หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 03, 2009 10:05 pm
โดย ลูกอิสาน
http://www.bloomberg.com/apps/news?pid= ... tuTk&pos=1
Nov. 3 (Bloomberg) -- Warren Buffetts Berkshire Hathaway Inc. agreed to buy railroad Burlington Northern Santa Fe Corp. in the companys biggest takeover.

Buffetts firm will pay $26 billion, or $100 a share in cash and stock, for the 77.4 percent of the railroad it doesnt already own. Including his previous investment and the assumption of debt, the value of the deal is about $44 billion, Omaha, Nebraska-based Berkshire said in a statement today. That compares with the railroads closing price yesterday of $76.07.

Its an all-in wager on the economic future of the United States, Buffett said in the statement.

Berkshire has been building a stake in the Fort Worth, Texas-based railroad for more than two years as Buffett looked for what he called an elephant-sized acquisition in which he could deploy his companys cash hoard, valued at more than $24 billion as of the end of June. Trains stand to become more competitive against trucks with fuel prices high, he has said.

It is Warren being Warren, taking advantage of a market that is soft at a time when the possibility for competitive bids is relatively low, said Tom Russo, a partner at Gardner Russo & Gardner, which holds Berkshire shares. He looks at this as a business that has advantages against other forms of transportation.

At $100 a share, Buffett is paying 18.2 times Burlingtons estimated 2010 earnings of $5.51, according to the average analyst projection in a Bloomberg survey. That compares with the 13.4 multiple for the Standard & Poors 500 Index as of yesterdays close. Burlington Northern shares have dropped 13 percent in the 12 months through yesterday.

Union Pacific, CSX

Competing railroad Union Pacific Corp.s ratio was 13, while Jacksonville, Florida-based CSX Corp.s was 13.1, Bloomberg data show.

The deal culminates a search by Buffett, 79, that sent him to Europe looking for possible acquisitions and lamenting in letters to shareholders that he and Vice Chairman Charles Munger couldnt find companies they considered large enough to meaningfully add to annual earnings.

Buffett needs elephants in order for us to use Berkshires flood of incoming cash, he said in his annual letter to shareholders in 2007. Charlie and I must therefore ignore the pursuit of mice and focus our acquisition efforts on much bigger game.

Buffett will use $16 billion in cash for the deal, half of which is being borrowed from banks and will be paid back in three annual installments, he told the CNBC television network. Berkshire will have more than $20 billion in consolidated cash after the purchase, he said.

Cash Hoard

It doesnt mean were out of business, but it does mean that we wont be making any huge deals for a while, Buffett told the network today. He said earlier this year the company needs a minimum of $10 billion in cash to be ready for unforeseen events such as catastrophe claims at its insurance units.

Buffett built Berkshire into a $150 billion company buying firms that he deems to have durable competitive advantages. His largest purchases include the 1998 deal for General Reinsurance Corp. for more than $17 billion. Buffett expanded into power production with the purchase of MidAmerican Energy Holdings Co., and last year bought Marmon Holdings Inc., the collection of more than 100 businesses, from the Pritzker family.

He expects the economy to recover, he said in an interview in September with his companys Business Wire unit.

Itll Get There

We are still tossing out 14 trillion worth of product a year, he said. It will return. Its already returned with most people in most ways, but its not back 100 percent. Itll get there.

Buffett said in 2007 that railroads may prosper at the expense of trucks. As oil prices go up, higher diesel fuel raises costs for rails, but it raises costs for its competitors, truckers, roughly by a factor of four, Buffett told shareholders in 2007 at his companys annual meeting. There could be a lot more business there than there was in the past.

Berkshires board approved a 50-to-1 split of its Class B shares to help the acquisition, the company said. Goldman Sachs Group Inc., Evercore Partners Inc., and Cravath Swaine & Moore LLP are advising Burlington. Berkshire didnt disclose a financial adviser and said Munger Tolles & Olson LLP furnished legal advice.

Fired Up

Matthew Rose, the chief executive officer of Burlington Northern, said he struck the deal with Buffett after the two met in Texas where the billionaire investor was visiting because he has other business interests.

We spent a couple hours talking about the economy and the business, Rose told Bloomberg Television. The next day I got a call. He asked me to meet on a Friday night down in downtown Fort Worth. It was a relatively short conversation, he told me what he wanted to do. The next day we fired up the process.

Burlington Northern operates 32,000 miles of track, with 6,700 locomotives, according to its Web site. Most of the carriers network is west of the Mississippi, where it competes with Union Pacific. The company hauls cargo including grain, coal and so-called intermodal containers, which can move by a combination of rail, road and sea.

U.S. railroad shares advanced in early trading. Union Pacific rose 6.4 percent at 8:59 a.m. in New York. CSX Corp. climbed 6.9 percent.

The U.S. Department of Justice will conduct an antitrust review, which Burlington expects to be completed by the first quarter of next year, the company said today in a conference call with analysts and investors.

Burlington Northern said two-thirds of the shares that arent held by Berkshire must vote in favor of the transaction for it to proceed under Delaware law. The railroad said it anticipates a shareholder meeting in the first quarter of 2010 and to close the transaction very shortly thereafter.

To contact the reporters on this story: Andrew Frye in New York at [email protected]; Hugh Son in New York at [email protected]

Last Updated: November 3, 2009 09:26 EST

ไม่รู้เมื่อไหร่จะมีใครมาเทคการรถไฟไทยเสียทีนะครับ :roll:


ที่จริงในตลาดหุ้นไทยที่ทำธุรกิจคล้ายกับเบอลิงตันก็มีนะครับ คือ UST อยู่ในกลุ่มตระกูลบ้านปู แต่อาจจะไม่มีสินทรัพย์มากเหมือนรฟท.

เป็นการลงทุนที่ใช้เงินมากที่สุด นั่นแสดงว่าบัฟเฟตต์คงมองแล้ว่าราคาน้ำมันระยะยาวคงตีตั๋วขาเดียวคือขาขึ้น ที่จริงในตลาดหุ้นไทยมีหุ้นนับสิบตัวที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม ไล่ๆดูมีตั้งแต่ pttep ptt lanna ksl upoic uvan uec ums age ust lvt sgp trc tndt qlt stpi  

ไม่รู้มีตัวอื่นๆอีกหรือเปล่าครับ....

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 6:09 am
โดย prichar s.
ขออนุญาต
ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังติดกับอารมณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายของตลาด โดยเฉพาะนักลงทุนไทย
ปู่บัฟเฟ็ตต์กลับยังคงมุ่งมั่นในแนวทางตัวเองอย่างมั่นคง
ซื้อ ซื้อ ซื้อ.....ซ้อบางส่วน....ซื้อทั้งหมด...ซื้อของดี ราคาเหมาะสม
นับถือจริง ๆ
...............................

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 9:28 am
โดย chatchai
ไม่ใช่แค่ซื้อนะครับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 10:35 am
โดย tanapol
ขอเสนอ ticon อีกตัวนะครับ
ผมว่าตัวนี้ได้ประโยชน์เยอะีทีเดียว

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 11:30 am
โดย pk8
หากราคาน้ำมันเป็นขาขึ้นต่อไป สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือเงินเฟ้อครับ

ดังนั้นนอกจากหุ้นที่รับประโยชน์จากราคาน้ำมันโดยตรงแล้ว
ก็ยังต้องมีการพิจารณาการถือครองหุ้นให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น

เนื่องจากราคาน้ำมันเป็นต้นทุนหลักส่วนใหญ่ในภาคธุรกิจ

ผมขออนุญาตนำบทความของคุณ IH มาโพสท์อีกครั้งซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์มากหากภาวะนั้นเกิดขึ้น
เมื่อคราวก่อนผมได้พูดถึงเรื่องการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ หรือ ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยด้านต้นทุน

ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยด้านต้นทุน หรือ cost push inflation จะทำให้หุ้นที่อยู่ในภาคบริการมีความน่าสนใจกว่าหุ้นที่อยู่ภาคการผลิตครับ

หากเราพิจารณาถึงตัวเลขที่บ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของระดับราคาซึ่งมีตัวหลักๆ คือ Producer price index ( PPI ) , Wholesale price index ( WPI ) และ Consumer price index ( CPI )

อัตราเงินเฟ้อที่เราดูกันหลักๆ ในประเทศไทยจะมีตัวเดียวคือ CPI หรือ Consumer price index ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ

แต่ในสหรัฐอเมริกา นักลงทุนจะสนใจตัวเลขทั้ง 3 ตัวคือ PPI WPI และ CPI

ตัวเลข PPI หรือ Producer price index เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึงต้นทุนของผู้ผลิตซึ่งจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าแรงขั้นต่ำ ประสิทธิภาพในการผลิต เป็นต้น

การที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เช่น เหล็ก พลาสติก ทองแดง ปรับเพิ่มขึ้นก็ได้ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นมากในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา

แต่ในขณะเดียวกัน การที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นได้ทำให้ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้มีความสามารถที่จะรับสภาพการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าได้ไม่มากนัก ดังนั้นแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเพิ่มราคาขายได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด เพราะหากเพิ่มราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลต่อปริมาณการขายที่ลดลง ผู้ผลิตหลายรายก็ได้พยายามปรับตัวด้วยมาตรการการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

ด้วยเหตุผลที่การปรับขึ้นราคาสินค้าของผู้ผลิตทำได้น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุน จึงทำให้ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของ CPI ซึ่งสะท้อนถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลข PPI ซึ่งสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนของผู้ผลิต

หากเราให้ margin ของผู้จัดจำหน่ายคือ Wholesaler คงที่ เราจะได้ว่าการที่ CPI เพิ่มน้อยกว่า PPI จะทำให้อัตราการทำกำไรของผู้ผลิตแย่ลง ซึ่งสะท้อนถึงตัวเลขอัตราการทำกำไร คือ gross profit ของผู้ผลิตต่างๆ มีแนวโน้มที่จะลดลง

อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ผลิตบางรายที่มี brand สินค้าที่แข็งแกร่ง และมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง จึงสามารถเพิ่มราคาขายได้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และยิ่งหากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตก็จะทำให้ปริมาณการขายไม่ลดลง ผู้ผลิตเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากนัก

ผู้ผลิตที่มีลักษณะของการรับจ้างผลิต ซึ่งเป็นการผลิตในขั้นกลาง หรือผลิตสินค้าที่ผู้ผลิตแต่ละรายไม่มีความแตกต่างกันนัก จะเป็นผู้ผลิตที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกัน ธุรกิจในภาคบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร จะมีแนวโน้มที่จะปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่า โดยเฉพาะหากธุรกิจนั้นๆ ได้รับความนิยมสูง และจับลูกค้าที่มีกำลังซื้อ เนื่องจากลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่คำนึงถึงราคาที่เพิ่มขึ้นหากได้รับบริการที่น่าพึงพอใจ ผมเชื่อว่าคนไข้ส่วนใหญ่ที่ไปใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือลูกค้าที่ไปรับประทานอาหารในภัตตาคารแพงๆ คงจะไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลงกับการเปลี่ยนแปลงของราคามากนัก

นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มประเภทสาธารณูปโภค เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ซึ่งมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงเนื่องจากเป็นบริการที่จำเป็น และสามารถขึ้นราคาตามต้นทุนวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ต้นทุนหลักๆ ของหุ้นกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งคือต้นทุนการวางระบบสาธารณูปโภค เช่น ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ท่อก๊าซ ประปา ระบบสัญญาณโทรศัพท์ จะเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นไปนานแล้วและรับรู้เป็นต้นทุนในรูปแบบของค่าเสื่อมราคา หุ้นกลุ่มดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบน้อยเช่นกัน

ธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตั้งราคาขายในลักษณะ cost plus คือ บวกกำไรเข้าไปกับต้นทุน ก็จะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อค่อนข้างน้อย เนื่องจากจะยังสามารถรักษาอัตราการทำกำไรได้คงที่ในระดับหนึ่ง ธุรกิจดังกล่าวได้แก่ธุรกิจประเภทค้าปลีกและบริษัท trading บางบริษัท

ดังนั้น เมื่อเรามาพิจารณาถึงตลาดหุ้นบ้านเรา และตัดหุ้นพลังงานตัวใหญ่ๆ ที่มีผลต่อดัชนีออกไป จะพบว่าหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและภาคการก่อสร้าง เช่น วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์มีผลกำไรที่ลดลงค่อนข้างมาก ในขณะที่หุ้นในภาคบริการและสาธารณูปโภค รวมไปถึงหุ้นค้าปลีก ส่วนใหญ่ยังมีผลกำไรที่ดีขึ้นหรือไม่แย่ลงไปกว่าเดิมนัก ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มหลังนี้หลายตัวมีราคาปรับตัวสูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปี ในขณะที่หุ้นในภาคการผลิตหลายตัวมีราคาลดลงมาตลอด

ผมเชื่อว่าภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นไปอีกหลายปีจากนี้ไป เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่ ดังนั้นหุ้นกลุ่มบริการ สาธารณูปโภคและค้าปลีก น่าจะเป็นกลุ่มที่น่าจะรักษาความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของ capital gain และเงินปันผลได้ดีในระดับหนึ่ง ในขณะที่หุ้นในภาคการผลิตน่าจะให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก

นอกจากนี้ บริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 โดยส่วนใหญ่จะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้ามากกว่าบริษัทที่มีส่วนแบ่งน้อยกว่า รวมไปถึงการมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสูงน่าจะหมายถึงว่าสินค้าและบริการดังกล่าวเป็นที่นิยมของลูกค้า ดังนั้นบริษัทที่จะได้เปรียบจึงเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดเล็กหรือกลาง แต่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจนั้นๆ

เวลานี้ผมเชื่อว่า profit margin สำคัญกว่ายอดขายแล้วครับ หากยอดขายเพิ่มแต่ขาดทุนก็ไม่มีประโยชน์ครับ P/E ratio อาจจะมีความสำคัญน้อยลงในการตัดสินใจครับ เพราะ P/E กำลังสะท้อนอดีตและปัจจุบัน แต่ไม่ได้สะท้อนถึงอนาคตที่มีความยากลำบากรออยู่ข้างหน้าครับ เราได้เห็นหุ้นหลายตัวที่มีกำไรดีๆ ในปี 2546-2547 มีกำไรลดลงมากหรือขาดทุนในปีนี้ ดังนั้น การลงทุนจากนี้ไป ผมเชื่อว่าคงจะต้อง focus ไปที่คุณภาพของสินค้าและบริการของบริษัทนั้นๆ และอำนาจการต่อรองกับลูกค้า เป็นสำคัญครับ รวมไปถึงความสามารถของผู้บริหารในการจัดการกับปัญหาเรื่องต้นทุนที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น brand value และ premium on management จึงสำคัญกว่า P/E ในภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้
ผมได้อ่านข้อมูล ใน tvi ว่าเเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. เพิ่มสูงถึง 5.3% แล้วครับ และผมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไปของปีนี้ก็น่าจะคงอยู่ในระดับนี้หรือมากกว่านี้ไปอีก โดยเหตุผลหลักก็เป็นที่ทราบกันว่ามาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

หากมองอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในระดับปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 1% ซึ่งก็หมายความว่า หากผู้ฝากเงินมีเงิน 1 ล้านบาท เมื่อครบ 1 ปีจะมีเงินเพิ่มขึ้น 1% แต่จะซื่อของได้น้อยลง 5% เพราะเงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อของเงินจำนวนเท่าเดิมลดลง เท่ากับว่าผู้ที่มีเงินออมและมีรายได้จากเงินฝากจนลง 4% ในแต่ละปี

อย่าคิดว่าจะเอาดอกเบี้ยมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเลยครับ แค่ทำให้เราไม่จนลงยังทำไม่ได้เลยครับ

หากเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ไปอีก 3 ปี ก็เท่ากับว่าผู้ออมเงินจนลงไป 12% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่น่ากลัวไม่น้อยทีเดียวครับ

แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็เลือกที่จะออมด้วยการฝากธนาคาร !

หรือไม่บางส่วนก็ออมผ่านกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งปัจจุบันเราเห็นขนาดกองทุนตราสารหนี้ใหญ่กว่ากองทุนหุ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเพราะว่าหลายคนยังกลัวการลงทุนในหุ้นอยู่พอสมควร กองทุนตราสารหนี้ที่เป็นที่นิยมมากคือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 9 เดือน 12 เดือน ซึ่งให้ผลตอบแทนประมาณ 2% กว่าๆ ดูเหมือนจะรับประกันผลตอบแทน ซึ่งก็คงจะเป็นเช่นนั้น หากกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวไม่ไปลงทุนใน B/E ของบริษัทเอกชนที่เสี่ยงเกินไปนัก เมื่อเงินเฟ้อขึ้นไปเป็น 5% ผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวก็จะจนลงปีละ 3%

หากพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอย่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็จะให้ผลตอบแทนวันนี้ที่ 4.69% ต่อปี ซึ่งก็ยังแพ้เงินเฟ้ออยู่ดี หากเป็นพันธบัตรที่อายุสั้นกว่านั้น ก็จะมีผลตอบแทนน้อยลงไปอีก เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปีก็จะมีผลตอบแทน 4.16%

หากเราดูหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีบริหารเงินออมให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีทางเลือกในการลงทุนมากกว่าการฝากเงิน สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกองทุนดังกล่าวก็ยังเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เงินฝากธนาคาร ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 5% เกือบทั้งนั้น เว้นเสียแต่หุ้นกู้ บ. เอกชนบางบริษัทที่อาจจะให้ผลตอบแทนเกิน 5% แต่ก็เป็นส่วนน้อยและน่าจะเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงทางการเงินอยู่พอสมควร การลงทุนในหุ้นของหน่วยงานทั้ง 3 อยู่ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 15% ซึ่ผลตอบแทนของตลาดปีนี้ยังไม่ถึง 5% ดังนั้นผลตอบแทนของเงินออมของคนส่วนใหญ่ของประเทศต่ำกว่าเงินเฟ้อทั้งนั้น

ผมเชื่อว่าสถานการณ์ตรงนี้อาจจะคงอยู่ไม่นานนัก เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง เช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยและเงินเฟ้อแคบลง และเพื่อไม่ให้เงินไหลออกมากเกินไป การขึ้นดอกเบี้ยในกรณีนี้ก็น่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย

แต่หาก....... มีสถานการณ์หรือภาวะแวดล้อมอะไรบางอย่างที่ทำให้ภาวะดอกเบี้ยเงินฝากรวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยในระบบไม่เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง เพราะอัตราเงินปันผลของตลาดหุ้นยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างมาก รวมไปถึงการที่หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในระยะยาวราคาหุ้นจะมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ

เมื่อวันอาทิตย์ผมได้เดินที่ร้าน se-ed อันดับหนังสือที่ขายดีอันดับที่ 16 ของร้าน se-ed คือ หนังสือ ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์กันดีกว่า ผมซื้อหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายของร้าน ซึ่งอาจจะเกิดจากหนังสือขายดี ประกอบกับจำนวนการพิมพ์และการสั่งเข้าร้านค่อนข้างน้อย แสดงว่าทั้งผู้พิมพ์และผู้ขายก็ไม่คิดเหมือนกันว่าหนังสือเล่มนี้จะขายดี

เป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งว่า ประชาชนที่มีเงินออมกำลังเบื่อกับดอกเบี้ยเงินฝาก 1% เต็มทนแล้ว จึงยอมทำอะไรที่เสี่ยงขึ้นกันแล้ว

หลายคนกำลังจะสร้างอพาร์ตเมนต์ หากประสบความสำเร็จ อาจจะได้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 8-12% ต่อปี ขึ้นกับความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งหากได้ 10% ต่อปีก็เท่ากับการฝากธนาคาร 10 ปี ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเป็นความรู้แต่ผมคงไม่ทำอพาร์ตเมนท์ครับเพราะอพาร์ตเมนต์ที่เราจะทำได้คงไม่ใช่ระดับบนที่เก็บค่าเช่าเดือนละ 2-5 หมื่น แต่คงจะต้องเป็นระดับกลางถึงล่าง ซึ่งดูแล้วน่าจะมีปัญหาตามมาสารพัดทีเดียว และที่สำคัญก็คือเวลาส่วนตัวที่จะลดลงไปเยอะมากซึ่งผมมองว่ามันเป็นต้นทุนแฝงครับ

ดังนั้น ผมคิดว่าหากเงินเฟ้อระดับนี้ และดอกเบี้ยเงินฝากยัง 1% ควรจะกลับเข้ามาพิจารณาการลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง

แต่คราวนี้ ผมไม่คิดว่าควรจะข้ามาซื้อหุ้นทุกตัวแบบกระจายเหมือนปี 2546 แต่จะเป็นการซื้อแบบเจาะจง โดยจะเน้นไปที่หุ้นที่มี pricing power คือ สามารถผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้าได้เต็มๆ หรือเผลอๆ จะมี margin ดีขึ้นด้วยซ้ำจากการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่เป็นผู้นำตลาด หรือมีความนิยมในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์สูง หรือหุ้นที่เป็นลักษณะ monopoly ซึ่งหุ้นที่ว่ามานี้มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นขนาดกลางและเล็กที่เป็นผู้นำตลาด มีผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นที่มีขนาดเล็ก ซึ่ง trend นี้เราก็เห็นมาบ้างแล้วพอสมควรตั้งแต่ต้นปีครับ

หุ้นอีกประเภทที่จะได้รับผลดีจากเงินเฟ้อ คือ หุ้นที่มีสินทรัพย์มากๆ ซึ่งราคาสินทรัพย์น่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้สินทรัพย์ที่มีอยู่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

หุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหญ่หรือเล็กที่สามารถฝ่าด่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อมาได้ และมีกำไรไม่ลดลง และสามารถปันผลได้ 5-7% ต่อปี จะเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นในครึ่งหลังของปีนี้ คงจะต้องเป็นการซื้อหุ้นคุณภาพ คือหุ้นดีราคาไม่แพงเกินไป ไม่ใช่หุ้นถูกแต่คุณภาพอาจจะไม่ดี เพราะหุ้นถูก อาจจะถูกเพราะ p/e ของปีก่อน ซึ่งหากคิด p/e ปีนี้อาจจะแพงขึ้นมากหรือขาดทุนไปเลยก็เป็นไปได้ครับ

ผมได้แต่หวังว่า เงินที่เข้ามาซื้อหุ้น คงจะเป็นเงินออมของประชาชน ที่เข้ามาเลือกซื้อหุ้นดีๆ คงไม่ใช่เงินต่างชาติ ที่เค้ารู้ว่าหุ้นบ้านเราตัวไหนยังถูก อาศัยข้อมูลที่เหนือกว่าทำกำไรกลับไปอีก

และหวังว่าหน่วยงานทั้ง 2 ที่เป็นกึ่งรัฐอย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือเอกชน คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น่าจะพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์มากขึ้นครับ เพราะอย่างไรเสียหากเลือกหุ้นถูกตัว ผลตอบแทนในระยะยาวๆ ของหุ้นก็ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ อยู่พอสมควรครับ

ผมอ่านกระทู้ของเพื่อนท่านหนึ่งใน tvi ยกประเด็นว่า การฝากธนาคารในปัจจุบัน ก็เหมือนการซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่า เพราะต้องจ่ายไป 100 แต่ได้กลับมาปีละ 1 เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียวครับ ผมเห็นว่าแม้จะเป็นหุ้นที่ดีที่สุดและไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย ก็ไม่ควรมี p/e 100 เท่าครับ และยิ่งหุ้นตัวนั้นอาจจะไม่มี growth ด้วย

การถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไปสำหรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูงอย่างที่เราเห็นในช่วงนี้เสมอไปครับ การถือหุ้นดีมีคุณภาพ และมีปันผล จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะดีกว่าครับ

สิ่งที่ผมแปลกใจคือ ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงมีความรู้เรื่องการลงทุน การบริหารเงินออม โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นน้อยมาก แม้ว่านักศึกษาที่จบมาจากสาขา finance ก็ไม่มีความรู้ทางการลงทุนเท่าที่ควรนัก ซึ่งไม่ต้องหวังอะไรกับนักศึกษาที่จบจากสาขาอื่นเลย แสดงว่าประเทศไทยยังล้มเหลวในการระบบการศึกษาพอสมควรครับ

ความรู้เรื่องการลงทุน จะเป็นความรู้ที่มีค่าขึ้นเรื่อยๆ ครับ หากเราไม่อยากจนลงปีละ 4% หรือซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่าครับ

การลงทุนก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นในทะเลอาจจะเสี่ยงที่จะจมลงจากคลื่นลมพายุ การฝากเงินอย่างเดียวก็เหมือนเรือที่จอดอยู่บนฝั่งแม้จะไม่จมจากพายุ แต่วันหนึ่งก็จะถูกสนิมกัดกร่อนจนผุ ซึ่งเงินเฟ้อก็เหมือนสนิมที่คอยกัดกินเรืออยู่ตลอดเวลาครับ

ยิ่งตอนนี้มีคลี่นสึนามิแล้วด้วย เรือที่จอดอยู่ริมฝั่งอาจจะพังง่ายๆ ได้ทีเดียวครับ : )

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 11:41 am
โดย investment biker
เป็นการลงทุนที่ใช้เงินมากที่สุด นั่นแสดงว่าบัฟเฟตต์คงมองแล้ว่าราคาน้ำมันระยะยาวคงตีตั๋วขาเดียวคือขาขึ้น ที่จริงในตลาดหุ้นไทยมีหุ้นนับสิบตัวที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม ไล่ๆดูมีตั้งแต่ pttep ptt lanna ksl upoic uvan uec ums age ust lvt sgp trc tndt qlt stpi  

ไม่รู้มีตัวอื่นๆอีกหรือเปล่าครับ....
น่าจะมี akr banpu bmcl ee lst solar  แต่ว่าเลือกไม่ถูกครับ....... รบกวนพี่ลูกอีสานช่วย short list ให้น้อง ๆ ไปศึกษาต่อซัก 3-4 ตัวได้ไหมครับ  :lol:

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 11:50 am
โดย investment biker
http://www.bloomberg.com/apps/news?pid= ... fQMVxLsVho

Buffett last year sold stock in firms including Procter & Gamble Co., Johnson & Johnson and oil producer ConocoPhillips to fund investments in preferred shares of Goldman Sachs Group Inc. and General Electric Co.

ปีที่แล้ว Buffett ขายหุ้นตัวที่ราคาลงน้อย ๆ มาซื้อหุ้นตัวที่ลงเยอะ ๆ เหมือนกันครับ สุดยอด investor จริง ๆ ครับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 12:18 pm
โดย DemonInvesting
แต่ดูจากราคาแล้วต้องถือว่าครั้งนี้ Buffet ซื้อมาที่ราคาแพงมาก ที่ระดับ PE10 18x PB 2x ราคานี้แทบจะเกือบเป็นราคาสูงที่สุดของเจ้า Burlinton เนี้ยเลยน่ะเนี้ย

ซึ่งพิจารณาจากตัวเลข ROE ของบริษัทที่ 18-19% กว่าๆเนี้ยแสดงว่า Buffet ต้องมองว่าต่อไปรถไฟเนี้ยมันต้องโตระดับ 5% ขึ้นไปเลยน่ะเนี้ยถึงจะสามารถให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นระดับ 15% ขึ้นไปที่ปกติเขาตั้งไว้เป็นมาตรฐาน

แถมดูงบกระแสเงินสดเนี้ย จะเห็นว่ามันต้อง Reinvest สูงทีเดียวในอดีตเกือบสองเท่าของ Depre ดังนั้น FCF ที่เหลือในแต่ละปีจะน้อยกว่า NI อีก

... แต่ดูจากสถิติที่ผ่านมากกิจการรถไฟมันไม่ค่อยโตเท่าไหร่เลยในอดีต...ครั้งนี้คงเป็นการวัดวิสัยทัศน์อีกครั้งเลยของ Buffet ไม่รู้ว่า VI เมืองไทยถ้าลองดูตัวเลขการเงินเจ้า BNI เนี้ยจะมีใครเห็นจุดเด่นจนกล้าซื้อที่ราคาเนี้ยแบบ Buffet บ้างไหมเนี้ย หรือเขาเห็น Value ในการถือ 100% ในกิจการนี้ที่จะสามารถ Enhance Intrinsic Value ของตัวบริษัทได้อีก ... ใครนึกออกช่วยแนะที

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 1:20 pm
โดย Hughes
พี่ลูกอิสานเรารวมตัวกันไปซื้อ รฟท ไหมครับ  :lol:


แซวเล่นนะคับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 2:16 pm
โดย killyz
[quote="Hughes"]พี่ลูกอิสานเรารวมตัวกันไปซื้อ รฟท ไหมครับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 2:36 pm
โดย por_jai
:8) ไม่รู้ไปซื้อขบวนไหนมา
     หวังว่าอย่าไปซื้อผิดขบวนนะ
     เห็นโวยุ่มขบวนแรกอาจทำให้เข้าใจผิดได้
     
รูปภาพ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 2:38 pm
โดย por_jai
:8) ที่ถูกต้องซื้อขบวนนี้นะ

รูปภาพ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 4:51 pm
โดย mprandy
ดูรูปแรกแล้วน่าจะเป็นหางมัน ส่วนหัวขบวนเป็นรูปหลังหรือเปล่า  :8)

รฟท. เป็นกิจการที่จะ take ก็คงเพราะอสังหาริมทรัพย์มหาศาลที่เขาถือครองอยู่ มากกว่าจะเป็นตัวกิจการหลักนะ

ระบบรางรถไฟของเราเป็นระบบที่ไม่มีประเทศไหนเขาใช้กันแล้ว (1 เมตร) จะปรับปรุงก็ต้องทำทั้งระบบ คงลงทุนอีกบาน แถมมีคุณภาพพนักงานอย่างที่เห็นเป็นข่าวกัน

ดำเนินกิจการไปคงเจ๊ง :lovl:

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 05, 2009 3:26 pm
โดย 121
พลวัต รถไฟ กับ โลกหลังวิกฤต

รถไฟ กับ โลกหลังวิกฤต

บทความวันนี้  ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับรถไฟไทย ซึ่งมองไม่เห็นอนาคตเอาเสียเลย แต่เป็นเรื่องของรถไฟที่อเมริกา

เมื่อวานนี้  มหาเศรษฐีหุ้นวอร์เรน  บัฟเฟต ได้ตัดสินใจให้บริษัทเพื่อการลงทุนหุ้นของเขาBerkshire  Hathaway  เข้าซื้อหุ้นบริษัทเดินรถไฟ Burlington Northern Santa  Fe ด้วยเงินลงทุนมากถึง 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯในรูปทั้งเงินสดและใบหุ้น ถือเป็นดีลธุรกิจใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท   ใหญ่กว่าเมื่อเข้าซื้อกิจการในโคคา-โคล่า เมื่อนานมาแล้วด้วยซ้ำ

ถ้าหากไม่ลืมข้อเท็จจริงกัน ผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของ Berkshire Hathaway ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นไมโครซอฟท์ของบิลล์ เกตส์ นั่นเอง

นี่มิใช่ครั้งแรกของการลงทุนในกิจการรถไฟของวอร์เรน บัฟเฟต สองปีก่อน เขาก็เคยลงทุนเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่ง   และเริ่มมีกำไรกลับคืนมา  กิจการรถไฟครั้งนั้นวิ่งผ่านเส้นทางมิดเวสท์ของอเมริกาซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งเอธานอลสำคัญของอเมริกาในขณะนี้เสียแล้ว หลังจากมีการลงทุนแปลงข้าวโพดเป็นเอธานอลกันมหาศาลในช่วงราคาน้ำมันแพง

ทำไมกิจการรถไฟ(ไม่นับรถไฟไทย)ถึงกลับมากลายเป็นธุรกิจแห่งอนาคตสำหรับนักลงทุนอย่างบัฟเฟต? คำตอบมีอยู่ว่า มันเป็นการเดิมพันอนาคตของเศรษฐกิจสหรัฐฯว่าจะฟื้นตัวแน่นอน

คำพูดของกลุ่มทุนแสวงหากำไรอย่างบัฟเฟตนี้  หากมาพูดในเมืองไทย  มีหวังพวกเอ็นจีโอ และพวกคลั่งคุณธรรม รวมทั้งสื่อเกลียดทุนนิยมแบบเกลียดตัวกินไข่ทั้งหลาย ได้รุมถล่มจมดินแน่นอน เพราะไม่สบอารมณ์และไม่สอดรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่อเมริกา ได้รับการยกย่องไปทั่วเมืองว่า นี่คือ การตัดสินใจที่สร้างเกณฑ์มาตรฐานใหม่ให้กับสังคมหลังยุควิกฤตกันทีเดียว

กระบวนทัศน์แบบอเมริกาที่ดูเหมือนจะไปด้วยกันไม่ได้เลยกับของไทยอย่างที่บัฟเฟต กระทำนั้น เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจต่อระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมที่หยั่งรากลึกไม่เท่าเทียมกันชัดเจนยิ่งนัก

โมเดลของการออกแบบเศรษฐกิจอเมริกาซึ่งได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญและกลายเป็นฐานรากของปรัชญาเศรษฐกิจของคนอเมริกันนั้น เชื่อในพลังมนุษยนิยมของปัจเจกบุคคล และวิสาหกิจเอกชนเป็นฐานรากในการสร้างสังคม ไม่ใช่ให้รัฐเป็นพลังขับเคลื่อนชี้นำ

กิจการรถไฟของอเมริกานับแต่เริ่มต้น  ก็คือต้นแบบวิสาหกิจอเมริกันที่ชัดเจน เครือข่ายรางรถไฟและกิจการขนส่งทางรถไฟของอเมริกานั้น ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มทุนที่เรียกว่า "เศรษฐีนักปล้น" หรือ robber barons มาตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว จากภาคตะวันออก เคลื่อนไปจนสิ้นสุดที่ฝั่งตะวันตก

คำว่าเศรษฐีนักปล้นที่เคียงคู่มากับกิจการรถไฟของอเมริกา หมายถึงการที่กลุ่มทุนรวมตัวกันเสนอตัวขอสัมปทานผูกขาดกิจการรถไฟจากรัฐบาลกลางของอเมริกา จากนั้นก็ระดมทุนจากตลาดหุ้น  ดำเนินการก่อสร้างและหาประโยชน์จากระบบภายใต้กติกาที่ชัดเจน ซึ่งมีทั้งแง่บวกและลบต่อเศรษฐกิจ แต่เขาถือว่าผลบวกมีมากกว่าลบ

การก่อสร้างทางรถไฟในอเมริกาถือเป็นตำนานระดับโลกของการขนส่งที่รัฐมีบทบาทน้อย และยังเป็นตำนานของการนำแรงงานจีนจากเมืองจีนเข้ามาเป็นแรงงานหลักในการก่อสร้างอย่างจริงจัง

คำว่า เศรษฐีนักปล้น ของกิจการรถไฟอเมริกา จึงไม่ได้มีความหมายเลวร้ายมากมายดังที่มีคนพยายามสร้างภาพ โดยเฉพาะเมืองไทย ที่มีนักวิชาการเพี้ยนแปลงความหมายนี้เป็นคำที่มีความหมายทางการเมืองว่า  "ทุนสามานย์"(เพื่อให้หมายเจาะจงถึงทักษิณ ชินวัตร และพวก)

กิจการรถไฟอเมริกาในอดีต คือสัญญะของการเคลื่อนตัวสร้างเครือข่ายการขนส่งทางบกทั่วประเทศอย่างมีความหมาย จากภาคตะวันออกไปสู่ตะวันตก ทำนองเดียวกับ การรถไฟในเอเชีย กลายเป็นสัญญะของความทันสมัยและการเป็นตะวันตกของชาติและอาณานิคมต่างๆ

วันนี้ กิจการรถไฟในอเมริกาที่เคยซบเซามาต่อเนื่อง เพราะถูกถนนและกิจการรถยนต์เข้าแย่งชิงธุรกิจ  เริ่มกลับมามีความสำคัญรอบใหม่กันอีกแล้ว และกิจการรถไฟ ก็เป็นธุรกิจที่พึ่งพาทุนเป็นหลัก การที่รัฐบาลอเมริกันไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการรถไฟ แต่ปล่อยให้เอกชนตัดสินใจลงทุนเอง  จึงเป็นการสานต่อปรัชญาทุนนิยมเก่าแก่ของตนเองอย่างมีความหมาย

วอร์เรน บัฟเฟต กำลังจะกลายเป็นเศรษฐีนักปล้นรุ่นใหม่ของกิจการรถไฟอเมริกา เขาเชื่อมั่นว่า การลงทุนของเขาจะทำกำไรสวยงาม เพราะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำนี้ การซื้อกิจการมีต้นทุนต่ำ เขาเคยซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของกิจการหลายแห่งที่ล้มลงและซวนเซเมื่อปีก่อนด้วยเงินสูงถึง  1.451 หมื่นล้านดอลลาร์ และตอนนี้รับเงินปันผลผสมกับส่วนต่างราคาหุ้นที่วิ่งฉิวของบริษัทอย่าง Wrigley, General Electric และ Goldman Sachs ก็กำไรมหาศาลเกินคุ้มแล้ว  การเดิมพันใหม่นี้  เขาก็เชื่อว่า  จะดีกว่าเดิมเสียอีก  เพราะหากเศรษฐกิจฟื้นตัวเมื่อใด สินค้าที่จะใช้บริการก็จะมากมายมหาศาล

นั่นหมายถึงการลงทุนใหม่ที่จะเพิ่มหัวรถจักร   และเพิ่มความเข้มข้นของบริการให้รวดเร็ว จะติดตามมาอย่างมีระสิทธิภาพมากขึ้น

พูดกันตรงๆ   ไม่ต้องอ้อมค้อม  หรืออ้างคุณธรรมแบบคนอย่างหมอประเวศ  หรือ อาจารย์ระพี  หรือ คุณอานันท์ หรือคุณชวน เป็นวัฒนธรรมแบบคาวบอยอเมริกันของแท้ ใช้ในสังคมกำมะลอได้ยากยิ่งนัก  แต่เป็นการยืนยันธาตุแท้ว่าทุนนิยมอเมริกันนั้น  สามารถจะกลับมาแข็งแกร่งได้ หลังการเจ็บป่วยเข้าไอซียูมาแล้ว

ในความน่าสนใจของโมเดลการลงทุนในกิจการรถไฟของอเมริกานับแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันก็คือ เมื่อเอกชนเป็นผู้ตัดสินใจลงทุน เป้าหมายหลักของกิจการก็คือ ขานรับความเข้มแข็งทางธุรกิจและเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนเป้าหมายรองลงไปคือการสร้างเครือข่ายยุทธศาสตร์ทางทหาร ความมั่นคง หรือ อื่นๆ ดูจะถูกซ่อนเอาไว้มิดชิด

กุญแจสำคัญที่ถือเป็นหลักของกิจการรถไฟ ก็คือ การสนองตอบความต้องการในเรื่อง"ความเร็ว"ของการไหลเวียนสินค้าและผู้คนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และดูเหมือนว่า เมื่อสิ้นสุดยุคของรถยนต์ หรือการขนส่งทางถนนที่แสนจะสิ้นเปลืองผ่านไปแล้ว นักคิดและธุรกิจจำนวนมาก ก็เริ่มมองเห็นว่ารถไฟหรือขนส่งระบบรางคือแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เป็นคำตอบเบ็ดเสร็จสำหรับการขนส่งทางบกอันสำคัญยิ่ง จะขาดเสียไม่ได้

เรื่องนี้ เป็นวิสัยทัศน์ และปรัชญาสำคัญสำหรับการออกแบบเศรษฐกิจและการเมืองของชาติในอนาคตอย่างหนึ่ง  ซึ่งชาติต่างๆนับแต่ญี่ปุ่น  ยุโรป  และจีน ได้เดินล่วงหน้าไปมากแล้ว โดยมีอเมริกาตามมาติดๆ

บัพเฟตต์เจ๋งมาก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 05, 2009 4:16 pm
โดย genedemonvi
เท่าที่ตามอ่านแบบเงียบๆมานาน กรุทู้นี้อดไม่ได้ที่จะแสดงความคิดเห็นสักหน่อย ตามประสาคนที่มีความรู้แค่หางอึ่ง

ผมว่า ปู่บัพ โชว์วิสัยทัศน์สะเทือนโลกอีกครั้งแล้วครับ ในประเทศอย่าง อเมริกา ที่สร้างประเทศด้วยรางรถไฟ ปู่บัพ ยังไงก้ได้กำไรงามแน่ๆ

ต่อให้เราไม่ต้องคิดไกล หรือใช้ตัวเลขมาพิจารณาการลงทุนครั้งใหญ่ของปู่

ระบบขนส่งแบบราง มีข้อดีที่เห็นได้ชัดมากคือ ต้นทุนต่ำ ผูกขาดเส้นทางการขนส่ง และไม่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานมากนัก

ดังนั้นตราบใดที่ ระบบเศรษฐกิจยังคงเดินหน้าต่อไป การขนส่งสินค้าก็ต้องดำเนินต่อไปอย่างนั้น

และหุ้นของปู่บัพ ก็ยังเป็นหุ้นที่ ถือ เอาไว้ได้ ตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน เช่นเดิม

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 05, 2009 4:50 pm
โดย c
S&P เล็งลดเครดิต"เบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์

Posted on Thursday, November 05, 2009
              สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตรียมลดอันดับเครดิตบริษัท เบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ หลังจากเบิร์กเชียร์เข้าซื้อกิจการบริษัท เบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทสร้างทางรถไฟขนาดใหญ่ เป็นเงินมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการเข้าซื้อกิจการเบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ จะส่งผลให้สภาพคล่องและเงินทุนในธุรกิจประกันของเบิร์คเชียร์ ทำให้เบิร์คเชียร์อาจถูกลดอันดับเครดิตลงจากระดับปัจจุบันที่ระดับ AAA

ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เบิร์กเชียร์ถูกมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และฟิทช์ เรทติ้งส์ ลดอันดับเครดิตมาแล้ว เนื่องจากการลดลงของมูลค่าตราสารที่เกี่ยวข้องกับราคาหุ้นในตลาดส่งผลให้บริษัทขาดทุนรายไตรมาสเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ขณะที่ธุรกิจประกันซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเบิร์คเชียร์ถูกลดขนาดลงในปีนี้ เพื่อรักษาฐานเงินทุนเอาไว้

ด้านนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้เหตุผลของการเข้าซื้อกิจการเบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ ว่า เขามั่นใจในอนาคตของเศรษฐกิจสหรัฐฯจึงเปิดทางให้เบิร์คเชียร์ทุ่มซื้อด้วยเงินสดจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึง 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เพื่อถือครองหุ้น 77.4% ในเบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ  



http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 2:18 am
โดย simplelife
mprandy เขียน:ระบบรางรถไฟของเราเป็นระบบที่ไม่มีประเทศไหนเขาใช้กันแล้ว (1 เมตร) จะปรับปรุงก็ต้องทำทั้งระบบ คงลงทุนอีกบาน แถมมีคุณภาพพนักงานอย่างที่เห็นเป็นข่าวกัน
ยังมีคนใช้อยู่เยอะแยะครับ มาเลเซียก็ใช้ ไม่งั้นรถไป Butterworth วิ่งมาที่หัวลำโพงไม่ได้หรอกครับ และที่สำคัญลองแก้ตอนนี้ รถขบวนที่วิ่งอยู่อย่าง Eastern & Oriental Express - http://www.orient-express.com/web/eoe/e ... xpress.jsp จะทำยังไง ถ้าจำไม่ผิดมีพวกขบวนสินค้าจากมาบตาพุดไปประเทศเพื่อนบ้านด้วย และกลายเป็นว่าหมดโอกาสการเป็น hub รถไฟของย่านนี้ในอนาคตด้วย ทั้งๆที่เราอยู่ตรงกลาง

จะว่าไปรถไฟมาเลเซียก็ราง 1m เหมือนกัน แถมยังกำไรด้วย ทำไมเราทำไม่ได้หละครับ ถ้าจะปรับขนาดจริงๆสู้เอาเงินมาสร้างรางคู่ดีกว่าเยอะเลยครับ เพิ่มขนาดรางแล้วไม่เห็นได้อะไรขึ้นมาเลย ผ่านสี่แยกหรือผ่านชุมชนก็ยังต้องชะลออยู่ดีครับ ยิ่งรอหลีกยิ่งนานเข้าไปอีก

เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับขนาดรางรถไฟ เชื่อหรือไม่ว่าตอนสมัยรัชกาลที่ 5 รางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดความกว้างของราง 1.435 เมตรครับ แต่ตอนที่สร้างสายใต้ รัฐบาลไปทำการกู้ยืมจากอังกฤษ แล้วเลยโดนบังคับให้ทำรางของสายใต้ขนาดเดียวกับมาเลย์ (คือ 1 เมตร) เพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าข้ามมาได้ หลายปีหลังจากนั้นเพื่อที่จะสามารถขนส่งสินค้าภายในประเทศได้สะดวก ไทยเราเลยเปลี่ยนรางมาตรฐานที่มีอยู่ กลับไปเป็นราง 1m ทั้งหมดครับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 10:50 am
โดย Anunta
บทความนี้ใครเขียนครับ ?

[quote="121"]พลวัต รถไฟ กับ โลกหลังวิกฤต

รถไฟ กับ โลกหลังวิกฤต

บทความวันนี้

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 12:33 pm
โดย Anunta
Quotes:-

...rail has a competitive advantage over trucking because it is more fuel-efficient and greener...

... Railroads, as Burlington tells us, "move 40 percent of our nation's freight, but account for just 2.2 percent of all transportation-related greenhouse gas emissions."...

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 10:13 pm
โดย chode
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/t ... 11964.html

มีคนในpantip มาเล่าเรื่องดีลนี้
ลองวิจารณ์กันดูครับ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 11:07 pm
โดย paul_n
ต่อเนื่องมาจาก การซื้อ BNSF (Burlington Northen Santa's Fe)
Berkshire Hathaway Inc. Board of Directors Approves 50-for-1
Split of Its Class B Common Stock
FOR IMMEDIATE RELEASE November 3, 2009
Omaha, NE (BRK.A; BRK.B)—Berkshire Hathaway Inc.

Today announced that its Board of Directors approved a 50-for-1 split of its Class B Common Stock. The stock split is subject to the approval of Berkshire’s shareholders, who must approve an amendment to Berkshire’s
certificate of incorporation to increase Berkshire’s total number of authorized shares of common
stock, as well as the total number of authorized shares of Class B Common Stock, in order to
permit the consummation of this split. Berkshire’s Class A Common Stock is not being split.
Berkshire has not yet set the date for the special meeting of its shareholders to vote on the amendment to its certificate of incorporation, or the record date for the stock split.
The great majority of the stock issued by Berkshire in the BNSF acquisition announced today
will be “A” shares. “B” shares, however, will also be needed to accommodate holders of smaller
amounts of BNSF shares who opt for a share exchange rather than a cash payment.
By splitting Berkshire “B” shares 50-for-1, we can accommodate even the smallest holdings ofBNSF shares that elect a tax-free exchange.
Berkshire Hathaway and its subsidiaries engage in diverse business activities including property
and casualty insurance and reinsurance, utilities and energy, finance, manufacturing, retailing and
services. Common stock of the company is listed on the New York Stock Exchange, tradinsymbols BRK.A and BRK.B.
แม่เจ้า! 50 ต่อ 1 สำหรับ class B :shock: ตกประมาณ 2,000 กว่าบาท/ หุ้นแล้วครับ หุหุ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 09, 2009 9:10 pm
โดย py106
[quote="mprandy"]ดูรูปแรกแล้วน่าจะเป็นหางมัน ส่วนหัวขบวนเป็นรูปหลังหรือเปล่า

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 10, 2009 4:07 pm
โดย purinho
BMCL ไง  รถไฟฟ้ามาหาเธอ

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 10, 2009 9:07 pm
โดย wiras
ระบบรางรถไฟที่ใช้กันมีหลายระบบ แต่ความกว้างขนาด 1.435 เมตร
เป็น Standard gauge ทีใช้กันประมาณ 60 เปอร์เซนต์ในโลกครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_rail_gauges
http://en.wikipedia.org/wiki/Standard_gauge

Berkshire Buys Burlington in Buffetts Biggest Deal

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 11, 2009 11:28 pm
โดย เทียน
แสดงว่าหุ้นที่เทียบเท่าน้ำมันน่าจะดี

buffet

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 18, 2009 11:07 am
โดย naijan
Berkshire Hathaway รุกลงทุนใน Nestle และ Exxon Mobil

แรงกดดันจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งหล่นฮวบ จนกลายมาเป็นโอกาสการลงทุนอีกครั้งของบริษัท Berkshire Hathaway ของมหาเศรษฐี Warren Buffet

บริษัท Berkshire Hathaway ของมหาเศรษฐี Warren Buffet บอกว่า เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทเพิ่มระดับการลงทุนในกิจการยักษ์ใหญ่หลายแห่ง รวมทั้ง Nestle, Exxon Mobil และ Wal-Mart Stores

ตามข้อมูลของ ก.ล.ต.สหรัฐฯนั้น ล่าสุด Berkshire Hathaway ถือใบแสดงสิทธิในหุ้นผู้ผลิตอาหารอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Nestle รวมกันถึง 3.4 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 144.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถือหุ้น 1.28 ล้านหุ้นใน Exxon Mobil ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานอันดับหนึ่ง ในมูลค่ารวมที่ 87.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วน Wal-Mart ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Berkshire Hathaway ก็เพิ่งซื้อหุ้นเพิ่มอีก 90% มาอยู่ที่ 37.8 ล้านหุ้น หรือราว 1.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มนี้ไม่ได้เป็นเรื่องน่าประหลาดใจสำหรับคนในแวดวงการลงทุน เพราะต่างก็รู้กันดีอยู่ว่า นโยบายของ Buffet นั้นเน้นการเข้าลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าต่ำเกินควร แม้ทั้ง 3 บริษัทข้างต้นจะเป็นชื่อที่คุ้นหูไปทั่วโลก แต่ราคาซื้อขายในตลาดล่าสุดก็ยังไม่ได้สูงนัก
global money
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Glo ... fault.aspx

buffet

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 23, 2009 11:58 am
โดย naijan
เซียนแห่ลงทุนทอง แต่ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ...ไม่

โลกยังคงหมุนรอบทองคำ สินทรัพย์ที่กำลังร้อนแรงมากที่สุดตัวหนึ่งในตลาดล่วงหน้าทั่วโลก

ข่าวคราวล่าสุด คือการประกาศตั้งกองทุนลงทุนตลาดทองคำอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้ ของ จอห์น พอลสัน ใน วันเดียวกับที่ราคาทองวิ่งขึ้นทำสถิติเป็น ประวัติการณ์ที่ 1,152.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของ พอลสัน สวนทางกับนักลงทุนชื่อดัง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ซึ่งไม่ถวิลหากำไรจาก "ทองคำ" หรือผลิตภัณฑ์การเงินใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง พอร์ตการลงทุนของเบิร์กไชร์ แฮธอะเวย์ ไม่มีทองคำอยู่เลย แม้แต่หุ้นบริษัทเหมืองทองคำ ก็ไม่มีสักรายเดียว

เดวิด เพตต์ แห่งไฟแนนเชียลโพสต์ ของแคนาดา ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ไม่มีทองคำในพอร์ตลงทุนของเบิร์กไชร์ฯ เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะที่ผ่านมา บัฟเฟตต์คาดการณ์มาตลอดว่า จะเกิดภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่ตามมาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ประกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี แต่แทนที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับทองคำ บัฟเฟตต์กลับกำลังซื้อหุ้นในบริษัทอื่น ๆ เช่น เอ็กซ์ซอน โมบิล เบอร์ลิงตัน นอร์เธิร์น ซานตาเฟ คอร์ป วอล-มาร์ต และเนสท์เล่ อีกทั้งยังคงถือหุ้นข้างมากในอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และโคคา-โคลา

เพตต์สรุปว่า บัฟเฟตต์อาจมีกลยุทธ์เป็นของตัวเองในการรับมือกับเงินเฟ้อ โดยหากพิจารณาจากทฤษฎีของบัฟเฟตต์ ดูเหมือนจะสรุปว่า การปกป้องผลกระทบจากเงินเฟ้อที่ดีที่สุด มาจากการลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการส่งผ่านภาระดังกล่าวออกไปในรูปของการเพิ่มราคาสินค้า บริษัทนั้น ๆ อาจมีอำนาจในการกำหนดราคา หากบริษัทสามารถควบคุมทรัพยากรที่หายาก (เอ็กซ์ซอนและเบอร์ลิงตัน) หรือหากบริษัทดังกล่าวครอบครองตราผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค (เนสท์เล่และโคคา-โคล่า) หรือเป็นเพราะบริษัท ดังกล่าวเป็นคู่แข่งที่มีประสิทธิภาพและมีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดนั้น ๆ (วอล-มาร์ต) ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนครองสัดส่วนการลงทุนข้างมากในพอร์ตของเบิร์กไชร์ฯ

มองในแง่หนึ่ง การไม่มีทองคำในพอร์ตของบัฟเฟตต์ ไม่ได้หมายความว่า เขามองข้ามตลาดคอมมอดิตี้ โดยจากเอกสารที่บริษัทเบิร์กไชร์ฯ ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ เขาซื้อหุ้นบริษัทเอ็กซ์ซอน โมบิล และยังมีหุ้นอยู่ในบริษัทโคโนโกฟิลิปส์ บริษัทพลังงานอีกรายหนึ่ง

ปัจจุบัน บัฟเฟตต์ถือครองใบแทนใบหุ้น (เอดีอาร์) ของเนสท์เล่ ที่ฝากไว้กับศูนย์รับฝากหุ้นอเมริกัน กรณีเป็นหุ้นของบริษัท ต่างชาติ อยู่ทั้งสิ้น 3.4 ล้านเอดีอาร์ มีมูลค่าเท่ากับ 114.7 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกัน ก็ถือหุ้น 10% ในกลุ่มคราฟต์ด้วย

นอกจากนี้ นับถึง 30 กันยายนที่ผ่านมา เบิร์กไชร์ฯได้เพิ่มการถือหุ้นในบริษัท วอล-มาร์ต ของสหรัฐ อีกราว 90% เป็น 37.8 ล้านหุ้น จากที่ถืออยู่ 19.9 ล้านหุ้น ณ สิ้นไตรมาสก่อน ซึ่งเท่ากับว่าบัฟเฟตต์เพิ่มมูลค่าการถือหุ้นในบริษัทนี้ราว 878 ล้านดอลลาร์ ในเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น

และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา บัฟเฟตต์ตกลงซื้อหุ้น 77.4% บริษัท เบอร์ลิงตัน นอร์เธิร์น บริษัทบริหารขนส่งสินค้าทางรถไฟ ในวงเงิน 26 พันล้านดอลลาร์ ถือเป็นข้อตกลงที่มีมูลค่ามากที่สุด เท่าที่บัฟเฟตต์เคยทำข้อตกลงทางธุรกิจมา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างไปร่วมงานประชุมนัดหนึ่ง บัฟเฟตต์ย้ำอีกครั้งว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจยากลำบาก การอยู่วงนอก คงจะไม่เกิดประโยชน์อะไร "ตลาดที่เลวร้าย ในภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย คือเพื่อนของคุณ" พร้อมทิ้งท้ายว่า คงเป็นเรื่องผิดพลาดอย่างมหันต์ หากพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจใน วันนี้ แล้วตัดสินว่า ควรจะซื้อ หรือไม่ซื้อหุ้น
prachachart
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2009-11-23