หน้า 1 จากทั้งหมด 7

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 28, 2009 3:16 pm
โดย vva
คุณคิดเห็นและวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวไหน
จะได้รับประโยชน์ค่อนข้างสูงครับ

:D  :D  :D

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 29, 2009 5:10 am
โดย phakphum
พูดถึง 3G ก็ต้อง ADVANC ครับ...
แต่ผมคาดว่ายังไง 3G 1-2 ปีนี้ยังไม่น่าจะเกิดแน่นอน เพราะมีหน่วยงานที่เสียผลประโยชน์อีกจำนวนมากที่เตรียมฟ้อง กทช. ทั้ง TOT ,CAT และนักวิชาการ(ผู้ปกป้องประโยชน์ของประชาชน) ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไรกับ บมจ. ที่ต้องรักษาประโยชน์ผู้ถือหุ้น หาก 3G จะมาจิงๆคงต้องรอไปใกล้ๆหมดสัมประทานครับประมาณ 3-5 ปี

ส่วน ไทยเข้มแข็ง ... ไม่ทราบครับ .... รอฟังด้วยคน

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 31, 2009 1:06 am
โดย simplelife
ขอคุยนิดนึงเกี่ยวกับ 3G

ผมพอเข้าใจครับ เพราะคุยกับหลายๆคน จะชอบพูดเป็นคำเดียวกันว่า 3G ใช้แล้วจะดี ใช้แล้วจะสะดวก เน็ตเร็วทุกที่ ไม่ต้องพึ่ง DSL ประเทศเพื่อนบ้านเขามีใช้ไปถึงไหนแล้ว ทำไมเราล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน (ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไม เราต้องมีก่อนเขา) ใช้ดูดิจิตอลทีวีได้ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะเข้าถึงท้องไร่ท้องนาตามชนบท ฯลฯ และอีกสารพันล้านเหตุผล สำหรับคนที่"ชอบ" (หรืออย่างน้อยก็"ใช้") เทคโนโลยี

แต่วิเคราะห์ก่อนอย่างเป็นกลางสิครับ ว่าในแง่เครือข่าย อย่าง DTAC หรือ ADVANC แล้ว 3G จะทำกำไรอะไรให้คุณขนาดไหน คุ้มค่าการลงทุนขนาดไหน ลองถามตัวเองดูก่อนสิครับ ว่าถ้าเครือข่ายเขาเก็บค่าบริการเิพิ่มจากตรงนี้ เพิ่มอีกซัก 20% (น้อยแล้วนะครับ) หรือถ้าเครือข่ายที่ตัวเองใช้ไม่มี 3G ถามตัวเองดูก่อนสิครับว่าจะเปลี่ยนเบอร์ไปใช้อีกค่ายนึงหรือเปล่า พอมี 3G แล้วคุณจะใช้บริการเสริมอื่นๆเพิ่มขึ้นขนาดไหน หรือคุณจะยอมจ่ายเพื่อ 3G ขนาดไหน เมื่อไรจะคุ้มค่าอุปกรณ์ที่ลงทุนไป

ถ้าเข้าใจไม่ผิด 3G บริหารช่องสัญญาณบริการ ต่อความถี่ได้ดีกว่าระบบ ปัจจุบัน แต่ อัตราการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือของเรามีแค่ไหนครับ ช่องสัญญาณปัจจุบันเต็มอยู่หรือเปล่า ในความเห็นของคนไม่ได้อยู่ในวงการอย่างผม ถ้าไม่ใช่เรื่อง Maintenance ที่ต่อไปในอนาคตอุปกรณ์ 2G อาจจะไม่มีขาย (ซึ่ง Service Provider ก็โดนบังคับกลายๆให้อัพเกรด) ผมยังมองไม่เห็นประโยชน์ชัดๆของ 3G กับบริษัทเครือข่ายเลยครับ

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 31, 2009 7:06 am
โดย support
ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี่เป็นสิ่งที่เข้าใจและคาดการ์ณยากครับ นี้เป็นเหตุผลที่ buffet หลีกเลี่ยงหุ้นประเภทนี้

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 31, 2009 8:03 am
โดย newbie_12
ขอคุยนิดนึงเกี่ยวกับ 3G

ผมพอเข้าใจครับ เพราะคุยกับหลายๆคน จะชอบพูดเป็นคำเดียวกันว่า 3G ใช้แล้วจะดี ใช้แล้วจะสะดวก เน็ตเร็วทุกที่ ไม่ต้องพึ่ง DSL ประเทศเพื่อนบ้านเขามีใช้ไปถึงไหนแล้ว ทำไมเราล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน (ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไม เราต้องมีก่อนเขา) ใช้ดูดิจิตอลทีวีได้ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะเข้าถึงท้องไร่ท้องนาตามชนบท ฯลฯ และอีกสารพันล้านเหตุผล สำหรับคนที่"ชอบ" (หรืออย่างน้อยก็"ใช้") เทคโนโลยี

แต่วิเคราะห์ก่อนอย่างเป็นกลางสิครับ ว่าในแง่เครือข่าย อย่าง DTAC หรือ ADVANC แล้ว 3G จะทำกำไรอะไรให้คุณขนาดไหน คุ้มค่าการลงทุนขนาดไหน ลองถามตัวเองดูก่อนสิครับ ว่าถ้าเครือข่ายเขาเก็บค่าบริการเิพิ่มจากตรงนี้ เพิ่มอีกซัก 20% (น้อยแล้วนะครับ) หรือถ้าเครือข่ายที่ตัวเองใช้ไม่มี 3G ถามตัวเองดูก่อนสิครับว่าจะเปลี่ยนเบอร์ไปใช้อีกค่ายนึงหรือเปล่า พอมี 3G แล้วคุณจะใช้บริการเสริมอื่นๆเพิ่มขึ้นขนาดไหน หรือคุณจะยอมจ่ายเพื่อ 3G ขนาดไหน เมื่อไรจะคุ้มค่าอุปกรณ์ที่ลงทุนไป

ถ้าเข้าใจไม่ผิด 3G บริหารช่องสัญญาณบริการ ต่อความถี่ได้ดีกว่าระบบ ปัจจุบัน แต่ อัตราการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือของเรามีแค่ไหนครับ ช่องสัญญาณปัจจุบันเต็มอยู่หรือเปล่า ในความเห็นของคนไม่ได้อยู่ในวงการอย่างผม ถ้าไม่ใช่เรื่อง Maintenance ที่ต่อไปในอนาคตอุปกรณ์ 2G อาจจะไม่มีขาย (ซึ่ง Service Provider ก็โดนบังคับกลายๆให้อัพเกรด) ผมยังมองไม่เห็นประโยชน์ชัดๆของ 3G กับบริษัทเครือข่ายเลยครับ
ผมเปรียบเทียบให้เห็นแบบนี้นะครับ

3G นั้นพัฒนาออกมาเพื่อรองรับการสือสารข้อมูล (DATA) หรือพูดเป็นไทยว่า อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย

ประโยชน์ของ internet มีมากแค่ไหนคงไม่ต้องอธิบาย และ internet ความเร็วสูงนั้น ผู้ที่ใช้ได้ ก็จำกัดอยู่แค่ใน กทม ปริมนฑล และหัวเมืองใหญ่ๆเท่านั้น หากคนต่างจังหวัดไกลๆต้องการใช้ internet ความเร็วสูง ก็ต้องรอลากสายโทรศัพท์ไป (ลองนึกภาพการขยายพื้นที่บริการโทรศัพท์บ้านกับโทรมือถือดู)

ส่วนเรื่องราคาจะขึ้น 20% นั้น ไม่เกี่ยวครับ คือต้องแยกระหว่างบริการ Voice กับ DATA ใครซื้อโทรศัพท์มาโทรอย่างเดียว ก็ใช้ 2G ไปครับ เค้าก็ไม่ได้จะขึ้นราคาอะไร ตอนนี้แข่งกันจนค่าโทรถูกมากๆ

ส่วนใครต้องการใช้ Internet ก็ใช้ 3G ไปไงครับ แยกกัน ไม่เกี่ยว

ส่วนการลงทุนจะคุ้มหรือไม่คุ้ม มันต้องคุ้มแน่ครับ เพราะถ้าไม่คุ้มพวก Operator คงไม่เตรียมเงินลงทุนไว้ และพร้อมที่จะลงทุนทุกเวลาที่ Licenses พร้อม

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 31, 2009 3:11 pm
โดย simplelife
newbie_12 เขียน:ผมเปรียบเทียบให้เห็นแบบนี้นะครับ

3G นั้นพัฒนาออกมาเพื่อรองรับการสือสารข้อมูล (DATA) หรือพูดเป็นไทยว่า อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย

ประโยชน์ของ internet มีมากแค่ไหนคงไม่ต้องอธิบาย และ internet ความเร็วสูงนั้น ผู้ที่ใช้ได้ ก็จำกัดอยู่แค่ใน กทม ปริมนฑล และหัวเมืองใหญ่ๆเท่านั้น หากคนต่างจังหวัดไกลๆต้องการใช้ internet ความเร็วสูง ก็ต้องรอลากสายโทรศัพท์ไป (ลองนึกภาพการขยายพื้นที่บริการโทรศัพท์บ้านกับโทรมือถือดู)

ส่วนเรื่องราคาจะขึ้น 20% นั้น ไม่เกี่ยวครับ คือต้องแยกระหว่างบริการ Voice กับ DATA ใครซื้อโทรศัพท์มาโทรอย่างเดียว ก็ใช้ 2G ไปครับ เค้าก็ไม่ได้จะขึ้นราคาอะไร ตอนนี้แข่งกันจนค่าโทรถูกมากๆ

ส่วนใครต้องการใช้ Internet ก็ใช้ 3G ไปไงครับ แยกกัน ไม่เกี่ยว

ส่วนการลงทุนจะคุ้มหรือไม่คุ้ม มันต้องคุ้มแน่ครับ เพราะถ้าไม่คุ้มพวก Operator คงไม่เตรียมเงินลงทุนไว้ และพร้อมที่จะลงทุนทุกเวลาที่ Licenses พร้อม
อย่างนั้น ถามคุณบี้กลับว่า ตอนนี้คนกลุ่มนี้(ที่บอกว่าไม่ได้อยู่ตามหัวเมืองใหญ่) มีความต้องการอินเตอร์เน็ตขนาดไหน หรือใช้อินเตอร์เน็ตแบบไหนอยู่หรือครับ จ่ายค่าบริการอยู่เท่าไรต่อเดือน พอมี 3G มาแล้ว เงินส่วนนี้(หรือมากกว่านี้)จะเข้ามาที่ Provider เท่าไร และพูดก็พูดเถอะครับ ว่าถ้า 3G เริ่มติดตั้งจริงๆ ก็คงจะต้องเริ่มที่เมืองใหญ่ๆ(อย่างกทม หรือเชียงใหม่)ก่อนอยู่ดี กลุ่มผู้ใช้ Iphone คงจะ Happy ขึ้น รายได้ส่วนนี้จากที่เคยจ่ายเข้า GPRS/Edge ก็ไปเข้า 3G แทน ไม่รู้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน อย่างที่ผมยกตัวอย่างว่า ถ้าขึ้นราคาค่า airtime 3G ให้แพงกว่า GPRS/Edge ปัจจุบันสัก 20% ถามว่ามีคนยอมจ่ายกันแค่ไหน จริงๆน่าจะถามว่า จะมีคนออกมาโวยวายกันเยอะขนาดไหน

ถ้าจะเอาเรื่องคุ้มทุนจริงๆ คงจะต้องไปดูเรื่องสัญญาสัมปทานครับ ที่ส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเอกชนกับการสื่อสาร/องค์การโทรศัพท์จะดีขึ้นสำหรับเครื่องข่าย ในแง่นั้นดีกว่า ต้องไปดูรายละเอียดการประมูลอีกที แต่เข้าใจว่าแม้แต่ลูกค้า Voice ตัวเครือข่ายเองก็เสียส่วนแบ่งตรงนี้ลดลง รับกำไรมากขึ้น ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะย้ายลูกค้าไปสัญญาสัมปทานใหม่ยังไง ต้องขอโทษจริงๆครับ เพราะว่าผมไม่ใช่คนในวงการ และไม่เคยดูรายละเอียดจริงๆจังๆซักที เลยไม่มีรายละเอียดตัวเลขอะไรพวกนี้เลย

ตอนนี้ ผมกลายเป็นว่ามองเรื่อง 3G กลายเป็น Image ของบริษัทมากกว่าจะเป็นช่องทางกำไรในระยะสั้นๆครับ จุดคุ้มทุนบริษัทคงจะอีกหลายปี ถึงเวลานั้นลูกค้า(โดยเฉพาะในเมือง) คงจะกระจองอแงเอา 4G อีก

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 31, 2009 3:16 pm
โดย simplelife
support เขียน:ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี่เป็นสิ่งที่เข้าใจและคาดการ์ณยากครับ นี้เป็นเหตุผลที่ buffet หลีกเลี่ยงหุ้นประเภทนี้
จำได้ว่า Buffett บอกว่า

"Different people understand different businesses. The important thing is to know which ones you do understand and when you're operating within your circle of competence."

http://www.fool.com/boringport/2000/bor ... 000306.htm

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 01, 2009 1:49 am
โดย phakphum
ขออนุญาติเสริมเรื่อง 3G หน่อยนะครับ

หากพูดถึงในส่วนของความคุ้มค่าของ Operator กับการลงทุน 3G นั้น จากปัจจุบันที่ Operator ได้ให้บริการ DATA โดยใช้ Technology GPRS/Edge มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมองเห็นชัดเจนที่หัวเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ ซึ่งพอจะทำให้มองเห็นภาพรายได้หลักต่อไปจะเป็นจาก DATA ได้มากกว่า Voice ในอนาตคแน่นอนครับ
และหาก Operator ได้รับ Licenses 3G มาแน่นอนว่าก็ต้องสร้างรายได้ให้เร็วที่สุด โดยจะได้มาจากผู้ใช้ทั่วไปและบริษัทใหญ่ๆที่จำเป็นต้องส่ง DATA เพื่อธุรกิจ รวมถึงการสร้าง Content ที่มาจากบริษัทเองและผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ เพื่อให้บริษัทมี Growth เพิ่มจากปัจจุบัน

.... ถ้าได้นะครับ

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 01, 2009 12:37 pm
โดย [v]
ถ้าโลกมี 3G แล้วเราไม่มี ไม่พํฒนาต่อไป ประเทศจะเป็นยังไง คงเหมือนรถไฟไทยเป็นแน่ :x

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 01, 2009 2:08 pm
โดย satantuey
เรื่อง 3G ยังไงก็เกิดแน่ๆ  ได้ใช้ปลายปีหน้าแน่นอน   :8)  :8)

3G มีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจ  การพัฒนาของประเทศ  พูดให้เข้าใจง่ายๆแบบบ้านๆ  มันก็เหมือนระบบการคมนาคมขนส่ง  สมัยก่อนใช้ม้า วัว  ควายลากเกวียนขนส่งสินค้าหรือข้อมุลข่าวสาร  แต่พอมีการพัฒนาก็เปลี่ยนเป็นรถรา เครื่องบิน เรือ รถไฟ  ทำให้สะดวกสะบายรวดเร็วขึ้น

ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการ  ที่กลัวว่าจะแพงขึ้น  เท่าที่ดูรายละเอียดที่ทางกทช. ระบุเกี่ยวกับสัมปทาน  มีการกำหนดเพดานการคิดค่าบริการ  ไม่แพงเวอร์แน่นอน  อีกอย่างเท่าที่ทราบ  ประเทศไทยเราเป้ฯประเทศที่คิดค่าบริการด่าสื่อสารโทรคมนาคมที่มี ราคาถูกที่สุดในโลก ตอนนี้นะครับ(เห็นผู้บริหาร Dtac ที่เป็นฝรั่ง เคยให้สัมภาษณ์ไว้

ผมว่าถึงเวลาแล้วแหละ  ที่ประเทศเราจะมีซะที  อายเพื่อนบ้านเค้า เค้าจะไป 4G กันแล้ว

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 1:10 pm
โดย kit66
ธันวาคมนี้ก็ได้ใช้แล้วนี่ครับ ของ TOT

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 1:51 pm
โดย kaiyai99
จริงๆ ตอนนี้ 3G มีใช้งานแล้ว และสามารถใช้งานได้เลย
ค่ายมือถือต่างๆ ก็มี 3G ใช้งานหมดแล้วบนคลื่นความถี่เดิม  AIS ทดลองและมีใช้งานแล้วที่เชียงใหม่ DTAC มีใช้งานแล้วที่ ภูเก็ต และล่าสุดได้โฆษณา ที่เห็นภาพผ่านมือถือนั่นคือ 3 G ส่วน TRUE ก็ทดสอบบนคลื่นความถี่เดิมแล้วใช้งานได้ดี แต่ทุกค่ายพร้อมใจกันไม่พูดถึงและพยายามออกข่าวว่าหาก 3G ไม่เกิด ประเทศล้าหลัง ไม่พัฒนา ซึ่งจริงๆแล้วตอนนี้ทุกค่ายทำได้เลยแต่ขอหยุดไว้ก่อน
  สิ่งที่ค่ายมือถือต่างๆ ต้องการไม่ใช่ 3G แต่เป็นคลื่นความถี่ หากเขาได้ความถี่ใหม่ เขาไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ 20-30 % ให้รัฐ ลองคิดดูว่ากำไรเขาจะเพิ่มขึ้นเท่าไร
  ยังมีอีกจุดที่ทุกฝ่ายไม่มีการพูดถึงคือ คลื่น 3G ที่ประมูลเป็นคลื่น 2.1Ghz คลื่นสาธารณะ หลายๆ หน่วยงานใช้คลื่นนี้ เช่น WIFI Wiless Microwave ต่อไปหากเขาประมูลคลื่นความถี่นี้ได้ หน่วยงานใดที่ใช้ Wiless คลื่นความถี่ตรงกับพวกเขาอาจจะต้องจ่ายเงินให้ค่ายมือถือก็ได้นะ เพราะของเขาได้มาถูกต้อง ของเราที่ใช้งานอยู่ก็เป็นของเถื่อนไป
 ส่วนหน่วยงานของรัฐ TOT มีคลื่นความถี่แล้วแต่ยังวางโครงข่ายไม่เรียบร้อย แต่มีอีกค่ายคือ CAT ตอนนี้ต่างจังหวัดสามารถใช้งาน 3G ได้แล้วและก็มีใช้งานอยู่ด้วย เป็น CDMA E-VDEO ความเร็วสูงสุดตอนนี้เป็น 3.1Gbps โดยนำอุปกรณ์มาเสียบเข้ากับ Notebook หรือ PC ก็สามารถใช้งาน Internet 3Mbps บนรถหรือเคลื่อนที่ได้ ส่วนภาพผ่านมือถือก็ทดสอบแล้วใช้งานได้แต่ยังไม่มีเคลื่องลูกข่ายจำหน่าย ส่วน กทม.และภาคกลาง CAT กำลังเจรจากับ Hutch เพื่อขอซื้ออีกไม่นานคงใช้ 3G ได้ ใครต้องการใช้ 3G ติดต่อได้ที่สำนักงาน CAT ทุกสาขา

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 2:09 pm
โดย newbie_12
[quote="kaiyai99"]จริงๆ ตอนนี้ 3G มีใช้งานแล้ว และสามารถใช้งานได้เลย
ค่ายมือถือต่างๆ ก็มี 3G ใช้งานหมดแล้วบนคลื่นความถี่เดิม

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 2:12 pm
โดย newbie_12
ถ้าว่างแนะนำไปอ่านข้อมูล 3G ได้ที่นี่ครับhttp://www.startpage.in.th/view/28957

เป็นเว็บของ dtac ทำเพื่อรองรับ Content 3G

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 5:58 pm
โดย DevilCupid
เมื่อก่อนผมไม่ค่อยสนใจกลุ่มสื่อสารเลยครับ
ด้วยเหตุผลที่ว่าผมไม่ค่อยได้ใช้อะไร แล้วมองไม่เห็นภาพว่า 3G จะมีอะไรสำคัญ

แต่หลังจากได้ฟังคุณวิเชียรมาพูดที่คณะตอนเรียน
ท่านก็อธิบายถึงความเป็นมาเป็นไปด้านเทคโนโลยีสื่อสาร
โอกาสทางการตลาด เรื่องต้นทุนในแง่สัมปทานบางส่วน
ทำให้ผมเห็นครับว่าโอกาสโตยังมีอยู่
แล้วก็เลิกปิดโอกาส ปิดตาตัวเองทางธุรกิจที่ตัวเองไม่เคยมอง
ซึ่งเหตุผลของการไม่มอง เกิดจากความไม่รู้สึกสนใจหรือว่าตัวเองไม่ได้ใช้บริการเหล่านั้น
แล้วก็คิดไปเองว่าคนอื่นเค้าก็จะไม่ใช้บริการนั้นๆด้วย
และผมก็เปลี่ยนมุมมองไป

ส่วนมากคนจะคิดถึง 3G ในแง่ของธุรกิจ การประชุมทางไกล รับส่งข้อมูล เมล์เป็นต้น
แต่เชื่อมั้ยครับว่ากลุ่มคนนอกเหนือจากนักธุรกิจ
ยังมีกลุ่มรายได้ต่ำรสนิยมสูง กลุ่มแม่บ้าน สาวโรงงาน แรงงานต่างด้าว
กลุ่มวัยรุ่นที่ต้องทันสมัยตลอดเวลา ได้เงินมาง่ายใช่สอยไม่คิด
เมื่อ 3G เกิด ตลาดจะสร้าง content ใหม่ๆมาคอยหลอกล่อเงินจากกลุ่มคนเหล่านี้
แล้วอย่างนี้ กลุ่มคนที่ได้รับสัมปทานเหล่านี้จะไม่ได้ประโยชน์หรอครับ

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 6:11 pm
โดย Eragon
ข่าวนี้น่าสนใจ
3G มาน้ำตาใครไหล !!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2552 10:57 น.

หากการประมูล 3G บนความถี่มาตรฐาน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ของกทช.ทำให้ประเทศไทยมีระบบโทรศัพท์มือถือ 3G แบบชั่วข้ามคืน อาจเห็นผู้ประกอบการบางรายดีใจจนแทบกลั้นน้ำตาไม่ไหว เพราะสามารถตักตวงผลประโยชน์มหาศาลจากทรัพยากรความถี่ของชาติที่อดีตได้แค่สิทธิในการให้บริการ ในขณะที่รัฐวิสาหกิจบางแห่งอาจต้องกลืนเลือดน้ำตาคลอเบ้า เพราะนับวันยิ่งถูกทิ้งห่างกาชื่อทิ้งจากสารบบผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ
     
      ถ้าวิเคราะห์แบบฟันธง เกม 3G ของผู้เล่นแต่ละรายต่างมีกลยุทธ์และเป้าหมายที่แตกต่างกัน 1.บริษัท ทีโอที เป้าหมายหลักวันนี้คือต้องการยืดเวลาการประมูล 3G ของกทช.ออกไปให้นานที่สุด เพื่อให้บริการ 3G ของตัวเองมีเวลาสร้างฐานลูกค้า โดยเริ่มปฐมบทในวันที่ 3ธ.ค. เปิดให้บริการในกทม.และปริมณฑลก่อน พร้อมแผนวางโครงข่าย 3G ทั่วประเทศ 2 หมื่นล้านบาท
     
      ทีโอทีไม่มีความต้องการประมูลไลเซ่นส์ 3G ของกทช.และทีโอทียังเห็นว่าการประมูล 3G ของกทช.ไม่มีผลกระทบอะไรกับทีโอที เพียงแต่จะทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันทีโอทีเป็นห่วงบริษัทสัมปทานอย่างเอไอเอส ที่อาจตุกติกใช้ประโยชน์จากโครงข่าย 2G จากสัมปทานเดิม ต่อยอดสร้างโครงข่าย 3G เพราะทุกวันนี้ทีโอทีหมดปัญญาในการตรวจสอบทรัพย์สินต่างๆที่เอกชนโอนมาให้ รวมทั้งปัญหาการถ่ายโอนฐานลูกค้าของเอกชนจะทำให้ส่วนแบ่งรายได้หายไปอย่างมีนัยสำคัญ
     
      เกมของทีโอทีคือยื้อเวลาประมูล 3G พร้อมทั้งโยนโจทย์เรื่องโครงข่าย 2G ให้รัฐหาทางช่วยเหลือ
     
      2.บริษัท กสท โทรคมนาคม วันนี้กสทเป็นหนึ่งใน 4 ที่คาดว่าจะได้รับใบอนุญาต 3G จากการประมูลของกทช.แน่นอน อยู่ที่ว่าจะจับมือกับพันธมิตรในช่วงเวลาไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด ปัญหาของกสทเช่นเดียวกับทีโอที คือ กลัวในเรื่องการถ่ายโอนลูกค้าที่จะทำให้ส่วนแบ่งรายได้หายไป แต่กสทกลายเป็นองค์กรที่ดูเซ็กซี่ขึ้นทันตาเห็น เพราะจะมีโครงข่าย CDMA ที่จะถูกพัฒนาให้เป็น 3G ทั่วประเทศหลังจากซื้อกิจการฮัทช์เรียบร้อย ฐานลูกค้าที่ได้พร้อมสถานที่ติดตั้งสถานีฐานจะเป็นแรงดึงดูดพาร์ตเนอร์ต่างชาติให้มาร่วมประมูล 3G
     
      กสทจะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มี 2 เทคโนโลยี 3G คือ CDMA / EV-DO กับ WCDMA บนความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่จะประมูลไลเซ่นส์กทช. สำหรับธุรกิจสื่อสารไร้สายหรือโทรศัพท์มือถือ 3G ดูเหมือนกสทจะอยู่ในตำแหน่งที่ดูดีกว่าทีโอทีไปแล้ว
     
      3.เอไอเอส วันนี้ 3G เป็นความจำเป็นมากถึงมากที่สุดสำหรับเอไอเอส เพราะปัจจุบันซูเปอร์ 3G ของเอไอเอสในพื้นที่ให้บริการเทียบความเร็วกับ 3G ดีแทคแล้ว เอไอเอสดูเหมือนจะช้ากว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของเอไอเอสมีข้อจำกัดมากเหมือนถนนมีแค่ 4 เลนแต่มีรถทุกชนิดวิ่งแออัดยัดเยียด ต่างจากดีแทคที่ถนนกว้างกว่าแถมยังมีเลนพิเศษให้ข้อมูลวิ่งต่างหาก
     
      เอไอเอสจึงต้องทำทุกวิธีให้การประมูล 3G เกิดโดยเร็ว เพื่อชิงความถี่จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ต่อยอดบริการ รักษาความเป็นผู้นำในตลาดผู้ให้บริการมือถือต่อไป
     
      4.ทรูมูฟ สำหรับการประมูล 3Gทรูมูฟมาในแนวชอบของดีราคาถูก ไม่อยากให้ราคากลางหรือราคาเริ่มต้นประมูลสูงเป็นหมื่นล้านบาท เพราะเกรงสู้พวกมีต่างชาติหนุนหลังไม่ไหว ทรูมูฟเป็นโอเปอเรเตอร์อีกรายที่ต้องการ 3G บนความถี่มาตรฐาน เพราะทุกวันนี้ได้แค่ทดสอบ โดยอาศัยความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ของกสท ซึ่งคาราคาซังไม่สามารถเปิดบริการเชิงพาณิชย์เก็บเงินได้ เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาคณะกรรมการตามพรบ.ร่วมทุนปี 2535
     
      ทรูมูฟต้องการไลเซ่นส์ 3G เพื่อมาต่อยอดบริการคอนเวอร์เจนซ์ สร้างนิยายรักที่สวยงาม ไว้หาพันธมิตรต่างชาติที่ถึงตอนนั้นจะยอมรับเงื่อนไขขนเงินมาลงทุนแต่อำนาจบริหารเป็นของกลุ่มทรู
     
      5.ดีแทค วันนี้แทบจะไม่ต้องออกอาวุธอะไรมากนัก ใช้กลยุทธ์ mee too คือใครออกแรงให้ประมูล 3G โดยเร็ว ดีแทคก็ได้ด้วย ถ้าใครยื้อประมูล ดีแทคก็ยังมีบริการ HSPA หรือ 3G บนความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ที่เปิดให้กลุ่มเป้าหมายทดสอบอยู่ ซึ่งการใช้งานอยู่ในระดับน่าพอใจอย่างมาก เหลือแต่เพียงขั้นตอนตามพรบ.ร่วมทุนปี 2535 เท่านั้นที่ยังทำให้ไม่สามารถเก็บค่าบริการได้
     
      ดีแทคจะเป็นโอปอเรเตอร์ที่จะมีความถี่ 3G 2 ย่านคือ 850 เมกะเฮิรตซ์ในปัจจุบันและ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ในอนาคตที่ได้จากการประมูล
     
      6.คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จากการกระเหี้ยนกระหือรือที่จะประมูล 3G ให้ทันภายในปีนี้ ก็ออกอาการถอดใจ หลังส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 47 วรรค 2 ว่ากทช.ชุดนี้มีอำนาจจัดประมูลหรือไม่ เพราะอาจเกิดปัญหาฟ้องร้องวุ่นวายถ้าประมูลไปแล้วกฤษฎีกาตีความว่ากทช.ไม่มีอำนาจ ซึ่งหลังจากถูกกระแสสังคมต้านหนักไม่ว่าเรื่องนอมินีต่างชาติ ราคากลาง และปัญหาความมั่นคง ดูเหมือนกทช.พยายามหาทางออกเพื่ออธิบายสังคมโดยเฉพาะเรื่องราคากลางเคาะที่ 4,600 กับ 5,200 ล้านบาท ส่วนปัญหานอมินีต่างชาติ กทช.ดูจะมั่นใจมากเพราะบริษัทลูกๆของโอปอเรเตอร์ต่างก็ได้ไลเซ่นส์จากกทช.มาหลายใบแล้ว โดยไม่ถูกตีตกในประเด็นไม่ใช่นิติบุคคลสัญชาติไทย
     
      ส่วนผู้บริโภค การมี 3G ประโยชน์ได้รับสูงสุดคือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงการส่งภาพ เสียงและข้อมูลได้พร้อมกัน การสื่อสารในรูปแบบวิดีโอ สตรีมมิ่ง ที่คาดว่ายังมีกลุ่มคนสัก 10% ที่พร้อมใช้บริการในรูปแบบแปลกใหม่ที่ได้ประโยชน์ทั้งความบันเทิงและการใช้ในธุรกิจ ซึ่งในมุมผู้บริโภค ไม่ว่า 3G จะมาเร็วหรือมาช้า แต่ค่าบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่กทช.จะต้องคำนึงถึง
     
      ****ประชาพิจารณ์ 9 เรื่อง
     
      ในการประชุมบอร์ดกทช.เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมากทช.ได้สรุปหัวข้อประชาพิจารณ์ 3G ในวันที่ 12พ.ย.52ถี่ยิบ 9 เรื่องเพื่อตอบข้อสงสัยในการทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ผ่านประกอบด้วย 1.คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการประมูล 2.ระยะเวลายื่นความจำนงของผู้สนใจเข้าร่วมประมูล3G จากเดิมกำหนดไว้ 30 วันเปลี่ยนเป็น 45-60 วัน 3.ข้อกำหนดเรื่องการลงทุนโครงข่ายแบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ คือควรกำหนดให้ผู้ประกอบการลงทุนเองกี่เปอร์เซ็นต์ และควรให้มีการเช่าใช้โครงข่ายผู้อื่นได้กี่เปอร์เซ็นต์
     
      4.การลงทุนโครงข่ายควรกำหนดพื้นที่การลงทุนด้วยหรือไม่ 5.ควรเปิดโอกาสให้ผู้ชนะการประมูลผ่อนจ่ายค่าไลเซ่นส์ในระยะ 6เดือนหรือ 1 ปีหรือไม่ 6.การโอนย้ายลูกค้าจาก 2 G ไป 3 G 7.เรื่องความมั่นคงกทช.ควรกำหนดประเด็นใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่ 8.การใช้โครงข่ายพื้นฐานร่วมกันและ9. MVNO ควรบังคับให้ทำด้วยไหม
     
      บทสรุปส่งท้ายของ 3G ในวันนี้ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวยืนยันว่ารู้สึกดีใจที่ทุกภาคส่วนของสังคมออกมาให้ความเห็นและเสนอแนะแนวทางต่างๆเพื่อให้การประมูล 3G ออกมาดีที่สุด โดยย้ำว่าทุกเรื่องที่กทช.ทำต้องอธิบายกับสังคมได้ และถ้าหากกฤษฎีกาตีความว่ากทช.ไม่มีอำนาจ ก็จบไม่ต้องดำเนินการประมูล กทช.ชุดนี้ทำได้แต่เพียงเตรียมการล่วงหน้าเท่านั้น
     

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 6:16 pm
โดย Eragon
ตามด้วยอันนี้
AISดึงทีโอทีร่วมวง3G ชงถือหุ้นบวกกำไร15%

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2552 11:18 น.

เอไอเอสเสนอแผนร่วมทุนให้ทีโอที ทันทีที่ได้ใบอนุญาต 3G 'วิเชียร' ชี้ผ่าทางตันปัญหาสัมปทาน 2G เดิม และสร้างพลังให้ 3G ใหม่ เปิดทางให้ทีโอทีถือหุ้นสุงสุด 30% ด้วยแนวคิดแปรสัญญาสัมปทาน แปลงโครงข่ายให้เป็นหุ้น พร้อมผลประโยชน์สุงสุด 15% จากรายได้ ย้ำมีเวลา 2 ปีดำเนินการก่อนสัมปทานหมดอายุปี 2015
     
      นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอสกล่าวว่าทันทีที่เอไอเอสได้ใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เอไอเอสจะทำเรื่องเสนอไปยังบริษัท ทีโอที เพื่อเสนอแผนการร่วมทุนหรือการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระหว่างเอไอเอสกับทีโอที
     
      'แนวคิดผมคือเปลี่ยนโครงข่ายให้เป็นหุ้น โดยให้ทีโอทีเข้ามาถือหุ้นในเอไอเอส ได้สูงสุดถึง 30% เพียงแต่สิทธิขาดในการบริหารยังต้องเป็นของเอไอเอส'
     
      แผนการเป็นพาร์ตเนอร์ดังกล่าวเกิดภายใต้ยุทธศาสตร์ win-win หรือมีแต่ผู้ชนะ โดยที่เอไอเอสเห็นว่าสัญญาสัมปทาน 2G เดิมจะหมดอายุในปี 2015 หรืออีกประมาณ 5 ปี โครงข่ายที่เอไอเอสลงทุนไปทั้งหมดนับจนถึงปัจจุบันมีค่าหลายหมื่นล้านบาทหรืออาจถึงแสนล้านบาทและเอไอเอสยังมีความต้องการใช้โครงข่าย 2G ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
     
      การเป็นพาร์ตเนอร์โดยทีโอทีเข้ามาถือหุ้นเอไอเอสจะทำให้ได้ประโยชน์คือ 1.ทีโอทีไม่ต้องกังวลเรื่องการถ่ายโอนลูกค้าจาก 2G เดิมไปยัง 3G ใหม่ เพราะทีโอทียังได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งรายได้ของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นลูกค้า 2G หรือ 3G 2.เอไอเอสพร้อมเสนอผลประโยชน์ให้ทีโอทีได้มากกว่าค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียให้กทช.คือ 6.5% โดยเอไอเอสสามารถบวกเพิ่มให้อีก 5% หรือให้ได้เต็มที่ถึง 15% 3.ทำให้การลงทุนโครงข่าย 3G ของทีโอทีมีทางเลือกและมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะทีโอทีกับเอไอเอส สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันได้ว่าใครจะลงทุน 3G ในพื้นที่ไหน ทำให้มีความได้เปรียบกว่าผู้ให้บริการหรือผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่น 4.เป็นทางรอดให้ทีโอทีในระยะยาว ว่าไม่ต้องกังวลกับรายได้จากสัมปทานของเอไอเอสที่จะหายไปหลังหมดอายุสัมปทานในปี 2015 แต่ทีโอทีจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นในเอไอเอส 30% ซึ่งทำให้ทีโอทีจะได้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลตามสัดส่วนการถือหุ้น ผลประโยชน์จากส่วนแบ่งรายได้สูงสุดไม่เกิน 15% ซึ่งถึงแม้ไม่สูงเท่าส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทาน 2G ในปัจจุบัน แต่ทีโอทีจะมีรายได้ระยะยาวตราบเท่าที่ถือหุ้นในเอไอเอส และ5.การถือหุ้นในเอไอเอสจะทำให้เกิดพลังผนึกหรือ synergy ระหว่างสินค้าและบริการรวมทั้งฐานลูกค้าทั้ง 2 บริษัท
     
      'ผมให้เวลา 2 ปีสำหรับแผนร่วมทุนครั้งนี้ในการดำเนินการ เพราะหากนานกว่านั้นจะทำให้โครงข่าย 2G เดิมก็จะเริ่มไม่มีความหมายแล้วเพราะเอไอเอสจะทุ่มทุกอย่างลงบนโครงข่าย 3G ใหม่ '
     
      เขาย้ำว่าแผนการร่วมทุนดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดกันมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่สุดที่จะตัดสินใจ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรเพราะต้องผ่านการพิจารณาจากกระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรี แต่เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นทางแก้ปัญหาสิ่งที่คาราคาซังกันอยู่โดยเฉพาะเรื่องสัญญาสัมปทาน และยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทีโอทีในการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือด้วย
     
      'ทั้งหมดเป็นแนวคิด แต่ผมว่าถึงเวลาแล้ว ส่วนเรื่องการตีราคาต่างๆ ก็ให้บริษัทที่ปรึกษาการเงิน ซึ่งเป็นคนกลางเข้ามาตีราคา ในฐานะผู้บริหารเอไอเอสผมต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ถือหุ้นเห็นว่าหลังหมดสัมปทานในปี 2015 แล้วเอไอเอสก็ยังอยู่ในธุรกิจในฐานะผู้นำ ส่วนด้านทีโอที ถ้ายังคิดกอดสัญญาสัมปทานไปโดยไม่มีแผนรองรับไว้ล่วงหน้าก็น่าเป็นห่วงมาก หากนำผลประโยชน์ขึ้นชั่งกันระหว่างสัมปทานอีกประมาณ 5 ปีกับการเปลี่ยนเป็นหุ้นในเอไอเอสแล้วมีผลประโยชน์ระยะยาว ก็น่าจะตัดสินใจได้ไม่ลำบากนัก'
     
      นายวิเชียรกล่าวถึงการประมูล 3G ของกทช.ว่าเอไอเอสพร้อมสู้ราคาไม่ว่าจะเป็นความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์หรือ 10 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีตัวเลขอยู่ในใจแล้วว่าสามารถสู้ราคาได้กี่เท่าของราคากลาง โดยที่หากได้รับใบอนุญาตเมื่อไหร่ก็พร้อมสั่งของและติดตั้งโครงข่ายที่จะสามารถให้บริการได้เร็วที่สุดภายในเวลาเพียง 3-4 เดือน
     
      ทั้งนี้ แนวคิดแปลงโครงข่ายเป็นหุ้นของเอไอเอส ดูสมเหตุสมผลหากพิจารณาประกอบกับรายงานที่ทีโอทีเสนอครม.เศรษฐกิจถึงการประมูล 3G ของกทช.ที่จะส่งผลกระทบต่อสัญญาสัมปทาน 2G ปัจจุบันของทีโอทีคือ1.อาจมีการโอนลูกค้า 2G ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม ไปโครงข่ายใหม่ 3Gในกรณีผู้รับสัมปทานเดิมของทีโอทีได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่และใบอนุญาต 3G จาก กทช. เนื่องจากประเมินว่าภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบอนุญาตใหม่จะน้อยกว่าส่วนแบ่งรายได้ในแต่ละปีที่จะต้องจ่ายให้ทีโอที ตามสัญญาสัมปทานเดิมกล่าวคือคาดว่าการจ่ายค่าใบอนุญาตใหม่ประมาณปีละ 6.5% ของรายได้ (มาจากค่าใบอนุญาต 2.5% และค่า Universal Service Obligation Fund 4%) เปรียบเทียบกับการจ่ายเป็นค่าส่วนแบ่งรายได้ 20% ถึง 30%
     
      2.ตลาดโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมี Penetration Rate เกือบ 100% แล้ว และมีต้นทุนการหาลูกค้าใหม่ (Subscriber Acquisition Cost) ที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นวิธีการการหาลูกค้าที่ดีที่สุด คือการโอนลูกค้า 2G ที่เอกชนดูแลอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมไป โครงข่าย 3Gผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการโอนลูกค้าดังกล่าว ทำให้ส่วนแบ่งรายได้ของทีโอทีลดลงและท้ายที่สุดจะทำให้ภาครัฐได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของทีโอทีในรูปของภาษีเงินได้และเงินปันผลลดลงตามไปด้วย (ปี 2551ทีโอที จ่ายภาษีเงินได้ 2,600 ล้านบาท เงินปันผล 5,500 ล้านบาท)
     
      3.การนำทรัพย์สินของรัฐไปใช้ประโยชน์บนโครงข่าย 3G สัญญาสัมปทานในรูปแบบ BTO (Build Transfer Operate) คือ การสร้างและโอนให้รัฐ และให้เอกชนผู้รับสัมปทานมีสิทธิในการใช้ทรัพย์สินและสิทธิในการบริหารจัดการ มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะมีการนำอุปกรณ์ระบบ 3G มาติดตั้งเพิ่มเติมบนทรัพย์สินของโครงข่าย 2G เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ฉะนั้นมาตรการกำกับดูแล การควบคุมและการตรวจสอบจะซับซ้อนยิ่งขึ้น อาจมีข้อพิพาท และในที่สุดเพิ่มต้นทุนด้านการดำเนินงาน แก่ ทีโอที
     

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 7:04 pm
โดย KriangL
ขอแก้อีกรอบครับ :D  จะได้ไม่สับสนกัน
newbie_12 เขียน: 3. ส่วน CAT มี 3G อยู่แล้ว จริงครับ แต่เป็น 3G ที่วิ่งอยู่บน w-cdma ซึ่ง 3G ที่จะออกมาใหม่เราเรียกว่า 3G แต่จริงๆมันเป็น 3.5G แล้ว (HSDPA) ซึ่งเร็วกว่าของ CAT เยอะมากครับ
ของ CAT ที่ทำกับ Hutch เป็น cdma2000 EV-DO ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Cdma2000

ส่วนอันใหม่นี่ถึงเป็น WCDMA หรืออีกชื่อคือ UMTS ครับ ซึ่งสามารถทำให้รองรับ HSDPA/HSUPA http://en.wikipedia.org/wiki/Universal_ ... ons_System

หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแข็ง

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 06, 2009 2:49 am
โดย simplelife
[quote="satantuey"]เรื่อง 3G ยังไงก็เกิดแน่ๆ

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 31, 2011 7:50 pm
โดย pak
3Gทีโอทีช้าอีกเจอปัญหาติดตั้งเสาไม่ได้
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2554


แจ้งวัฒนะ* ทีโอทีหวั่นติดตั้ง 3 จีไม่เป็นไปตามแผน หลังเจรจาเช่าพื้นที่โคไซต์ไร้แววคืบหน้า

รายงานข่าวจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ถึงแม้ทีโอทีจะมีการเซ็นสัญญากับเอสแอลคอนซอร์เตียม ซึ่งประกอบด้วยบริษัท สามารถคอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด บริษัท หัวเว่ย จำกัด บริษัท โนเกีย-ซีเมนส์ จำกัด ให้ดำเนินโครงการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จีทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยเริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.2554 ก็ตาม แต่มาจนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าวยังไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์แต่อย่างใด ซึ่งอาจส่งผลให้การเปิดให้บริการล่าช้าไปกว่าเดิม

สำหรับสาเหตุที่ทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวต้องล่าช้าไปกว่าเดิม เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการเจรจาขอเช่าใช้พื้นที่ รวมถึงในส่วนของการเจรจาขอร่วมใช้โครงข่ายพื้นฐาน (Co-site) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท แอด วานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ก็ยังไม่มีความคืบหน้าด้วยเช่นกัน ในขณะที่ตามแผนทีโอทีจะต้องทยอยติดตั้งสถานีฐานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ทำหนังสือถึงนายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที ว่า การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันนั้นมีขั้นตอนต่างๆ ที่เป็นรายละเอียด ประกอบกับมีสถานีฐานจำนวนมาก ทำให้ต้องเร่งดำเนินการ อีกทั้งเอไอเอสมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรและงบประมาณ จึงต้องมอบหมายให้บริษัท เอสเอเค เน็ทเวิร์ค จำกัด เป็นผู้ประสานงานและบริหารจัดการในการที่ทีโอทีจะขอร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นพื้นที่ภายในอาคาร และพื้นที่ของเสาสัญญาณ เพื่อติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ 3 จี.


ที่มา : http://www.ryt9.com/s/tpd/1212367

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 31, 2011 7:54 pm
โดย pak
รมว.ไอซีที ตั้งเป้าเป็นSMART THAILAND ศึกษาสัญญาสัมปทานโทรมือถือ-3G
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 สิงหาคม 2554 11:49:29 น.


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครธรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังการร่วมหารือกับนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงและหน่วยงานในสังกัดว่า มีเป้าหมายให้การใช้งานไอทีให้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน หรือ SMART THAILAND ซึ่งไม่เพียงแต่บริการอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการดำรงชีวิตของประชาชนและการบริหารงานในหน่วยงานภาครัฐ

ขณะที่สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ระหว่างบมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท.โทรคมนาคม น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า จะขอศึกษาอำนาจหน้าที่และดูว่า การดำเนินการสัญญานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

ส่วนการปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูง น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่กระทรวงไอซีทีได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพภายใต้กรอบกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการมอบนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัด รวมทั้งการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองของกระทรวงไอซีที เนื่องจากจะต้องรอให้รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 31, 2011 8:40 pm
โดย Hisoka
ผมใช้ CAT 3G CDMA อยู่ครับ เป็นหนทางเดียวที่ทำให้สามารถใช้เน็ทความเร็วสูงได้ เพราะแถวนี้ไม่มีสายโทรศัพท์เข้าถึง ได้ความเร็วจริงๆไม่เกิน 1.5 M แถมบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ แต่ก็ยังดีกว่าใช้ edge มากมายหลายเท่า ค่าใช้บริการก็พอๆกัน ใช้ไม่อั้น 790 บาทต่อเดือน(ยังไม่รวม vat) เมื่อก่อน edge ของ ais ใช้ไม่อั้น 999 บาทต่อเดือน

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 05, 2011 6:37 pm
โดย pak
ลูกค้าดีแทคได้อัพเกรดใช้บริการ dtac 3G ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เริ่ม 16 สิงหาคมนี้
ข่าวเทคโนโลยี ThaiPR.net -- พุธที่ 17 สิงหาคม 2554 10:11:03 น.


บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดให้ลูกค้าดีแทคได้ใช้บริการ dtac 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ในพื้นที่ให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2554 นี้ มั่นใจ dtac 3G ช่วยให้การใช้งานดาต้าบนดีแทคอินเทอร์เน็ตเร็วและราบรื่น จากจุดเริ่มต้นในวันเปิดบริการนี้ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายดาต้าที่ดีที่สุด พนักงานทุกฝ่ายร่วมใจ พร้อมจัดแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของปี

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า “บริการ dtac 3G คือส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราในการมอบนวัตกรรมโซลูชั่นและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยบริการนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าดีแทคปัจจุบันซึ่งสมัครใช้บริการแพ็กเกจดาต้าอยู่แล้ว โดยไม่มีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม เราเชื่อมั่นว่าบริการ dtac 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ผู้บริโภค อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยและประเทศไทยโดยรวม ทั้งยังเป็นผลดีต่อ บมจ. กสท โทรคมนาคม เนื่องจากการให้บริการ 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ นี้ทำอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานปัจจุบัน”

“การอัพเกรดบริการ dtac 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เราเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จะสามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ กสทช. เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น” นายอับดุลลาห์กล่าว

นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ดีแทคมั่นใจว่าการเปิดให้บริการ dtac 3G ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาบริการให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมต่อไป ลูกค้าดีแทคทุกหมายเลขมีสิทธิ์ใช้บริการ dtac 3G ได้ในพื้นที่ให้บริการของเราในเขตกรุงเทพมหานคร เพียงมีมือถือหรืออุปกรณ์ที่รองรับ 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ และใช้งานในพื้นที่ให้บริการ โดยสามารถใช้บริการได้เหมือนการใช้งานดาต้าที่เคยใช้อยู่ด้วยความเร็วสูงและคุณภาพสัญญาณดีกว่าเดิม ไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มจากเดิมแต่อย่างใด เรามั่นใจว่าบริการ dtac 3G มีจุดเด่นในด้านความเร็ว (speed) สูงที่สุดเนื่องจากดีแทคมีช่องสัญญาณแบนด์วิธขนาดใหญ่มากถึง 10 เมกะเฮิร์ตซ์ รองรับการใช้งานได้มากกว่า โดยระบบของเราออกแบบมาให้สามารถรองรับความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดข้อมูลถึง 42 เมกะบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการอัพโหลดข้อมูลระดับเมกะบิตต่อวินาที จากการทดสอบระบบด้วยทีมพนักงานของเราเองและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในช่วงที่ผ่านมาทำให้เรามั่นใจที่จะให้บริการลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบและจะเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป

“dtac 3G คือแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดของดีแทคในรอบปี เป็นความรับผิดชอบและความร่วมมือของทุกหน่วยงานในบริษัทรวมทั้งพนักงานทุกคนที่ร่วมใจกันทำงานและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า” นายปกรณ์กล่าวปิดท้าย

ปัจจุบัน ดีแทคลงทุนเพื่อปรับปรุงเครือข่ายสู่ระบบ 3G ครอบคลุมสถานีฐาน (Cell Site) ทั้งหมด 1,220 แห่งและมีแผนการที่จะลงทุนเพื่อครอบคลุม 40 จังหวัดด้วยสถานีฐานทั้งหมด 2,000 สถานี ภายในปี 2555

ลูกค้าดีแทคสามารถตรวจสอบพื้นที่บริการ รายละเอียดอื่นๆ รวมทั้งอุปกรณ์หรือมือถือรุ่นที่รองรับ 3G และการตั้งค่ามือถือได้ที่ www.dtac.co.th/3G ลูกค้าดีแทคปัจจุบันที่ใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัด (Unlimited) สามารถใช้ dtac 3G ได้ทันที สำหรับลูกค้าที่ใช้งานแพ็กเกจอื่นๆ สามารถกด *3000# และกดโทรออก (ไม่คิดค่าบริการ) เพื่อใช้บริการ dtac 3G ได้ ระบบจะอัพเกรดจาก EDGE เป็น 3G อัตโนมัติเมื่อใช้งานในพื้นที่ให้บริการ โดยลูกค้าชำระค่าบริการดาต้าปกติตามแพ็กเกจเดิมที่เลือกไว้ ไม่มีค่าบริการใช้งานเพิ่ม

ในเวลาเดียวกันนี้ ดีแทคยังได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา ชุด “ห่วงใย” ที่แสดงให้เห็นถึงด้านดีของเทคโนโลยีกับชีวิต ตามแนวความคิด “ที่สุดของเทคโนโลยีคือการเชื่อมต่อความรู้สึกถึงกันอย่างราบรื่น” พร้อมจัดแคมเปญสำหรับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าสามารถติดตามพบกับแคมเปญใหญ่ของ dtac 3G พร้อมทั้งกิจกรรมร่วมสนุกมากมายในเร็ว ๆ นี้


ที่มา : http://www.ryt9.com/s/prg/1215283

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 05, 2011 6:38 pm
โดย pak
อำนาจหน้าที่ของ กสทช. [ วันจันทร์ ที่ 05 กันยายน 2554 เวลา 9:27 น. ]


คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีสถานะเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารความถี่วิทยุเพื่อกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม

จากเดิมที่มี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดูแลด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์มือถือ และอีกชุดหนึ่งที่ต้องมี แต่ไม่เคยมี ก็คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) แต่หลังปี 2549 มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้วระบุว่าให้นำคณะกรรมการ 2 ชุดนี้ มารวมกัน จึงเป็นที่มาของกฎหมายฉบับนี้ เนื้อหาก็คือการเขียนเพื่อที่จะรวมโดยออกแบบให้มีองค์กรที่จะดูแลสื่อและโทรคมนาคม

ขั้นตอนการเลือกจาก 44 คน เหลือ 11 คน เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช.ได้ตรวจสอบเสร็จแล้ว โดยการประชุมเพื่อพิจารณาวาระดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ประชุมโดยเปิดเผย และประชุมลับ ทั้งนี้ การลงคะแนนเลือก กสทช. นั้นตามกฎหมายระบุไว้ว่าให้เป็นการลงคะแนนลับ โดยจะมีรายชื่อมาจากผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม 8 สาขา ประกอบด้วย การกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการกระจายเสียง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโทรคมนาคม และ ด้านการศึกษาวัฒนธรรม.


ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage ... tID=161480

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 05, 2011 6:39 pm
โดย pak
คลอดแล้ว11อรหันต์ กสทช. กองทัพยึดกว่าครึ่ง [ 5 กย. 2554 17:57 น. ]


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.45 น. การลงคะแนนเลือกกสทช.ได้เสร็จสิ้นลง โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง โดยใช้วิธีลับ ส.ว. จากนั้นกรรมการทั้ง 2 ชุดได้เริ่มนับคะแนน โดยมีผลของการนับคะแนนดังนี้ สำหรับบุคคลที่วุฒิสภาลงคะแนนเลือกเป็น กสทช. 11 คน ประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ได้ 73 คะแนน เป็นนายทหารรุ่น ตท.6 รุ่นเดียวกับพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี และพล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ส.ว.สรรหา ในอดีตเคยเป็น เสธ.ทอ. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สังกัดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(องค์การมหาชน) ด้านกิจการโทรคมนาคม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ได้ 112 คะแนน อดีตกทช. ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช. อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และพ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ได้ 118 คะแนน นายทหารฝ่ายกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กระทรวงกลาโหม ด้านกฎหมาย 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ 109 คะแนน และพ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีตผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ได้ 67 คะแนน

ด้านกิจการโทรทัศน์ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ 62 คะแนน ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(เศรษศาสตร์ ประจำกทช.) ได้ 110 คะแนน และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 58 คะแนน สำหรับกลุ่มตัวแทนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในส่วนของด้านกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ได้ 95 คะแนน ส่วนด้านกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คือ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ 78 คะแนน และกลุ่มผู้มีผลงาน มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม คือ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ 72 คะแนน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงมติของส.ว.ในการเลือกกสทช. ถือเกือบจะทั้งหมดเป็นไปตามโพยรายชื่อบล็อกโหวตที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายในการวิ่งหาคะแนน ปรากฏว่ามีการแลกเปลี่ยนโพยชื่อระหว่างส.ว.กลุ่มต่างๆ ที่พยายามผลักดันคนที่ตัวเองสนับสนุน ซึ่งถือว่าแต่ละกลุ่มทำยอดเข้าเป้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่ากสทช.ชุดนี้เกินครึ่งเป็นเครือข่ายคนในกองทัพ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ประธานวุฒิสภาจะส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกสทช. ให้กับนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป โดยกสทช.จะมีวาระการดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น 6 ปี หรือผู้มีอายุครบ 70 ปี ต้องพ้นวาระ

จากนั้นพล.อ.ธีรเดช กล่าวว่า หลังจากนี้จะแจ้งไปยังผู้ที่ได้รับเลือกได้รับทราบและจะแจ้งไปยัง สำนักงานกสทช.เพื่อให้มีการแต่งตั้ง ประธานจำนวน 1 คน และรองประธานจำนวน 2 คน ก่อนที่จะนำชื่อเสนอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำทูลเกล้าฯต่อไป


ที่มา : http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=527832

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 05, 2011 7:47 pm
โดย Boyadvance
ถ้าจะเอาง่ายๆ ในความคิดของผมนะ ปัจจุบันนี้ ช่องสัญญาณ ไม่พอรองรับ voice กับ data อ่ะครับ
เดิมใช้แค่ voice ก็เกือบจะเต็มแล้วใช้บางช่วงเวลาอาจจะไม่พอใช้
แล้วต้องแบ่งมาให้ใช้กับการส่ง data อีก คุณภาพก็เลยลดลง

การแก้ปัญหาคือ กำหนดช่องสัญญาณใหม่ขึ้นมาใช้เฉพาะรับส่ง data เท่านั้น
แล้วเจ้าช่องสัญญาณใหม่เนี่ยถ้าจะใช้ให้เกิดประโยชน์มากๆ วิธีการรับ-ส่งจึงพัฒนาให้แตกต่างไปจากเดิม
ซึ่งเป็นชื่อทางเทคนิคทั้งหลายให้เค้าชอบพูดกันนั้นแหละครับ
เพียงเท่านี้ การรับ-ส่ง data ก็จะไม่ต้องขอแบ่งช่องสัญญาณกับ voice แล้ว

และถ้าถามว่าทำไมไม่ใช้ wireless ที่มีความเร็วสูงแทนล่ะ
อันนี้ก็เป็นไปได้ครับ แต่ด้วยลักษณะจำเพาะของช่องสัญญาณ wireless หรือ wifi ที่ใช้กันปัจจุบัน
มันไม่สามารถใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้

เราจึงต้องใช้ 3G นะครับ
แต่ถ้าหากเป็น LTE มันจะแตกต่างกันไปอีกขั้น เอาไว้ประเทศเรามีโอกาสใช้ก่อน
ค่อยสนใจก็ได้ครับ


ถ้าถามว่าใช้กันเยอะมั้ย
ในหมู่วัยรุ่น ผมเห็นว่าใช้กันเยอะมาก เพราะสะดวกไม่จำเป็นต้องนั่งกับที่ และมันเป็นส่วนตัว
ส่วนประชากรวัยอื่นๆ นั้นผมไม่แน่ใจว่ายังไงกันบ้าง

ผิดถูกยังไงบอกด้วยนะครับ

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 3:45 pm
โดย nopy_yoyo
ผมกำลังมอง 3G ในกรอบเดียวกับที่ปีเตอร์ ลินซ์ มองอินเตอร์เนตเป็นธุรกิจร้อน ซึ่งผู้ให้บริการอินเตอร์เนต จะเจ็บตัว แต่ธุรกิจที่ผูกกับอินเตอร์เนต เช่น ผู้ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับอินเตอร์เนต จะเฟื่องฟู

ถ้าเทียบเคียงกัน พวกผู้รับเหมาวางเครือข่ายอย่าง ล๊อกซเล่ย์ samart หัวเหว่ย จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ที่ไม่จำเป็นต้องมาเสี่ยงกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการแข่งขันด้านราคาค่าบริการ หรือเปล่า??

อาจจะต่างกันอย่างนึงก็ตรงที่ 3G เป็นในลักษณะสัมปทานซึ่งอาจจะมีพลังการผูกขาดช่วยบรรเทาความดุเดือด

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 4:44 pm
โดย Ii'8N
ธุรกิจอะไรก็ตาม ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ต้องปรับตัวเสมอ เพราะเปลี่ยนไวมาก หยุดอยู่กับที่ไม่ได้

เมื่อ 4-5 ปีก่อนใครจะไปคิด ว่ายักษ์ซีเมนส์จะต้องโละแผนกมือถือให้เบนคิวจากเกาหลี ยุบแผนกขายเครือข่าย ควบรวมกับโนเกีย (ลูกจ้างฝ่ายซีเมนส์เป็นฝ่ายถูกปลดออก)
เมื่อ 2-3 ปีก่อน ใครๆ ก็คิดว่าเป็นลูกจ้างโนเกียแล้วมั่นคง Android เป็นแค่โทรศัพท์กิ๊กก๊อกในห้องทดลอง iPhone คงไม่มีใครเอา
มาตอนนี้จากบริษัทชั้นนำ กลายเป็นบริษัทผู้ตาม จน CEO ต้องออกมาปลุกระดมพนักงาน บอกว่าอยู่ท่ามกลางเปลวเพลิงบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ไม่รู้อนาคตของ Symbian จนต้องไปร่วมมือกับไมโครซอฟ ที่ก็ยังล้มเหลวในการเอา Window Phone 7 ออกสู่ตลาด ยังเทียบชั้น Android และ iOS ไม่ได้สักนิด

ปาล์ม ที่เป็นผู้นำตลาดอุปกรณ์พกพา ใครจะรู้ตอนนั้นว่าจะตกต่ำ จนกลายเป็นแค่แผนกของ HP มาวันนี้ HP มีท่าทีว่าจะโละทิ้ง หลังจากล้มเหลว ในการทำ Tablet โดยใช้ WebOS ที่มาจากปาล์ม
ใครจะไปรู้ ว่ามอโตโรลาผู้บุกเบิกมือถือแห่งอเมริกา จะตกต่ำต้องขายกิจการให้กูเกิ้ล เพียงเพราะกูเกิ้ลเอามาเป็นไม้กันหมาเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ได้คิดว่้ามอโตโรลาสุดยอดอะไรเลย
ใครจะไปคิดว่าหัวเหว่ย (และ ZTE) จะสามารถนำอุปกรณ์เครือข่ายตัวเองไปยึดครองพื้นที่ีทุกทวีป ไปแทนที่โนเกีย อิริคสันทั่วโลก จนใกล้สูญฯพันธ์ เหลือไว้แค่ยุโรป
แต่ที่น่้าเจ็บใจแทบกระอักเลือด ....ในเครือข่ายของเทเลนอร์บริษัทแม่ แดน Scandinavia แถวบ้านเกิดโนเกีย อิริคสัน กลัีบเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่ายหัวเหว่ยจากจีนที่เคยดูถูกกันหนักหนา

ฯลฯ


ส่วนตัว บัฟเฟต์ทำคำมั่นไว้ว่าจะเทเงินในกระเป๋าให้มูลนิธิของบิล เกตส์จนเกือบหมด ทิ้งให้ลูกๆ ไว้คนละนิด
แต่ด้านการลงทุน ปู่ไม่ชอบไมโครซอฟท์ก็เพราะเหตุความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้...เพราะมันพยากรณ์และทำความเข้าใจยาก

ดังนั้น ลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยีประมาทไม่ได้นะครับ
ระยะสั้นพอไหว แต่ต้องประเมินกันใหม่ทุกระยะ


อย่างเมื่อตอนประมูลความถี่รอบก่อนถ้าเกิดขึ้นจริง เขาเลือกแค่ 2 ราย ได้ทำก่อน
ใครเป็นรายที่สามเป็นหมาหัวเน่าทันที

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 23, 2011 9:38 am
โดย pak
TRUEมั่นใจปีหน้าโตสวนกระแสเดินหน้าประมูลไลเซนส์ 3G-ส่งทรูมูฟเอชลงภาคใต้ [ ข่าวหุ้น, 23 พ.ย. 54 ]

TRUE มั่นใจโทรคมนาคมปีหน้าโตสวนกระแส หวัง กสทช.เดินหน้าประมูลไลเซนส์ 3จี เป็นตัว
กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ไม่สนข้อครหาเดินหน้าตอกย้ำ "ทรูมูฟเอช" ล่องใต้ตะลุยหาดใหญ่มั่นใจโครงข่าย
16 จังหวัดใหญ่ตอบรับความต้องการลูกค้า ก่อนขยายโครงข่ายเพื่อให้บริการทั่วประเทศ แหล่งข่าวชี้เอกชน
จะแข่งกันที่โครงข่ายที่มากกว่าเป็นหลัก

Re: หุ้น VI ตัวไหนจะได้รับประโยชน์เต็มที่ จาก 3G และไทยเข้มแ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 23, 2011 10:38 am
โดย Rocker
ตุนเงินลงทุน "ดาวเทียม-3G" "อินทัช" ตั้งหลักรับขาขึ้น

คนทั่วไปเริ่มคุ้นหูคุ้นตากับชื่อ "อินทัช" และสัญลักษณ์รูปรอยยิ้มสีเขียวสดใส อันเป็นโลโก้ และชื่อแบรนด์ใหม่ของกลุ่มชินเดิมกันบ้างแล้ว เพราะได้ "เอไอเอส" บริษัทลูก (แต่สร้างรายได้หลัก) เป็น หัวหอกโปรโมต แถมช่วงวิกฤตน้ำท่วมยังได้เห็นคาราวานพนักงานและผู้บริหาร สวมเสื้อยืดพะโลโก้ใหม่ แบรนด์ใหม่ ออกไปตามที่ต่าง ๆ เป็นการรีแบรนด์ทางอ้อม เทียบธุรกิจอื่น ธุรกิจสื่อสารได้รับผลกระทบไม่มากนัก การใช้ยังพุ่งกระฉูดทั้งวอยซ์และดาต้า แต่อุทกภัยครั้งนี้เป็นบทเรียนชั้นดีให้ทุกบริษัทในอนาคต กลุ่มอินทัช หรือชินคอร์ปอเรชั่น ก็เช่นเดียวกัน "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "สมประสงค์ บุญยะชัย" ซีอีโอ "กลุ่มอินทัช" ดังนี้
- เสียหายจากน้ำท่วมแค่ไหน

ไม่เสียหายมาก เพราะยกอุปกรณ์ขึ้นที่สูงได้ทัน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องนี้ และการช่วยเหลือพนักงาน ลูกค้า รวมถึงการทำให้ระบบทั้งหมดเปิดให้บริการลูกค้าได้โดยไม่สะดุดตอนนี้ก็ต้องเฝ้าระวังตลอด แม้จะเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว

- บทเรียนจากวิกฤตครั้งนี้

ในมุมมองของผม ทำให้ได้เห็นว่า การเตรียมตัว การเตรียมความพร้อม การมีแผนรองรับทางธุรกิจเป็นสิ่งที่จะช่วยองค์กรได้มาก จะทำให้เรารู้ว่าถ้าสมมติเกิดเหตุขึ้นเราจะจัดการอย่างไร จะมอบหมายงานคนอย่างไร จัดเรื่องอุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติอย่างไร

- ต้องมีการปรับแผนธุรกิจหรือไม่

เข้าวงรอบการทำแผนธุรกิจใหม่พอดี ถือเป็นช่วงตั้งต้นสำหรับการทำแผนธุรกิจของปี 2555 ซึ่งจะต้องนำปัจจัยทางเศรษฐกิจมาเป็นปัจจัยสำคัญอยู่แล้ว มองว่าปีหน้าจะมีการเพิ่มการลงทุนจากสภาวะเศรษฐกิจ ไทยเป็นประเทศที่มีเครดิตดีทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ฉะนั้นหลังน้ำลดแล้วจะมีการระดมทุนครั้งใหญ่ ผมเชื่อมั่นว่าไทยจะทำได้ เพราะฉะนั้นโรงงานอุตสาหกรรม ภาคเอกชนจะมีการซ่อมสร้าง มีการแก้ไขปรับปรุงซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ขณะที่ภาครัฐจะมีการสร้างสาธารณูปโภคที่ทำให้เกิดการจ้างงาน

ทั้ง 2 ปัจจัยจะก่อให้เกิดรายได้กับมวลชน ก่อให้เกิดการเสียภาษีจะ ทำให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ ผ่านวิกฤตไปจีดีพีประเทศจะเติบโตมาก ในเวลาเดียวกันจะมีการประกวดราคา 3G เกิดรายได้เข้าสู่รัฐในรูปเงินประมูล

- มองว่าประมูล 3G จะมีเมื่อไร

น่าจะครึ่งปีแรกปี 2555 การประมูลจะช่วยผลักดันให้เกิดการจ้างงานใน รูปแบบของการติดตั้งขยายเน็ตเวิร์ก และยังมีเงินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ ที่ลูกค้าและบริษัทต่าง ๆ ใช้ดาต้าความเร็วสูง ช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจสูงขึ้น

- ภาพรวมธุรกิจในเครืออินทัช

ปีหน้าที่จะเน้นการลงทุนก็จะมีไทยคม เตรียมยิงไทยคม 6 เพื่อเตรียมยิงขึ้นสู่วงโคจรในปี 2556 อีกกรณีคือ การรักษาวงโคจรดาวเทียมที่ 120 องศาตะวันออก ที่ไอซีทีอนุญาตให้ยื่นไฟลิ่ง (เอกสารจองสิทธิ์) กับไอทียู (สหภาพโทรคม) ก็ต้องประสานงานหลายฝ่าย

- งบประมาณในการลงทุนปีหน้า

ตัวดาวเทียมจะใช้งบประมาณ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมูล 3G อาจต้องลงทุนสูงถึง 3-4 หมื่นล้านบาท ทั้ง 2 ธุรกิจนี้จะมีบทบาทสำคัญในปีหน้า

- ผลการรีแบรนด์เป็น "อินทัช"

ได้รับความสำเร็จมาก ทั้งนักลงทุน สื่อมวลชน มีความเข้าใจในแบรนด์ที่ ดีขึ้น ล่าสุดเอไอเอสเริ่มตั้งแต่ ก.ย. ก็ได้ ผลน่าพอใจ เป็นเอไอเอสที่ดูเด็กลง

จริง ๆ จะมีแคมเปญใหม่ออกมาต่อเนื่อง แต่พอดีน้ำท่วมเลยใช้เวลาโฆษณาและงบประมาณไปช่วยเหลือประชาชนเป็นส่วนใหญ่ มีการลงพื้นที่ไปช่วยเหลือดูแลลูกค้า ไปดูแลระบบให้ใช้งานได้ โดยไปด้วยยูนิฟอร์มใหม่ จึงเหมือนเป็นกิจกรรมย้ำภาพการรีแบรนด์แบบนัย ๆ ตามสภาวการณ์ของธรรมชาติ

หลังจากจบเหตุการณ์นี้ก็จะมีแคมเปญอื่นมารับช่วงต่อในปีหน้า เป็นช่วงฟื้นฟูประเทศ เพื่อย้ำภาพของอินทัชและเอไอเอสว่าจะมีภาพลักษณ์แบบนี้ เป็นมิตร ใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น และเด็กลง


http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=