ผม copy มาจากกระทู้พี่โจ ลูกอิสาณครับ
น่าจะละเอียดพอนะครับ
สวัสดีครับพี่โจ รบกวนขอคำปรึกษาหน่อยครับ
ขอเกริ่นก่อนว่า
พอร์ตผมไม่ใหญ่แค่ประมาณ 45000 บาท เพิ่งทำงานไม่กี่ปี และจะเอาเงินเดือนมาเติมทุกเดือน เดือนละอย่างต่ำ 7000 - 10000 บาทลงทุนมาประมาณ 4-5 เดือนแล้วด้วยแนวทาง VI(ดู ratios ต่างๆ,ดูงบเป็นพอสมควรระดับหนึ่ง, ทำความรู้จักบริษัทให้เข้าใจที่สุดเท่าที่จะมีปัญญาทำได้, ซื้อในราคาที่มี MOS, บริษัทต้องมี DCA ฯลฯ) 100%(ไม่เคยศึกษากราฟหรือแนว VS ใดๆเลยเพราะคิดว่าคงไม่เหมาะกับผม) ลงทุนในหุ้น เกือบ 100% ตลอดเวลา
ผมขอถามตรงๆในฐานะมือใหม่หัดลงทุนแนว VI เลยนะพี่
- พี่ช่วยแนะนำเทคนิคในการเลือกหุ้นหน่อยครับ ทำอย่างไรให้พอรตเติบโตเร็วดีครับ? ผมลงทุนมา 4-5 เดือนหักลบปรบหนี้ได้กำไรแค่ประมาณ 6%(ไม่กี่พัน) เอง (ที่จริงตั้งเป้าซัก 10%) แต่อันที่จริงก็อยากได้มากกว่า 10%(ผมโลภไปมั้ย) แต่ผมยังเด็ก รับความเสี่ยงได้มาก ยังไงรบกวนพี่แนะนำแนว Growth แรงๆได้เลยครับ ^^
- ผมเน้นลงทุนในบริษัทประเภทแข็งแกร่ง ซึ่งราคามักไม่ไปไหน แต่ก็อดทนรอจนงบออก งบก็ดันแย่ลงกว่าปีแล้วนิดหน่อย ทำให้ราคาหุ้นแอบคกลง สรุปถือมานานแทบไม่ได้อะไรเลย หุ้นที่ทำให้ได้เงินกลับเป็นหุ้น turnaround ซะมากกว่า(แต่ผมไม่ได้มีแววมองมันออกแต่แรกหรอกว่ามันจะเป็น แค่เดาๆ เท่าที่ความรู้มีแล้วบังเอิญมัน turnaround แค่นั้นอะครับ) งี้ผมไม่ควรเน้นหุ้นประเภทแข็งแกร่งมากไปใช่มั้ย กรณีอยากให้พอร์ตโตเร็ว
- พี่ค้นหาหุ้นที่ซื้อเนี่ย เน้นผลตอบแทนขนาดไหนครับ เน้นแบบต้องได้กำไร เท่าตัวเลยหรือเปล่า แล้วมีวิธีเสาะหาห้นหลายเด้ง ยังไงครับ?(ก็รู้นะว่ามันแล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน ซึ่งผมมีน้อย อิอิ) ยังไงแนะนำหน่อยนะครับ
- พี่หา intrinsic value ยังไงครับ? ใช้สูตรกับเค้าหรือเปล่าเช่น DCF อะไรพวกเนี่ย? ผมก็เคยลองใช้นะ DCF แต่รู้สึกว่ามัน ทฤษฏีมากเกินไป+ใช้สมมติฐานหลายอย่าง พี่ว่ายังไงครับ
- เริ่มต้นเงินน้อยแบบผมเนี่ย จะเติบโตไปเป็นซัก 5 ล้านได้มั่งมั้ยครับพอ 5 ล้านแล้ว ได้ต่อปีซัก 10% = 5 แสน ตกเดือนละ 40000 ผมก็พอแล้วครับอยู่ได้สบายๆแล้ว เป็นไปได้มั้ยพี่ใช้แนว VI กับตลาดหุ้นไทยเนี่ย
ขอโทษทีนะครับที่ถามเยอะมากกกกไปหน่อย บางคำถามอาจจะอ่านแล้ว งงๆ บ้างยังไงขอคำแนะนำด้วยนะครับ
ไม่มีปัญหาครับ ยินดีด้วยที่มีคำถามแบบนี้ ผมคิดว่ามีหลายๆคนที่เพิ่งลงทุนและมีเงินทุนน้อยๆจะคิดแบบนี้ บางครั้งก็คิดว่าเอ..การลงทุนแบบ vi จะเหมาะสมกับเราหรือเปล่าเพราะเงินน่าจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้า คำตอบเรื่องนี้ผมเคยตั้งเป็นกระทู้ไว้ ลองอ่านดูครับ มีพี่นริศให้ข้อแนะนำด้วย ลองอ่านดูก่อน ที่จริงถ้ายังไม่เข้าใจ ลองอ่านดูหลายๆครั้ง คิดว่ายังมีประโยชน์
กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ
ถ้าอ่านจบแล้ว น่าจะพอเห็นคำตอบเลาๆว่าลงทุนหุ้นแบบไหนถึงจะได้กำไรเยอะๆ มือใหม่มักลงทุนในหุ้นที่ชัวน์ แบบตามตำรา ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเพราะหุ้นประเภทนี้แม้ได้ผลตอบแทนไม่เยอะ แต่ขาดทุนก็ไม่เยอะเช่นกัน และถือไว้ยาวๆก็ปลอดภัย แต่การที่จะทำให้พอร์ตโตเร็วแบบเห็นหน้าเห็นหลัง ต้องเลือกหุ้นอีกแบบคือหาหุ้นที่กำไรจะโตมากๆ แต่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนอง หุ้นพวกนี้เป็นหุ้นที่ควรสนใจที่สุด แล้วดูพื้นฐานอย่างอื่นๆประกอบก่อนตัดสินใจว่าตัวไหนควรลงทุน ตัวไหนควรหลีกเลี่ยง
ปกติผมซื้อหุ้นก็หวังผลตอบแทนไม่ควรต่ำกว่า 30% ในระยะเวลา 1 ปี ครับ บางตัวก็ให้ผลตอบแทนเป็นเท่าตัวภายในเวลา 1 ปี หลายตัวขายไปแล้วยังขึ้นเป็นเท่าตัวก็มีบ่อย เป็นเรื่องธรรมดา ที่จริงการหาหุ้นหลายเด้งอาจจะไม่ยาก ลองถือหุ้นพื้นฐานดีไว้สัก 10 ปีซิครับ น่าจะได้เป็นเด้งแน่ แต่ต้องคิดดูว่าคุ้มกับเวลาที่เสียไปหรือเปล่า เพราะถ้าคิดเป็นอัตราทบต้นก็ไม่สูง เราไปซื้อหุ้นที่เพิ่ม 30% ภายใน 1 ปีไม่ดีกว่าหรือ
วิธีการหา intrinsic value เป็นอย่างนี้ครับ (ผมเอาโพสต์เก่าๆมาให้อ่าน)
Quote:
วิธีการเรียบง่ายที่ผมใช้ทำมาหากินแทบทุกครั้งจะเป็นอย่างนี้ครับ..
1.หา P/E ที่เหมาะสมของแต่ละบริษัท บริษัทไหนที่คาดการง่ายหน่อย กำไรโตเรื่อยๆ ปันผลดี พวกนี้จะ P/E สูงเหมือนพวกค้าปลีก โรงพยาบาลเป็นต้น ส่วนพวกที่ด้อยกว่าเช่นพวกรับเหมาก็ให้ P/E ต่ำๆ
2.หา P/E ในอนาคต(อันใกล้)ของบริษัทที่เราสนใจ นี่หมายความว่าเราต้องประมาณกำไรของกิจการได้ เราจะทำได้ต้องหาข้อมูลเพื่อประเมินกำไรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
3.หาส่วนต่างของ P/E ที่เหมาะสมและ P/E ที่จะเกิดขึ้นจริง เช่นเราประเมินว่าบริษัทนี้ควรมี P/E 15 เท่า แต่เราประเมินแล้วราคาตลาดวันนี้หรือในอนาคตใกล้ๆนี้ P/E แค่ 7 เท่า นั่นแสดงว่าราคาตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 100% (มี margin of safety 100%) อย่างนี้น่าสนใจครับ ปกติต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นสัก 30% ผมก็สนใจแล้ว
หลักๆคือผมดู P/E โดย P/E ของหุ้นแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกิจการครับ นอกจากนั้นผมยังดูสินทรัพย์ เช่นกิจการมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง - หนี้สินแล้วยังสูงกว่ามูลค่าตลาดของหุ้นมาก นี่ก็แสดงว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น แม้จะมี P/E สูงหรือกิจการไม่มีการเติบโต ผมก็สนใจครับ และระยะหลังผมยังหาโอกาสซื้อหุ้นที่คล้ายๆการอาบริเทรจ มีส่วนต่างระหว่าง 2 ราคาให้เราหาประโยชน์ เช่น scan jas metco ในปัจจุบันครับ
หลักการของการหา DCF คือหากระแสเงินสดที่กิจการจะทำมาหาได้ในอนาคตช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วปรับลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน แล้วเปรียบเทียบกับราคาในตลาดว่าราคาหุ้นถูกหรือแพง ยกตัวอย่างเช่น หุ้น กอ มีกระแสเงินสดที่เราคาดการณ์ว่าจะได้รับในช่วง 10 ปีข้างหน้าเท่ากับ 1000 บ. ปรับลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบันได้เท่ากับ 500 บ. ราคาหุ้นเทรดที่ 200 บ. อย่างนี้ก็ถือว่าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ ปัญหาคือ1.การทำนายรายได้ใปในอนาคตถึง 10 หรือ 5 ปี เป็นเรื่องที่ยากสุดๆ บริษัทส่วนใหญ่แค่ 1-2 ปีก็ยากพอแล้ว ปัญหาที่ 2.คืออัตราคิดลด หลายคนจะให้ไม่เท่ากัน ต่างกัน 2-3% แต่ผลลัพธิ์จะต่างกันมากครับ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าวิธี DCF เราก็ควรศึกษาครับ มีบางบริษัทที่มีคุณภาพของรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอน คาดการณ์ได้ ก็เหมาะที่จะใช้วิธี DCF ในการหามูลค่าครับ เช่นหุ้นโรงไฟฟ้า หุ้นค้าปลีกบางตัว หุ้นโรงพยาบาลที่มีหลายสาขา..
จากตำราวิธีหามูลค่าหุ้นทั้ง 4 แบบที่ผมโพสต์ (ที่จริงอาจจะมีอีกหลายวิธี)
1.Earning Power เข้าใจว่าคือส่วนกลับของ P/E
2.Replacement Cost หาต้นทุนการก่อสร้างใหม่ เช่นต้นทุนการก่อสร้างโรงงานใหม่ ที่กำลังการผลิตเท่าๆกัน เปรียบเทียบกับโรงงานหรือสินทรัพย์เดิม
3.Discount cash flow (DCF) วิธีนี้ใช้หากระแสเงินสดที่กิจการจะสร้างได้ในอนาคต ปรับลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน แล้วเปรียบเทียบกับราคาหุ้นในตลาด วิธีนี้ใช้สมมุติฐานหลายตัว
4.Earning Yield หรือผลตอบแทนเงินปันผล วิธีนี้เชื่อว่าราคาหุ้นจะแปรผันตามเงินปันผล ข้อด้อยคือระวังกับดักปันผล
สมมุติว่าผมไปเจอบริษัทนึงมี P/E 4 เท่า และกำไรก็ดูจะสม่ำเสมอดี นั่นหมายความว่าผมไปเจอหุ้นที่ให้ผลตอบแทน 25% เข้าแล้ว (ส่วนกลับของ P/E)ซึ่งสูงมากหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนเงินฝาก 1-2% หรือผลตอบแทนหุ้นกู้ พันธบัตร 3-5% ดังนั้นผมคิดว่าหุ้นตัวนี้น่าจะต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น นี่คือวิธีการหามูลค่าที่แท้จริงตามวิธี Earning Power ต่อมาผมพบหุ้นที่ 2 P/E เท่ากันเป๊ะกับตัวแรก กำไรก็สม่ำเสมอเหมือนกัน แต่หุ้นตัวที่2 มีกระแสเงินสดดีกว่าเพราะตัดค่าเสื่อมเยอะ แต่ลงทุนไม่มาก ดังนั้นผมคิดว่าหุ้นตัวที่2ถูกกว่าตัวแรก วิธีการหามูลค่าหุ้นแบบนี้ใกล้เคียงกับวิธีที่ 2คือ DCF ต่อมาผมไปเจอหุ้นตัวที่สาม ทุกอย่างเหมือนหุ้นสองตัวแรก แต่ตัวนี้มีนโยบายปันผล 80% ของกำไรสุทธิ หรือผลตอบแทน 20% ของราคาหุ้นในขณะที่สองตัวแรกปันผลแค่ 50% ของกำไรสุทธิ ดังนั้นผมคิดว่าหุ้นตัวที่สามน่าสนใจที่สุด นี่เป็นการวิเคราะห์แบบ Earning Yield ครับ
ยังไม่พอ ผมไปเจอหุ้นตัวที่สี่ หุ้นตัวนี้มีผลขาดทุนเล็กน้อย ทำให้หา P/E ไม่ได้ เป็นธุรกิจที่หมดอนาคต หลายคนอาจจะไม่สนใจตัวนี้ แต่ช้าก่อนหลังจากดูงบการเงินบริษัทมีเงินสดสุทธิหลังหักหนี้ทั้งหมดแล้วเป็น 3 เท่าของมูลค่าหุ้นทั้งบริษัท ผมก็คิดว่าเอ..ถ้าอย่างนั้นหุ้นตัวที่สี่ก็น่าสนใจเช่นกัน นี่คล้ายกับการหามูลค่าหุ้นแบบ Replacement Cost เพียงแต่ไม่ใช่ต้นทุนการสร้างใหม่ของโรงงาน แต่เป็นต้นทุนการสร้างเงินสด ซึ่แน่นอนว่าสินทรัพย์ที่เป็นเงินสด 100 ล้าน ก็ต้องสร้างโดยใช้เงินสด 100 ล้านเท่ากันครับ
พอจะเห็นภาพคร่าวๆนะครับ ว่าผมใช้วิธีไหนกับหุ้นแบบใดนะครับ