คุณคิดอย่างไรกับประเด็นนี้ ? CG Rating กับการลงทุนหุ้น
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 06, 2010 2:43 am
ปี 2551 ที่ผ่านมามีบริษัทที่ได้ระดับ CGR 5 ดาว หรือดีมาก 22 บริษัท และเพิ่มขึ้นเป็น 55 บริษัท เมื่อปี 2552
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้จัดทำโครงการ Corporate Governance Report of Thai Listed Companies หรือ CGR เพื่อมุ่งพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ (CG) ของบริษัทจดทะเบียนไทยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่ปี 2545 ในลักษณะปีเว้นปี
แต่ปี 2553 IOD เริ่มจัดทำทุกปี โดยใช้มาตรฐานสากลในการอ้างอิง นับวัน CG ของบริษัทยิ่งทวีความสำคัญต่อการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น “สุกิจ อุดมศิริกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า CG มีผลต่อความเชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน และเป็นระดับความเชื่อมั่นใน
การบริหารจัดการที่ดี
ทั้งนี้ “ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ” รองกรรมการผู้อำนวยการสถาบันการลงทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลท. กล่าวว่า ปี 2551 ที่ผ่านมามีบริษัทที่ได้ระดับ CGR 5 ดาว หรือดีมาก 22 บริษัท และเพิ่มขึ้นเป็น 55 บริษัท เมื่อปี 2552
ทั้งนี้ CG Rating ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการตัดสินใจบอกระดับความเสี่ยงแต่ละบริษัทในการลงทุน เหมือนอันดับเครดิต (เรตติ้ง) ของหุ้นกู้ ที่สถาบันจัดอันดับเครดิตจัดให้แต่ “สุกิจ” เล่าว่า ได้ทดลองนำเรตติ้งของ IOD มาวัดผลการดำเนินงาน ทั้งด้านอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) พบว่า บริษัทที่มี CG ระดับ 5 ดาว หรือดีมากมีความสามารถในการทำกำไรดีกว่าบริษัทที่มีระดับCG ที่ 3 ดาว
นอกจากนั้น ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนระดับ CG 5 ดาวยังสูงกว่า CG ระดับ 3 ดาวอีกด้วย ดังนั้นจึงนำ CGR มาเป็นปัจจัยในการหาเรตติ้งของสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เรตติ้ง โดยวิเคราะห์ทั้งคุณภาพและเชิงปริมาณ ความสามารถในการทำกำไร การจ่ายหนี้ โดยให้ระดับเรตติ้งเป็น A B C
นอกจากนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย แนะนำว่านักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เรตติ้ง ระดับ C โดยเป็นระดับที่สามารถเก็งกำไรได้เท่านั้น
“หุ้นสามัญที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทยระดับ C ให้ผลตอบแทนในการลงทุนช่วงปี 2552 ที่ผ่านมาต่ำ และมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นสามัญที่ได้ระดับ B และ A ผลการศึกษานี้ยืนยันได้ว่าการใช้ CG Rating สำหรับการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน” สุกิจ กล่าว
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้จัดทำโครงการ Corporate Governance Report of Thai Listed Companies หรือ CGR เพื่อมุ่งพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ (CG) ของบริษัทจดทะเบียนไทยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตั้งแต่ปี 2545 ในลักษณะปีเว้นปี
แต่ปี 2553 IOD เริ่มจัดทำทุกปี โดยใช้มาตรฐานสากลในการอ้างอิง นับวัน CG ของบริษัทยิ่งทวีความสำคัญต่อการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น “สุกิจ อุดมศิริกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า CG มีผลต่อความเชื่อมั่นในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน และเป็นระดับความเชื่อมั่นใน
การบริหารจัดการที่ดี
ทั้งนี้ “ชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ” รองกรรมการผู้อำนวยการสถาบันการลงทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลท. กล่าวว่า ปี 2551 ที่ผ่านมามีบริษัทที่ได้ระดับ CGR 5 ดาว หรือดีมาก 22 บริษัท และเพิ่มขึ้นเป็น 55 บริษัท เมื่อปี 2552
ทั้งนี้ CG Rating ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการตัดสินใจบอกระดับความเสี่ยงแต่ละบริษัทในการลงทุน เหมือนอันดับเครดิต (เรตติ้ง) ของหุ้นกู้ ที่สถาบันจัดอันดับเครดิตจัดให้แต่ “สุกิจ” เล่าว่า ได้ทดลองนำเรตติ้งของ IOD มาวัดผลการดำเนินงาน ทั้งด้านอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) พบว่า บริษัทที่มี CG ระดับ 5 ดาว หรือดีมากมีความสามารถในการทำกำไรดีกว่าบริษัทที่มีระดับCG ที่ 3 ดาว
นอกจากนั้น ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนระดับ CG 5 ดาวยังสูงกว่า CG ระดับ 3 ดาวอีกด้วย ดังนั้นจึงนำ CGR มาเป็นปัจจัยในการหาเรตติ้งของสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เรตติ้ง โดยวิเคราะห์ทั้งคุณภาพและเชิงปริมาณ ความสามารถในการทำกำไร การจ่ายหนี้ โดยให้ระดับเรตติ้งเป็น A B C
นอกจากนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย แนะนำว่านักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เรตติ้ง ระดับ C โดยเป็นระดับที่สามารถเก็งกำไรได้เท่านั้น
“หุ้นสามัญที่สถาบันวิจัยนครหลวงไทยระดับ C ให้ผลตอบแทนในการลงทุนช่วงปี 2552 ที่ผ่านมาต่ำ และมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นสามัญที่ได้ระดับ B และ A ผลการศึกษานี้ยืนยันได้ว่าการใช้ CG Rating สำหรับการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน” สุกิจ กล่าว