สุข แบบ VI สบาย แบบ 3 แวลูอินเวสเตอร์
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 14, 2009 8:34 pm
เปิดใจ 3 แวลูอินเวสเตอร์เล่นหุ้นอย่างไรให้ 'สุข+รวย' ยึดหลักการ 'ง่ายๆ-พอเพียง-มีเหตุผล' รับทั้งกำไรได้ทั้งความสุขแบบทูอินวัน
เป็นนักลงทุนมายาวนานและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi.com แต่ด้วยหน้าที่การงาน ทำให้ ธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพิ่งมีโอกาสบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนเป็นครั้งแรก เจ้าตัวเน้นย้ำก่อนว่าเป็นการลงทุนส่วนตัวเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับงานประจำที่ทำอยู่
จุดเริ่มต้นในกระดานหุ้น ธันวาเล่าว่าหลังเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นและมีเงินเก็บพอสมควร จึงเริ่มลงทุนหุ้นตามคำชักชวนของคนรู้จัก สมัยนั้นยังใช้ระบบ เคาะกระดาน ผ่านบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน อยู่ตึกอมรินทร์ทาวเวอร์
ผมลงทุนตามอารมณ์สิบกว่าปีกำไรได้นิดเดียว แต่ขาดทุนเยอะล้างพอร์ตแล้วสองสามครั้ง ผ่านวิกฤติตั้งแต่อิรักบุกคูเวต จนถึงลอยตัวค่าเงินบาทปี 2540 เจ็บตัวมาตลอดทาง
จุดเปลี่ยนในชีวิตนักลงทุนของธันวา เกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปประเทศสิงคโปร์มีโอกาสอ่านหนังสือ พ่อรวยสอนลูก ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ และ ตีแตก ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถึงเริ่มเดินเข้าสู่วิถีนักลงทุนหุ้นคุณค่า
ช่วงแรกๆ ผมเลือกลงทุนหุ้นปันผลเป็นหลัก ต่อมาก็พัฒนาเริ่มดูภาพเศรษฐกิจใหญ่ประกอบเน้นธุรกิจที่จับต้องได้และสามารถประเมินผลประกอบการข้างหน้าได้
พอร์ตลงทุนในปัจจุบัน มีหุ้นอยู่ 5 ตัว เป็นกลุ่มโมเดิร์นเทรด 2 ตัว โรงพยาบาล และอาหาร ส่วนตัวจะเลือกหุ้นที่อิงกับ "ปัจจัยสี่" แต่ให้น้ำหนักกับหุ้นที่เกี่ยวกับเสื้อผ้าและที่อยู่อาศัยน้อยกว่าอาหารและยา ที่สำคัญต้องเป็นผู้นำในธุรกิจและมีธรรมาภิบาลระดับสูงด้วย
ธันวา อธิบายว่าข้อดีของหุ้นโรงพยาบาล คือ ลูกค้าแทบจะไม่มีอำนาจต่อรองราคาได้เลย ผลประกอบการก็ดีปันผลสูง แต่บางตัวก็ติดกับดักสภาพคล่อง โอกาสขายออกมีน้อย
โครงสร้างผู้ถือหุ้นก็สำคัญ ธันวาเลือกที่จะลงทุนบริษัทที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารด้วย เพราะจากประสบการณ์ผู้บริหารที่ไม่มีหุ้นจะให้ความสำคัญกับกิจการน้อยกว่าคนที่มีหุ้นในมือ
ด้วยภารกิจในงานประจำที่เร่งรัด จึงต้องลงทุนหุ้นไม่กี่ตัว ปกติจะถืออยู่ที่ 5 ตัว แต่ก็ติดตามผลการดำเนินงานต่อเนื่องถ้ามีเวลาก็จะไป Company Visit ทุกไตรมาส
นอกจากนี้ผมยังลงกองทุนหุ้นไว้ 3 กองเพราะผมคิดว่าผลตอบแทนยังไงก็ดีกว่าไปลงทุนแบบอื่นแน่นอน
ธันวา เล่าให้ฟังอีกว่า ทุกวันนี้พอใจกับชีวิตการเป็นแวลูอินเวสเตอร์ มีกลุ่มนักลงทุนที่มีแนวคิดเหมือนกับเป็นเพื่อนพูดคุย เมื่อมีการจัดกิจกรรมของชมรมก็จะมาแนะนำนักลงทุนหน้าใหม่ทุกครั้ง
ส่วนการลงทุนครั้งใหญ่ของชีวิต เร็วๆ นี้ กำลังเตรียมสร้างบ้าน "หลังที่สอง" รวมถึงวางแผนการศึกษาให้บุตรสาว "สองคน" สร้างสมดุลระหว่าง "สุขใจ" และ "สบายกระเป๋า" ได้อย่างลงตัว
ด้าน พรชัย รัตนนนทชัยสุข คนไทยเพียงคนเดียวที่คลั่งไคล้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงขนาดดั้นด้นไปซื้อหุ้น "เบิร์คไชร์ ฮาธะเวย์" (Berkshire Hathaway) เพื่อหวังไปพบตัวจริงเสียงจริงของ "บัฟเฟตต์" ในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีถึงเมืองโอมาฮา สหรัฐอเมริกา
พรชัย เป็นผู้แปลและเรียบเรียงหนังสือของวอร์เรน บัฟเฟตต์, เบนจามิน เกรแฮม, ปีเตอร์ ลินช์ รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนหลายเล่ม เขาจบปริญญาตรีด้านเภสัชกรเมื่อปี 2537 เริ่มทำงานครั้งแรกในบริษัทยาแห่งหนึ่ง จากนั้นจึงไปเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจ (MBA) และได้เข้าทำงานที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต
พรชัย เริ่มต้นชีวิตนักลงทุนเมื่อประมาณปี 2535-2537 ซึ่งตลาดหุ้นบูมมาก แต่ก็เล่นแบบเก็งกำไรและไม่ประสบความสำเร็จ
"แรกๆ ผมเลือกหุ้นโดยกางบทวิเคราะห์โบรกเกอร์ว่าเขาเชียร์หุ้นตัวไหนบ้าง แต่แล้วก็ขาดทุน เพราะเราไม่ได้ดูเลยว่า ราคาหุ้น ค่าพี/อี ค่าพี/บี ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร พอซื้อเข้าไปจึงขาดทุน ช่วงที่เข้าไปดัชนี 1,000 จุดต้นๆ หลังจากนั้นมันตกลงมาต่ำสุด 207 จุด ผมรู้สึกเลยว่าการเชื่อผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่วิธีที่ทำกำไรได้"
จากประสบการณ์ครั้งนั้นเขาจำได้ว่า ซื้อหุ้นไว้ที่ดัชนี 1,300 จุด ตกลงมาเหลือ 200 จุด แต่หุ้น SE-ED ราคากลับขึ้นจาก 28 บาท ไป 36 บาท เริ่มเห็นว่ามันมีหุ้นบางตัวที่เอาชนะตลาดได้ จากนั้นมาก็เป็นแวลูอินเวสเตอร์เต็มตัว โดยวิธีการลงทุนจะค้นหาหุ้นที่ราคาตลาดถูกกว่ามูลค่ากิจการที่คำนวณได้ และต้องเป็นธุรกิจที่คาดการณ์รายได้ในอนาคตได้ ไม่ผันผวน มีจุดแข็งในธุรกิจ และมองเห็นคู่แข่งว่าเป็นใคร
"หุ้นพวกอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี งานประมูล พวกนี้ไม่แน่นอนคาดเดาไม่ได้เลย หุ้นพวกนี้ต้องหลีกเลี่ยง"
พอร์ตส่วนตัวตอนนี้พรชัยเปิดเผยว่า มีหุ้นไทยแค่ 2 ตัวเท่านั้น ตอนนี้เน้นถือเงินสดเพราะมองว่าราคาหุ้นขึ้นมาเยอะมากแล้ว แต่เริ่มนำเงินไปลงทุนที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งเป็นการลงทุนตรง ปัจจุบันมีอยู่ 8 ตัว โดยให้เหตุผลว่าต้องมีเยอะกระจายความเสี่ยงเพราะข้อมูลน้อยกว่าเมืองไทย
"ผมแบ่งสัดส่วนพอร์ตถือเงินสด 20% หุ้นที่สหรัฐฯ 10% ที่เหลือเป็นหุ้นไทยสองตัว 60-70% ถ้าผมลงทุนหุ้นกระจุกเพียงไม่กี่ตัว แปลว่า ผมมั่นใจในตลาดหุ้นมากๆ แต่ถ้าซื้อหลายตัว แปลว่า ตลาดมีความไม่แน่นอนสูง"
ช่วงเวลาที่ขายหุ้น ปกติจะถือหุ้นไว้จนกว่าราคาจะขึ้นมาใกล้เคียงกับมูลค่าที่คำนวณไว้ หรือไปเจอหุ้นตัวอื่นที่มีมูลค่าถูกกว่าก็จะสลับตัวเล่น แต่บางครั้งถ้ารู้ว่าเลือกผิดตัวก็จะตัดใจขายไปเลย
สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นลงมาแรงๆ อย่างช่วงปลายปี 2551 พรชัยบอกว่า หุ้นในพอร์ตไม่ได้ตกลงไปมาก แต่ถือโอกาสขายตัวที่แพงออกไปแล้วไปซื้อตัวอื่นที่ถูกกว่า เพื่อให้หุ้นในพอร์ต Under Value ตลอดเวลา
แนวทางของผมก็คือ เราซื้อหุ้นในตลาดไม่ใช่ซื้อตลาดหุ้น ส่วนใหญ่ผมไม่ได้จำต้นทุนหรอก กำไรก็ไม่ได้จำ ถือว่าการลงทุน คือ ความสุขของชีวิต
ทุกวันนี้การลงทุนหลักๆ ยังคงเป็นการลงทุนในหุ้น แต่ก็มีแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปซื้อกองทุนหุ้นเหมือนกัน นอกจากนี้ก็ยัง "ลงทุนความรู้" โดยบินไปอบรมด้านการลงทุนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและโคลัมเบีย รวมถึงให้ความสำคัญกับครอบครัวด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นการลงทุนเหมือนกันก็คือ การบินไปประชุมผู้ถือหุ้น เบิร์คไชร์ ฮาธะเวย์ ที่เมืองโอมาฮา สหรัฐอเมริกา พยายามทำให้ได้ทุกปี เจ้าตัวเผยว่าเป็น "ความสุข" ที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ เพราะได้กระทบไหล่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ตัวเป็นๆ
ทางด้านแวลูอินเวสเตอร์หมายเลขหนึ่งของเมืองไทย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ยอมรับในสังขารตอนนี้ แก่ลง คำนวณอะไรเยอะๆ ไม่ไหว วิธีเลือกหุ้นที่จะลงทุนจะดูบริษัทที่ทำงานเหมือน พนักงานเก็บเงิน มีความแน่นอนสูงและมีแนวโน้มที่จะเก็บเงินได้ต่อเนื่องในอนาคต
บริษัทต้องไม่ลงทุนมาก แต่รับเงินเรื่อยๆ เราแค่มองดูว่า อนาคตผู้คนยังเลือกที่จะเดินทางไปให้เก็บเงินอีกหรือไม่ แต่ไม่ใช่หุ้นทางด่วนนะบอกก่อน เจ้าตัวว่า ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่าอาจารย์นิเวศน์ หมายถึงหุ้น CPALL ที่มีติดพอร์ต 22.50 ล้านหุ้น มูลค่าเกือบ 480 ล้านบาท
อาจารย์นิเวศน์ บอกว่า ตอนนี้มีหุ้นในพอร์ต "สิบตัว" (อาทิ CPALL, IT, HMPRO, IRC, APRINT) ลงทุนหนักๆ อยู่ 6-7 ตัว ส่วนใหญ่ซื้อแล้วไม่คิดจะขาย ถือยาวตั้งแต่ห้าปีเป็นต้นไป บางตัวสิบกว่าปีแล้วก็ไม่ขาย ถ้าจะขายก็คือไปเจอหุ้นตัวอื่นที่มูลค่าลดลงมาแล้ว เปลี่ยนตัวเล่น เท่านั้นเอง
ส่วนการลงทุนอื่นๆ ยังคงเป็นเรื่องการศึกษาของลูกสาวที่เตรียมบินไปเรียนต่อต่างประเทศเร็วๆ นี้
สุขใจ-สบายกระเป๋า หลักการของสามแวลูอินเวสเตอร์ "ง่ายๆ-พอเพียง-มีเหตุผล" รับทั้งกำไรได้ทั้งความสุขแบบทูอินวัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เตอร์.html
เป็นนักลงทุนมายาวนานและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi.com แต่ด้วยหน้าที่การงาน ทำให้ ธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพิ่งมีโอกาสบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนเป็นครั้งแรก เจ้าตัวเน้นย้ำก่อนว่าเป็นการลงทุนส่วนตัวเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับงานประจำที่ทำอยู่
จุดเริ่มต้นในกระดานหุ้น ธันวาเล่าว่าหลังเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นและมีเงินเก็บพอสมควร จึงเริ่มลงทุนหุ้นตามคำชักชวนของคนรู้จัก สมัยนั้นยังใช้ระบบ เคาะกระดาน ผ่านบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน อยู่ตึกอมรินทร์ทาวเวอร์
ผมลงทุนตามอารมณ์สิบกว่าปีกำไรได้นิดเดียว แต่ขาดทุนเยอะล้างพอร์ตแล้วสองสามครั้ง ผ่านวิกฤติตั้งแต่อิรักบุกคูเวต จนถึงลอยตัวค่าเงินบาทปี 2540 เจ็บตัวมาตลอดทาง
จุดเปลี่ยนในชีวิตนักลงทุนของธันวา เกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปประเทศสิงคโปร์มีโอกาสอ่านหนังสือ พ่อรวยสอนลูก ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ และ ตีแตก ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถึงเริ่มเดินเข้าสู่วิถีนักลงทุนหุ้นคุณค่า
ช่วงแรกๆ ผมเลือกลงทุนหุ้นปันผลเป็นหลัก ต่อมาก็พัฒนาเริ่มดูภาพเศรษฐกิจใหญ่ประกอบเน้นธุรกิจที่จับต้องได้และสามารถประเมินผลประกอบการข้างหน้าได้
พอร์ตลงทุนในปัจจุบัน มีหุ้นอยู่ 5 ตัว เป็นกลุ่มโมเดิร์นเทรด 2 ตัว โรงพยาบาล และอาหาร ส่วนตัวจะเลือกหุ้นที่อิงกับ "ปัจจัยสี่" แต่ให้น้ำหนักกับหุ้นที่เกี่ยวกับเสื้อผ้าและที่อยู่อาศัยน้อยกว่าอาหารและยา ที่สำคัญต้องเป็นผู้นำในธุรกิจและมีธรรมาภิบาลระดับสูงด้วย
ธันวา อธิบายว่าข้อดีของหุ้นโรงพยาบาล คือ ลูกค้าแทบจะไม่มีอำนาจต่อรองราคาได้เลย ผลประกอบการก็ดีปันผลสูง แต่บางตัวก็ติดกับดักสภาพคล่อง โอกาสขายออกมีน้อย
โครงสร้างผู้ถือหุ้นก็สำคัญ ธันวาเลือกที่จะลงทุนบริษัทที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารด้วย เพราะจากประสบการณ์ผู้บริหารที่ไม่มีหุ้นจะให้ความสำคัญกับกิจการน้อยกว่าคนที่มีหุ้นในมือ
ด้วยภารกิจในงานประจำที่เร่งรัด จึงต้องลงทุนหุ้นไม่กี่ตัว ปกติจะถืออยู่ที่ 5 ตัว แต่ก็ติดตามผลการดำเนินงานต่อเนื่องถ้ามีเวลาก็จะไป Company Visit ทุกไตรมาส
นอกจากนี้ผมยังลงกองทุนหุ้นไว้ 3 กองเพราะผมคิดว่าผลตอบแทนยังไงก็ดีกว่าไปลงทุนแบบอื่นแน่นอน
ธันวา เล่าให้ฟังอีกว่า ทุกวันนี้พอใจกับชีวิตการเป็นแวลูอินเวสเตอร์ มีกลุ่มนักลงทุนที่มีแนวคิดเหมือนกับเป็นเพื่อนพูดคุย เมื่อมีการจัดกิจกรรมของชมรมก็จะมาแนะนำนักลงทุนหน้าใหม่ทุกครั้ง
ส่วนการลงทุนครั้งใหญ่ของชีวิต เร็วๆ นี้ กำลังเตรียมสร้างบ้าน "หลังที่สอง" รวมถึงวางแผนการศึกษาให้บุตรสาว "สองคน" สร้างสมดุลระหว่าง "สุขใจ" และ "สบายกระเป๋า" ได้อย่างลงตัว
ด้าน พรชัย รัตนนนทชัยสุข คนไทยเพียงคนเดียวที่คลั่งไคล้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงขนาดดั้นด้นไปซื้อหุ้น "เบิร์คไชร์ ฮาธะเวย์" (Berkshire Hathaway) เพื่อหวังไปพบตัวจริงเสียงจริงของ "บัฟเฟตต์" ในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีถึงเมืองโอมาฮา สหรัฐอเมริกา
พรชัย เป็นผู้แปลและเรียบเรียงหนังสือของวอร์เรน บัฟเฟตต์, เบนจามิน เกรแฮม, ปีเตอร์ ลินช์ รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนหลายเล่ม เขาจบปริญญาตรีด้านเภสัชกรเมื่อปี 2537 เริ่มทำงานครั้งแรกในบริษัทยาแห่งหนึ่ง จากนั้นจึงไปเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจ (MBA) และได้เข้าทำงานที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต
พรชัย เริ่มต้นชีวิตนักลงทุนเมื่อประมาณปี 2535-2537 ซึ่งตลาดหุ้นบูมมาก แต่ก็เล่นแบบเก็งกำไรและไม่ประสบความสำเร็จ
"แรกๆ ผมเลือกหุ้นโดยกางบทวิเคราะห์โบรกเกอร์ว่าเขาเชียร์หุ้นตัวไหนบ้าง แต่แล้วก็ขาดทุน เพราะเราไม่ได้ดูเลยว่า ราคาหุ้น ค่าพี/อี ค่าพี/บี ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร พอซื้อเข้าไปจึงขาดทุน ช่วงที่เข้าไปดัชนี 1,000 จุดต้นๆ หลังจากนั้นมันตกลงมาต่ำสุด 207 จุด ผมรู้สึกเลยว่าการเชื่อผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่วิธีที่ทำกำไรได้"
จากประสบการณ์ครั้งนั้นเขาจำได้ว่า ซื้อหุ้นไว้ที่ดัชนี 1,300 จุด ตกลงมาเหลือ 200 จุด แต่หุ้น SE-ED ราคากลับขึ้นจาก 28 บาท ไป 36 บาท เริ่มเห็นว่ามันมีหุ้นบางตัวที่เอาชนะตลาดได้ จากนั้นมาก็เป็นแวลูอินเวสเตอร์เต็มตัว โดยวิธีการลงทุนจะค้นหาหุ้นที่ราคาตลาดถูกกว่ามูลค่ากิจการที่คำนวณได้ และต้องเป็นธุรกิจที่คาดการณ์รายได้ในอนาคตได้ ไม่ผันผวน มีจุดแข็งในธุรกิจ และมองเห็นคู่แข่งว่าเป็นใคร
"หุ้นพวกอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี งานประมูล พวกนี้ไม่แน่นอนคาดเดาไม่ได้เลย หุ้นพวกนี้ต้องหลีกเลี่ยง"
พอร์ตส่วนตัวตอนนี้พรชัยเปิดเผยว่า มีหุ้นไทยแค่ 2 ตัวเท่านั้น ตอนนี้เน้นถือเงินสดเพราะมองว่าราคาหุ้นขึ้นมาเยอะมากแล้ว แต่เริ่มนำเงินไปลงทุนที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งเป็นการลงทุนตรง ปัจจุบันมีอยู่ 8 ตัว โดยให้เหตุผลว่าต้องมีเยอะกระจายความเสี่ยงเพราะข้อมูลน้อยกว่าเมืองไทย
"ผมแบ่งสัดส่วนพอร์ตถือเงินสด 20% หุ้นที่สหรัฐฯ 10% ที่เหลือเป็นหุ้นไทยสองตัว 60-70% ถ้าผมลงทุนหุ้นกระจุกเพียงไม่กี่ตัว แปลว่า ผมมั่นใจในตลาดหุ้นมากๆ แต่ถ้าซื้อหลายตัว แปลว่า ตลาดมีความไม่แน่นอนสูง"
ช่วงเวลาที่ขายหุ้น ปกติจะถือหุ้นไว้จนกว่าราคาจะขึ้นมาใกล้เคียงกับมูลค่าที่คำนวณไว้ หรือไปเจอหุ้นตัวอื่นที่มีมูลค่าถูกกว่าก็จะสลับตัวเล่น แต่บางครั้งถ้ารู้ว่าเลือกผิดตัวก็จะตัดใจขายไปเลย
สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นลงมาแรงๆ อย่างช่วงปลายปี 2551 พรชัยบอกว่า หุ้นในพอร์ตไม่ได้ตกลงไปมาก แต่ถือโอกาสขายตัวที่แพงออกไปแล้วไปซื้อตัวอื่นที่ถูกกว่า เพื่อให้หุ้นในพอร์ต Under Value ตลอดเวลา
แนวทางของผมก็คือ เราซื้อหุ้นในตลาดไม่ใช่ซื้อตลาดหุ้น ส่วนใหญ่ผมไม่ได้จำต้นทุนหรอก กำไรก็ไม่ได้จำ ถือว่าการลงทุน คือ ความสุขของชีวิต
ทุกวันนี้การลงทุนหลักๆ ยังคงเป็นการลงทุนในหุ้น แต่ก็มีแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปซื้อกองทุนหุ้นเหมือนกัน นอกจากนี้ก็ยัง "ลงทุนความรู้" โดยบินไปอบรมด้านการลงทุนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและโคลัมเบีย รวมถึงให้ความสำคัญกับครอบครัวด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นการลงทุนเหมือนกันก็คือ การบินไปประชุมผู้ถือหุ้น เบิร์คไชร์ ฮาธะเวย์ ที่เมืองโอมาฮา สหรัฐอเมริกา พยายามทำให้ได้ทุกปี เจ้าตัวเผยว่าเป็น "ความสุข" ที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ เพราะได้กระทบไหล่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ตัวเป็นๆ
ทางด้านแวลูอินเวสเตอร์หมายเลขหนึ่งของเมืองไทย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ยอมรับในสังขารตอนนี้ แก่ลง คำนวณอะไรเยอะๆ ไม่ไหว วิธีเลือกหุ้นที่จะลงทุนจะดูบริษัทที่ทำงานเหมือน พนักงานเก็บเงิน มีความแน่นอนสูงและมีแนวโน้มที่จะเก็บเงินได้ต่อเนื่องในอนาคต
บริษัทต้องไม่ลงทุนมาก แต่รับเงินเรื่อยๆ เราแค่มองดูว่า อนาคตผู้คนยังเลือกที่จะเดินทางไปให้เก็บเงินอีกหรือไม่ แต่ไม่ใช่หุ้นทางด่วนนะบอกก่อน เจ้าตัวว่า ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่าอาจารย์นิเวศน์ หมายถึงหุ้น CPALL ที่มีติดพอร์ต 22.50 ล้านหุ้น มูลค่าเกือบ 480 ล้านบาท
อาจารย์นิเวศน์ บอกว่า ตอนนี้มีหุ้นในพอร์ต "สิบตัว" (อาทิ CPALL, IT, HMPRO, IRC, APRINT) ลงทุนหนักๆ อยู่ 6-7 ตัว ส่วนใหญ่ซื้อแล้วไม่คิดจะขาย ถือยาวตั้งแต่ห้าปีเป็นต้นไป บางตัวสิบกว่าปีแล้วก็ไม่ขาย ถ้าจะขายก็คือไปเจอหุ้นตัวอื่นที่มูลค่าลดลงมาแล้ว เปลี่ยนตัวเล่น เท่านั้นเอง
ส่วนการลงทุนอื่นๆ ยังคงเป็นเรื่องการศึกษาของลูกสาวที่เตรียมบินไปเรียนต่อต่างประเทศเร็วๆ นี้
สุขใจ-สบายกระเป๋า หลักการของสามแวลูอินเวสเตอร์ "ง่ายๆ-พอเพียง-มีเหตุผล" รับทั้งกำไรได้ทั้งความสุขแบบทูอินวัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เตอร์.html