หน้า 1 จากทั้งหมด 1
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 9:44 am
โดย kin
ผมสงสัยว่าถ้าเราสุ่มเลือกหุ้นมา 1 ตัว แล้วถือไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ความน่าจะเป็นที่จะชนะตลาดจะเป็นเท่าไหร่ เพราะไม่คิดว่าจะเป็น 50:50 แน่ๆ คงมีหุ้นเพียงแค่กลุ่มเดียว ที่ทำผลงานได้ดีกว่าตลาดในแต่ละปีน่ะครับ
อยากตั้งข้อสังเกตขึ้นมา ว่าคนที่ถือหุ้นแบบสุ่ม โอกาสชนะตลาดมีกี่ % และถ้าเพิ่มความสามารถตัวเองอีกเล็กน้อย กรองหุ้นเน่าที่คิดว่าแพ้ตลาดชัวร์ๆ ออกไป จาก 500 ตัว อาจตัดได้ส่วนนึง ความน่าจะเป็นจะเพิ่มเป็นเท่าไหร่
คิดเล่นๆ ไว้ให้รู้ว่า จริงๆ แล้ว มันไม่ง่าย ที่จะชนะตลาด แม้จะถือระยะยาวก็ตาม :lol:
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 11:42 am
โดย leaderinshadow
น่าจะเป็นร้อยตัว
แต่...
ในตลาดมีหุ้น 500 กว่าตัว :lol:
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 12:15 pm
โดย MYBIZ
สุ่มเลือกผมว่าเป็นไปได้ทั้งตีแตกและหัวแตก แต่ถ้าเลือกมามีสิทธิ์ชนะแน่นอน อิอิๆๆ
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 12:48 pm
โดย peacedev
ถ้าสุ่มเอา Expect return ก็ควรจะเท่ากับตลาดครับ
เพราะ หุ้นที่คุณสุ่ม มีโอกาสที่จะเป็นหุ้นกลาง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนพอ ๆ กับตลาด
หรือ เป็นหุ้นส่วนน้อยที่ชนะตลาดได้มาก ๆ
หรือ เป็นหุ้นส่วนหนึ่งที่แพ้ตลาดได้เหมือนกัน
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 12:49 pm
โดย peacedev
ดังนั้น ถ้าเราทำ DCA กับ SET50
ผลตอบแทนคาดหวัง จะเยอะกว่าตลาด เพราะ เป็นหุ้นที่ถูกคัดกรองมาแล้วขั้นหนึ่ง
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 1:13 pm
โดย kin
ผมว่าถ้าสุ่มเอา expect return ไม่น่าเท่ากับตลาดนะครับ กลุ่มที่ไปตามดัชนีจะว่าไปเป็นหุ้นแค่กลุ่มเดียว (พวก SET50) ถ้าสุ่มเอาจิงๆ น่าจะแพ้ตลาด เพราะน่าจะมีหุ้นไม่ถึงครึ่งที่เหนือกว่าตลาด
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 1:48 pm
โดย peacedev
ถ้าคุณถือหุ้นทุกตัวในตลาดในหน่วยที่เท่ากัน ผลตอบแทนก็จะเท่ากับตลาดพอดี(ไม่รวมค่าคอมมิชชั่น)
ถ้าคุณถือมันน้อยตัวลงแบบสุ่ม(ปราศจากการคัดกรอง ปราศจาก bias) Expect Return มันจะต่ำกว่าเดิมไม่ได้ สิ่งที่ได้มาคือ Error rate หรือความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น
ในทางกลับกันถ้าคุณเลือกมันแบบสุ่มโดยปราศจากการคัดกรอง ปราศจาก bias Expect Return ก็เท่าเดิมอยู่ดีครับ เพียงแต่ถือน้อยมี Error rate พ่วงมาสูง อาจฟรุ๊กดีกว่าตลาดได้ อาจบังเอิญแย่กว่าตลาดได้ แต่ถ้าเท่าตลาดก็ไม่แปลกอยู่ดี
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 2:07 pm
โดย kin
ผมงงๆ คุณ peacedev อะครับ
คือผมตั้งกระทู้สมมติฐานไว้ว่าถ้าซื้อหุ้น 1 ตัวแล้วถือเป็นเวลา 1 ปี แบบสุ่มเอา จะมีโอกาสชนะตลาดแค่ไหน
ถ้าสมมติว่ามี 200 ตัวที่ชนะตลาด แล้วเราหยิบมั่วๆ มา 1 ตัว ความน่าจะเป็นที่เราจะชนะตลาดคือ 200/500 = 0.4 ประมาณเนี้ยอ่ะคับ เพียงแต่ผมไม่ทราบว่าเฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นกี่ตัวที่ชนะตลาด เข้าใจว่าไม่ใช่ 250 จาก 500 ตัวน่ะครับ
ผมเข้าใจผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ :)
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 2:32 pm
โดย peacedev
อย่าเรียกว่าชี้แนะเลยครับ เรียกว่าแลกเปลี่ยนกันดีกว่า
ตรงนี้ผมคิดว่าโมเดลของคุณ kin ผิดพลาดที่ไม่ได้ชั่งน้ำหนักของ 200 ตัวที่ over perform ตลาดน่ะครับ
อีก 300 ตัวมันอาจจะแพ้ตลาด แต่แพ้ไม่มากก็ได้ ส่วนตัวที่ชนะ อาจจะชนะมาก ๆ ก็ได้
ถ้าให้ถูกต้องประเมิน upside/downside เทียบกับตลาดด้วยน่ะครับ
เหมือนที่มีคนบอกว่า Gorge Soros ทายผิดบ่อยกว่าทายถูก
แต่ถูกทีนี่เขาได้เยอะมาก ผิดแต่ละครั้งก็เสียไม่มาก
มีคนงงผม จนผมชินละครับ

เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 6:36 pm
โดย picklife
kin เขียน:ผมว่าถ้าสุ่มเอา expect return ไม่น่าเท่ากับตลาดนะครับ กลุ่มที่ไปตามดัชนีจะว่าไปเป็นหุ้นแค่กลุ่มเดียว (พวก SET50) ถ้าสุ่มเอาจิงๆ น่าจะแพ้ตลาด เพราะน่าจะมีหุ้นไม่ถึงครึ่งที่เหนือกว่าตลาด
SET 923.89
SET50 635.47
SET100 1,395.00
ดัชนีชุดนี้บอกอะไรเรา
1.SET50 โตต่ำกว่าดัชนีรวม
2.SETในช่วง50-100 โตมากกว่าดัชนีรวม
3.SET>100 โตต่ำกว่าดัชนีรวม
ดังนั้นถ้ามองให้ดีขนาดของบริษัทจะเป็นไปตามS-Curve
ช่วงตั้งฐาน SET>100
ช่วงเติบโต SET 50-100
ช่วงอิ่มตัว SET 50
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 6:44 pm
โดย picklife
ลองตอบคำถามที่ถามว่ามีหุ้นกี่ตัวที่ชนะSET
SET50 แพ้SET ให้เป็นชนะSETประมาณ0ตัว
SET50-100 ชนะSET ให้เป็นชนะSETประมาณ50ตัว
SET100-500 พอๆกับSET ให้ชนะSET50% ประมาณ400*.50=200ตัว
รวมเป็น 250ตัว ครึ่งหนึ่งของหุ้นในตลาดพอดี
แสดงว่าค่าที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือประมาณครึ่งหนึ่งหรือ250ตัวครับ
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 10:07 pm
โดย VI Wannabe
เอ่อ Indexes ทั้งสามตัวนี่ launch คนละปีกันเลยนะครับ ต่างกันเป็น 10 ปีได้

เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 07, 2010 11:16 pm
โดย Murphy.Bkk
ถ้าคิดแบบตรงไปตรงมา (ซึ่งไม่ถูก) ก็จะได้ว่า ครึ่งหนึ่ง มากกว่าค่าเฉลี่ย (set index)
แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะว่า set index เป็นการคำนวณที่มีน้ำหนักมูลค่าตลาดของหุ้นถ่วงด้วย เช่น PTT ขึ้นลงแต่ละจุดมีผลต่อ set index มากกว่าหุ้นตัวเล็กๆขึ้น 1 จุด
ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่ว่าในปีนั้นๆ หุ้นที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นตัวใหญ่หรือเปล่า ถ้าหุ้นตัวใหญ่เช่นใน set50 ขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ปีนั้น ก็มีหุ้นที่ชนะตลาด จำนวนน้อย เช่น 100, 200 ตัว
แต่ถ้าปีไหน หุ้นส่วนใหญ่ที่ขึ้นเป็นหุ้นเล็ก ปีนั้นก็มีหุ้นชนะตลาด จำนวนมาก
นี่คิดคร่าวๆนะครับ ถ้าจะหาจริงๆ คงต้องไปดูข้อมูลจริงเป็นปีๆไป
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 08, 2010 8:11 am
โดย picklife
[quote="VI Wannabe"]เอ่อ Indexes ทั้งสามตัวนี่ launch คนละปีกันเลยนะครับ ต่างกันเป็น 10 ปีได้
Re: เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 08, 2010 1:41 pm
โดย leechong
[quote="kin"]ผมสงสัยว่าถ้าเราสุ่มเลือกหุ้นมา 1 ตัว แล้วถือไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ความน่าจะเป็นที่จะชนะตลาดจะเป็นเท่าไหร่ เพราะไม่คิดว่าจะเป็น 50:50 แน่ๆ คงมีหุ้นเพียงแค่กลุ่มเดียว ที่ทำผลงานได้ดีกว่าตลาดในแต่ละปีน่ะครับ
อยากตั้งข้อสังเกตขึ้นมา ว่าคนที่ถือหุ้นแบบสุ่ม โอกาสชนะตลาดมีกี่ % และถ้าเพิ่มความสามารถตัวเองอีกเล็กน้อย กรองหุ้นเน่าที่คิดว่าแพ้ตลาดชัวร์ๆ ออกไป จาก 500 ตัว อาจตัดได้ส่วนนึง ความน่าจะเป็นจะเพิ่มเป็นเท่าไหร่
คิดเล่นๆ ไว้ให้รู้ว่า จริงๆ แล้ว มันไม่ง่าย ที่จะชนะตลาด แม้จะถือระยะยาวก็ตาม
Re: เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 11, 2010 3:18 pm
โดย leechong
leechong เขียน:ขอเวลาผมทำการบ้านก่อนนะครับ เพราะฐานข้อมูลผมมีแค่3-5ปีย้อนหลัง ผมจะไปดูข้อมูลมากก่อนค่อยสรุป (ผิด/ถูก บอกผมด้วย ไม่ยากลำบากจะรีบแก้ไข)
วันนี้ผมเอาการบ้านตอนที่ 1 มาส่งครับ ผิดพลาดประการใด เรียนผู้รู้แนะข้อผิดพลาดเพื่อทำความเข้าใจเสียใหม่และแก้ไขให้ถุกต้องครับ
คำเตือน! 1. ฐานข้อมูลที่ผมมีอยู่อาจจะไม่ครบถ้วนทุกทุกหลักทรัพย์
2. ผลได้ตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกไป
3. วิชาความรู้ประกอบการพิจารณาเป็นวิชาที่มีอยู่จริง ได้แก่ วิชาความน่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ม.ปลาย, วิชาการจัดหมู่ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย, วิชาสถิติพื้นฐาน มหาวิทยาลัย กรุงเทพ เป็นต้น ประกอบการพิจารณา
4. ปีที่ผมใช้ในการทดสอบคือ ปี 2550-2551และ ปี 2551-2552
5. สิ่งที่ได้เป็นข้อเท็จจริงในแง่มุมหนึ่ง ใช้ตอบสมมุติฐานเท่านั้น
ข้อมูลปี 2550 โดยสรุป
กำหนดให้ T แทนข้อความที่เป็นจริง
กำหนดให้ F แทนข้อความที่เป็นเท็จ
กำหนดให้ N แทนจำนวนหลักทรัพย์ทั้งตลาดมี
กำหนดให้ r แทนจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกสุ่มเลือก
กำหนกให้ EPS แทนกำไรต่อหุ้น
กำหนดให้ PE แทนตัวชีวัดราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด)
กำหนดให้ P แทนการเป็นแปลงของราคาปลายปีหารด้วยราคาต้นปี ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด)
จากหลักทรัพย์ทั้งหมด N= 426 หลักทรัพย์,
เป็นหลักทรัพย์ P(T) = 249 หลักทรัพย์,
เป็นหลักทรัพย์ P(F) = 177 หลักทรัพย,
เพราะฉะนั้น ในการเลือกสุ่มหลักทรัพย์ใดๆ จำนวน r หลักทรัพย์ จากหลักทรัพย์ทั้งหมดของตลาด โอกาสที่หลักทรัพย์ที่ถูกสุ่มเลือกทั้งหมดจะสามารถชนะตลาดโดยรวมได้เป็นดังนี้
N P(T) P(F) r Pr(P(T))
426 249 177 1 58.5%
426 249 177 2 34.1%
426 249 177 3 19.9%
426 249 177 4 11.6%
426 249 177 5 6.7%
426 249 177 6 3.9%
426 249 177 7 2.2%
426 249 177 8 1.3%
426 249 177 9 0.7%
426 249 177 10 0.4%
เช่น หรือ สุ่มหลักทรัพย์ 4 หลักทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาดทุกหลักทรัพย์ 11.6% เป็นต้น
(เป็นสมมุติฐานที่1) ถ้าเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีกำไร EPS โอกาสที่จะชนะตลาดได้น่าจะเพิ่มขึ้น ดังนี้
EPS(T) P(T) P(F) r Pr(P(T))
339 202 137 1 59.6%
339 202 137 2 35.4%
339 202 137 3 21.0%
339 202 137 4 12.5%
339 202 137 5 7.4%
339 202 137 6 4.3%
339 202 137 7 2.6%
339 202 137 8 1.5%
339 202 137 9 0.9%
339 202 137 10 0.5%
เช่น เดิมเรา สุ่มหลักทรัพย์ 1 ทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาด 58.5% แต่ตอนนี้เราเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีกำไรโอกาศจึงเพิ่มขึ้นมากกว่า เป็น 59.6% ดังนั้นสมมุติฐานที่1เป็นจริง
(เป็นสมมุติฐานที่2) ถ้าเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด) โอกาสที่จะชนะตลาดได้น่าจะเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนี้
PE(T) P(T) P(F) r Pr(P(T))
339 115 62 1 65.0%
339 115 62 2 42.1%
339 115 62 3 27.2%
339 115 62 4 17.5%
339 115 62 5 11.2%
339 115 62 6 7.2%
339 115 62 7 4.6%
339 115 62 8 2.9%
339 115 62 9 1.8%
339 202 137 10 1.2%
เช่น เดิมเรา สุ่มหลักทรัพย์ 1 ทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาด 58.5% และต่อมาเราเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีกำไร ทำให้โอกาศชนะตลาดจึงเพิ่มขึ้นมากกว่า เป็น 59.6% แต่พอเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด) เพิ่มเงื่อนไขอีก ผลทำให้โอกาสชนะตลาดเพิ่มขึ้นอีกเป็น 65.0% ปรากฎว่าดังนั้นสมมุติฐานที่2เป็นจริง
ส่งการบ้านตอนที่ 1
Re: เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 11, 2010 3:41 pm
โดย leechong
กระทู้บน การบ้านมีข้อผิดพลาด ช่วยลบด้วยครับ
กระทู้นี้ การบ้านแก้ไขจุดผิดพลาดแล้วครับ ขออภัยอย่างแรง (คอทองแดง)
leechong เขียน:ขอเวลาผมทำการบ้านก่อนนะครับ เพราะฐานข้อมูลผมมีแค่3-5ปีย้อนหลัง ผมจะไปดูข้อมูลมากก่อนค่อยสรุป (ผิด/ถูก บอกผมด้วย ไม่ยากลำบากจะรีบแก้ไข)
วันนี้ผมเอาการบ้านตอนที่ 1 มาส่งครับ ผิดพลาดประการใด เรียนผู้รู้แนะข้อผิดพลาดเพื่อทำความเข้าใจเสียใหม่และแก้ไขให้ถุกต้องครับ
คำเตือน! 1. ฐานข้อมูลที่ผมมีอยู่อาจจะไม่ครบถ้วนทุกทุกหลักทรัพย์
2. ผลได้ตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ออกไป
3. วิชาความรู้ประกอบการพิจารณาเป็นวิชาที่มีอยู่จริง ได้แก่ วิชาความน่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ม.ปลาย, วิชาการจัดหมู่ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย, วิชาสถิติพื้นฐาน มหาวิทยาลัย กรุงเทพ เป็นต้น ประกอบการพิจารณา
4. ปีที่ผมใช้ในการทดสอบคือ ปี 2550-2551และ ปี 2551-2552
5. สิ่งที่ได้เป็นข้อเท็จจริงในแง่มุมหนึ่ง ใช้ตอบสมมุติฐานเท่านั้น
ข้อมูลปี 2550 โดยสรุป
กำหนดให้ T แทนข้อความที่เป็นจริง
กำหนดให้ F แทนข้อความที่เป็นเท็จ
กำหนดให้ N แทนจำนวนหลักทรัพย์ทั้งตลาดมี
กำหนดให้ r แทนจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกสุ่มเลือก
กำหนกให้ EPS แทนกำไรต่อหุ้น
กำหนดให้ PE แทนตัวชีวัดราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด)
กำหนดให้ P แทนการเป็นแปลงของราคาปลายปีหารด้วยราคาต้นปี ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด)
จากหลักทรัพย์ทั้งหมด N= 426 หลักทรัพย์,
เป็นหลักทรัพย์ P(T) = 249 หลักทรัพย์,
เป็นหลักทรัพย์ P(F) = 177 หลักทรัพย,
เพราะฉะนั้น ในการเลือกสุ่มหลักทรัพย์ใดๆ จำนวน r หลักทรัพย์ จากหลักทรัพย์ทั้งหมดของตลาด โอกาสที่หลักทรัพย์ที่ถูกสุ่มเลือกทั้งหมดจะสามารถชนะตลาดโดยรวมได้เป็นดังนี้
N P(T) P(F) r Pr(P(T))
426 249 177 1 58.5%
426 249 177 2 34.1%
426 249 177 3 19.9%
426 249 177 4 11.6%
426 249 177 5 6.7%
426 249 177 6 3.9%
426 249 177 7 2.2%
426 249 177 8 1.3%
426 249 177 9 0.7%
426 249 177 10 0.4%
เช่น ถ้าเราสุ่มหลักทรัพย์ 1 ทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาด 58.5%หรือ สุ่มหลักทรัพย์ 4 หลักทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาดทุกหลักทรัพย์ 11.6% เป็นต้น
(เป็นสมมุติฐานที่1) ถ้าเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีกำไร EPS โอกาสที่จะชนะตลาดได้น่าจะเพิ่มขึ้น ดังนี้
EPS(T) P(T) P(F) r Pr(P(T))
339 202 137 1 59.6%
339 202 137 2 35.4%
339 202 137 3 21.0%
339 202 137 4 12.5%
339 202 137 5 7.4%
339 202 137 6 4.3%
339 202 137 7 2.6%
339 202 137 8 1.5%
339 202 137 9 0.9%
339 202 137 10 0.5%
เช่น เดิมเรา สุ่มหลักทรัพย์ 1 ทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาด 58.5% แต่ตอนนี้เราเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีกำไรโอกาศจึงเพิ่มขึ้นมากกว่า เป็น 59.6% ดังนั้นสมมุติฐานที่1เป็นจริง
(เป็นสมมุติฐานที่2) ถ้าเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด) โอกาสที่จะชนะตลาดได้น่าจะเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนี้
PE(T) P(T) P(F) r Pr(P(T))
339 115 62 1 65.0%
339 115 62 2 42.1%
339 115 62 3 27.2%
339 115 62 4 17.5%
339 115 62 5 11.2%
339 115 62 6 7.2%
339 115 62 7 4.6%
339 115 62 8 2.9%
339 115 62 9 1.8%
339 115 62 10 1.2%
เช่น เดิมเรา สุ่มหลักทรัพย์ 1 ทรัพย์ตอนต้นปี พอสิ้นปีมีโอกาสชนะตลาด 58.5% และต่อมาเราเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีกำไร ทำให้โอกาศชนะตลาดจึงเพิ่มขึ้นมากกว่า เป็น 59.6% แต่พอเราเลือกลงทุนแบบสุ่มเฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร (ของหลักทรัพย์ชนะของตลาด) เพิ่มเงื่อนไขอีก ผลทำให้โอกาสชนะตลาดเพิ่มขึ้นอีกเป็น 65.0% ปรากฎว่าดังนั้นสมมุติฐานที่2เป็นจริง
ส่งการบ้านตอนที่ 1
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 11, 2010 7:30 pm
โดย peacedev
ข้อมูลน่าสนใจมากครับ
แต่อ่านแล้วยัง งง ๆ อยู่บ้าง
หลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร นี่หมายถึงอะไรครับ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 แตกต่างกันอย่างไรครับ
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 12, 2010 11:07 am
โดย leechong
peacedev เขียน:ข้อมูลน่าสนใจมากครับ
แต่อ่านแล้วยัง งง ๆ อยู่บ้าง
หลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร นี่หมายถึงอะไรครับ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 แตกต่างกันอย่างไรครับ
ขอโทษครับที่สื่่อภาษาไม่ชัดเจนครับ
หลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร นี่หมายถึงอะไรครับ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ผมหมายถึงค่า PE ครับ
เพราะตอนผมจะเอามากคำนวนในเอ็กเซลล์ ผลติดปัญหาที่ค่า PE เป็นลบครับ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลในส่วนที่เป็นลบได้ (และในวิชาวิชาคณิตศาสตร์ผลที่ได้มีค่าเป็นลบก็ยังนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้) แต่หลักคิดของค่า PE มันหมายถึงผลกำไรจะคืนทุนในกี่ปีในสายตาของผม ดังนั้นค่า PE ยิ่งน้อยกว่าตลาด ยิ่งคืนทุนเร็ว ยิ่งดีครับ
ต่อมาผมได้แก้ไขปัญหานี้ออกโดยการคำนวนเป็น % จากการเอาค่า E คูณ 100 หาร P เพราะฉะนั้นผลกำไรยิ่งมากเมื่อเทียบกับราคา ยิ่งดีครับ ยิ่งชนะตลาดยิ่งแจ๋ว
ส่วนท้ายนี้ผมขอเสนอแผนผังกิ่งไม้ประกอบเพิ่มเติมครับ
ในปี 2550-2551 (จากฐานข้อมุลของผม + ปรับปรุง) เป็นดังนี้
หุ้นที่มีกำไร E/P%ชนะตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด = จำนวนหลักทรัพย์
T T T = 115
T T F = 62
T F T = 87
T F F = 75
F T T = 0
F T F = 0
F F T = 47
F F F = 40
รวม = 426
จริง เท็จ
หุ้นทีมีกำไร 339 87
E/P%ชนะตลาด 177 249
ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด 249 177
ในปี 2551-2552 (จากฐานข้อมุลของผม + ปรับปรุง) เป็นดังนี้
หุ้นที่มีกำไร E/P%ชนะตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด = จำนวนหลักทรัพย์
T T T = 142
T T F = 9
T F T = 135
T F F = 40
F T T = 0
F T F = 0
F F T = 87
F F F = 31
รวม = 444
จริง เท็จ
หุ้นทีมีกำไร 339 87
E/P%ชนะตลาด 177 249
ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด 249 177
เข้าของกระทู้นี้เป็นเหตุให้ผมขุดวิชาเก่ามาใช้ ผมก็เห็นว่าฐานข้อมูลของผมก็อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ จึงลองทำดู คำตอบที่ได้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ต้องลองทำอย่างนี้กับข้อมูลหลายๆปีดูก่อน จึงจะฟันธงได้ว่าข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถือในมุมลึกและมุมกว้างแค่ไหน และมันเป็นสิ่งที่เราคำนวนได้จริง เมื่อเอามาเทียบกับการคาดการณ์ของแต่ละท่าน มันจะฟ้องได้ชัดเจนว่าสิ่งที่เราคิดวิเคราะห์อย่างกว้างๆมันตรงกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
ส่วนการวิเคราะห์ในแง่ลึกนั้นผมขอไปตกผลึกข้อมูลกับความคิดก่อน เพราะข้อมูลแบบเป็นร้อยนี้คงต้องใช้วิชาสถิติประกอบการแบ่งกลุ่มแจกแจงความถี่ แบ่งเป็นช่วงความถี่สัก 10 ชั้น เพื่อง่ายในการศึกษาและติดตามผล และการคำนวนหาค่าของโอกาสที่เกิดขึ้นคงต้องใช้วิชาการจัดหมวดหมู่มาประกอบการคำนวน (Ncr=N! หาร [(N-r)! คูณ r!] ประมาณนี้)
ขอโทษที่ ถ้าสิ่งที่ผมทำมันน่าเบื่อ และไร้สาระ แต่ผมว่านี้ก็อาจเป็นแนวทางในการสังเกตุตะแกรงกรองหุ้นในเชิงปฎิบัติได้ครับ ถามทุกเส้นทางมันถึงเป้าหมายที่เดียวกัน ขอคุณครับ
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 12, 2010 11:11 am
โดย leechong
ขอโทษอีกครั้งครับ กระทูบนมีจุดผิดพลาด ตอนนี้แก้ไขเสร็จแล้ว
peacedev เขียน:ข้อมูลน่าสนใจมากครับ
แต่อ่านแล้วยัง งง ๆ อยู่บ้าง
หลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร นี่หมายถึงอะไรครับ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 แตกต่างกันอย่างไรครับ
ขอโทษครับที่สื่่อภาษาไม่ชัดเจนครับ
หลักทรัพย์ที่มีราคาต่อกำไร นี่หมายถึงอะไรครับ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ผมหมายถึงค่า PE ครับ
เพราะตอนผมจะเอามากคำนวนในเอ็กเซลล์ ผลติดปัญหาที่ค่า PE เป็นลบครับ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลในส่วนที่เป็นลบได้ (และในวิชาวิชาคณิตศาสตร์ผลที่ได้มีค่าเป็นลบก็ยังนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้) แต่หลักคิดของค่า PE มันหมายถึงผลกำไรจะคืนทุนในกี่ปีในสายตาของผม ดังนั้นค่า PE ยิ่งน้อยกว่าตลาด ยิ่งคืนทุนเร็ว ยิ่งดีครับ
ต่อมาผมได้แก้ไขปัญหานี้ออกโดยการคำนวนเป็น % จากการเอาค่า E คูณ 100 หาร P เพราะฉะนั้นผลกำไรยิ่งมากเมื่อเทียบกับราคา ยิ่งดีครับ ยิ่งชนะตลาดยิ่งแจ๋ว
ส่วนท้ายนี้ผมขอเสนอแผนผังกิ่งไม้ประกอบเพิ่มเติมครับ
ในปี 2550-2551 (จากฐานข้อมุลของผม + ปรับปรุง) เป็นดังนี้
หุ้นที่มีกำไร E/P%ชนะตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด = จำนวนหลักทรัพย์
T T T = 115
T T F = 62
T F T = 87
T F F = 75
F T T = 0
F T F = 0
F F T = 47
F F F = 40
รวม = 426
จริง เท็จ
หุ้นทีมีกำไร 339 87
E/P%ชนะตลาด 177 249
ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด 249 177
ในปี 2551-2552 (จากฐานข้อมุลของผม + ปรับปรุง) เป็นดังนี้
หุ้นที่มีกำไร E/P%ชนะตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด = จำนวนหลักทรัพย์
T T T = 142
T T F = 9
T F T = 135
T F F = 40
F T T = 0
F T F = 0
F F T = 87
F F F = 31
รวม = 444
จริง เท็จ
หุ้นทีมีกำไร 326 118
E/P%ชนะตลาด 151 293
ราคาเปลี่ยนแปลงชนะตลาด 365 80
เข้าของกระทู้นี้เป็นเหตุให้ผมขุดวิชาเก่ามาใช้ ผมก็เห็นว่าฐานข้อมูลของผมก็อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ จึงลองทำดู คำตอบที่ได้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ต้องลองทำอย่างนี้กับข้อมูลหลายๆปีดูก่อน จึงจะฟันธงได้ว่าข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถือในมุมลึกและมุมกว้างแค่ไหน และมันเป็นสิ่งที่เราคำนวนได้จริง เมื่อเอามาเทียบกับการคาดการณ์ของแต่ละท่าน มันจะฟ้องได้ชัดเจนว่าสิ่งที่เราคิดวิเคราะห์อย่างกว้างๆมันตรงกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
ส่วนการวิเคราะห์ในแง่ลึกนั้นผมขอไปตกผลึกข้อมูลกับความคิดก่อน เพราะข้อมูลแบบเป็นร้อยนี้คงต้องใช้วิชาสถิติประกอบการแบ่งกลุ่มแจกแจงความถี่ แบ่งเป็นช่วงความถี่สัก 10 ชั้น เพื่อง่ายในการศึกษาและติดตามผล และการคำนวนหาค่าของโอกาสที่เกิดขึ้นคงต้องใช้วิชาการจัดหมวดหมู่มาประกอบการคำนวน (Ncr=N! หาร [(N-r)! คูณ r!] ประมาณนี้)
ขอโทษที่ ถ้าสิ่งที่ผมทำมันน่าเบื่อ และไร้สาระ แต่ผมว่านี้ก็อาจเป็นแนวทางในการสังเกตุตะแกรงกรองหุ้นในเชิงปฎิบัติได้ครับ ถามทุกเส้นทางมันถึงเป้าหมายที่เดียวกัน ขอคุณครับ
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 12, 2010 11:57 am
โดย Linzhi
ข้อมูลน่าสนใจครับ
แต่การใช้ค่า E/P โดด ๆ ผมมองไม่ค่อยออก ว่าหาเพื่ออะไร
เพื่อจะหาว่า "การซื้อหุ้น PE ต่ำกว่าตลาดที่มีกำไร จะชนะตลาดได้หรือไม่"
คำถามนี้ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เท่าไหร่ ออกไปทางแนวซื้อหุ้นตามระบบ
หนังสือฝรั่งมีการพูดถึงตัวแปรนี้เหมือนกัน แต่เอามาประกอบกับ ROE ด้วย
หรืออาจจะเพิ่ม EPS Growth โตมากกว่าตลาดอีกช่อง อย่างนี้ดูจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์มากกว่าซะอีกครับ
การชนะ หรือแพ้ตลาดก็บอกอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ชนะ 100% หรือชนะ 1% ก็ได้ผลลัพท์ทางสถิติเดียวกัน แต่ผลต่อการลงทุนต่างกันมหาศาล
แค่อยากช่วยให้การทดลองดีขึ้นนะครับ :D
เฉลี่ยแต่ละปี มีหุ้นที่ชนะตลาดกี่ตัว
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 12, 2010 2:21 pm
โดย peacedev
ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่ขอเข้ามาแจมอีกทีครับ
ผมคิดว่า Research ของคุณ leechong เป็นการคิด-พิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ความพยายามในเชิงนี้ไม่เสียเวลาเปล่าแน่นอนครับ
เพราะสมมุติฐานเราผิด เราก็จะเห็นจุดผิดพลาดของมันและแก้ไขมันได้
และถ้าหากสมมุติฐานของเราถูก เราก็มั่นใจได้ยิ่งขึ้น
แถมเวลาทดลองเราได้ตกผลึกความคิดอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งบางทีคนที่อ่าน Research ของเราไม่มีทางที่จะเข้าถึงมันได้
แต่ก็มีจุดที่พึงระรึกในการทดลองว่า ข้อมูลในอดีตไม่สามารถใช้ทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถ้าเรามั่นใจใน model ของเรามากเกินไปก็อาจทำให้เราผิดพลาดเสียหายได้เหมือนกัน
มีอีกเรื่องที่คุณ Linzhi เข้ามาพูดไปแล้วคือ ชนะมากหรือชนะน้อย ก็ได้ผลลัพท์ทางสถิติเดียวกัน แต่ผลต่อการลงทุนต่างกันมหาศาล อันนี้ผมเห็นด้วยครับ
แต่ที่จริง ผมเชื่อว่ามันยังเป็น Research ขั้นพื้นฐานสามารถเอาไปประยุกต์อะไรได้มากกว่านี้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักกำไร หรือการใช้ค่าอื่น ๆ นอกจากกำไร หรือใช้หลาย ๆ ค่าร่วมกัน

แต่สำหรับกองทุน หลาย ๆ กองทุน แค่ชนะตลาดให้ได้ตลอดเวลาก็เป็นเรื่องสุดยอดแล้วล่ะครับ
ที่จริงมีกองทุน(ต่างชาติ)หลาย ๆ แห่งใช้ระบบคัดกรองเชิงปริมาณแบบนี้อยู่ไม่น้อย เพราะจำนวนหุ้นมันเยอะมาก
บ้านเรา 500กว่า ๆ ถือว่าน้อยมากครับ
แต่สูตรที่ใช้กันได้ผลดีมาก ๆ ไม่มีใครเอามาเปิดเผยกันหรอกครับ
ส่วนสูตรรอง ๆ ลงมา เขาเอามาทำโปรแกรมสำเร็จรูปขายกันราคาแพง ๆ
สูตรที่เปิดเผยกันส่วนมากจะเป็นสูตรที่"เคยได้ผลมาก่อน" แบบนี้ก็มีครับ
พูดมากไปเดี๋ยวจะถูกว่าเอาว่าพานอกประเด็น Value
สุดท้ายนี้ ผมคิดว่าคนที่คิดอย่างวิทยาศาสตร์ และมีความสามารถทางสถิติ พวกเขาไม่เชื่อกราฟอย่างแน่นอนครับ