พวกที่เรียกตัวเองว่า 'แวลูอินเวสเตอร์' (วีไอ) ช่วยกันดันราคา
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 23, 2010 8:39 am
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 23 สิงหาคม 2553 01:00
ไล่ราคา 'เจ มาร์ท' บนความ 'คาดหวัง' ที่เกินตัว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ มาร์ท
ภาพประกอบข่าว
พวกที่เรียกตัวเองว่า 'แวลูอินเวสเตอร์' (วีไอ) ช่วยกันดันราคา JMART วิ่งล่วงหน้าไปไกล:roll: หุ้นตัวนี้กำลังแบกรับ 'ความคาดหวัง' ที่เกินตัว
รายย่อยติดหุ้นกันมาก หลังช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2553 มีกลุ่มนักลงทุนที่เรียกตัวเองว่า "แวลูอินเวสเตอร์" (วีไอ) แห่เข้าไปไล่เก็บหุ้น JMART ราคาพุ่งขึ้นจาก 2 บาท ไต่ทะยานไปแตะ 3.64 บาท หลังมีข่าวแพร่สะพัดว่า ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เข้าไปเก็บหุ้น JMART ไว้จำนวน 7 ล้านหุ้น เหล่าสาวกก็เลยแห่ซื้อตามกัน "ไม่ยั้ง" ทั้งที่ บมจ.เจ มาร์ท ไม่ใช่บริษัทที่โดดเด่น และเป็นม้านอกสายตามาโดยตลอด
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าภายในงานสัมมนาหุ้นของกลุ่มนักลงทุนวีไอที่จัดขึ้นประจำไตรมาส หุ้น JMART ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาในวันนั้น บทสรุปจบลงที่คำแนะนำ ซื้อ หลังจากนั้น 1 วัน ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นชนซิลลิ่ง ทำให้หุ้นตัวนี้ต้องแบกรับความคาดหวังที่เกินตัวอย่างไม่ได้ตั้งใจ
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ มาร์ท ออกตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า ส่วนตัวไม่รู้มาก่อนว่า JMART เป็นหนึ่งในหุ้นขวัญใจนักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คาดเดาว่าสาเหตุที่ราคาหุ้นขึ้นมาติดซิลลิ่ง (วันที่ 7 มิถุนายน 2553) น่าจะเป็นเพราะนักลงทุนเห็นโอกาสที่บริษัทจะเติบโตในอนาคตเลยเข้ามาเก็บหุ้น
ถามว่าจุดเด่นของบริษัทคืออะไร เขาตอบว่า เจ มาร์ทเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ "เบอร์หนึ่ง" ของตลาดในแง่วอลุ่ม และเป็นรายเดียวที่ขายมือถือทุกยี่ห้อ รวมถึงเป็นแบรนด์ที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี และที่สำคัญคือมีจุดจำหน่ายกว่า 210 สาขา ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในห้างบิ๊กซี และมีดีลเลอร์ที่รับของไปขายต่ออีกว่า 600 ราย
ความแตกต่างจากหุ้นมือถือตัวอื่นในตลาดถ้าเป็น เอ็มลิงค์, ไออีซี หรือ บลิสเทล อดิศักดิ์ บอกว่า พวกนั้นเขาเป็นเพียง "ผู้ขายส่ง" มีหน้าร้านของตัวเองน้อยมาก ส่วน สามารถไอ-โมบาย จะเป็นผู้ผลิตมือถือ "เฮ้าส์แบรนด์" มากกว่า ปัญหาใหญ่ของผู้จำหน่ายมือถือคือการบริหารสต็อกสินค้าล้าสมัย บริษัทไม่มีปัญหาตรงนี้จากจำนวนสาขาที่เยอะและมีประสบการณ์ในธุรกิจ ถึงตอนนี้มีการตั้งสำรองสินค้าที่ขายไม่ออกไปเพียง 20 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนสถานะการเงินบริษัทไม่มีหนี้เลย และมีกระแสเงินสดเหลือเฟือ
อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2553 ออกมา "น่าผิดหวัง" มีกำไรสุทธิ 10.54 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 25.51 ล้านบาท และงวด 6 เดือนปี 2553 มีกำไรสุทธิ 33.84 ล้านบาท เทียบกับ 45.54 ล้านบาทในปีก่อน
ถามถึงอนาคตการเติบโต เขาเผยว่าตลาดมือถือระดับล่างหรือเฮ้าส์แบรนด์คงไม่มีการเติบโตที่หวือหวา แต่ระดับกลางถึงบนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นจากกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์ค กระตุ้นให้มีผู้ใช้มือถือประเภทสมาร์ทโฟนมากขึ้น
นอกจากนี้การมาของ 3จี ที่ใกล้จะประมูลไลเซ่นเร็วๆ นี้จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้คึกคักมากขึ้น ร้านจำหน่ายก็จะได้อานิสงส์ไปด้วยเพราะผู้ให้บริการคลื่นความถี่ก็จะมีบริการใหม่ๆ ออกมากระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อมือถือใหม่ที่รองรับเทคโนโลยี 3จี มากขึ้น
พูดให้ชัดเลยตอนนี้โทรศัพท์มือถือไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแต่เป็นของจำเป็นในชีวิตประจำวัน อีกหน่อยสมาร์ทโฟนจะมีราคาที่ถูกลงจะเกิดกลุ่มผู้ใช้หน้าใหม่มากขึ้น ยอดขายก็จะสูงขึ้น เขาคาดการณ์
ปัจจุบันธุรกิจหลักของเจมาร์ทแบ่งเป็นสามส่วนคือ หนึ่ง.จัดจำหน่ายมือถือแบรนด์คนอื่น 75% สอง.จำหน่ายมือถือเฮ้าส์แบรนด์ในชื่อ เจโฟน 15% และสาม.อีก 10% จากพื้นที่ให้เช่าและบริษัทรับบริหารหนี้ในชื่อ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด
ในส่วนของธุรกิจติดตามหนี้ คาดว่าปีนี้กำไรน่าจะโตได้ถึง 100% จากปีก่อนมีกำไร 20 ล้านบาท แม้จะยังมีวอลุ่มไม่สูงแต่มีอัตรากำไรที่ดี ปัจจุบันมียอดหนี้รวมในพอร์ต 10,000 ล้านบาท แนวโน้มธุรกิจนี้มีแต่เติบโตคาดว่าในอนาคตจะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 5% จากตอนนี้อยู่ที่ 3% ล่าสุดเพิ่งเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 40 ล้านบาท เป็น 80 ล้านบาทรองรับการขยายธุรกิจ
เขายังบอกอีกว่ามีแผนที่จะปั้นแบรนด์เจโฟนให้ติดตลาดมากขึ้นกว่านี้ จากปัจจุบันอยู่ในอันดับสามหรือสี่ แต่ถ้ายึดติดกับแผนธุรกิจเดิมๆ ยอดขายก็คงไม่ขยับเพราะแบรนด์ดังๆ อย่างโนเกีย ซัมซุง เริ่มส่งมือถือราคาถูกมาตีตลาด เร็วๆ นี้เตรียมเปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ของเจโฟนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ 3จี ทำให้ในระยะยาวน่าจะกลับขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดได้ รวมถึงเพิ่มสัดส่วนรายได้จากเจโฟนให้เป็น 30-40% อัตรากำไรก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ธุรกิจใหม่นี้จะช่วยดันให้อัตรากำไรสุทธิของเราที่ปกติอยู่แค่ 1-2% จะขยับขึ้นไปที่ 3-4% ในอนาคตได้
สำหรับการขยายช่องทางจัดจำหน่าย ภายในปี 2554 จุดจำหน่ายน่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 280 แห่ง จะเน้นไปที่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่วนการขยายร้านที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ขอรอดูความเหมาะสมก่อน
อดิศักดิ์ ให้ความเห็นว่าจุดเด่นของหุ้น JMART น่าจะเป็นการจ่ายปันผลในระดับที่สูงมาตั้งแต่เข้าตลาดหุ้น อนาคตเมื่อมีกำไรมากขึ้นอัตราการจ่ายปันผลก็จะสูงตามไปด้วยเพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนหนักๆ ในอนาคต
"แนวโน้มในอีก 3 ปีข้างหน้า รายได้คงจะโตแบบไม่หวือหวาแต่เราจะโฟกัสให้กำไรเพิ่มขึ้นทุกปีแน่นอน"
ส่วนแนวโน้มการเติบโตในปีนี้ อดิศักดิ์ ยอมรับว่ากำไรสุทธิในปีนี้น่าจะเติบโตน้อยกว่าที่คาดคือโตเพียง 20% จากเดิมที่น่าจะโตได้ถึง 40% เหตุเพราะปัญหาทางการเมืองช่วงต้นปีนอกจากจะสร้างความเสียหายกับสาขาที่เซ็นทรัลเวิลด์แล้วยอดขายมือถือน่าจะลดลง
ถ้าดูทิศทางหุ้น JMART ย้อนหลังนับจากวันที่พุ่งชนซิลลิ่งจะเห็นว่ามีแต่แนวโน้ม "ทรง" กับ "ทรุด" เป็นไปได้ว่าอาจกำลังแบกรับความคาดหวังที่สูงลิ่วล่วงหน้าไปก่อนแล้ว
วันที่ 23 สิงหาคม 2553 01:00
ไล่ราคา 'เจ มาร์ท' บนความ 'คาดหวัง' ที่เกินตัว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ มาร์ท
ภาพประกอบข่าว
พวกที่เรียกตัวเองว่า 'แวลูอินเวสเตอร์' (วีไอ) ช่วยกันดันราคา JMART วิ่งล่วงหน้าไปไกล:roll: หุ้นตัวนี้กำลังแบกรับ 'ความคาดหวัง' ที่เกินตัว
รายย่อยติดหุ้นกันมาก หลังช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2553 มีกลุ่มนักลงทุนที่เรียกตัวเองว่า "แวลูอินเวสเตอร์" (วีไอ) แห่เข้าไปไล่เก็บหุ้น JMART ราคาพุ่งขึ้นจาก 2 บาท ไต่ทะยานไปแตะ 3.64 บาท หลังมีข่าวแพร่สะพัดว่า ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เข้าไปเก็บหุ้น JMART ไว้จำนวน 7 ล้านหุ้น เหล่าสาวกก็เลยแห่ซื้อตามกัน "ไม่ยั้ง" ทั้งที่ บมจ.เจ มาร์ท ไม่ใช่บริษัทที่โดดเด่น และเป็นม้านอกสายตามาโดยตลอด
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าภายในงานสัมมนาหุ้นของกลุ่มนักลงทุนวีไอที่จัดขึ้นประจำไตรมาส หุ้น JMART ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาในวันนั้น บทสรุปจบลงที่คำแนะนำ ซื้อ หลังจากนั้น 1 วัน ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นชนซิลลิ่ง ทำให้หุ้นตัวนี้ต้องแบกรับความคาดหวังที่เกินตัวอย่างไม่ได้ตั้งใจ
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ มาร์ท ออกตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า ส่วนตัวไม่รู้มาก่อนว่า JMART เป็นหนึ่งในหุ้นขวัญใจนักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คาดเดาว่าสาเหตุที่ราคาหุ้นขึ้นมาติดซิลลิ่ง (วันที่ 7 มิถุนายน 2553) น่าจะเป็นเพราะนักลงทุนเห็นโอกาสที่บริษัทจะเติบโตในอนาคตเลยเข้ามาเก็บหุ้น
ถามว่าจุดเด่นของบริษัทคืออะไร เขาตอบว่า เจ มาร์ทเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ "เบอร์หนึ่ง" ของตลาดในแง่วอลุ่ม และเป็นรายเดียวที่ขายมือถือทุกยี่ห้อ รวมถึงเป็นแบรนด์ที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี และที่สำคัญคือมีจุดจำหน่ายกว่า 210 สาขา ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในห้างบิ๊กซี และมีดีลเลอร์ที่รับของไปขายต่ออีกว่า 600 ราย
ความแตกต่างจากหุ้นมือถือตัวอื่นในตลาดถ้าเป็น เอ็มลิงค์, ไออีซี หรือ บลิสเทล อดิศักดิ์ บอกว่า พวกนั้นเขาเป็นเพียง "ผู้ขายส่ง" มีหน้าร้านของตัวเองน้อยมาก ส่วน สามารถไอ-โมบาย จะเป็นผู้ผลิตมือถือ "เฮ้าส์แบรนด์" มากกว่า ปัญหาใหญ่ของผู้จำหน่ายมือถือคือการบริหารสต็อกสินค้าล้าสมัย บริษัทไม่มีปัญหาตรงนี้จากจำนวนสาขาที่เยอะและมีประสบการณ์ในธุรกิจ ถึงตอนนี้มีการตั้งสำรองสินค้าที่ขายไม่ออกไปเพียง 20 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนสถานะการเงินบริษัทไม่มีหนี้เลย และมีกระแสเงินสดเหลือเฟือ
อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2553 ออกมา "น่าผิดหวัง" มีกำไรสุทธิ 10.54 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 25.51 ล้านบาท และงวด 6 เดือนปี 2553 มีกำไรสุทธิ 33.84 ล้านบาท เทียบกับ 45.54 ล้านบาทในปีก่อน
ถามถึงอนาคตการเติบโต เขาเผยว่าตลาดมือถือระดับล่างหรือเฮ้าส์แบรนด์คงไม่มีการเติบโตที่หวือหวา แต่ระดับกลางถึงบนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นจากกระแสโซเชียลเน็ตเวิร์ค กระตุ้นให้มีผู้ใช้มือถือประเภทสมาร์ทโฟนมากขึ้น
นอกจากนี้การมาของ 3จี ที่ใกล้จะประมูลไลเซ่นเร็วๆ นี้จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้คึกคักมากขึ้น ร้านจำหน่ายก็จะได้อานิสงส์ไปด้วยเพราะผู้ให้บริการคลื่นความถี่ก็จะมีบริการใหม่ๆ ออกมากระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อมือถือใหม่ที่รองรับเทคโนโลยี 3จี มากขึ้น
พูดให้ชัดเลยตอนนี้โทรศัพท์มือถือไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแต่เป็นของจำเป็นในชีวิตประจำวัน อีกหน่อยสมาร์ทโฟนจะมีราคาที่ถูกลงจะเกิดกลุ่มผู้ใช้หน้าใหม่มากขึ้น ยอดขายก็จะสูงขึ้น เขาคาดการณ์
ปัจจุบันธุรกิจหลักของเจมาร์ทแบ่งเป็นสามส่วนคือ หนึ่ง.จัดจำหน่ายมือถือแบรนด์คนอื่น 75% สอง.จำหน่ายมือถือเฮ้าส์แบรนด์ในชื่อ เจโฟน 15% และสาม.อีก 10% จากพื้นที่ให้เช่าและบริษัทรับบริหารหนี้ในชื่อ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด
ในส่วนของธุรกิจติดตามหนี้ คาดว่าปีนี้กำไรน่าจะโตได้ถึง 100% จากปีก่อนมีกำไร 20 ล้านบาท แม้จะยังมีวอลุ่มไม่สูงแต่มีอัตรากำไรที่ดี ปัจจุบันมียอดหนี้รวมในพอร์ต 10,000 ล้านบาท แนวโน้มธุรกิจนี้มีแต่เติบโตคาดว่าในอนาคตจะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 5% จากตอนนี้อยู่ที่ 3% ล่าสุดเพิ่งเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 40 ล้านบาท เป็น 80 ล้านบาทรองรับการขยายธุรกิจ
เขายังบอกอีกว่ามีแผนที่จะปั้นแบรนด์เจโฟนให้ติดตลาดมากขึ้นกว่านี้ จากปัจจุบันอยู่ในอันดับสามหรือสี่ แต่ถ้ายึดติดกับแผนธุรกิจเดิมๆ ยอดขายก็คงไม่ขยับเพราะแบรนด์ดังๆ อย่างโนเกีย ซัมซุง เริ่มส่งมือถือราคาถูกมาตีตลาด เร็วๆ นี้เตรียมเปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ของเจโฟนที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ 3จี ทำให้ในระยะยาวน่าจะกลับขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดได้ รวมถึงเพิ่มสัดส่วนรายได้จากเจโฟนให้เป็น 30-40% อัตรากำไรก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ธุรกิจใหม่นี้จะช่วยดันให้อัตรากำไรสุทธิของเราที่ปกติอยู่แค่ 1-2% จะขยับขึ้นไปที่ 3-4% ในอนาคตได้
สำหรับการขยายช่องทางจัดจำหน่าย ภายในปี 2554 จุดจำหน่ายน่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 280 แห่ง จะเน้นไปที่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่วนการขยายร้านที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ขอรอดูความเหมาะสมก่อน
อดิศักดิ์ ให้ความเห็นว่าจุดเด่นของหุ้น JMART น่าจะเป็นการจ่ายปันผลในระดับที่สูงมาตั้งแต่เข้าตลาดหุ้น อนาคตเมื่อมีกำไรมากขึ้นอัตราการจ่ายปันผลก็จะสูงตามไปด้วยเพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนหนักๆ ในอนาคต
"แนวโน้มในอีก 3 ปีข้างหน้า รายได้คงจะโตแบบไม่หวือหวาแต่เราจะโฟกัสให้กำไรเพิ่มขึ้นทุกปีแน่นอน"
ส่วนแนวโน้มการเติบโตในปีนี้ อดิศักดิ์ ยอมรับว่ากำไรสุทธิในปีนี้น่าจะเติบโตน้อยกว่าที่คาดคือโตเพียง 20% จากเดิมที่น่าจะโตได้ถึง 40% เหตุเพราะปัญหาทางการเมืองช่วงต้นปีนอกจากจะสร้างความเสียหายกับสาขาที่เซ็นทรัลเวิลด์แล้วยอดขายมือถือน่าจะลดลง
ถ้าดูทิศทางหุ้น JMART ย้อนหลังนับจากวันที่พุ่งชนซิลลิ่งจะเห็นว่ามีแต่แนวโน้ม "ทรง" กับ "ทรุด" เป็นไปได้ว่าอาจกำลังแบกรับความคาดหวังที่สูงลิ่วล่วงหน้าไปก่อนแล้ว