หน้า 1 จากทั้งหมด 1

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 4:35 pm
โดย leaderinshadow
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท เบื้องต้น เล็งใช้ 3 มาตรการดูแล
ระบุ จะคำนึงถึงความเหมาะสม

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่ง
ประเทศได้นำเสนอมาตรการ ดูแลปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
5 มาตรการเบื้องต้น จะใช้มาตรการ 3 ใน 5 มาตรการเข้ามาดูแลค่าเงินบาท
โดยจะพิจารณาถึง
ในแง่ของความเหมาะสมในการช่วยลดแรงกดดันในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
'ทั้ง 5 มาตรการ ธปท.ได้เสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ซึ่งโดยหลัก
การไม่ได้มีปัญหาอะไร โดยเบื้องต้นจะนำ 3 มาตรการภายใน 5 มาตรการออกมาใช้เพื่อมาดูแล
ค่าเงินบาท โดยจะคำนึงในเรื่องของความเหมาะสมเพื่อลดความกดดันในเรื่องของอัตราแลก
เปลี่ยน โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ดำเนินการอยู่แล้ว' รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ เนื่องจาก
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอกว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงส่งผลให้อัตรา
แลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อนึ่ง  5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท ที่ ธปท. นำเสนอกระทรวงการคลัง  

1 การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้มากขึ้น

2 การให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ
กู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น เพื่อทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกเพื่อลดแรงกดดันอัตราแลกเปลี่ยน

3 การพิจารณาที่จะเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์
ในต่างประเทศ จากเดิมที่จำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีข้อเสนอจาก ธปท.เพื่อเพิ่มเพดานเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

4 การให้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินตรา
ต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีได้สูงถึง 5 แสนเหรียญสหรัฐ

5 มาตรการขยายวงเงินค่าสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้น
จาก ณ ปัจจุบัน 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ


เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ    โดย ดวงสุรีย์ วายุบุตร์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น  [email protected]

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 4:38 pm
โดย leaderinshadow
อยากให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษี จากกำไรในต่างประเทศด้วย
แล้วก็พวกภาษีซ้ำซ้อนทั้งหลาย
จะได้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคนไทย ที่จะโกอินเตอร์..

ทำให้นึกถึงยุทธศาสตร์ห่านบิน ของญี่ปุ่นเลย  :8)

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 4:46 pm
โดย leaderinshadow
ยุทธการ ห่านบิน
ยุทธการ ห่านบิน
Matrix January 7th, 2007

ญี่ปุ่นเค้าเกินดุลมากกว่าเราหลายพันเท่า  เค้าดูแลค่าเงินยังไงไปดูครับ
http://matrix.thaivi.net/2007/01/07/fly ... za-accord/

ยุทธการ   ห่านบิน


ผมเริ่มเข้าสู่วงการหุ้นเมื่อปีค.ศ.  1978  หรือ พ.ศ. 2521

โดยการเป็น Broker ในตลาด Commodity  



โดยซื้อขายสินค้าโคภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก  

โดยมีตลาด CBOT (Chicago Board Of  Trade)

NYSE (New York Security Exchange)


เป็นตลาดรองและอ้างอิงในการซื้อขาย    

ซึ่งเป็นตลาดที่เป็นแหล่งรวมเซียนที่มากและใหญ่ที่สุดในโลก  

ตลาด TFEX และ AFEX  ปัจจุบันของไทยที่เพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆนี้    

ถ้าเทียบกันแล้วยังห่างชั้นกันอีกมาก  

ทั้งปริมาณซื้อขาย   จำนวนสมาชิก  และเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย


สมัยนั้นการซื้อขายจะดูแนวโน้มและอ้างอิงจากค่า Currency เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ผมจะต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหวก่อนเริ่มงานทุกเช้าคือ อัตราแลกเปลี่ยน


ค่าของเงินสกุลหลักใหญ่ๆ   มีผลต่อทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจของโลก  

รวมทั้งแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าจำพวก  Commodities  เป็นอย่างมาก

แม้ปัจจุบันได้เลิกร้างห่างหายการติดตามไปบ้าง   แต่ก็ยังติดตามอยู่ห่างๆ  
เมื่อราวปีค.ศ  1970  เศรษฐกิจอเมริกาเกิด Mini Crash

เนื่องจากขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการคลัง  

ที่นักวิชาการเรียกว่า ขาดดุลแฝด (Twin deficits)


ประเทศที่อเมริกาขาดดุลมากที่สุดคือญี่ปุ่น  


เมื่อญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าจากอเมริกามากกว่า 10 ปี  เป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้นอเมริกาจึงใช้มาตรการตอบโต้กดดันทุกวิถีทาง


โดยการบังคับให้ญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนค่าเงิน

ซึ่งขณะนั้นถ้าจำไม่ผิดอยู่ราวๆ  250 Yen /  Dollar


และบังคับให้รับซื้อพันธบัตรที่อเมริกาออกมาเป็นจำนวนมาก

เพื่อช่วยอุดหนุน Support อุตสาหกรรมภายในประเทศอเมริกาเอง

ตามที่นักวิชาการเรียกมาตรการนั้นว่า Plaza accord ในปี 1985


พร้อมกับตั้งธงให้กองทุนภายในประเทศ

รวมทั้งจัดตั้งกองทัพกองทุน Hedge Fund  ทั้งหลาย


ออกไปแสวงหาผลกำไรจากตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก

โดยไม่จำกัดปริมาณทั้งเครื่องมือทั้งทางตรงแลทางอ้อม

รวมทั้งไม่จำกัดทั้งวิถีทางและวิธีการแต่อย่างใด



เมื่อญี่ปุ่นถูกบังคับให้รับซื้อพันธบัตรจำนวนมาก    

ทำให้ญี่ปุ่นมีเงินคงคลังเป็น US  Dollar มากที่สุดในโลก

 
ในขณะที่อเมริกาปล่อยให้ค่าเงินของตนเองอ่อนค่าลงอย่างมาก

และใช้มาตรการ Farm Act  sanction

(สนับสนุนด้านการเงินโดยอุดหนุนเกษตรกรในประเทศทุกวิถีทาง

เพื่อช่วยเหลือให้ส่งออกได้ในรัฐบาลสมัย  จิมมี่  คาร์เตอร์)



ส่งผลให้เงิน Yen แข็งค่ามากขึ้นเรื่อยๆ จาก 250 Yen  

จนถึง 100 Yen / Dollar ในเวลาอันรวดเร็ว



เมื่อญี่ปุ่นถูกกดดันมากๆเข้า  ส่งออกได้น้อยลงเพราะค่าเงินแข็ง

เจ้าของอุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่นก็โวยวายว่า

ถ้าไม่รีบแก้ไข   เห็นทีภาคการส่งออกต้องล้มละลายระเนระนาดแน่  

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงระดมสมองมาช่วยแก้ไขด้วยวิธีที่เรียกว่า


ยุทธการ  ห่านบิน  (Flying Geese)

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 4:49 pm
โดย leaderinshadow
ยุทธการ ห่านบิน

คือ การอพยพย้ายที่อยู่เพื่อเปลี่ยนแหล่งอาหารไปยังแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่า


โดยการนำเงินสำรองคงคลังที่เป็นสกุล   Dollar  ซึ่งมีค่าด้อยลงไปเรื่อยๆ  

ออกไปลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะแถบเอเซีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย


หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ


แปลงสินทรัพย์เงินที่อ่อนค่าให้เกิดผลผลิตในเชิงได้เปรียบ

โดยการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่น  



เมื่อญี่ปุ่นผลักภาระโดยการนำเงิน  Dollar ที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ

ไปลงทุนต่างประเทศ   ซึ่งมีทั้ง ฮ่องกง   สิงคโปร์  ไต้หวัน  เกาหลี  

และไทยก็ได้รับอานิสงส์ผลดีจากการนั้นด้วย  


อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในตอนนั้น

กว่า 80 % เป็นการรับจ้างผลิตโดยญี่ปุ่น


โดยอาศัยแรงงานราคาถูกของไทย

แต่สั่งวัตถุดิบต้นน้ำจากต่างประเทศ  


หลังจากผลิตเพื่อส่งออกแล้ว  

จึงนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกที


เศรษฐกิจของไทยในยุคนั้น   เรียกได้ว่า

เป็น ยุคโชติช่วงชัชวาล
 



เงินคงคลังจากไม่กี่พันล้านเหรียญ

ก็เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ



โดยมีภาคการส่งออกเป็นเรือธงนำหน้า  


โดยไทยถูกจัดให้เป็นเสือตัวที่  6  

ตามหลัง 5 เสือแห่งเอเชียก่อนหน้านั้น  


การที่ญี่ปุ่นกระจายฐานการผลิตไปทั่วโลกโดยเฉพาะเอเซีย ซึ่งอยู่ใกล้  

ยิ่งทำให้เกินดุลการค้าต่ออเมริกาและต่อโลกเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม


จนญี่ปุ่นตระหนักดีว่า :

       หากขนเงินกลับประเทศตัวเอง   ค่าเงินก็จะยิ่งแข็งไปกันใหญ่  


จึงจัดสรรเงินให้ความช่วยเหลือ(ให้กู้)ระยะยาว

แก่ประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าครอบงำทางเศรษฐกิจทั้งหลาย



โดยการให้กู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ 10-50 ปีขึ้นไปด้วยเงิน Dollar  

โดยมี  Option  ไม่ระบุค่าเงินที่จะชดใช้คืนในภายภาคหน้า

อาจเป็น Yen US  Pond   อะไรก็ได้สุดแท้แต่ญี่ปุ่นจะเรียกคืนในภายหลัง


ซึ่งวิธีนี้   ทำให้ญี่ปุ่นสามารถกำหนดค่าเงินในอนาคตของตนเองได้อย่างสิ้นเชิง

ถึงแม้จะได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกมากมายมหาศาลจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ตาม

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 5:02 pm
โดย คนคอน
ขอบคุณครับ บทความนี้ชอบมากก


้บ้านเราก็มีห่านบ้างแล้วนะแล้วนี้พี่ ที่ผมพอจะนึกออกก็น่าจะ

กระทิงแดง tuf ซีพี

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 5:03 pm
โดย leaderinshadow
กระทู้นี้อยากให้ถกถึงผลกระทบของมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนว่า
ใครได้ประโยชน์อย่างไร หรือจะปรับตัวอย่างไร

ส่วนประเด็นเรื่อง  ยุทธการ ห่านบิน
ขออนุญาตตั้งกระทู้แยกออกไปนะครับ


Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 363#694363

Re: 'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 6:41 pm
โดย มะลิ
[quote="leaderinshadow"]'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
อนึ่ง

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 17, 2010 9:41 pm
โดย casper_m
เป็นสิ่งที่ควรทำตั้งนานแล้วไม่ใช่เพิ่งมาทำ

แต่จริงๆผมว่ามันไม่ควรเรียกว่า มาตรการดูแลค่าเงินบาทเลยนะครับ

Outflow เพียงเท่านี้หรือจะสูิิง Inflow ฝรั่งได้ คงช่วยไม่ได้มากอย่างแน่นอน

สิ่งที่ควรทำคือให้ความรู้ เรื่องการ Hedge กับผู้ประกอบการมากกว่า แล้วก็ลด Transaction cost ลงซะ ระยะยาวเราจะได้อยู่ได้

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 28, 2010 8:50 pm
โดย navapon
ธปท.มองเอเชียต้านผลกระทบเงินทุนไหลเข้ายาก        
Tuesday, 28 September 2010 12:44  

        นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า เงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชียมีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากกว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่านั้นยากจะต้านทานได้เพราะตลาดเงินโลกมีขนาดใหญ่มาก และไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในเอเชียใช้มาตรการค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออก

         ขณะนี้ทุกประเทศในเอเชียอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ดังนั้นก็ต้องมีเงินไหลเข้ามาอยู่แล้ว เงินก็จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นปัญหาทั้งภูมิภาค ไม่น่ามีประเทศไหนในภูมิภาคเอเชียที่จะแข่งขันด้วยการทำให้ค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบดอลลาร์ เพราะไม่สามารถต้านทานตลาดเงินโลกที่มันใหญ่มากได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ทำไม่ได้              
          ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์ที่ระดับ 35-36 บาท/ดอลลาร์เป็นไปไม่ได้ในขณะนี้ และประเทศอื่นก็เช่นกัน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้ที่ขยายตัวได้ดีกว่าประเทศ จี-3 ที่มีปัญหาจะต้องแก้ไขอีกระยะหนึ่ง บวกกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเริ่มกลับเข้าสู่การดำเนินนโยบายการเงินระดับปกติ

         ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาสร้างแรงจูงใจให้เงินไหลเข้าบ้าง แต่ไม่ได้มาก และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยต่ำเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค โดยการเคลื่อนไหวดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการดำเนิมาตรการการเงินแบบตึงตัว เพียงแต่เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยให้กลับมาสู่ภาวะปกติ

         ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่การขยายตัวปกติ ดอกเบี้ยก็ควรจะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ เพราะอาร์พีของไทยต่ำสุดในภูมิภาคเป็นอันดับ 2 ยิ่งชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นภาวะนโยบายการเงินแบบตึงตัว

         โดยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมา จากเดิมที่ดอกเบี้ยต่ำอยู่ที่ระดับ 1.25% เพิ่มเป็น 1.75% ในปัจจุบัน ไม่ถือว่าเป็นนโยบายการเงินตรึงตัว เพราะในช่วงวิกฤตมีความจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงเป็นพิเศษ แต่ในเมื่อปัจจุบันเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็ควรจะปรับดอกเบี้ยให้กลับเข้าสู่ปกติ

         ทั้งนี้ นโยบายการเงินของธปท. ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้น จากเดิมที่คงไว้ที่ระดับ 1.25% มาตั้งแต่ 8 เม.ย.2552 เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองได้มากขึ้น แต่ธปท.เริ่มปรับขึ้นให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอีกครั้ง เมื่อ 14 ก.ค.ปีนี้ ขึ้น 0.25% และ เมื่อ 25 ส.ค.ขึ้น 0.25% เป็น 1.75% ในปัจจุบัน

         อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังเหลือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง คือ 20 ต.ค.และ 1 ธ.ค. ซึ่งแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายยังมีโอกาสสูงขึ้นอีกตามทิศทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 28, 2010 8:52 pm
โดย navapon
วันที่ 28 กันยายน 2553 14:0
ครม.เคาะมาตรการอุ้มส่งออกจากบาทแข็งค่า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ครม.ไฟเขียว 8 มาตรการช่วยส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่า เตรียมหารือ คลัง หามาตรการป้องกันบาทแข็งค่า
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้รายงาน 8 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าให้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ได้แก่

1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวนและมีความสอดค้อ งกับค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนขยายระยะเวลาการถือครองดอลลาร์
2.การควบคุมการไหลเวียนของเงินทุนต่างประเทศระยะสั้น
3.อนุญาตให้ชำระค่าระวางเรือเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้
4.ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
5.การลดค่าธรรมเนียมศุลกากรในการส่งออก
6.การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการทำ ประกันความเสี่ยง
7.การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกรายย่อย    และ
8.ให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา

"หลังจากนี้จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงพาณิชย์ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง"
   นางพรทิวา กล่าววว่า เงินบาทแข็งค่า 1% กระทบรายได้ส่งออก 0.4% โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดเกษตร เกษตรแปรรูป ข้าว เสื้อผ้า สิ่งทอ เซรามิก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี กลุ่มสที่มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 28, 2010 10:54 pm
โดย whitecastle
วันก่อนผมดูคลิป money talk มีตอนนึง พูดว่า มี LTF เพื่อให้เป็นกองทุนลดความผันผวนของตลาดหุ้น เวลาที่ฝรั่งเข้าออก
แล้วถ้ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน อะไรซักกอง ที่เอาไปลงทุนต่างประเทศอย่างเดียว โดยสามารถ นำไปลดภาษีได้เหมือน LTF นี่มันจะช่วยได้มั้ยอ่ะ  :8)

'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2010 12:51 pm
โดย kmphol
ไปเพิ่ม out flow อย่างเดียวคงไม่ได้ผลหรอก
ต้นเหตุของเงินเเข็งค่ามันมาจาก in flow น่าจะแก้ที่ต้นเหตุมากกว่า
gap ของดอกเบี้ยบ้านเรา มันสูงกว่าus มากไปป่าว เงินมันเลยไหลไปที่ที่มีผลตอบแทนสูงกว่า
ถ้าเรารู้ว่าเอาเงินออกไปยังไงก็สู้ in flow ที่ไหลเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว
ใครจะเซ่อเอาออกไป เอาออกไปปุป ก็ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนปัป

มาตรการพวกนี้คงไม่น่าได้ผลเท่าไหร่ เพราะเกาไม่ถูกที่คัน :cry: