เนื่องจากกองทุน RMF นั้นสามารถเลือกลงทุนในช่องทางการลงทุนที่หลากหลายกว่า LTF โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เต็มจำนวนซึ่งกองทุน LTF ไม่มี ดังนั้นสำหรับผู้ที่กลัวความเสี่ยง กลัวความผันผวนของตลาดหุ้น การลงทุนใน RMF ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าพิจารณา โดยไม่ได้มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่ยาวนานเกินไปนักเมื่อเทียบกับ การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ซึ่งมีระยะเวลาขั้นต่ำ 10 ปี
DemonInvesting
เกร็ดเพิ่มเติม
■RMF สามารถเปลี่ยนกองที่ซื้อ หรือ เปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุนเดิมทุกปี แค่ให้ในปีนั้นยอดรวมเกินเกณฑ์ขั้นต่ำก็พอ
■RMF สามารถบริหารจัดการ ปรับเปลี่ยนโยกย้ายระหว่างกองทุน RMF ด้วยกันได้ เช่นปรับจากกองทุนหุ้นไปซื้อกองทุนตราสารหนี้บ้างก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจจะต้องเสียค่าทำเนียบการสับเปลี่ยนบ้าง
■RMF มีวงเงินขั้นสูงที่ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษี(รวมเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำนาญต่างๆ)ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน และ ไม่เกิน 5 แสนบาท
■แม้การลงทุนในหลายกองทุนจะทำได้ แต่ก็อย่าลืมว่าถ้าจะให้ปลอกภาระไม่ต้องนำกำไรจากการขายมาคำนวณภาษี แต่ละกองทุนต้องมีการลงทุนซื้อหน่วยอย่างน้อย 5 ครั้ง เพื่อให้นับอายุการถือเกิน 5 ปีขึ้นไป
อ้างอิง
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 171 http://www.rd.go.th/publish/39683.0.html
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 170
http://www.rd.go.th/publish/39683.0.html
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับ 90 (สำหรับส่วนซื้อก่อน 30 มีค 51)
http://www.rd.go.th/publish/3111.0.html
คู่มือภาษี RMF จาก บลจ. ธนชาติ (ตามประกาศฉบับ 90)
http://www.thanachartfund.com/PDF/taxdoc.pdf
ข้อหารือกับกรมสรรพากรที่น่าสนใจ
กรณีขายในส่วนที่ไม่ได้ลดหย่อน
http://www.rd.go.th/publish/37247.0.html
กรณีนับระยะเวลาผิด
http://www.rd.go.th/publish/39895.0.html
กรณีซื้อแล้วไม่มีรายได้
http://www.rd.go.th/publish/31434.0.html
กรณีขายคืนหลังถือครบ 5 ปีแต่ก่อนอายุ 55 ตามเกณฑ์เก่า
http://www.rd.go.th/publish/33469.0.html
***คำเตือน ข้อความต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลเท่านั้นไม่ได้รับประกันว่าปฏิบัติตามแล้วจะปราศจากภาระทางภาษีแต่อย่างใด ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษีอากรหรือเจ้าหน้าที่จากบลจ.ประกอบด้วย***
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุนเพื่อการประหยัดภาษีที่หลายคนสนใจ แต่พอเห็นเงื่อนไขที่ว่าต้องลงทุนต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี แล้วก็มักจะเบือนหน้าหนี เพราะเงื่อนไขที่เข้าใจว่าต้องลงทุน "ยาววววจนแก่" จนทำให้มองข้ามไปโดยที่ยังไม่ทันได้ศึกษาข้อมูลกฎข้อบังคับให้ลึกซึ้ง ทั้งๆที่ถ้าได้ลองศึกษาข้อมูลให้ละเอียดสักหน่อยจะพบว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประหยัดภาษีที่ไม่จำเป็นต้องลงทุน "ยาวววววจนแก่" อย่างที่คิดแต่แรกก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามกฎของ RMF ค่อนข้างจะหยุมหยิมกว่า LTF พอสมควร ต้องทำความเข้าใจให้ดีด้วย
เกร็ดข้อมูลที่สำคัญของการลงทุนใน RMF ที่ควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจะกาทิ้ง หรือ กาถูก มีดังนี้ (ณ ขณะนี้อ้างอิงตามประกาศอธิบดีฯฉบับที่ 171-ม.ค. 2551)
เงื่อนไขข้อบังคับ
■ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าปีไหนลืม หรือ ไม่มีเงิน ก็สามารถหยุดซื้อได้เหมือนกัน แต่ห้ามหยุดซื้อเกิน 1 ปีต่อเนื่องกัน
■วงเงินที่ต้องซื้อต่อปีคือ ไม่น้อยกว่า 3% ของรายได้พึงประเมิน หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
■ซื้อแล้วต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปี (นับจากวันที่ซื้อครั้งแรก ไม่ได้นับแค่ปีที่ซื้อแบบ LTF) และมีอายุเกิน 55 ปี (แต่ถ้าซื้อก่อน 30 มี.ค. 2551 จะใช้ตามประกาศอธิบดีฯ ฉบับ 90 ซึ่งเขียนไว้ด้วยคำว่า หรือ จึงเป็นช่องโหว่ให้สามารถขายคืนได้ถ้าถือมาครบ 5 ปีแม้จะอายุไม่ถึง 55 ปีก็ตาม)
โดยเฉพาะข้อสุดท้ายนั้นสำคัญมาก ถ้ายังไม่ถึงขั้นอับจนหนทางจริงๆ ถ้าอายุยังไม่ถึง 55 และ ถือยังไม่ครบ 5 ปี ซื้อมาแล้วห้ามขายโดยเด็ดขาด แม้ส่วนที่ไม่ได้นำไปหักลดหย่อนก็ห้ามขาย ถ้าไปเผลอขายเมื่อไหร่ถือว่าจบเลยทันที แม้จะขายแม้เป็นเงินเล็กน้อยแค่ไหน พันสองพันก็ตาม ถือว่าสิทธิการยกเว้นภาษีจากการลงทุนในกองทุน RMF (เฉพาะ)กองนั้นจบลงทันที พร้อมกับมีภาระการประเมินภาษีย้อนหลังตามมาทันที
ที่คนพลาดกันมากคือ บางปีซื้อเกินแล้วหักลดหย่อนไม่ได้ ปีถัดไปก็ไปขายส่วนนั้น กับอีกกรณีคือนึกว่านับอายุแค่ตามปีที่ซื้อแบบ LTF จึงไม่ได้ดูวันที่ซื้อ พอเห็นอายุเกิน 55 ปีก็ขายคืนแล้ว ทั้งที่ตอนซื้อมานั้นซื้อเดือน ธ.ค. แต่ขายคืนเดือน มี.ค. อย่างนี้ สิทธิการยกเว้นภาษีก็จะหมดลงทันที แถมยังต้องโดนประเมินภาษีย้อนหลัง
แต่สำหรับใครก็ตามที่ลงทุนใน RMF ตามเงื่อนไขข้างบนครบถ้วนทุกประการ ผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่คนที่ผิดเงื่อนไข Capital Gain ที่ได้ต้องนำมาคำนวณภาษีรายได้ประจำปีด้วย
บทลงโทษ (เบาะๆ)
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทุนตามเงื่อนไข จะมีความเสี่ยงจากการเสียทรัพย์สองส่วนคือ
■ต้องคืนส่วนลดภาษีที่เคยได้มาย้อนหลังไป 5 ปี
■ผลกำไรจากการคืนหน่วยลงทุนต้องนำมาประเมินภาษีรายได้ ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นครบ 5 ปี (จริงคำในประกาศฯที่เกี่ยวข้องคือฉบับที่ 171 จะใช้คำว่า ถือหน่วยลงทุนครบ 5 ปี แต่มีหมายเหตุบอกว่าจะนับเฉพาะในปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น)
ซึ่งจริงๆแล้วบทลงโทษสำหรับผู้ทำผิดเงื่อนไขนั้นมันก็ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่ล่ำลือกันว่าต้องคืนภาษีที่เคยได้ส่วนลดมาทั้งหมดให้กับสรรพากร เพราะจะเห็นว่าที่จริงแล้วเพียงคืนส่วนลดภาษีที่ได้มา 5 ปีย้อนหลังเท่านั้น แถมไม่ภาระภาษีจากกำไรจากเงินลงทุนด้วยในกรณีที่ซื้อหน่วยลงทุนครบ 5 ปีแล้ว
RMF ไม่ต้องถือ "ยาววววจนแก่" อย่างที่คิด
แม้ว่าจุดประสงค์ของกองทุน RMF นี้จะออกแบบเพื่อให้ประชาชนออมเพื่อใช้ยามเกษียณก็ตาม แต่จากข้อบังคับและบทลงโทษข้างต้นท่านที่อ่านอย่างละเอียดก็จะได้ไอเดียว่าจริงๆแล้วการลงทุนใน RMF เพื่อลดภาษีไม่จำเป็นต้องถือ"ยาววววจนแก่" อย่างที่คิด โดยระยะเวลาการลงทุนขั้นต่ำจะยาวกว่า LTF เพียงเล็กน้อย โดยอาจจะพูดได้ว่าระยะเวลาการลงทุนสั้นที่สุดของ RMF คือแค่ 1+5 หรือ 6 ปีเลยด้วยซ้ำ (แต่แน่นอนว่าทางที่ดีแล้วก็ควรจะลงทุนต่อเนื่องจนกว่าจะเกษียณตามวัตถุประสงค์ของกองทุน หรืออย่างน้อยก็อาจจะออมผ่านช่องทางอื่น)
ตัวอย่างการลงทุน RMF แบบ 1+5 ปี
การลงทุน RMF แบบ 1+5 ปี อาจจะเหมาะกับผู้ที่ปกติมีรายได้ไม่เยอะ แต่บังเอิญปีหนึ่งมีรายได้สูงมากผิดปกติ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ นักกีฬาที่ได้เหรียญทอง ปกติอาจมีรายได้ในฐานภาษีต่ำ จนการลงทุนใน RMF ไม่ค่อยได้ประโญชน์มากนัก แต่ปีหนึ่งได้เหรียญทองจากการแข่งขัน ทำให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษจำนวนมากจนแม้จะซื้อ LTFเต็มวงเงิน 15% ของรายได้แล้วก็ตามก็ยังต้องเสียภาษีในฐานที่สูงอยู่
การพิจารณาซื้อ RMF จนเต็มวงเงินที่กำหนด ก็เป็นอีกช่องทางที่ช่วยประหยัดภาษีได้เป็นอย่างดี ส่วนในปีถัดไปรายได้กลับมาสู่ระดับปกติ แทบจะไม่ต้องเสียภาษี ก็เพียงแต่ลงทุนใน RMF ด้วยวงเงินเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 3% ของรายได้ หรือ 5 พันบาทขึ้นไปต่อเนื่องทุกปี ไปจนครบ 1+5 หรือ 6 ปี ค่อยมาพิจารณาว่าจะลงทุน RMF ต่อไปไหม ถ้าไม่ได้มีรายได้พึงประเมินมากนัก หรือ มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็สามรถจะหยุดลงทุนได้ โดยถึงแม้ว่าต้องจ่ายส่วนลดภาษีที่ได้ไปคืน แต่ก็เนื่องจากตามกฎต้องจ่ายเฉพาะในส่วน 5 ปีสุดท้าย ซึ่งเราลงทุนไปแค่ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ ทำให้ส่วนลดภาษีที่ต้องจ่ายคืนไปน้อยมาก ส่วนส่วนลดภาษีก้อนใหญ่ในปีแรกไม่ต้องคืนแต่อย่างใด นอกจากนี้ผลกำไรจากหน่วยลงทุน ยังไม่ต้องนำมาประเมินภาษีรายได้ด้วย ซึ่งกรณีนี้อาจนำมาประยุกต์ใช้ได้กับผู้โชคดีจากการชิงโชค หรือ ถูกรางวัลที่ 1 ทั้งหลายได้เช่นกัน
จากตัวอย่างข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นแสดงให้เห็นว่าทีจริงแล้ว RMF ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุน "ยาววววจนแก่" แต่อย่างใด สำหรับกรณีทั่วไปที่อาจจะไม่ได้สุดโต่งอย่างตัวอย่างข้างต้นเช่น ผู้ที่วางแผนจะเกษียณก่อนอายุ 55 ปี ก็สามารถประยุกต์ใช้ตัวอย่างดังกล่าวได้ โดยลงทุนในกองทุน RMF แค่เท่ากับวงเงินขั้นต่ำในช่วง 5 ปีสุดท้าย ก็จะทำให้สามารถได้ประโยชน์จากการลดภาษีในช่วงปีแรกๆได้เต็มที่เช่นกัน
นอกจากนี้เนื่องจากกองทุน RMF นั้นสามารถเลือกลงทุนในช่องทางการลงทุนที่หลากหลายกว่า LTF โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เต็มจำนวนซึ่งกองทุน LTF ไม่มี ดังนั้นสำหรับผู้ที่กลัวความเสี่ยง กลัวความผันผวนของตลาดหุ้น การลงทุนใน RMF ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าพิจารณา โดยไม่ได้มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่ยาวนานเกินไปนักเมื่อเทียบกับ การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ซึ่งมีระยะเวลาขั้นต่ำ 10 ปี
DemonInvesting
เกร็ดเพิ่มเติม
■RMF สามารถเปลี่ยนกองที่ซื้อ หรือ เปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุนเดิมทุกปี แค่ให้ในปีนั้นยอดรวมเกินเกณฑ์ขั้นต่ำก็พอ
■RMF สามารถบริหารจัดการ ปรับเปลี่ยนโยกย้ายระหว่างกองทุน RMF ด้วยกันได้ เช่นปรับจากกองทุนหุ้นไปซื้อกองทุนตราสารหนี้บ้างก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจจะต้องเสียค่าทำเนียบการสับเปลี่ยนบ้าง
■RMF มีวงเงินขั้นสูงที่ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษี(รวมเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำนาญต่างๆ)ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน และ ไม่เกิน 5 แสนบาท
■แม้การลงทุนในหลายกองทุนจะทำได้ แต่ก็อย่าลืมว่าถ้าจะให้ปลอกภาระไม่ต้องนำกำไรจากการขายมาคำนวณภาษี แต่ละกองทุนต้องมีการลงทุนซื้อหน่วยอย่างน้อย 5 ครั้ง เพื่อให้นับอายุการถือเกิน 5 ปีขึ้นไป
อ้างอิง
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 171 http://www.rd.go.th/publish/39683.0.html
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 170
http://www.rd.go.th/publish/39683.0.html
ประกาศอธิบดีฯ ฉบับ 90 (สำหรับส่วนซื้อก่อน 30 มีค 51)
http://www.rd.go.th/publish/3111.0.html
คู่มือภาษี RMF จาก บลจ. ธนชาติ (ตามประกาศฉบับ 90)
http://www.thanachartfund.com/PDF/taxdoc.pdf
ข้อหารือกับกรมสรรพากรที่น่าสนใจ
กรณีขายในส่วนที่ไม่ได้ลดหย่อน
http://www.rd.go.th/publish/37247.0.html
กรณีนับระยะเวลาผิด
http://www.rd.go.th/publish/39895.0.html
กรณีซื้อแล้วไม่มีรายได้
http://www.rd.go.th/publish/31434.0.html
กรณีขายคืนหลังถือครบ 5 ปีแต่ก่อนอายุ 55 ตามเกณฑ์เก่า
http://www.rd.go.th/publish/33469.0.html