ETF ( TDEX )

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมอยากขอสอบถามเกี่ยวกับกองทุน ETF ( TDEX ) ครับ
1.เข้าใจว่ามันเป็นกองทุน แต่สามารถซื้อขายได้เสมือนหนึ่งหุ้นตัวหนึ่งในตลาดเลยใช่เปล่าครับ ?
2. ผมก็สามารถสั่งซื้อผ่านโบกเกอร์บริษัทไหนก็ได้ใช่เปล่าครับ ?
3. รายละเอียดบอกว่า ค่าธรรมเนียมต่ำเพียง 0.1%  แต่เมื่อเราซื้อผ่ายโบเกอร์ ดังนั้นค่าธรรมเนียมไม่ว่ายังไง ก็ต้องเป็นไปตามโบเกอร์นั้นใช่เปล่าครับ ( ขั้นต่ำ 50 บาท , 0.25% ผ่าน Marketing , 0.15% ผ่าน Internet ) ?

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2455
ผู้ติดตาม: 1

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 2

โพสต์

1. ใช่ครับ

2. ใช่ครับ

3. คิดว่า 0.1% + VAT เสมอนะครับ (ชักไม่แน่ใจ  :P)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
emososo
Verified User
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตอบข้อ3 ว่าคิดค่าคอมมิชชั่น 0.1 ครับ

ในกรณีถ้าเห็นว่าเค้าแจ้งค่าคอมบนหน้าเวปว่าคิด 0.20 หรือ 0.15 เหมือนการซื้อหุ้นตัวอื่นๆก็ไม่ต้องตกใจหรือสงสัย เมื่อถึงเวลาส่งจดหมายมาจริงๆก็จะกลายเป็น0.1ตามจริงเองครับ
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณทุกๆคำแนะนำครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
siebelize
Verified User
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 0

Re: ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="pradchayat"]ผมอยากขอสอบถามเกี่ยวกับกองทุน ETF ( TDEX ) ครับ
1.เข้าใจว่ามันเป็นกองทุน แต่สามารถซื้อขายได้เสมือนหนึ่งหุ้นตัวหนึ่งในตลาดเลยใช่เปล่าครับ ?
2. ผมก็สามารถสั่งซื้อผ่านโบกเกอร์บริษัทไหนก็ได้ใช่เปล่าครับ ?
3. รายละเอียดบอกว่า ค่าธรรมเนียมต่ำเพียง 0.1%
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คืออยากจะ ลดความเสี่ยง เงินใน Port ครับ
เนื่องจากการลงทุนในหุ้นรายตัวนั้น มันขึ้นอยู่ที่เราต้องเฟ้นหาหุ้นที่ดี มีการเจริญเติบโตและราคายังไม่แพง ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของตัวบุคคลเป็นหลักครับ หากเก่ง ทุกๆอย่างเป็นไปตามที่เราประเมินไว้ก็ OK ครับ แต่หากในฐานะมือใหม่ ความสามารถต่างๆของเรา ยังคงไม่อาจมีความรอบครอบ และ มุมมองที่ดีเพียงพอ รวมถึงขนาด Port ที่เล็ก ( ไม่สามารถกระจายในหุ้นหลายๆตัวเพื่อลดความเสี่ยง ) มันเสี่ยงมากครับกับการจะเอาเงินทั้งก้อนใส่ไว้กับหุ้นที่ใส่ได้ไม่กี่ตัว ( สมมติฐานที่ว่าเราอยู่ในฐานะมือใหม่นะครับ มองเกมส์ยังไม่ขาด ไม่มีใครบอกเราได้หรอกว่าหุ้นที่เราถือ ดี หรือ ไม่ดี นอกจากเมื่อผลตอบแทนมันเฉลยออกมา ทุกอย่างคืออนาคคต และการคาดการณ์ของเรา บนพื้นฐานของมูลที่เรามี )
แต่หากจะลงเพียง 10% ของ Port ที่มีอยู่   แล้วเงินที่เหลืออยู่ในรูปเงินสดนั้น  ผลตอบแทนมันก็ไม่น่าสนใจ
ดังนั้น TDEX จึงเป็นทางเลือก เพื่อเอาไว้ให้มันบริหารส่วนหนึ่งของ Port ได้มีการเจริญเติบโต โดยเราสามารถกระจายการลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน Set50 ได้ ซึ่งมันก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งครับ
ดังนั้นทางเลือกของทางผมก็จะมีสัดส่วนคราวๆประมาณว่า
10 % Stock
40 % TDEX
50 % Cash
โดยหากเมื่อวิชาเราเก่งกล้าแล้ว สัดส่วนระหว่าง หุ้น กับ TDEX ก็จะเปลี่ยนไป จนถึงจุดหนึ่งที่เรามั่นใจว่าเราเก่งกว่าตลาดแล้ว เราก็อาจจะลองวิชาของเราโดยไม่มี TDEX อยู่เลยก็ได้ครับ

เป็นมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2455
ผู้ติดตาม: 1

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 7

โพสต์

งั้นกองทุนรวมธรรมดาไม่ดีกว่าหรอครับ

อย่างน้อย เราก็สามารถเลือกจากนโยบายของกองทุนรวมได้
ไม่ต้องซื้อยกเข่ง :lol:  :lol:  :lol:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ถ้าซื้อกองทุนรวมอื่นๆที่ไม่ใช่ อ้างอิง Set Index หรือ Set 50 นั้น
เหตุผลจะเข้ากับบทความของทาง อ. นิเวศน์ ครับ
แต่ผมคงมิกล้าจะบอกว่าผมคิดเหมือนอาจารย์เค้าหรอกนะครับ
มุมมองผมก็คือ ผมไม่เชื่อมั่นในผู้จัดการกองทุนครับ ว่าเค้าจะบริหาร Port ได้ดีแค่ไหน แต่บางคนอาจจะแย้งว่า ก็ให้ดูที่ผลงานในอดีตสิ ซึ่งความคิดของผมก็คือ ผลงานในอดีตที่จะบอกว่าเค้าเก่ง เค้าไม่เก่งดูที่อะไร
ก็ดูที่เค้าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ชนะตลาดกี่ % ใช่ไหม ( ในบางครั้ง อดีตก็ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตเสอไปด้วย ) ดังนั้น Benchmark การดูความสามารถก็คือตลาดนั่นเอง
ดังนั้นเราจะไปเสี่ยงกับความเสี่ยง 2 ทางทำไม ( เสี่ยงกับหุ้น + ความสามารถของผู้จัดการกองทุน )
ผมคิดว่าผมยอมรับผลตอบแทนในระดับหนึ่งที่ค่าเฉลี่ยกลางๆ ในระดับ Benchmark ดีกว่า  เพื่อรอเวลาฟูมฟักฝีมือของเราเอง เพราะ เงินในส่วนหุ้นที่ลงเองก็เสี่ยงสูงอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องไปเสี่ยงเพิ่มครับ แต่หากกองทุนรวมมีแต้มต่อเรื่องภาษี เหมือนที่อาจารย์ท่านว่า นั่นก็คือ Margin of Safety ของเราได้เหมือนกัน
หากในอเมริกา กองทุนประเภท ETF ที่โดดเด่นที่ทุกผู้จัดการกองทุนถือเป็น Benchmark วัดฝีมือกันก็คือ S&P500 ครับ


ปล. มันไม่ใช่การบอกว่าเราเจ๋งกว่าผู้จัดการกองทุน ( คนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง ) หรอกครับ
แต่มันคือ ความคิดส่วนตัวครับ ที่มันเป็นสัญชาตญาณดิบในการป้องกันตัวของมนุษย์ครับ ที่คิดว่าไม่มีใครจะดูแลสิ่งที่เราเห็นว่ามีค่า ไปได้ดีกว่าตัวเราครับ ( เช่น ครอบครัว คนรัก ลูก ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือเงินสะสมของเรา )
อย่างน้อยถ้ามันสำเร็จ เราจะได้ชมตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ หรือ
ถ้าแพ้ ก็จะได้ตบกระโหลกตัวเองได้เต็มที่ ไม่ต้องไปโทษใครคนอื่นเค้า



""" กองทุ้นหุ้นรวม

เมื่อสัปดาห์ก่อนหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจลงข่าวเกี่ยวกับกองทุนหุ้นโดยสาระสำคัญอยู่ที่ว่าคนไทยไม่ใคร่นิยมลงทุนในกองทุนหุ้นเท่าใดนัก   จากตัวเลขจำนวนกองทุนหุ้นทั้งหมด 105 กอง นั้นพบว่า  กองทุนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1000 ล้านบาทนั้นมีเพียง 12 กองทุนและเม็ดเงินส่วนใหญ่ก็เพียงพันล้านต้น ๆ   ในขณะที่กองทุนหุ้นที่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทนั้นมีจำนวน 16 กองทุน  และกองทุนหุ้นส่วนใหญ่หรือจำนวน 62 กองทุนนั้นมีพอร์ตขนาด 100-500 ล้านบาท    นอกจากความไม่สนใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นแล้ว  เนื้อข่าวยังบอกด้วยว่าคนที่ซื้อหน่วยลงทุนหุ้นนั้นมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับฝีมือในการลงทุนของผู้จัดการกองทุนแต่เน้นที่ความสะดวกในการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการบริหารที่ถูกมากกว่า

ผมเองเห็นด้วยกับข้อสรุปข้างต้นและนั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้กองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดส่วนใหญ่กลายเป็นกองทุนหุ้นที่บริหารโดยบริษัทจัดการกองทุนในเครือธนาคารพาณิชย์ที่มีสาขากว้างขวางและเป็นกองทุนที่อิงดัชนี   นั่นคือเป็นกองทุนที่ไม่ต้องคัดเลือกหุ้น  แต่ซื้อตามสัดส่วนของหุ้นที่อยู่ในดัชนีเช่น  กองทุนที่อิงกับหุ้นใน SET 50 เป็นต้น   นอกจากนั้นผมยังมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับนักลงทุนหลายประการดังต่อไปนี้

ข้อแรกที่ทำให้บริษัทจัดการการลงทุนไม่สามารถทำผลงานได้โดดเด่นนั้น  ผมคิดว่าอยู่ที่โครงสร้างการทำงานของผู้จัดการกองทุน   โดยความเข้าใจของผมก็คือ  เวลาจะลงทุนในหุ้นนั้นเขาจะจัดการกันในรูปแบบของ  คณะกรรมการการลงทุน  นั่นก็คือ  จะต้องมีคนนำเสนอหุ้นที่น่าสนใจให้กับคณะกรรมการการลงทุนเพื่อพิจารณาอนุมัติ  หลังจากนั้นแล้วก็จะมีคนไปทำการซื้อขายตามมติที่ได้รับ  ผลงานที่ออกมาของกองทุนแต่ละกองนั้น   ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ฝีมือของผู้จัดการกองทุนคนใดคนหนึ่ง   แต่เป็นผลงานรวม ๆ  ของการจัดการของคณะกรรมการการลงทุนของบริษัท  ซึ่งก็อาจจะดูแลการลงทุนในกองทุนหุ้นหลาย ๆ  กองด้วย   เห็นได้จากรายชื่อหุ้นที่เหมือน ๆ  กันในกองทุนหุ้นเกือบทุกกองที่บริษัทบริหาร

ประเด็นก็คือ  การลงทุนในหุ้นนั้น   ผมคิดว่าเป็นเรื่องของศิลปะค่อนข้างมาก  การใช้  คณะกรรมการ  มาทำงาน  ศิลป์  นั้น  โอกาสที่จะทำได้ดีโดดเด่นนั้นยากมาก   เปรียบเหมือนกับการวาดภาพศิลปะ   ถ้าเราเอาคณะกรรมการมาเป็นคนกำหนดแล้วให้ศิลปินมาวาดภาพตามที่ต้องการ  แบบนี้โอกาสที่เราจะได้ภาพที่เป็นมาสเตอร์พีชก็คงไม่มี   อย่างมากก็จะได้ภาพกลาง ๆ  ที่อาจจะไม่แย่มากแต่ก็จะไม่มีทางโดดเด่น   ว่าไปแล้ว  ในตลาดหุ้นไทย  เรายังไม่เคยมี  ผู้จัดการการลงทุนจริง ๆ  ที่เป็นคนเลือกหุ้นลงทุนที่มีชื่อเสียงเลย   ผู้จัดการบริษัทจัดการการลงทุนหรือ  หัวหน้าผู้จัดการการลงทุน   ที่เปิดตัวต่อสาธารณชนนั้น   เกือบทั้งหมดดูเหมือนว่าจะเป็น  หนึ่งในคณะกรรมการการลงทุน ที่ไม่ได้ไปสัมผัสกับการวิเคราะห์หุ้นจริง ๆ   พูดง่าย ๆ   บ้านเราไม่มี  ปีเตอร์ ลินช์  หรือ  บิล มิลเลอร์ เมืองไทย   และเราก็ไม่เคยมีกองทุนที่โดดเด่นที่คนต้องเอาเงินมาลงทุนอย่างกองทุน  ไฟเดลลิตี้

แน่นอนว่าในบางช่วงบางตอน  กองทุนบางกองของบางบริษัทโดยเฉพาะที่เป็นกองเล็ก ๆ  อาจจะมีผลงานการลงทุนโดดเด่นมาก   แต่เมื่อเวลาผ่านไปและกองทุนอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น   ผลงานการลงทุนก็มักจะกลับมาสู่สภาวะปกติหรือแย่ลงทำให้คนที่เข้าไปลงทุนหลังจากเห็นผลงานที่ดีเยี่ยมต้องขาดทุนหรือผิดหวัง   นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา  ในทางวิชาการเราเรียกว่าผลงานที่โดดเด่นนั้นเป็นเรื่อง  บังเอิญ  ไม่ได้เกี่ยวกับฝีมืออะไรทั้งสิ้น   ถ้าจะเป็นเรื่องของฝีมือแล้ว  กองทุนควรจะต้องมีผลตอบแทนที่ดีเหนือกว่าตลาดอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจว่ายังไม่มีกองทุนไหนทำได้

ระบบการจ่ายผลตอบแทนเองก็ไม่เอื้อให้เกิด  มืออาชีพ  ที่โดดเด่นในการบริหารการลงทุน   เพราะคนที่มีฝีมือดีจริง ๆ  และบริหารจนกองทุนได้กำไรมาก ๆ  แต่ตนเองก็คงไม่ได้ผลตอบแทนมากมายอะไรนักอย่างมากก็อาจได้โบนัสเพิ่มอีกสักเดือนสองเดือน   ดังนั้น  ถ้าเขาเก่งจริง  เขาก็น่าจะออกไปบริหารเงินของตนเองจะดีกว่า   นอกจากนั้น  ระบบการบริหารแบบบริษัทจัดการการลงทุนนั้น  ผมคิดว่าจะสร้างนักลงทุนฝีมือเยี่ยมได้ยาก   ทั้งนี้เพราะทุกอย่างดูเหมือนมีกฏเกณฑ์ที่ไม่เอื้ออำนวยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระจริง ๆ  ตัวอย่างง่าย ๆ  ก็เรื่องของหุ้นที่ลงทุนได้นั้น  ข้อห้ามอาจจะรวมถึง  สภาพคล่องของหุ้น   บริษัทจะต้องมีกำไร   ขนาดของบริษัทที่ต้องไม่เล็ก  เป็นต้น   เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ผู้บริหารกองทุนจะทำอะไรที่  เสี่ยง  ไม่ได้  แม้ว่าจะเป็น  ความเสี่ยงที่ไตร่ตรองดีแล้ว   ว่าที่จริงเขาก็ไม่รู้จะเสี่ยงไปทำไม   เพราะถ้าเสี่ยงแล้วสำเร็จก็ได้แต่คำชม   แต่ถ้าพลาดอาจจะตกงานหรือโดนสอบสวน

ผลจากความล้มเหลวในการสร้างนักบริหารการลงทุนมืออาชีพในตลาดหุ้นไทยนั้น  ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดจากตัวเลขจำนวนเม็ดเงินลงทุนในหุ้นของบริษัทจัดการการลงทุน  กองทุนหุ้นที่มีการจัดการหรือเลือกหุ้นนั้นมีขนาดเล็กมากอย่างไม่น่าเชื่อ  กองที่ใหญ่ที่สุดนั้นส่วนใหญ่ก็มีเม็ดเงินในพอร์ตเพียงระดับพันล้านบาทต้น ๆ  เทียบกับนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่หลายรายในตลาดแล้วดูเหมือนว่ากองทุนจะไม่ใหญ่กว่าเลย   ในขณะที่ตลาดหุ้นอย่างในอเมริกานั้น  แม้แต่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ถือว่าเป็นคนที่ลงทุนในหุ้นที่ใหญ่ที่สุด  แต่ถ้าเทียบกับกองทุนแล้วก็เล็กนิดเดียว   ดังนั้น  อิทธิพลและอำนาจการซื้อขายหุ้นของกองทุนมีมหาศาลเมื่อเทียบกับส่วนบุคคล   ขณะที่ในตลาดหุ้นไทยนั้น  อิทธิพลของนักลงทุนส่วนบุคคลนั้นน่าจะเหนือกว่ากองทุนรวมมาก

สุดท้ายก็คือคำแนะนำของผมสำหรับคนที่อยากลงทุนในกองทุนรวมหุ้น   คำแนะนำก็คือ  ข้อแรก  พยายามใช้ประโยชน์จากการที่รัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยเฉพาะการลงทุนซื้อ  LTF และ RMF เพราะนี่จะช่วยให้เรามีแต้มต่อในการลงทุนแม้ว่าฝีมือในการบริหารกองทุนจะไม่ดีนักเราก็น่าจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่า  ข้อสอง  ถ้าจะลงทุนในกองทุนรวมหุ้น   ควรลงทุนในกองทุนหุ้นที่อิงดัชนีซึ่งไม่ต้องอาศัยฝีมือผู้บริหาร  และควรเลือกผู้จัดการที่คิดค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด   ข้อสาม  อย่าพยายามตามหากองทุนที่กำลัง  ร้อน  ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นประเภทไหน  เพราะจับเข้าไปก็คงถูก ลวก  มากกว่า

และสุดท้าย  ถ้าเรามีความรู้บ้างและมีเงินลงทุนระดับหนึ่งเช่นหนึ่งล้านบาทขึ้นไป  เราสามารถสร้างพอร์ตลงทุนส่วนตัวที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนคล้าย ๆ  กับกองทุนรวมหรือตลาดหลักทรัพย์แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการบริหารปีละประมาณ 2% ได้ไม่ยาก  เหตุผลก็คือ  เราสามารถกระจายการถือหุ้นได้ค่อนข้างกว้างขวางเป็นสิบ ๆ ตัวโดยที่เม็ดเงินลงทุนและต้นทุนในการซื้อขายหุ้นแต่ละตัวนั้นค่อนข้างจะต่ำ  ดังนั้น  เราสามารถเลียนแบบกองทุนรวมได้ไม่ยาก  ไม่เหมือนการลงทุนในอเมริกาที่คุณไม่สามารถซื้อหุ้นได้มากตัวถ้าพอร์ตคุณเล็ก  """
ภาพประจำตัวสมาชิก
siebelize
Verified User
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เคยลองดูผลตอบแทน ของ SET50 เป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนานหน่อยมั้ยครับ

ว่าคุ้มค่ากับการใส่เงินลงไปนั้นรึเปล่าครับ



ป.ล. ผมก็มีทีเด็กซ์นะ แต่ว่าผมเอาไว้เป็น underlying asset ของออพชั่นครับ
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผลตอบแทนของ TDEX ก็อยู่ในระดับเดียวกับ Set Index and Set50 ครับ
คือประมาณ 10%/ปี ( ในระยะยาว 10 ปี )

ต้องบอกก่อนว่าผมอยากถือ TDEX เพราะต้องการกระจายการลงทุนในช่วงหนึ่งก่อนเท่านั้น หากเมื่อวิชาผมแก่กล้า และ หา Single Stock ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ผมก็เปลี่ยนสัดส่วนของ Port เหมือนกันครับ เป็นคล้ายๆแทนที่จะถือเงินสดแบบฝากประจำ หรือ ตราสารทางการเงินระยะยาว ก็เปลี่ยนในรูป TDEX แทน

ขอถามอย่างคนไม่รู้ครับ คุณ siebelize
"เอาไว้เป็น underlying asset ของออพชั่น"
มันเป็นการลงทุนในประเภทหนึ่งของ TFEX หรือเปล่าครับ แล้วมันเป็นยังไงเหรอครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ฝาก 3 เรื่องครับ

1. รู้สึกค่าคอม ของ TDEX จะขึ้นแล้วในปีหน้า คงจะเป็นอัตราเดียวกับหุ้น

2. กองทุนดัชนี แบบ LTF ก็มีนะครับ ถ้าเสียภาษีด้วยฐานซัก 20% ตัวนี้น่าจะคุ้มกว่า (ยกเว้นจะถือไปตลอดชีวิต)

3. ควรซื้อแบบ Dollar Cost Average ด้วยนะครับ แบ่งซื้อไปทุก ๆ เดือนเท่า ๆ กัน เพราะมันเหมาะกับ Tools แบบ ETF แบบเหมายกเข่งมาก (นอกเสียแต่ว่า จะมี ETF ที่เป็น sector เหมือนเมืองนอกเค้า)
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
siebelize
Verified User
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 12

โพสต์

pradchayat เขียน:
ขอถามอย่างคนไม่รู้ครับ คุณ siebelize
"เอาไว้เป็น underlying asset ของออพชั่น"
มันเป็นการลงทุนในประเภทหนึ่งของ TFEX หรือเปล่าครับ แล้วมันเป็นยังไงเหรอครับ
ผมก็ไม่รู้เท่าไรหรอกครับ

แต่ถามพี่คนนี้ได้ คนนี้เก่งครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... ht=options
pradchayat
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ และ มุมมองอืนๆที่ดี   :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2455
ผู้ติดตาม: 1

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 14

โพสต์

แล้ว TFTSE ล่ะครับ :roll:  :roll:  :roll:

http://www.one-asset.com/ThailandMutual ... ?ID=010084
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
[v]
Verified User
โพสต์: 1402
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ศึกษาออฟชั่นกันหน่อยเร็ว :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="pradchayat"]

ปล. มันไม่ใช่การบอกว่าเราเจ๋งกว่าผู้จัดการกองทุน ( คนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง ) หรอกครับ
แต่มันคือ ความคิดส่วนตัวครับ ที่มันเป็นสัญชาตญาณดิบในการป้องกันตัวของมนุษย์ครับ ที่คิดว่าไม่มีใครจะดูแลสิ่งที่เราเห็นว่ามีค่า ไปได้ดีกว่าตัวเราครับ ( เช่น ครอบครัว คนรัก ลูก ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือเงินสะสมของเรา )
อย่างน้อยถ้ามันสำเร็จ เราจะได้ชมตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ หรือ
ถ้าแพ้ ก็จะได้ตบกระโหลกตัวเองได้เต็มที่ ไม่ต้องไปโทษใครคนอื่นเค้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
siebelize
Verified User
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 0

ETF ( TDEX )

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote="pradchayat"]ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ และ มุมมองอืนๆที่ดี
โพสต์โพสต์