หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 15, 2010 3:21 pm
โดย k_menti
ทำไมลดพาร์แล้วล้างขาดทุนสะสมได้อ่ะครับ อ่าน TMB มาไม่เข้าใจครับ
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 18, 2010 1:58 pm
โดย pak
หากเดิม มีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 100 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 10 บาท
ดังนั้นทุนจดทะเบียน = 100 x 10 = 1,000 ล้านบาท
กรณีที่ 1. แตกพาร์ เหลือ 1 บาท
ผลลัพธ์
ก็จะมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านหุ้น แต่ราคาพาร์ลดลงเหลือ 1 บาท
(จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาพาร์ลดลงในสัดส่วนที่เท่ากัน)
ซึ่งทุนจดทะเบียน = 1,000 x 1 = 1,000 ล้านบาทเท่าเดิม
กรณีที่ 2. ลดพาร์เหลือ 1 บาท
ผลลัพธ์
ก็จะมีจำนวนหุ้นเท่าเดิม 100 ล้านหุ้น แต่ราคาพาร์ลดเหลือเพียง 1 บาท
ซึ่งทุนจดทะเบียน = 100 x 1 = 100 ล้านบาท!!!
^
^
อ้าววว....แล้วจากทุนจดทะเบียนเดิมที่ 1,000 ล้านบาท เวลาลดพาร์มา ทุนจดทะเบียนเหลือแค่ 100 ล้านบาทหล่ะ
แล้วอีก 900 ล้านบาทหายไปไหนหล่ะ?
=> ก็เอาไปล้างขาดทุนสะสมไงขอรับ (^_^)
สรุปสั้นๆ
1. การแตกพาร์
แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิมเลย จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น และราคาพาร์ลดลง
น่าจะมีผลต่อสภาพคล่อง และจิตวิทยาการลงทุนเท่านั้นเอง
ส่วนมากเมื่อประกาศแตกพาร์ ราคาซื้อขายบนกระดาน มักจะปรับตัวสูงขึ้น (เพราะตลาดคาดหวังว่าหุ้นจะมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น)
2. การลดพาร์
คือการเฉือนเนื้อตัวบริษัทฯเอง โดยนำทุนจดทะเบียนมาล้างขาดทุนสะสม
จำนวนหุ้นเท่าเดิม ในขณะที่ราคาพาร์ลดลง
ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนลดลง
ส่วนมากเมื่อประกาศลดพาร์ล้างขาดทุนสะสม ราคาซื้อขายบนกระดาน มักจะปรับตัวสูงขึ้น (เพราะตลาดคาดหวังว่า เมื่อไม่มีภาระขาดทุนสะสม และบริษัทดำเนินกิจการมีกำไร บริษัทฯก็จะสามารถประกาศจ่ายเงินปันผลได้ทันที ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนครับ)
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 18, 2010 5:01 pm
โดย Andy Opf
แล้วการล้างขาดทุนสะสมนี่มีกลไกอย่างไรเหรอครับ
ยังไม่เข้าใจถ่องแท้
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 18, 2010 9:32 pm
โดย MrRobot
pak เขียน: 2. การลดพาร์
คือการเฉือนเนื้อตัวบริษัทฯเอง โดยนำทุนจดทะเบียนมาล้างขาดทุนสะสม
จำนวนหุ้นเท่าเดิม ในขณะที่ราคาพาร์ลดลง
ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนลดลง
ส่วนมากเมื่อประกาศลดพาร์ล้างขาดทุนสะสม ราคาซื้อขายบนกระดาน มักจะปรับตัวสูงขึ้น (เพราะตลาดคาดหวังว่า เมื่อไม่มีภาระขาดทุนสะสม และบริษัทดำเนินกิจการมีกำไร บริษัทฯก็จะสามารถประกาศจ่ายเงินปันผลได้ทันที ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนครับ)
ส่วนมากเมื่อประกาศลดพาร์ล้างขาดทุนสะสม ราคาซื้อขายบนกระดาน มักจะปรับตัวสูงขึ้น อันนี้จริงทุกครั้งหรือครับ ตามหลักการผมว่า เวลาลดพาร์ มันน่าจะไปช่วยล้างส่วนขาดทุนสะสม เเต่ส่วนผู้ถือหุ้นผมว่ามันยังเน่าเหมือนเดิม เพราะส่วนทุนมันหายไป เนื่องจากลดพาร์ เเต่ที่เห็นทำๆ กันก็เพราะต้องลดส่วนนี้ก่อน เพื่อให้ ผู้ลงทุนใหม่ เอาเงินมาลง เเล้วดูดีจะได้ ไม่กินส่วนทุนใหม่ที่ใส่เข้าไป ถ้าไม่ทำเเบบนี้ไม่น่าจะมีผู้ลงทุนใหม่เอาเงินมาใส่ให้ฟรีๆนะครับ
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 19, 2010 12:41 am
โดย หมักเตา
ตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ ผิดถูกช่วยแย้งด้วย ยกเป็นโจทย์ตุ๊กตาและตัวเลขสมมติละกัน
สมมติว่าแรกตั้งบริษัท มี 10 หุ้น ราคาพาร์ 1,000 บาท ได้ทุนจดทะเบียน 10,000 บาท (คน 10 คน ลงเงินคนละ 1,000 บาท)
เอาไปซื้อเตาปิ้งหมูสะเต๊ะ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นเงิน 10,000 บาท หักค่าเสื่อมราคาปีละ 2,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี
เงินค่าซื้อเนื้อหมู ไม้เสียบ ถ่าน ใช้วิธีกู้ธนาคาร ปีละ 1,000 บาท
แต่ละปีขายหมูสะเต๊ะมีรายได้เงินสด 2,500 บาท นำเงินสดไปใช้คืนธนาคาร 1,000 บาท เหลือเงินสดเก็บไว้ปีละ 1,500 บาท
แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายจากการหักค่าเสื่อมราคาของเตาปิ้งหมูสะเต๊ะ โต๊ะ เก้าอี้ปีละ 2,000 บาท ดังนั้น ทางบัญชีบริษัทนี้เกิดการขาดทุนปีละ 500 บาท
5 ปีผ่านไป เตาปิ้งหมูสะเต๊ะ โต๊ะ เก้าอี้ มีมูลค่าทางบัญชีเป็น 0 บาท แต่ยังสามารถใช้งานต่อไปได้ และมีเงินสดอยู่ในบริษัท 7,500 บาท
โดยที่ทางบัญชีบริษัทยังมีการขาดทุนสะสม 2,500 บาท เทียบจากทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10,000 บาท
ปีถัดจากนี้ไป บริษัทจะไม่มีการขาดทุนทางบัญชีในแต่ละปีอีกแล้ว เพราะไม่ต้องหักค่าเสื่อมราคาอีกต่อไป จะพลิกกลับมามีกำไรทางบัญชีปีละ 1,500 บาท
อยากตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยการเอาเงินสดส่วนหนึ่งมาจ่ายเงินปันผล แต่จ่ายไม่ได้เนื่องจากมีขาดทุนสะสม
ถ้าจะรอไปอีกประมาณสองปี ก็จะล้างขาดทุนสะสมได้หมด และจะเริ่มจ่ายปันผลได้ แต่ก็จะมีเงินสดจมในบริษัทโดยไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
บริษัทก็เลยไม่รอ ประกาศลดพาร์จากพาร์ 1,000 บาทเป็นพาร์ 500 บาท โดยยังมี 10 หุ้นเหมือนเดิม ทุนจดทะเบียนใหม่กลายเป็น 5,000 บาท
บริษัทต้องเอาเงินสดออกมา 5,000 บาท เพื่อจ่ายคืนทุนให้ผู้ถือหุ้นไปหุ้นละ 500 บาท
เหลือเงินสดอยู่ 2,500 บาท และมีขาดทุนสะสม 2,500 บาท เทียบจากทุนจดทะเบียนใหม่ที่ 5,000 บาท
ทำอย่างนี้ผู้ถือหุ้นได้ตังค์คืน
บริษัทอาจจะดูเหมือนเน่าในทางบัญชี แต่มุมมองผม ผมว่าไม่เน่าในทางกิจการ
ถ้าเค้าอยากออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ เพื่อล้างขาดทุนสะสมในทันที ผมว่าผมเอาด้วยคนนะ
ลองไปปรับๆ ตัวเลขต่างๆ ดูให้มีการขาดทุนหลังจากหักค่าเสื่อมแค่ปีละ 10 บาท ขาดทุนสะสมเป็น 50 บาท มีเงินสด 9,950 บาท แล้วอาจจะยิ่งดูน่าสนใจครับ
เพราะถ้าเอาโต๊ะเก้าอี้ส่วนหนึ่งที่มีมูลค่าทางบัญชีเป็นศูนย์ ขายออกไปในราคาตลาดก็จะมีเงินสดเข้ามาล้างขาดทุนสะสมกลายเป็นกำไรสะสมได้ในทันทีโดยไม่ต้องรอเวลาหรือออกหุ้นเพิ่มทุน
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 19, 2010 8:41 am
โดย chowbe76
ขอบคุณมากครับ
กระจ่างแจ้งเลย
:D
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 19, 2010 1:33 pm
โดย MrRobot
ขอบคุณ คุณหมักเต่าครับ
งบดุลจากตัวอย่างลูกชิ้นปิ้ง จากการลดทุนเหมือนจะไปรอด ส่วนตัวผมเองคงต้องไปดูงบกระเเสเงินสด ประกอบด้วย ว่ามันจะไปรอดหรือไม่ เพราะจริงๆ บริษัทอาจโดนดอกเบี้ยหรือรายจ่ายอื่นๆ จนกระเเสเงินสดไม่พอเเล้วเจ๊งก่อนเอาเงินมาจ่ายปันผลก็ได้ หรือรอเเต่งตัวเพิ่มทุนก็น่าจะดีนะครับ เผอิญผมไม่ค่อยชอบบริษัทเเบบ ขาดทุนสะสม เพราะมันเสี่ยง เลือกเเบบชัวๆมีปันผลทุกปีดีกว่า เพราะถ้ามันดีจริง ผมว่าทุกบริษัทคงทำกันหมดเเล้วอะครับ ลดทุนไปตลอดทาง ทุนน่าจะเข้าใกล้ 0 เเล้วมีเเต่เงินสด เอาไปเเจกจ่ายกัน 55555 ผมคิดเล่นๆ นะครับ
ยังไงผมว่าคงมีหลายที่ ที่ใช้วิธีนี้ เอาเงินมาเเจกจายผู้ถือหุ้น ส่วนอนาคตบริษัทเป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ... :?:
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 19, 2010 6:58 pm
โดย k_menti
ขอบคุณครับ
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 19, 2010 10:41 pm
โดย pornchai_w
อธิบายได้เข้าใจง่ายดีมากเลยครับ (ในส่วนของการลดพาร์) เคยอ่านมาหลายที่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ครั้งนี้เข้าใจมากขึ้น
แต่ผมยังมีเรื่องที่ยังไม่เข้าใจจะขอถามนิดหนึ่งนะครับว่า ปกติ บริษัท จำกัด หรือ บริษัท (มหาชน) จำกัด มีภาระรับผิดชอบไม่เกินส่วนทุน
ดังนั้นหากทุนจดทะเบียน จาก 10,000 ลดลงเหลือ 1,000 น่าจะทำให้ความเชื่อถือด้านเงินทุนที่มีไว้เพื่อรับผิดชอบของบริษัทลดลง90%ไหมครับ ถ้าหากคำตอบบอกว่า"ไม่" ล่ะก้อ บริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเป็นหมื่นล้าน (พาร์ 10บาท) จะลดพาร์ลงมาให้เหลือ 1 สตางค์แล้วนำเงินที่ได้มาใช้กันหรือเปล่าครับ
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 20, 2010 3:01 am
โดย หมักเตา
ความคิดเห็นส่วนตัว ผมเข้าใจว่าจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือครับ และที่เห็นเป็นรูปธรรมอาจจะเป็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินที่จะได้รับจากธนาคาร
ผมไปปลุกกระทู้เกี่ยวกับการลดพาร์เอาไว้ในห้อง Value Investing ยังไงลองอ่านดูแล้วถามต่อในนั้นอาจจะได้รับคำตอบที่ดีกว่า
โจทย์ตุ๊กตาที่ผมเขียนไปยังไม่แน่ใจตัวเองเลยว่าถูกหรือผิดครับ :oops:
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 20, 2010 3:08 am
โดย McDull
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 02, 2010 8:23 am
โดย picklife
หมักเตา เขียน:
ลองไปปรับๆ ตัวเลขต่างๆ ดูให้มีการขาดทุนหลังจากหักค่าเสื่อมแค่ปีละ 10 บาท ขาดทุนสะสมเป็น 50 บาท มีเงินสด 9,950 บาท แล้วอาจจะยิ่งดูน่าสนใจครับ
เพราะถ้าเอาโต๊ะเก้าอี้ส่วนหนึ่งที่มีมูลค่าทางบัญชีเป็นศูนย์ ขายออกไปในราคาตลาดก็จะมีเงินสดเข้ามาล้างขาดทุนสะสมกลายเป็นกำไรสะสมได้ในทันทีโดยไม่ต้องรอเวลาหรือออกหุ้นเพิ่มทุน
น้องใหม่นะครับ....มีข้อสงสัยดังนี้ครับ ช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ.....ขอบคุณครับ
1.จากตัวอย่าง สมมุติประเมินค่าเสื่อมใกล้เคียงกับของจริงมาก แสดงว่าอายุการใช้งานเตาก็น่าจะเป็น5ปีหรือปล่าวครับ? งั้นหากปีที่6เตาเจ้งขึ้นมาก็เน่าหรือปล่าว กลายเป้นบริษัทไม่มีเงินลงทุนต่อต้องระดมทุนอีกมากมาย
2.และบริษัทส่วนมากชอบประเมินสินทรัพย์ตัวเองมากกว่าหรือน้อยกว่าความเป็นจริงครับ? เรามักจะเจอกรณีมูลค่าเตา2000บาทแล้วประเมินว่ามี0บาท หรือมูลค่าเตา0บาทแล้วประเมินว่ามี2000บาท มากกว่ากันครับ????
3.จากตัวอย่าง เป็นผมจะไม่สนใจเพราะแทนที่บริษัทจำนำเงินไปซื้อเตาอีกชุด เพื่อให้รายได้เพิ่มขึ้นอีก แม้นไม่มีปันผลผมว่าผูถือหุ้นก็น่าจะยอมรับได้นะครับ ลดพาร์เพื่อเอาเงินสดออกมา ความรู้สึกมันเหมือนหนีตายยังไงก็ไม่รูนะครับ
ลดพาร์กับแตกพาร์ต่างกันป่าวครับไม่เข้าใจครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 03, 2010 1:04 pm
โดย หมักเตา
picklife เขียน:
น้องใหม่นะครับ....มีข้อสงสัยดังนี้ครับ ช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ.....ขอบคุณครับ
1.จากตัวอย่าง สมมุติประเมินค่าเสื่อมใกล้เคียงกับของจริงมาก แสดงว่าอายุการใช้งานเตาก็น่าจะเป็น5ปีหรือปล่าวครับ? งั้นหากปีที่6เตาเจ้งขึ้นมาก็เน่าหรือปล่าว กลายเป้นบริษัทไม่มีเงินลงทุนต่อต้องระดมทุนอีกมากมาย
2.และบริษัทส่วนมากชอบประเมินสินทรัพย์ตัวเองมากกว่าหรือน้อยกว่าความเป็นจริงครับ? เรามักจะเจอกรณีมูลค่าเตา2000บาทแล้วประเมินว่ามี0บาท หรือมูลค่าเตา0บาทแล้วประเมินว่ามี2000บาท มากกว่ากันครับ????
3.จากตัวอย่าง เป็นผมจะไม่สนใจเพราะแทนที่บริษัทจำนำเงินไปซื้อเตาอีกชุด เพื่อให้รายได้เพิ่มขึ้นอีก แม้นไม่มีปันผลผมว่าผูถือหุ้นก็น่าจะยอมรับได้นะครับ ลดพาร์เพื่อเอาเงินสดออกมา ความรู้สึกมันเหมือนหนีตายยังไงก็ไม่รูนะครับ
เดาส่วนตัวนะครับ
1. ถึงต้องรู้จักกิจการและประเภททรัพย์สินที่ต้องใช้ หักค่าเสื่อมกี่ปี และจะใช้งานจริงได้กี่ปีก่อนที่จะต้องลงทุนเพิ่ม
2. อุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์มักจะตกรุ่นเร็ว หักค่าเสื่อมยังไม่หมดก็ต้องซื้อใหม่แล้ว ที่ดินมักจะมีมูลค่าจริงสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เครื่องจักรไม่แน่ ทั้งนี้ ให้ดูจำนวนปีที่ใช้หักค่าเสื่อมตามเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน หรือรายการปรับปรุงมูลค่าทรัพย์สิน อยู่ในหมายเหตุประกอบงบครับ
3. หากต้องลงทุนเพิ่มก็ไม่ควรนำเงินสดออกมาจ่าย ยกเว้น ลดทุนคืนเงินสดให้ผู้ถือหุ้นเก่า แล้วระดมทุนเพิ่มเริ่มกันใหม่