ขออณุญาติ 1 กระทู้ เพื่อช่วยเหลือมาร์เก็ตติ้งของท่านครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 24, 2009 2:59 pm
แนวทางการแก้ไขปัญหาหัก incentive 25 เปอร์เซ็นต์ ของ มาร์เก็ตติ้ง
ตามที่ ตลท. ได้ออกกฎเรื่องการหัก incentive 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับมาร์เก็ตติ้งที่มี incentive รวมเกิน 30,000 บาท โดยที่จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 และ สิ้นสุดเมื่อมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายค่าย แต่วันต่อกลับมีข่าวออกมาว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์ นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายค่าย แต่ก็บอกว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นประโยชน์เรื่องการออมเงินกับตัวมาร์เก็ตติ้ง สิ่งที่ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นออกมาให้สัมภาษณ์สรุปในแต่ละวันนั้นไม่ตรงกัน เหตุผลที่ท่านสรุปมาสามารถพลิกลิ้นได้รายวัน แล้วสุดท้ายเหตุผลในตอนสุดท้ายก่อนที่ท่านจะหักนั้นคงจะมีออกมามากมาย แต่ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ข้อกำหนดที่ได้ออกมานั้นคือต้องหัก incentive เอาไว้ 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนข้อสนับสนุนในการหักนั้นจะตามออกมาเองเท่าที่ท่านจะคิดได้ในภายหลัง
หากว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นเพื่อการออมให้กับมาร์เก็ตติ้งที่มี incentive เกิน 30,000 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือมาร์เก็ตติ้งในการออม สิ่งที่มาร์เก็ตติ้งที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายออมช่วยชาติของท่านนั้นจะได้เงินลงทุนอะไรกลับมาจากผลของการออมครั้งนี้ จะมีการสมทบเงินในรูปแบบของ provident fund หรือไม่ หรือว่ากักเอาไว้ แต่ไม่มีผลตอบแทนให้ ถ้าไม่มีแล้วจะเรียกว่าเป็นการช่วยมาร์เก็ตติ้งออมเงินได้อย่างไร ในเมื่อมาร์เก็ตติ้งที่ออมเงินไว้โดยการฝากธนาคาร ลงทุนในกองทุน หรือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ หากท่านไม่มีผลตอบแทนจากการหักเงินไว้เพื่อการออมก็จบ เลิกคิดได้เลยว่าเหตุผลคือการช่วยออม
มาร์เก็ตติ้งทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้วทั้งสิ้น สามารถตัดสินใจเรื่องการออมเงินได้เอง ไม่ต้องมาช่วยออกกฎเพื่อช่วยเหลือการออมให้กับมาร์เก็ตติ้ง แล้วกรณีที่มาร์เก็ตติ้งมีภาระที่ต้องใช้จ่าย เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และเงินก้อนที่ท่านหักไป มาร์เก็ตติ้งไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดเหล่านี้ได้ ภาระค่าปรับหรือดอกเบี้ยจากการที่เพิ่มขึ้นจากการผิดนัดชำระเพราะเงินที่ต้องมาจ่ายหนี้ไปอยู่ในนโยบายออมช่วยชาติของท่านนั้นมีแต่จะเป็นการทำให้เงินมาร์เก็ตติ้งนั้นหายไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะเรียกว่าเป็นการช่วยออมได้อย่างไร
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อตั้งมากว่า 34 ปี ผมอยากทราบว่าทำไมที่ผ่านมากว่า 34 ปี ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายการออมช่วยชาติ ทำไมท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ในปีปัจจุบันถึงอยู่ดีๆจึงนึกอยากมาช่วยมาร์เก็ตติ้งออมในปีที่ 34 นี้ หรือว่าท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคิดนโยบายนี้แล้วคิดว่าดีมีประโยชน์จึงขอเป็นประเทศแรกของโลกที่ขอนำร่องการหัก incentive 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ประเทศที่กำลังจะเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นนั้นปฏิบัติตาม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่านโยบายการออมช่วยชาติที่มาจากการหักเงินเป็นจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ของ incentive เป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้เป็นการเสมอภาคระหว่าง "ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ เจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างพวกเรา" สภาวะความเป็นผู้นำของท่านควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานระดับล่างๆของระบบตลาดทุน โดยการประกาศว่าท่านผู้บริหารและกำกับตลาดทุนและพนักงานในระบบสายงานของท่านทุกคนที่มีเงินเดือนเกิน 30,000 บาท จะร่วมออมเงินโครงการออมช่วยชาติ โดยให้หักเงินเดือนและเงินโบนัสของท่านไว้บ้าง 25 เปอร์เซ็นต์ตามที่ท่านจะออกมาหักมาร์เก็ตติ้ง เพราะ ท่าน และ พวกเราเหล่ามาร์เก็ตติ้ง เราอยู่ในธุรกิจเดียวกันควรถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเช่นกัน
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะหักเงิน 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเพื่อดูผลงานที่ทำออกมาว่ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ ถ้าไม่มีข้อร้องเรียนจึงจะคืนเงินที่หักเอาไว้ 25 เปอร์เซ็นต์ โดยจะทยอยคืนหลังจากเดือนที่ 6 ไปแล้ว สิ่งที่ท่านควรออกมาชี้แจงก็คือ ในแต่ละเดือน มีเจ้าหน้าที่ถูกร้องเรียนเท่าไร และร้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง ท่านถึงจะมาหักเงินของมาร์เก็ตติ้ง ที่มี incentive เกิน 30,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 25 เปอร์เซ็นต์ของมาร์เก็ตติ้งในแต่ละเดือน มันเยอะเกินไปหรือเปล่ากับการต้องมาหักเงินจำนวนนี้เอาไว้เพื่อมาเป็นเงินประกันเพื่อความเสียหายที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงและอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่ลูกค้าร้องเรียนเจ้าหน้าที่ที่มีปัญหาในการทำงานควรจะเป็นเรื่องของการดูแลกันเองภายในแต่ละบริษัทมากกว่าที่ท่านจะออกกฎมาเพื่อควบคุมมาร์เก็ตติ้งโดยรวม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคิดว่าการหักเงินเอาไว้ไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เป็นการเสมอภาคระหว่าง "ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ เจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างพวกเรา" เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความเสียหายจากการทำงานของมาร์เก็ตติ้ง เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันการป้องกันกรณีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับนักลงทุน ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ควรจะมีการหักเงินเดือนของท่านผู้บริหารและพนักงานในสายงานของท่านที่มีเงินเดือนเกิน 30,000 บาท เช่นกัน เพื่อเป็นเงินประกันในการทำงานของท่านว่าจะบริหารงานและทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายของนักลงทุนอย่างเช่นกรณีที่เกิดกับผู้ที่ลงทุนในหุ้น PICNI และ SECC เป็นต้น
หากว่าจะหักเป็นเงินประกันไว้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มาร์เก็ตติ้งทำการรีเบทค่าคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหลักทรัพย์คืนให้กับลูกค้า มันคงจะเป็นการกระทำที่เป็นการกำจัดคนกลุ่มเล็กๆ แต่เป็นการกระทบคนกลุ่มใหญ่ มาร์เก็ตติ้งในระบบมีจำนวนประมาณ 5,000 คน ท่านจะออกกฎเพื่อควบคุมคนแค่ 50-100 คน แต่ต้องออกกฎมากระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวน 4,900 คน มันถูกต้องหรือไม่ หากท่านต้องให้คนหมู่มากในระบบต้องได้รับความลำบากในการทำงาน ลำบากในการใช้ชีวิตเพราะรายได้ที่ทำได้ต้องโดนหักออกไป แล้วไปรอรับในอีก 6 เดือนข้างหน้า ท่านละอายใจหรือไม่ที่มาร์เก็ตติ้งที่ทำงานถูกต้องตามกฎเกณฑ์ทุกประการแต่จะมีความลำบากในการดำรงชีวิตจากการโดนหักเงินจากกฎที่ท่านได้เขียนขึ้นจากความไม่ชอบธรรม
หากท่านบอกว่าการออกกฎนี้เพื่อเป็นการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายงาน ท่านควรออกกฎเกณฑ์เรื่องการย้ายงานระหว่างบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าที่จะต้องออกกฎมาเพื่อหักเงินมาร์เก็ตติ้ง หากมาร์เก็ตติ้งมีค่ากับบริษัทหลักทรัพย์สิ่งที่บริษัทหลักทรัพย์ควรกระทำก็ควรทำสัญญาจ้างงานให้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ว่ามาร์เก็ตติ้งไม่มีโวลุ่มก็จะทำการลดเงินเดือนและโดนบีบให้ลาออก แต่พอมาร์เก็ตติ้งมีโวลุ่มขึ้นมาก็จะมารั้งไว้ไม่ให้ไปไหน
ในรูปแบบการทำงานหากในกรณีที่บุคลากรมีความสำคัญต่อองค์กร การที่จะรั้งตัวบุคลากรนั้นๆไว้ควรเป็นเรื่องของการทำสัญญาจ้างงานระหว่างบริษัทและบุคลากรในองค์กร ไม่ใช่เป็นการหักเงินเพื่อมาเป็นหลักประกันการลาออกเพื่อย้ายไปยังบริษัทอื่นๆ หากการออกกฎเรื่องการหัก incentive เพื่อเป็นการรั้งพนักงานเอาไว้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการออกกฎที่กระทบกับคนส่วนใหญ่เพื่อควบคุมคนส่วนน้อยสังคม
กรณีที่ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังกระทำต่อพนักงานระดับล่างโดยไม่ได้รับการยินยอมจากคนหมู่มากจะต่างอะไรกับระบอบสังคมนิยมที่คนหมู่น้อยควบคุมคนหมู่มากโดยไม่ได้รับความยินยอม สุดท้ายผลประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่คนเบื้องบนเพียงกลุ่มหนึ่ง แต่คนที่ทำงานอยู่ล่างก็จะถูกลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ
ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย เสียงทุกเสียงมีความสำคัญแต่ก็ต้องปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ในสังคม หากท่านจะออกกฎใดๆเพื่อเป็นการควบคุมคนในสังคมนั้นๆโดยมีกระแสต่อต้านจากคนที่มีความคิดเห็นต่าง แนวทางที่ดีที่สุด คือ "การออกประชาพิจารณ์และลงมติรับหรือไม่กับข้อเสนอที่ท่านได้ตั้งขึ้น" คงเป็นหนทางที่ดีที่สุดเพราะแนวทางแห่งประชาธิปไตยคือการรับฟังและปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่
การออกกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยก็ยังมีการเลือกตั้งเพื่อรับฟังเสียงส่วนใหญ่และปฏิบัติตามที่เสียงส่วนใหญ่ได้เลือกเอาไว้
หนทางที่ดีที่สุดในการหาทางออกร่วมกันและตอบคำตอบให้กับสังคมที่รอดูจุดจบของปัญหานี้ คือ การที่ท่านให้มาร์เก็ตติ้งได้มีสิทธิในการลงคะแนนโหวตเลือกที่จะรับหรือไม่รับกับกฎเกณฑ์ที่ท่านเขียนขึ้นจากความไม่ชอบธรรมตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การบีบบังคับให้มาร์เก็ตติ้งต้องยอมรับกฎเกณฑ์ที่ท่านเขียนขึ้นเองจากความไม่ชอบธรรมตามวิถีทางของระบอบสังคมนิยม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกกฎเกณฑ์ต่างๆที่บีบบังคับพวกเรามากเกินไป ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ โดยไม่รับฟังเสียงของพวกเรา ระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะถูกการต่อต้านจากพวกเรา และ ขอให้ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและครอบครัวได้ถูกกระทำ หรือ ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ท่านได้กระทำความลำบากให้กับเราและครอบครัวของพวกเรา
หากท่าน คือ มาร์ ที่กำลังต้องการร้องขอความเห็นใจ
หากท่าน คือ คนที่อ่านแล้วเข้าใจพวกเรา
หรือว่าท่าน คือ คนที่เพียงเข้ามาอ่านแล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป
ไม่ว่าท่านจะเป็นใครก็ตาม ผมร้องขอความเห็นใจแทนมาร์ทุกท่านในประเทศไทย
อยากให้ท่านได้เห็นถึงความลำบากที่เรากำลังจะเผชิญในปีหน้า
ขอให้ท่านช่วยกดโหวต เพื่อให้เป็นเสียงสะท้อนไปยัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพื่อให้ระงับการเขียนกฎที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำร้ายชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
-----------------------------------------------------------------------------------
ที่มาhttp://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I858 ... 943.html#4
ตามที่ ตลท. ได้ออกกฎเรื่องการหัก incentive 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับมาร์เก็ตติ้งที่มี incentive รวมเกิน 30,000 บาท โดยที่จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 และ สิ้นสุดเมื่อมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายค่าย แต่วันต่อกลับมีข่าวออกมาว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์ นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายค่าย แต่ก็บอกว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นประโยชน์เรื่องการออมเงินกับตัวมาร์เก็ตติ้ง สิ่งที่ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นออกมาให้สัมภาษณ์สรุปในแต่ละวันนั้นไม่ตรงกัน เหตุผลที่ท่านสรุปมาสามารถพลิกลิ้นได้รายวัน แล้วสุดท้ายเหตุผลในตอนสุดท้ายก่อนที่ท่านจะหักนั้นคงจะมีออกมามากมาย แต่ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ข้อกำหนดที่ได้ออกมานั้นคือต้องหัก incentive เอาไว้ 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนข้อสนับสนุนในการหักนั้นจะตามออกมาเองเท่าที่ท่านจะคิดได้ในภายหลัง
หากว่าการหัก 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นเพื่อการออมให้กับมาร์เก็ตติ้งที่มี incentive เกิน 30,000 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือมาร์เก็ตติ้งในการออม สิ่งที่มาร์เก็ตติ้งที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายออมช่วยชาติของท่านนั้นจะได้เงินลงทุนอะไรกลับมาจากผลของการออมครั้งนี้ จะมีการสมทบเงินในรูปแบบของ provident fund หรือไม่ หรือว่ากักเอาไว้ แต่ไม่มีผลตอบแทนให้ ถ้าไม่มีแล้วจะเรียกว่าเป็นการช่วยมาร์เก็ตติ้งออมเงินได้อย่างไร ในเมื่อมาร์เก็ตติ้งที่ออมเงินไว้โดยการฝากธนาคาร ลงทุนในกองทุน หรือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ หากท่านไม่มีผลตอบแทนจากการหักเงินไว้เพื่อการออมก็จบ เลิกคิดได้เลยว่าเหตุผลคือการช่วยออม
มาร์เก็ตติ้งทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้วทั้งสิ้น สามารถตัดสินใจเรื่องการออมเงินได้เอง ไม่ต้องมาช่วยออกกฎเพื่อช่วยเหลือการออมให้กับมาร์เก็ตติ้ง แล้วกรณีที่มาร์เก็ตติ้งมีภาระที่ต้องใช้จ่าย เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และเงินก้อนที่ท่านหักไป มาร์เก็ตติ้งไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดเหล่านี้ได้ ภาระค่าปรับหรือดอกเบี้ยจากการที่เพิ่มขึ้นจากการผิดนัดชำระเพราะเงินที่ต้องมาจ่ายหนี้ไปอยู่ในนโยบายออมช่วยชาติของท่านนั้นมีแต่จะเป็นการทำให้เงินมาร์เก็ตติ้งนั้นหายไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะเรียกว่าเป็นการช่วยออมได้อย่างไร
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อตั้งมากว่า 34 ปี ผมอยากทราบว่าทำไมที่ผ่านมากว่า 34 ปี ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายการออมช่วยชาติ ทำไมท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ในปีปัจจุบันถึงอยู่ดีๆจึงนึกอยากมาช่วยมาร์เก็ตติ้งออมในปีที่ 34 นี้ หรือว่าท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคิดนโยบายนี้แล้วคิดว่าดีมีประโยชน์จึงขอเป็นประเทศแรกของโลกที่ขอนำร่องการหัก incentive 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ประเทศที่กำลังจะเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นนั้นปฏิบัติตาม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่านโยบายการออมช่วยชาติที่มาจากการหักเงินเป็นจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ของ incentive เป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้เป็นการเสมอภาคระหว่าง "ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ เจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างพวกเรา" สภาวะความเป็นผู้นำของท่านควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานระดับล่างๆของระบบตลาดทุน โดยการประกาศว่าท่านผู้บริหารและกำกับตลาดทุนและพนักงานในระบบสายงานของท่านทุกคนที่มีเงินเดือนเกิน 30,000 บาท จะร่วมออมเงินโครงการออมช่วยชาติ โดยให้หักเงินเดือนและเงินโบนัสของท่านไว้บ้าง 25 เปอร์เซ็นต์ตามที่ท่านจะออกมาหักมาร์เก็ตติ้ง เพราะ ท่าน และ พวกเราเหล่ามาร์เก็ตติ้ง เราอยู่ในธุรกิจเดียวกันควรถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเช่นกัน
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะหักเงิน 25 เปอร์เซ็นต์นั้นเพื่อดูผลงานที่ทำออกมาว่ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ ถ้าไม่มีข้อร้องเรียนจึงจะคืนเงินที่หักเอาไว้ 25 เปอร์เซ็นต์ โดยจะทยอยคืนหลังจากเดือนที่ 6 ไปแล้ว สิ่งที่ท่านควรออกมาชี้แจงก็คือ ในแต่ละเดือน มีเจ้าหน้าที่ถูกร้องเรียนเท่าไร และร้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง ท่านถึงจะมาหักเงินของมาร์เก็ตติ้ง ที่มี incentive เกิน 30,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 25 เปอร์เซ็นต์ของมาร์เก็ตติ้งในแต่ละเดือน มันเยอะเกินไปหรือเปล่ากับการต้องมาหักเงินจำนวนนี้เอาไว้เพื่อมาเป็นเงินประกันเพื่อความเสียหายที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงและอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่ลูกค้าร้องเรียนเจ้าหน้าที่ที่มีปัญหาในการทำงานควรจะเป็นเรื่องของการดูแลกันเองภายในแต่ละบริษัทมากกว่าที่ท่านจะออกกฎมาเพื่อควบคุมมาร์เก็ตติ้งโดยรวม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคิดว่าการหักเงินเอาไว้ไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เป็นการเสมอภาคระหว่าง "ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับ เจ้าหน้าที่ระดับล่างอย่างพวกเรา" เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความเสียหายจากการทำงานของมาร์เก็ตติ้ง เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันการป้องกันกรณีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับนักลงทุน ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ควรจะมีการหักเงินเดือนของท่านผู้บริหารและพนักงานในสายงานของท่านที่มีเงินเดือนเกิน 30,000 บาท เช่นกัน เพื่อเป็นเงินประกันในการทำงานของท่านว่าจะบริหารงานและทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายของนักลงทุนอย่างเช่นกรณีที่เกิดกับผู้ที่ลงทุนในหุ้น PICNI และ SECC เป็นต้น
หากว่าจะหักเป็นเงินประกันไว้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มาร์เก็ตติ้งทำการรีเบทค่าคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหลักทรัพย์คืนให้กับลูกค้า มันคงจะเป็นการกระทำที่เป็นการกำจัดคนกลุ่มเล็กๆ แต่เป็นการกระทบคนกลุ่มใหญ่ มาร์เก็ตติ้งในระบบมีจำนวนประมาณ 5,000 คน ท่านจะออกกฎเพื่อควบคุมคนแค่ 50-100 คน แต่ต้องออกกฎมากระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวน 4,900 คน มันถูกต้องหรือไม่ หากท่านต้องให้คนหมู่มากในระบบต้องได้รับความลำบากในการทำงาน ลำบากในการใช้ชีวิตเพราะรายได้ที่ทำได้ต้องโดนหักออกไป แล้วไปรอรับในอีก 6 เดือนข้างหน้า ท่านละอายใจหรือไม่ที่มาร์เก็ตติ้งที่ทำงานถูกต้องตามกฎเกณฑ์ทุกประการแต่จะมีความลำบากในการดำรงชีวิตจากการโดนหักเงินจากกฎที่ท่านได้เขียนขึ้นจากความไม่ชอบธรรม
หากท่านบอกว่าการออกกฎนี้เพื่อเป็นการป้องกันมาร์เก็ตติ้งย้ายงาน ท่านควรออกกฎเกณฑ์เรื่องการย้ายงานระหว่างบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าที่จะต้องออกกฎมาเพื่อหักเงินมาร์เก็ตติ้ง หากมาร์เก็ตติ้งมีค่ากับบริษัทหลักทรัพย์สิ่งที่บริษัทหลักทรัพย์ควรกระทำก็ควรทำสัญญาจ้างงานให้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ว่ามาร์เก็ตติ้งไม่มีโวลุ่มก็จะทำการลดเงินเดือนและโดนบีบให้ลาออก แต่พอมาร์เก็ตติ้งมีโวลุ่มขึ้นมาก็จะมารั้งไว้ไม่ให้ไปไหน
ในรูปแบบการทำงานหากในกรณีที่บุคลากรมีความสำคัญต่อองค์กร การที่จะรั้งตัวบุคลากรนั้นๆไว้ควรเป็นเรื่องของการทำสัญญาจ้างงานระหว่างบริษัทและบุคลากรในองค์กร ไม่ใช่เป็นการหักเงินเพื่อมาเป็นหลักประกันการลาออกเพื่อย้ายไปยังบริษัทอื่นๆ หากการออกกฎเรื่องการหัก incentive เพื่อเป็นการรั้งพนักงานเอาไว้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการออกกฎที่กระทบกับคนส่วนใหญ่เพื่อควบคุมคนส่วนน้อยสังคม
กรณีที่ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังกระทำต่อพนักงานระดับล่างโดยไม่ได้รับการยินยอมจากคนหมู่มากจะต่างอะไรกับระบอบสังคมนิยมที่คนหมู่น้อยควบคุมคนหมู่มากโดยไม่ได้รับความยินยอม สุดท้ายผลประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่คนเบื้องบนเพียงกลุ่มหนึ่ง แต่คนที่ทำงานอยู่ล่างก็จะถูกลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ
ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย เสียงทุกเสียงมีความสำคัญแต่ก็ต้องปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ในสังคม หากท่านจะออกกฎใดๆเพื่อเป็นการควบคุมคนในสังคมนั้นๆโดยมีกระแสต่อต้านจากคนที่มีความคิดเห็นต่าง แนวทางที่ดีที่สุด คือ "การออกประชาพิจารณ์และลงมติรับหรือไม่กับข้อเสนอที่ท่านได้ตั้งขึ้น" คงเป็นหนทางที่ดีที่สุดเพราะแนวทางแห่งประชาธิปไตยคือการรับฟังและปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่
การออกกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยก็ยังมีการเลือกตั้งเพื่อรับฟังเสียงส่วนใหญ่และปฏิบัติตามที่เสียงส่วนใหญ่ได้เลือกเอาไว้
หนทางที่ดีที่สุดในการหาทางออกร่วมกันและตอบคำตอบให้กับสังคมที่รอดูจุดจบของปัญหานี้ คือ การที่ท่านให้มาร์เก็ตติ้งได้มีสิทธิในการลงคะแนนโหวตเลือกที่จะรับหรือไม่รับกับกฎเกณฑ์ที่ท่านเขียนขึ้นจากความไม่ชอบธรรมตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การบีบบังคับให้มาร์เก็ตติ้งต้องยอมรับกฎเกณฑ์ที่ท่านเขียนขึ้นเองจากความไม่ชอบธรรมตามวิถีทางของระบอบสังคมนิยม
หากท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกกฎเกณฑ์ต่างๆที่บีบบังคับพวกเรามากเกินไป ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ โดยไม่รับฟังเสียงของพวกเรา ระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะถูกการต่อต้านจากพวกเรา และ ขอให้ท่านผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและครอบครัวได้ถูกกระทำ หรือ ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ท่านได้กระทำความลำบากให้กับเราและครอบครัวของพวกเรา
หากท่าน คือ มาร์ ที่กำลังต้องการร้องขอความเห็นใจ
หากท่าน คือ คนที่อ่านแล้วเข้าใจพวกเรา
หรือว่าท่าน คือ คนที่เพียงเข้ามาอ่านแล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป
ไม่ว่าท่านจะเป็นใครก็ตาม ผมร้องขอความเห็นใจแทนมาร์ทุกท่านในประเทศไทย
อยากให้ท่านได้เห็นถึงความลำบากที่เรากำลังจะเผชิญในปีหน้า
ขอให้ท่านช่วยกดโหวต เพื่อให้เป็นเสียงสะท้อนไปยัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เพื่อให้ระงับการเขียนกฎที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำร้ายชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
-----------------------------------------------------------------------------------
ที่มาhttp://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I858 ... 943.html#4