ตอบไม่ครบครับ
ปันผลได้หรือไม่ได้
ประการแรก ต้องไม่มีขาดทุนสะสม ในตัวงบการเงินที่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ดู CASE ของ TMB ประกอบได้ตั้งแต่ปี 2540-ปัจจุบัน)
ประการที่สอง ต้องตั้งสำรองตามกฏหมายด้วย ตามกฏหมายครบ 10% แต่ไม่ครบก็ไม่ค่อยมีปัญหาแต่ขอให้กั้นไว้
อันนี้ยอมรับครับว่าตอบไม่ครบ
ส่วนเรื่องของ CR นั้น
PTTAR สามารถบอกเลิกสัญญาได้ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์ ล่วงหน้าก่อน 1 ปี อันนี้คือประเด็นสำคัญเลย
เพราะในสัญญา PTTAR ส่ง CR ให้ RPC ถึงปี 2555
แต่บอกเลิกก่อน สัญญาเนี่ยคือประเด็นของมัน
ส่วนสัญญา CR ที่บอกว่ายกเลิกได้ อันนี้ถ้าเราไม่ใช่ศาลเตี้ยน่ะครับ จะสรุปเอาเองผิดจรรยาบรรณครับ เราไม่ได้เห็นตัวสัญญาฉบับจริงถ้าแค่อ่านใน Form56-1 ไฟล์ D ที่บอกว่าสัญญาดังกล่าวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะถูกยกเลิกจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ทางฝ่าย RPC เค้าก็แย้งมาว่า(สงสัยแย้ง Form56-1 ของตัวเอง) ในสัญญาจึงมีการระบุว่าเป็นสัญญาลักษณะ Evergreen Basis คือ ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด สัญญาจะต่อโดยอัตโนมัติเมื่อครบกำหนด 15 ปีแรก อีกทั้ง การยกเลิกสัญญาจะกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย หรือในกรณี ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา ซึ่งบริษัทฯ ไม่เคยดำเนินการใดๆ ผิดจากข้อสัญญาที่กำหนดไว้จึงมั่นใจว่าสัญญาดังกล่าวไม่สามารถยกเลิกได้
ผมว่าให้อนุญญาโตตุลาการตัดสินก่อนแล้วค่อยมากระจาย Fact ให้เราชาว VI รับทราบดีกว่ามั้ย เดี๋ยวจะเข้าใจกันผิดน่ะครับ
PTTAR เค้าแจ้งล่วงหน้า 3 ปีครับว่าในปี 2555 จะขอยกเลิกสัญญา ไม่ได้ยกเลิกก่อนกำหนด ผมเข้าใจว่าเป็นการแจ้งล่วงหน้าให้คู่ค้าได้เตรียมตัว รวมทั้ง PTTAR ก็จะได้เตรียมตัวในกรณีที่อาจเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ก็เกิด คือ RPC ไม่ยอม ต้องให้อนุญญาโตตุลาการตัดสิน
แล้วประเด็นต่อมาคือ โครงการของ PTTAR ดังกล่าวไม่ติดในโครงการที่ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้หยุดชั่วคราวด้วย
ผมว่าโครงการที่ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้หยุด ไม่ได้กล่าวถึง CR เลย ซึ่งโครงการที่ไม่ติดคำสั่งศาลมี 2 โครงการ
1. โครงการลาดับที่ 16 โครงการเชื้อเพลิงสะอาดและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์: อันนี้กฎหมายบอกไว้ว่าปี 2555 ค่ากำมะถันต้องลดลงจาก 350 PPM เหลือ 50 PPM ซึ่งก็คือลงทุนตามกฎหมายกำหนด ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับ CR
2. โครงการลาดับที่ 41 โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ามันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล: ตัวนี้ผมก็ยังไม่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ CR ตรงไหน
ให้เข้าใจตรงกันน่ะครับ CR คือผลพลอยได้จากสายการผลิตของอะโรเมติกส์ ซึ่ง CR นี้โรงกลั่นแบบ Simple ก็สามารถกลั่นน้ำมันดีเซลออกมาในอัตราส่วนที่สูง ซึ่งไม่เหมือนน้ำมันดิบต้องกลั่นโดยใช้โรงกลั่นแบบ Complex ถึงจะให้น้ำมันดีเซลออกมาสูง ซึงต้องมีหน่วยแตกโมเลกุล
แต่ที่ผมกำลังทำความเข้าใจอยู่คือว่าเค้าสามารถต่อท่อ CR เข้าไปกลั่นตรงไหนต่างหาก เพราะ CR จะมีราคาแพงกว่าน้ำมันดิบค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าเอาไปผสมกับนำมันดิบแล้วกลั่นเลยก็คงไม่คุ้ม หรือจะให้ Thai Tank รวมเป็น Lot ใหญ่ๆแล้วกลั่นทีเดียวน่าจะได้ หรือจะนำไปผสมกับคอนเดนเสท แต่สรุปว่า PTTAR เค้าทำได้หล่ะ เค้าถึงบอกเลิกสัญญา
ประเด็นต่อมาคือ RPC ได้ CR มาแต่กลั่นได้แต่ น้ำมันดีเซลเท่านั้น ส่วนที่เป็นน้ำมันเบนซินนี้ PTTAR สกัดออกหมดแล้ว
อันนี้ก็ใช่ครับเพราะเค้าเป็นสายผลิตอะโรเมติกส์ ซึ่งผลิตออกมาเป็น เบนซีน พาราไซลีน มันก็ต้องแยกเคมีของเบนซินออกมาเป็นธรรมดา
ปัญหาใหญ่ของ RPC ถ้าเค้าต้องเลิกสัญญาซื้อ CR เค้าต้องลงทุนขนานใหญ่ทั้งต้องเปลี่ยนระบบการกลั่นเป็น Complex และต้องเพิ่มหน่วยลดค่ากำมะถันให้ได้ตามกฎหมายกำหนดไม่งั้นขายในไทยไม่ได้ ทั้งหมดต้องเสร็จภายในปี 2555 เวลาเหลือน้อยต้องรีบหาทางออก ก็เลยต้องให้อนุญญาโตตุลาการตัดสิน เพราะข้อกำหนดของอนุญญาโตตุลาการกำหนดให้พิจารณาให้เสร็จภายใน 180 วันหลังจากแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการแล้วเสร็จ