มือใหม่ต้องรู้...ประเภทการวิเคราะห์หลักทรัพย์
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 13, 2010 9:21 am
1.การวิเคราะห์พื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
กลุ่มนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กลุ่มนี้มีแนวความคิดในการประเมินค่าหลักทรัพย์ว่า ค่าของหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งทางทฤษฎีจะมีค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคต ดังนั้นค่าของหุ้นสามัญของบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะมีค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคต สำหรับกระแสของรายได้ของหุ้นสามัญนั้นอาจอยู่ในรูปของกำไร (earning) ของบริษัทหรืออาจอยู่ในรูปของเงินปันผล (dividend) ก็ได้ แล้วแต่หลักการประเมินค่าที่นักวิเคราะห์มีความเชื่อถืออยู่
มูลค่าปัจจุบันของกระแลรายได้ที่จะได้รับในอนาคตจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสองส่วนคือ จำนวนกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคตที่คาดคะเนขึ้น และอัตราส่วนลด (discount rate or capitalization rate) ที่จะใช้ในอนาคต ดังนั้นค่าทางทฤษฎีของหลักทรัพย์ที่ประเมินขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าการคาดคะเนเกี่ยวกับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าของหลักทรัพย์ทางทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น มูลค่าทางทฤฏี (Theoretical value) มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value) มูลค่าพื้นฐาน (Fundamental value) มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic value) เป็นต้น เมื่อการคาดคะเนเกี่ยวกับกระแสรายได้และอัตราส่วนลดเปลี่ยนแปลงไป ย่อมหมายความว่าข่าวสารหรือข้อสนเทศของบริษัทนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าทางทฤฎีของหลักทรัพย์ย่อมเปลี่ยนไปด้วย แต่เนื่องจากความบกพร่องของการสื่อสารหรือความไม่สมบูรณ์ของการได้รับข่าวสารของผู้ลงทุนในตลาด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าตลาดหลักทรัพย์ยังมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ปรากฏอยู่ในตลาด (market price) จึงยังไม่ได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในข่าวสารนั้น จึงมีผลทำให้ราคาตลาดกับมูลค่าที่แท้จริงแตกต่างกัน นักวิเคราะห์พื้นฐานจึงพยายามหามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ แล้วเปรียบเทียบมูลค่าที่แท้จริงกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ ถ้าราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงจะทำการซื้อหลักทรัพย์นั้นไว้และจะขายหลักทรัพย์นั้นถ้าราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
การคาดคะเนเกี่ยวกับกระแสรายได้และอัตราส่วนลดในอนาคตของหุ้นสามัญบริษัทใดบริษัทหนึ่งว่าจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ กำไร เงินปันผล จำนวนสินทรัพย์ และผู้บริหาร เป็นต้น ดังนั้นจึงเรียกการวิเคราะห์ของกลุ่มนี้ว่า การวิเคราะห์พื้นฐาน
กลุ่มนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กลุ่มนี้มีแนวความคิดในการประเมินค่าหลักทรัพย์ว่า ค่าของหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งทางทฤษฎีจะมีค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคต ดังนั้นค่าของหุ้นสามัญของบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะมีค่าเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคต สำหรับกระแสของรายได้ของหุ้นสามัญนั้นอาจอยู่ในรูปของกำไร (earning) ของบริษัทหรืออาจอยู่ในรูปของเงินปันผล (dividend) ก็ได้ แล้วแต่หลักการประเมินค่าที่นักวิเคราะห์มีความเชื่อถืออยู่
มูลค่าปัจจุบันของกระแลรายได้ที่จะได้รับในอนาคตจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสองส่วนคือ จำนวนกระแสรายได้ที่จะได้รับในอนาคตที่คาดคะเนขึ้น และอัตราส่วนลด (discount rate or capitalization rate) ที่จะใช้ในอนาคต ดังนั้นค่าทางทฤษฎีของหลักทรัพย์ที่ประเมินขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าการคาดคะเนเกี่ยวกับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าของหลักทรัพย์ทางทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น มูลค่าทางทฤฏี (Theoretical value) มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value) มูลค่าพื้นฐาน (Fundamental value) มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic value) เป็นต้น เมื่อการคาดคะเนเกี่ยวกับกระแสรายได้และอัตราส่วนลดเปลี่ยนแปลงไป ย่อมหมายความว่าข่าวสารหรือข้อสนเทศของบริษัทนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไป มูลค่าทางทฤฎีของหลักทรัพย์ย่อมเปลี่ยนไปด้วย แต่เนื่องจากความบกพร่องของการสื่อสารหรือความไม่สมบูรณ์ของการได้รับข่าวสารของผู้ลงทุนในตลาด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าตลาดหลักทรัพย์ยังมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ปรากฏอยู่ในตลาด (market price) จึงยังไม่ได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในข่าวสารนั้น จึงมีผลทำให้ราคาตลาดกับมูลค่าที่แท้จริงแตกต่างกัน นักวิเคราะห์พื้นฐานจึงพยายามหามูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ แล้วเปรียบเทียบมูลค่าที่แท้จริงกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ ถ้าราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงจะทำการซื้อหลักทรัพย์นั้นไว้และจะขายหลักทรัพย์นั้นถ้าราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
การคาดคะเนเกี่ยวกับกระแสรายได้และอัตราส่วนลดในอนาคตของหุ้นสามัญบริษัทใดบริษัทหนึ่งว่าจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ กำไร เงินปันผล จำนวนสินทรัพย์ และผู้บริหาร เป็นต้น ดังนั้นจึงเรียกการวิเคราะห์ของกลุ่มนี้ว่า การวิเคราะห์พื้นฐาน