อะไรคือ Margin of safety ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 28, 2010 11:05 pm
พอดีได้อ่าน กระทู้ เพื่อนๆจะพูดถึง Margin of saety กันบ่อย ผมขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมครับ
เว็บบอร์ดเพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
https://thaiviv3.mdsoft.co.th/./
ได้ไม่ยากมูลค่าที่แท้จริง = เงินปันผลปีหน้า /( ผลตอบแทนที่พอใจ- อัตราการเติบโตของปันผลต่อปี
ลูกอิสาน เขียน:Margin of Safety หรือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย ในความหมายของ เบนจามิน แกรแฮม น่าจะหมายถึง หุ้นที่มีความปลอดภัยสูง โอกาสที่จะขาดทุนมีน้อยถึงน้อยมาก แต่มีโอกาสได้กำไรสูง โดยดูจากสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งมีค่าเหมือนเงินสด เช่น เงินสดหรือเทียบเท่า ว่ามีมากกว่าหนี้สินทั้งหมดของกิจการหรือเปล่า
หุ้นอย่างนี้ โอกาสขาดทุนน้อยมาก เพราะแม้ต้องเลิกกิจการ ก็ยังมีสินทรัพย์ ที่สามารถขายได้คุ้มกับค่าหุ้นครับ
Margin of Safety สำหรับผมน่าจะหมายถึงหุ้นที่มีโอกาสขาดทุนน้อย แต่มีโอกาสทำกำไรสูงเช่นกันครับ แต่จะมองหลายด้าน หลายปัจจัยครับเช่น
- เงินปันผล หุ้นที่มีปันผลสูง จะตกน้อยกว่าหุ้นที่มีปันผลต่ำครับ
- หุ้นที่ผลิตสินค้าที่มีการแข่งขันสูง มีความปลอดภัยน้อยกว่าหุ้นที่ มีตลาดเฉพาะกลุ่ม และผมจะไม่ซื้อหุ้นที่ใช้แรงงานสูง และต้องแข่งกับจีน เวียดนามเด็ดขาดครับ เช่น กลุ่มอาหารทะเล
- หุ้นที่มีเงินสด และไม่มีหนี้ มีความปลอดภัยสูงกว่า หุ้นที่มีหนี้ครับ หุ้นอย่างนี้ เช่น SAUCE SPG TR TCB WG
- ผมชอบหุ้นได้รับผลกระทบจากเศรษกิจตกต่ำน้อย เช่น RPC
Guest เขียน:ดังนั้น เราต้องมีราคา "มูลค่าที่แท้จริง Instrinsic Value" หรือ "ราคาเป้าหมาย" ไว้ในใจใช่หรือไม่ ถึงจะ กำหนด Margin of Safety ได้อย่างถูกต้อง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินปันผล หรือ เรื่องของสินทรัพย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความเป็นผู้นำในธุรกิจ ฝีมือการบริหารงาน ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ความโปร่งใสของผู้ถือหุ้น น่าจะมาเป็นอันดับต้นๆ ที่เป็นส่วนของ margin of safety นะครับ
ขอบคุณมากครับที่เอาบทความนี้กลับมาให้อ่านอีกครั้งเขียนมายืดยาว บทสรุปของผมก็คือ ค่า Intrinsic Value นั้น มันเป็นค่าใน "จินตนาการ" ของคนที่คำนวณมันขึ้นมา ประโยชน์ของแนวคิดของค่า Intrinsic Value นั้น จริงๆ แล้วอยู่ที่ว่า มันบอกว่า หุ้นจะมีค่ามากถ้ากิจการมีการเติบโตสูง และอย่างมั่นคงต่อไปเป็นเวลานาน เช่นเดียวกัน มันบอกว่าในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมูลค่าของหุ้นจะสูงขึ้น และสุดท้ายก็คือ อย่าดูแคลนเงินปันผลในการพิจารณาหรือหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น