หน้า 1 จากทั้งหมด 1
Greenshoe และ เครื่องหมาย ST คืออะไรครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 11, 2010 4:33 pm
โดย @nakin
Greenshoe และ เครื่องหมาย ST คืออะไรครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 11, 2010 10:27 pm
โดย MrRobot
พี่ sai โพสลิงลิ์ไว้ ผมเอามาเเปะให้ดู
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน หรือ กรีนชู
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 มีนาคม 2547
นักลงทุนบางส่วนคิดว่า กรีนชู ออปชั่น เป็นวิธีการปั่นราคาหุ้นหลังเข้าตลาด หรือ บ้างก็ว่าเป็นวิธีการทำกำไรของตัวแทนรักษาระดับราคาหุ้นซึ่งตั้งใจจะทุบหุ้นเพื่อจะได้ ซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาจอง เนื่องจากมีแนวโน้มว่า การทำกรีนชู ออปชั่น จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำกรีนชู ออปชั่น หรือการจัดสรรหุ้น ส่วนเกิน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน จึงขอนำมาอธิบายให้เข้าใจกัน ดังนี้ครับ
จริงๆ แล้ว กรีนชู ออปชั่น (Greenshoe Option หรือ overallotment option) คือ การจัดสรรหุ้นส่วนเกินจากจำนวนหุ้น ที่ตั้งใจจะเสนอขายให้แก่นักลงทุน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้แพร่หลายในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยยังถือว่าเป็นของใหม่ เพราะเพิ่งเริ่มพัฒนาและนำมาใช้ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น โดยในประเทศไทยหุ้นที่เสนอขายโดยมีกรีนชู ออปชั่น มี 7 หลักทรัพย์ คือ ปตท สผ ปตท. ธนาคารกรุงไทย ไทยโอเลฟินส์ การบินไทย ธนาคารกรุงเทพ และล่าสุด คือ ท่าอากาศยานไทย
วัตถุประสงค์หลักของการทำกรีนชู ออปชั่น คือ รักษาเสถียรภาพของระดับราคาหุ้น ในกรณีที่ราคาหุ้นมีความผันผวนผิดปกติในช่วงแรกของการเข้าตลาด ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่โปร่งใส และถูกต้องตามกฎระเบียบของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การที่จะเสนอกรีนชู ออปชั่นได้นั้นต้องมีเงื่อนไข คือ นักลงทุนมีความต้องการซื้อหุ้นมากกว่าจำนวน ที่บริษัทตั้งใจจะเสนอขายยกตัวอย่างเช่น บริษัท ก ต้องการจะขายหรือกระจายหุ้น ให้ประชาชนทั่วไปจำนวน 100 ล้านหุ้น แต่ปรากฏว่า นักลงทุนมีความต้องการหุ้นบริษัท ก ถึง 110 ล้านหุ้น ดังนั้นบริษัทจึงเสนอกรีนชู ออปชั่น อีก 10 ล้านหุ้น ซึ่งตามกฎของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์นั้น การจัดสรรกรีนชู จะทำได้ไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด
เมื่อบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ตกลงจะเสนอ กรีนชู ออปชั่น จะต้องทำข้อตกลงกับบริษัท ผู้จัดจำหน่ายโดยให้สิทธิบริษัทผู้จัดจำหน่ายซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือ หุ้นเดิมจากผู้ถือหุ้นเดิมในราคาจองซื้อหลังจากหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับการจัดสรรหุ้นให้กับนักลงทุนในตลาดแรกนั้น ผู้จัดจำหน่ายหุ้นจะยืมหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเพื่อส่งมอบให้นักลงทุน ในคราวเดียวกับหุ้นที่เสนอขายปกติ โดยกำหนดให้ต้องส่งคืนหุ้นที่ยืมมาคืนภายใน 30 วันนับจากวันแรกที่หุ้นเข้าซื้อขาย
การซื้อหุ้นคืนโดยตัวแทนรักษาระดับราคา มีวิธีการอย่างไร จะส่งผลกระทบกับราคาหุ้นอย่างไร และมีการหาประโยชน์จากการที่ราคาหุ้นต่ำกว่าราคาจองตามที่เข้าใจกันหรือไม่ ?
เงินที่ได้จากการขายหุ้นกรีนชู จะไม่ถูกส่งมอบแก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ แต่จะถูกจัดเก็บ ไว้ในบัญชีแยกต่างหาก ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นคนละคนกับผู้จัดจำหน่าย โดยเงินส่วนนี้ผู้จัดจำหน่ายจะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น คือ ซื้อหุ้นตามจำนวนที่จัดสรรเกินคืนเจ้าของหุ้นในกรณีที่ราคาตลาดตกต่ำกว่าราคาจองซื้อ
การหาหุ้นมาคืนผู้ถือหุ้นเดิมนั้น ทำได้ 2 ทาง คือ หนึ่งใช้ซื้อหุ้นจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ ในราคาเท่ากับราคาจองซื้อเดิม ซึ่งจะใช้สิทธิได้ในกรณีที่ ราคาหุ้นหลังเข้าตลาดไม่ลดลงต่ำกว่าราคาจอง
วิธีที่สอง คือ ซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วง 30 วันหลังจากที่หุ้นเข้าซื้อขาย และจะทำได้เมื่อราคาหุ้นตกต่ำกว่าราคาจองเท่านั้น ภายใต้ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้สามารถตั้งราคาเสนอซื้อได้ราคาเดียวในแต่ละครั้ง และราคาเสนอซื้อต้องเป็นราคาเสนอซื้อที่ดีที่สุดในขณะนั้นๆ ไม่สามารถไล่ราคาเพื่อปั่นหุ้นได้
ซึ่งการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของตัวแทนรักษาระดับราคา ก็คือ ความพยายามที่จะลดความผันผวนที่เกินปกติของราคาหุ้นในช่วงแรกของการซื้อขาย ทั้งนี้ การรักษาระดับราคาจะหยุดลงเมื่อตัวแทนรักษาระดับราคา ซื้อหุ้นได้ครบตามจำนวนหรือครบกำหนด 30 วัน หลังเข้าทำการซื้อขายในตลาดฯ
ตัวอย่าง คือ ในการเสนอขายหุ้น บริษัท ก จำนวน 100 ล้านหุ้น และเสนอกรีนชู ออปชั่น 15 ล้านหุ้น ที่ราคาจองซื้อ 10 บาท ถ้ามีการจัดสรรหุ้นทั้งหมดให้นักลงทุน บริษัท ก ก็จะได้รับเงิน ค่าหุ้น 1,000 ล้านบาท ส่วนเงินอีก 150 ล้านบาท จะถูกเก็บไว้ในบัญชีรักษาระดับราคาหุ้น เมื่อหุ้นเข้าตลาดปรากฏว่า ราคาหุ้นตกต่ำลงเหลือ 9 บาท ตัวแทนรักษาระดับราคาหุ้น ก็จะเข้าซื้อหุ้นในตลาด
ในกรณีที่สามารถซื้อหุ้นได้ครบตามจำนวน คือ 15 ล้านหุ้น ที่ราคา 9 บาท เท่ากับใช้เงิน จากบัญชี 135 ล้านบาท ซึ่งหลังจากซื้อหุ้นครบตามจำนวน ขบวนการรักษาระดับราคาก็ต้องจบลง ราคาหุ้นจะถูกปล่อยให้เคลื่อนไหวตามกลไกของตลาด ตัวแทนรักษาระดับราคาก็จะทำการ ส่งมอบหุ้น 15 ล้านหุ้น คืนผู้ถือหุ้นเดิม ในขณะที่เหลือเงินในบัญชี รักษาระดับราคาอีก 15 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ตามระเบียบปฏิบัติสากลจะเป็นของตัวแทนรักษาระดับราคาหุ้น
ถ้าเป็นเช่นนี้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น ทุบหุ้นให้ราคาต่ำกว่าจองหรือไม่?
ถ้าจะคิดกันด้วยเหตุผล ก็ต้องตอบว่า ไม่ ทั้งนี้ เพราะ 1) ขัดกับวัตถุประสงค์ของการเสนอ กรีนชู ออปชั่น ที่ต้องการรักษาเสถียรภาพของราคาไม่ให้ผันผวนเกินปกติ 2) ผู้จัดจำหน่ายไม่มีหุ้น ให้ทุบ เพราะบริษัทผู้จัดจำหน่ายกระจายหุ้นให้นักลงทุนหมดแล้ว และ 3) เสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้จัดจำหน่าย ทั้งจากนักลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ดังนั้นถ้าบริษัทผู้จัดจำหน่ายการขายหุ้นครั้งต่อๆ ไป ก็อาจจะไม่มีนักลงทุนซื้อ เพราะกลัวว่าจะขาดทุน ขณะเดียวกันบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ก็จะไม่ต้องการจ้างบริษัทหลักทรัพย์ ดังกล่าวให้เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นให้ เพราะกลัวว่าจะทำให้นักลงทุนไม่สนใจซื้อหุ้นของตน ทำให้ไม่สามารถระดมเงิน มาลงทุนได้
สรุปว่า คงไม่มีบริษัทหลักทรัพย์ใดคิดสั้น หวังผลประโยชน์ระยะสั้นจนทำให้เสียธุรกิจระยะยาวที่จะได้ในอนาคต การเสนอขายหุ้นโดยมีการทำกรีนชูที่ผ่านมานั้น มี 2 กรณีที่ราคาหุ้นต่ำกว่าราคาจอง คือ ปตท. และ การบินไทย ทำให้ตัวแทนรักษาระดับราคาต้องเข้าซื้อหุ้นในตลาด
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถซื้อได้ครบตามจำนวน จึงต้องมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ เพื่อนำหุ้นมาคืนผู้ถือหุ้นเดิมที่ให้ยืมหุ้นมาทำ กรีนชู ซึ่งในกรณีนี้ คือ กระทรวงการคลัง ส่วนเงินส่วนต่างที่เหลือในบัญชีรักษาระดับราคาหุ้นนั้น บริษัทตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือผู้รักษาระดับราคาก็มิได้เก็บไว้ แต่ได้นำส่งคืนคลังทั้งหมดตามสัญญาที่ได้ตกลงไว้ก่อน การเสนอขายหุ้น
ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย จึงไม่ได้รับกำไรจากการทำกรีนชู ดังที่เข้าใจกัน