เส้นทางสู่ร้อยล้าน..'นพ.บำรุง ศรีงาน'
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 09, 2010 5:57 am
เส้นทางสู่ร้อยล้าน..'นพ.บำรุง ศรีงาน'
หุ้นวัฏจักรถ้าอยู่ในรอบ 'ขาขึ้น' จะให้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล แม้แต่ 'ช้าง' ก็ 'บิน' ได้ หลังวิกฤติหุ้นยานยนต์ ท่องเที่ยว อสังหาฯจะรีเทิร์นเสมอ
ง่ายที่คนคนหนึ่งจะใช้ "เรือเล็ก" ออกจับปลาใหญ่ในมหาสมุทรกว้าง โดยไม่ล้มครืนกลางทะเลเมื่อเจอพายุใหญ่ เฉกเช่นการเดินทางมิอาจไร้ซึ่งทิศทาง เป้าหมายที่ "ยิ่งใหญ่" ก็มิอาจไร้ซึ่งการรอคอยและความอดทน หมอบ้านนอกจากอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ รวบรวมเงินลงทุนเท่าที่มีมุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้น เขาตั้งความหวังเหมือนนักลงทุนทุกคน นั่นคือ "กำไร"
แต่การค้าขายหุ้นของหมอมีความชัดเจนตั้งแต่แรกว่า จะเน้นที่กำไรจาก Capital Gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) เป็น "อันดับแรก" เงินปันผลเป็นเพียง "ผลพลอยได้"
"ไม่มีประโยชน์ที่ได้ปันผลเยอะแต่ราคาหุ้นร่วง (ตก) มากกว่าหลังขึ้นเครื่องหมาย XD (ผู้ซื้อไม่มีสิทธิรับเงินปันผล) จำไว้ว่าปัจจัยแรกที่หุ้นจะขึ้นคือ "ผลกำไร" รองลงมาคือ "เงินปันผล" (ต้องสมน้ำสมเนื้อ) มีตัวอย่างให้เห็นมามากที่บริษัทกำไรดี แต่จ่ายปันผลน้อยแถมหุ้นก็ไม่ขึ้น"
อีกจุดที่ยากของการลงทุน คือ การตัดสินใจ "ขาย" จะเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นไปถึง Fair Value (ราคายุติธรรม) หรือ Over จากนั้นไปแล้ว หมอบำรุงจะเริ่มจับตาเป็นพิเศษโดยไม่คิดที่จะถือหุ้นตัวไหนไปนานๆ ยกเว้นแต่ราคายังไม่เต็มมูลค่า
ผมเชื่อว่าของทุกอย่างมีราคาที่เหมาะสมของมัน ไม่มีหุ้นตัวไหนที่ราคาอินฟีนิตี้ (ไม่มีจุดจบ) ต่อให้ดีแค่ไหนก็ตาม
ชอบแทงหุ้น 'วัฏจักร' แนวทางที่ "ใช่"
คุณหมอ เริ่มเล่าประสบการณ์ลงทุนหุ้นแบบเจาะลึกหลังจากที่ค้นพบแนวทางของตัวเองแล้ว ปีที่ 5 ของการลงทุน (ปี 2549) เขาค้นพบหุ้น 2 ตัวที่ดีและชอบทั้งคู่ โดยกลั่นกรองมาแล้วหลายชั้น ตัวแรกคือ ไอที ซิตี้ (IT) ซึ่งเข้าข่ายเป็นหุ้นเติบโต (Growth Stock) มีกำไรก็นำไปขยายกิจการต่อโดยไม่ต้องเพิ่มทุน อีกตัว ผาแดงอินดัสทรี (PDI) ซึ่งเป็นหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) สุดท้ายหมอเลือกเทน้ำหนักลงหุ้น PDI เพียงตัวเดียว
ผมชั่งน้ำหนักอยู่นานจนตัดสินใจเลือกหุ้นวัฏจักร และก็เป็นไปตามคาด คือ ทำกำไรได้อย่างมาก จนกล้าออกจากงานประจำในเวลาต่อมา
พอย่างเข้าปีที่ 6 ของการลงทุน ในปี 2550 ตลาดหุ้นกลับมาเป็น "ขาขึ้น" จากดัชนี 608 จุด ทะยานขึ้นไป 924 จุด หมอเปลี่ยนแนวทางโดยหันมา "กระจายความเสี่ยง" ไม่ถือหุ้นตัวเดียว โดยคัดกรองหุ้นที่จะซื้อได้ 4 ตัว เป็น Growth Stock และ Cyclical Stock ผสมกัน โดยสี่ตัวที่เลือกคือ ซีพี ออลล์ (CPALL) โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) ทิปโก้แอสฟัลท์ (TASCO) และ ปริญสิริ (PRIN)
สาเหตุที่เลือกหุ้นเซเว่นอีเลฟเว่น (CPALL) หมอมองว่า เป็นหุ้นเติบโตมีรายได้มั่นคง ส่วนสามตัวหลัง (TNH, TASCO, PRIN) มองเป็นหุ้นวัฏจักรที่อุตสาหกรรมกำลังอยู่ในวงจร "ขาขึ้น"
"ผมเคยทำงานโรงพยาบาลเลยพอรู้ว่าหุ้นโรงพยาบาลไทยนครินทร์เป็นบริษัทที่ดี แต่ดูไปดูมาไปเจอหุ้น เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) ที่ดีกว่าเลยตัดสินใจขายหุ้น 4 ตัว ย้ายมาลงทุน STPI เพียงตัวเดียวอีกครั้ง"
ค้นพบหุ้น STPI จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ
เหตุใดหมอถึงกล้าทุ่มเงินลงทุนหมดหน้าตักวางเดิมพันกับหุ้น เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) ของ "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล ผู้มีอำนาจ "เบอร์สอง" พรรคภูมิใจไทย บริษัทนี้บริหารโดย มาศถวิน ชาญวีรกูล ลูกชายคนเล็ก รมว.มหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
หลังจากเข้าไปเจาะลึกบริษัทอย่างละเอียด หมอ พบว่า STPI มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจอย่างสิ้นเชิง เมื่อก่อนทำโครงสร้างเหล็กทั่วไป อย่างสะพานพระรามแปด ซึ่งมาร์จินนิดเดียว จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อปี 2548-2549 หลังร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท CLOUGH (คลัฟ) จากออสเตรเลียรับงานเชื่อมท่อ (Piping Fabrication) และงานประกอบโรงงานสำเร็จรูป (Process Module) ซึ่งมีมาร์จินสูง แถมรายได้ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด
"ผมดูข่าวในรอยเตอร์ออสเตรเลียบอกว่า STPI ได้งาน Module มูลค่า 12,000 ล้านบาทเฉพาะค่าแรงไม่รวมค่าวัสดุ จากเดิมรับงานแค่ปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท สมมติมาร์จินแค่ 10% ก็โตมหาศาลแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ราคาหุ้นเลยยังไม่ขึ้นเป็นโอกาสดีของผม"
นอกจากนี้หุ้น STPI ยังเป็นหุ้นวัฏจักร เพราะรับงานสร้างโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งตอนนั้นอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะราคาน้ำมันเริ่มแพงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 ดูง่ายๆ อย่างหุ้นปตท. (PTT) หรือ ไทยออยล์ (TOP) รวมถึงบริษัทน้ำมันทั่วโลกพอมีกำไรก็ลงทุนเพิ่มเพราะไม่อยากเสียมาร์เก็ตแชร์
"ผมทำกำไรจากหุ้น STPI มากถึง 200% แต่ยังไม่ขายในปีนั้นแต่ก็ถือว่าชนะภาพรวมตลาดในปี 2550 ซึ่งบวกขึ้นมา 26%"
พอมาถึงปี 2551 มาเจอวิกฤติซับไพร์ม ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างรุนแรง หุ้นไทยตกจากจุดสูงสุด 886 จุด ลงมาต่ำสุด 380 จุด แต่หุ้น STPI ลงมานิดเดียว แถมได้วอร์แรนท์ฟรีปีนั้นเลยถือว่า "โชคสองชั้น" ทั้งปีมีกำไรเพิ่มล้านสองล้านบาท ก็ยังชนะภาพรวมตลาดที่ติดลบมากกว่า 50% หลังจากขายหุ้น STPI มีกำไรเป็นกอบเป็นกำก็นำเงินไปทุ่มซื้อหุ้น สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT) และไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY) ที่ราคาหุ้นปรับลดลงอย่างหนักจากวิกฤติ
"ผมติดตามหุ้น SAT มาตลอดพอเห็นราคาหุ้นลงมามาก จาก 16 บาท ตกต่ำสุด 3.26 บาท ก็เข้าไปซื้อไว้ที่ราคา 5-6 บาท ตอนนี้ราคาขึ้นมาเหนือ 20 บาทแล้ว คิดว่ายังมีโอกาสไปต่อได้อีก"
สาเหตุที่เลือกหุ้นกลุ่มยานยนต์ เพราะทุกครั้งที่เกิดวิกฤติซึ่งจะมาทุกๆ 12 ปี ธุรกิจรถยนต์กับท่องเที่ยวจะกระทบหนักที่สุด จากที่สำรวจหุ้นกลุ่มนี้พบสองบริษัทที่เข้มแข็งคือ SAT กับ STANLY โดยหุ้น สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ ครองตลาด 60% ในกลุ่มสินค้าดิสก์เบรกและพวกชิ้นส่วนเล็กๆ มี ROE ย้อนหลัง 20% แปลว่าเป็นธุรกิจที่แข่งขันไม่สูงนัก แม้จะมีหนี้สูงหน่อยก็ไม่เป็นไรเพราะถ้าอยู่ในวัฏจักรขาขึ้นมีหนี้แต่มีออเดอร์ก็ไม่มีปัญหา
ส่วนหุ้น STANLY เป็นเจ้าตลาดไฟรถยนต์ 60% และไฟรถมอเตอร์ไซค์ 90% และมีการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ปีนั้น (2551) ค่ายรถบิ๊กทรีของโลกรวมถึงโตโยต้าขาดทุนหมดแต่ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้ายังมีกำไร เรียกว่าเป็น "ราชาในหมู่ราชา" ทีเดียว
"หุ้นตัวนี้ราคาต่ำสุดที่ 45.25 บาท แต่ผมซื้อที่ราคา 80 บาท เพราะต้องรอขายหุ้น STPI ออกไปก่อน เวลาเศรษฐกิจฟื้นหุ้นตัวนี้ยังไงก็กลับมาแน่"
สี่ตีนยังรู้พลาด...นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
ใช่ว่าการลงทุนจะสำเร็จไปเสียหมด หมอเล่าว่า จุดพลาดน่าจะเป็นการมองข้ามหุ้นบางตัวไป ทั้งๆ ที่เล็งไว้นานแล้ว อย่างปี 2546 เคยดูหุ้น STANLY ไว้แล้วตั้งแต่ราคา 6 บาทแต่พอแตกพาร์ราคาก็ไปถึง 200 บาท รวมถึงหุ้นเดินเรืออย่าง PSLพอแตกพาร์วิ่งตั้งแต่ราคา 2.5 บาทไปถึง 50 บาท ขึ้นไป 20 เท่า วิกฤติล่าสุดก็ "พลาด" ไม่ได้เก็บหุ้นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย เพราะคิดว่าจะกระทบไม่หนักเท่ายานยนต์
สาเหตุที่พลาดเพราะมองว่าหุ้นเดินเรือตอนนั้นหนี้สูงซึ่งไม่ตรงกับคุณสมบัติของหุ้น Growth Stock ตามที่หนังสือตีแตกเขียนไว้ แต่จริงแล้วทฤษฎีนั้นใช้กับหุ้นวัฏจักรไม่ได้คนละเรื่องกัน หุ้น Cyclical Stock มีหนี้เยอะได้ แต่ต้องดูให้ดีว่ากำลังเป็นขาขึ้นแล้วหรือยัง
"หุ้นวัฏจักรเมื่อถึงรอบของมันช้างยังบินได้เลย ชีวิตการลงทุนของผมเพิ่งผ่านวิกฤติใหญ่มาแค่ครั้งเดียว ครั้งต่อไปจะไม่ยอมพลาดแล้ว"
ถามถึงพอร์ตในปัจจุบัน คุณหมอบอกว่าตอนนี้มีหุ้นอยู่ 8 ตัว ถ้าดูในเว็บตลาดหลักทรัพย์อาจเห็นถือหุ้น SAT สัดส่วนพอสมควร แต่จริงแล้วหุ้นตัวใหญ่ที่สุดในพอร์ตตอนนี้เป็นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่เพิ่งปรับโครงสร้างธุรกิจจากผู้วางเครือข่ายโทรศัพท์บ้านมาเป็นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ (ขอไม่บอกชื่อเพราะอาจเป็นการชี้นำ)
"หุ้นตัวนี้เป็น Turnaround Stock ผู้บริหารบอกว่าปีนี้จะโต 32% และในอีก 5 ปีจะโต 20% ทุกปี ค่าพี/อีมันต้องสูงกว่านี้แน่"
วิเคราะห์แบบเจาะลึกจะพบว่าโทรศัพท์มือถือเคยเป็นของฟุ่มเฟือยปัจจุบันเป็นของจำเป็น ยอดขายคอมพิวเตอร์เติบโต 3-4 เท่าของจีดีพีมาตลอด ส่วนอินเทอร์เน็ตแบบเดิมตลาดอิ่มตัวแล้วแต่บรอดแบนด์มันโตตลอด พอคนใช้เน็ตเร็วแล้วไม่มีเปลี่ยนมาช้าลงหรอก บริษัทนี้มีโครงข่ายทั่วประเทศพร้อมแล้วด้วย
อีกตัวที่ลงทุนเยอะคือหุ้นนิคมอุตสาหกรรมที่มีพอร์ตส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรถยนต์ ราคาหุ้นเดือนเดียวขึ้นมาถึง 50% เหตุเพราะค่ายรถยนต์เริ่มกลับมาลงทุนอีกครั้งหลังวิกฤติ ที่สำคัญพื้นฐานธุรกิจเปลี่ยนไปมากในอีกไม่กี่ปีรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคจะเข้ามาแทนไม่พึ่งพิงการขายที่ดินอย่างเดียว ขณะที่หุ้นนิคมฯตัวอื่นยังพึ่งการขายที่ดินเป็นหลัก
วิเคราะห์หุ้นเหมือนการทำวิทยานิพนธ์
เบื้องหลังความสำเร็จของ นพ.บำรุง หาใช่ "โชค" แต่เป็นการ "ทำการบ้าน" อย่างหนัก หมอเปรียบการวิเคราะห์หุ้นเหมือนกับการทำวิทยานิพนธ์ต้องตัดอารมณ์ความชอบส่วนตัวออกเพราะอารมณ์จะทำให้เกิดความลำเอียง สิ่งที่ต้องการคือข้อเท็จจริงล้วนๆ
นอกจากตัวเลขต่างๆ ที่ต้องดูแล้ว ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการวิเคราะห์หุ้นก็คือ "ธรรมาภิบาล" ของบริษัทและผู้บริหาร ต่อให้หุ้นดีแต่ผู้บริหารมีข่าวในแง่ลบ เช่น ถูก ก.ล.ต.ลงโทษก็จะ "ไม่ซื้อ" แม้หุ้นจะขึ้นก็ไม่เสียดายจะคิดว่านั่นไม่ใช่เงินของเรา
หมอบำรุง ยังฝากให้ระวังหุ้นที่มี "นัยแอบแฝง" อย่าง หุ้นไทยเรยอน (TR) ทำธุรกิจผูกขาด แต่ปันผลแค่ 10% ของกำไรสุทธิเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่คนอินเดียไม่อยากแบ่งเงินปันผลให้คนไทย หรือหุ้นอเมริกันสแตนดาร์ดก็ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปเฉยๆ พวกนี้ระวังติด "กับดักสภาพคล่อง"
แล้วก็มีหุ้นที่กำไรไม่เยอะแต่จ่ายปันผลหนักๆ ยกตัวอย่างเช่น หุ้นคอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี้ (CEI) ทำพัดลมขายเคยจ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาททั้งที่กำไรต่อหุ้น "บาทเดียว" ราคาหุ้นก็ถูกดันจาก 6-7 บาทไปกว่า 20 บาท ต่อมาความแตกว่าผู้บริหารรู้ล่วงหน้าว่าจะถูกยกเลิกออเดอร์จากลูกค้ารายใหญ่ราคาหุ้นก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 2 บาท ทั้งหมดนี้สอนว่าการวิเคราะห์หุ้นต้องดูเนื้อในให้ดีๆ และโฟกัสที่ตัวแนวโน้มกำไรสุทธิมากกว่าเงินปันผล
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นหลังจากนี้ นพ.บำรุงบอกว่า "ดูยาก" ถ้าเป็น วอร์เรน บัฟเฟตต์เขาจะไม่สนใจดัชนีเลยแต่จะให้ความสำคัญกับหุ้นเป็นตัวๆ มากกว่า ส่วนตัวมองว่าถ้าคิดจะลงทุนแบบ "วีไอ" (แวลูอินเวสเตอร์) ตอนนี้คงไม่ง่ายนัก
"ผมคิดว่าหุ้นที่ยัง Under Value ในตลาดหุ้นไทยตอนนี้เหลือไม่ถึง 10% หรือไม่เกิน 50 ตัวแล้วและไม่รู้จะหาเจอหรือเปล่า อาจจะต้องรอวิกฤติครั้งต่อไปมาถึงก่อน"
ที่มา : ถนนนักลงทุน กรุงเทพธุรกิจ
หุ้นวัฏจักรถ้าอยู่ในรอบ 'ขาขึ้น' จะให้ผลตอบแทนอย่างมหาศาล แม้แต่ 'ช้าง' ก็ 'บิน' ได้ หลังวิกฤติหุ้นยานยนต์ ท่องเที่ยว อสังหาฯจะรีเทิร์นเสมอ
ง่ายที่คนคนหนึ่งจะใช้ "เรือเล็ก" ออกจับปลาใหญ่ในมหาสมุทรกว้าง โดยไม่ล้มครืนกลางทะเลเมื่อเจอพายุใหญ่ เฉกเช่นการเดินทางมิอาจไร้ซึ่งทิศทาง เป้าหมายที่ "ยิ่งใหญ่" ก็มิอาจไร้ซึ่งการรอคอยและความอดทน หมอบ้านนอกจากอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ รวบรวมเงินลงทุนเท่าที่มีมุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้น เขาตั้งความหวังเหมือนนักลงทุนทุกคน นั่นคือ "กำไร"
แต่การค้าขายหุ้นของหมอมีความชัดเจนตั้งแต่แรกว่า จะเน้นที่กำไรจาก Capital Gain (ส่วนต่างราคาหุ้น) เป็น "อันดับแรก" เงินปันผลเป็นเพียง "ผลพลอยได้"
"ไม่มีประโยชน์ที่ได้ปันผลเยอะแต่ราคาหุ้นร่วง (ตก) มากกว่าหลังขึ้นเครื่องหมาย XD (ผู้ซื้อไม่มีสิทธิรับเงินปันผล) จำไว้ว่าปัจจัยแรกที่หุ้นจะขึ้นคือ "ผลกำไร" รองลงมาคือ "เงินปันผล" (ต้องสมน้ำสมเนื้อ) มีตัวอย่างให้เห็นมามากที่บริษัทกำไรดี แต่จ่ายปันผลน้อยแถมหุ้นก็ไม่ขึ้น"
อีกจุดที่ยากของการลงทุน คือ การตัดสินใจ "ขาย" จะเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นไปถึง Fair Value (ราคายุติธรรม) หรือ Over จากนั้นไปแล้ว หมอบำรุงจะเริ่มจับตาเป็นพิเศษโดยไม่คิดที่จะถือหุ้นตัวไหนไปนานๆ ยกเว้นแต่ราคายังไม่เต็มมูลค่า
ผมเชื่อว่าของทุกอย่างมีราคาที่เหมาะสมของมัน ไม่มีหุ้นตัวไหนที่ราคาอินฟีนิตี้ (ไม่มีจุดจบ) ต่อให้ดีแค่ไหนก็ตาม
ชอบแทงหุ้น 'วัฏจักร' แนวทางที่ "ใช่"
คุณหมอ เริ่มเล่าประสบการณ์ลงทุนหุ้นแบบเจาะลึกหลังจากที่ค้นพบแนวทางของตัวเองแล้ว ปีที่ 5 ของการลงทุน (ปี 2549) เขาค้นพบหุ้น 2 ตัวที่ดีและชอบทั้งคู่ โดยกลั่นกรองมาแล้วหลายชั้น ตัวแรกคือ ไอที ซิตี้ (IT) ซึ่งเข้าข่ายเป็นหุ้นเติบโต (Growth Stock) มีกำไรก็นำไปขยายกิจการต่อโดยไม่ต้องเพิ่มทุน อีกตัว ผาแดงอินดัสทรี (PDI) ซึ่งเป็นหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) สุดท้ายหมอเลือกเทน้ำหนักลงหุ้น PDI เพียงตัวเดียว
ผมชั่งน้ำหนักอยู่นานจนตัดสินใจเลือกหุ้นวัฏจักร และก็เป็นไปตามคาด คือ ทำกำไรได้อย่างมาก จนกล้าออกจากงานประจำในเวลาต่อมา
พอย่างเข้าปีที่ 6 ของการลงทุน ในปี 2550 ตลาดหุ้นกลับมาเป็น "ขาขึ้น" จากดัชนี 608 จุด ทะยานขึ้นไป 924 จุด หมอเปลี่ยนแนวทางโดยหันมา "กระจายความเสี่ยง" ไม่ถือหุ้นตัวเดียว โดยคัดกรองหุ้นที่จะซื้อได้ 4 ตัว เป็น Growth Stock และ Cyclical Stock ผสมกัน โดยสี่ตัวที่เลือกคือ ซีพี ออลล์ (CPALL) โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) ทิปโก้แอสฟัลท์ (TASCO) และ ปริญสิริ (PRIN)
สาเหตุที่เลือกหุ้นเซเว่นอีเลฟเว่น (CPALL) หมอมองว่า เป็นหุ้นเติบโตมีรายได้มั่นคง ส่วนสามตัวหลัง (TNH, TASCO, PRIN) มองเป็นหุ้นวัฏจักรที่อุตสาหกรรมกำลังอยู่ในวงจร "ขาขึ้น"
"ผมเคยทำงานโรงพยาบาลเลยพอรู้ว่าหุ้นโรงพยาบาลไทยนครินทร์เป็นบริษัทที่ดี แต่ดูไปดูมาไปเจอหุ้น เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) ที่ดีกว่าเลยตัดสินใจขายหุ้น 4 ตัว ย้ายมาลงทุน STPI เพียงตัวเดียวอีกครั้ง"
ค้นพบหุ้น STPI จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ
เหตุใดหมอถึงกล้าทุ่มเงินลงทุนหมดหน้าตักวางเดิมพันกับหุ้น เอสทีพี แอนด์ ไอ (STPI) ของ "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล ผู้มีอำนาจ "เบอร์สอง" พรรคภูมิใจไทย บริษัทนี้บริหารโดย มาศถวิน ชาญวีรกูล ลูกชายคนเล็ก รมว.มหาดไทย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
หลังจากเข้าไปเจาะลึกบริษัทอย่างละเอียด หมอ พบว่า STPI มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจอย่างสิ้นเชิง เมื่อก่อนทำโครงสร้างเหล็กทั่วไป อย่างสะพานพระรามแปด ซึ่งมาร์จินนิดเดียว จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อปี 2548-2549 หลังร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท CLOUGH (คลัฟ) จากออสเตรเลียรับงานเชื่อมท่อ (Piping Fabrication) และงานประกอบโรงงานสำเร็จรูป (Process Module) ซึ่งมีมาร์จินสูง แถมรายได้ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด
"ผมดูข่าวในรอยเตอร์ออสเตรเลียบอกว่า STPI ได้งาน Module มูลค่า 12,000 ล้านบาทเฉพาะค่าแรงไม่รวมค่าวัสดุ จากเดิมรับงานแค่ปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท สมมติมาร์จินแค่ 10% ก็โตมหาศาลแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ราคาหุ้นเลยยังไม่ขึ้นเป็นโอกาสดีของผม"
นอกจากนี้หุ้น STPI ยังเป็นหุ้นวัฏจักร เพราะรับงานสร้างโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งตอนนั้นอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะราคาน้ำมันเริ่มแพงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 ดูง่ายๆ อย่างหุ้นปตท. (PTT) หรือ ไทยออยล์ (TOP) รวมถึงบริษัทน้ำมันทั่วโลกพอมีกำไรก็ลงทุนเพิ่มเพราะไม่อยากเสียมาร์เก็ตแชร์
"ผมทำกำไรจากหุ้น STPI มากถึง 200% แต่ยังไม่ขายในปีนั้นแต่ก็ถือว่าชนะภาพรวมตลาดในปี 2550 ซึ่งบวกขึ้นมา 26%"
พอมาถึงปี 2551 มาเจอวิกฤติซับไพร์ม ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างรุนแรง หุ้นไทยตกจากจุดสูงสุด 886 จุด ลงมาต่ำสุด 380 จุด แต่หุ้น STPI ลงมานิดเดียว แถมได้วอร์แรนท์ฟรีปีนั้นเลยถือว่า "โชคสองชั้น" ทั้งปีมีกำไรเพิ่มล้านสองล้านบาท ก็ยังชนะภาพรวมตลาดที่ติดลบมากกว่า 50% หลังจากขายหุ้น STPI มีกำไรเป็นกอบเป็นกำก็นำเงินไปทุ่มซื้อหุ้น สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT) และไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY) ที่ราคาหุ้นปรับลดลงอย่างหนักจากวิกฤติ
"ผมติดตามหุ้น SAT มาตลอดพอเห็นราคาหุ้นลงมามาก จาก 16 บาท ตกต่ำสุด 3.26 บาท ก็เข้าไปซื้อไว้ที่ราคา 5-6 บาท ตอนนี้ราคาขึ้นมาเหนือ 20 บาทแล้ว คิดว่ายังมีโอกาสไปต่อได้อีก"
สาเหตุที่เลือกหุ้นกลุ่มยานยนต์ เพราะทุกครั้งที่เกิดวิกฤติซึ่งจะมาทุกๆ 12 ปี ธุรกิจรถยนต์กับท่องเที่ยวจะกระทบหนักที่สุด จากที่สำรวจหุ้นกลุ่มนี้พบสองบริษัทที่เข้มแข็งคือ SAT กับ STANLY โดยหุ้น สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ ครองตลาด 60% ในกลุ่มสินค้าดิสก์เบรกและพวกชิ้นส่วนเล็กๆ มี ROE ย้อนหลัง 20% แปลว่าเป็นธุรกิจที่แข่งขันไม่สูงนัก แม้จะมีหนี้สูงหน่อยก็ไม่เป็นไรเพราะถ้าอยู่ในวัฏจักรขาขึ้นมีหนี้แต่มีออเดอร์ก็ไม่มีปัญหา
ส่วนหุ้น STANLY เป็นเจ้าตลาดไฟรถยนต์ 60% และไฟรถมอเตอร์ไซค์ 90% และมีการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ปีนั้น (2551) ค่ายรถบิ๊กทรีของโลกรวมถึงโตโยต้าขาดทุนหมดแต่ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้ายังมีกำไร เรียกว่าเป็น "ราชาในหมู่ราชา" ทีเดียว
"หุ้นตัวนี้ราคาต่ำสุดที่ 45.25 บาท แต่ผมซื้อที่ราคา 80 บาท เพราะต้องรอขายหุ้น STPI ออกไปก่อน เวลาเศรษฐกิจฟื้นหุ้นตัวนี้ยังไงก็กลับมาแน่"
สี่ตีนยังรู้พลาด...นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
ใช่ว่าการลงทุนจะสำเร็จไปเสียหมด หมอเล่าว่า จุดพลาดน่าจะเป็นการมองข้ามหุ้นบางตัวไป ทั้งๆ ที่เล็งไว้นานแล้ว อย่างปี 2546 เคยดูหุ้น STANLY ไว้แล้วตั้งแต่ราคา 6 บาทแต่พอแตกพาร์ราคาก็ไปถึง 200 บาท รวมถึงหุ้นเดินเรืออย่าง PSLพอแตกพาร์วิ่งตั้งแต่ราคา 2.5 บาทไปถึง 50 บาท ขึ้นไป 20 เท่า วิกฤติล่าสุดก็ "พลาด" ไม่ได้เก็บหุ้นอสังหาริมทรัพย์ไว้เลย เพราะคิดว่าจะกระทบไม่หนักเท่ายานยนต์
สาเหตุที่พลาดเพราะมองว่าหุ้นเดินเรือตอนนั้นหนี้สูงซึ่งไม่ตรงกับคุณสมบัติของหุ้น Growth Stock ตามที่หนังสือตีแตกเขียนไว้ แต่จริงแล้วทฤษฎีนั้นใช้กับหุ้นวัฏจักรไม่ได้คนละเรื่องกัน หุ้น Cyclical Stock มีหนี้เยอะได้ แต่ต้องดูให้ดีว่ากำลังเป็นขาขึ้นแล้วหรือยัง
"หุ้นวัฏจักรเมื่อถึงรอบของมันช้างยังบินได้เลย ชีวิตการลงทุนของผมเพิ่งผ่านวิกฤติใหญ่มาแค่ครั้งเดียว ครั้งต่อไปจะไม่ยอมพลาดแล้ว"
ถามถึงพอร์ตในปัจจุบัน คุณหมอบอกว่าตอนนี้มีหุ้นอยู่ 8 ตัว ถ้าดูในเว็บตลาดหลักทรัพย์อาจเห็นถือหุ้น SAT สัดส่วนพอสมควร แต่จริงแล้วหุ้นตัวใหญ่ที่สุดในพอร์ตตอนนี้เป็นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่เพิ่งปรับโครงสร้างธุรกิจจากผู้วางเครือข่ายโทรศัพท์บ้านมาเป็นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ (ขอไม่บอกชื่อเพราะอาจเป็นการชี้นำ)
"หุ้นตัวนี้เป็น Turnaround Stock ผู้บริหารบอกว่าปีนี้จะโต 32% และในอีก 5 ปีจะโต 20% ทุกปี ค่าพี/อีมันต้องสูงกว่านี้แน่"
วิเคราะห์แบบเจาะลึกจะพบว่าโทรศัพท์มือถือเคยเป็นของฟุ่มเฟือยปัจจุบันเป็นของจำเป็น ยอดขายคอมพิวเตอร์เติบโต 3-4 เท่าของจีดีพีมาตลอด ส่วนอินเทอร์เน็ตแบบเดิมตลาดอิ่มตัวแล้วแต่บรอดแบนด์มันโตตลอด พอคนใช้เน็ตเร็วแล้วไม่มีเปลี่ยนมาช้าลงหรอก บริษัทนี้มีโครงข่ายทั่วประเทศพร้อมแล้วด้วย
อีกตัวที่ลงทุนเยอะคือหุ้นนิคมอุตสาหกรรมที่มีพอร์ตส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรถยนต์ ราคาหุ้นเดือนเดียวขึ้นมาถึง 50% เหตุเพราะค่ายรถยนต์เริ่มกลับมาลงทุนอีกครั้งหลังวิกฤติ ที่สำคัญพื้นฐานธุรกิจเปลี่ยนไปมากในอีกไม่กี่ปีรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคจะเข้ามาแทนไม่พึ่งพิงการขายที่ดินอย่างเดียว ขณะที่หุ้นนิคมฯตัวอื่นยังพึ่งการขายที่ดินเป็นหลัก
วิเคราะห์หุ้นเหมือนการทำวิทยานิพนธ์
เบื้องหลังความสำเร็จของ นพ.บำรุง หาใช่ "โชค" แต่เป็นการ "ทำการบ้าน" อย่างหนัก หมอเปรียบการวิเคราะห์หุ้นเหมือนกับการทำวิทยานิพนธ์ต้องตัดอารมณ์ความชอบส่วนตัวออกเพราะอารมณ์จะทำให้เกิดความลำเอียง สิ่งที่ต้องการคือข้อเท็จจริงล้วนๆ
นอกจากตัวเลขต่างๆ ที่ต้องดูแล้ว ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการวิเคราะห์หุ้นก็คือ "ธรรมาภิบาล" ของบริษัทและผู้บริหาร ต่อให้หุ้นดีแต่ผู้บริหารมีข่าวในแง่ลบ เช่น ถูก ก.ล.ต.ลงโทษก็จะ "ไม่ซื้อ" แม้หุ้นจะขึ้นก็ไม่เสียดายจะคิดว่านั่นไม่ใช่เงินของเรา
หมอบำรุง ยังฝากให้ระวังหุ้นที่มี "นัยแอบแฝง" อย่าง หุ้นไทยเรยอน (TR) ทำธุรกิจผูกขาด แต่ปันผลแค่ 10% ของกำไรสุทธิเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่คนอินเดียไม่อยากแบ่งเงินปันผลให้คนไทย หรือหุ้นอเมริกันสแตนดาร์ดก็ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปเฉยๆ พวกนี้ระวังติด "กับดักสภาพคล่อง"
แล้วก็มีหุ้นที่กำไรไม่เยอะแต่จ่ายปันผลหนักๆ ยกตัวอย่างเช่น หุ้นคอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี้ (CEI) ทำพัดลมขายเคยจ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาททั้งที่กำไรต่อหุ้น "บาทเดียว" ราคาหุ้นก็ถูกดันจาก 6-7 บาทไปกว่า 20 บาท ต่อมาความแตกว่าผู้บริหารรู้ล่วงหน้าว่าจะถูกยกเลิกออเดอร์จากลูกค้ารายใหญ่ราคาหุ้นก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 2 บาท ทั้งหมดนี้สอนว่าการวิเคราะห์หุ้นต้องดูเนื้อในให้ดีๆ และโฟกัสที่ตัวแนวโน้มกำไรสุทธิมากกว่าเงินปันผล
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นหลังจากนี้ นพ.บำรุงบอกว่า "ดูยาก" ถ้าเป็น วอร์เรน บัฟเฟตต์เขาจะไม่สนใจดัชนีเลยแต่จะให้ความสำคัญกับหุ้นเป็นตัวๆ มากกว่า ส่วนตัวมองว่าถ้าคิดจะลงทุนแบบ "วีไอ" (แวลูอินเวสเตอร์) ตอนนี้คงไม่ง่ายนัก
"ผมคิดว่าหุ้นที่ยัง Under Value ในตลาดหุ้นไทยตอนนี้เหลือไม่ถึง 10% หรือไม่เกิน 50 ตัวแล้วและไม่รู้จะหาเจอหรือเปล่า อาจจะต้องรอวิกฤติครั้งต่อไปมาถึงก่อน"
ที่มา : ถนนนักลงทุน กรุงเทพธุรกิจ