"คลัง" เล็งเก็บภาษีเงินนอก 3% สกัดบาทแข็ง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 09, 2010 4:40 pm
"คลัง" เล็งเก็บภาษีเงินนอก 3% สกัดบาทแข็ง
เล็ง เก็บภาษีเงินนอก 3% สกัด"บาทแข็ง" คลังเตรียมชง ครม. 12 ตุลาฯนี้ เฉพาะเงินร้อนที่ไหลซื้อ"พันธบัตร-ตราสารหนี้"นายกฯรับต้องดูแลภาคส่งออก เพราะรายได้หดตัวลง "กรณ์"ใช้เวทีเวิลด์แบงก์ เรียกร้อง ปท.มหาอำนาจเแก้ปัญหาค่าเงิน
กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่มี ลักษณะเก็งกำไรเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 ตุลาคม โดยจะเสนอให้มีการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ในอัตรา 3% สำหรับเงินลงทุนในตลาดพันธบัตร ตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน
โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ว่าข้อเสนอดังกล่าว นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สาเหตุที่ให้เก็บภาษีตลาดพันธบัตร ตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นตลาดที่เงินทุนจากต่างประเทศนิยมเข้าลงทุนเก็งกำไรมากที่สุด เฉพาะปีนี้มีตัวเลขเพิ่มขึ้นถึง 1.4 แสนล้านบาท
"การเก็บภาษีดังกล่าวจะเริ่มกับเงินทุนใหม่ที่จะเข้ามาซื้อพันธบัตร หรือตราสารหนี้ แต่จะไม่มีผลย้อนหลังกับเงินที่ลงทุนอยู่เดิม ยกเว้นว่าเมื่อเงินลงทุนเดิมครบกำหนดแล้ว ยังต้องการลงทุนต่อไปก็จะต้องเสียภาษีดังกล่าว" แหล่งข่าวระบุ
ส่วนข้อเสนอให้จัดเก็บภาษีอัตรา 3% นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า อัตราดังกล่าวจะทำให้เงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาลงทุนในพันธบัตรหรือ ตราสารหนี้ ไม่เหลือส่วนต่างดอกเบี้ย เนื่องจากปัจจุบัน พันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 2 ปี มีอัตราดอกเบี้ย 2% ขณะที่พันธบัตรสหรัฐอัตราดอกเบี้ยเกือบจะ 0% เงินจึงไหลเข้ามากินส่วนต่างดอกเบี้ย 2% ดังกล่าว การเก็บภาษีอัตรา 3% จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่เหลือผลตอบแทนเลย และต้องจ่ายให้ไทยเพิ่มอีก 1% ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่ได้ผล
สำหรับความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทวันเดียวกันนี้ นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายงานว่า เงินบาทกลับมาปิดตลาดเหนือ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้อีกครั้ง หลังจากที่วันก่อนหน้าแข็งค่าไปปิดตลาดที่ 29.87-29.89 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุที่บาทอ่อนค่าลงเนื่องมาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาดีเกินคาด ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ประกอบกับตลาดตื่นตัวในเรื่องมาตรการที่กระทรวงการคลังออกมาส่งสัญญาณ ทำให้มีการเทขายเงินบาทออกมาค่อนข้างมาก โดยเงินบาทปิดตลาดที่ 30.04-30.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะรายงานให้ที่ประชุม ครม.ทราบในวันที่ 12 ตุลาคม ว่าจะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างไรบ้าง รวมทั้งจะมีการเสนอ ครม.เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วย
"ผมได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศไปแล้วว่า นายกรณ์จะนำมาตรการดังกล่าวไปชี้แจงทั้งในที่ประชุมธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานในทางนโยบายระหว่างประเทศหลักๆ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า กำลังจับตาดูตัวเลขการส่งออกว่าได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทหรือไม่ โดยที่ผ่านมาการส่งออกในแง่ตัวเลขการขยายตัวไม่กระทบมาก แต่ที่กระทบคือรายได้ของผู้ส่งออกที่ต้องแก้ไข
ด้านนายกรณ์ให้สัมภาษณ์ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ากระทรวงการคลังและ ธปท.ได้ติดตามเรื่องค่าเงินอย่างใกล้ชิด และประเมินมาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศนำออกมาใช้ตลอดเวลา หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปกป้องตัวเองต้องคำนึงถึงผลในระยะยาว
"ถ้า ธปท.ต้องการความร่วมมือจากคลังในการดูค่าเงินบาทที่แข็งค่า กระทรวงการคลังก็พร้อมจะดำเนินการ" นายกรณ์ระบุ และว่า ที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าแทรกแซงเพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป เห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่การเข้าแทรกแซงเป็นการทำให้การแข็งค่าขึ้นชะลอลงเท่านั้น ไม่สามารถสวนทิศทางให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนได้ ดังนั้น การออกมาตรการเพื่อเป็นกำแพงกีดกันการไหลเข้ามาของเงิน จะต้องระมัดระวัง ต้องมีความเหมาะสมและตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะไทยยังมีความจำเป็นต้องพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศ
นายกรณ์กล่าวว่า ได้หารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. โดยไทยจะใช้เวทีการประชุมประจำปีของธนาคารโลก และไอเอ็มเอฟ ในวันที่ 8-9 ตุลาคมนี้ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เรียกร้องให้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทั้งสหรัฐ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น หารือเพื่อหาข้อยุติแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน
"ตอนนี้ปัญหาค่าเงินเป็นประเด็นร้อนของโลก หากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจไม่แก้ไขปัญหาร่วมกัน และเป็นไปอย่างที่เห็นคือ ประเทศญี่ปุ่นปกป้องค่าเงินของตัวเอง ประเทศจีนไม่ยอมยืดหยุ่นค่าเงินให้แข็งค่าตามเศรษฐกิจที่แท้จริง สหรัฐอเมริกาก็เดือดร้อนเพราะรู้สึกโดนเอาเปรียบ ส่งผลให้ประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่รวมทั้งไทย ได้รับผลกระทบจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทของไทย และภูมิภาคแข็งค่ากว่าที่ควรเป็น"
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทให้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปอีกในช่วงปลายปีนั้น ต้องดูว่าตัวเลขการส่งออกของไทยในอีก 2 เดือนที่เหลือจะเป็นอย่างไร และตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐจะไปในทิศทางใดอีก หากการส่งออกขยายตัวได้ดีและเศรษฐกิจสหรัฐมีข่าวไม่ดีออกมา จะเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทยิ่งแข็งค่าขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม การที่ตลาดเงินของประเทศไทยมีขนาดเล็กและเปิดมากกว่าประเทศอื่นเป็นส่วน หนึ่งให้เงินทุนไหลเข้ามามากซึ่งเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินแข็งค่าเร็ว
"ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศค่อนข้างมาก ทั้งตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตรทำให้เงินบาทแข็งค่ามาก ทั้งนี้ ต้องจับตาดูช่วงเดือนมกราคม 2554 เพราะนักลงทุนต่างชาติจะมีการขายออกเพื่อทำกำไร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ แต่หากมีปริมาณมากจะมีผลให้ค่าเงินผันผวนอีก แต่ในปีนี้ก็อาจเห็นค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ในช่วง 28-29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ" นายสุภัคกล่าว
ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีความกังวลในปัญหาค่าเงินบาท จึงจะจัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมผู้ส่งออก สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงนายโอฬาร ไชยประวัติ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ตน และอดีตรัฐมนตรีของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ ก่อนที่จะเสนอทางออกไปยังรัฐบาล
ที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษก ชทพ. แถลงว่า ได้รับข้อมูลว่าขณะนี้สินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งแล้ว ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวลดลง เมื่อแลกเงินดอลลาร์มาเป็นเงินบาท สิ่งที่ตามมาคือทำให้ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวเพื่อชดเชยเม็ด เงินที่หายไปจากการแข็งค่าเงินบาทด้วย ทั้งนี้ พรรคอยากเรียกร้องไปยัง ธปท.โดยเฉพาะนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ต้องชี้แจงกรณีดังกล่าวให้ประชาชนและนักธุรกิจเกิดความมั่นใจจากการแข็ง ค่าของเงินบาทในขณะนี้
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... =&catid=05
เล็ง เก็บภาษีเงินนอก 3% สกัด"บาทแข็ง" คลังเตรียมชง ครม. 12 ตุลาฯนี้ เฉพาะเงินร้อนที่ไหลซื้อ"พันธบัตร-ตราสารหนี้"นายกฯรับต้องดูแลภาคส่งออก เพราะรายได้หดตัวลง "กรณ์"ใช้เวทีเวิลด์แบงก์ เรียกร้อง ปท.มหาอำนาจเแก้ปัญหาค่าเงิน
กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่มี ลักษณะเก็งกำไรเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 ตุลาคม โดยจะเสนอให้มีการเก็บภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ในอัตรา 3% สำหรับเงินลงทุนในตลาดพันธบัตร ตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน
โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ว่าข้อเสนอดังกล่าว นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สาเหตุที่ให้เก็บภาษีตลาดพันธบัตร ตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นตลาดที่เงินทุนจากต่างประเทศนิยมเข้าลงทุนเก็งกำไรมากที่สุด เฉพาะปีนี้มีตัวเลขเพิ่มขึ้นถึง 1.4 แสนล้านบาท
"การเก็บภาษีดังกล่าวจะเริ่มกับเงินทุนใหม่ที่จะเข้ามาซื้อพันธบัตร หรือตราสารหนี้ แต่จะไม่มีผลย้อนหลังกับเงินที่ลงทุนอยู่เดิม ยกเว้นว่าเมื่อเงินลงทุนเดิมครบกำหนดแล้ว ยังต้องการลงทุนต่อไปก็จะต้องเสียภาษีดังกล่าว" แหล่งข่าวระบุ
ส่วนข้อเสนอให้จัดเก็บภาษีอัตรา 3% นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า อัตราดังกล่าวจะทำให้เงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาลงทุนในพันธบัตรหรือ ตราสารหนี้ ไม่เหลือส่วนต่างดอกเบี้ย เนื่องจากปัจจุบัน พันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 2 ปี มีอัตราดอกเบี้ย 2% ขณะที่พันธบัตรสหรัฐอัตราดอกเบี้ยเกือบจะ 0% เงินจึงไหลเข้ามากินส่วนต่างดอกเบี้ย 2% ดังกล่าว การเก็บภาษีอัตรา 3% จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่เหลือผลตอบแทนเลย และต้องจ่ายให้ไทยเพิ่มอีก 1% ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่ได้ผล
สำหรับความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทวันเดียวกันนี้ นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายงานว่า เงินบาทกลับมาปิดตลาดเหนือ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้อีกครั้ง หลังจากที่วันก่อนหน้าแข็งค่าไปปิดตลาดที่ 29.87-29.89 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุที่บาทอ่อนค่าลงเนื่องมาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาดีเกินคาด ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ประกอบกับตลาดตื่นตัวในเรื่องมาตรการที่กระทรวงการคลังออกมาส่งสัญญาณ ทำให้มีการเทขายเงินบาทออกมาค่อนข้างมาก โดยเงินบาทปิดตลาดที่ 30.04-30.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะรายงานให้ที่ประชุม ครม.ทราบในวันที่ 12 ตุลาคม ว่าจะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างไรบ้าง รวมทั้งจะมีการเสนอ ครม.เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วย
"ผมได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศไปแล้วว่า นายกรณ์จะนำมาตรการดังกล่าวไปชี้แจงทั้งในที่ประชุมธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานงานในทางนโยบายระหว่างประเทศหลักๆ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่า กำลังจับตาดูตัวเลขการส่งออกว่าได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทหรือไม่ โดยที่ผ่านมาการส่งออกในแง่ตัวเลขการขยายตัวไม่กระทบมาก แต่ที่กระทบคือรายได้ของผู้ส่งออกที่ต้องแก้ไข
ด้านนายกรณ์ให้สัมภาษณ์ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่ากระทรวงการคลังและ ธปท.ได้ติดตามเรื่องค่าเงินอย่างใกล้ชิด และประเมินมาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศนำออกมาใช้ตลอดเวลา หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปกป้องตัวเองต้องคำนึงถึงผลในระยะยาว
"ถ้า ธปท.ต้องการความร่วมมือจากคลังในการดูค่าเงินบาทที่แข็งค่า กระทรวงการคลังก็พร้อมจะดำเนินการ" นายกรณ์ระบุ และว่า ที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าแทรกแซงเพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป เห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่การเข้าแทรกแซงเป็นการทำให้การแข็งค่าขึ้นชะลอลงเท่านั้น ไม่สามารถสวนทิศทางให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนได้ ดังนั้น การออกมาตรการเพื่อเป็นกำแพงกีดกันการไหลเข้ามาของเงิน จะต้องระมัดระวัง ต้องมีความเหมาะสมและตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะไทยยังมีความจำเป็นต้องพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศ
นายกรณ์กล่าวว่า ได้หารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. โดยไทยจะใช้เวทีการประชุมประจำปีของธนาคารโลก และไอเอ็มเอฟ ในวันที่ 8-9 ตุลาคมนี้ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เรียกร้องให้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทั้งสหรัฐ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น หารือเพื่อหาข้อยุติแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน
"ตอนนี้ปัญหาค่าเงินเป็นประเด็นร้อนของโลก หากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจไม่แก้ไขปัญหาร่วมกัน และเป็นไปอย่างที่เห็นคือ ประเทศญี่ปุ่นปกป้องค่าเงินของตัวเอง ประเทศจีนไม่ยอมยืดหยุ่นค่าเงินให้แข็งค่าตามเศรษฐกิจที่แท้จริง สหรัฐอเมริกาก็เดือดร้อนเพราะรู้สึกโดนเอาเปรียบ ส่งผลให้ประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่รวมทั้งไทย ได้รับผลกระทบจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทของไทย และภูมิภาคแข็งค่ากว่าที่ควรเป็น"
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทให้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปอีกในช่วงปลายปีนั้น ต้องดูว่าตัวเลขการส่งออกของไทยในอีก 2 เดือนที่เหลือจะเป็นอย่างไร และตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐจะไปในทิศทางใดอีก หากการส่งออกขยายตัวได้ดีและเศรษฐกิจสหรัฐมีข่าวไม่ดีออกมา จะเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทยิ่งแข็งค่าขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม การที่ตลาดเงินของประเทศไทยมีขนาดเล็กและเปิดมากกว่าประเทศอื่นเป็นส่วน หนึ่งให้เงินทุนไหลเข้ามามากซึ่งเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินแข็งค่าเร็ว
"ตั้งแต่ต้นปีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศค่อนข้างมาก ทั้งตลาดหลักทรัพย์ ตลาดพันธบัตรทำให้เงินบาทแข็งค่ามาก ทั้งนี้ ต้องจับตาดูช่วงเดือนมกราคม 2554 เพราะนักลงทุนต่างชาติจะมีการขายออกเพื่อทำกำไร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ แต่หากมีปริมาณมากจะมีผลให้ค่าเงินผันผวนอีก แต่ในปีนี้ก็อาจเห็นค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ในช่วง 28-29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ" นายสุภัคกล่าว
ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีความกังวลในปัญหาค่าเงินบาท จึงจะจัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมผู้ส่งออก สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงนายโอฬาร ไชยประวัติ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ตน และอดีตรัฐมนตรีของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ ก่อนที่จะเสนอทางออกไปยังรัฐบาล
ที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษก ชทพ. แถลงว่า ได้รับข้อมูลว่าขณะนี้สินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งแล้ว ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวลดลง เมื่อแลกเงินดอลลาร์มาเป็นเงินบาท สิ่งที่ตามมาคือทำให้ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวเพื่อชดเชยเม็ด เงินที่หายไปจากการแข็งค่าเงินบาทด้วย ทั้งนี้ พรรคอยากเรียกร้องไปยัง ธปท.โดยเฉพาะนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ต้องชี้แจงกรณีดังกล่าวให้ประชาชนและนักธุรกิจเกิดความมั่นใจจากการแข็ง ค่าของเงินบาทในขณะนี้
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... =&catid=05