รายย่อยรายจ่ายบาน ---สคบ อยู่ไหนช่วยด้วย
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 21, 2009 9:43 pm
รายย่อยรายจ่ายบาน
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
รายย่อยแบกค่าใช้จ่ายหลังอาน โบรกเกอร์เล็งเก็บยุบเก็บยับ นอกจากค่าคอมมิชชัน ตลท.ชาร์จเท่าไรผลักให้ลูกค้าหมด
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ได้หารือกันเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าภายหลังเริ่มใช้ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) แบบขั้นบันไดตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นที่ประชุมมีข้อสรุปว่านอกจากจะคิดค่าคอมมิชชันจากลูกค้าในอัตราที่ตกลงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นภาระของบริษัทหลักทรัพย์ก็จะผลักภาระไปให้ลูกค้ารับแทน
ดังนั้น ในกรณีนักลงทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาทนอกจากจะต้องเสียค่าคอมมิชชันในอัตรา 0.25% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดแล้ว ยังจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บจากโบรกเกอร์ (เทรดดิง ฟี) อีกในอัตรา 0.005% ค่าธรรมเนียมในการชำระราคาหลักทรัพย์หรือเคลียริง ฟี 0.001% และค่าธรรมเนียมในการส่งมอบหลักทรัพย์หรือแซตเทลเมนต์ ฟี อีก 10 บาทต่อรายการ รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ของค่าธรรมเนียมทั้งหมด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 61.20 บาทต่อรายการ
อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์จะต้องเปิดเผยรายละเอียดค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจนและครบถ้วน เช่น กรณีรายย่อยซื้อขายหุ้นมูลค่า 2 หมื่นบาทต่อรายการ ต้องเสียค่าคอมมิชชัน 50 บาท เทรดดิง ฟี 1 บาท เคลียริง ฟี 0.20 บาท แซตเทลเมนต์ ฟี 10 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 4.28 บาท รวมค่าธรรมเนียม ทั้งหมด 65.48 บาท
รายย่อยจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเกือบ 12 บาทต่อรายการ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่จ่ายค่าคอม มิชชัน 50 บาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 3.50 บาท เป็นเงินรวม 53.50 บาท แหล่งข่าวเปิดเผย
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายหน่วยลงทุนยังคงเก็บค่าคอมมิชชันในอัตราไม่เกิน 0.10% เหมือนเดิม
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มี การซื้อขายตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปสามารถต่อรองเสรีนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ปลายปีนี้ทางชมรมจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง ว่าจะมีข้อตกลงว่าจะเก็บขั้นต่ำเท่าไร แต่คงใช่แค่ 0.005% เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บจากโบรกเกอร์เท่านั้น เหมือนการเปิดเสรีค่าคอมมิชชันครั้งที่ผ่านมา เพราะครั้งนั้นบริษัทหลักทรัพย์ทั้งระบบอยู่ไม่ได้
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เท่าที่ทราบโบรกเกอร์ยังคุยกันอยู่ว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์กันอย่างไร ซึ่งน่าจะเก็บค่าบริการตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และตามปริมาณของการใช้บริการ
ดังนั้น กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะเก็บค่าเคลียริง ฟี ในอัตรา0.001% ด้วยนั้น นางภัทรียา กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ได้เก็บเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้เลย
ก่อนหน้านี้ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASP) ได้วิเคราะห์ว่า ผลของค่าคอมมิชชันที่ลดลงเป็นขั้นบันได ค่านายหน้าจะลดลงเหลือ 0.145% เพราะมีบางบริษัทไม่คิดค่าคอมมิชชันเลย คาดว่าปี 2553 กำไรของกลุ่มจะลดลง 19.6% จากปีนี้
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=67701
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
รายย่อยแบกค่าใช้จ่ายหลังอาน โบรกเกอร์เล็งเก็บยุบเก็บยับ นอกจากค่าคอมมิชชัน ตลท.ชาร์จเท่าไรผลักให้ลูกค้าหมด
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ได้หารือกันเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าภายหลังเริ่มใช้ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) แบบขั้นบันไดตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นที่ประชุมมีข้อสรุปว่านอกจากจะคิดค่าคอมมิชชันจากลูกค้าในอัตราที่ตกลงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นภาระของบริษัทหลักทรัพย์ก็จะผลักภาระไปให้ลูกค้ารับแทน
ดังนั้น ในกรณีนักลงทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาทนอกจากจะต้องเสียค่าคอมมิชชันในอัตรา 0.25% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดแล้ว ยังจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บจากโบรกเกอร์ (เทรดดิง ฟี) อีกในอัตรา 0.005% ค่าธรรมเนียมในการชำระราคาหลักทรัพย์หรือเคลียริง ฟี 0.001% และค่าธรรมเนียมในการส่งมอบหลักทรัพย์หรือแซตเทลเมนต์ ฟี อีก 10 บาทต่อรายการ รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ของค่าธรรมเนียมทั้งหมด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 61.20 บาทต่อรายการ
อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์จะต้องเปิดเผยรายละเอียดค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจนและครบถ้วน เช่น กรณีรายย่อยซื้อขายหุ้นมูลค่า 2 หมื่นบาทต่อรายการ ต้องเสียค่าคอมมิชชัน 50 บาท เทรดดิง ฟี 1 บาท เคลียริง ฟี 0.20 บาท แซตเทลเมนต์ ฟี 10 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 4.28 บาท รวมค่าธรรมเนียม ทั้งหมด 65.48 บาท
รายย่อยจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเกือบ 12 บาทต่อรายการ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่จ่ายค่าคอม มิชชัน 50 บาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 3.50 บาท เป็นเงินรวม 53.50 บาท แหล่งข่าวเปิดเผย
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายหน่วยลงทุนยังคงเก็บค่าคอมมิชชันในอัตราไม่เกิน 0.10% เหมือนเดิม
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มี การซื้อขายตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปสามารถต่อรองเสรีนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ปลายปีนี้ทางชมรมจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง ว่าจะมีข้อตกลงว่าจะเก็บขั้นต่ำเท่าไร แต่คงใช่แค่ 0.005% เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บจากโบรกเกอร์เท่านั้น เหมือนการเปิดเสรีค่าคอมมิชชันครั้งที่ผ่านมา เพราะครั้งนั้นบริษัทหลักทรัพย์ทั้งระบบอยู่ไม่ได้
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เท่าที่ทราบโบรกเกอร์ยังคุยกันอยู่ว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์กันอย่างไร ซึ่งน่าจะเก็บค่าบริการตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และตามปริมาณของการใช้บริการ
ดังนั้น กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะเก็บค่าเคลียริง ฟี ในอัตรา0.001% ด้วยนั้น นางภัทรียา กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ได้เก็บเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้เลย
ก่อนหน้านี้ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASP) ได้วิเคราะห์ว่า ผลของค่าคอมมิชชันที่ลดลงเป็นขั้นบันได ค่านายหน้าจะลดลงเหลือ 0.145% เพราะมีบางบริษัทไม่คิดค่าคอมมิชชันเลย คาดว่าปี 2553 กำไรของกลุ่มจะลดลง 19.6% จากปีนี้
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=67701